Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"ส.สุนัย" ร่อนจดหมายถึงคนไทยรักประชาธิปไตย 2 กพ.พร้อมใจกันไปเลือกตั้ง




เรียนพี่น้องผู้ร่วมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคมที่เคารพ

กระผมได้รับความไว้วางใจจากพรรคให้อยู่อันดับ33 ในบัญชีรายชื่อสส., เพื่อเสนอต่อประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กพ. ซึ่งในขณะที่หลายคนมีความวิตกกังวลว่าจะไม่มีการเลือกตั้งซึ่งเป็นธรรมดาในสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนผ่านและซับซ้อนเช่นนี้ แต่สำหรับผมขอเสนอให้พี่น้องเราจงแปลความวิตกกังวลเป็นความมุมานะร่วมกับพรรคเพื่อไทยและทุกพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งช่วยกันผลักดันเร่งเร้าให้ประชาชนมีกำลังใจเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยที่มีความเสมอภาค 1คน 1เสียงเท่าเทียมกันโดยสามัคคีกับประชาชนทุกสาขาอาชีพเกาะเกี่ยวกันเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กฟันฝ่าอุปสรรคให้บรรลุชัยในวันที่ 2 กพ. ให้จงได้โดยชัยชนะอยู่ที่ประชาชนจะต้องออกมาลงคะแนนเสียงให้มากที่สุดเกินกว่าพวกม็อบอันธพาล ปชป.ที่ต่อต้านการเลือกตั้ง

โดยส่วนตัวกระผมเชื่อมั่นว่าผลงานและนโยบายของพรรคฯ ที่ผ่านมาเป็นประจักต่อประชาชนแล้วว่าพรรคเพื่อไทยมีความหวังดีและมีความจริงใจต่อประชาชนในการพัฒนาประเทศชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจึงเชื่อมั่นว่าพรรคฯ จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกและหากเป็นตามทีเชื่อมั่นนี้กระผมก็คงได้รับเลือกเป็น สส.ร่วมกับเพื่อนๆอีกหลายท่าน จึงขอให้คำมั่นว่ากระผมจะสานต่อยืนหยัดต่อสู้ปกป้องประชาธิปไตยและสร้างสรรค์ความเป็นธรรมต่อประชาชนและต่อ พตท.ทักษิณ ให้เกิดขึ้นเพื่อนำความรักใคร่ปรองดองกลับสู่สังคมไทยให้จงได้ดังเช่นที่ได้พยายามมาแล้ว, และหวังอย่างยิ่งว่าปณิธานดังกล่าวจะสำเร็จได้จะขาดเสียไม่ได้คือความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนในการต่อสู้ร่วมกันในภาวการณ์เปลี่ยนผ่านสังคมไทยในขณะนี้ที่มีความซับซ้อนยิ่ง

ด้วยความเคารพต่อประชาชนเสมอ
สส.สุนัย จุลพงศธร
23 ธค. 56

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ท่าที นานาชาติ ปฏิวัติ"ประชาชน" ท่าที กองทัพ


ที่มา:มติชนรายวัน 17 ธ.ค.2556



ทําไม กปปส.จึงหงุดหงิดต่อ "ทหาร" ต่อกองทัพ ทำไม คปท.อันเป็นแนวร่วมของ กปปส. จึงหงุดหงิดต่อทหาร จึงหงุดหงิดต่อ "สหรัฐ"
คำตอบ 1 เพราะทหารไม่เอาด้วย

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะตัวแทนทหารยืนยันในที่ประชุมเสวนา "ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน" ว่า

1 กองทัพต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย

1 กองทัพโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดยืนยันที่จะปฏิบัติอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ นี่คือจุดยืนของกองทัพ

1 กองทัพสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

คำตอบ 1 เพราะสหรัฐอเมริกาเป็น 1 ใน 40 ประเทศที่แสดงท่าทีอย่างเด่นชัดสนับสนุนการดำรงอยู่ของรัฐบาล

และอยากเห็นประเทศไทยก้าวเข้าสู่กระบวน การเลือกตั้ง

ปัจจัยของกองทัพ ปัจจัยของนานาชาติ จึงเป็นปัจจัยอันเป็นคุณต่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่เป็นคุณต่อการขับเคลื่อนของ กปปส. และ คปท.

ความหงุดหงิดจึงได้ปรากฏ


ต้องยอมรับว่าในยุคไร้พรมแดนอย่างที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างยิ่ง

เป็นความใกล้ชิดทางการค้า เป็นความใกล้ชิดทางการเมือง

แนวคิดในการแช่แข็งประเทศไทยอันเคยแสดงผ่านองค์การพิทักษ์สยามโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 จึงไม่ได้รับการสนับสนุน

ต่อการเคลื่อนไหวของ กปปส.ก็เช่นเดียวกัน

แม้จะใช้คำว่า "ปฏิวัติประชาชน" แม้จะแสดงทิศทางในการก้าวไปสู่ "สภาประชาชน" และรัฐบาลของประชาชน

แต่ประเทศแรกที่แสดงปฏิกิริยาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน

จีนเป็นประเทศแรกที่มอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อันเท่ากับให้กำลังใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ

จากนั้น จึงเป็นประเทศสหราชอาณาจักร จากนั้น จึงเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป เป็นการให้การสนับสนุนการเดินหน้าแก้ปัญหาของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เท่ากับ "โลก" กำลัง "ล้อม" ประเทศไทย


ไม่เพียงแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เท่านั้นที่ปฏิกิริยาจากนานาชาติแสดงความไม่เห็นด้วย

ชื่อของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ถูกปลดที่ฟอร์ธลีเวนเวิร์ธ

ชื่อของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ถูกปลดที่ฟอร์ธลีเวนเวิร์ธ อันเป็นโรงเรียนเสนาธิการทหารทรงเกียรติแห่งสหรัฐ

รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ก็ถูกปฏิเสธ

การลดงบประมาณช่วยเหลือในบางโครงการทางทหารกับสหรัฐ การออกแถลงการณ์คัดค้านจากสหภาพยุโรป

แต่ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ ปัญหาอันตกค้างและต่อเนื่องตลอด 7 ปี

สิ่งเหล่านี้ทหารไม่ว่ายุคของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ไม่ว่ายุคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ย่อมสรุปมาเป็นบทเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 คือความเสียหาย

เป็นความเสียหาย เป็นความอัปยศที่การเมืองทำให้ทหารต้องแปดเปื้อน

การขับเคลื่อนของ กปปส.ในเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม 2556 คือ ความต่อเนื่องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549

ยังเป็น "ฝันร้าย" ของ "สังคมไทย



แม้จะมีปฏิกิริยาจากนานาอารยประเทศ แม้จะมีท่าทีอันแจ่มชัดตรงไปตรงมาของกองทัพไทย

กระนั้น ปัญหาและความขัดแย้งอันปะทุตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนก็ยังคงอยู่และมีลักษณะยืดเยื้อ สถานการณ์เลือกตั้งแม้จะเป็นทิศทางแห่งประชาธิปไตยแต่ก็อยู่บนความไม่แน่นอน

เพราะ "กปปส." ยังดำรง "การต่อสู้" อยู่

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ออกแขกกันจนเซ็งหรือถึงคราวเจ้าของบ้านต้องออกโรง?


จากเฟสบุ๊ค จักรภพ เพ็ญแข - Jakrapob Penkair




ออกแขกหรือถึงคราวเจ้าของบ้าน?

มาถึงเวลานี้ ม็อบของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ไม่ต่างอะไรจากละครชุดทางทีวี ในตอนจบแต่ละตอนต้องใส่ฉากหรือใส่ช็อตสั้นๆ เอาไว้ยั่วน้ำลายคนดู เพื่อให้คอยตามดูตอนต่อไป เพราะหวังว่าตอนต่อไปอาจเป็นฉากสำคัญที่สุดของเรื่อง แต่ฉากสำคัญที่ว่าก็ยังมาไม่ถึงสักที ได้แต่หลอกกินค่าโฆษณาไปวันๆ อยู่อย่างนั้น เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็มิใช่บังเอิญ แต่เป็นข้อเท็จจริงของม็อบนั้นเอง ม็อบของนายสุเทพฯ ซึ่งทำทีว่าเป็นขบวนทัพยิ่งใหญ่ในตัวเอง ความจริงเป็นเพียงฉากเดียวของละครเรื่องใหญ่ที่มีผู้วางแผนอยู่มากมายเบื้องหลัง นายสุเทพฯ จึงมิได้เป็นผู้นำขบวนอะไรใดๆ เลย หากเป็นเพียงหัวหน้าแผนกเล็กๆ ที่ ต้องคอยคำสั่งอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นเอง แต่เราคนดูก็ต้องมองไปยังเวทีที่มีการออกแขกอยู่เป็นธรรมดา จะให้คอยมองหลืบเวทีหรือหลังรั้วไม้ที่เขาตั้งปิดหลังฉากไว้ ก็คงมองอะไรไม่เห็น เอาเป็นว่า ดูหน้านายสุเทพฯ ไปพลางก่อนก็ได้ เพียงอย่าลืมใบหน้าอีกมากมายที่คอยจัดแจงแต่งหน้า หาเครื่องแต่งกาย จัดอาหารเครื่องดื่ม กำกับการแสดง และอำนวยการสร้างอยู่ที่หลังเวทีการแสดงด้วยก็แล้วกัน

ถ้าอย่างนั้นเราน่าจะเห็นการแสดงอะไรบ้างในวันที่ ๒๒ ธันวาคมที่จะถึงนี้

๑. ในวันสุกดิบก่อนการชุมนุม คือวันที่ ๒๑ ธันวาคม พรรคประชาธิปัตย์จะประชุมตัดสินใจว่าจะร่วมลงเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ หรือไม่ ข่าวล่าสุดคือพรรคของนายสุเทพฯ จะลงมติไม่ร่วมเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่จะเรียกร้องให้ใช้มาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญฯ คือขอรับพระราชทานนายกรัฐมนตรีจากพระมหากษัตริย์อย่างที่เคยกระทำเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ หรือไม่นั้น ยังไม่แน่ชัด สิ่งที่แน่ชัดคือเจตนาของพรรคฯ นั้นคือช่วยเรียกแขกมาสู่การชุมนุมของนายสุเทพฯ ในวันรุ่งขึ้น เรารู้กันดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ กับนายสุเทพฯ ไม่เคยเล่นคนละแผน แต่เป็นคนละบท คนละฉาก หรือคนละตอนของแผนเดียวกันเสมอ คราวนี้จึงไม่มีอะไรแตกต่างไปจากนั้น แนวคิดปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ ที่คิดและพูดออกมาดังๆ อย่างนายอลงกรณ์ พลบุตรและนายกรณ์ จาติกวนิช จึงไม่ใช่ความต้องการของเจ้าของพรรคตัวจริง และครั้งนี้ก็แสดงอย่างชัดเจนที่สุดแล้วว่าไม่ต้องการปฏิรูป ซึ่งสำหรับผมแล้ว ถือเป็นการเสียโอกาสครั้งสำคัญในการป้องกันมิให้คนไทยทั้งประเทศลุกขึ้นมาประหัตประหารกันเอง หากประชาธิปัตย์ปฏิรูปเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมเต็มรูป การประลองกำลังระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมก็จะไปอยู่ในสนามเลือกตั้ง ไม่ใช่แถวหน้ารามฯ หลังรามฯ ซอยมหาดไทย หรือตามถนนหนทางใดๆ การเลือกตั้งคือการตัดสินใจในระดับรัฐ และเป็นครรลองสากลของการรอมชอมและแสวงทางออกทางการเมืองของสังคมอารยะ ต้องตราไว้ตรงนี้ให้ชัดว่า ประชาธิปัตย์นั่นเองที่เป็นฝ่ายต้องการความรุนแรงและการเสียเลือดเนื้อของประชาชน ขนาดมีทางเลี่ยงให้เลือกแล้วก็ยังไม่ปรารถนา เราก็ต้องช่วยกันจำจารึกไว้

๒. สัญญาณเดียวที่นายสุเทพฯ ได้รับในห้วงเวลาเจ็ดวันที่ผ่านมานี้คือ “อย่าทำให้ท่านเสียชื่อ” ซึ่งแปลความว่ากระไรผมก็ไม่แน่ใจนัก เท่าที่รู้มาเลาๆ การประกาศของนายสุเทพฯ เกี่ยวกับระบอบสมบูรณ์ฯ ทำให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นมาก จนถึงขั้นมีผู้เสนอ (ภายในฝ่ายเขาด้วยกันเอง) ให้ระงับปัญหานี้ด้วยความเด็ดขาด จนนายสุเทพฯ ต้องหายตัวไปเฉยๆ หลายวัน ความเดือดร้อนนั้นมิใช่เพราะไม่เห็นด้วย แต่เดือดร้อนเพราะนายสุเทพฯ ทำงานโฉ่งฉ่างและฉายไฟเข้าใส่ตัวเองจนเห็นทะลุไปถึงตับไตไส้พุงว่าม็อบนี้ของใคร โดยใคร และเพื่อใคร แต่โชคดีของนายสุเทพฯ คือเขายังหาคนมาเปลี่ยนใหม่ไม่ได้ ซึ่งอาจถือเป็นความฉลาดอย่างหนึ่งของนายสุเทพฯ ผู้ทำให้ม็อบครั้งนี้มีความผิดเพี้ยน แปลกประหลาด และสวนกระแสสังคมโลกอย่างครบวงจร จนไม่มีคนสติดีที่ไหนกล้ารับช่วงต่อ นายสุเทพฯ จึงยังนั่งหัวโต๊ะไปพลางก่อน แต่ก็ได้รับคำเตือนอย่างเฉียบขาดดังกล่าว เราจึงเห็นภาพล่วงหน้าว่า หากรัฐบาลไม่สร้างเงื่อนไขช่วยม็อบ พลังของม็อบก็จะยกสูงขึ้นมาแค่วันนั้นวันเดียว ด้วยปัจจัยสำคัญคือ การขนคนและความที่เป็นวันหยุดราชการ ถ้าม็อบไม่เล่นแร่แปรธาตุโดยการใช้ความรุนแรงอย่างกุ๊ยข้างถนน ก็จะไม่สามารถโยกคลอนรัฐบาล ได้มากไปกว่าที่ได้ทำมาแล้ว และถ้าเล่นมากไป จน “ท่าน” เดือดร้อน คนที่สั่งเคลื่อนม็อบเองอาจจะสิ้นชื่อเอาได้ง่ายๆ นายสุเทพฯ ทุกวันนี้จึงอยู่ได้เพราะเลือดบ้าในตัวเองเท่านั้น ในขณะที่หลักเหตุผลและสภาพแวดล้อมต่างๆ เริ่มเดินสวนทางกับเขาแล้วทั้งสิ้น.

********************************************

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เห็นคนเท่ากันก่อนปฏิรูป การเมืองและก่อนการเลือกตั้ง (ดีมั้ย)?

โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์




ความผันผวนทางการเมืองของไทยนั้นทำให้เรื่องหลายเรื่องนั้นพลิกผันไปมาอย่างน่าสนใจ

อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมตั้งคำถามว่า กระบวนทัศน์/วาทกรรม "ปฏิรูปการเมือง" นั้นทำไมหายไปไหน? ท่ามกลางความฮึกเหิมของการนำเสนอการปฏิวัติของมวลมหาประชาชนและข้อเสนอเรื่องสภาประชาชน

แต่เมื่อเกิดการรุกทางการเมืองครั้งใหญ่อีกครั้งที่หน้าทำเนียบ และเกิดการยุบสภาเมื่อวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ก็พบว่าการพูดถึงการปฏิรูปการเมืองนั้นโผล่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเสนอว่าการปฏิรูปการเมืองต้องมาก่อนการเลือกตั้ง

เรื่องนี้น่าสนุก และต้องถามกันว่า การปฏิรูปการเมืองที่ดูเหมือนจะเป็นอาวุธอันทรงอานุภาพของคนจำนวนหนึ่งในการสกัดยับยั้ง "(นัก)การเมืองเลวๆ" นั้น จะสามารถมีพลังได้มากน้อยแค่ไหน หากเทียบกับกระแสการปฏิรูปการเมืองในช่วงก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ 2540

อย่าลืมว่าการปฏิรูปการเมืองในครั้งนั้น ใช้เวลายาวนานมาก และที่สำคัญเป็นการปฏิรูปหลังการเลือกตั้งในรอบแรก คือพรรคการเมืองขานรับนโยบายต่างๆ ว่าจะเริ่มปฏิรูป จากนั้นก็ยังกินเวลายาวนานกว่าจะเริ่มปฏิรูป นอกจากนั้นการปฏิรูปครั้งนั้นก็ริเริ่มด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญขนานใหญ่ ภายใต้ฉันทามติของสังคม

ใช่ว่าการปฏิรูปการเมืองในรอบที่แล้วนั้นจะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จเสียทีเดียว ดังนั้น การปลุกกระแสเรื่องของการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง (แต่ไม่แก้รัฐธรรมนูญ) ในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่มิใช่น้อย ทั้งนี้ในยุคสมัยที่เราอยู่ภายใต้การเมืองแบบปฏิรูปการเมือง ก่อนการรัฐประหารครั้งล่าสุดนั้น เราก็พูดกันเรื่องของ "อคติทางการเมือง" ซึ่งเป็นอคติพิเศษที่แตกต่างจากอคติทางการเมืองก่อนหน้านั้น หรืออคติการเมืองในการร่างรัฐธรรมนูญในสมัยก่อนปี 2540

ด้วยการใช้กรอบความคิดของหนึ่งในปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ของไทย คือ เสน่ห์ จามริก ที่เสนอให้มองว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นเสมือนสิ่งที่สะท้อน "สัมพันธภาพทางอำนาจ" มากกว่าเป็นเรื่องของกฎหมายสูงสุด (สูงสุดที่ไหนมีตั้งหลายฉบับ?) เราจะพบว่า รัฐธรรมนูญในอดีตมีอคติในแง่ของอำนาจจากกลุ่มอำนาจที่แตกต่างกัน ใครมีอำนาจก็ร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ทหาร หรือพลเรือน แต่ในตัวรัฐธรรมนูญ 2540 เราพบว่าอคติที่สำคัญเป็น "อคติแบบชนชั้น" (class bias) ที่ชัดแจ้ง ไม่ว่าจะเรื่องของการตั้งกฎของการที่ ส.ส.ต้องจบปริญญาตรี และที่สำคัญก็คือชนชั้นในสังคมไทยนั้นเป็นชนชั้นที่ "ผูกโยงกับพื้นที่" ด้วย

ดังนั้น จึงไปสอดคล้องกับการพยายามแก้ปัญหา "สองนคราประชาธิปไตย" ของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่มองว่าคนชนบทตั้งรัฐบาล และคนในเมืองล้มรัฐบาลโดยการเพิ่มอำนาจให้คนในเมืองผ่านการมีการเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ
นอกจากนั้น ในงานวิจัยของ ไมเคิล คอนเนอร์ ซึ่งเป็นผู้ที่เกาะติดประเด็นเรื่องการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยในช่วงนั้น (Democracy and National Identity in Thailand (2002)) ก็เสนอให้เห็นมิติที่น่าสนใจว่า การพูดถึงเรื่องประชาธิปไตย อาจต้องพิจารณามิติของความสัมพันธ์ทางอำนาจด้วยว่าใครสามารถที่จะช่วงชิงการนิยามความหมายและปฏิบัติการของคำว่าประชาธิปไตย ได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งในแง่ของรัฐและในแง่ของกลุ่มพลังที่ไม่ใช่รัฐ รวมทั้งการตั้งคำถามกับเรื่องของความเป็นไทยในการกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างนิยามประชาธิปไตย หรือการนำเอามุมมองแบบเสรีนิยมทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้ามาผสานกับพลังอนุรักษนิยมในสังคมไทยเป็นต้น

ในแง่นี้การปฏิรูปทางการเมืองที่ผ่านมาจึงมีมิติด้านชนชั้นอย่างชัดแจ้ง ชัดแจ้งกว่าการทำรัฐประหารและการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เสียอีก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดมีลักษณะของอคติในอีกแบบหนึ่ง คือเป็นอคติของการเมืองแบบกลุ่ม และต่อต้านคนคนหนึ่งเป็นการพิเศษ ดังนั้น จึงน่าพิจารณาว่าในการรื้อฟื้นอคติแบบชนชั้นที่มีอยู่ในการปฏิรูปทางการเมืองในรอบที่แล้ว โดยเฉพาะที่มองว่านักการเมืองเป็นสถาบันตัวแทนของความเลวร้าย เมื่่อมาร่วมมือกับระบอบต้านทักษิณภายหลัง 2549 เป็นต้นมานั้นจะส่งผลในแง่เดียวกับความสำเร็จในรอบ 2540 หรือไม่?

ทีนี้ในเรื่องต่อมาก็คือเรื่องราวเฉพาะหน้าที่ยังเกี่ยวเนื่องกับกระแส "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ในรอบนี้ ที่เชื่อว่าหากไม่ปฏิรูปเสียก่อน เราก็ได้คนกลุ่มเก่าๆ กลับเข้าสู่ระบอบการเมืองอยู่ดี และทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีสาระ และเสียเปล่า

คำถามที่สำคัญในทางรัฐศาสตร์จึงอยู่ที่ว่า การเลือกตั้งนั้นสำคัญไฉน การเลือกตั้งเป็นทุกสิ่งทุกอย่างจริงหรือไม่? และสังคมของเราและสังคมโลกนั้นเดินทางยาวนานแค่ไหนแล้วในการถกเถียงกันในเรื่องนี้?

คำตอบสั้นๆ ก็คงจะเป็นว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นส่วนสำคัญและเป็นเรื่องของเงื่อนไขขั้นต่ำของการมีประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งนั้นให้หลักประกันกับการมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญของประชาธิปไตย นั่นก็คือ การยอมรับว่าคนนั้นเท่ากัน

เรื่องนี้เป็นหลักการที่สูงกว่าเรื่องของเสียงข้างมาก อาจกล่าวได้ว่าเสียงข้างมากนั้นไม่ใช่เรื่องอุดมคติของการปกครอง แต่อาจเป็นหนึ่งในวิถีทางของการปกครอง ที่เป็นผลมาจากการยอมรับก่อนว่าคนนั้นเท่ากัน และสามารถปกครองตนเองได้

เพราะสุดท้ายเรื่องราวของการมีรัฐบาล และการมีสัญญาประชาคมนั้นก็เพื่อแสวงหาเจตจำนงร่วมกันนั่นแหละครับ และการเลือกตั้งในระดับหนึ่งก็อาจจะนำไปสู่การแสวงหาเจตจำนงร่วมกัน

แต่สิ่งที่จะต้องพัฒนาต่อไปในประชาธิปไตยนั่นก็คือ การทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นที่ยอมรับในทุกฝ่าย และพัฒนาเรื่องราวอื่นๆ มาแบ่งปันอำนาจกับเรื่องของการปกครองโดยเสียงข้างมากด้วย โดยเฉพาะหลักการของการทำให้เสียงข้างมาก ยอมรับต่อหลักการของว่าคนนั้นเท่ากัน ไม่ใช่หลักที่ว่าเสียงข้างน้อยมีคุณภาพมากกว่าเสียงข้างมาก

ตัวอย่างของหลักการที่ช่วยให้คนเท่ากันก็เช่นหลักนิติธรรม ซึ่งหมายถึงว่าทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม กฎหมายต้องทำงาน เพื่อรองรับหลักการว่าคนนั้นเท่ากัน และถ้าจะแก้กฎหมายก็ต้องไม่ขัดกับหลักที่ละเมิดความเท่ากันของคน เป็นต้น

ในส่วนของการทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายนั้น คงจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขใหญ่สักสองประการ ประการแรกก็คือ เรื่องของนัยยะสำคัญของการเลือกตั้งต่อการปกครองประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะสรุปง่ายๆ ว่า การเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครอง และเป็นการสะท้อนเจตจำนงของประชาชน เป็นการทำให้เราได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชนที่หลากหลาย เป็นการนำเสนอประเด็นที่สังคมต้องการโดยรวบรวมและจัดลำดับความสำคัญและกลั่นกรองมาเป็นนโยบาย รวมทั้งการเลือกตั้งยังเป็นเรื่องของการทำให้ประชาชนมี "เสียง" ที่จะได้สะท้อนออกมา ผ่านการแสดงสิทธิของเขาที่จะเลือกใครหรือไม่เลือกใคร และประชาชนยังมีโอกาสได้เรียนรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร และมีข้อถกเถียงอะไรกันบ้างในสังคม (ดูเพิ่มเติมจากเอกสารขององค์กรด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ UNDP - Elections and Conflict Prevention: A Guide to Analysis, Planning and Programming)

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องเน้นย้ำกันก็คือ การจะทำให้การเลือกตั้งมีความชอบธรรมและนำไปสู่ความชอบธรรมของการปกครองได้ เราก็ต้องพิจารณาว่าการเลือกตั้งจะต้องมีองค์ประกอบสี่ประการ (หลักการ) ด้วย นั่นก็คือ

1.การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี (free) คือเป็นการเลือกตั้งที่ทุกคนสามารถลงสมัครได้

2.การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่มีกฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม (fair) คือมีกฎกติกาต่างๆ ที่ยอมรับร่วมกัน

3.การเลือกตั้งจะต้องเกิดอย่างสม่ำเสมอ (regular) คือไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะมีเมื่อไหร่ ทั้งในครั้งนี้และครั้งต่อๆ ไป

4.การเลือกตั้งจะต้องมีความหมาย (meaningful) ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก และนักวิชาการรัฐศาสตร์กระแสหลักไม่ค่อยพูดถึง ขณะที่นักวิชาการสายการเมืองเชิงวัฒนธรรม (cultural politics) นึกถึงเสมอ เพราะการเลือกตั้งเป็นเรื่องของการกำหนดความหมายของแต่ละสังคม ซึ่งในแง่นี้ก็ต้องพิจารณาไปถึงเรื่องของการพยายามไม่ให้มีการเลือกตั้ง หรือถ่วงการเลือกตั้งให้ล่าช้าไปด้วย นับตั้งแต่อดีต อาทิ ประชาชนยังไม่พร้อมในยุคเมื่อหลายสิบปีก่อน มาจนถึงยุคนี้ที่บอกว่า "ระบบยังไม่พร้อม" ดังนั้นต้องปฏิรูปการเมืองเสียก่อน หรืออาจลามไปถึงข้อเสนอที่ว่าประชาชนบางคนอาจจะยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ

ในแง่นี้การพูดถึงการเลือกตั้งที่มีความหมายนั้น อาจทำให้เราต้องมาคิดอีกครั้งว่า เอาเข้าจริงมิติเรื่องความหมายของการเลือกตั้งนั้นอาจจะสำคัญกว่ามิติที่ใครๆ ก็มองว่าเป็นมิติหลัก และเป็นมิติทางกฎหมาย (ในสามข้อข้างต้น) เสียอีก แต่ก็เป็นเรื่องราวที่นำมาสู่การช่วงชิงความหมายกันไม่มีที่สิ้นสุดนั่นแหละครับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ได้หมายความง่ายๆ ว่าการพูดเรื่องการเลือกตั้งเป็นเรื่องของการช่วงชิงนิยามความหมายเท่านั้น หรือมองว่าการเลือกตั้งเป็นกระบวนการได้มาซึ่งรัฐบาลและความชอบธรรมราวกับว่าสังคมนั้นตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า "สภาวะแรกเกิด" อยู่ตลอดเวลา เพราะในความเป็นจริง สังคมที่มีการเลือกตั้งนั้นอาจจะเป็นสังคมที่มีความขัดแย้งที่ร้าวลึก หรือในอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งที่ไม่ได้มีการทำความเข้าใจและบริหารจัดการที่ดี ก็มีส่วนที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งได้เช่นกัน

ในแง่ของประเทศที่มีประชาธิปไตยอยู่แล้ว รวมถึงประเทศที่เพิ่งมีประชาธิปไตยด้วย การพยายามปฏิรูประบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งนั้นก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นระบบการออกแบบการเลือกตั้งที่ซับซ้อนขึ้น จะเห็นระบบการคัดเลือกผู้สมัครของแต่ละพรรคมีการเพิ่มมิติการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคมากขึ้น เช่นระบบ primary เป็นต้น

ในอีกด้านหนึ่ง หน่วยงานการพัฒนาและสันติภาพระดับนานาชาติ ก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการเลือกตั้งในประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง/รุนแรง/นองเลือด ทั้งในแง่ที่ไม่มีการเลือกตั้งมาก่อน หรือการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้นนำไปสู่ความขัดแย้ง อาทิ บารุนดิ กูยาน่า เฮติ เคนย่า ศรีลังกา กัมพูชา และซิมบับเว

ประเด็นทางวิชาการที่ค้นพบจากประเทศที่การเลือกตั้งกลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองถึงขั้นรุนแรงเสียเลือดเนื้อนั้น ก็คือการเลือกตั้งไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ก็มีส่วนที่ทำให้ความขัดแย้งระดับรากเหง้านั้นปะทุขึ้นมาได้ ถ้าการบริหารจัดการนั้นไม่ดีพอ และจะทำลายคุณูปการของการเลือกตั้งที่มีต่อสังคมประชาธิปไตยลงด้วย (ดูงานของ UNDP ที่กล่าวถึงไปแล้ว)

เงื่อนไขสำคัญในระดับรากฐานที่จะทำให้การเลือกตั้งกับความขัดแย้งในแบบทำลายล้างสัมพันธ์กันอาจจะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้จากการชนะหรือแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งในแง่นี้เราอาจต้องพิจารณาว่า การคอร์รัปชั่นนั้นเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน แต่ในอีกด้านหนึ่งการที่ฝ่ายหนึ่งครองอำนาจยาวนานนั้นโดยตัวมันเองก็เป็นเรื่องของการที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตนสูญเสียอำนาจเช่นกัน

ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อความคาดหวังจากการเลือกตั้งเกิดขึ้นในสังคมที่หาความแน่นอนในผลการเลือกตั้งไม่ได้เช่นคะแนนใกล้เคียงกันมาก ก็อาจจะมีผลเช่นกันในแง่ของการเกิดความรุนแรงในการสังหารคู่ขัดแย้ง (แต่เรื่องนี้ก็ไม่ง่าย เพราะอย่างงานวิจัยของ ณัฐกร วิทิตานนท์ แห่งแม่ฟ้าหลวง ก็ชี้ว่า แม้ว่าจะชนะ แต่การเลือกตั้งครั้งต่อไปก็จะแพ้ได้เช่นกัน) หรือเมื่อรู้ว่าพรรคฝ่ายตนยังไงก็แพ้ และไม่ได้ร่วมอำนาจ ก็อาจหันไปหาหนทางที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้เช่นกัน รวมไปถึงวิธีการเล่นการเมืองในการเลือกตั้งแบบสุดขั้วแต่ไม่ได้เป็นนโยบายที่สุดขั้ว หากแต่เป็น "อัตลักษณ์แบบสุดขั้ว" เช่นฉันเป็นคน "ชาติ(พันธุ์)นี้" ก็ทำให้คนอื่นร่วมอำนาจด้วยไม่ได้ หรือคนที่อยู่กลางๆ นั้นหาที่ลงในการเมืองแบบนี้ไม่ได้เช่นกัน ยิ่งพรรคการเมืองที่อ้าง "องค์รวม" เช่น ชาติหรือประชาชน ขณะที่ไม่สามารถดึงเอาฝ่ายอื่นๆ มาอยู่ในการสนับสนุนได้ ความรุนแรงก็อาจเปิดขึ้นได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุป ในวันนี้การพูดถึงการเลือกตั้ง เขามองกันยาวๆ ตั้งแต่มองว่าการเลือกตั้งเป็นกระบวนการยืนยันว่าคนนั้นเท่ากัน แต่ก็ต้องมองต่อว่าการเลือกตั้งก็ต้องมีเงื่อนไขที่กำกับให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับ และในการบริหารจัดการเลือกตั้งนั้นเขาก็มองตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้งด้วยครับผม
...................

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

'ส.สุนัย' เสนอกิจกรรมต่อองค์กรคนไทยผู้รักประชาธิปไตยทั่วโลก

ข้อเสนอกิจกรรมต่อองค์กรคนไทยผู้รักประชาธิปไตยทั่วโลกที่อยู่ในต่างประเทศทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียน:

1.ขอท่านได้โปรดเปิดประชุมหารือให้การสนับสนุนประชาธิปไตย ในประเทศไทยเดินหน้าต่อไปตามครรลองโดยมุ่งหน้าไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ. 2557 โดยจัดทำเป็นเอกสารหรือแถลงการณ์ ออกสื่อสาธารณะ หรือยื่นต่อหน่วยงานรัฐบาลประเทศทีท่านพักอาศัยอยู่

2.ควรพิจารณาให้มีประเด็นต่อต้านความรุนแรงต่างๆที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีจะก่อขึ้นเพื่อขัดขวางการเลือกตั้ง

3.ควรจะเรียกร้องไปยังพรรคการ เมือง หรือรัฐบาลในประเทศที่ท่านพักอาศัยออกแถลงการณ์สนับสนุนการเลือกตั้งในประเทศไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการรัฐประหารและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นอันจะนำไปสู่การเสียชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนอย่างที่เคยเกิดแล้วในประเทศของเรารวมตลอดถึงเชิญชวนให้รัฐบาล นั้นๆ ส่งตัวแทนเข้าร่วมการสังเกตการเลือกตั้งด้วย

เพียงเท่านี้ก็ได้ชื่อว่าท่านได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของชาติในภาวะวิกฤตให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ
ด้วยความเคารพ

ส.ส.สุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร คนล่าสุด
(หมายเหตุ:หากท่านเห็นด้วยกรุณานำเสนอต่อให้แก่กลุ่มคนไทยผู้รักชาติรักประชาธิปไตยในต่างประเทศตามเงื่อนไขของท่านที่เป็นไปไดจะเป็นพระคุณยิ่ง)

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จับจังหวะก้าวถอย ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภา ดีกว่านองเลือด

ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 13-19 ธันวาคม 2556




"จริงๆ ก็ต้องเรียนว่าเป็นความรู้สึก ถ้าถามว่าเป็นใครก็เชื่อว่าทุกคนก็คงจะมีความรู้สึก ดิฉันเองก็ใช่ว่าจะไม่มีความรู้สึก ได้ฟังมาตลอดจากการร้องขอของผู้ชุมนุม


การกล่าวถึงทั้งตระกูลนั้น ดิฉันก็ถือว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงขนาดจะไม่ให้เหยียบแผ่นดินไทยเลยหรือ เราจะเป็นกันอย่างนี้หรือ ดิฉันก็ถอยจนไม่รู้จะถอยอย่างไรแล้ว ขอความเป็นธรรมด้วย"

รายงานข่าวระบุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวตอบผู้สื่อข่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอ ต่อข้อซักถามกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการขับไล่คนตระกูล"ชินวัตร"ทั้งหมดออกจากประเทศ

เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เคยตอบคำถามด้วยน้ำเสียงสั่นเครือน้ำตาคลอแบบนี้มาแล้ว เมื่อครั้งผู้สื่อข่าวตั้งคำถามถึงเหตุการณ์คนกลุ่มหนึ่งเข้าไป"เป่านกหวีด" ในโรงเรียนที่ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปป์ กำลังศึกษาอยู่

"ถ้าใครมีลูกก็คงเข้าใจ ถ้าไม่พอใจ ก็มาลงที่แม่เถอะ อย่าไปลงกับเด็กเลย"

ผู้สื่อข่าวถามว่าน้องไปป์จะทำอย่างไรต่อไป น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า คงไปโรงเรียนตามปกติและจะเข้มแข็งขึ้น ลูกคงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ไม่ว่าในฐานะคนตระกูลชินวัตร หรือในฐานะคนเป็นแม่ ถ้าหากพิจารณาจากแรงกดดันทางการเมืองที่แผ่รังสีอำมหิตคุกคามไปถึงบุคคลในครอบครัวและบุตรชายอายุเพียง 11 ขวบ

น่าจะเป็นคำตอบได้ว่าการเสียน้ำตาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นเรื่องจงใจประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อหวังผลทำลายภาพลักษณ์ฝ่ายตรงข้ามหรือไม่

ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้ 2 ฝ่าย ถอยคนละก้าว เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้

แต่ภาพความจริงที่ปรากฏ คือ รัฐบาลไม่เคยเป็นฝ่ายรุกไล่ มีแต่เป็นฝ่ายถอยแล้วถอยอีก



กลับมาสู่ประโยคคำพูดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ว่า "เราจะเป็นกันอย่างนี้หรือ ดิฉันก็ถอยจนไม่รู้จะถอยอย่างไรแล้ว"

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ปัญหาความวุ่นวายยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ถึงแม้นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมแล้วก็ตาม

แต่กลุ่มผู้ชุมนุมภายใต้การบังคับบัญชาของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อีกจำนวนหนึ่ง

ซึ่งยกระดับจากม็อบนกหวีด ขึ้นเป็นกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.

ก็ยังเปิดฉากรุกไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่หยุดหย่อน

ล่าสุด นายสุเทพถึงกับออกแถลงการณ์คำสั่ง ในฐานะเลขาธิการ กปปส. ให้ดำเนินคดีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรี ในข้อหาเป็นกบฏ

เนื่องจากไม่ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการหลังการยุบสภา ตามเงื่อนไขเวลาที่ กปปส. กำหนดเส้นตาย

หากถือเอาการยุบสภาเป็นการ"ถอย"ครั้งใหญ่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ใครต่อใครหลายคนไม่ว่าฝั่งไหนก็ยังเฝ้าจับตาดูว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยอมถอยออกจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี

อันเป็นเงื่อนไขข้อเรียกร้องสูงสุดของกลุ่ม กปปส. และอาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำจำนวนหนึ่ง ที่เกื้อกูลอยู่กับ กปปส. และอดีตพรรคฝ่ายค้านมาตลอด

เพื่อบีบบังคับให้การเมืองเข้าสู่ห้วงสุญญากาศ นำไปสู่การมีนายกรัฐมนตรี"คนกลาง" หรือที่เรียกว่า "นายกฯ มาตรา 7" เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน

รวมถึงจัดตั้งสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน หรือคณะปฏิรูปประเทศ แล้วแต่จะเรียก

คำถามคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยอมให้การเมืองเดินไปถึงจุดนั้นหรือไม่



หากจับจังหวะการถอยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นับแต่เกิดวิกฤตการเมืองรอบใหม่ราวปลายเดือนตุลาคม เป็นต้นมา

จะเห็นได้ว่าทุกจังหวะล้วนเป็นการถอยตามกรอบกฎหมายและครรลองประชาธิปไตย

เริ่มตั้งแต่การประสานกับสมาชิกวุฒิสภาเพื่อ"ตีตก" ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง รวมถึงการถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมปรองดอง ที่ค้างวาระอยู่ในสภาอีก 6 ฉบับออกทั้งหมด

ทั้งยังจับมือกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลลงนามสัตยาบัน ยืนยันจะไม่นำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กลับมาพิจารณาดำเนินการออกเป็นกฎหมายบังคับใช้อีก

แต่ทุกอย่างตอนนั้นดูเหมือนไม่ทันต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ที่ยกระดับก้าวข้ามการต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ไปสู่การล้างระบอบทักษิณ โค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์

มีการเคลื่อนกำลังมวลชนเข้าปิดล้อมสถานที่ราชการหลายแห่ง บุกยึดกระทรวงการคลังและศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เปิดเป็นเวทีปราศรัยคู่ขนานเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

มีการระดมมวลชนชุมนุมใหญ่ด้วยกัน 4 ครั้ง

วันที่ 11 พฤศจิกายน วันที่ 24 พฤศจิกายน วันที่ 1 ธันวาคม และล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่แบ่งสายเดินขบวนทั่วกรุง 9 สาย ทุกสายมุ่งสู่ทำเนียบรัฐบาล

ทุกครั้งที่มีการระดมชุมนุมใหญ่ ปริมาณมวลชนจะขยายใหญ่โตมากขึ้นตามลำดับ จากเรือนหมื่นเป็นเรือนแสน มากที่สุดทะลุถึง 250,000 คน

ได้รับการบันทึกสถิติให้เป็นม็อบที่มีผู้มาร่วมชุมนุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แม้ว่าผู้ชุมนุมแต่ละคนจะมาร่วมด้วยเป้าหมายแตกต่างกันก็ตาม

บวกกับความเคลื่อนไหวในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่นำลูกพรรคแถลงลาออกจาก ส.ส. ทั้งหมด 253 คน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม เพื่อร่วมกับม็อบ กปปส. สร้างแรงกดดันอีกทางหนึ่ง

ทุกอย่างจึงเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องถอยก้าวใหญ่เมื่อเช้าวันที่ 9 ธันวาคม ด้วยการประกาศยุบสภาในที่สุด

ตรงนี้เองคือที่มาประโยคคำพูดที่ว่า "ถอยจนไม่รู้จะถอยอย่างไรแล้ว"


เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ช่วงค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 108 และมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญ

มีเนื้อหาใจความสำคัญ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการ"เลือกตั้ง"สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่

พร้อมให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง "รักษาการ"ตามพระราชกฤษฎีกานี้

นอกจากนี้ ประกอบกับมาตรา 181 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่

ข้อบัญญัติดังกล่าว ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อเรียกร้องสูงสุดของกลุ่มผู้ชุมนุมได้

เนื่องจากการลาออกหลังยุบสภา อาจทำให้รักษาการนายกรัฐมนตรี ต้องกลายเป็นผู้กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 และกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เสียเอง

ตรงนี้เองคือกับดักแยบยล

ในสังคมคนทั่วไปมองว่ามีทั้งความเหมือนและความต่างระหว่างการยุบสภาของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วันที่ 9 ธันวาคม 2556 กับการยุบสภาของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554

เหมือนกันคือ 2 รัฐบาลต่างถูกกดดันอย่างหนักจากกลุ่มมวลชนขนาดใหญ่นอกสภา ที่เห็นว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรมที่จะอยู่บริหารประเทศต่อไป

แต่ต่างกันคือจังหวะเวลา

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ใช้เวลาเกือบ 1 ปีหลังเหตุการณ์สั่งใช้กำลังอาวุธความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนมีคนตาย 99 คน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน

และอยู่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการตามกฎหมายจนกระทั่งถึงการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 โดยไม่มีคนกลุ่มใดหรือคนเสื้อแดงเรียกร้องให้ลาออก

ขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงรับมือผู้ชุมนุมด้วยวิธีการละมุนละม่อม อย่างมากก็ประกาศเขต"แก๊สน้ำตา" โดยมิได้ยกระดับไปถึงประกาศเขต"กระสุนจริง"

เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมรุกไล่ รัฐบาลก็สั่งถอยโดยไม่ปะทะ เมื่อมีประชาชนเรือนแสนออกมาเคลื่อนไหวแสดงเจตนารมณ์ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาล

รัฐบาลก็เลือกที่จะยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามกฎกติกาประชาธิปไตย คืนอำนาจให้ประชาชน"ตัวจริง เสียงจริง"ทั่วประเทศ

โดยไม่ต้องใช้ชีวิตและเลือดเนื้อเข้าแลก

...............

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

“ระบอบสุเทพ”ลากตั้งสภา400 คืนชีพ “เทคโนแครต” ฝันหวาน แก๊งต้มตุ๋นการเมือง เว้นวรรค ประชาธิปไตย-ไม่ต้องเลือกตั้ง


ข้อมูลจาก พระนครสาส์น





ในข้อเท็จจริง ศัพท์คำว่า  “เทคโนแครต” ไม่ได้สิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวอะไร หาก “เทคโนแครต” เหล่านั้นคือผู้ให้ความคิด ให้ปัญญา ชี้ทางออกให้กับสังคม และนำหนทางไปสู่การพัฒนาประเทศและพัฒนาประชาธิปไตย !

แต่ “เทคโนแครตไทย” ที่บางคน แสดงออกอย่างชัดเจนว่า “ปฏิเสธการยึดโยงกับประชาชน” วางตนเป็น “ปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง” อันเป็นการทำลายระบบการคัดกรอง ตรวจสอบด้วยประชาชนอย่างชัดเจน อีกทั้งยังพยายามที่จะ “อาศัย” ภาวะวิกฤติบ้านเมืองและวิกฤติการเมือง เพื่อแสดงบทบาท โดยหวังจะเป็นการเปิดทางไปสู่อำนาจและเข้าสู่ตำแหน่ง หากเกิด “อุบัติเหตุทางการเมือง” … เหล่านี้ล้วน “น่าขยะแขยง” !!
โดยเว็บไซด์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ( http://tdri.or.th/tdri-insight/snoh-technocrat ) ระบุถึงเทคโนแครตไทย” ว่า เสนาะ อูนากูล” เทคโนแครตคนสำคัญ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญดูแลงานทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจ-สังคม ในช่วง พ.ศ.2504-2535 และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่ง ในช่วง “ยุคทอง” ของ “เทคโนแครต” คือช่วงสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ “ยุคทอง” จบลงพร้อมกับการสิ้นสุดรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี 2531 และรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี 2535

แต่ก็อย่างที่ได้นำเสนอมาแล้วในเรื่อง “ ไขปริศนา “ทายาทวีรวรรณ”แท๊คทีมม็อบกบฏ ล้ม ปชต.?เปิดบทวิพากษ์ “อำนวย ซุปเปอร์เทคโนแครตไทย”ไม่นิยมเลือกตั้ง แต่นิยมอำนาจ! ” ว่า การลาออกตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” พร้อม “ล้างมือทางการเมือง” ของ “อำนวย วีรวรรณ” เมื่อปี 2540 ภายหลังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศได้ เปรียบได้กับ “อวสานของเทคโนแครตไทย” 

ซึ่ง “อวสานของเทคโนแครตไทย” ในปี 2540 นั้นมาจากหลายปัจจัย
ปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ ปัจจัยเรื่อง “ประชาธิปไตย” ที่ “รัฐธรรมนูญ 2540” ซึ่งมีเป้าประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ประเทศมีความเป็น “ประชาธิปไตย” มากขึ้น ด้วยการเปิดโอกาสให้ “ประชาชน” ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีความรู้และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีโอกาสเข้าสู่การเมืองมากขึ้น ส่งผลให้ “เทคโนแครต” กลายเป็น “ส่วนเกิน” ของ “ระบอบประชาธิปไตย”

เทคโนแครต” ส่วนหนึ่งพยายามปรับตัวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยและผันตัวเองเข้าสู่ “สนามเลือกตั้ง” เสนอตัวเป็น “ทางเลือก” ให้กับประชาชน
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เทคโนแครต” อีกส่วน ก็ “ไม่สามารถปรับตัวทางการเมือง” ให้มี “ที่ยืน” ในสังคมประชาธิปไตยได้เช่นเดียวกัน 

ที่ผ่านมาจึงได้เห็น เทคโนแครต” บางส่วน แปลงกายเป็น “สัมภเวสีการเมือง” คอยหาจังหวะ ออกมาแสดงอภินิหาร อวดอุตริว่าเหนือปุถุชนคนทั่วไป ตามเวทีเสวนา เพื่อสร้างมูลค่า-ราคา ทางการเมือง ในการแสวงหาหนทาง-โอกาสเข้าสู่ “ตำแหน่ง-อำนาจ” ภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุการเมือง ทั้งในรูปแบบของการ “รับเชิญ-เชื้อเชิญ-แต่งตั้ง” แบบที่ไม่จำเป็น” จะต้องผ่านการ “เลือกตั้ง” จากประชาชน!!

จาก “เทคโนแครตไทย” ที่มีชื่อเสียง-บทบาท ในช่วงที่ “ประเทศไทย” กำลังต้องการพัฒนา “ด้านเศรษฐกิจ” อย่างเร่งด่วน โดยอาศัยการอวดอ้างสรรพคุณและมาด “ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจ” เข้ามามีทรงอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายภาครัฐ ในช่วงกว่า 20 ปีที่แล้วนั้น

ตลอดระยะกว่า 8 ปีผ่านมา ซึ่งสังคมไทยต้องเผชิญ กับ “วิกฤตความขัดแย้ง” กลับพบว่า มีการระบาดของ “วิธีการ” แบบ “เทคโนเครซี่ไทย” จำนวนมาก โดยเฉพาะการมาในรูปแบบของการอ้างว่าเป็น นักเคลื่อนไหวการเมือง-เอ็นจีโอ-ภาคประชาชน-ผู้ทรงคุณวุฒิ” 
ทำให้ไม่เพียง “เทคโนแครต” บางกลุ่มที่ยังพยายาม “อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง” เพื่อสรรสร้างโอกาสเข้าสู่เส้นทางการเมืองเท่านั้น ที่พยายามวนเวียนหาหนทางเข้าสู่ “อำนาจรัฐ”  ต่กลับพบว่ามี “นักต้มตุ๋นการเมือง” ที่ลอกเลียน “วิธีการ” แบบ “เทคโนเครซี่” ด้วยการอวดอ้าง “ความรู้-ความสามารถเกินจริง” เพิ่มมูลค่าและราคาในสังคม เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง ปะปนอยู่ด้วยอย่างแยกไม่ออก

ส่งผลให้ภาวะ “สังคม” ที่กำลังอ่อนแอจากความขัดแย้งที่รุนแรง ทั้ง “เทคโนแครต” และ “นักต้มตุ๋นทางการเมือง” ที่ลอกเลียน “วิธีการ” แบบ “เทคโนเครซี่” ขวักไขว่ไปเต็มหมดในสาระบบการเมืองไทย โดยเฉพาะในเวทีการชุมนุมทางการเมือง ต่างๆ รวมไปถึง “ม็อบ ปชป.”ของ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ก็มีให้เห็นแทบทุกวัน

ทำให้ แม้จะมีผู้เชื่อว่า “ยุคทอง” ของ “เทคโนแครตไทย” ชุดสุดท้าย ก็คือ ช่วง “รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน” เมื่อปี 2535 ที่เข้ามาครองอำนาจ “หลังเหตุการณ์ปฏิวัติ 2534” และ “หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535

แต่ล่าสุด เมื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ประกาศ โครงสร้าง “สภาประชาชน” ที่ประกอบไปด้วย สมาชิกไม่เกิน 400 คน 
โดย “300 คน “มาจากการเลือกตั้งจากกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งแท้ที่จริงก็คือการ “สรรหา” กันเองภายในกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่ง 
และอีก “100 คน” มาจากการ “สรรหา” จากผู้ทรงคุณวุฒิ 
ซึ่งเท่ากับว่า สภาสุเทพ” กลายเป็น “สภาลากตั้งสมบูรณ์แบบ” 100 เปอร์เซ็นต์ !!! 
จึงเป็น โอกาสที่ดีที่สุด ที่ “เทคโนแครต” ซึ่งไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ “สังคมประชาธิปไตย” และ “นักต้มตุ๋นการเมือง” ที่ลอกเลียน “วิธีการ” แบบ “เทคโนเครซี่” จะเข้ามาจับจอง “พื้นที่การเมือง” มาเป็นของตัวเองครั้งใหญ่ 

ป็นการเข้ามาจับจอง ผ่านกระบวน “ลากตั้ง” ที่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” นำเสนอ !
เป็นการเข้ามาจับจอง ผ่านกระบวนการ “เลือกกันเอง” ภายในกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวเอง !! 
เป็นการเข้ามาจับจอง ผ่าน “สรรหา” ที่อ้างว่า ตัวเองเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ” เหนือปุถุชนคนทั่วไป !!!

เพียงแต่ทั้งหมดนั้น “ไม่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง” , “ไม่ได้ผ่านการคัดครองตามระบอบประชาธิปไตย” และ “ไม่ได้ผ่านกระบวนการสร้างความยึดโยงกับประชาชน” !!!! 
สุเทพ เทือกสุบรรณ” หัวหน้าม็อบกบฏ ประกาศออกมาแล้วว่า จะพาพรรคพวกเดินสายพบ ผู้ทรงคุณวุฒิ” เพื่อขอคำแนะนำในการก่อร่างสร้าง “สภาประชาชน” อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน” อดีตนายกรัฐมนตรี และ “น.พ.ประเวศ วะสี” ราษฎรอาวุโส  
สองหัวขบวน “คณะกรรมการปฏิรูป” และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มี “มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 แต่งตั้งขึ้น 

โดยเฉพาะในรายของ “น.พ.ประเวศ วะสี” สุเทพ ถึงขั้นประกาศว่าจะ “เชิญ” เข้ามาเป็น “สมาชิกสภาประชาชน” ด้วยตัวเอง!!!

แบบฉบับ “ประชาธิปัตย์” ไม่ว่าจะมาในรู
ปแบบไหน ก็ “วนกลับ” มาอาศัย “เทคโนแครตตัวพ่อ” ทั้งคู่ !!!

คนกันเอง-พวกเดียวกัน-ขุมข่ายเดิมๆ จึงไม่มีอะไรแปลกใหม่


สุดท้าย หนทางหนีตายของ  “กบฏ”  ก็ไม่มีอะไรใหม่ … กลายเป็นแค่ หาหนทางคืนชีพให้ “เทคโนเครต” และ “เปิดช่อง” ให้ “นักต้มตุ๋นทางการเมือง” บนเวทีปราศรัยม็อบ ปชป. เข้าสุ่วงจรอำนาจรัฐ  !!!
ไม่เชื่อก็ลองดู เครือข่าย ปชป.-ประเวศ-อานันท์ ที่เคยนำเสนอมาแล้วดิ … แน่นปึ๊ก!!  เปิดขุมข่าย หมอชนบท ส่องแบ๊คอัพ สามพรานฟอรั่ม…เบื้องหลังปฏิบัติการ หมอคลั่ง!!



วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สื่อเทศจับตาไทย เสี่ยง 'สงครามชนชั้น'

ข้อมูลโดย Voice TV


นักวิเคราะห์ไทย-เทศ มองสถานการณ์เบื้องหน้า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความขัดแย้งทางชนชั้น เหตุเพราะกลุ่มอำนาจเก่ายื้อยุดระบอบประชาธิปไตย หวั่นเกิดสงครามกลางเมือง


ในวันอังคาร สำนักข่าวหลายแห่งได้เสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทย โดยชี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยในขณะนี้ เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวละครออกหน้า มีชนชั้นกลางเขตเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพ เป็นฐานสนับสนุน กับชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นจากการพัฒนาชนบท และได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางการเมืองจากนโยบายของพรรคที่เป็นพันธมิตรกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

รายงานหลายชิ้น ระบุในทำนองเดียวกันว่า หากกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งที่ผ่านมามีศาลและกองทัพเป็นพันธมิตรกับพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงแทรกแซงการเมืองนอกกรอบประชาธิปไตย สังคมไทยอาจได้เห็นสงครามกลางเมือง

อำนาจเก่า

บทวิเคราะห์ ชื่อ 'Thai protesters push for eradication of Shinawatra from politics'  เขียนโดย James Hookway เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม เริ่มด้วยการฉายภาพพัฒนาการของประชาธิปไตยในไทย


Hookway บอกว่า ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อำนาจทางการเมืองได้ผลัดมือกันไปมาระหว่างรัฐบาลพลเรือนที่มีอายุสั้น กับรัฐบาลที่กองทัพแต่งตั้ง แต่เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองขึ้นเมื่อช่วงทศวรรษ 1980-1990 ทำให้โภคทรัพย์ที่เคยรวมศูนย์อยู่ในกรุงเทพเริ่มกระจายออกไปยังพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ทำให้เกิดนักการเมืองรุ่นใหม่ คนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ทักษิณ

รายงาน "ผู้ประท้วงมุ่งขับตระกูลชินวัตรพ้นวงจรการเมือง" ชิ้นนี้ บอกว่า ทักษิณได้พลิกโฉมการเมืองไทยด้วยนโยบายสนับสนุนคนยากจน ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงแหล่งทุน, บริการสาธารณสุข และทำให้สิทธิ์เสียงทางการเมืองของคนเหล่านี้มีความหมาย เมื่อปี 2548 ทักษิณได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำพลเรือนได้กลับเข้าครองตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง แต่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งอำนาจของเขา

กลุ่มอำนาจเก่าเกิดความตื่นตระหนกที่ทักษิณเริ่มมีอิทธิพลบดบังพวกตน กองทัพเข้าโค่นอำนาจเขา นับแต่นั้นมา ประเทศไทยเผชิญภาวะกลับไปกลับมาระหว่างรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ ซึ่งกวาดคะแนนเสียงท่วมท้นในเขตชนบท กับรัฐบาลที่กลุ่มอำนาจเก่าและชนชั้นกลางกรุงเทพให้การสนับสนุน

Hookway บอกว่า เหตุการณ์ประท้วงบนท้องถนนของกรุงเทพเมื่อวันจันทร์ เป็นภาพสะท้อนของแรงเสียดทานระหว่างประชาชนฝ่ายที่ออกเสียงเลือกรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ กับผู้ประท้วงที่ได้ขับไล่รัฐบาลเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพและศาล

เขาบอกว่า การประท้วงขับไล่รัฐบาลเมื่อวันจันทร์ ขับเน้นให้เห็นทัศนะอันตรงข้ามสุดขั้ว ในประเด็นที่ว่า ราชอาณาจักรอันมั่งคั่ง และพันธมิตรสำคัญของสหรัฐ แห่งนี้ ควรเป็นประเทศแบบไหน ในศตวรรษที่ 21

นโยบายแบบเคนเซียน

นิตยสาร The Economist นำเสนอรายงานเรื่อง "Has Yingluck played her ace?"  ระบุว่า กรณีนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภา ถือเป็นการเดินหมากแบบปิดประตูแพ้


ที่ผ่านมา พรรคที่สนับสนุนทักษิณเคยชนะเลือกตั้งใหญ่ทุกครั้งนับแต่ปี 2544 ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ขณะที่ประชาธิปัตย์แทบไม่เคยครองเสียงข้างมากเด็ดขาดพรรคเดียวในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพรรค ครั้งสุดท้ายที่พรรคนี้รวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็คือ เมื่อปลายทศวรรษ 1990

รายงาน ชื่อ "ยิ่งลักษณ์เล่นไม้ตาย?' ชิ้นนี้ บอกว่า ฝูงชนในกรุงเทพที่รวมตัวกันในวันนี้ ไม่ใช่ตัวชี้วัดอารมณ์ของคนไทยทั้งประเทศ เมืองหลวงแห่งนี้เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์มาช้านาน ในเขตชนบทภาคเหนือ เรื่องราวเป็นคนละอย่างกันเลย เกษตรกรหลายล้านได้โหวตเลือกทักษิณและผู้นำคนต่อมาให้ครองเสียงข้างมากในสภา พรรคฝ่ายค้านจึงกลัวการเลือกตั้ง

ผู้ประท้วงโจมตีว่า ทักษิณชนะเพราะ "ซื้อเสียง" และ "ติดสินบน" ด้วยคำสัญญาที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจน แต่แทบไม่มีหลักฐานว่า การเลือกตั้งเหล่านั้นมีการซื้อเสียงอย่างเป็นระบบ หรือโกง อันที่จริงแล้ว โครงการที่ต้องใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเป็นเงินก้อนโตนั้น ในประเทศตะวันตก ก็คือ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจตามแนวทางสำนักเคนเซียน ที่เน้นใช้มาตรการทางการคลังและการเงิน อัดฉีดกระตุ้นการเติบโต นั่นเอง

สงครามชนชั้น?

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานถึงการประท้วงในเมืองไทย ว่า เป็นผลจากความเป็นปฏิปักษ์ที่ดำเนินมานานเกือบทศวรรษแล้ว ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงเทพ โดยมีพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุน กับประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนของประเทศ

รายงาน ชื่อ "Thai PM calls snap election, protesters want power now" อ้างความเห็นของนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความวิตกที่พรรคประชาธิปัตย์หนุนหลังขบวนการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภา และคาดการณ์ว่า ถ้านายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มต่อต้านรัฐบาล มีชัยชนะ ความโกลาหลจะบังเกิด ขบวนการคนเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนทักษิณจะออกมาตอบโต้

สำนักข่าวเอเอฟพี เสนอบทวิเคราะห์ในชื่อ "Elections no magic cure for Thai political crisis" อ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคน ชี้ว่า ภาพผู้ต่อต้านรัฐบาลนับแสนบนท้องถนนในกรุงเทพเมื่อวันจันทร์ บ่งบอกว่า การเลือกตั้งอาจไม่สามารถปิดฉากความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองในไทยได้

รายงาน ชื่อ "การเลือกตั้งไม่ใช่โอสถทิพย์ เยียวยาวิกฤตการเมืองไทย" บอกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความแตกแยกอันลึกซึ้ง ระหว่างผู้คนต่างภูมิภาคและต่างชนชั้น ในสังคมไทย ได้ตกผลึกเป็นความเกลียดชังเข้ากระดูกดำ ระหว่างผู้สนับสนุนทักษิณ ซึ่งเป็นชนชั้นแรงงานและชาวชนบท กับชนชั้นกลางเขตเมืองรอยัลลิสต์และชนชั้นนำ

เดวิด สเตรกฟัส นักวิชาการอิสระในประเทศไทย บอกว่า ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งแพ้เลือกตั้งตลอดมา กำลังเรียกหา 'ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์' ซึ่งไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่เราเข้าใจกัน ภายหลังการเลือกตั้ง อาจเกิดรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐประหาร แต่การยึดอำนาจของกองทัพจะถูกต่อต้านอย่างแน่นอน ทำให้สังคมไทยยิ่งแบ่งขั้วหนักขึ้น


สำนักข่าวบลูมเบิร์ก อ้างความเห็นนักวิเคราะห์ ในรายงานข่าว "Thai vote looms as Yingluck dissolves Parliament"  บอกว่า ประเทศไทยอาจเลี่ยงไม่พ้นสงครามกลางเมือง

"วิกฤตการณ์ของประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้เลย เว้นแต่เกิดการประนีประนอม, สงครามกลางเมืองอันนองเลือด, หรือพระมหากษัตริย์ทรงเข้ายุติปัญหา"  พอล แชมเบอร์ แห่งสถาบันกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวกับบลูมเบิร์ก.

ที่มา : Wall Street Journal ; Economist ; Reuters : AFP ; Bloomberg







สื่อต่างชาติตีแผ่วิกฤตการเมืองไทยกลุ่มอำนาจเก่ายื้อชีวิต


บทคัดย่อจากผู้สื่อข่าวอเมริกันในประชาไทยโดยพีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์



   *   ในบรรดาหน่วยงานอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ คงไม่มีหน่วยงานใด ไม่รู้จักเมืองไทย  เพราะเมืองไทยเป็นสถานที่ที่ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงของอเมริกัน ประเทศหนึ่งในภูมิภาค เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอเมริกันและองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร

Michael Peel: แห่งไฟแนนเชียลไทม์ วิเคราะห์ว่า สำหรับเมืองไทยไม่แน่ว่าอาจมีการกระทำ รัฐประหารขึ้นได้ตลอดเวลาแต่ทางกองทัพคงพยายามเลี่ยง เนื่องจากมีประสบการณ์ในปี 2006(2549) มาแล้ว และในปัจจุบันสถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนไป แต่กระนั้นก็ยังมีความคิดนี้ในบรรดานายทหารบางคน โดยเฉพาะความต้องการให้มีการรัฐประหารของคู่ขัดแย้งของรัฐบาลหรือฝ่ายไม่เอารัฐบาลยิ่งลักษณ์

หากกองทัพตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มคนดังกล่าว (ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจเก่า) สามารถนำไปสู่ “ความเสี่ยง” จากการนองเลือดครั้งใหม่หรือเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่กับกลุ่มผู้ สนับสนุนรัฐบาลได้

ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นน้องสาวของทักษิณ  โดยเฉพาะประเด็นที่การที่ สส.ฝ่ายรัฐบาล(พรรคเพื่อไทย) พยายามเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายบางหัวข้อ เช่น ให้ สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ที่แต่เดิมมาจากการแต่งตั้ง ประมาณครึ่งหนึ่ง มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด  แต่การแก้ไขดังกล่าวกลับไม่ได้รับการอนุมัติจากศาล รัฐธรรมนูญ  ซึ่งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลระบุว่า เป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอำนาจเก่า และมาจากเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อปี 2006(2549)  โดยเรียกว่า เป็นระบบการรัฐประหารโดยคณะตุลาการ  หรือ Judicial coup 

Fuller: ให้ความสำคัญกับการมองปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทยแง่ แบ่งสรรปันส่วนอำนาจ ทางเศรษฐกิจ  โดยอ้างการวิเคราะห์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า ชนชั้นกลางชั้นนำเก่า(อำนาจเก่า) อดรนทนไม่ได้กับการมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นของคนในต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขามองว่า คุกคามต่อสถานะความเป็นชนชั้นนำ(อำนาจเก่า)ที่เคยมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมชุมนุมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นแกนนำการชุมนุม เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการทำงาน และที่สำคัญ คือ นายสุเทพ เสนอระบบให้ปฏิเสธเลือกตั้ง (abandon its electoral system) และจัดตั้งสภาประชาชน (People’s Council) ซึ่งการอธิบายรูปแบบของสภาดังกล่าว กลับไม่ชัดเจนแต่อย่างใด
ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลุ่มชนชั้นนำของไทยที่เป็นเสียงข้างน้อยเริ่มไม่พอใจมากขึ้น จนถึงกระทั่งเมื่อ อ้างเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ ก็มีการอ้างถึง  “ความเป็นคนดี” ที่จะต้องต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย (good people fighting evil.) แทน นอกเหนือไปจากข้อกล่าวหาว่า คนต่างจังหวัด(เหนือ-อีสาน)  ซึ่งเป็นคนมีรายได้น้อยไม่รู้เรื่องการเมือง ชนชั้นกลางเมืองเท่านั้นที่รู้ ดังนั้นชนชั้นนำหรือชนชั้นกลางเก่าจึงคาดว่า คนจนเหล่านี้จะต้องเลือกนักการเมืองที่ให้เงินกับพวกเขา (The poor don’t know anything. They elect the people who give them money.)

Fuller: เห็นว่าจากประวัติศาสตร์ กองทัพไทยอยู่ข้างชนชั้นนำกรุงเทพ(Bangkok elite) โดยเฉพาะเหตุการณ์ภายหลังยึดอำนาจทักษิณในปี  2006(2549)  ที่กองทัพเข้าไปมีส่วนโดยตรงกับการแต่ง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งต่อมาอำนาจของกองทัพดังกล่าวได้โยงไปถึงการแต่งตั้ง สว. ที่ส่งผ่านไปถึงฝ่ายองค์กรศาล(รัฐธรรมนูญ) และข้าราชการระดับสูง (Thomas Fuller : New York Times)Benedict Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนล อ้างวาทะของนักคิด Antonio Gramsci  เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในเมืองไทย ภายใต้สภาวะแห่งความน่าพรั่นพรึงขณะนี้ว่า

“เมื่ออำนาจเก่าไม่ยอมที่จะตาย ขณะที่อำนาจใหม่กำลังพยายามให้กำเนิด เมื่อนั้นฝูงปิศาจย่อมปรากฏ"
(When the old refuses to die, and the new is struggling to be born, monsters appear.)

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แพ้เป็นพระ ชนะเป็น SHE!


คอลัมน์ : เรื่องจากปก โลกวันนี้วันสุข 7-13 ธันวาคม 2556
ผู้เขียน : ทีมข่าวรายวัน




หากจะยึดก็ให้เข้ามายึด หากจะเผาก็ให้เข้ามาเผา หากโกรธก็ขอให้ด่าผมคนเดียว ยอมที่จะถูกตำหนิแต่ไม่อยากให้เพื่อนตำรวจได้รับความเสียหาย”
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนคร บาล (ผบช.น.) กล่าวกับผู้สื่อข่าวเช้าวันที่ 3 ธันวาคม ก่อนม็อบจะเดินหน้ามาที่ บช.น. ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ใช้แก๊สน้ำ ตากับผู้ชุมนุมอีกต่อไป โดยจะปล่อยให้ประชาชนเข้ามาที่ บช.น. และทำเนียบรัฐ บาลได้โดยไม่มีการขัดขวาง เพราะ บช.น. เป็นของประ ชาชน มาจากเงินภาษีของประชาชน ตำรวจเปิดทางและปรบมือให้ผู้ชุมนุมที่เดินเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองและสถานการณ์ ความรุนแรงตลอด 2 วันก่อนหน้านี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ายึดทำ เนียบรัฐบาลและ บช.น. จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ยังย้ำว่า ไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกันเอง อยากให้มีการเจรจา แต่ยืนยันว่า 2 วันที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำดีที่สุดแล้วและต้อง การที่จะยุติทุกอย่าง โดยขอยอมรับผิดคนเดียว ส่วนหลังจากนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข (กปปส.) จะออกมาเคลื่อนไหวหรือแสดงพฤติกรรมอย่างไรก็ให้ประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบเอง
หมากกลเกมที่ซับซ้อน
ขณะที่เช้าวันเดียวกัน ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำข้าราชการทั่วประเทศกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2556 ที่สโมสรทหารบก นายกรัฐมนตรีเดินเข้าไปทักทายข้าราชการต่างๆ และพูดคุยเป็นพิเศษกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หลังเจ้าหน้าที่ปล่อยให้มวลชนเข้าไปในพื้นที่ทำเนีบบรัฐบาลและ บช.น. ได้โดยไม่มีการขัดขวางใดๆ ทำให้สถานการณ์ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะเกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ที่นายสุเทพประกาศระดมมวลชนเพื่อยึด บช.น. และทำเนียบรัฐบาลให้ได้นั้น กลับเต็มไปด้วยภาพความสุขระหว่างม็อบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แม้แต่สื่อต่างประเทศก็งงกับการพลิกเกมของรัฐบาล อย่างที่สำนักข่าวเอพีระบุว่า เป็นเหมือนการเล่นหมากรุกที่ซับซ้อน ซึ่งนายกฯยิ่งลักษณ์ได้พยายามแสดงจุดยืนว่าพร้อมจะประนีประนอมและเปิดกว้างที่จะเจรจา ตรงข้ามกับท่าทีของนายสุเทพที่ยิ่งต่อสู้ยิ่งถูกตั้งคำถามมากมายทั้งการต่อสู้แบบสันติ อหิงสา และการเปลี่ยนแปลงประเทศ
ใครรับผิดชอบคนตาย-คนเจ็บ
โดยเฉพาะคำปราศรัยที่ดุเดือดของนายสุเทพเมื่อคืนวันที่ 2 ธันวาคมว่าจะระดมมวลชนทั้งหมดไปยึด บช.น. ให้ได้ก่อนเวลา 15.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม และ เป็นวันที่จะปฏิรูปโครงสร้างตำรวจทั้งประเทศที่ว่า
พี่น้องทั้งหลาย ไปให้มันยิงอีก ตัดสินใจแล้วครับพี่น้องครับ มันจะยิงแก๊สน้ำตากี่ลูกก็ตาม ต้องยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ได้ รวมกำลังมวลมหาประชาชนทุกสายพรุ่งนี้มุ่งไปยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลมาเป็นของประชาชน ให้ตำรวจเห็นว่าประชาชนมือเปล่าอย่างเรา ไม่มีอาวุธ สามารถต่อสู้สมุนทรราชที่ทำกับเราด้วยความรุนแรงและเอาชนะได้ พิสูจน์กันที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลพรุ่งนี้”
เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นไปตามคำปราศรัยของนายสุเทพ ก็มีคำถามว่าแล้วประชาชนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้นนายสุเทพจะรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งวันนี้นายสุเทพเองก็กลายเป็นผู้ต้องหา “กบฏ” และยังมีคดี “ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล” ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่มีคนตายนับร้อยและบาดเจ็บพิการกว่า 2,000 คน
ซึ่งนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ โพสต์ ในเฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมว่า เสียดายมากที่วันนี้คุณสุเทพไม่มีการสื่อสารใดๆที่เป็นการหาทางออกให้ประเทศเลยนอกจากการยึด ยึด และยึด ประชาชนจะต้องเจออะไร บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ต้องเอาให้ได้ ต้องเอาให้จบ ข้อเสนอสภาประชาชนถ้าทำได้และดีจริงจะได้ช่วยกันทำให้เป็นจริง แต่มาถึงวินาทีนี้คุณสุเทพก็ไม่ยอมอธิบายเลยว่าสภาประชาชนนั้นคืออะไร และเป็นอย่างไร
ผมคิดว่าคุณสุเทพควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ชุมนุมนะครับว่าสุดท้ายที่จะยึด ยึด ยึด ถ้าสมมุติยึดได้ไปแล้ว สุดท้ายปลายทางสภาประชาชนที่ว่าคือใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการหลอก ล่อและลวงประชาชนให้ไปบาดเจ็บแทนตัวเองไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าประเทศจะไปทางไหน”
โดยเฉพาะการตาย 4 ศพที่มหาวิทยาลัยรามคำ แหงที่เป็นนักศึกษา 1 คน และเสื้อแดง 3 คนนั้น นายสุเทพหรือใครต้องรับผิดชอบ ที่ผ่านมานายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ก็กล่าวหาแกนนำคนเสื้อแดงและ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มาตลอดว่าต้องรับผิดชอบที่ทำให้คนเสื้อแดงเสียชีวิตและบาดเจ็บ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นผู้สั่งให้ทหารสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างสงบ ไม่ได้ดาวกระจายไปยึดกระทรวงและไปกดดันสื่ออย่างที่นายสุเทพทำ
ขณะที่กรณีมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังเกิดเหตุไม่นานนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ จาติกวณิช ก็ฉวย โอกาสประณามรัฐบาลทันทีว่าไม่ปกป้องประชาชน ทั้ง ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงเลย แต่คดี 99 ศพสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์กลับเหมือนคนความจำเสื่อม แม้จะผ่านมากว่า 3 ปี นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ไม่แสดงความรับ ผิดชอบใดๆหรือออกมาขอโทษประชาชนเลยแม้แต่คำเดียว จนกระทั่งตกเป็นผู้ต้องหา “ฆ่าคนตาย” ขณะนี้
เช่นเดียวกับนายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการ บดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ไปขึ้นเวทีของนักศึกษาต่อ ต้านคนเสื้อแดงด้วยนั้น ในอดีตเคยเป็นหนึ่งในผู้เข้าชื่อขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ก่อนรัฐประหาร 2549 ก็ต้องรับผิดชอบที่ไม่สามารถดูแลนักศึกษาให้ชุม นุมภายในมหาวิทยาลัยอย่างสงบได้ จนเกิดเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ไม่ควรจะเกิด ปล่อยให้มีผู้ร้ายดักยิงผู้คนมา อยู่บนตึกในบริเวณมหาวิทยาลัยได้อย่างไร เพราะนอก จากมีนักศึกษาเสียชีวิต 1 คนแล้ว ยังทำให้คนเสื้อแดง ที่ชุมนุมภายในสนามราชมังคลากีฬาสถานอย่างสงบต้องเสียชีวิตถึง 3 คน ซึ่งทุกคนก็เป็นคนไทยเหมือนกัน
สันติ อหิงสาแบบ “สุเทพ
การประกาศชุมนุมแบบสันติ อหิงสา ของนายสุเทพจึงกลายเป็นหอกที่กลับมาทิ่มแทงตัวเอง หลังจาก ที่ใช้มวลชนดาวกระจายไปยึดกระทรวงและหน่วยงานราชการต่างๆ รวมถึงกดดันสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี.ทุกช่องให้เชื่อมสัญญาณการชุมนุมของ กปปส. จากบลู สกายทีวี โดยเฉพาะช่วงการแถลงข่าวของนายสุเทพ และให้งดการออกอากาศคำแถลงของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และนายกรัฐมนตรี
ทำให้ทุกสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่ถูกกดดันและองค์กรสื่อต้องออกแถลงการณ์ประณามนายสุเทพ โดยนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ชี้ว่า การเข้าควบคุมพื้นที่ฟรีทีวี.ในลักษณะนี้เป็นการละเมิดสิทธิสื่อมวลชน เนื่องจากบังคับให้สื่อนำเสนอหรือไม่นำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่งผลให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลไม่รอบด้าน ซึ่งขัดต่อหลักจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อ แม้จะมีสื่อกระแสหลักเสนอข่าวอย่างลำเอียงก็ตาม แต่ประชา ชนก็สามารถเลือกดูจากเคเบิลทีวี.และสื่อออนไลน์ที่ทุกฝ่ายก็มีสื่อของตัวเองที่เสนอข่าวด้านเดียวเช่นกัน
โดยนายสุเทพได้ออกมาปฏิเสธแก้เกี้ยวว่าไม่ได้คุกคาม แต่จำเป็นต้องพูดคุยกับสื่อขอให้เสนอข่าวของมวลมหาประชาชนบ้าง อย่าปิดหูปิดตาคนทั้งประเทศ ไปขอความเห็นใจแล้วจะโกรธเคืองอะไรนักหนา
ความเห็นของนายสุเทพไม่แตกต่างจากการให้เป่านกหวีดเพื่อเป็นการแสดงออกทางการเมืองและสันติ อหิงสา โดยเฉพาะเป่านกหวีดใส่รัฐมนตรี แต่ที่ผ่านมา กลับใช้เป็นการแสดงถึงความเกลียดชัง แม้แต่ ด.ช.ศุภ เสกข์ อมรฉัตร ลูกชายของนายกฯยิ่งลักษณ์ ยังถูกคนที่ เกลียดทักษิณเป่านกหวีดใส่ จนนายกฯยิ่งลักษณ์ออกมา
กล่าวว่า ให้แสดงออกความไม่พอใจกับตน ไม่ใช่ไปลงที่เด็ก
สภาประชาชนหรือสภาเผด็จการ
ส่วนแนวทางปฏิรูปการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ 6 แนวทางของนายสุเทพ โดยเฉพาะการจัดตั้ง “สภาประชาชน” ที่เป็นการ “ปฏิวัติของประชา ชน” ที่ไม่มีรายละเอียดใดๆออกมาเป็นรูปธรรมเลยนั้น ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งนักวิชาการ นักการเมือง และ นักธุรกิจ ว่าเหมือนกับการเพ้อฝันมากกว่า ทั้งอาจทำ ให้การเมืองไทยย้อนยุคกลับไปอีกหลายสิบปี เพราะจะกลับไปสู่ประชาธิปไตยที่ผ่านการแต่งตั้งของกลุ่มผู้มีอำ นาจหรือชนชั้นสูงไม่กี่คน เหมือนสภาฝักถั่วในอดีต หรือ ส.ว.ลากตั้ง และองค์กรอิสระในปัจจุบันที่เป็นมรดกตก ทอดจากรัฐประหาร ซึ่งต่อต้านระบอบประชาธิปไตยแบบ เลือกตั้งที่ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่ากัน 1 คน 1 เสียง
นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊คว่า นายสุเทพบอกว่าต้องการอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ในการตั้งนายกรัฐมนตรีเอง ตั้งสภาประชาชนเอง ยกร่างรัฐธรรมนูญเอง แล้วนายสุเทพเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร และประชาชนไทยเจ้าของประเทศ ไปไว้ที่ไหนในกระบวนการนี้ทั้งหมด?
เว็บไซต์ต่างประเทศอย่างเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ของฮ่องกง วิเคราะห์ “สภาประชาชน” ว่าน่าจะหมายถึง “กลุ่มผู้แทนฯในฝัน” ที่มีการคัดเลือกจากคนที่ไม่เปิดเผยตัวตน เพราหากให้มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าต้องแพ้อยู่ดี
เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ยังระบุอีกว่า นายสุเทพเองก็มีที่มาไม่ค่อยดีนักในสายตามวลชนบางคน ทำให้มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเป็นแกนนำของนายสุเทพ
ชัยชนะที่แท้จริง
นายสุเทพเดินเกมผิดอย่างมากที่ตั้งเงื่อนไข “สภาประชาชน” แบบเฟ้อฝัน แม้มั่นใจว่าประชาชนจำนวนมากจะสนับสนุน หลังจากเห็นกระแสของประชาชนทั่วประเทศทุกสาขาอาชีพออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จึงเดินหน้าคิดการใหญ่ด้วยการปลุกระดมประกาศยกระดับล้ม “ระบอบทักษิณ” และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นความคิดของนายสุเทพคนเดียว แต่ยังมีกลุ่มอำนาจเดิมทั้งที่ยังมีอิทธิพลและไม่มีอิทธิพลร่วมวางแผนปลุกระดมให้เกิดปรากฏการณ์ “ไทยสปริง” ให้ได้ ไม่ว่าจะทำให้ประชาชนต้องตายอีก นับร้อยนับพันก็ตาม เพราะรู้ดีว่าหากไม่ฉวยโอกาสปลุก ระดมให้ประชาชนออกมาให้มากที่สุดก็จะไม่มีโอกาสล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณไปอีกนาน
แต่แล้วนายสุเทพและกลุ่มอำนาจเดิมก็เดินเกมผิดพลาดที่คิดว่าคนกรุงเทพฯจำนวนมากที่เคยออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะออกมาร่วมด้วย กลับกลายเป็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับการยกระดับการชุมนุมของนายสุเทพที่เกินความพอดี ม็อบราชดำเนินที่เปลี่ยนมาเป็น กปปส. ส่วนใหญ่จึงต้องใช้ประชาชนที่ระดมมาจากภาคใต้เป็นหลัก โดยมีกลุ่มเกลียดทักษิณหน้าเดิมๆ รวมถึงกลุ่มกองทัพธรรมของสันติอโศกที่เป็นขาประจำ
แม้นายสุเทพจะประกาศแบบขอไปทีว่าได้ชัย ชนะแล้วหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจยอมให้ประชาชนเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลและ บช.น. แต่นายสุเทพก็รู้ดีว่าเป็นชัยชนะที่แท้จริงหรือไม่ ไม่ต่างกับนายอภิสิทธิ์ที่ยังโกหกตัวเองว่าเพราะรัฐบาลหมดสภาพและต้าน ทานประชาชนไม่ได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐ มนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แถลงหลังสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ความสงบและเจ้าหน้าที่ตำรวจยุติการใช้แก๊สน้ำตาว่า รัฐบาลพยายามอย่างที่สุดไม่ให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ จึงยอมเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเพื่อลดความขัดแย้ง และแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ โดยจะเร่งสืบหาความจริงโดยเร็ว ซึ่งต่างชาติก็เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะการชุมนุมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในระบอบรัฐ ธรรมนูญ จึงต้องมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่วนแนวคิดการตั้งสภาประชาชนรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง และนายสุเทพก็ควรมอบตัวในข้อหาตามประมวลกฎหมาย มาตรา 114 ที่ว่าด้วยผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธเตรียมสมคบเพื่อก่อการกบฏ มีโทษจำคุก 3-15 ปี
แพ้เป็นพระ-ชนะเป็น SHE
สถานการณ์การเมืองจะยุติลงอย่างไรยังไม่อาจมีฝ่ายใดชี้ชัด เพราะในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศเจตนารมณ์ถอยแล้วถอยอีก แต่นายสุเทพก็ยังประกาศจะเดินหน้าจัดชุมนุมอยู่ต่อไป ไม่ชนะไม่เลิก จนกว่าจะจัดตั้ง “สภาประชาชน” ต่อไปจนสำเร็จ เพื่อล้างระบอบทักษิณให้หมดไป และเอาอำนาจกลับคืนประชาชน โดยระบุว่าจะใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพเลือกตัวแทนมาเป็นสภาประชาชนเพื่อกำหนดแนวนโยบายและตรากฎหมายต่างๆ จากนั้นจะใช้บทบัญญัติตามมาตรา 7 เลือกนายกรัฐมนตรีและมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราวขึ้น เพื่อแก้กฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อให้ได้คนดีเท่านั้นมาเป็นนายกฯ
ซึ่งเป้าหมายของนายสุเทพก็สอดคล้องกับข้อเสนอของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่เสนอให้ยุบสภาและรัฐบาลลาออก หลังจากนั้นให้ตั้งรัฐบาลกลางและนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับว่านายกฯจะต้องมาจากการเลือกตั้ง
แม้หลายฝ่ายจะออกมาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป แต่ดูเหมือนทุกฝ่ายก็ต้องการเห็นการปฏิรูปการ เมืองอย่างจริงจัง เพียงแต่ยังไม่สามารถประนีประนอมกันได้ เพราะต่างก็มองว่าฝ่ายตนถูกต้อง อีกฝ่ายหนึ่งผิด
อย่างไรก็ตาม คำว่า “มวลมหาประชาชน” ตามความหมายของแต่ละฝ่ายนั้นอาจมีนิยามแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในขณะที่นายสุเทพเห็นว่ามวลมหาประชาชนที่ออกมาเป็นจำนวนมหาศาลบนถนนราชดำเนินเพื่อเป่านกหวีดล้มระบอบที่เรียกว่าระบอบทักษิณนั้นคือตัวแทนประชาชนทั้งประเทศ แต่ฝ่ายรัฐบาลกลับเห็นว่าเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกรัฐบาลนั้นคือเสียงส่วนใหญ่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ กองทัพบกแถลงถึงจุดยืนของ พล.อ.ประยุทธ์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 3 ธันวาคมที่ไม่มีการปะทะถือเป็นนิมิตหมายที่ดี กองทัพยืนยันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะการแก้ไขปัญหาการเมืองด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรม นูญอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และนำไปสู่ความรุนแรง สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ จึงเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ ทุกฝ่ายอย่าได้ทำลายเกียรติยศศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน ใช้การพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ประเทศชาติสามารถเดินหน้าไปได้และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
ไม่แตกต่างจากที่นายกฯยิ่งลักษณ์ได้แถลงย้ำว่า รัฐบาลขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมด้วยความละมุนละม่อม เพื่อไม่ให้มีการเผชิญหน้าและไม่นำไปสู่ความรุนแรงหรือการเสียเลือดเนื้อของพี่น้องประชาชน เพราะอยากเห็นการแก้ปัญหาที่จะนำมาสู่ความสงบสุขในระยะยาว แม้ว่าวันนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็ตาม แต่เชื่อว่าคนไทยสามารถหาทางออกให้กับประเทศได้
โดยนายกฯยิ่งลักษณ์ยืนยันจะแก้ปัญหาบ้านเมืองตามกระบวนการประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ โดยพร้อมจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและเปิดเวทีเพื่อหาทางออก ซึ่งเป็นการยืนยันที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าไปตามระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชา ชนอย่างที่นานาประเทศยอมรับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นกว่า 1 เดือน ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่านายกฯยิ่งลักษณ์เป็น ผู้นำที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงนายกฯที่ต้องอ่านสคริปต์อย่าง ที่ฝ่ายค้านกล่าวหาหรือใช้วาทกรรมกักขฬะเป็น  “อีโง่”
เพราะโดยภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้  เมื่อเทียบกับนายกฯชายอกสามศอกที่เลือกใช้กำลังทหารเข้าสลายผู้ชุมนุมตามสี่แยกโดยที่ไม่เคยบุกรุกสถานที่ราชการจนมีคนตายร่วม 100 ศพแล้ว นายกฯยิ่งลักษณ์กลับสงบนิ่งและตอบคำถามผู้สื่อข่าวได้อย่างฉะฉาน ชัดเจน โดยไม่ออกอาการก้าวร้าวให้เห็น ภาพภาวะผู้นำและบารมีจึงเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่างน้อยประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ต้องจารึกว่ารัฐบาลของ She คนนี้..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เป็นรัฐบาล  “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” เหมือนผู้นำรัฐบาลในอดีต
แม้สถานการณ์วันนี้ยังไม่รู้ว่าในที่สุดจะจบอย่างไร แต่คำพังเพยที่ว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมารอาจต้องเขียนใหม่เป็น “แพ้เป็นพระ ชนะเป็น  SHE” ก็ได้
                บัดเอย บัดนั้น มหากาพย์ราชดำเนิน ก็ยังดำเนินต่อไป.. (ถ้าจบง่ายๆก็คงไม่ใช่มหากาพย์)