สถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายอนุรักษ์เข้าตาจน พรรคการเมืองจึงนำองค์กรและม็อบเพื่อเตรียมล้มรัฐบาลเต็มรูปแบบ โดยจะยกระดับถึงขนาดอาจปิดล้อมและสังหารเหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยก็พร้อมจะแตกหักกับฝ่ายเผด็จการอย่างเต็มที่ และพูดกันหนาหูว่า
“กูไม่กลัวมึง”
เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะประเทศใดที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทย เช่น อังกฤษ เบลเยียม ภูฏาน บาห์เรน กัมพูชา แคนาดา เดนมาร์ก ญี่ปุ่น จอร์แดน คูเวต ลิกเตนสไตน์ เลโซโท ลักเซมเบิร์ก มาเลเซีย โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวาซิแลนด์ และสวีเดน ก็มีข้อบัญญัติในลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรา 8 ของไทย แต่ก็ให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศไปแล้ว เช่น อังกฤษ เบลเยียม ญี่ปุ่น สเปน สวีเดน ลิกเตนสไตน์ เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
อย่างข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ เช่น
เบลเยียม บัญญัติไว้ใน Article 91 [King’s Majority, Oath] The King’s person is inviolable; his ministers are responsible ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์จะถูกละเมิดมิได้ และเหล่ารัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองแทน
เดนมาร์กบัญญัติคล้ายกัน Section 13 [Responsibility of Ministers] The King shall not be answerable for his actions; his person shall be sacrosanct. The Ministers shall be responsible for the conduct of the government; their responsibility shall be determined by Statute.
หมายถึงพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ จะล่วงละเมิดมิได้ และรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองเช่นกัน โดยความรับผิดชอบของพระมหากษัตริย์จะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ญี่ปุ่น Article 4 [Rule of Law for Emperor] (1) The Emperor shall perform only such acts in matters of state as are provided for in this Constitution and he shall not have powers related to government.
กรณีของญี่ปุ่นกำหนดไว้ว่า องค์พระจักรพรรดิจะทรงพระราชกรณียกิจเฉพาะที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงงานเกี่ยวข้องกับกิจการบริหารแผ่นดิน สิ่งที่น่าคิดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง แม้จะไม่มีการจำกัดไม่ให้ข้องเกี่ยวกับงานทางการบริหาร เช่น ญี่ปุ่น หรือสวีเดน
ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยก็ระบุชัดเจนว่าต้องเป็นกลางทางการเมือง อยู่เหนือจากการเมือง หมายถึงจะไม่ทรงเกี่ยวข้องกับการบริหารงานบ้านเมือง ไม่ว่าจะข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการประจำ ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะทรงกระทำผิดในการทำร้ายประชาชนใดๆเลย เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะมีการกล่าวโทษจนขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศก็ย่อมไม่มี
เมื่อพิจารณาประเด็นนี้และข้อมูลการให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศของประเทศที่มีการปกครองเช่นเดียวกับไทย จึงไม่มีเหตุผลที่ไทยจะให้สัตยาบัน นอกจากนั้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสี่ กำหนดไว้ว่า “เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น ฯลฯ”
หมายความว่าเมื่อประเทศไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมไปแล้ว แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน รัฐบาลเพียงแต่แสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคือการแถลงอย่างเป็นทางการเท่านั้น ก็เท่ากับให้สัตยาบันแล้ว ประเด็นจึงอยู่เพียงว่าได้หารือกันจบสิ้นกระบวนความหรือยังเรื่องมาตรา 8 ตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไรเลย ซึ่งในต่างประเทศก็ไม่มีการแก้ไขให้พระมหากษัตริย์ต้องโทษถ้าเข้าร่วมธรรมนูญกรุงโรม แล้วทำไมไทยจึงยังงุนงงกับเรื่องง่ายๆแบบนี้อีก หรือจ้องจะให้เกิดการใช้ความรุนแรงกันจริงๆทุกอย่างจึงจะถือว่าจบ
สิ่งที่ไปตกลงเกี๊ยะเซียะกันหลายๆเรื่องตามที่เป็นข่าวแล้วคิดว่าทุกอย่างจะ win-win นั้นดูท่าทีขณะนี้เห็นจะไม่ใช่แล้ว เพราะการปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นในสมัยผู้บัญชาการเหล่าทัพคนเก่า จึงน่าจะหารือกันให้ชัดเจนว่าจะตัดตอนกันอย่างไร การฟ้องร้องดำเนินคดีที่เป็นเรื่องความยุติธรรมอย่างสากลนั้นก็ยากที่ใครจะตีเถียงได้ ความยุติธรรมไม่ใช่หลายมาตรฐานตามใจตัวเอง ทุกอย่างจะได้เข้าที่เข้าทางเสียที ทุกคนต่างจะได้ไม่ต้องอ้างทำตามคำสั่งลับต่างๆที่กวนใจและกวนมโนธรรม ความสงบร่มเย็นก็จะเกิดขึ้นเอง
แต่ถ้ารัฐบาลเกรงกลัวกองทัพก็รับสัตยาบันโดยไม่ให้มีผลย้อนหลัง คดีความต่างๆก็จะถูกตัดตอนไปเอง แต่การให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศจะช่วยไม่ให้คนรักประชาธิปไตยต้องล้มตายกันอีกต่อไปในอนาคต แค่นี้ไม่เห็นจะยากอะไรเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น