Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไทยต่างประเทศ:พลังแดงแห่งการเปลี่ยนแปลง

จาก facebook  Sunai Chulpongsatorn

(สรุปการตระเวนยุโรปของ ส.ส.สุนัย จุลพงศธร 2-27 ธันวาคม 2554)
รายงานโดย ส.ส.ดร.สุนัย  จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร

           

                การตระเวนยุโรปของกระผมตามโครงการ ”จากใจถึงใจเพื่อไทยในยุโรป” และการเข้าพบประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ได้ให้ความรู้และความเชื่อมั่นแก่กระผมว่า “ทำไมคนไทยในต่างประเทศจึงเกิดภาวะตาสว่างและจะเป็นพลังที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยที่มิอาจมองข้ามได้” และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติรวมตลอดถึงการนำปัญหาที่คนไทยต้องประสบจากการขอรับบริการจากสถานฑูตไทยในยุโรปแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไข ซึ่งกระผมจะขอนำเสนอสู่สาธารณะเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยในยุโรปและคนไทยในอีกหลายทวีปรวมทั้งองค์กรแดงต่างๆในประเทศไทยที่ควรจะให้ความสำคัญและประสานพลังทำความเข้าใจร่วมกัน โดยข้อมูลเก็บจากการพบปะกับประชาชนมากกว่า 10 เมืองซึ่งเป็นการตระเวณพบประชาชนในต่างประเทศในฐานะสส.และในฐานะประธานกรรมธิการการต่างประเทศอย่างเปิดกว้างและมากเมืองที่สุดเป็นคนแรก ดังนี้
            เริ่มต้นประชุมกับคนไทยและเอกอัครราชทูตไทยในปารีสเมื่อวันที่ 4 ธค.54 แล้ว เดินทางต่อไปด้วยรถยนตร์เข้าสู่เมืองนอยช์วีด เยอรมัน , มุ่งสู่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อเยี่ยมคาราวะประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ แล้วตีรถกลับมาประชุมประชาชนที่ เมืองฮัมบูร์ก และ กรุงเบอร์ลิน เยอรมัน,แล้วนั่งเครื่องบินไปกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ค ประชุมประชาชนที่กรุงโคเปนเฮเกน และที่เมืองสเลเซอร์ ประเทศเดนมาร์ก แล้วบินต่อไป ประเทศนอร์เวย์ ประชุมรับฟังความเห็นประชาชนที่เมือง บาลเก่น และเมืองทอร์นไฮม และที่กรุงออสโล  จากนั้นบินเข้า เบลเยี่ยม ประชุมรับฟังความเห็นประชาชนที่เมือง ลูแบ กรุงลินอยู่ชายแดนเบลเยี่ยม ปิดท้ายฉลองคริสต์มาสที่หอไอเฟล ฝรั่งเศส

ทำไมคนไทยต่างประเทศจึงเกิดภาวะตาสว่าง
ได้พบความจริงว่าคนไทยในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นอดีตคนยากจนและไร้โอกาสทางการศึกษาและความเจริญก้าวหน้าในสังคมไทยโดยเฉพาะผู้หญิงชนบทที่ถูกกดขี่ทางเพศและถูกดูถูกเหยียดหยามในสังคมไทย ซึ่งทันทีที่เธอสามารถเดินทางไปทำงานในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียที่มีความเจริญก้าวหน้าของระบบรัฐสวัสดิการหรือไปแต่งงานกับคนในชนชาติเหล่านั้น(ซึ่งเป็นปประเทศที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันระหว่างเชื้อชาติ) สิ่งแรกที่คนไทยและผู้หญิงไทยจะได้รับคือรัฐจะจ่ายเงินจ้างให้ไปเรียนหนังสือคือได้ทั้งเงินที่ใช้กินและเรียนฟรีเริ่มต้นเรียนภาษาของเขาก่อนและหากเรียนต่อได้ก็จะให้เงินจ้างให้ไปเรียนต่อในสิ่งที่ตนถนัด (ในขณะที่อยู่ในประเทศไทยไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ) ต่อมาเมื่อทำงานแล้วเกิดคลอดบุตรรัฐบาลก็จะดูแลจ่ายเงินค่าเลี้ยงบุตรรวมไปถึงแม้แต่ค่าซื้อผ้าอ้อม(แพมเพิส)ให้ด้วย และสำหรับผู้หญิงที่ไม่มีอาชีพเมื่อสามีตายรัฐก็ยังจ่ายเบี้ยบำนาญเลี้ยงดูต่อจนตัวตาย ในขณะที่เมืองไทยมีแต่คนที่อยู่ในระบบราชการเท่านั้นที่จะได้รับบำนาญเมื่อแก่เช่นตำรวจทหารและเมื่อตาย เมียก็จะไม่มีใครดูแลส่วนในยุโรปนั้นประชาชนชนชาติของเขาได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนทำราชการ  สรุปโดยรวมแล้วคนไทยที่มาอยู่ในยุโรปได้พบเห็นระบบสังคมที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ที่มาร่วมอยู่ในสังคมของเขาโดยไม่เหยียดเชื้อชาติภูมิหลังแห่งชาติกำเนิด และความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ และแน่นอนที่สุดทหารในบ้านของเขาไม่เคยออกมาตำหนิติเตียนรัฐบาลและไม่คิดที่จะปฏิวัติยึดอำนาจใช้อำนาจบังคับสื่อโฆษณาชวนเชื่อโกหกประชาชนเพียงเพื่อการยึดอำนาจและแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองโดยมิชอบ ทำให้ระบบการเมืองของเขามั่นคงและพัฒนาเศรฐกิจได้อย่างต่อเนื่องจนสามมารถมีงบประมาณมากพอที่จะสร้างความสุขให้ประชาชนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกันได้  และด้วยสภาพการณ์เช่นนี้เมื่อพวกเขามองย้อนกลับมาที่ประเทศไทยก็เห็นมีแต่การปฏิวัติยึดอำนาจไม่หยุดหย่อน และมักจะโฆษณาโกหกหลอกลวงประชาชนอยู่เสมอว่า มีชีวิตอยู่อย่างไทยๆนี้ดีแล้วเพราะเป็นสังคมที่เน้นทางคุณธรรม ไม่เน้นการเจริญเติบโตทางวัตถุ เพราะประเทศที่เน้นแต่การเจริญเติบโตทางวัตถุความเจริญทางจิตใจจะต่ำซึ่งเป็นการโกหกหลอกลวงที่ชัดมากในสายตาของคนไทยในต่างประเทศ และยิ่งเมื่อเห็นนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ที่เปิดโอกาสให้แก่คนยากจนที่เป็นคนชนชั้นเดียวกับเขาโดยมีโอกาสเรียนฟรี รักษาฟรี มีกองทุนหมู่บ้านช่วยเหลือคนยากจน 



ซึ่งมีลักษณะคล้ายรัฐสวัสดิการที่เป็นการเริ่มต้นถึงแม่ว่าจะมิอาจเทียบเท่ากับของกลุ่มประเทศยุโรปได้ ซึ่งเพียงเท่านี้ฝ่ายทหารก็กลับนำมากล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายประชานิยมที่เลวร้ายจนเป็นสาเหตุหนึ่งในการยึดอำนาจ  จึงกลายเป็นเรื่องตลกทำให้คนไทยในยุโรปเริ่มตั้งข้อสงสัยมากขึ้นและต่อมาเมื่อมีการฆ่าประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยตายกลางกรุงเทพมหานครที่ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมออกไปทั่วโลกเห็นภาพทหารยิงประชาชนสดๆ 92 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน โดยไม่มีการสอบสวนดำเนินคดีแล้วและยังกล่าวใส่ร้ายอีกว่าคนเสื้อแดงยิงกันเองหรือว่าผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ยิง รวมตลอดทั้งที่ออกมาโกหกคือนายทหารชั้นผู้ใหญ่เอง
               
            จากสิ่งที่คนไทยได้รับการยอมรับถึงความเสมอภาคกันในประเทศสหภาพยุโรปในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เข้ามาร่วมชีวิตกับสังคมของเขาโดยชอบทั้งๆที่คนไทยเหล่านั้นไม่เคยร่วมรบทัพจับศึกปกป้องประเทศเขาเลย  อีกทั้งเมื่อคนไทยเปรียบเทียบกับการมีชีวิตอยู่ในประเทศไทยที่ได้มีการโฆษณาทั้งวิทยุโทรทัศพูดกรอกหูทุกวันว่าคนไทยเป็นเจ้าของประเทศไทย บรรพบรุษไทยได้สละเลือดเนื้อและชีวิตปกป้องแผ่นดินไทย  แต่ความเป็นจริงปรากฎว่าชีวิตคนยากจนในเมืองไทยโดยเฉพาะในชนบทกลับไม่มีใครเหลียวแลอย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา หรือความเจ็บป่วยก็ต้องช่วยตัวเองทั้งนั้น มีแต่คนกลุ่มน้อยที่เป็นอภิสิทธ์ชนเท่านั้นที่ไต่เต้าเข้าสู่ระบบราชการได้จึงจะมีชีวิตที่มีหลักประกัน ดังนั้นเมื่อ พตท.ทักษิน ทำนโยบายที่เอื้อต่อคนทุข์คนยากในชนบทก็กลับถูกยึดอำนาจและที่สะเทือนใจที่สุดก็คือประชาชนเจ้าของประเทศกลับถูกยิงตายกลางถนนด้วยสไนเปอร์คล้ายกับการไล่ยิงสัตว์ทั้งๆที่ถูกกรอกหูทุกวันว่าเป็นเจ้าของประเทศ
ดังนั้น คนไทยในต่างประเทศจึงรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐานที่กลุ่มเสื้อเหลืองยึดธรรมเนียบรัฐบาลและยึดสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง กลับไม่ถูกดำเนินคดีไดๆ เขาจึงเริ่มหูตาสว่างและเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มพลังเสื้อแดงในหลายประเทศในยุโรป  และยิ่งมีการจับกุมดำเนินคดีการกระทำผิดเกี่ยวกับการะเมิดสถาบันอย่างมากมายตามมาก็ยิ่งเกิดการเปรียบเทียบกับประมุขในแต่ละประเทศในยุโรปซึ่งก็มีทั้งประธานาธิบดีและระบบพระมหากษัตริย์ซึ่งในประเทศของเขาก็มีความเสมอภาคทั้งทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งก็มีรูปธรรมให้เห็นชัดเจนว่าประมุขแห่งรัฐในแต่ละประเทศของพวกเขาหากขับรถเร็วเกินกำหนดก็จะถูกจับเช่นเดียวกับชาวบ้านธรรมดา  รวมตลอดทั้งหากออกไปในที่สาธารณะก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบสังคมโดยยืนเข้าแถวรอรับบริการเสมอภาคกัน ส่วนการบังคับใช้กฎหมายเรื่องหมิ่นประมาทก็ไม่มีกฎหมายพิเศษบังคับใช้
               ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนไทยในยุโรปหันกลับมามองประเทศไทยของตัวเองมากยิ่งขึ้นจนเกิดภาวะตาสว่างของคนในยุโรปและคนในต่างประเทศ  ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการเปรียบระหว่างสังคมที่ล้าหลังกับสังคมที่พัฒนาแล้ว  ความเข้าใจของคนไทยในต่างประเทศจึงเป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ที่พวกเขาประสบพบเห็นเอง ซึ่งมีความแจ่มชัดกว่านักวิชาการบางคนในประเทศไทย  ดังนั้นพลังก้าวหน้าของคนไทยในต่างประเทศจึงเป็นพลังที่ไม่อาจมองข้ามได้เพราะเพียงแต่เขาโทรศัพท์เข้ามาในประเทศไทยมาอธิบายความจริงให้พี่น้องเขาทราบก็จะเป็นพลังเปลี่ยนแปลงอันมหาศาล

การแก้ปัญหาข้อขัดข้องการขอรับบริการของสถานทูตไทย
                จากภูมิหลังของความยากจนของคนไทยที่เคยจนข้างต้นแต่พวกเขาก็ยังมีความฝังใจกับการเป็นคนไทยแล้วหวังว่าสักวันหนึ่งอยากจะกลับมาประเทศแม่จึงยังรักษาสถาณะภาพความเป็นคนไทยอยู่จึงต้องไปติดต่อสถานทูตเพื่อขอต่อพาสปอร์ทใหม่และทำบัตรประชาชนใหม่เป็นระยะๆรวมตอลดถึงการขอทำวีซาให้คู่สมรสเพื่อจะมาเที่ยวเมืองไทย จึงจำเป็นต้องเดินทางไปขอรับบริการของสถานทูตไทยซึ่งเป็นตัวแทนเชิงโครงสร้างของระบบขุนนางไทยจึงเกิดความขัดแย้งเชิงเปรียบเทียบด้านบริการของระบบราชการไทยที่ยังดำรงภาวะการแห่งวัฒนธรรมขุนนางกับ ระบบราชการของต่างประเทศที่ก้าวหน้าทางวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นมนุษย์ดังตัวอย่างเช่น การกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตต่างๆของสถานทูตไทยซึ่งคนไทยบางคนที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาในภาษาประเทศไทย ก็จะไม่ได้รับความสะดวกและหลายแห่งจะมีคำพูดของเจ้าหน้าที่สถานทูตในลักษณะเชิงดูถูกเหยียดหยาม เช่น “เป็นคนไทยอย่างไรจึงเขียนหนังสือไทยไม่เป็น” รวมตลอดถึงการไม่ได้รับความสะดวกอื่นๆ อาธิเช่น การขาดเอกสารสำคัญบางฉบับที่เตรียมมาไม่ครบ (โดยไม่มีประกาศไว้ก่อนในระบบการแจ้งข่าวของสถานทูต)ก็จะถูกไล่กลับแล้วให้กลับมายื่นใหม่ รวมถึงการขาดสำเนาเอกสารแค่แผ่นเดียวก็ไม่ให้บริการถ่ายเอกสารแต่จะให้ผู้ขอรับบริการนำเอกสารออกไปถ่ายข้างนอกแล้วให้กลับมาใหม่ทำให้เสียเวลา และบางครั้งกลับมาก็หมดเวลาทำงานของสถานทูตเพราะสถานทูตไทยให้บริการตามคำขอเพียงครึ่งวันซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนานแล้ว   ดังนั้นในโอกาสที่เป็นครั้งแรกที่กระผมในฐานะ ส.ส.และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯออกไปตระเวณเช่นนี้ กระผม ก็จะนำเสนอปัญหาต่างๆเหล่านี้ต่อ รมว.ต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ รมว.มหาดไทย เพื่อให้ปรับปรุงระบบบริการทำบัตรประชาชนออนไลน์ไปยังสถานทูตในต่างประเทศด้วยเพื่อคนไทยในต่างประเทศจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเพื่อจะกลับมาทำบัตรใหม่ที่เมืองไทย

การเยือนศาลอาญาระหว่างประเทศ
            กระผมได้มีโอกาสเข้าพบ รองประธานฯ นายฮันส์-พีเทอร์ โคล ซึ่ง รักษาการประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ และตัวแทนสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศโดยในการนี้มี ดร.วีรชัย  พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์นั่งร่วมวงสนทนาอยู่ด้วย, นายฮันส์-พีเทอร์ โคล ได้กล่าวแสดงความยินดีที่มีตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎรไทยมาเยี่ยมคารวะและกล่าวถึงการที่ประเทศไทยควรจะเข้าเป็นสมาชิกอย่างถาวรของศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบรรณเกินกว่าครึ่งโลกแล้วคือมีถึง 120ประเทศแล้วและประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนก็มีแล้วเช่นกันได้แก่ กัมพูชา และ ฟิลลิปปิน รวมทั้งประเทศ มาเลเซีย  และ อินโดนิเซีย ที่กำลังอยู่ในกระบวนการดำเนินการเป็นสมาชิกถาวร และได้ชวนเชิญให้ประเทศไทยซึ่งได้ร่วมลงนามเป็นสมาชิกเป็นเวลานานกว่า 10ปีแล้วให้ลงนามในสัตยาบรรณเพื่อให้เสร็จสิ้นพิธีการณ์สมบูลณ์และขอให้นำความปรารถนาดีของศาลอาญาระหว่างประเทศไปถึงคนไทยด้วย
ด้วยเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เป็นจริงและเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ระบบราชการไทยในต่างประเทศดูแลประชาชนและส่งเสริมให้คนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น รวมตลอดถึงเพื่อความเข้าใจอันดีเพื่อจะให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ กระผมต้องขอขอบคุณกลุ่มคนเสื้อแดงต่างๆในทวีปยุโรป ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประสานงานและเฉลี่ยกันออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่กระผมเป็นส่วนใหญ่ เพราะลำพังแต่กระผมเองก็ไม่อาจจะออกค่าใช้จ่ายเองได้ทั้งหมด รวมทั้งปีนี้เกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วม งบประมาณไม่เพียงพอ ท่านประธานสภาผู้แทนจึงตัดงบการเดินทางในสมัยปิดประชุมที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณท่านเอกอัครราฑูตไทยและเจ้าหน้าที่ ที่ร่วมประชุมตอบคำถามจนเกิดความเข้าใจอันดีต่อกันมา ณ .ที่นี้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

The Queen . . . งดงามอย่างพอเพียง

จาก Thai E News





ที่มา Forward mail.


The Queen...น่ารัก น่าเอาเยี่ยงอย่างจริง ๆ..


เหตุเกิดที่ชานชลา 11 บี สถานีคิงครอส


เดลิเมล์ - ภาพหญิงสูงวัยขณะะก้าวขึ้นรถไฟภาพนี้ ไม่ใช่ภาพของสุภาพสตรีทั่วๆ ไป แต่เป็นสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งทรงซื้อตั๋วโดยสาร(ในราคาผู้สูงอายุ) เดินทางออกนอกเมือง เพื่อเตรียมฉลองเทศกาลคริสมาต์กับพระบรมวงศานุวงศ์ในแคว้นนอร์ฟอล์ก

แม้ไม่มีหมายกำหนดการประกาศให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการ แต่ผู้โดยสารที่กระจัดกระจายอยู่ที่สถานีคิงครอสในกรุงลอนดอน กลับมาออกันที่ชานชลา 11บี เมื่อทราบว่า หนึ่งในผู้โดยสารที่ตีตั๋วชั้นหนึ่งนั้น คือ พระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งกำลังจะเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักแซนดริงแฮม ในช่วงคริสตมาส์นี้

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดเมื่อเช้าวันพฤหัสบดี(17) ที่ผ่านมา แอนดรูวส์ สมิธ ผู้โดยสารเที่ยวเดียวกัน กล่าวด้วยความตื่นเต้นว่า "เหลือเชื่อ ภรรยาผมคงไม่เชื่อผมแน่ๆ " ขณะที่นักเดินทางบางส่วนรู้สึกหงุดหงิดนิดหน่อย เมื่อตำรวจปิดกั้นพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระองค์เพียง 5 นาทีก่อนที่รถไฟจะออกเดินทาง

ประมุขแห่งอังกฤษ มีข้าราชบริพารติดตามเพียงไม่กี่คนในการเสด็จครั้งนี้ ทรงประทับนั่งในตู้โดยสารที่มี 8 ที่นั่ง โดยพระองค์ทรงพระองค์นั่งเคียงข้างองค์รักษ์ในห้องโดยสารที่มีบานประตูกั้นแยกจากที่นั่งห้องอื่นๆ ทรงมีท่าทางผ่อนคลายอย่างเป็นที่สุด ขณะที่มีปฏิสันถารกับองค์รักษ์ ในการเดินทางบนขบนรถไฟเฟิร์สแคปิตอลคอนเน็ค ไปยังสถานีคิงสลิน สถานีที่ใกล้กับพระตำหนักซานดริงแฮมที่สุด

และมีเพียงเด็กน้อยคนเดียวเท่านั้นที่ฝ่าด่านความปลอดภัยเข้าไปได้ เมื่อเด็กน้อยวิ่งไปตามทางเดิน ขณะที่พ่อวิ่งไล่ตาม แต่เด็กน้อยก็ได้แต่เพียงชะเง้อหน้าขึ้นมองบานกระจกรถไฟ เขาตัวเล็กเกินไปที่จะเอื้อมกดปุ่มเปิดประตู อย่างไรก็ตาม เด็กชายได้รับรอยยิ้มสดใสจากสมเด็จพระราชินี ผู้มีพระชนมายุ 83 พรรษาแล้วในปีนี้


เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานียืนยันว่า สมเด็จพระราชีนีอลิซาเบธที่ 2 และข้าราชบริพารของพระองค์ทั้งหมดได้จ่ายเงินซื้อตั๋วโดยสาร โดยราคาตั๋วไป-กลับ(ยังไม่ระบุเที่ยวกลับ) สำหรับวันนั้น คือ 86 ปอนด์ (4,655 บาท)แต่เขากล่าวติดตลกว่า พระองค์จะทรงได้ประหยัดเงินมาก เพราะซื้อตั๋วในราคาผู้สูงอายุได้และจากการซื้อตั๋วล่วงหน้า ทั้งนี้ ราคาตั๋วล่วงหน้าสำหรับรถไฟชั้นหนึ่งในราคาลดแล้วอยู่ที่ 44.40 ปอนด์(2,403 บาท)

ทั้งนี้ หลังจากถึงสถานคิงสลิน เมื่อเวลา 12. 20 น. รถแรนโรเวอร์ก็มารถรับพระองค์ต่อไปยังซานดริงแฮม การเดินทางครั้งนี้ พระองค์เสด็จเพียงลำพัง โดยดยุคแห่งเอดินเบอระ พระสวามี เสด็จเดินทางไปก่อนหน้านี้สองสามวัน โฆษกของเฟิร์สแคปิตอลคอนเน็ค ระบุว่า พระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ไม่ได้รับการปฏิบัติพิเศษเหนือกว่าผู้โดยสารธรรมดา และพระองค์ก็ซื้อตั๋วล่วงหน้าด้วย

ด้านโฆษกสำนักพระราชวังบักกิงแฮม เผยว่า พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระราชินีทรงเดินทางด้วยโรถไฟสาธารณะอยู่บ่อยๆ

"เราต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ เช่นความคุ้มค่าและความปลอดภัย และเราจะลองหากทุกอย่างเหมาะสม"


แน่นอนว่า สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ทรงมีสิทธิ์ใช้ขบวนรถไฟส่วนพระองค์ แต่การเดินทางแต่ละครั้งต้องใช้ภาษีของประชาชนถึง 57,142 ปอนด์ (3,090,000 บาท)เลยทีเดียว




ก้าวนี้เป็นก้าวที่ช่วยประหยัดงบให้แก่ท้องพระคลังจำนวนไม่น้อย




สาวน้อยถวายช่อดอกไม้ ขณะที่พระองค์มีพระพักตร์สดชื่น แจ่มใส




ทรงทอดพระเนตรออกมาจากหน้าต่างชั่วขณะก่อนออกเดินทาง



มีข้าราชบริพารติดตามมาไม่กี่คน

0 0 0 0 0

อ่านข่าวเพิ่งเติม Royal rail: Queen stuns fellow passengers as she takes train to Sandringham ahead of family Christmas

เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย

จาก thai E news
 
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย




แม้ว่า ". . .ทางผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานเสวนาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีอุปสรรค เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยในการขอใช้ห้องทำกิจกรรมที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อภายหลังได้ทำเรื่องย้ายห้องจัดงานเสวนามาที่คณะรัฐศาสตร์ จึงสามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้" แต่งานเสวนา "เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย" ก็ดูเหมือนว่าจะมีคนล้นห้องประชุม

ไทยอีนิวส์ขอสนับสนุนกิจกรรมคนหนุ่มสาว เพื่อร่วมเดินไปกับประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อนำเสรีภาพมาสู่สังคมไทย

แต่ขออนุญาตถกเถียงประเด็นนี้กับน้องๆ นักศึกษาสักนิดเพื่อชีวิตคนรุ่นก่อน จะได้กระชุ่มกระชวยขึ้นอีกหน่อย ต่อประเด็นที่ว่า "หากเราไม่มีเสรีภาพในการตำหนิ ก็จะไม่มีการประจบประแจงเกิดขึ้น" ทางเราขอชวนถกเถียงต่อว่า "เพราะไม่มีเสรีภาพในการตำหนิ สังคมจึงเต็มไปด้วยการประจบประแจง" ชิมิๆ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดพิจารณา นำไปถกเถียงต่อไป!



28 ธันวาคม 2554

ที่มา ประชาไท


เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 เมื่อเวลา 17.00 น. ห้อง 207 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน จัดเสวนาในหัวข้อ “เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา คือ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ รักชาติ วงศ์อธิชาติ รองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และ ศรันย์ ฉุยฉาย สมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน (ซีซีพี) โดยมีนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมวงเสวนากว่า 150 คน

ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในสมาชิกคณะนิติราษฎร์ อธิบายภาพรวมของอำนาจสถาบันพระมหากษัตริยในสังคมไทย โดยชี้ว่า สถานะของสถาบันฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจมากเกินควรจะเป็นในระบอบประชาธิปไตย มิได้เป็นมาแต่ไหนแต่ไรตามที่หลายๆ คนอาจได้รับรู้ เนื่องจากในความเป็นจริง สถาบันกษัตริย์ถูกยกระดับให้มีอำนาจเท่าที่เป็นในปัจจุบันตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นเพียง 40-50 ปีของการช่วงชิงทางความคิดและอุดมการณ์ระหว่างคู่ขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เช่นเดียวกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองจากการเลือกตั้ง และฝ่ายจารีตนิยมที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อ ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินไปของสนามที่ต่อสู้เชิงความ คิดที่ยังไม่สิ้นสุดในสังคมไทย
เพื่อที่จะสร้างและรักษาระบอบประชาธิปไตยให้ธำรงอยู่ ปิยบุตรชี้ว่า สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ได้กับประชาธิปไตย โดยแยกการใช้อำนาจจากรัฐให้เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำให้กษัตริย์ไม่สามารถใช้อำนาจใดๆ ผ่านรัฐได้อีกต่อไป โดยในทางรูปธรรมนั้นหมายถึง การไม่อนุญาตให้กษัตริย์สามารถทำอะไรเองได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบคือผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมถึงการไม่อนุญาตให้กษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ และการสาบานต่อรัฐสภาในฐานะประมุขว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ด้านรักชาติ วงศ์อธิชาติ นศ. ปีที่ 3 จากคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของนิสิตนักศึกษาที่ถูกจำกัดลงจากอดีต โดยชี้ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นับเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อความเท่าเทียม และเสรีภาพในการหาความรู้ อย่างไรก็ตาม หลังจากยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่รับเอาอุดมการณ์กษัตริย์นิยมมาใช้ ผ่านพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงมหาวิทยาลัย การให้นักศึกษาเข้ารับฟังการทรงแสดงดนตรี ในขณะเดียวกันก็ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประสาสน์การมหาวิทยาลัยกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องบูชากราบไหว้ ซึ่งรักชาติมองว่า แทนที่สถาบันการศึกษาจะทำให้คนตั้งคำถามเรื่องสิทธิเสรีภาพ กลับเป็นเบ้าหลอมให้คนต้องอยู่ในกรอบที่คิดและเชื่อเหมือนๆ กัน
นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนายังกล่าวถึงระเบียบต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่สะท้อนถึงระบบอำนาจนิยม เช่น ระบบโซตัส หรือการบังคับให้แต่งกายถูกระเบียบตามแบบอย่างชุดนิสิต “ในพระปรมาภิไธย” โดยสภาพดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว สังคมไทยล้วนอยู่ในพระปรมาภิไธย ซึ่งประชาชนไม่สามารถคิดและเห็นต่างได้ มิหนำซ้ำ นอกจากจะ “ห้าม” พูดและคิดแล้ว ยัง “ถูกบังคับให้พูด” เนื่องจากมีกลไกทางสังคมและทางกฎหมายดำรงอยู่ที่พร้อมจะคว่ำบาตรต่อผู้ที่ เห็นต่างทันที ซึ่งพิริยะดิศ มานิตย์ อาจารย์จากภาควิชาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในผู้เข้าฟังการเสวนาดังกล่าวชี้ว่า การถูกบังคับให้พูดในสิ่งที่ไม่อยากพูด ก็เปรียบเสมือนกับการข่มขืนดีๆ นี่เอง
“สังคมที่คนถูกบังคับให้คิดให้เชื่อเหมือนๆกัน ก็เปรียบเสมือนสังคมนกเพนกวินที่ไม่ได้ใช้ความคิด อย่างนั้นมันไม่ใช่มนุษย์แล้ว เพราะมนุษย์ต้องสามารถคิดและเห็นต่างได้” พิริยะดิศกล่าว
รักชาติ กล่าวถึงการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยว่า เป็นอุปสรรคสำคัญที่ไม่เพียงแต่จำกัดเสรีภาพทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนโดยรวม ซึ่งกรณีการตัดสินจำคุก 20 ปีของนายอำพล หรือ “อากง” ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ากฎหมายดังกล่าวมีปัญหา อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่า การรณรงค์เพื่อตระหนักรู้ความไม่เป็นธรรมของกฎหมายนี้ ไม่ควรมาจากความน่าสงสารหรือน่าเห็นอกเห็นใจต่อคดีอากงเท่านั้น เนื่องจากยังมีนักโทษการเมืองหลายคนยังถูกจำคุกด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่น สมยศ พฤกษาเกษมสุข “สุรชัย แซ่ด่าน” และ”ดา ตอร์ปิโด” ซึ่งควรได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้ ทางผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานเสวนาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีอุปสรรค เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยในการขอใช้ห้องทำกิจกรรมที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อภายหลังได้ทำเรื่องย้ายห้องจัดงานเสวนามาที่คณะรัฐศาสตร์ จึงสามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้
ดิน บัวแดง หนึ่งในกลุ่มผู้จัดงานให้ความเห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่าในรั้วมหาวิทยาลัยไม่มีเสรีภาพให้พูดคุยและถกเถียงใน ประเด็นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อนาคตของสังคมไทย ทั้งๆ ที่นักวิชาการและนิสิตนักศึกษา ควรจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะในคณะที่เกี่ยวกับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หากแต่เขารู้สึกว่า ในมหาวิทยาลัย กลับเป็นที่ที่เต็มไปด้วย “ความกลัว” และนอกจากจะไม่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการแล้ว กลับห้ามมิให้นิสิตนักศึกษาใช้พื้นที่ดังกล่าวให้เป็นประโยชน์อีกด้วย
ดิน บัวแดง นิสิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และหนึ่งในผู้จัดงานเปิดเผยว่า สาเหตุที่จัดงานเสวนาดังกล่าวขึ้นมา เพื่อต้องการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในแง่การถกเถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์
หากเราไม่มีเสรีภาพในการตำหนิ ก็จะไม่มีการประจบประแจงเกิดขึ้น
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

28 ธันวาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เสด็จพระราช สมภพ ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศพระองค์ทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐาน บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตากในเวลาต่อมา

ในปีพุทธศักราช 2308 - 2309 พระยาตากได้นำไพร่พลลงมาสมทบเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาระหว่าง ที่พม่าล้อมกรุงอยู่ ได้ทำการต่อสู้จนเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมากที่สุดคนหนึ่ง และได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 4 มกราคม พุทธศักราช 2310 (ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยา ให้แก่พม่าประมาณ3 เดือน) พระยาตากได้รวบรวมกำลังตีฝ่าวงล้อม ของพม่าไปตั้งมั่น เพื่อที่จะกลับ มากู้เอกราชต่อไป

จากหลักฐานตามพระราชพงศาวดาร พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลประมาณ 500 คน มุ่งไปทาง ฝั่งทะเลทางทิศตะวันออก ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถ ตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ เจ้าเมืองใหญ่ๆพากันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียง ไว้ในอำนาจ หลังจากพระยาตากยึดเมืองจันทบุรีได้ ก็ได้ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ และจัดตั้งกองทัพขึ้นที่นี่ โดยมีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายสุดจินดาซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่หนึ่ง

หลังฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีล่องมา ตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ต่อสู้จนยึดกรุงธนบุรีคืนจากพม่าได้ ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2310 และสามารถกอบกู้เอกราชให้ชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ให้กับพม่า หลังจากนั้น ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เนื่องจากทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดี ประกอบกับ กรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก จนยากแก่การบูรณะ ให้เหมือนเดิม ต่อมาในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดา ภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "พระเจ้าตากสิน" ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการทำศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อรวบรวมแผ่นดิน ให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงครามเป็นส่วนใหญ่ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ได้โปรดให้มีการ สร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม รวมทั้งการศึกษาในด้านต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

หลังจากครองราชย์ได้ประมาณ 15 ปี ได้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเหตุให้รัชสมัยของพระองค์ต้อง สิ้นสุดลง สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 48 ปี ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี และได้ทรงย้ายราชธานีมาฝั่งกรุงเทพมหานคร

เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้ ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี (ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบ ดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์) เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวาย พระราชสมัญญานามว่า"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัย ของพระองค์

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ พุทธศักราช 2310 ไปจนถึง พุทธศักราช 2325
ได้มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเพื่อรวบรวม ป้องกัน และขยายพระราชอาณาเขต
สำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญๆ อาจจะสรุปได้ดังนี้
พุทธศักราช 2310
การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2
การประกาศอิสรภาพหลังจากที่รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
การสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นเมืองหลวง
พม่ายกกองทัพมาตีไทยที่บางกุ้ง
พุทธศักราช 2311
การเถลิงถวัลยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
กลุ่มพระฝางยกกองทัพลงมาตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิมาย
พุทธศักราช 2312
กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งเจ้าหน่อเมืองนำเครื่องราชบรรณาการมาขอเป็นเมืองขึ้น
การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
การยกกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช
พุทธศักราช 2313
การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองสวางคบุรี
พม่ายกกองทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก
การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1
พุทธศักราช 2314
การสร้างกำแพงเมืองกรุงธนบุรี
การยกกองทัพไปตีเขมร
พุทธศักราช 2315
พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1
พุทธศักราช 2316
การสักเลก (ไพร่หลวง ไพร่สม และเลกหัวเมือง)
พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
พุทธศักราช 2317
การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
พม่ายกกองทัพมาตีบางแก้ว (แขวงเมืองราชบุรี)
พุทธศักราช 2318
พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก
พุทธศักราช 2319
กบฎเมืองนางรอง และการยกกองทัพไปปราบหัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง
พระเจ้าตากทรงเริ่มการเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน
พุทธศักราช 2320
การสถาปนาเจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
พุทธศักราช 2321
กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งทัพมารบกับพระวอที่หนองบัวลำภูและที่ดอนมดแดง
พุทธศักราช 2322
การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์
การอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่กรุงธนบุรี
พุทธศักราช 2323
การจลาจลวุ่นวายในเขมร
กบฎวุ่นวายในกรุงธนบุรี
พุทธศักราช 2324
การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี
กบฎพระยาสรรค์
สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย
พุทธศักราช 2325
การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
การสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี




ในวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ประชาชนชาวไทย ควรน้อมรำลึกถึงบุญคุณของพระเจ้าตากสินมหาราชที่สร้างชาติควรจะรู้รักสามัคคีต่อกันไม่ทะเลาะแตกแยก รู้รักสงบเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ประเทศไทยให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน...สืบต่อไป

ประชาชนชาวไทยวันที่ 28 ธันวาคม ไปสักการะพระบรมรูปของพระองค์ท่านเพื่อน้อมรำลึกบุญคุณถึงพระองค์ที่จังหวัดจันทบุรี ในกรุงเทพมหานคร วงเวียนใหญ่ฝั่งธนฯ

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผู้บริสุทธิ์ที่ต้องเป็น “นักโทษหมิ่นเบื้องสูง”

จาก RED POWER ฉบับที่ 22 ปักษ์แรก ธันวาคม 2554

โดย : พีระศักดิ์  ชัยธรรม
รัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทยที่ผ่านมากำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นสิ่งสูงสุด ผู้ใดจะละเมิดมิได้ พระมหากษัตริย์จึงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา คอล์มนิสต์ชื่อดังของมติชนสุดสัปดาห์ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ในภาวะวิกฤติการเมืองไทยในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันกษัตริย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่างน่าหวั่นวิตก ข้อกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดูจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อย่างกว้างขวางจนทำให้สถิติคดีดังกล่าวพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์”

ในปี 2552 – 2553  พรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศได้กล่าวหากลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นประชาชนฐานคะแนนเสียงสนับสนุนพรรคเพื่อไทยว่าเป็นขบวนการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ถึงกับใช้กำลังทหารปราบปรามการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ พร้อมกับใช้อำนาจสั่งปิดเวปไซค์กว่า 10,000 แห่ง วิทยุชุมชน 13 แห่ง นิตยสาร 3 ฉบับ รวมถึงการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเข้มงวด มีการจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อาทิเช่น นางสาวดาริณี  เชิงชาญศิลปะกุล ศาลตัดสินจำคุก 18 ปี นายธัญวุฒิ  ทวีวโรดมกุล  ถูกศาลสั่งจำคุก 13 ปี  นายวราวุธ  ฐานังกูร ถูกศาลสั่งจำคุก 3 ปี ทั้งสามคนเป็นแกนนำต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยมีการปราศรัย และการชุมนุมประท้วงรัฐบาลทหาร และการแสดงความคิดเห็นในเวปบอร์ดอินเตอร์เน็ตต่างๆ ต่อมามีการดำเนินคดีอีกหลายคนด้วยกัน ส่วนหนึ่งหลบหนีการจับกุมด้วยการขอลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ

เมื่อมีการกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิ์ในการประกันตัวโดยสิ้นเชิง อันเป็นการขัดต่อหลักปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งนี้ศาลอ้างว่าเป็นคดีสะเทือนขวัญประชาชน คดีมีโทษสูง กลัวการหลบหนี และเป็นคดีกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าการไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของศาลไทย ทำให้มีการเลือกปฏิบัติในกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันไป ดังนั้นในหลายกรณีมีการวิ่งเต้นจ่ายเงินใต้โต๊ะในการได้มาซึ่งการประกันตัว จึงปรากฏว่าแม้ในคดีโทษสูง สะเทือนขวัญประชาชน เช่น การฆาตกรรม กลับได้รับสิทธิ์ประกันตัว หรือในคดีกระทบความมั่นคงของรัฐในบางกรณี ได้รับสิทธิการประกันตัวอย่างง่ายดาย อย่างเช่น กลุ่มคนเสื้อเหลืองซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล สนามบิน สถานีโทรทัศน์ เมื่อปี 2551 สร้างความเสียหายมหาศาลให้กับประเทศชาติ กลับได้รับสิทธิการประกันตัว และคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนการชุมนุมของคนเสื้อแดงกลับถูกดำเนินคดีรวดเร็วและไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว

กรณีการจับกุมนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาถูกจับกุมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสรแก้ว ขณะที่กำลังพาคณะท่องเที่ยวชาวไทยไปกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ศาลไม่ให้ประกันตัว เขาพยายามยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมูลค่า 1.6 ล้านบาท เพื่อการประกันตัวออกมาต่อสู้คดีเป็นจำนวน 4 ครั้งด้วยกัน แต่ศาลไม่ให้สิทธิการประกันตัวโดยสิ้นเชิง

นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำคนเสื้อแดงอีกคนหนึ่งซึ่งถูกคุมขังในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 กล่าวว่าการไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นการ “มัดมือชก” ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีโอกาสต่อสู้คดีตามปกติ เป็นการพิพากษาล่วงหน้า ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดไปแล้ว ดังนั้นตัวเขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ขอต่อสู้คดี ซึ่งหมายถึงสภาพการถูกบังคับให้ต้องรับสารภาพนั่นเอง

“ผู้ถูกกล่าวหา” ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ต่างไปกับการตกเป็น “เชลยศึก” ที่ไม่สามารถยืนยันสิทธิ์อันชอบธรรมของตนเองได้เลย ย่อมถูกบีบบังคับทุกประการ เช่น ถูกคุมขังเป็นเวลายาวนานให้ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ

สำหรับการกล่าวหาและการจับกุมนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข เกิดขึ้นหลังจากเขาได้จัดการแถลงข่าวที่จะรณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการให้ประชาชนเข้าชื่อกัน 20,000 ชื่อตามรัฐธรรมนูญเพื่อยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2554 เขาถูกจับกุมวันที่ 30 เมษายน 2554 ถูกคุมขังมาเป็นเวลา 8 เดือนแล้ว
ในกระบวนการไต่สวนนัดสืบพยานโจทก์ปรากฏว่านายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข ต้องถูกย้ายเรือนจำจากกรุงเทพฯไปจังหวัดสระแก้ว  จังหวัดเพชรบูรณ์  จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 – เดือนกุมภาพันธ์ 2555 การเดินทางจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งเขาถูกล่ามโซ่ที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง นั่งอยู่ในรถห้องขังขนาดเล็กเป็นเวลาหลายชั่วโมงด้วยกัน อีกทั้งเขาต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับนักโทษในแต่ละเรือนจำอีกด้วย

ทนายคารม  พลทะกลาง ทนายความได้ให้ข้อมูลว่าได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้พยานฝ่ายโจทก์มานำสืบที่กรุงเทพฯ แทนที่จะให้จำเลยคือนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นนักโทษต้องเคลื่อนย้ายที่คุมขังด้วยความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก เพราะเหตุที่ว่าครอบครัว ญาติมิตร ไม่สามารถเดินทางไปเยี่ยมเยียนเขาได้ และทนายความไม่สามารถติดต่อเตรียมคดีกับตัวเขาได้

ทั้ง ๆ ที่ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่กลับถูกคุมขังเหมือนนักโทษซึ่งถูกพิพากษามีความผิดแล้ว การเคลื่อนย้ายนักโทษไปไตร่สวนต่างจังหวัดซึ่งห่างไกลกรุงเทพฯ เป็นการทรมานผู้ถูกกล่าวหารูปแบบหนึ่ง เมื่อประกอบกับการยอมรับสารภาพจะได้ลดโทษกึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลือกที่จะรับสารภาพมากกว่าที่จะต่อสู้คดีพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏ

แนวโน้มที่ศาลจะตัดสินให้ได้รับโทษสูงสำหรับผู้ตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเห็นได้จากกรณีที่ศาลตัดสินลงโทษนายอำพล ตั้งนพกุล ชายชราวัย 61 ปีเจ้าของเครื่องโทรศัพท์มือถือซึ่งส่งข้อความไปที่โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการนายอภิสิทธิ์  เวชชาชะ นายกรัฐมนตรี ข้อความทำให้เสื่อมพระเกียรติ อาฆาตมาดร้าย (นายอำพล อ้างว่าส่งข้อความในมือถือไม่เป็น) ศาลสั่งจำคุก 5 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำนวนโทษจำคุก 20 ปี

กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นนักวิชาการนิติศาสตร์ได้แสดงความคดเห็นให้มีการทบทวนแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรงเกินควร และกฎหมายดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือริดรอนสิทธิเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นในระบอบประชาธิปไตย

เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีนายคณิต    นคร  เป็นประธานได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพควรได้รับสิทธิการประกันตัว

นายอานันท์  ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีได้แสดงความคิดเห็นว่ามาตรา 112 มีบทลงโทษรุนแรงเกินไป และการเปิดโอกาสให้ทุกคนในประเทศฟ้องร้องกันด้วยจ้อหาดังกล่าวได้นั้นเป็นผลเสียมากกว่าผลดี นายอานันท์ อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “ผมไม่ชอบคุณอยู่นิดเดียว ผมแต่งเรื่องฟ้องคุณได้ จริงไม่จริงไปว่ากันทีหลัง” ตรงนี้เป็นจุดโหว่ที่ต้องมีการปิดประตู

ความคิดเห็นของบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผลใด ๆ ต่อศาลที่มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจที่จะให้ หรือไม่ให้สิทธิการประกันตัว ภายใต้วัฒนธรรม และกระแสแห่งกษัตริย์นิยม ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อกันอย่างเต็มที่ ย่อมส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมให้มีความโน้มเอียงภายใต้ความคิดที่ว่า “เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัว” ดังนั้นสำหรับผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงต้องถูกลงโทษให้สูญเสียอิสรภาพเป็นเวลาที่ยาวนาน

การดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกรณีของนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข จึงถูกองค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาตรา 112 เป็นกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชนและได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข กันอย่างกว้างขวางในระดับสากล

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไทม์ไลน์ ซ้ายมหากาฬ คิม จอง อิล จากวันรุ่งถึงวันดับ และว่าที่ผู้นำเกาหลีรุ่น 3


ทีมข่าว Sunai Fan Club  ขอเผยแพร่ต่อจากมติชน ในข่าวสำคัญของโลกวันนี้ คือการเสียชีวิตของ คิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จัก คิม จอง อิล มองผ่านเรื่องเกาหลีเหนือแล้วหันมามองสิ่งรอบข้างเราว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน



ทีมา มติชน
19 ธันวาคม 2554

หลังจากที่เฟซบุ๊คเปิดเวอร์ชั่นไทม์ ไลน์(Timeline) ให้สมาชิกลองใช้บริการแล้ว หลายคนคงจะงุนงงไปกับหน้าตาและความ "เยอะ" ของฟังก์ชั่นการใช้งาน



แต่หากปรับตัวลองใช้งานเฟซบุ๊คเวอร์ชั่นนี้สักนิด สิ่งที่น่าสนใจหนึ่งก็คือ การใช้ไทม์ไลน์สามารถที่จะทำให้ผู้ใช้ดึงข้อมูลเก่าๆออกมาดูว่า ในอดีต ตนเองเคยเขียนอะไรลงบนใบลานยุคดิจิตอลที่มีผู้ใช้ร่วมกันทั่วโลกในวันนี้ถึง 800 ล้านชื่อ



แม้ว่าประเทศ "ปิด" อย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือเกาหลีเหนือ จะไม่นิยมชมชอบสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กประเภทนี้ ด้วยเห็นที่ว่า สื่อชนิดนี้ไม่สามารถควบคุมความเห็นต่างของประชาชนในชาติได้



แต่ในเช้าวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2011 หลังจากที่ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โคเรียน เซ็นทรัล นิวส์ เอเยนซี (เคซีเอ็นเอ) แห่งชาติในกรุงเปียงยาง ได้สวมชุดดำพร้อมกับออกมาประกาศข่าวทั้งน้ำตาว่า คิม จอง อิล เสียชีวิตเวลา 08.30 น. เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการทำงานหนักเกินไปของจิตใจและร่างกาย โดยผลการชันสูตรศพวันที่ 18 ธันวาคม วันต่อมา ระบุว่า เขาเสียอันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พร้อมกับอาการหัวใจวาย ซึ่งอันที่จริงเขาป่วยด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนอยู่ก่อนแล้ว




คิม จอง อิล และ คิม จอง อึน บุตรชาย



ข่าวจากสื่อหลักสื่อรองก็ต่างแพร่สะพัดผ่านเจ้าของเฟซบุ๊คจำนวน มากมายออกมาว่า ชายที่พยายามสถาปนาตัวเองในชื่อ "ผู้นำอันเป็นที่รัก" ถึงแก่อสัญกรรมไปด้วยวัย 69 ปี....



การเสียชีวิตของเขา เป็นที่พูดถึงในระดับโลกแน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีของการขึ้นเป็นผู้นำรุ่นที่ 2 แห่งเกาหลีเหนือ การเคลื่อนไหวนำนาวารัฐของคิม จอง อิล ส่งคลื่นซัดชายฝั่งการเมืองโลกอยู่บ่อยครั้ง



โดยหากมองแบบไทม์ไลน์ในชีวิตของคิม จอง อิล ผู้นี้ เหตุการณ์สำคัญที่ควรจะนำมาพูดถึงมีดังต่อไปนี้



16 ก.พ. ค.ศ. 1941 (บันทึกโซเวียต) หรือ 16 ก.พ. ค.ศ. 1942 (บันทึกเกาหลีเหนือ)...เด็ก ชายคิม จอง อิล ถือกำเนิดขึ้นมาในครอบครัวนักปฏิวัติ บิดาชื่อ คิม อิลซุง มารดาชื่อ คิม จอง ซุก ซึ่งสถานที่เกิดยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า แท้จริงแล้ว ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือผู้นี้ถือกำเนิดที่ใดกันแน่ ระหว่างค่ายทหารโซเวียตในไซบีเรีย และฐานที่มั่นลึกลับบริเวณรอยต่อระหว่างชายแดนประเทศจีน ในยอดเขาเบกดู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเกาหลีเหนือ



ค.ศ.1997...หลังจากที่ เข้าเรียนหนังสือและทำงานการเมืองในระบบมาระยะหนึ่ง ในปี 1994 คิม อิล ซุง บิดาของเขาผู้เป็นผู้นำคนแรกของเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ ค.ศ. 1949 ได้สิ้นชีวิตลง 3 ปีต่อมา คิม จอง อิล ผู้เป็นบุตรชาย จึงได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศแทนคิม อิล ซุง อย่างเป็นทางการ โดยสถานภาพ ทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือในช่วงนั้น ตกต่ำเป็นอย่างมาก จนต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาตลอดนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้คนอดอยากหิวโหยสูงถึง 2 แสนกว่าคน และมีตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากความหิวโหยไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน แต่ผู้นำคนใหม่ก็ยังยืนยันหลักคิดของตัวเองว่า "กองทัพต้องมาก่อน"






ค.ศ.2003...การบำรุงกองทัพอย่างไม่หยุดยั้งของคิม จอง อิล ทำให้ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ต้องออกมากล่าวสุนทรพจน์โจมตีเกาหลีเหนือ ว่าเป็น "แกนแห่งความชั่วร้าย"(Axis of Evil ในวันที่ 29 ม.ค. 2002) ร่วมกับอิรัก และอิหร่าน เนื่องจากว่าเกาหลีเหนือมีการลักลอบดำเนินโครงการเสริมสมรรถนะนิวเคลียร์, ประกาศไม่ยอมหยุดโครงการพัฒนานิวเคลียร์ด้วยการขับไล่เจ้าหน้าที่สำนักงาน พลังงานปรมารณูระหว่างประเทศ(International Atomic Energy Agency : IAEA) ออกไป ทั้งยั้งถอนตัวจากสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์(Nuclear Non-Proliferation Treaty) และในปีเดียวกันนั่นเอง อเมริกายังตรวจพบว่า เกาหลีเหนือขายยูเรเนียมชนิดที่สามารถเอาไปทำนิวเคลียร์บอมบ์ให้แก่ลิเบีย



ค.ศ. 2006...เกาหลีเหนือได้สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงกับสังคมโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา, ประเทศไม้เบื่อไม้เมา ด้วยการทดสอบ ยิงขีปนาวุธห่างจากชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นประมาณ 300 ไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม อันเป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา และก็หาจังหวะทดสอบขีปนาวุธเรื่อยมา แม้ว่าจะประกาศยุติโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม ซึ่งการลงทุนทางด้านอาวุธจนเกาหลีเหนือกลายเป็นประเทศที่มีขนาดกองทัพใหญ่ เป็นอันดับ 5 ของโลก ช่างขัดกับภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวเกาหลีเหนือที่คนในชาติ 5-6 ล้านคนต้องการอาหารอย่างเร่งด่วน



ค.ศ.2008...อาการป่วยของคิม จอง อิล เริ่มเป็นที่รับรู้ของนานาประเทศ จนกระทั่งวันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นวันฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ทางการเกาหลีเหนือได้จัดพิธีครั้งยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งในเรื่องของจำนวนทหารและอาวุธที่นำมาจัดแสดง มีทั้งเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 240 มม. และปืนต่อสู้อากาศยาน 105 มม. จากฐานทัพอากาศเข้ามาร่วมแสดงด้วย แต่สิ่ง ที่แปลกไปก็คือ การไร้เงาของคิม จอง อิล ทั้งที่เขามาร่วมงานนี้ทุกปี จนเกิดข่าวลือต่างๆนานาว่า คิม จอง อิล ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน, โรคลมปัจจุบัน(Stroke) หรืออาการเลือดออกในสมอง จนน่าสงสัยว่าเขาเป็นอะไรกันแน่



อย่างไรก็ตาม คิม จอง อิล ออกมาสยบข่าวลือในวันที่ 4 ตุลาคม ในปีเดียวกันด้วยการปรากฏตัวต่อสาธารณชนในครั้งแรกในรอบ 2 เดือนในงานแข่งขันฟุตบอลในมหาวิทยาลัยคิม อิล ซุง ที่ที่เขาเคยร่ำเรียนมา



ค.ศ.2009...สื่อของเกาหลีใต้ได้อ้างข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้และจีน มาว่า คิม จอง อิล ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน






ค.ศ.2010...มีสัญญาณที่น่าสนใจบางอย่างออกมาจากกรุงเปียงยาง นั่นคือ เหตุการณ์ในเดือนกันยายนที่ทางเกาหลีเหนือวางตำแหน่งให้บุตรชายคนเล็ก คิม จอง อึน ขึ้นสืบทอดอำนาจต่อจากเขา โดยที่นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่า ชายหนุ่มวัย 28 ปี ผู้จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ อาจจะต้องขึ้นครองประเทศนี้โดยจาง ซอง แท็ก น้องเขยของของคิม จอง อิล ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสของพรรครัฐบาลช่วยกันประคับประคอง เนื่องด้วยแกนนำแกนนำของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่้เป็นผู้สูงวัยจะไม่ยอมรับความคิดลูกชายของเขา



และในที่สุด ปี 2011 คิม จอง อิล ได้ถึงแก่อสัญกรรม โทรทัศน์ในเกาหลีเหนือฉายภาพ "ท่านผู้นำอันเป็นที่รัก" ในมุมมองของรัฐบาลเกาหลีเหนือซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยคิม จอง อึน บุตรชาย จะเป็นผู้นำในการจัดพิธีศพของบิดาในครั้งนี้



น่าสนใจว่า หลังจากสิ้นคำประกาศของ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โคเรียน เซ็นทรัล นิวส์ เอเยนซี (เคซีเอ็นเอ) ที่กล่าวว่า ขอ ให้สมาชิกพรรคแรงงานทุกคน ทหารหาญ และประชาชนร่วมดำเนินรอยตามผู้นำผู้ล่วงลับด้วยความศรัทธา และเดินหน้าเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรค กองทัพ และประชาชน



เกาหลีเหนือหลังจากที่ไร้เงาของคิม จอง อิล จะเป็นเช่นไร? เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยในอาหรับ หรือ อาหรับ สปริง(Arab Spring) จะเกิดในดินแดนที่แร้นแค้นแห่งนี้หรือไม่? หรือ ระบอบเผด็จการซ้ายมหากาฬในโสมแดงจะคงอยู่ต่อไป?



โปรดติดตามความเป็นไปแบบไทม์ไลน์ของปีหน้าและปีต่อไปของเกาหลีเหนืออย่างไม่วางตา...

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวทางศาลสัญญาณไม่มีปรองดอง

บทชี้นำ
จาก RED POWER ฉบับที่ 22 ปักษ์แรก ธันวาคม 2554
ในขณะที่เสียงออดของสภากดส่งสัญญาณเรียกร้องการปรองดองด้วยการผ่านญัตติการปรองดอง แต่เสียงกลองศึกจากศาลก็ยังตีดังตุ่ม ตุ่ม มาก่อนหน้ายาวนานแล้วจากคดีดาตอร์ปิโดและคดีคนเสื้อแดง และยิ่งตีกลองเสียงดังกระชั้นสวนเสียงออดของสภาจากการไม่ให้ประกันตัวนักโทษการเมืองเสื้อแดงและล่าสุดจากการตัดสินลงโทษ คดีอากง นายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี ตามมาตรา 112 เป็นเวลา 20 ปี

          นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษการเมือง มาตรา 112 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์ Voice of TAKSIN และ Red Power ยื่นขอประกันตัวระหว่างการพิจารณาซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามกฎบัตรสหประชาชาติมา 5 ครั้งแล้วก็ได้รับการปฏิเสธจากศาลมาตลอดทุกครั้งด้วยคำสั่งสั้นๆว่า ไม่อนุญาตแม้สมยศจะร้องขอให้ศาลเปิดการไต่สวนว่าเขาไม่ได้หลบหนีและมีเหตุอันควรอนุญาตให้ประกันตัวได้แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต

          ล่าสุดศาลจะต้องส่งตัวสมยศไปฟังการสืบพยานโจทก์ที่ศาลจังหวัดสระแก้ว ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ และศาลจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งใครๆก็รู้ว่าการนั่งรถทัวร์เรือนจำและพักโรงแรมคุกในแต่ละจังหวัดตะลอนๆไปนั้นมันทรมานอย่างยิ่ง เพราะรถทัวร์คุกไม่มีแอร์ประกอบกับผู้โดยสารต้องถูกตีตรวนและที่พักต้องยัดทะนานนอน มันแสนจะทรมาน สมยศจึงขอสละสิทธิ์ที่จะเดินทางไปฟังการเบิกความและยินยอมให้ศาลสืบพยานลับหลังจำเลย โดยทนายความจำเลยยื่นขอต่อศาลและอัยการก็ไม่คัดค้านแต่ศาลไม่ยินยอม

          ทนายความเล่าว่าถ้าเช่นนั้นขอให้ศาลมีหมายเรียกพยานมาเบิกความที่กรุงเทพโดยทนายจำเลยยอมจ่ายค่าพาหนะให้ แต่ศาลก็ไม่ยินยอม

          การปรองดองเป็นเรื่องที่โครงสร้างอำนาจรัฐทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากันก่อนที่ประชาชนจะหันหน้าเข้าหากัน
          การปรองดองเป็นเรื่องที่ต้องยึดหลักนิติรัฐอย่างเดียวกัน มิใช่วินิจฉัยจากความโกรธแค้นของสีเสื้อ
          ที่สำคัญที่สุดคือ

         
การปรองดองจะต้องเริ่มจากโครงสร้างอำนาจรัฐต้องส่งสัญญาณเมตตาธรรมต่อประชาชนทุกฝ่ายที่เป็นเหยื่อของวิกฤติการเมือง อันเป็นผลจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นไปตามกลไกแห่งระบอบอำนาจของประชาชน


          เสียงกลองศึกจากกองทัพยังเริ่มเบาลง แต่เสียงกลองศึกจากศาลยังไม่มีวี่แววว่าจะลดความดังลงเลย
          แล้วประชาชนจะรับรู้สัญญาณการปรองดองได้อย่างไร
          สภาจะกดออดส่งสัญญาณเรียกอย่างไรก็เชื่อว่าประชาชนจะไม่เข้าห้องประชุมสภาเพื่อรับรองญัตติการปรองดองอย่างแน่นอน