โดย กองบรรณาธิการ จาก RED POWER ฉบับที่ 33 เดือนกุมภาพันธ์ 2556
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นภารกิจสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่การผลักดันการแก้ไขตามครรลองของระบบรัฐสภาไม่ได้ราบรื่นดังที่รัฐบาลตั้งใจไว้
ทันทีที่รัฐบาลตั้งลำจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายตรงข้ามก็ตั้งป้อมคัดค้านต่อต้านกันตั้งแต่ยังไม่เห็นร่างเสียด้วยซ้ำ
ด้วยข้ออ้างเดิมๆ ที่เกรงจะกระทบกับสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ขวัญอ่อนขวัญกระเจิงจนต้องยอมที่จะเขียนล็อคเอาไว้ว่าห้ามแตะหมวด
1
และหมวด 2 อันเป็นหมวดพระมหากษัตริย์เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย
และเพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีเจตนาจะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ทั้งๆ ที่ถ้าว่ากันตามหลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้องแล้ว
การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ทุกหมวดทุกมาตราซึ่งเป็นหลักการที่ประเทศประชาธิปไตยทำกันมาช้านาน
แม้ว่ารัฐบาลและ ส.ส. ยอมถึงขั้นนี้แล้วก็ยังไม่วายสมุนรับใช้ฝ่ายอำมาตย์จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าการยื่นแก้ไขมาตรา
291 เพื่อนำไปสู่การตั้ง
สสร.
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีนามสกุลหรือไม่(ประชาธิปไตยมีนามสกุลเป็นชื่อเล่นของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข)
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาว่าไม่เป็นการล้มล้าง
แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับฉวยโอกาสขยายขอบเขตอำนาจของตนด้วยการออกข้อแนะนำผนวกลงไปในคำวินิจฉัยว่าควรต้องไปทำประชามติถามประชาชนเสียก่อน
จนกลายเป็นปัญหามาถึงปัจจุบันว่าหากสภาผู้แทนราษฎรเดินหน้าโหวตวาระ 3 ที่ค้างอยู่ จะเป็นการขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
ความลังเลความไม่แน่ใจตลอดจนความเห็นที่ไม่สอดคล้องลงตัวของบรรดา ส.ส. แกนนำพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งแกนนำคนเสื้อแดง
ทำให้ไม่อาจหาข้อสรุปได้
ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีแนวโน้มเดินหน้าทำประชามติตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและตามที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอ
ก็เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่าตามกฎหมายว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ. 2552 นั้นกำหนดว่าจะต้องมีผู้มาลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต้องมีผู้ลงคะแนนเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนนทั้งหมดจึงจะถือว่าผ่าน
ทำให้ในทางปฏิบัติเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ประกาศคว่ำประชามติ จึงเป็นการยากที่ประชามติจะผ่านได้
เพราะจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ประมาณเกือบ 47 ล้านเสียง
จะต้องมีผู้มาลงคะแนนอย่างน้อย 23.5 ล้านเสียง
แม้จะได้เสียงสนับสนุนของพรรคร่วมรัฐบาลมาจำนวนหนึ่ง
แต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม การที่บางคน เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีท่าทีสนับสนุนการทำประชามติอย่างแข็งขัน โดยเชื่อมั่นว่าประชาชนจะมาลงคะแนนเสียงมากกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างแน่นอน
ซึ่งสวนทางกับหลายฝ่าย ทั้ง นปช. และ ส.ส. บางกลุ่มที่เห็นว่าการลงประชามติคือทางตัน
บทวิเคราะห์นี้จะชี้ให้เห็นว่า เหตุใดการเดินหน้าลงประชามติจึงมีโอกาสชนะได้
อะไรคือปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการลงประชามติที่ว่านี้
1.-วิกฤติการณ์ความแตกแยกที่ยืดเยื้อยาวนานและไม่มีทางออกจะเป็นตัวเร่งให้ประชาชนมาลงคะแนน
วิกฤติการณ์ความขัดแย้งรุนแรงตลอด
6 ปีเศษมานี้นับว่านานพอที่ทุกฝ่ายจะยอมรับความจริงว่า ประเทศไทยไม่มีทางออก แม้หลายฝ่ายพยายามจะหาทางออกทุกวิถีทางแต่ไม่สำเร็จ
ซ้ำร้ายผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ว่าระดับใดต่างก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งนี้ได้อีก
แทบทุกฝ่ายทุกสถาบันต่างสูญเสียความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมที่จะนำพาสังคมไทยออกจากวิกฤติครั้งนี้แทบจะสมบูรณ์แบบ
ทางเลือกที่ยังเหลืออยู่และพอจะเป็นความหวังอยู่บ้าง(อาจจะเป็นความหวังสุดท้าย)คือการกลับไปหาประชาชนเจ้าของอำนาจสูงสุดตัวจริง
ดังนั้นหากมองจากมุมนี้ การทำประชามติอาจเป็นทางออกสุดท้ายก็เป็นได้ หาไม่แล้วอาจเกิดความรุนแรงแตกแยกถึงขั้นบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองก็เป็นได้
หากมาถึงจุดที่ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าประชามติคือทางออกจากวิกฤติของชาติ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่านี้ในเงื่อนไขปัจจุบันนอกจากคลื่นมหาประชาชนจะต้องพร้อมใจกันหลั่งไหลออกมาลงคะแนนเพื่อดับวิกฤติครั้งนี้ด้วยมือของพวกเขาเอง
2.-ประชามติจะทำให้เกิดการถกเถียงทั่วทั้งสังคมเป็นตัวเร่งให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียง
กระแสประชามติจะก่อให้เกิดคลื่นลมแรงทางความคิดอันเป็นภาวะแห่งธรรมชาติทางสังคมโดยมีรูปธรรมคือ
การขับเคี่ยวกันของฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและทั้งสองฝ่ายจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ฝ่ายตนได้ชัยชนะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดการถกเถียง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างขนานใหญ่และกว้างขวางอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ข้อมูลและความคิดเห็นทั้งเก่าและใหม่จะหลั่งไหลออกมาจากทุกสารทิศสู่ท้องถนนแห่งความคิดซึ่งประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายจะได้รับการเรียนรู้ทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ประชาชนทุกคนทุกกลุ่มจะมีส่วนร่วมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เรียกว่า แม่น้ำหมื่นสายไหลมาบรรจบกัน
หรือเปรียบได้กับ “ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันแข่งใจ”
ใครมีข้อมูลหรือเหตุผลดีกว่าย่อมได้ใจประชาชนไปครอง
กลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายประชาธิปไตยและต่อต้านประชาธิปไตย ทั้ง นปช., นิติราษฎร์, คปช.,
ม็อบแช่แข็งทั้งหลายทั้งพันธมิตร, องค์การพิทักษ์สยาม, กลุ่มสลิ่มหลากสี, พรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล, สื่อ, องค์กรภาคประชาชน ต่างๆ ฯลฯ จะมีบทบาทมีส่วนร่วมอย่างไม่เคยมีมาก่อน
การพูดคุยถกเถียงของประชาชนเกี่ยวกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นทุกหัวระแหง
ทุกตรอกซอกซอย ทุกครัวเรือน และแทบทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
เป็นโอกาสทองของฝ่ายประชาธิปไตยที่จะนำเสนอว่าประชาธิปไตยที่ตนต้องการคืออะไร? เป็นประชาธิปไตยแบบไหน? จะเอาแบบคณะราษฎรหรือแบบอื่น ตลอดจนจะบรรลุถึงซึ่งประชาธิปไตยได้อย่างไร(แม้ในทางปฏิบัติจะไม่สามารถไปได้ไกลอย่างที่ต้องการเพราะมีข้อจำกัด
แต่การถกเถียงทั่วทั้งสังคมคือการปูทางไปสู่สิ่งที่ก้าวหน้ากว่าที่เงื่อนไขปัจจุบันจะทำได้
รวมทั้งเป็นโอกาสทองของฝ่ายแช่แข็งที่จะเสนอให้ถอยหลังประเทศไทยไปอีกร้อยปีด้วยเช่นกัน)
ในท้ายที่สุดแล้วกระแสที่ขึ้นสูงจะกลายเป็นเสมือนกระแสลมหมุนทางการเมืองที่จะดูดให้ทุกฝ่ายเข้าไปมีส่วนร่วมอันจะเป็นตัวเร่งให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียงท่วมท้นชนิดที่คำสั่งพรรคประชาธิปัตย์ที่ห้ามไม่ให้สาวกออกมาลงประชามติก็จะทนไม่อยู่
3-ประชามติ จะเป็นตัวเร่งภาวะตาสว่างยิ่งกว่าเดิม
ยังไม่ทันที่รัฐบาลจะตัดสินใจขั้นเด็ดขาดว่าจะเดินหน้าทำประชามติหรือไม่?
ผู้ร้ายตัวจริงที่ขัดขวางประชาธิปไตยก็ทยอยโผล่หน้าออกมา
ไม่ว่าจะเป็นพรรคแมลงสาบที่ประกาศคว่ำประชามติตั้งแต่ไก่โห่ทั้งที่เป็นฝ่ายเสนอเองตั้งแต่ต้น
หากพรรคแมลงสาบรณรงค์ให้ฐานเสียงของตัวเองคว่ำประชามติก็เท่ากับประกาศประจานความเป็นผู้ร้ายของตัวเองที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย
นอกจากนั้น
องค์กรอย่างศาลรัฐธรรมนูญที่ตัวเองเขียนคำวินิจฉัยเองแท้ๆ ที่เสนอว่าควรจะทำประชามติก่อนแต่กลับมีท่าทีกลืนน้ำลายตัวเองที่ถ่มไปด้วยการส่งสัญญาณจะขวางการทำประชามติของรัฐบาลจนเกิดความปั่นป่วนว่าไม่รู้ว่าคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันทุกองค์กรนั้นจะเอาอย่างไรกันแน่,
เมื่อสังคมไม่มีทางออกด้วยเหตุนี้แกนนำ นปช. จึงไปยื่นหนังสือถามความชัดเจนต่อศาลรัฐธรรมนูญให้แน่ใจแต่ศาลกลับปัดความรับผิดชอบ
ไม่ยอมอธิบายคำวินิจฉัยที่คลุมเครือให้กระจ่างแจ้ง และยังถากถางด้วยถ้อยคำที่ไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปากประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้ ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเคยเป็นผู้ร้ายอยู่แล้วยิ่งกลายเป็นผู้ร้ายยิ่งขึ้นไปอีก
แต่งานนี้ได้ก็ทำเอาฝ่ายต้องการทำประชามติต้องสุ่มเสี่ยงทุกฝีก้าวตั้งแต่ยังไม่เริ่ม
ยิ่งถ้ามีแนวโน้มว่าประชาชนจะมาลงคะแนนมากกว่าที่คิดไว้
หรือมีแนวโน้มว่าประชามติจะผ่านไปได้ เราก็อาจจะได้เห็นองค์กรอิสระออกมาแสดงธาตุแท้ความเป็นผู้ร้ายไม่ว่าจะเป็น
ปปช., กกต., ศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ โดยจะประสานเสียงร่วมกันล้มรัฐบาลหรือ ยุบพรรค
ตัดสิทธิ์ ส.ส. เสียก่อนที่ประชามติจะสำเร็จ,
แต่องค์กรอิสระเหล่านี้รวมทั้งพรรคแมลงสาบอย่าได้ชะล่าใจไป เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายปัจจัยที่จะช่วยประคับประคองให้ประชามติผ่านไปได้
และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ประชาชนรู้เช่นเห็นชาติหมดเปลือกแล้วว่าใครคือตัวปัญหา
โดยเฉพาะถ้ายิ่งขัดขวางประชาธิปไตยมากเท่าใด ประชาชนก็จะยิ่งพุ่งเป้าไปยังคนที่บิ๊กบังบอกว่า
“ถึงตายก็พูดไม่ได้” มากขึ้นเท่านั้น
ภาวะบีบคั้นเช่นนี้จะเร่งให้ฝ่ายประชาธิปไตยมีความเพียรพยายามขึ้นอีกหลายเท่าตัวในการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาลงคะแนน
4-ประชามติคือหัวใจของประชาธิปไตย-ป้องกันรัฐประหาร
แม้ประชามติที่จะเกิดขึ้นจะไม่ใช่ประชามติครั้งแรก
แต่ก็เป็นประชามติที่มีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประชามติครั้งก่อน
เหตุเพราะว่าประชามติครั้งนี้ทำขึ้นในเงื่อนไขและบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า
ไม่มีทหารที่ถือกฎอัยการศึกคอยมากดดัน ข่มขู่ บังคับประชาชนผู้ลงคะแนนให้ลงตามความต้องการของคนถือปืนโดยสร้างเงื่อนไขบีบบังคับว่าถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญ
50
แล้วจะเอารัฐธรรมนูญฉบับใดมาใช้ก็ได้
(อย่างไรก็ตาม ประชามติครั้งนี้ก็ยังไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ก็เพราะยังต้องลงประชามติในอุ้งมือมาร
เช่นจะทำประชามติในประเด็นเกี่ยวกับหมวด 1 หมวด 2 ไม่ได้โดยไร้เหตุผล) เมื่อกระบวนการทำประชามติเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นก็ย่อมเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ต่างจากประชามติรัฐธรรมนูญ 50 ครั้งก่อนที่ถูกตั้งข้อกังขาเรื่องความชอบธรรมเป็นอย่างมาก
และหลายฝ่ายที่สนับสนุนก็เพียงต้องการให้หลุดพ้นจากอำนาจ คมช. อันไม่ชอบธรรมโดยเร็ว
แต่วันนี้เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่าหนีเสือปะจระเข้
เมื่อกระบวนการประชามติเริ่มต้นขึ้นในภาวะที่ประชาชนตาสว่างและเห็นชัดว่าใครคือรู้ร้ายตัวจริงที่โกหกหลอกลวงประชาชนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้จะเกิดสีสันทางการเมืองดึงดูดให้ถนนทุกสาย ไฟทุกดวงจะพุ่งเป้ามาที่นี่
จะเกิดการรณรงค์ ถกเถียงขนานใหญ่ การต่อสู้จะเข้มข้นยิ่งกว่าการเลือกตั้ง ส.ส., ส.ว.
เหตุเพราะประเด็นจะไม่แตกกระจายเหมือนนโยบายพรรคการเมืองที่มีมากมายร้อยแปดพันประการ
แต่ประชามติมีแค่ประเด็นเดียวคือการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นทันทีที่ประกาศให้มีการทำประชามติท่ามกลางสีสันความสนใจของคนทั้งโลกย่อมส่งผลให้ฝ่ายที่จ้องจะทำรัฐประหารย่อมจะหมดสภาพเหมือนถูกแช่แข็งลงในทันที
คงไม่มีทหารที่ไหนบ้าดีเดือดพอจะมาทำรัฐประหารตอนที่มีประชามติเป็นแน่ และยิ่งถ้าประชามติรัฐธรรมนูญรอบนี้ผ่านไปได้สังคมไทยก็จะเข้าสู่รุ่งอรุณแห่งประชาธิปไตยอย่างแน่นอนเพราะจะมีประชาชนหนุนหลังอย่างเข้มแข็งแท้จริง
รัฐธรรมนูญไทยที่เคยเป็นแค่เศษกระดาษเช็ดก้นจะใช้อำนาจเผด็จการยกเลิกเสียเมื่อใดก็ได้
ก็จะกลายสภาพเป็นแผ่นทองคำที่ไม่เพียงมีคุณค่าเพียงพอต่อการปกป้องของประชาชนอย่างสุดชีวิต
ใครก็ตามที่คิดจะทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะโดยทหารหรือองค์กรอิสระ ผลลัพธ์ในท้ายที่สุดแล้วเชื่อแน่ว่าประชาชนจะตอบแทนการกระทำนั้นอย่างสาสมที่สุด
บทสรุปของประชามติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น