ข้อมูลจาก ประชาไท
1 มี.ค.56 เว็บไซต์ประชาไทร่วมกับโครงการสะพาน จัดงานสัมมนา “15 ปีองค์กรอิสระ สำรวจธรรมาภิบาล สำรวจประชาธิปไตย” โดยมี คริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
พงศ์เทพ กล่าวว่า องค์กรอิสระกับธรรมาภิบาลเป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องขบคิดกันอย่างจริง จากประสบการณ์ที่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นจุดก่อกำเนิดองค์กรอิสระนั้นทำให้เห็นว่า สสร.ในเวลานั้นผิดพลาด เพราะคิดว่าจะหาคนที่เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้เข้ามาในองค์กรอิสระ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้อย่างที่คาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ใครจะมาตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ซึ่งมีอำนาจมหาศาล ทำอย่างไรที่จะจัดกลไกให้องค์กรเหล่านี้ต้องมีการยึดโยงกับประชาชนและต้องถูกตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างกลไกที่ประหลาดมาก รัฐสภาซึ่งส่วนใหญ่มาจากประชาชน มีอำนาจจำกัดในการตรวจสอบองค์กรอิสระ กรรมาธิการต่างๆ ไม่สามารถเรียกคนในองค์กรอิสระ หรือฝ่ายตุลาการ มาสอบถามได้
รศ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และหัวหน้าโครงการวิจัย 'องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ' เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ปี 2539 กล่าวว่า การพูดถึงองค์กรอิสระ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยถูกแช่แข็งด้านพัฒนาการรัฐธรรมนูญมาเป็นเวลานานนับแต่ปี 2490 การยกร่างรัฐธรรมนูญล้วนอยู่ในวงจรเดิมและขาดจิตนาการใหม่ๆ สวนทางกับกระแสโลก จนมาถึงรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเริ่มมีสิ่งใหม่ จินตนาการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น องค์กรอิสระ การบรรจุองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้หลุดพ้นจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง แต่ผลก็คือ ทำให้องค์กรเหล่านี้เองรวมถึงคนทั่วไปเข้าใจว่า คือ องค์กรอิสระเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรเทียบเท่ารัฐสภา รัฐบาล ศาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และทำให้องค์กรอิสระไม่ถูกตรวจสอบ
วิษณุกล่าวในรัฐธรรมนูญ 2550 ไปไกลยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 องค์กรอิสระถูกจัดหมวดหมู่ว่าเป็น “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” อย่างชัดเจนในทางการตรวจสอบก็มีการจำกัดอำนาจศาลปกครองไว้ด้วยว่า จะตรวจสอบอำนาจชี้ขาดขององค์กรเหล่านี้ไม่ได้
เขากล่าวต่อว่า ลักษณะเช่นนี้ส่งผลเสียหลายประการ คือ เกิดการทับซ้อนกับอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอื่นๆ และเป็นตัวนำสู่วิกฤตการเมือง การบริหารได้ง่าย และทำให้ไม่มีการคิดค้นที่จะมีองค์กรอิสระนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไทยไปไกลจนควรจะต้องพัฒนาองค์กรอิสระขึ้นมาอีกหลายส่วน ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ สามารถออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสารออนไลน์ เพื่อดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชน, องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ, องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอนั้นวิษณุระบุว่า ในการจัดทำรัฐธรรมนูญบับใหม่ ควรจะกำหนดสถานะ หรือที่ทางขององค์กรอิสระให้ถูกต้อง ชัดเจนว่าเป็นองค์กรประเภทไหน และในการที่จะกำหนดอำนาจหน้าที่ ที่มา โครงสร้าง ขององค์กรอิสระควรได้มีการศึกษาในแต่ละส่วน แต่ละกิจกรรมว่าควรเป็นอย่างไร เพราะจะกำหนดที่มาเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการตรวจสอบได้ และวางระบบให้มีประสิทธิภาพจริงๆ ไม่ใช่เขียนไว้เพียงสวยหรู ซึ่งมีวิธีที่จะใช้จินตนาการคิดให้เกิดความรับผิดชอบขององค์กรอิสระได้หลายรูปแบบ
เมธี ครองแก้ว อดีต ป.ป.ช.กล่าวว่า จากการที่ตนเองเป็นกรรมการ ปปช. มา 6 ปี คิดว่าองค์กรอิสระเป็นนวัตกรรมที่แหวกแนวคิดแบบเดิมๆ การเกิดขึ้นขององค์กรอิสระคือการสร้างฐานอำนาจที่ 4 ที่มีความเด่นเฉพาะที่นอกจาก 3 อำนาจหลักคือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ซึ่งทั้ง 3 อำนาจในไทยมีความไม่สมบูรณ์ในกาทำงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาในตัวมันเอง จึงต้องสร้างฐานอำนาจที่ 4 เพื่อสร้างความถ่วงดุล ส่วนกระบวนการตรวจสอบองค์กรอิสระนั้น จากประสบการณ์การทำงานเห็นว่า ไม่มีปัญหา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้ทำงานมีอยู่แล้ว ไม่ต้องกังวล รวมทั้งกรรมการภายในก็ตรวจสอบกันเองอยู่ นอกจากนี้ยังถูกตรวจสอบโดยวุฒิสภาอีก อีกทั้งทุกครั้งที่มีการชี้มูลก็จะถูกฟ้องกลับทุกครั้ง รวมทั้งมีการทำรายงานต่อสภาและแถลงต่อประชาชนทุกปี เราทำงานด้วยความระมัดระวังที่สุด ไม่มีการลุแก่อำนาจ
โคทม อารียา อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยไม่ได้มีถึง 4 อำนาจ เหมือนดังที่เมธีกล่าว แต่มีอยู่เพียง 3อำนาจครึ่ง เพราะฝ่ายนิติบัญญัติกับบริหารเป็นอำนาจที่ควบกันเป็นหนึ่งอำนาจครึ่ง
บทบาทขององค์กรอิสระยังคงมีความจำเป็น เพื่อถ่วงดุลตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่คานกันและกินรวบ ส่วนอำนาจตุลาการก็เป็นมรดกจากรัฐราการ ในช่วงที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่น่าสนใจคือ จะออกแบบอย่างไรให้ยึดโยงกับประชาชนแต่ไม่เสียความเป็นอิสระ
สำหรับปัญหาเรื่องขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระนั้น โคทมเห็นว่าไม่ควรนำองค์กรอิสระออกจากรัฐธรรมนูญ แต่ควรมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญรองรับว่าองค์กรใดควรมีฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอิสระได้ง่ายขึ้นหากมีความจำเป็น ในส่วนของการตรวจสอบองค์กรอิสระนั้น ปัจจุบันการเงินมีระบบตรวจสอบอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบได้โดยศาล ในส่วนของประชาชนก็สามารถเข้าชื่อกันถอดถอนได้ เรื่องสำคัญกว่าคือจะปลอดการแทรกแซงจากการเมืองได้หรือไม่ เรื่องงนี้หากองค์กรอิสระเข้มแข็ง อยู่ในสายตาประชาชน ผลงานมีประชาชนสนับสนุนก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นไม่ว่า การใช้อำนาจเกิน, การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ยังไม่ทันได้รับการแก้ไขก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน ยกตัวอย่างปัญหา กรณี ปปช. เมื่อชี้มูลแล้วต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ มันสร้างปัญหามาก เท่ากับเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน ส่วนปัญหาการตรวจสอบนั้น การฟ้องศษลอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะหลายเรื่องฟ้องศาลไม่ได้ เช่น การตรวจสอบว่าเลือกปฏิบัติ เมื่อไปร้องกับ ส.ว.ที่จะทำหน้าที่ถอดถอนได้ แต่ปรากฏว่าเป็น ส.ว.สรรหาอีก กลไกนี้ก็ล้มเหลว ฉะนั้น การหักเหหลังรัฐประหารจนเกิด รธน.50 เกิดผลกระทบที่สำคัญและร้ายแรงต่อระบบอำนาจ อำนาจมากไปลดลงมาได้ แต่ที่มาและการตรวจสอบเป็นเรื่องสำคัญที่มีปัญหามาก และเมื่อมีการถกเถียงเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญด้วยนั้น โดยสภาพทำให้องค์กรอิสระย่อมอยู่กับข้างที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ
ในช่วงบ่ายมีการจัดสัมมนาอีกหัวข้อหนึ่งในเรื่อง องค์กรอิสระ สื่อมวล สองพลังสร้างธรรมภิบาล โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายได้แก่ สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฏหมาย, สุภิญญา กลางรณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิ
ภัทระ คำพิทักษ์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สื่อข่าวข่
นอกจากนี้ภัทระหยิบยกกรณี
“ในกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังมีหลายกรณีที
ภัทระกล่าวว่า สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย แต่วัฒนธรรมหลายอย่างไม่เกิดขึ้
สุนี ไชยรส กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 40 เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างดุ
สุนีกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ 40 ไม่ได้ดีทั้งหมด แต่ก็ยังถูกออกแบบให้เชื่
สุนียังหยิบยกประเด็นที่ฝากให้
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี กล่าวว่า การทำหน้าที่ของสื่อในการทำข่
ปัญหาสำคัญของการทำงานร่วมกั
สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า เวลาเราพยายามจะปิดจุดอ่อนในตั
อย่างไรก็ตาม กสทช.ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรั
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น