จากหนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน 21
มีนาคม 2556
โดย เรืองยศ จันทรคีรี
การปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 นอกจากจะมีคนไทยเสียชีวิตแล้ว
ยังมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศเสียชีวิตอีกด้วย
และศาลได้มีคำพิพากษามาแล้วหลายคดี
ซึ่งคดีของนายฟาบิโอ โป-เลงกี ช่างภาพชาวอิตาเลียน เสียชีวิตในวันที่
19 พ.ค. 53 บริเวณศาลาแดงถึงราชประสงค์โดยก่อนหน้านี้
ศาลอาญาและศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งทำนองเดียวกันว่าผู้เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากกระสุนที่มาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คดีนี้น่าสนใจในหลายเหตุผล
ประการแรกนั้นเขาเป็นชาวต่างชาติ ทั้งยังเป็นสื่อสารมวลชนด้วยและคดีนี้มีการหาข้อมูลหาพยานสวบสวนมาตามลำดับ
กระทั่งมีพยานที่ยืนยันได้ว่า ช่างภาพชาวอิ-ตาเลียนคนดังกล่าวเสียชีวิตเพราะอาวุธที่ยิงมาจากฝั่งทหาร
แม้ศาลจะเบิกพยานไม่ครบก็ตาม เพราะยังมีพยานคนสำคัญที่เป็นผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันไม่อาจให้การให้ได้ในฐานะพยาน
แม้เขาจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์อยู่อย่างใกล้ชิด! แต่หลายฝ่ายก็เชื่อว่าศาลมีข้อมูลเพียงพอที่จะมีคำสั่งออกมา
การไต่สวนของศาลในคดีนี้ศาลเพียงต้องการมีคำสั่งออกมาว่าผู้ตายเป็นใคร
ตายที่ไหน เมื่อใดถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
คนหนึ่งชื่อนายมิเชลมาส์ส
ผู้สื่อข่าววิทยุและโทรทัศน์ NOS เรดิโอแอนด์เทเลวิช ประจำกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียได้ให้การว่า
เขาอยู่ในเหตุการณ์และอยู่ในกลุ่มผู้สื่อข่าวต่างประเทศเห็นกระสุนมาจากฝั่งเดียวคือ
ฝั่งทหาร และไม่เห็นชายชุดดำแต่อย่างใด? และหลักฐานสำคัญก็คือหัวกระสุน
M16 ที่ผ่าตัดมาจากร่างกายของเขาเอง...
ส่วนพยานอีกคนก็คือ นายมาคิด
คำนัน ช่างภาพสถานีโทร-ทัศน์ไทยพีบีเอส ของประเทศไทยเขาก็ให้การเช่นเดียวกับนายมิเชลมาส์ส คือกระสุนมาจากฝั่งทหารและที่สำคัญนายมาคิดได้บันทึกภาพไว้อย่างใกล้ชิดเพราะว่าเขาเป็นคนวิ่งตามหลังนายฟาบิโอไป
ส่วนพยานปากสำคัญอย่างนายเจฟฟี่
ซี จาร์บลอนสกี้ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่อยู่ในเหตุการณ์และได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้มากมายและสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษก็ใช้นำไปทำเป็นสารคดีนั้นไม่ได้เบิกความต่อศาลในฐานะพยานแต่อย่างใด?
น.ส.อลิซาเบธ โปเลงกี น้องสาวนายฟาบิโอ ที่ต่อสู้คดีมาถึงที่สุดก็ให้ความเห็นว่า
ถ้าศาลไทยไม่อาจพิพากษาให้ความเป็นธรรมกับนายฟาบิโอได้ ก็จะมีการต่อสู้ในเรื่องนี้ต่อไปด้วยการฟ้องร้องในศาลอิตาลีเนื่องจากมีพยานบางปากที่ศาลไม่ให้เบิกความ
ดังนั้น คดีนี้คำพิพากษาของไทยจึงเป็นดัชนีชี้ว่า
คำพิพากษาของศาลไทยจะเป็นไปในทิศทางใดหากไม่อาจให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิตได้ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่คดีนี้อาจจะถูกขยายผลไปสู่ศาลต่างประเทศอีกวาระ
ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่แตกต่างไปจากการขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ จึงเป็นไปได้มากที่คดีช่างภาพชาวอาตาลีนี้จะเป็นเรื่องที่ย้อนกลับมาหาผู้สั่งการอย่างนายสุเทพ
เทือกสุบรรณ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอให้ติดตามดูคดีนี้ให้ดีอย่างใกล้ชิดเพราะอย่างน้อยที่สุดแล้ว
มันก็มีโอกาสที่จะถูกขยายผลสู่การรับรู้ของนานาชาติว่า ระบบความยุติ-ธรรมของศาลไทยนั้นเป็นเช่นไร?
น.ส.อลิซาเบธยังหวังว่าคดีของพี่ชายตนที่เสียชีวิตนั้น จะทำให้คนไทยได้ทราบว่าที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นจริงๆ
และควรจะได้มีการเผยแพร่ความจริงนั้นไปทั่วโลกด้วยโดยปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก
การใช้วิธีปราบปรามผู้ชุมนุมโดยวิธีการใช้กระสุนจริงเช่นนี้ควรจะเป็นบทเรียนสะท้อนไปถึงผู้นำในประเทศต่างๆว่า
ไม่ควรที่จะเสี่ยงใช้เป็นทางเลือกในการปฏิบัติกับประชาชน
ดังนั้น ศาลจึงควรจะพิพากษาคดีอย่างตรงไปตรงมาและยุติ-ธรรมกับผู้เสียชีวิตมากที่สุด
มิฉะนั้นแล้วมีโอกาสที่ตุลาการศาลไทยจะถูกเปิดโฉมหน้าไปสู่สังคมทั่วโลกแล้วสังคมทั่วโลกก็จะรู้ว่าใครเป็นคนสั่งปราบปรามประชาชน
และใครเป็นคนสั่งการนายอภิสิทธิ์อีกทีหนึ่ง เป็นไปได้ว่าคดีนี้เป็นคดีแรกที่เปิดเผยโฉมหน้าของจอมฆาตกรที่แท้จริงออกมา
ซึ่งศาลไทยควรจะไตร่ตรองเรื่องนี้ให้ดีว่าจะยืนข้างผู้ตายหรือยืนข้างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ต่อไป
เช่นนี้ไม่ว่าศาลจะมีคำสั่งออกมาเช่นไร
เห็นทีเรื่องการชุมนุมและการปราบปรามด้วยเหตุผลกระชับพื้นที่ของรัฐบาลในสมัยนั้นคงถูกทำเป็นสารคดีออกฉายทั่วโลกและเป็นกรณีตัวอย่างแน่นอน
คำสั่งศาลในแต่ละคดีจึงสะท้อนได้ทั้งผู้นำประเทศในขณะนั้นและตัวของศาลเอง
ถึงเวลาที่ศาลจะต้องเลือกพิสูจน์ตัวเองก่อนที่จะขายหน้าไปทั่วโลก!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น