ข้อมูลจาก
ประเทศไทยอยู่ตรงไหน?
การกระจายความเจริญโดยเฉพาะระบบ
สาธารณูปโภคพื้นฐาน (การคมนาคมขนส่ง การศึกษา การสาธารณสุข) ไปสู่ระดับภูมิภาคเป็นเรื่องสำค
ัญ เพราะนั่นหมายถึงการเพิ่มรายได้
ในส่วนภูมิภาค ลดภาระและค่าใช้จ่ายให้กับเมือง
หลวงที่แออัด ลดความเสี่ยงเช่นในกรณีที่เกิดม
หาอุทกภัยในปีที่แล้ว ช่วยยกระดับแรงงานของประเทศเนื่
องจากประชากรส่วนมากของประเทศอา
ศัยอยู่นอกเมืองหลวง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเท
่าเทียมกันและความเป็นธรรมในทาง
การเมืองอีกด้วย
ธนาคารโลก (World Bank) ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการบริห
ารจัดการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ในประเทศไทย [1] ซึ่งมีข้อมูลการกระจายตัวของเงิ
นงบระมาณไปยังภูมิภาคในเชิงเปรี
ยบเทียบกับตัวเลขอื่นๆดังนี้
หากลองเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆจ
ะได้ว่า
หากเราแทนประชากรในประเทศไทยด้วยคน 100 คน จะเป็นคนในแต่ละท้องที่ดังนี้กรุงเทพ 17 คน
ภาคกลาง 17 คน
ภาคเหนือ 18 คน
ภาคอีสาน 34 คน
ภาคใต้ 14 คน
หากคนไทยทั้งประเทศทำงานสร้างเงินได้ 100 บาทต่อปี แต่ละภูมิภาคจะสร้างรายได้ดังนี้กรุงเทพ 26 บาท
ภาคกลาง 44 บาท
ภาคเหนือ 9 บาท
ภาคอีสาน 11 บาท
ภาคใต้ 10 บาท
ทุกๆ 100 บาทที่รัฐบาลนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ จะไปให้กรุงเทพ 72 บาท
ภาคกลาง 7 บาท
ภาคเหนือ 7 บาท
ภาคอีสาน 6 บาท
ภาคใต้ 8 บาท
จะเห็นได้ว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก
ระหว่างภูมิภาค หากเราพิจารณารายได้ GDP ต่อประชากรแล้ว จะพบว่าทั้งกรุงเทพฯ และภาคกลางจะมีรายได้ต่อประ
ชากรสูงมาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องไม่แปล
กใจนักหากเราคำนึงถึงบทความ
“เงินร้อยบาทในกระเป๋าคุณมา
จากไหน?” [2] ว่ารายได้กว่า 39% ของประเทศมาจากอุตสาหกรรมซึ
่งมักจะอยู่ในส่วนภาคกลาง
หากเราพิจารณาส่วนของงบประมาณจา
กภาครัฐแล้ว จะพบว่าถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีประชากร 17% ของประเทศ ทำรายได้ 26% ของ GDP ประเทศ แต่กลับได้รับงบประมาณถึงกว่า 72% ในทางกลับกันภาคอีสานที่มีประชา
กรมากที่สุดของประเทศถึง 34% ทำรายได้ 11% แต่กลับได้รับงบประมาณเพียง 6% ของงบประมาณใช้จ่าย
นั่นแปลว่าไม่ว่าจะมองจากมิติขอ
ง GDP หรือมิติด้านจำนวนประชากร การจัดสรรงบประมาณรัฐยังมีความเ
หลื่อมล้ำอยู่มาก ซึ่งหลักการจัดสรรงบประมาณอย่าง
“เป็นธรรม” นั้นขึ้นกับหลักคิดพื้นฐานว่าอะ
ไรคือความเท่าเทียม/ยุติธรรม
บางคนเชื่อว่าหากเราต้องการเห็น
พัฒนาที่เท่าเทียมกันมากขึ่น เราควรช่วยเหลือภูมิภาคที่มี GDP น้อยให้มากขึ้น เพื่อให้ภูมิภาคเหล่านั้นสามารถ
พัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป
็นเงื่อนไขสำคัญของความเจริญและ
การดึงดูดประชากร นอกจากนั้นสภาพงบประมาณที่ไม่สม
สัดส่วนเช่นนี้มีแต่จะซ้ำเติมปั
ญหาการกระจุกตัวของความเจริญในก
รุงเทพ ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่สูงมาก
หากเกิดภัยพิบัติ และยังจะยิ่งทำให้ต้นทุนการบริห
ารเมืองสูงขึ้นไปเรื่อยๆไม่สิ้น
สุด (เมืองยิ่งแออัด ก็ยิ่งบริหารจัดการยาก ต้นทุนสูง)
ในทางกลับกัน บางคนอาจเชื่อว่าความเป็นธรรมหม
ายถึงการจัดสรรเงินให้พื้นที่ซึ
่งสามารถ “เอาเงินไปต่อเงิน” ได้ดีกว่าเพื่อเพิ่ม GDP ให้มากขึ้นในภาพรวม (ซึ่งหมายถึงการสร้างงาน และการพัฒนาประเทศที่มากกว่าแบบ
แรก) อีกทั้งค่าครองชีพของเขตเมืองกั
บชนบทก็แตกต่างกัน การลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคมี
ค่าใช้จ่ายสูงกว่า (คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข) ดังนั้นก็ย่อมเป็นธรรมดาที่เขตเ
มืองเช่น กทม. ย่อมสมควรได้รับงบประมาณมากกว่า
นิยามของ “ความเป็นธรรม” ดูจะเป็นสิ่งทีสังคมไทยต้องถกเถ
ียงค้นหาคำตอบร่วมกันต่อไป แต่ที่แน่ๆคือปัญหาการกระจุกตัว
ของเมืองใหญ่อย่าง กทม. นั้นคือระเบิดเวลาที่รอการแก้ไข
อย่างจริงจังและมีแต่จะย่ำแย่ลง
ทุกปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น