Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลเกม การเมือง กรณี"ม็อบ"สวนยาง แยกปลา จากน้ำ

ที่มา:มติชนรายวัน 30 ส.ค.2556



ใครต่อใครต่างประเมินว่า อุบัติแห่ง "ม็อบ" ที่แยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช คือ 1 ในรูปธรรมแห่งการยกระดับ

ยกระดับการต่อสู้เพื่อ "โค่น" น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เป็นความจริง แต่ที่เห็นนั่นมิได้เป็นบาทก้าว 1 หากแต่เป็นก้าวที่ 2 และก้าวที่ 3 อันอยู่ในพิมพ์เขียวของยุทธศาสตร์ใหญ่ทางการเมือง

ยุทธศาสตร์ 1 โค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1 เป็นกระดานหกโค่น "ระบอบทักษิณ"

เมื่อติดตามการเคลื่อนไหวของ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กับ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ก็จะสามารถต่อ "จิ๊กซอว์" ได้

นั่นก็คือ การร่วมหารือกับ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์

นั่นก็คือ การเดินทางเข้าคารวะและขอความร่วมมือจาก สมณะโพธิรักษ์ แห่งสำนักสันติอโศก

นั่นก็คือ การสถาปนา นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงาน

ประสานงานระหว่าง 12 กลุ่มทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นกองทัพประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสันติอโศก ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากขาวกับพรรคประชาธิปัตย์

ปี่กลองเริ่มแล้ว รอก็แต่เสียง "นกหวีด"

อย่าไปกล่าวตำหนิ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เลย ที่ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายชวน หลีกภัย ยกเอาคำกล่าวของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ มาสำทับ

เหตุเพราะ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นนักประวัติศาสตร์

เหตุเพราะ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกรงว่าการถลำลึกไปเรื่อยๆ จะทำให้ "ประชาธิปัตย์" แปรเปลี่ยนเป็น "อนาธิปัตย์"

อนาธิปัตย์อันตรงกับ "อนาคิสต์"

เพียงเห็นภาพการแสดงออกนับแต่วันที่ 20 สิงหาคม ในการประชุมรัฐสภา ก็สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายแห่ง "อนาธิปไตย"

อ้าง "ระเบียบ" แต่ไม่เคยเคารพ "ระเบียบ"

หลังจากนั้น ภาพของการจลาจลย่อยนำโดย "กลุ่มลูกขวาน" ณ ควนหนองหงษ์ ก็ปรากฏผ่านคลิปวิดีโอ

ไม่เพียง "ปิดถนน" หากแต่ยังปิดกั้นทาง "รถไฟ"

เป้าหมายอย่างแท้จริงกำหนดวางเอาไว้ที่การเคลื่อนไหวใหญ่ในวันที่ 3 กันยายน ซึ่งไม่เพียงแต่ประกาศปิดทางภาคใต้ที่สหกรณ์โคออป สุราษฎร์ธานี หากแต่ยังกำหนดปิดทางภาคเหนือที่อุตรดิตถ์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สีคิ้ว นครราชสีมา

ป่วน "รัฐสภา" ป่วน "ประเทศ"

ท่าทีของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเผชิญกับกระแสการเคลื่อนไหวประกาศปิดถนนอันล่อแหลมที่จะปิดทางรถไฟเช่นนี้เป็นอย่างไร

1 ไม่ลนลาน 1 ไม่ประมาท

เห็นได้จากการตระเตรียมผ่านคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.) เห็นได้จากการยินยอมตามข้อเรียกร้องในระดับ 80 บาท/กิโลกรัม

อาจไม่ถึง 120 บาท/กิโลกรัม

แต่ก็มิได้แข็งขืนในลักษณะ "ยอมหัก ไม่ยอมงอ" ผลก็คือ สร้างความพอใจให้กับเกษตรกรสวนยางส่วนหนึ่ง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งไม่ยอมรับ

นี่เป็นท่าทีอย่างเดียวกับที่แสดงต่อ "ม็อบ" ควนหนองหงษ์ บ้านตูล

อาศัยการยินยอมมาส่งผลสะเทือนต่อ "เครือข่าย" อาศัยความอดทนอดกลั้นมาส่งผลสะเทือนต่อ "ม็อบ"

รูปธรรมอันตามมาคือ ความรู้สึกในเชิงเห็น "ต่าง" ระหว่างตัวแทนของเครือข่ายและตัวแทนภายในสภาเกษตรกรแห่งชาติ เช่นเดียวกับ ความรู้สึกในเชิงเห็น "ต่าง" อันชาวชะอวดมีต่อการแสดงออกของ "ม็อบ"

เป็นการแยก "ปลา" ออกจาก "น้ำ"

เมื่อ "ปลา" ขาด "น้ำ" ก็ยากจะอยู่ได้

จากนี้จึงเห็นได้ว่า ที่ชะอวดไม่น่าจะมีการสลายม็อบ ขณะที่การเคลื่อนไหว วันที่ 3 กันยายนยังมีอยู่

เป็นการมีอยู่อย่างสวนกับความรู้สึกของชาวชะอวด เป็นการมีอยู่อย่างสวนกับความรู้สึกของคนในแวดวงอาชีพอื่น เป็นการมีอยู่ในแสงแห่งสปอตไลต์อันฉายจับ

ฉายจับไปยังต้นตอแห่ง "อนาธิปัตย์"

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: รถไฟความเร็วสูง สำคัญไฉน?

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2556


  ในโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจำนวน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมุ่งปฏิรูประบบขนส่งคมนาคมทุกด้านของประเทศไทยนั้น โครงการที่สำคัญที่สุดโครงการหนึ่งคือ รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-ระยอง รวมกันมีมูลค่าสูงถึงราว 8 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40 ของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด
 โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นเป้าโจมตีอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้าน สื่อมวลชนกระแสหลัก และกลุ่มมวลชนเสื้อเหลือง อ้างว่า ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม ไม่มีความจำเป็น ก่อภาระหนี้มหาศาล และจะเกิดการทุจริตคอรัปชั่นมโหฬาร แม้แต่นักวิชาการเสื้อเหลืองก็ออกมาคัดค้านว่า “ไม่คุ้มค่า โครงการจะประสบภาวะขาดทุน” เป็นต้น

 พวกที่คัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงมีสองจำพวก พวกแรกคือพวกแค้นทักษิณและพรรคเพื่อไทย มุ่งหาประเด็นอะไรก็ได้ที่โจมตีรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่สนใจว่า เรื่องนั้นจะมีสาระความจริงแค่ไหน ให้ได้โจมตีด่าทอด้วยเหตุผลที่ไร้สาระเอาไว้ก่อน เผื่อจะต่อยอดปั่นกระแสเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชน ตุลาการ และทหาร โค่นล้มรัฐบาลได้เป็นพอ

 ส่วนอีกพวกหนึ่ง เป็นกลุ่มคนที่อ่อนไหวไปตามกระแสข่าวในสื่อมวลชนกระแสหลักและการปั่นกระแสของกลุ่มแรก แล้วก็ตื่นตกใจไปตามข้อมูลเท็จและอารมณ์ของข่าว คนกลุ่มหลังนี้ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะต้องทำงานอย่างหนัก สื่อสารข้อมูลความจริงที่ถูกต้องไปให้ถึง เพื่อไม่ให้ไปผสมโรงกับพวกแรก
 เราจะเข้าใจถึงความสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยได้ชัดเจน ก็ต้องพิจารณาจากการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และแนวโน้มการพัฒนาโครงข่ายขนส่งคมนาคมของภูมิภาคจีน-อาเซียนโดยรวม

 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะเป็นจริงโดยสมบูรณ์ในปี 2558 นั้นจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจขนาดใหญ่หนึ่งในสี่กลุ่มของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า มีสถานะใกล้เคียงกับการรวมกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นอีกสามกลุ่มคือ สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก) และจีน (นับเป็นหนึ่งกลุ่มเนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก)

 แต่การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนหนึ่งเดียวได้จริงนั้นต้องอาศัยโครงข่ายขนส่งคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งภูมิภาค ประเทศจีนมองเห็นศักยภาพของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและตระหนักดีว่า หากสามารถเชื่อมต่อระบบเศรษฐกิจของจีนเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้แล้ว ภูมิภาคจีน-อาเซียนจะรวมกันกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้สหภาพยุโรปและเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และยุทธศาสตร์ของจีนที่จะทำให้กลุ่มพลังจีน-อาเซียนปรากฏเป็นจริงคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-อาเซียน

 ปัจจุบัน ประเทศจีนได้ลงทุนก่อสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงภายในประเทศหลายเส้นทาง มีเป้าหมายครอบคลุมเมืองสำคัญทั้งหมดของประเทศ เมื่อแล้วเสร็จในปี 2558 จะมีระยะทางรวมกันถึง 40,000 กม. ยาวที่สุดในโลก

 หัวใจที่จะเชื่อมประเทศจีนเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูงในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยจีนมีแผนการขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงต่อจากเมืองคุนหมิง ลงสู่ใต้สองเส้นทาง เส้นทางแรกจากคุนหมิงเข้าสู่ประเทศพม่า ผ่านเมืองมันดะเลย์ เมืองหลวงเนย์ปิทอว์ และร่างกุ้ง อีกเส้นทางหนึ่งจากเมืองคุนหมิงเข้าสู่ประเทศลาว เมืองหลวงน้ำทา และกรุงเวียงจันทน์ โดยทั้งโครงการจีน-พม่า และจีน-ลาว รัฐบาลจีนให้เงินกู้แก่รัฐบาลทั้งสองประเทศเพื่อการก่อสร้างโดยมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยน โครงการจีน-พม่าจะเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2556 นี้ ขณะที่โครงการจีน-ลาวก็ได้เจรจาขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว

 ด้วยเหตุนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงสอดรับกับยุทธศาสตร์ของจีนพอดี โดยรัฐบาลจีนได้แสดงความต้องการที่จะเชื่อมระบบรถไฟความเร็วสูงของตนเข้ากับโครงข่ายของประเทศไทยในสองเส้นทาง เส้นทางแรกเป็นการขยายเส้นทางต่อจากเมืองเปกู ประเทศพม่า เข้ามาประเทศไทยทางกาญจนบุรี เชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของไทยที่นครปฐม ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง ขยายเส้นทางรถไฟจากกรุงเวียงจันทน์ ข้ามมาฝั่งประเทศไทย เชื่อมกับระบบรถไฟความเร็วสูงของไทยที่จังหวัดหนองคาย ผ่านกรุงเทพฯ ไปยังนครปฐม ลงใต้ไปถึงปาดังเบซาร์ กัวลาลัมเปอร์ ไปสุดทางที่สิงคโปร์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว รถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลาเดินทางจากเมืองคุนหมิง ผ่านประเทศไทยไปถึงสิงคโปร์ในเวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น

 ที่สำคัญคือ เวียดนามก็กำลังก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน คือเส้นทางจากกรุงฮานอยไปถึงนครโฮจิมินห์ซิตี้ ระยะทาง 1,630 กม. เริ่มก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปี 2555 มีแผนให้เปิดบริการเป็นบางส่วนในปี 2563 และครบถ้วนทั้งระบบในปี 2573 สามารถลดระยะเวลาเดินทางจากเดิม 32 ชั่วโมง เหลือเพียง 7 ชั่วโมง ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลเวียดนามก็กำลังพิจารณาที่จะเชื่อมระบบรถไฟความเร็วสูงของตนเข้ากับโครงข่ายของลาวที่กรุงเวียงจันทน์อีกทอดหนึ่งด้วย

 จากโครงข่ายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของภูมิภาคจีนใต้-อาเซียนทั้งหมด โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยผนวกกับความตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียนจะมีผลเป็นการเชื่อมเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของภูมิภาคจีน-อาเซียนเข้าเป็นหนึ่งเดียว

 แน่นอนว่า ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากรถไฟความเร็วสูงนี้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการค้าการลงทุนภายในประเทศแล้ว ยังเป็นการนำเอาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวทั่วทั้งภูมิภาคจีน-อาเซียนมายังประเทศไทยอีกด้วย ทั้งการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักน้อยแต่มีมูลค่าสูง เช่น ผักผลไม้และไม้ดอกเมืองหนาวจากภาคเหนือสู่ภาคกลางและภาคใต้ (ที่ถูก “พวกในกะลา” เยาะเย้ยว่า “เอารถไฟความเร็วสูงไปขนผัก”) ไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ การขนส่งผักผลไม้เมืองร้อนจากภาคใต้-ภาคกลางไปสู่ประเทศจีน (ซึ่งการขนส่งปัจจุบัน ใช้ทางรถยนต์ มีอัตราการเน่าเสียสูงมากถึงร้อยละ 40) การขนส่งสินค้ามูลค่าสูงอื่น ๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และนักลงทุนจำนวนหลายแสนคนต่อปีทั่วทั้งภูมิภาค
 หากคำนวณผลตอบแทนจากโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย โดยคิดเฉพาะ “ค่าตั๋วเดินทาง” ของคนไทยที่ใช้บริการเฉพาะในประเทศไทย รถไฟความเร็วสูงของไทยจะขาดทุนอย่างแน่นอน แต่คนที่วิจารณ์ลืมไปว่า นี่เป็นโครงข่ายนานาชาติทั่วภูมิภาคจีน-อาเซียน ซึ่งนอกจาก “ค่าตั๋วเดินทาง” ของคนไทย-จีน-อาเซียนแล้ว ยังมีผลบวกข้างเคียงเป็นการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่ไหลผ่านเส้นทางรถไฟสายนี้ในแต่ละปีเป็นมูลค่าอีกมหาศาล

 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้เอ่ยถึงรถไฟความเร็วสูงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2547-48 แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเนื่องจากวิกฤตการเมืองที่เริ่มต้นในปี 2548 และยืดเยื้อถึงปัจจุบัน ฉะนั้น ประเทศไทยได้เสียเวลาไปถึง 8 ปี บัดนี้ จึงถึงเวลาแล้ว และก็เป็นจังหวะที่ทั้งประเทศจีน พม่า ลาว และเวียดนาม ก็มีความพร้อมมากขึ้นที่จะเริ่มโครงการนี้ประสานกัน เพื่อให้กลุ่มเศรษฐกิจจีน-อาเซียนได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแห่งที่ 3 ถัดจากสหภาพยุโรปและเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข้อถกเถียงเรื่องการปฏิรูป "สภาขุนนาง"ในอังกฤษ

โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์



ในวาระที่บ้านเมืองของเรากำลังถกเถียงเอาเป็นเอาตายเรื่องของที่มาของวุฒิสมาชิกกันอยู่นี้ ก็อยากจะนำเอาเรื่องราวที่เขาถกเถียงกันในเรื่องการปฏิรูปสภาขุนนางในอังกฤษมาเล่าสู่กันฟังสักหน่อย

แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่องอังกฤษให้ฟังก็อยากจะฝากข้อคิดเรื่องเมืองไทยไว้สักนิดว่า ถ้าจะเถียงกันเรื่องการมีอยู่และที่มาของวุฒิสภานั้น ก็คงต้องแยกเรื่องที่จะต้องเถียงกันก่อน ก็คือ

1.เรื่องของหน้าที่ของสถาบันทางการเมืองที่เรียกว่าวุฒิสภา

2.เรื่องของการยึดโยงกับประชาชนของสถาบันที่เรียกว่าวุฒิสภา

ซึ่งจะพูดถึงทั้งสองประเด็นได้ ก็ต้องตรวจสอบจุดยืนและอคติที่มีในใจก่อนว่า เรามีมุมมองที่ว่าด้วยเรื่องประชาธิปไตยและ "ประชาชน" เช่นไร ไม่เช่นนั้นสิ่งที่เราเถียงกันมันจะเป็นเรื่องของการ "แถ" มากกว่า "เถียง" เพราะมันจะเป็นลักษณะของการที่เราคิดก่อนว่า "ต้องมี" หรือ "ไม่ต้องมี" แล้วเราค่อยไปฟัง หรือหาเหตุผลที่มารองรับสิ่งที่เราต้องการ

ฝากไว้แค่นี้แหละครับ มาเข้าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองในสังคมที่เป็นหนึ่งในสังคมต้นแบบสังคมประชาธิปไตย ซึ่งก็คือ ประเทศอังกฤษกันดีกว่าครับ


ประเทศอังกฤษมักเป็นประเทศที่เรานึกถึงว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ไม่มีกฎหมายหมิ่นกษัตริย์/หมิ่นรัฐบาล (เพราะถูกยกเลิกไปในช่วง ค.ศ. 2009) และมีระบบสองสภาที่ชัดเจนมากว่าเรียกสภาหนึ่งว่า สภาสามัญชน (House of Commons) และอีกสภาเรียกว่า "สภาขุนนาง" (House of Lords) ... จะเรียกสภาอำมาตย์ซะก็กลัวจะแปลไม่ตรง (นัก)

ความรู้เล็กน้อยของคนบ้านเราที่รับรู้กันมาก็คือ สภาขุนนางนั้นเป็นสภาที่มีมาตั้งแต่โบราณ และมีลักษณะที่สืบทอดกันมาทางสายเลือด แต่สิ่งที่เราควรรับรู้เพิ่มก็มีหลายเรื่อง คือ เดิมนั้นสภาขุนนางนั้นมีอำนาจมาก แต่วันนี้มีอำนาจน้อยลง และมีลักษณะที่ "ด้อยกว่าในทางอำนาจ" เมื่อเทียบกับสภาคนธรรมดา อาทิ ไม่มีสิทธิยกเลิกกฎหมาย (มีแต่ให้คำแนะนำและหยุดยั้งได้ชั่วคราว) แถมในบางกรณีก็มีการกำหนดด้วยว่าในเรื่องนั้นจะอภิปรายได้ไม่เกิน 90 นาที

นอกจากนั้น มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1999 ที่ทำให้ระบบสภาขุนนางยกเลิกการแต่งตั้งแบบสืบสายเลือด (แน่นอนว่ามาจากรัฐบาลพรรคแรงงาน) และแม้ว่าจะมีความพยายามจะมีการเสนอให้สภาขุนนางปรับรูปแบบเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

แต่ที่แน่ๆ ว่า นอกจากไม่ประสบความสำเร็จแล้ว สภาขุนนางในวันนี้ก็ยังประสบสภาวะวิกฤตในเรื่องของความนิยมอย่างมากมาย ดังที่พบจากทรรศนะต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากสื่อของอังกฤษเอง นั่นก็คือ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2556 ที่ผ่านมานี้เอง มีการประกาศรายชื่อสมาชิกรอบใหม่ของสภาขุนนางที่เป็นระบบที่ปรับมาตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1999 โดยรอบนี้เป็นการแต่งตั้งถึง 30 คน

นั่นคือ ระบบที่หัวหน้าพรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อบุคคลให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขุนนาง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีการตั้งทั้งคนที่มีคนเชียร์ และมีนายทุนพรรค รวมทั้งมีการตั้งเอ็นจีโอ ด้วย (รอบนี้มีการวิจารณ์กันว่า ตัวหัวหน้าพรรคเองก็เลือกนายทุนพรรคบางคนแบบแหกมติพรรคเองซะด้วย)

ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นประเด็นท้าทายก็คือ ด้วยการแต่งตั้งสมาชิกสภาขุนนางใหม่ในรอบนี้ ทำให้จำนวนสมาชิกของสภาขุนนางมีเข้าไปถึงแปดร้อยกว่าคน และที่สำคัญก็คือเป็นแปดร้อยกว่าคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซะด้วย (เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในสังคมที่เขาเรียกตัวเองว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยครับ) -

มิพักต้องกล่าวถึงว่า เก้าอี้ในสภาขุนนางนั้นมีแค่ 400 ตัวเท่านั้นเอง แถมยังมีเรื่องของการสิ้นเปลืองงบประมาณเข้ามาซะด้วย แม้ว่าตัวสภาขุนนางนั้นจะไม่ได้เงินเดือนอย่างจริงจัง แต่ก็จะได้รับค่าตอบแทนเล็กน้อยถ้าเข้าประชุม

หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจว่าทำไมข้อเสนอที่ (แม้ว่าจะมาจากรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมเองเมื่อสักสองปีก่อน) ต้องการให้มีการเลือกตั้งสภาขุนนาง (แม้ว่าในข้อเสนอก็บอกว่ามีทั้งส่วนที่เลือกตั้งและแต่งตั้ง) ก็คือ ระบบที่พรรคการเมืองแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย จนทำให้การเปลี่ยนแปลงที่เสนอนั้นอาจทำให้แต่ละฝ่ายรู้สึกว่าได้เปรียบเสียเปรียบกัน (ดังนั้นก็เลยประนีประนอมกันโดยแบ่งโควต้าให้กันไปซะเลย) ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ภายใต้ระบบการแบ่งกันแต่งตั้งของผู้นำพรรคหลักนี้ เมื่อเทียบกับสภาสามัญชน กล่าวคือ แม้ว่าจะมี "คนรวย" แต่ก็มีคนหลากหลายสาขาอาชีพกว่า และมีสัดส่วนเรื่องชาติพันธุ์ และ เพศสภาพที่กระจายตัวมากกว่าสภาสามัญชนเสียด้วยซ้ำ และก็ทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการทางกฎหมายอย่างเข้มข้น

แต่เรื่องนี้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าอย่าง The Guardian (Editorial. Lords reform: step by step. 1 August 2013) ก็ชี้ให้เราเห็นว่า สิ่งที่อันตรายก็คือ ยิ่งเราคิดว่าพวกเขาทำหน้าที่ได้ดีและจำเป็นต้องมีพวกเขา ก็ยิ่งทำให้เราคิดที่จะยกเลิกลำบาก

อย่างในรอบนี้ก็มีการเสนอสมาชิกน้ำดี อย่างน้อยสองคน คือหนึ่งคนเป็นสื่อ และอีกคนเป็นคุณแม่ผิวสีที่ลุกขึ้นมาต่อสู้รณรงค์กับปัญหาเหยียดผิวร่วมยี่สิบปีหลังจากที่ลูกชายของเธอนั้นถูกสังหารโดยไม่มีความผิด แต่ทั้งสองกรณีนี้ก็ถูกวิจารณ์ว่าส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องการแทรกแซงและการต่างตอบแทนกับสื่อ และก็มีการตั้งคำถามว่าเราควรจะสนใจเรื่องของประเด็นที่เราต้องต่อสู้ (ทั้งระบบ) หรือจะสนใจแต่การยอมรับเฉพาะคนบางคนเข้าไปนั่งในสภาขุนนางเท่านั้น


ทีนี้มาย้อนดูข้อเสนอหลักๆ ในการปฏิรูปสภาขุนนางในอังกฤษช่วงที่ผ่านมากันหน่อยนะครับ ก็คือ รัฐบาลผสมของอังกฤษ (อนุรักษนิยมและเสรีนิยม) เมื่อชนะเลือกตั้งได้ประกาศว่าจะปฏิรูประบบสภาขุนนาง ให้มาจากการเลือกตั้งเป็นส่วนมาก เพื่อให้ตอบคำถามกับสังคมได้ทั้งในเรื่องของ "ความชอบธรรม" และ "ความเชื่อมั่นของประชาชน" ต่อสถาบันประชาธิปไตย

ร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2012 โดยสาระสำคัญก็คือ ให้มีสมาชิก 150 คน มี 120 คนมาจากการเลือกตั้ง (ดำรงตำแหน่ง 15 ปี หรือประมาณ 3 รอบการเลือกตั้งปกติ แถมวิธีเลือกก็ให้เลือกได้ทั้งแบบเลือกพรรคหรือเลือกคน) และ 30 คน มาจากการแต่งตั้ง โดยในส่วนแต่งตั้งนั้นก็ให้เป็นเรื่องของศาสนจักร คือ บิชอฟ 21 ท่าน และอีก 8 มาจากการแต่งตั้งตามอัธยาศัยของนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีสมาชิกที่เรียกว่าสมาชิกระยะเปลี่ยนผ่านจำนวนสองในสามของจำนวนสมาชิกที่มี (คือ สองในสามของ 150)

จากนั้นก็มีการพูดถึงจำนวนสมาชิกในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยสัมพันธ์กับการเลือกตั้งในอนาคตในแต่ละครั้ง โดยมุ่งหมายไปที่ระบบที่สมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะมีสมาชิกจากการเลือกตั้ง 360 มาจากการแต่งตั้ง 90 โดยในนั้นมาจากศาสนจักร 12 และจากโควต้าของนายกรัฐมนตรี 8 คน และจะไม่เหลือสมาชิกระยะเปลี่ยนผ่านต่อไป

ส่วนแต่งตั้งนั้นนอกจากส่วนของนายกฯเอง ก็จะมาจากการคณะกรรมการร่วมของทั้งสภาสามัญชน และสภาขุนนางโดยเสนอชื่อไปที่นายกฯ แล้วให้นายกฯกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ

ความวุ่นวายที่นำไปสู่ความล้มเหลวของการผลักดันร่างนี้ก็มาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่พวกอนุรักษนิยมบางรายที่พยายามยื่นตีความว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมีลักษณะที่พิเศษเพราะกระทบกับเรื่องทางศาสนา ดังนั้นจะต้องมีกระบวนที่ซับซ้อนและยาวนานขึ้น แต่ประธานสภาก็ปัดประเด็นนี้ตกไป

ทีนี้เรื่องราวต่อมาที่เป็นเรื่องใหญ่ก็คือ แม้ว่าทางฝ่ายค้านคือ พรรคแรงงานเองจะแถลงว่าตนสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการอภิปราย ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับพวกกบฏในพรรคอนุรักษนิยมเอง จนในท้ายที่สุดนายกรัฐมนตรี และผู้นำพรรคเสรีนิยมที่ร่วมรัฐบาลก็ต้องออกมาแถลงถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกไปในเดือนกันยายนปีเดียวกัน


แม้ว่าในวันนี้จะยังมีความพยายามในการปฏิรูปสภาขุนนางต่อไป แต่ก็ยังดูไม่เป็นเรื่องที่พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินสักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับความพยายามเมื่อปีที่ผ่านมา ดังที่เห็นจากข้อเสนอที่น่าสนใจจากคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญของสภาสามัญชน (Commons Constitution Committee) ก็คือการปฏิรูปสภาขุนนางทั้งระบบ โดยเฉพาะเรื่องจำนวนของสมาชิกสภาขุนนาง (น่าจะไม่เกิน 650 คน) และความเชื่อมโยงกับสภาล่างในแง่ของที่มาและสัดส่วน โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะให้มีเรื่องของการมีวาระของการดำรงตำแหน่งด้วย (และให้ออกสักสอง จะแต่งตั้งใหม่ได้แต่หนึ่งตำแหน่งเป็นต้น)

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ทุกฝ่ายก็จับตาในเรื่องนี้โดยเฉพาะกระแสไม่พอใจต่อรายชื่อรอบล่าสุดซึ่งในวงการเมืองและสื่อของอังกฤษเองนั้นเขาก็ทำนายว่า การเลือกตั้งในครั้งหน้า เรื่องการปฏิรูปสภาขุนนางก็จะมีขึ้นอย่างแน่นอนครับผม



ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊คกับมติออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"นิวยอร์กไทมส์" ตีข่าวชี้ปชป.ละทิ้งอุดมการณ์รัฐสภา-ปลุกระดมหยาบคาย นำม็อบประท้วงข้างถนน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



วันที่ 26 ส.ค. นิวยอร์กไทมส์ สื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังระดับโลกของสหรัฐอเมริกา รายงานบรรยากาศเวที “ผ่าความจริง” ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมบทวิเคราะห์ของนายโทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคเอเชียของนิวยอร์กไทมส์
 
บทวิเคราะห์ที่เขียนโดนนายฟุลเลอร์ชี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ละทิ้งแนวทางในรัฐสภา จากที่เคยย้ำว่าจะยึดมั่นในระบอบรัฐสภา และหันมาใช้วิธีปลุกระดมการประท้วงตามท้องถนนแทน โดยอ้างว่าเป็นการเลียนแบบ “อาหรับสปริง” ซึ่งท่าทีดังกล่าวทำให้หลายคนประหลาดใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคนี้มีภาพลักษณ์เป็นพรรคที่มีความสุภาพ ไม่ก้าวร้าว และมีลักษณะเชิงปัญญาชน แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่พยายามจุดชนวนการประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากที่เมืองไทยห่างเหินจากบรรยากาศการปะทะกันตามท้องถนนตั้งแต่เหตุการณ์การประท้วงเมื่อปี 2553

รายงานนิวยอร์กไทมส์ ระบุต่อไปว่า สาเหตุสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์นำการประท้วงในครั้งนี้คือแผนการผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคเพื่อไทย แต่อีกสาเหตุหนึ่งคือความรู้สึกไร้ซึ่งอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ หลังพรรคนี้แพ้การเลือกตั้งเมื่อ 2 ปีก่อน จนปูทางให้กลุ่มการเมืองของพตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาสู่อำนาจได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังนำพรรคของตนไปสู่ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และหัวหน้าพรรคดีกรีระดับออกซ์ฟอร์ดผู้นี้ ยังถูกวิจารณ์ว่าไม่สามารถเข้าถึงประชาชนรากหญ้าได้ โดยเฉพาะประชาชนในเขตภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาและคนยากจน

รายงานข่าวตั้งข้อสังเกตว่า ในการชุมนุม ณ เวที “ผ่าความจริง” เมื่อวันที่ 24 ส.ค. มีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากขึ้นเวทีปราศรัย รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โดยมีการใช้วาจาด่าทอน.ส.ยิ่งลักษณ์อย่างหยาบคาย และมีการปลุกระดมให้โค่นล้มรัฐบาลด้วย

นอกจากนี้ รายงานของนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ปฏิเสธกระบวนการปรองดองของรัฐบาล และยังใช้วิธีก่อความปั่นป่วนมาใช้ในรัฐสภาเช่นกัน เช่นต่อสู้กับ จนทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งถึงกับพาดหัวว่า “อัปยศ”

อย่าง ไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์กไทมส์ มองว่า ยังไม่แน่ชัดว่าผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถชุมนุมยืดเยื้อเพื่อ โค่นล้มรัฐบาลได้ดังที่แกนนำต้องการหรือไม่เพราะการชุมนุมระยะยาวในประเทศ ไทยเป็นเรื่องยากลำบากต้องเจอกับทั้งสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้วนหรือพายุฝนอีก ทั้งผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากเป็นคนชั้นกลางซึ่งผู้ประท้วงส่วน หนึ่งก็ให้สัมภาษณ์ในข่าวว่า ถ้าหากลำบากมาก ก็คงดูทีวีอยู่ที่บ้านดีกว่า

รายงานข่าวนิวยอร์กไทมส์ ยังได้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอลงกรณ์กล่าวว่าตนไม่เห็นด้วยกับยุทธวิธีของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ ตนมองว่าพรรคจะไม่มีทางชนะใจประชาชน “ประชาธิปไตยแบบม็อบ” เพราะจะมีแต่สร้างความแตกแยกไม่สิ้นสุด โดยตนมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรเร่งปฏิรูปตนเองจะดีกว่า เช่น ใช้ระบบไพรมารีคัดสรรผู้สมัครที่ประชาชนต้องการ และเน้นการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในขณะที่เศรษฐกิจของไทยและประเทศรอบข้างเริ่มส่อเค้าถดถอย

ด้าน นายสมบัติบุญงามอนงค์แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงให้สัมภาษณ์รายงานข่าว นิวยอร์กไทมส์ว่าพรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์ความรู้สึกของประชาชนผิดพลาด จึงจุดกระแสไม่ติด นอกจากนี้ นายสมบัติยังแสดงความผิดหวังที่เห็นพรรคประชาธิปัตย์ลงมาเล่นการเมืองบนท้อง ถนน โดยเปรียบเทียบว่าเหมือนเป็นมาราโดน่าลดตัวลงมาเล่นบอลข้างถนนเสียเอง

อ่านต้นฉบับด้านล่าง


    Thousandsof demonstrators cheered in a vacant lot here on Saturday as speakers threatened to “overthrow” the government. But unlike in previous years, this time the protesters were members of Thailand’s oldest political party, the Democrat Party, which has long had a reputation as the staid, well-mannered and intellectual voice of the Bangkok establishment and has been firmly dedicated to resolving differences inside Parliament, where the Democrats lead the opposition.

    The threats by some of the Democrats’ leaders to lead large-scale street demonstrations in the style of the Arab Spring — stunning to many Thais because it seems so out of character for the party — underlines the persistence of divisions in Thailand and raises the prospect of a return to the political turmoil that left more than 90 people dead on the streets of Bangkok in 2010.

    “We are gathering up the masses, people left behind by this government,” Sathit Wongnongtoey, a Democrat Party member of Parliament, told the crowd on Saturday in front of a backdrop with a huge clenched fist. “We will rise up and fight.”

    The acrimony between the Democrats and the government of Prime Minister Yingluck Shinawatra centers on a number of legislative issues, chiefly an effort by the government to pass an amnesty law for those involved in the 2010 protests. The Democrats oppose the bill, saying it might also apply to those who insulted the monarchy or committed serious crimes.

    But the broader conflict appears to stem from the Democrats’ feeling of powerlessness in the face of the resurgence of Thaksin Shinawatra, Ms. Yingluck’s older brother, who sets the broad policy lines for the government and the Pheu Thai Party despite living abroad since 2008 in self-imposed exile to escape corruption charges.

    Abhisit Vejjajiva, a former prime minister who leads the Democrats, has been under relentless pressure since losing parliamentary elections two years ago. He was charged with murder in December in the deaths of protesters in 2010, when he was prime minister.

    Mr. Abhisit, who was born in Britain and educated at Oxford, has been criticized for being unable to connect with rural voters. The formal language and academic bearing favored by the Democrats won over some Bangkok voters, but the party has been trounced in the rice-growing northeastern part of the country, where one-third of the electorate lives.

    “The image of this party in the past has been that of a very good and elegant performer, like Maradona on the soccer field,” said Sombat Boonngamanong, a political activist, referring to the fleet-footed Argentine athlete. “Now they want to play street soccer.”

    At Saturday’s rally, Mr. Abhisit’s speech was earthy and markedly more aggressive than his previous remarks. Other party leaders used coarse language to criticize the government, and the crowd repeatedly called for Ms. Yingluck’s ouster with a vulgar chant.

    On Sunday, Ms. Yingluck held a meeting to call for national reconciliation, an effort the Democrats have refused to join.

    Even inside Parliament, the Democrats have sought to portray themselves as street fighters, with one lawmaker shoving a security guard during a ruckus that a Thai newspaper described as a “disgrace.”

    “We want to awaken the masses,” said Nipit Intarasombut, a lawmaker who leads the Democrats’ radical faction that advocates aggressive street demonstrations.

    “It’s a new era for the party,” he said. “People today are fearful. But once we can mobilize hundreds of thousands of people on the streets, the fear will disappear.”

    It is unclear whether the Democrats’ supporters, especially Bangkok’s affluent voters, will put up with the discomforts of prolonged demonstrations. Punishing heat and drenching rains have tested previous protesters.

    At the rally on Saturday, one of a series held this month in Bangkok, the Democrats’ supporters said they were committed to opposing the government, but seemed sheepish when asked whether they were ready for sustained street protests.

    “We would have to see if it’s convenient,” said Pongporn Chaicharus, a financial planner at a Bangkok hospital. His partner, Tiparpa Aimsaby, who sells computer software, also looked uncertain. “If it’s not convenient, we could watch it from home,” she said.

    In a country with a history of military coups and other democratic disruptions, the Democrat Party for years lived by the mantra “I believe in the parliamentary system,” the words of Chuan Leekpai, a former prime minister who is now the party’s elder statesman.

    Some in the party say it is a mistake to abandon that principle. Alongkorn Ponlaboot, a veteran lawmaker, calls the protest strategy “destructive democracy.”

    “We will not win people over with mob democracy,” Mr. Alongkorn said. “It will cause indefinite divisions.”

    What the party needs, Mr. Alongkorn said, is a wholesale restructuring, including a system of primaries to choose candidates. The party should focus on bread-and-butter issues at a time when the Thai economy and others in the region are faltering, he said.

    Data released this month showed that Thailand had entered a mild recession.

    Others have raised questions about how much support the Democrats can mobilize outside the party for their protests. Mr. Sombat, the activist who is a former protest leader for the “red shirts,” a movement that helped propel the Yingluck government to power, said the Democrats were misreading the national mood.

    “The society is not ready to spill out into the streets,” he said.

    In a sign that he might be right, the leadership of the “yellow shirts,” another once-prominent protest movement, resigned Friday.

    “We have been through that and learned it’s tiring and expensive,” Mr. Sombat said of street protests. “No one wins. We can’t do this anymore. It’s not the way out of the problem.”

    Poypiti Amatatham contributed reporting.

    A version of this article appears in print on August 26, 2013, on page A8 of the New York edition with the headline: Well-Mannered Thai Party Throws Down Its Gloves in Government Protests.

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัญญาณประชาธิปัตย์ กำลังจนตรอก

รายงานพิเศษ ข่าวสดออนไลน์


การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ในประเด็น ′ที่มา′ ของส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง 200 คน

ซึ่งดำเนินมาช่วง 3 วันตั้งแต่วันที่ 20-22 สิงหาคม

ความปั่นป่วนวุ่นวายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะวันแรกของประชุม

พฤติกรรมการแสดงออกของเหล่าบรรดาส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถ่ายทอดสดผ่านช่อง 11 แพร่ออกสู่สายตาประชาชนทั่วทั้งประเทศ

ไม่ว่าภาพการชี้หน้าด่าทอนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ หรือนายนิคม ไวยรัชพานิช สองท่านประธานในที่ประชุม ด้วยถ้อยคำสุดบรรยาย

ไม่ว่าภาพการมะรุมมะตุ้มใช้มือ ′ค้ำคอ′ ตำรวจรัฐสภา หรือส่งเสียงกรีดร้องโหยหวน โห่ฮาประดุจรัฐสภาเป็นสวนสัตว์

กระนั้นก็ตามพฤติกรรมการแสดง ออกเหล่านี้ถึงจะอยู่ในขั้นเหลือรับประทาน

แต่ก็ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศจุดยืนผ่านเวที ′ผ่าความจริง′ ชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่า

ต้องการเดินหน้าลุยต้านการผลักดันร่างกฎหมายที่เอื้อต่อ ′ระบอบทักษิณ′ ทุกวิถีทางไม่ว่าในสภาหรือนอกสภา

ผลจาก ′โรดแม็ป′ ดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์

จึงไม่เพียงทำให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย เหมะ ผ่านสภาขั้นรับหลักการในวาระแรก เข้าสู่วาระ 2 แบบทุลักทุเล

ยังทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2557 ในวาระ 2 ที่อภิปรายกันไปแล้ว 3 คืน 4 วัน

ต้องยืดเยื้อออกไปจนเฉียดเส้นตาย 105 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาผู้แทนฯ พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 สิงหาคม

แล้วก็อย่างที่เห็นการต่อต้านแบบระห่ำสุดซอยของพรรคประชาธิปัตย์

ยังติดพันมาถึงเวทีประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน

โดยรอบนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้กลุ่ม 40 ส.ว.มาเป็นกำลังเสริม ร่วมด้วยช่วยกันออกแรงยื้อ 3 วันผ่านไปได้แค่ 2 มาตรา จาก 13 มาตรา

จนประธานต้องนัดตะลุมบอนกันอีกยกสัปดาห์หน้า 27-30 ส.ค.

กิริยามารยาทของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในสภา ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสังคมภายนอก

ขนาดที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคเองก็ยังยอมรับว่าเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่มีใครอยากเห็น

อย่างไรก็ตามถึงสังคมส่วนหนึ่งจะมองพฤติกรรมพรรคประชาธิปัตย์ไปในทางประณามหยามเหยียด เป็นต้นเหตุของสภาอัปยศ

แต่ส่วนหนึ่งก็มองด้วยความเมตตาและเข้าใจ

เข้าใจว่าถึงจุดนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่เหลือทางเลือกอื่นให้เดิน

สถานการณ์ที่จะให้กองทัพเข็นรถถังถือปืนออกมาโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เหมือนอย่างเมื่อปี 2549 หากฟังคำให้สัมภาษณ์อันหนักแน่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.

ก็ปิดประตูตายไปได้เลย

ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างภูมิใจไทยที่เคยกอดคอจัดตั้งรัฐบาลแบบพิสดารเจรจาในค่ายทหาร ระยะหลังก็เริ่มส่งสัญญาณตีตัวออกห่าง

ไม่เฉพาะกลุ่มมัชฌิมาของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยก็ยังตอบรับเข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมืองหาทางออกให้ประเทศ ตามคำเชิญของรัฐบาลยิ่งลักษณ์

หนทางต่อสู้ในสภาของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มตีบตันเข้าไปทุกที

เป็นกระจกสะท้อนความจริงอย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคกล่าวปราศรัยบนเวทีผ่าความจริงนั่นก็คือ

สู้ในสภา ยังไงก็แพ้

กล่าวคือเมื่อใดที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา

ไม่ว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ร.บ.งบ ประมาณฯ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระทั่งพ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้าน ถ้าหากปล่อยให้เป็นเรื่องของสภาว่ากันล้วนๆ

พรรคประชาธิปัตย์อย่างมากก็ยื้อไว้ได้แค่ชั่วครู่ชั่วยาม

ต่อให้ตีรวนประท้วงทุกนาที ชี้หน้าด่าทอประธานสภารุนแรงเพียงใด ไม่ว่าจะส่งเสียงโห่ฮา กรีดร้องโหยหวนดังขนาดไหน

สุดท้ายก็ยังต้องแพ้เสียงรัฐบาลในสภาอยู่ดี

ตรงนี้เองคือความอับจนของพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา จึงเป็นอะไรที่ทั้งน่าสงสารและน่าเวทนาอย่างยิ่ง

ความอับจนหนทางต่อสู้ในสภานี้เอง

เป็นปัจจัยและแรงผลักดันให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องหันมาเล่นการเมืองแบบ ′ไม่มีอะไรจะเสีย′ อย่างที่เห็นในการประชุมสภาช่วงที่ผ่านมา

พรรคประชาธิปัตย์สกัดขัดขวางกฎหมายนิรโทษกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองทุกกลุ่ม ทุกสี

ละทิ้งหลักการประชาธิปไตย ลุกขึ้นกล่าวอภิปรายปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550 ที่เขียนขึ้นมาภายใต้อำนาจรัฐประหาร 2549

ตลอดจนการหันมาปลุกม็อบข้างถนนใต้สะพานทางด่วน ด้วยข้ออ้างวาทกรรมเดิมๆ ว่าเป็นการรวมพลังเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ และเผด็จการเสียงข้างมากในสภา

แต่ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวอาละวาดด้วยกระบวนท่าพิเศษพิสดารอย่างไร เผด็จ การเสียงข้างน้อยก็ยังทำอะไรรัฐบาลไม่ได้อยู่ดี

ทั้งยังต้องขาดทุนติดลบด้านภาพลักษณ์อีกต่างหาก

ภาวะจนตรอกดังกล่าวนี้เอง ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ที่พรรคประชาธิปัตย์ดอดส่งคนไปขอ ′แตะมือ′ ด้วย ฉวยโอกาสขึ้นขี่หลังทันที

แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเคยมีบทเรียนอันขมขื่นกับพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำขาดหากต้องการให้กลุ่มพันธมิตรฯ ร่วมเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลชุดนี้

พรรคประชาธิปัตย์ต้องลาออกจากส.ส.ทันที เพื่อมาถือธงนำมวลชนปฏิรูปประเทศใหม่หมด

โดยไม่ต้องรอเวลาให้ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผ่านสภา วาระ 3 แล้วค่อยออกมาเดินขบวน ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศวางแผนไว้

ในเบื้องต้นทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ยังแสดงท่าที ′แทงกั๊ก′ ข้อต่อรองดังกล่าว เพราะยังไม่แน่ใจว่าสถานการณ์การเมืองตอนนี้สุกงอมพอหรือยัง

อย่างไรก็ตามข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรฯ ถูกยกมาวางเทียบกับข้อเสนอของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่เสนอพิมพ์เขียวในการปฏิรูปพรรค

พร้อมกับโยนคำถามไปยังนายอภิสิทธิ์ ว่าพร้อมจะนำพรรคประชาธิปัตย์เดินไปในทางไหน

แต่หากนึกย้อนถึงภาพเก่าๆ สมัยนายอภิสิทธิ์ นอบน้อมเดินเข้าหานายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่บ้านพระอาทิตย์ หรือแม้แต่ภาพกอดกันกลมกับนาย เนวิน ชิดชอบ

อนาคตของพรรคประชาธิปัตย์จึงน่าหวาดเสียวยิ่งนัก

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ร่อนจม.เปิดผนึกถึงชวน หลีกภัย - เตือนปลุกอนาธิปไตย มุ่งสู่รัฐประหาร กาลียุค!


หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 56 เฟซบุ๊ก Charnvit Ks ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการประวัติศาสตร์ชั้นนำของไทย มีข้อความดังนี้
 
An Open Letter to Chuan Leekphai
On Anarchy and Democracy
เรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตย
เรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย สส. ปชป กก.สภามธ.
และอดีตนรม. อดีตหัวหน้าพรรคฯ

สืบเนื่องจากสถานการณ์ 
ป่วนสภา ป่วนถนน และการป่วนอื่นๆ 
ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่สร้างสถานการณ์ อนาธิปไตย anarchy 
อันจะนำไปสู่ การรัฐประหาร ยึดอำนาย โดย นายทหาร และ/หรือ นายศาล
เรื่องทำนองนี้ ได้เกิดมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2490 แล้วก็เกิดอีก เมื่อ พ.ศ. 2549
ปวศ. อาจซ้ำรอยอีก และเมื่อถึงตอนนั้นกาลียุค ก็จะบังเกิดในสยามประเทศไทย

ครั้งหนึ่ง ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้นำปฎิวัติสยาม ผู้ประศาสน์การ มธก รัฐบุรุษอาวุโส และ อดีต นรม ได้เตือนเราไว้ และน่าที่ เราๆ ท่านๆ ในยุคสมัยอันสับสน เช่นนี้ จักได้สำเนียก เรียนรู้ และสร้าง "การเมืองดี" ให้กับชาติบ้านเมือง

เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2489 กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่สังคมไทยกำลังค้นหาให้ได้มาซึ่งระบอบ "ประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง นรม ได้กล่าวปิดประชุมสภาเมื่อ 7 พฤษภา ด้วยคำเตือนเรื่อง "ประชาธิปไตย" กับ "อนาธิปไตย" ดังนี้

"ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตย อันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย"

ท่านปรีดี กล่าวต่อว่า "ข้าพเจ้าไม่พึงประสงค์ที่จะให้มีระบอบเผด็จการในประเทศไทย ในการนี้ก็จำเป็นต้องป้องกันหรือขัดขวางมิให้มีอนาธิปไตย อันเป็นทางที่ระบอบเผด็จการจะอ้างได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันประคองใช้ให้ระบอบประชาธิปไตยนี้ได้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อย .... ระบอบเผด็จการย่อมมีขึ้นไม่ได้"

ท่านปรีดีกล่าวอย่างน่าสนใจอีกว่า "การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (เอ็กโกอีสม์)"

แล้วท่านปรีดี ก็เข้าสู่ไคลแมกซ์ด้วยการกล่าวว่า "โดยมีอุดมคติซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าเคารพในความซื่อสัตย์ ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากหลายที่ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ได้ร่วมกิจการรับใช้ชาติกับข้าพเจ้า... แต่ผู้ซึ่งแสดงว่าซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ในภายนอก ส่วนภายในหวังผลส่วนตน หรือมูลสืบเนื่องมาแต่ความไม่พอใจเป็นส่วนตัวเช่นนี้แล้ว ก็เกรงว่าผู้นั้นก็อาจหันเหไปได้ สุดแต่ว่าตนจะได้รับประโยชน์ส่วนตนอย่างไรมากกว่า"

ท่านปรีดี จบคำปราศัย ฝากฝังไว้กับ สส. ในสภาว่า "ข้าพเจ้าหวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย คงจะใช้สิทธิของท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ และอาศัยกฏหมายและศีลธรรมความสุจริตเป็นหลัก ไม่ช่วยกันส่งเสริมให้มีระบอบอนาธิปไตย

ข้าพเจ้าขอฝากความคิดไว้ต่อท่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย โดยเป็นห่วงถึงอนาคตของชาติ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้เห็นประเทศชาติปลอดจากระบอบเผด็จการ และปลอดจากระบอบอนาธิปไตย คงมีแต่ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมไปด้วยสามัคคีธรรม

ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมนี้เป็นวัตถุประสงค์ของคณะราษฎร ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานรัฐธรรมนูญ"

ท่านปรีดีฝากฝังอะไรไว้มากมายเมื่อ 7 พฤษภา พ.ศ. 2489 ต่อมาอีก 2 วัน คือ 9 พฤษภา ท่านปรีดี ก็ถวายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 ลงพระปรมาภิไธย แต่อีก 1 เดือนต่อมา คือ ในวันที่ 9 มิถุนา ในหลวงอานันท์ ก็ต้องพระแสงปืนเสด็จสวรรคต

และแล้ววิกฤตก็บังเกิด อำนาจเก่าบารมีเก่า ใส่ร้ายป้ายสี "ปรีดีฆ่าในหลวง" ท่านปรีดีแสดงความรับผิดชอบ ลาออกจากนรม. และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ก็ขึ้นเป็นแทน รัฐบาลหลวงธำรงฯ ถูกพรรคฝ่ายค้าน คือ ประชาธิปัตย์ นำโดยนายควง อภัยวงศ์ เปิดอภิปรายในสภาฯ ไม่ไว้วางใจหลายวันหลายคืน และเมื่อล้มรัฐบาลด้วยวิถีทางรัฐสภาไม่ได้ นายควง หัวหน้าพรรคฯ ก็ร่วมมือกับ "ระบอบทหาร" ที่นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัณ ทำ "การรัฐประหาร" ยึดอำนาจเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490

จากนั้นสยามประเทศ(ไทย) ของเรา ก็เข้าสู่ "ยุดมืดบอดทางการเมือง" กลายเป็น "ระบอบเผด็จการครึ่งใบ" อยู่ 10 ปีภายใต้ "ระบอบพิบูลสงคราม" ระหว่าง พ.ศ. 2491-2500 แล้วก็ต้องตกอยู่ภายใต้ "ระบอบเผด็จการเต็มใบ" ของ "ระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส" อีก 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2501-2516 รวมแล้วกว่าจะถูกโค่นล้มไปเมื่อ "14 ตุลา" พ.ศ. 2516 ก็กินเวลาถึง 26 ปี

ท่านปรีดีของเราต้องกลายเป็น "พ่อกู นามระบือ ชื่อปรีดี แต่คนดี เมืองไทย ไม่ต้องการ" (เช่นเดียวกับ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ) ท่านต้องลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยจาก "อนาธิปไตย" และ "เผด็จการทหารและอนุรักษ์นิยม" ไปอยู่เมืองจีนถึง 21 ปี แล้วก็จะไปจบชีวิตลงที่ปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2526

ครับ ท่านปรีดีและคำเตือนว่าด้วย "อนาธิปไตย" กับ "ประชาธิปไตย" ทำให้เราต้องคิดใคร่ครวญหนักต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นับตั้งแต่ "ระบอบพันธมิตร" กับการ "ล้มรัฐบาลสมัคร/สมชาย" ตลอดจน "โค่นระบอบทักษิณ" รวมทั้งสภาพการ "ป่วน" ทั้้งหลาย ทั้งปวง เราจะแก้วิกฤตครั้งนี้ได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิด "อนาธิไตย" อันนำมาสู่ "รัฐประหารโดยนายทหาร/นายศาล" หรือบานปลายไปจนเป็น "สงครามกลางเมือง" กลายเป็น "กาลียุค"

หากเราตระหนักในคำเตือนล่วงหน้าก่อนกาล ของท่านปรีดี ที่ท่านให้เรายึดมั่นใน "ประชาธิปไตย" ไม่นำไป "สับสน" หรือ "ปนเปื้อน" กับ "อนาธิปไตย/ป่วน" อันจะนำเราไปสู่ "ระบอบเผด็จการ" เมื่อนั้นแหละ ที่บ้านเมืองของเราจะพอมีอนาคตกันบ้าง

หรือว่าทุกอย่างจะสายเกินแก้ไปแล้ว และ ในกาลียุคสมัย "พระอิศวรศิวะเทพ" ก็จะปรากฏกายเป็น "ศิวะนาฏราช" เหนือปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทเขาพนมรุ้ง เพื่อทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างให้สิ้นซาก แล้วให้ "พระนารายณ์วิษณุเทพ" บันดาลให้ดอกบัวผุดขึ้นมาจากพระนาภี เผย "องค์ท้าวมหาพรหม" ที่จะทรงสร้างโลกใหม่ ที่มี "สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ" มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสียที

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ณ เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ 

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของกสม.ทั้งคณะ


:บทความจากผู้ใช้นาม RED USA

กสม. คือคำย่อของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

แต่จากรายงานผลการตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
คณะกรรมการกสม. ชุดนี้ทุกคนตั้งแต่ตัวประธานยันกรรมการทุกคนได้สูญเสียสิทธิความเป็นมนุษย์ไปแล้วโดยสิ้นเชิง ปุถุชนคนทั่วไปไม่สามารถรับรู้หรือสัมผัสความเป็นคนของ กสม. ชุดนี้ได้แม้เพียงเงา

RED USA จึงขอประกาศปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของกสม.ให้ทราบโดยทั่วกันคือ
1. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนางอมรา พงศาพิชญ์
2. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนายแท้จริง ศิริพานิช
อมรา พงศาพิชญ์

แท้จริง ศิริพานิช
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

3. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
4. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนายปริญญา ศิริสารการ
5. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
6. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนายวันชัย ศรีนวลนัด
7. ขอปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของนางวิสา เบ็ญจะมโน

ปริญญา ศิริสารการ
ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
เอกสารที่มีความหนา 92 หน้ารายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมาเป็นเอกสารที่แสดงตัวตนแท้จริงของ กสม.ที่สังคมโลกและสังคมของผู้รักความเป็นธรรมเห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนรับไม่ได้
วิสา เบญจะมโน
 
วันชัย ศรีนวลนัด
ต่างวิพากษ์วิจารณ์ก่นด่ากันไปทั้งโลกว่าไม่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง ลำเอียงเข้าข้างอภิสิทธิ์ชน ให้ร้ายประชาชนที่ถูกเข่นฆ่าบาดเจ็บต้องคดี และถูกคุมขังจากการชุมนุมทางการเมือง อย่างไร้ยางอายไร้จิตวิญญาณของความเป็นคน

แต่กลับสร้างความชอบธรรมอย่างไร้มโนธรรม และไร้จิตสำนึกของความผิดชอบชั่วดีให้กับฆาตกร และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงของประเทศระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553

กสม. ไม่ยี่หระต่อเสียงสาปแช่งที่นำความอัปยศเสื่อมเสียมาสู่ตนเอง ครอบครัว และวงศ์ตระกูลเพียงเพื่อให้ไอ้หน้าหล่อฟันเกย์ได้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหา และคดีความเท่านั้นเป็นพอ โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และไม่ติดตามคำพิพากษาของศาลต่อคดีความต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์สังหารหมู่กลางกรุงครั้งนี้แต่ประการใด

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่มีนางอมรา พงศาพิชญ์ เป็นประธาน เป็นกสม. ชุดที่ 2 มีอายุการทำงานตั้งแต่ปีพศ.2552 ไปสิ้นสุดในปีพศ. 2558 ได้รับการสรรหาในสมัยของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552

ในรายงานของกสม. หน้าที่ 13 อ้างว่าในวันที่ 29 เมษายน 2553 นปช. ข่มขู่คุกคามบุกรุกสถานพยาบาลปิดล้อมทางเข้า-ออก พร้อมประนามนปช. อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า

"คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอประณามพฤติกรรมดังกล่าวอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยธรรมอันเป็นกติกาสากลที่สังคมอารยะพึงยึดถือ เพราะแม้แต่ในภาวะสงครามทุกฝ่ายยังต้องเคารพเครื่องหมายกาชาดซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากล อันหมายถึงการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ และมนุษยธรรมอย่างเป็นกลางโดยไม่เลือกปฏิบัติ"
แต่กสม.กลับกลืนน้ำลายตนเองแก้ต่างให้ศอฉ. และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ที่สังหาร "น้องเกด" พยาบาลอาสาที่ติดเครื่องหมายกาชาดขณะช่วยปฐมพยาบาลเพื่อนร่วมชาติในเขตอภัยทาน โดยกสม. บิดความเหี้ยมโหดของศอฉ.ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้กลายเป็นความชอบธรรม

จากรายงานตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย กสม. บรรยายราวกับว่า นปช. คือคนร้ายที่ละเมิดสิทธิของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ด้วยรายงานที่มีลีลาประหนึ่ง กสม. เป็นผู้ร่วมสมคบคิด ที่ต้องการหลุดรอดจากคดีการสังหารหมู่ประชาชนมือเปล่ากลางเมืองหลวงของประเทศไทยเสียเอง

กสม. กล่าวไว้ในบทสรุปที่ยืดยาวตั้งแต่หน้า 77 - 88 ว่า นปช.ใช้สิทธิการชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายผิดกับที่ระบุไว้ในหน้าที่ 38 ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ "ใช้อำนาจตามกฎหมายภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ทำได้"

การใช้อำนาจตามกฎหมายในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดแต่ทำให้คนตายนับร้อยบาดเจ็บหลายพันคนยังเป็นที่ยอมรับของคณะที่เรียกตนเองว่า "กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ได้อีกหรือ

การฆ่าเพื่อนร่วมชาติเป็นร้อยศพกลางเมืองหลวงของประเทศ กสม. ระบุว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายไดัละหรือ

การปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมืองอย่างสันติทำให้มีผู้พิการบาดเจ็บนับพันคน กสม. ระบุว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายได้ละหรือ

หากเป็นเช่นนั้น RED USA ขอประกาศย้ำตรงนี้อีกครั้ง ขอปฏิเสธความเป็นคนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้ง 7 

เพราะพวกคุณก็คืออมนุษย์ที่พลีร่างกายจิตวิญญาญรับใช้ผีห่าซาตานกระหายเลือด

......หรือว่าไม่จริง

August 15, 2013

'จารุพรรณ' ส่งจดหมายแจงสหประชาชาติ ชี้รายงาน คอป.ให้ความจริงครึ่งเดียว



จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.เพื่อไทย ส่งจดหมายถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ระบุการจัดทำรายงาน คอป. เขียนโดยฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นเหตุให้ OHCHR ได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว

16 ส.ค. 56 - น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้เผยแพร่ Press release แปลไทย:จดหมายส่งถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN OHCHR) ผ่านหน้าเฟซบุ๊กของตนเอง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Press release
แปลไทย:จดหมายส่งถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN OHCHR)
ที่มา: เฟซบุคจารุพรรณ กุลดิลก

ดิฉัน สส. จารุพรรณ กุลดิลก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ทำจดหมายถึงข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชี้แจงในสองเรื่อง ได้แก่ (1)รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) และ (2) สถานภาพของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งดำรงอยู่โดยขัดกับหลักการปารีส (Paris Principles)

ในประเด็นแรก จากการศึกษาการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พบว่าการจัดทำรายงานมีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่เขียนโดยฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นเหตุให้ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว และตัวคณะกรรมการของคอป. ก็มาจากการเสนอชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้น ตัวกรรมการในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้แสดงความลำเอียงตั้งแต่ต้น อนุกรรมการสองท่านเคยทำงานเป็นการ์ดให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ที่เรียกร้องให้มีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 ได้แก่ นายเมธา มาสขาว และนายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา โดยอนุกรรมการชุดนี้มีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธาน เป็นเรื่องที่ทำให้คนทั้งประเทศตกใจ เมื่อทราบว่านายสมชายแต่งตั้งสมาชิกกลุ่มพธม.เข้ามาทำงานและเป็นผู้จัดทำรายงาน และบุคคลทั้งสองยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำหลักของพธม.

ถือได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคอป. ขัดต่อหลักกระบวนการอันควรตามกฎหมายและหลักนิติธรรม เป็นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ ผู้เขียนรายงานของ คอป.จงใจละทิ้งประเด็นสำคัญที่เป็นเนื้อหาสาระและยังเขียนรายงานอย่างขาดความเป็นกลาง ดิฉันขอย้ำว่าคนไทยต้องการความปรองดอง แต่ที่ผ่านมากระบวนการดังกล่าวได้ถูกขัดขวางโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหา

เกี่ยวกับสถานภาพของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งขัดกับหลักการปารีส ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้เลือกผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ และไทยเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศแรก ที่ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights - UDHR) เมื่อวันที่10 ธันวาคม 2491 รวมทั้งยังให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (International Bills of Human Rights) ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR)

แต่ที่ผ่านมาสถาบันตุลาการในประเทศไทยไม่ให้ความใส่ใจ ที่จะพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีการนำมาตรฐานระหว่างประเทศเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินอรรถคดีต่างๆ ในขณะที่ระบบกฎหมายและระเบียบวิธีพิจารณาความของระบบกฎหมายไทยยังไม่ได้สะท้อนมาตรฐานการไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรมซึ่งได้รับการรับรองจากกติกา ICCPR

หลักการปารีสมีการรับรองตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามมติที่ 48/134 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 โดยในหลักการดังกล่าวกำหนดไว้ว่า เนื่องจากสถาบันสิทธิมนุษยชนเป็นสถาบันระดับชาติ จึงต้องเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและมีความเป็นพหุนิยม แต่ในทางตรงกันข้าม บรรดาสมาชิกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล้วนแต่ได้รับการคัดเลือกจากบุคคลเพียงไม่กี่คน เป็นเหตุให้ขาดความเป็นพหุนิยม บรรดากรรมการกสม. ล้วนแต่มีอุดมการณ์ที่ล้าสมัย หลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการกสม. ไม่สอดคล้องกับมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามมติที่ 48/134 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 และไม่สอดคล้องกับหลักการปารีส ด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่ากสม.เป็นสถาบันระดับชาติที่ชอบด้วยกฎหมาย

ข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลโดยย่อ โดยดิฉันจะจัดส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กับทางข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทางจดหมายด่วนอีกครั้งหนึ่ง

ดิฉันหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดของประชาคมนานาชาติที่มีต่อรายงานของ คอป. และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหวังว่าจะช่วยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนไทย ที่มีต่อบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ปัญหาหลายประการในปัจจุบันเกิดขึ้นจากการขาดธรรมาภิบาล ขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ หลายหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่โดยพลการ ไม่คำนึงถึงกระบวนการอันควรตามกฎหมายเป็นเหตุให้ประเทศไทยมีสภาพใกล้เคียงกับ“สงครามกลางเมือง” จึงมีความจำเป็นที่ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะต้องแสดงออกถึงความไม่ลำเอียงและมีการปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มงวด และงดเว้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงซึ่งมีแต่จะทำให้สถานการณ์การเมืองเลวร้ายล

ดิฉันยังเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของท่านไม่เปลี่ยนแปลง

ด้วยความนับถือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย

Posted: 16 Aug 2013 05:40 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประขาไท)

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สว.ยื่นสอบการใช้เงินงบประมาณ สสส. ส่อเน่า

ทีมข่าวสุนัยแฟนคลับ


เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 นายประสงค์  ตันมณีวัฒนา สมาชิกวุฒิสภา ขอยื่นตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่ามีความโปร่งใสเพียงได เพราะที่ผ่านมา สสส.  มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เรียกกันง่ายๆว่าภาษีบาป ซึ่งในปี 2556 ได้งบไป 3,566 ล้านบาท แต่กลับมาการใช่จ่ายอย่างไม่โปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพมุ่งแน่นไปทางการสื่อโฆษณาเป็นหลัก บางสื่อไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ไดๆ จึงมีการยื่นหนังสือเพื่อขอตรวจสอบต่อประธานวุฒิสภา ดังต่อไปนี้


กสม. จาก 99ศพ ถึง เอกยุทธ

วงค์ ตาวัน
 
 

เข้า ใจว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คงกลัวประชาชนจะมองไม่เห็นธาตุแท้ของคณะตนเองอย่างถึงแก่นดีพอ หลังจากการสรุปเหตุการณ์ 99 ศพจนผู้คนตะลึงไปทั้งเมือง ล่าสุดเลยแถลงผลการตรวจสอบคดีเอกยุทธ อัญชันบุตร ออกมาอีกคดี

99 ศพ เหตุเกิดในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ ปรากฏว่า ม็อบผิดทุกเรื่อง

มาในคดีเอกยุทธ เหตุเกิดในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ฝ่ายรัฐผิดไปหมด ตำรวจทำคดีไม่ถูกต้อง

เสมือนนายเอกยุทธประดุจฮีโร่ของกรรมการสิทธิ์ จึงไม่ควรตายเพราะคนขับรถ ต้องมีเบื้องหลังใหญ่โตกว่า

ต้องเป็นฝีมือของนักฆ่าผู้เชี่ยวชาญ จะตายเพราะเด็กหนุ่มจากพัทลุงไม่ได้เป็นอันขาด

หมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ออกหน้าในคดีนี้เอง ร่วมกับหมอพรทิพย์ ผมหลากสี
เต็มไปด้วยข้อสังเกตหยุมหยิม แล้วเอามาขยายใส่จินตนาการเข้าไป!

ไม่น่าแปลกใจหรอก เพราะทุกสังคม ย่อมมีคนช่างคิดสติเฟื่องในทุกๆ เรื่อง

แต่ถ้าเรื่องนั้นเป็นคดีความต้องส่งขึ้นศาลก็น่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย

ประเด็น มีอยู่นิดเดียวคือ คดีนี้มีการฆ่าคนตาย มีการจับกุมคนขับรถที่อยู่กับคนตายก่อนเกิดเหตุได้ และให้การรับสารภาพ จากนั้นซัดทอดผู้ร่วมก่อเหตุ นำชี้จุดทิ้งศพได้ชัด ขุดพบ คำให้การส่วนใหญ่ก็ตรงกับความเป็นจริง

จะให้ตำรวจไปทำอะไรได้มากกว่านี้ พยายามหาด้วยซ้ำแล้วก็ได้เท่านี้

จู่ๆ มีคนลุกขึ้นมาตะโกนว่า พวกนี้ไม่ได้ฆ่า ต้องไปจับคนอื่นมาให้ได้

กรุณาอย่าพูดลอยๆ ต้องไปหาอะไรมารองรับด้วย

กรุณาอย่าดีแต่พูด โดยไม่รับผิดชอบ

ข้อโต้แย้งที่หยิบมาแถลงนั้น นักเขียนนวนิยาย เขียนได้สนุกกว่าที่หมอนิรันดร์ควงหมอพรทิพย์มาพูดเสียอีก

สำคัญสุด ไอ้นักฆ่าผู้เชี่ยวชาญนั้น ต้องมีหลักฐานรองรับ ต้องมีเบาะแสอะไรมาสักหน่อย

จนป่านนี้ คนรู้เรื่องไปทั้งเมือง

แต่ยังไม่มีเบาะแสอื่นโผล่ออกมาอีกเลย
มีแต่กลุ่มเดียวตะโกนโหวกเหวกไม่เลิก

เอาง่ายๆ ในสายตากรรมการสิทธิ์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกไปหมด

แต่รัฐบาลนี้ผิดไปหมด คดีนายเอกยุทธต่อให้ได้ ผู้ต้องหา รับสารภาพและพยานหลักฐานเพียบ ก็ยังไม่ถูกต้องอีก

เสร็จจากนี้ อย่าลืมรีบไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิ์ม็อบสวนลุมฯอย่างรุนแรง เป็นผลงานชิ้นต่อไป!                 

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุกขังได้แต่กายสุรชัย..แต่ขังจิตใจและความคิดไม่ได้...


           อ.สุรชัย ส่งผ่านความคิดเตือนให้พรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงอย่าแตกแยกกัน   เปิดโปงเล่ห์กลพวกประชาธิปัตย์กับอำมาตย์ขุดหลุมพราง 112 ให้พรรคเพื่อไทยกระโดดลง เตือนถึง ณัฐวุฒิระวังตกหลุมพรางกรายเป็น "ธีรยุทธ  บุญมี" ขายประชาชน
 

...............................................

 
 

 

ระวังจะหลงกลเดินไปตามแผนของพรรคประชาธิปัตย์
 

          การที่แกนนำ นปช. อย่างณับวุฒิ  ไสยเกื้อ และพรรคเพื่อไทยอภิปรายเกี่ยวกับ พรบ.นิรโทษกรรม ว่าไม่คลุมถึง ผู้ที่ถูกคดี ม.112 นั้นระวังจะหลงกลเดินไปตามแผนของพรรคประชาธิปัตย์
 
          การออกมาต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรม ของพรรคประชาธิปัตย์ทำท่าเอิกเกริกใหญ่โตดูน่ากลัวนั้น   แท้จริงเขาต้องการอะไร?  ต้องการล้ม พรบ.นิรโทษกรรม จริงหรือ?  ทำไมพอเอาข้าจริงจึงไม่มีคนมาร่วมมากตามที่โฆษณาไว้  ซึ่งการจะเอาคนมาร่วม สัก 4-5 หมื่นคนไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพรรคประชาธิปัตย์
 
          “นี่เป็นแผนลวง”  ทำท่าบุกประตูหน้าแต่แอบเข้าประตูหลังนั่นเองประชาธิปัตย์ไม่ได้ต้องการล้ม พรบ.นิรโทษกรรม หรอก  แต่โหมประโคมใหญ่โตขู่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย  เพื่อไม่ให้นิรโทษกรรม ม.112 นั่นเอง
 
          ประชาธิปัตย์หวังผลอะไร?  ต้องการกดดันพวกถูกคดี 112 อย่างนั้นหรือ  คำตอบคือไม่ใช่  หรือเพราะจงรักภัคดีหรือก็ไม่ใช่อีก  คำตอบที่ถูกต้องคือ “ตอกลิ่มสร้างความแตกแยกระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงตาสว่าง” นั่นเอง  การอภิปรายของ ส.ส.ณัฐวุฒิ  ไสยเกื้อ  ในสภาฯ เข้าทางประชาธิปัตย์
 
          ถามว่าเมื่อ พรบ.นิรโทษกรรม ผ่านออกมายกเว้น ม.112 คนเสื้อแดงตาสว่างจะคิดอย่างไรกับพรรคเพื่อไทยที่เป็นผู้กีดกัน  ยิ่งตอนนี้คนเสื้อแดงประเภท “ตาสว่าง” ไม่ค่อยจะไว้ใจพรรคเพื่อไทยและ นปช.อยู่แล้ว (ดูผลการเลือกตั้งเขตดอนเมืองที่ผ่านมา)  คนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็ลดจำนวนลง
 
          จากนั้นในอนาคตเมื่อสร้างความแปลกแยกระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยได้สำเร็จ  ก็จะมีผู้อุดหนุนให้คนเสื้อแดงตั้งพรรคการเมืองขึ้น  เพื่อแยกคะแนนจากพรรคเพื่อไทย  ทราบมาว่าขณะนี้มีการเคลื่อนไหวกันอยู่ทางภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัด  นี่คือยุทธศาสตร์ที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทย  เพราะจะเอาพรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคเพื่อไทยนั้นทำไม่ได้  ต้องสร้างพรรคที่มีนโยบายและทิศทางเหนือกว่าเพื่อดึงคะแนนเสียงจากพรรคเพื่อไทย

          ต้องมองย้อนประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อกลุ่มอำมาตย์เอาชนะกลุ่ม พลเอกถนอม, ประภาส ทางทหารไม่ได้  ก็สร้างกลุ่มนักศึกษาขึ้นมาโค่นล้มแทน

          พรรคเพื่อไทยต้องไม่ให้ภาพออกมาว่า ส.ส.เพื่อไทย กีดกัน ม.112  แต่ควรให้ภาพออกมาว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนขัดขวางกีดกัน ม.112

          คนเสื้อแดงจะโกรธก็โกรธประชาธิปัตย์ ส.ส.ณัฐวุฒิ  ระวังจะกลายเป็นธีรยุทธ  บุญมี ในวันข้างหน้าหนทางยังอีกยาวไกลนักตรองดูให้ดี

          ธีรยุทธ  บุญมี เป็นคนเก่งที่ถูกหลอกใช้โดยไม่รู้สึกตัว  จากนั้นถูกทำลายต้องหนีเข้าป่าไปซ้ายแล้วพ่ายแพ้กลับมาเป็นนักวิเคราะห์สังคมรับใช้อนุรักษ์นิยมที่เคยไล่ล่าตนในอดีต
         

          เวลานี้ ธีรยุทธ  บุญมี หมดสภาพกลายเป็นพวก “หลงทางชีวิต” ไปเสียแล้ว

  
                                                               ผู้ต้องขังคดี ม.112
                                                                     8 ส.ค. 56