Thongchai Menifesto
จาก REDPOWER ฉบับ 24 เดือน มีนาคม 55
Manifesto คือคำประกาศแห่งประวัติศาสตร์
หรือ “คำแถลงการณ์” ที่มีลักษณะแห่งประวัติศาสตร์
คนทั้งโลกรู้จักคำ ๆ
นี้จากงานเขียนอันเป็นลักษณะทางประวัติศาสตร์ที่ชี้นำทิศทางการเคลื่อนตัวของสังคมมนุษยชาติในนามของ
Communist
Manifesto ผลงานข้อเขียนนั้นก่อให้เกิดการปรับขบวนโลกใหม่ มีผลทำให้ผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
หรือหากปรับกันไม่ได้ก็ต้องพังทลายลงร่วมกันและเป็นจุดกำเนิดของสงครามต่อสู้เพื่อเอกราชและสงครามเย็นในช่วงระยะเวลาเกือบ
100 ปีที่ผ่านมา ผลงานคำแถลงการณ์นี้เขียนโดย คาร์ล
มาร์กและเองเกลส์
จุดกำเนิดแห่ง
Thongchai
Menifesto เกิดขึ้นในค่ำคืนของวันเสาร์ที่ 11
กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งคลาคล่ำไปด้วยผู้คนต่างวัย
ต่างสีเสื้อ แต่ก็มองเห็นว่ามีเสื้อสีแดงแซมอยู่เป็นบางจุด
ทำให้เป็นสีสันที่สะดุดตาของคืนที่มีการนัดหมายเพื่อฟังปาฐกถาของศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์
ในหัวข้อ “ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง”
พอเดินเข้าไปในงานพบว่าส่วนหนึ่งของผู้มาร่วมงานมีหน้าตาที่คุ้นเคยกับเหตุการณ์เดือนตุลาคมเมื่อ
36 ปีที่แล้ว
เช้ามืด
6
ตุลาคม 2519 กระแสการทำลายล้างกลุ่มนักศึกษาที่มีแนวความคิดตรงกันข้ามกับอำนาจเผด็จการในสมัยนั้น
จึงเกิดเหตุการณ์ที่เป็นรอยอัปยศของระบอบการปกครองไทย
ซึ่งไม่อาจจะเปิดเผยได้ในเวลานี้ อดีตของ “ธงชัย” เป็นผู้นำนักศึกษาที่ใช้ไมค์โครโฟนเป็นอาวุธเพื่อรักษาชีวิตคนนับพันในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งวันนั้นธงชัยต้องใช้เสรีภาพของตนเองเป็นเครื่องสังเวย 3
ปีในคุกบางขวางเพื่อปกป้องประชาชน พี่น้อง และผองเพื่อน แต่สำหรับคืนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ปีนี้ สถานการณ์ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการยังคงเดิม แต่เป็นธงชัยในฐานะศาสตราจารย์ยังทำหน้าที่ปกป้องชีวิตของคนไทยเช่นเดิม
แต่เป็นการปกป้องชีวิตคนไทยในอนาคตที่แจ่มชัดแล้วอันตรายยิ่งโดยผ่านข้อเขียนและคำพูดของเขาเพื่อให้คนในสังคมไทยเข้าใจปัญหาในอนาคตมากยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
เพียงแต่วันนี้ธงชัยยังไม่ต้องใช้เสรีภาพของตนเป็นเครื่องสังเวย (เพราะอนาคตยังไม่มีใครรู้)
การวิเคราะห์กลุ่มคนหรือมวลชนที่มีพลังผลักดันให้กับประชาธิปไตย
การกะเทาะเปลือกกลุ่ม hyper-royalism ให้เข้าใจและตระหนักถึงปมปัญหาที่ลึกซึ้งควรรีบจัดการแก้ไขก่อนที่จะสายเกิน
เพื่อรักษาชีวิตผู้คนในสังคมไว้อีกครั้ง
Red Power มองว่าการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
นั้น นิติราษฎร์คือผู้จุดคบไฟให้สว่างไสวยามวิกาล
ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล คือผู้เติมความสว่างไสวให้ยืนยาวไม่มีวันดับ ปาฐกถาครั้งนี้จึงมีลักษณะประวัติศาสตร์เปรียบได้เหมือนแถลงการณ์เฉกเช่น
Manifesto ของคาร์ล มาร์ก และ เองเกลส์ ในนาม
“แถลงการณ์ของธงชัย” หรือ “Thongchai Manifesto”
(บันทึกนี้ถอดเทปจากคำบรรยายของศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูลพูดที่โรงแรมรัตนโกสินทร์กรุงเทพมหานครฯเมือวันที่
11กุมภาพันธุ์ 2555 กองบรรณาธิการเห็นว่าเนื้อหาการบรรยายได้ผ่านมาประมาณ1เดือนแล้วโดยไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีและไม่มีการกล่าวตักเตือนใดๆจากเจ้าหน้าที่ตำรวจประกอบกับกองบรรณาธิการเห็นเนื้อหาการบรรยายนี้เป็นเนื้อหาทางวิชาการและเป็นถ้อยคำที่แสดงออกถึงความเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์และเป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อที่ให้ทุกฝายได้เกิดสติในการหาทางออกจากวิกฤตการเมืองไทยอย่างสันติวิธี)
ทุกยุคสมัยมีคนจำนวนหนึ่งที่เกิดก่อนกาล
พยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลง แต่กลับถูกทำร้ายแทบไม่ได้ผุดได้เกิด
ทว่าอนาคตพิสูจน์ว่าประวัติศาสตร์ยืนอยู่ข้างเขา
ปรีดี พนมยงค์ถูกใส่ร้ายสังคมเข้าใจผิดการปฏิวัติ2475
เป็นเวลา 30กว่าปี กว่าคนจะเห็นและเข้าใจ
ทุกวันนี้คนที่รู้สึกกับท่านปรีดีต่างกับเมื่อสมัย30ปีที่แล้ว
เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519ใช่เวลา
20 กว่าปีคนจะรู้ว่าเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นอาชญากรรมที่น่าอัปยศและรอการสะสาง ผมเชื่อมั่นว่า นิติราษฎร์และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112
(ครก.112) คือผู้เกิดก่อนกาลประเภทนี้
อนาคตจะพิสูจน์ว่าประวัติศาสตร์ของสังคมไทยยืนอยู่ข้างพวกเขา ผมอยากให้ท่านลองคิดถึงอีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความขัดแย้งทางการเมืองและความขัดแย้งกรณีมาตรา
112 ในปัจจุบัน
ว่าสะท้อนภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยว่าอย่างไร
ความรู้และทัศนะในอนาคตจะประเมินและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ปัจจุบันว่าอย่างไร แม้เราจะบอกไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นพรุ่งนี้
มะรืนนี้ ปีนี้ ปีหน้า หรือประมาณ 5-10
ปีข้างหน้าผมก็บอกไม่ได้
แต่แนวโน้มกระแสความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ
ของสังคมไทยและของโลกในแง่ระบอบการเมือง (ที่จะเป็นเสรีนิยมมากยิ่งขึ้น) กลับพอจะมองออกได้ ผมขอเสนอว่า อีก 50 ปีข้างหน้า
ประวัติศาสตร์จะอธิบายบริบท หรือภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จะบันทึกถึงความขัดแย้งกรณีมาตรา 112 และจะอธิบายการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ผมขอตั้งข้อสังเกตบางประการต่อการปรับตัวและฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ ในสังคมไทยสักข้อหนึ่ง คือ ผลของการปรับตัวใหญ่ครั้งหนึ่งๆ
มักทำให้เกิดพลังทางการเมืองอย่างใหม่เติบโตขึ้นมาเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง
จึงฉุดรั้งขัดฝืนเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงระลอกต่อมาเสียเอง
เช่นตัวอย่างยุครัฐสมบรูณาญาสิทธิราชย์ส่งผลให้เกิดรัฐสมัยใหม่สร้างราชการและชนชั้นใหม่ซึ่งต้องการความเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา
แต่รัฐสมบรูณาญาสิทธิราชย์ฉุดรั้งขัดผืนความเปลี่ยนแปลง จึงเกิดการปฏิวัติ 2475 นั่นเอง
การปรับตัวยุคสงครามเย็นและเศรษฐกิจโลกยุคใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทำได้สำเร็จภายใต้เผด็จการทหาร สร้างชนชั้นกลางซึ่งเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
แต่รัฐเผด็จการฉุดรั้งขัดผืนความเปลี่ยนแปลง จึงเกิดการปฏิวัติ 14 ตุลา
2516เห็นภาพไหมครับ
สังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว
เกิดพลังใหม่สนับสนุนประชาธิปไตย
หากเรามองกระแสความเปลี่ยนแปลงในมุมกว้างขึ้นระยะยาวขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นมุมมองต่อปัจจุบันในอีก 50 ปีข้างหน้า เราจะเห็นว่าวิกฤติปัจจุบันเกิดจากมูลเหตุหลักๆ คือการเติบโตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 2520 ได้พลิกโฉมชนบทและหัวเมืองทั่วประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมือง-ชนบทเปลี่ยนไปวิถีชีวิตของคนในชนบทและหัวเมืองเปลี่ยนไปมาก เข้าถึงการศึกษาระดับสูง ผู้คนรู้จักแสวงโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างตัวเอง ทั้งรู้จักการต่อรองต่อสู้เพื่อทรัพยากรจากภาครัฐด้วย นักวิชาการต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ชาวนากลายเป็นชนชั้นกลาง” ผลก็คือ ผู้คนที่แต่ก่อนไม่ได้รับดอกผลของประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเท่าไรนัก กลับตระหนักว่าการเลือกตั้งคือช่องทางที่เขาสามารถดึงทรัพยากรจากนโยบายและ โครงการของรัฐบาลที่เขาเลือกให้กลับมาเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นของเขาได้ การเลือกตั้งคือช่องทางที่ชนชั้นกลางชนบทเหล่านี้ใช้เอาชนะระบบราชการและระบอบการเมืองที่เอียงเข้าข้างคนกรุงมาตลอด ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย จึงสร้างพลังทางการเมืองอย่างใหม่ขนาดใหญ่มหึมาขึ้นมา ซึ่งพลังทางการเมืองดังกล่าวต้องการระบบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งทักษิณไม่ได้ซื้ออำนาจจากชาวบ้านโง่ๆ แต่พลังทางการเมืองอย่างใหม่หรือชาวบ้านต่างหากที่สร้างทักษิณขึ้นมา ปรากฏการณ์ทักษิณเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่ววูบชั่วคราว ไม่ใช่ผลของยุทธวิธีทางการเมืองหรือเงิน แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานที่ไม่มีทางย้อนกลับได้อีกแล้ว แต่ผู้ครอบงำระบอบการเมืองไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขาคิดว่ากำจัดปีศาจทักษิณแล้วทุกอย่างก็จะหมดปัญหา พวกเขาไม่เห็นว่าประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ซึ่งครอบงำการเมืองไทยมา 40 ปีต่างหากที่กำลังขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง
หากเรามองกระแสความเปลี่ยนแปลงในมุมกว้างขึ้นระยะยาวขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นมุมมองต่อปัจจุบันในอีก 50 ปีข้างหน้า เราจะเห็นว่าวิกฤติปัจจุบันเกิดจากมูลเหตุหลักๆ คือการเติบโตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 2520 ได้พลิกโฉมชนบทและหัวเมืองทั่วประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมือง-ชนบทเปลี่ยนไปวิถีชีวิตของคนในชนบทและหัวเมืองเปลี่ยนไปมาก เข้าถึงการศึกษาระดับสูง ผู้คนรู้จักแสวงโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างตัวเอง ทั้งรู้จักการต่อรองต่อสู้เพื่อทรัพยากรจากภาครัฐด้วย นักวิชาการต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ชาวนากลายเป็นชนชั้นกลาง” ผลก็คือ ผู้คนที่แต่ก่อนไม่ได้รับดอกผลของประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเท่าไรนัก กลับตระหนักว่าการเลือกตั้งคือช่องทางที่เขาสามารถดึงทรัพยากรจากนโยบายและ โครงการของรัฐบาลที่เขาเลือกให้กลับมาเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นของเขาได้ การเลือกตั้งคือช่องทางที่ชนชั้นกลางชนบทเหล่านี้ใช้เอาชนะระบบราชการและระบอบการเมืองที่เอียงเข้าข้างคนกรุงมาตลอด ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย จึงสร้างพลังทางการเมืองอย่างใหม่ขนาดใหญ่มหึมาขึ้นมา ซึ่งพลังทางการเมืองดังกล่าวต้องการระบบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งทักษิณไม่ได้ซื้ออำนาจจากชาวบ้านโง่ๆ แต่พลังทางการเมืองอย่างใหม่หรือชาวบ้านต่างหากที่สร้างทักษิณขึ้นมา ปรากฏการณ์ทักษิณเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่ววูบชั่วคราว ไม่ใช่ผลของยุทธวิธีทางการเมืองหรือเงิน แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานที่ไม่มีทางย้อนกลับได้อีกแล้ว แต่ผู้ครอบงำระบอบการเมืองไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขาคิดว่ากำจัดปีศาจทักษิณแล้วทุกอย่างก็จะหมดปัญหา พวกเขาไม่เห็นว่าประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ซึ่งครอบงำการเมืองไทยมา 40 ปีต่างหากที่กำลังขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ไม่ยอมปรับตัว
ความคิดเรื่องระบอบ “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” เผยตัวเป็นรูปธรรมครั้งแรกหลังการรัฐประหาร
2490 แต่มาเติบโตขึ้นมากช่วงต้นทศวรรษ 2510 โดยนักวิชาการเสรีนิยมยุคนั้นไม่พอใจเผด็จการทหารจึงพยายามแสวงหาทางเลือกอื่น
ประสานกับปัญญาชนอนุรักษ์นิยม
จุดพลิกผันที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์สามารถลงหลักปักฐานในระบบการเมืองไทยได้ก็คือ
การลุกขึ้นสู้ของประชาชนต่อต้านระบอบเผด็จการทหารเมื่อ 14 ตุลา
2516 โดยกลุ่ม "กษัตริย์นิยม"
(ใครก็ตามที่อิงสถาบันฯ เป็นความชอบธรรม หรือเป็นแหล่งที่มาของอำนาจตน
และมีมากมายเป็นเครือข่าย) คนพวกนี้เป็นได้ทั้งคนมีสายเจ้าและสามัญชน อย่างเช่นผมยกตัวอย่างเช่นถ้าผมไปถามท่านพลเอกเปรมว่าท่านมีกษัตริย์นิยมไหม ท่านก็ต้องบอกว่าใช่
พลเอกเปรมไม่มีทางบอกว่าท่านไม่ใช่ คนพวกนี้ต้องฝ่าอุปสรรคหลายอย่างกว่าจะสถาปนาอำนาจนำได้อย่างแท้จริง ทั้งความกลัวคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติอินโดจีน,
การต่อสู้กับอำนาจทหาร กระทั่งหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 กองทัพจึงถอยออกจากการเมือง ยอมอยู่ใต้อำนาจของระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์
คือเป็นประชาธิปไตยรัฐสภา มีการเมืองตั้ง
โดยมีพวกกษัตริย์นิยมอยู่ชั้นบนเหนือระบบรัฐสภาอีกที นับจากปี 2516 เป็นต้นมา ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นแบบไทยๆ มาตลอด
ผู้แทนประชาชนถูกจำกัดบทบาท ต้องยอมรับอำนาจกองทัพและอำมาตย์ทั้งโดยเปิดเผยและโดยนัย
ระบอบรัฐสภาอ่อนแอ ตั้งแต่พรรคการเมืองจนถึงสถาบันรัฐสภา หลังรัฐประหาร 2549 พวกกษัตริย์นิยมโฆษณาประชาธิปไตยแบบไทยๆ
มิใช่เพราะพวกเขาพยายามสร้างสิ่งใหม่ แต่เป็นการเรียกร้องให้ยึดมั่นอยู่กับประชาธิปไตยแบบอำมาตย์
พวกเขากำลังฉุดรั้งขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีทางย้อนกลับได้อีกแล้ว
และการฝืนความเปลี่ยนแปลงของพวกเขาคืออันตรายต่อสังคมไทย
ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ของพวกกษัตริย์นิยมอิงแอบสถาบันฯ อย่างมาก
และคือตัวการใหญ่ที่สุดที่ดึงสถาบันฯ มาผูกกับการเมือง ส่งผลให้ประเด็นบางอย่างกลายเป็นปัญหาอย่างไม่ควรจะเป็น
หากไม่ปรับตัว จะส่งผลให้เกิดปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันฯ
กับระบอบประชาธิปไตย การปรับตัวหมายถึงต้องทำให้สถาบันฯ
อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ต้องไม่มีการอ้างอิงสถาบันฯ เป็นแหล่งอำนาจอีกต่อไป
ต้องไม่มีพวกกษัตริย์นิยมอยู่ชั้นบนเหนือระบอบรัฐสภาที่มาจากประชาชน
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักลัทธิกษัตริย์นิยมเสนอว่า
ระบอบการเมืองที่พวกเขาต้องการคือลดประชาธิปไตย เพิ่มพระราชอำนาจ
ข้อเสนอเช่นนั้นจะยิ่งผลักให้สถาบันฯ
พวกเขาไม่ได้ต้องการให้กลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ต้องการระบบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์และไม่มีใครว่าได้เพราะกษัตริย์ก็เป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตย
ขัดแย้งกับกระแสความเปลี่ยนแปลงหนักยิ่งขึ้น และเป็นอันตรายของสถาบันฯ
เองมีความเข้าใจผิดว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของฝรั่ง
ส่วนของไทยคือพระราชอำนาจ การเลือกตั้งเป็นวิธีฝรั่ง
การสรรหาแต่งตั้งคนดีมีคุณธรรมเป็นวิธีของไทย
แท้จริงแล้วกระแสประชาธิปไตยมีรากฐานอยู่ที่วิวัฒนาการทางสังคมไม่ว่าชาติไหน
สาระที่แท้จริงของประชาธิปไตย คือ เป็นกระบวนการ (วิธีการ) ที่เปิดโอกาสให้พลังทางการเมืองต่างๆ
มาปะทะต่อรองอำนาจกันในกรอบกติกาอย่างสันติ กระบวนการนี้จึงไม่มีจุดหมายตายตัว
แต่เปิดให้พลังต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมไปได้เรื่อยๆ
สภาวะปลายรัชกาล
ระประชาธิปไตยแบบอำมาตย์นับจากปี
2516เติบโตขึ้นมาได้ด้วยปัจจัยจำเป็น 2 อย่างคือหนึ่ง
สถาบันกษัตริย์แบบที่แยกไม่ออกจากพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน และ สองลัทธิHyper royalism ที่เติบโตขึ้นมาอย่างมากใน 40ปีที่ผ่านมา ทั้ง2ปัจจัยอิงแอบซึ่งกันและกัน
ผมจะกล่าวถึง Hyper royalism ในหัวข้อถัดไป 10ปีมานี้คนจำนวนมากในสังคมไทยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อทั้งสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้น
คือการสืบราชสมบัติ
สมมติว่าไม่มีประชาธิปไตยแบบอำมาตย์นับจาก
2516 ไม่มีการอ้างสถาบันกษัตริย์เป็นแหล่งความชอบธรรมของอำนาจ
ไม่มีอำนาจของพวกกษัตรีย์นิยมเหนือระบบประชาธิปไตยรัฐสภา การสืบราชสมบัติและคุณสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันหรือองค์ต่อๆไปย่อมไม่มีผลใดๆต่ออำนาจการเมืองและย่อมไม่เป็นสวนหนึ่งของวิกฤติทางการเมือง
ไม่เป็นประเด็นที่ผู้คนต้องวิตก
ซุบซิบนินทากันทั้งบ้านทั้งเมือง
แต่ความจริงคือระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์อิงแอบอ้างสถาบันกษัตริย์อย่างมาก
จึงทำให้การสืบราชสมบัติและคุณสมบัติมีผลต่อการเมืองและสังคมทั้งระบบและโดยเฉพาะต่อพวกกษัตริย์นิยมเอง
การซุบซิบนินทาจึงหนาหูอย่างหนาหูอย่างยิ่งในหมู่อำมาตย์นั่นเอง
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ของพวกกษัตริย์นิยมคือตัวการใหญ่ที่สุดที่ดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาผูกกับการเมือง
และคือสาเหตุที่ทำให้การสืบราชสมบัติเป็นประเด็นขึ้นมาอย่างไม่ควรจะเป็น
ประชาธิปไตยจึงเป็นวิธีการที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงปรับตัวของสังคม
ประชาธิปไตยจึงไม่ใช่เรื่องของฝรั่งหรือไทย
แต่เป็นกระบวนการวิธีการที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาจัดการกับอำนาจในสังคมที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สังคมไทยก็แตกต่างและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน มิใช่สังคมหรือชุมชนเล็กๆ
ที่ผู้คนมีผลประโยชน์เหมือนๆ กันและคิดคล้ายๆ กันอีกต่อไป ต่อให้ทุกคนในสังคมไทยเป็นคนดีมีคุณธรรม
ไม่มีคนเลวเลยแม้แต่คนเดียว ก็ยังมีความแตกต่างขัดแย้งอยู่ดี
จึงต้องอาศัยวิธีการประชาธิปไตยมาจัดการความขัดแย้งซึ่งเป็นสิ่งปกติของสังคม
ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
หรือความเชื่อในพระราชอำนาจว่าจะจัดการความขัดแย้งแตกต่างได้
จึงเป็นความเพ้อเจ้อที่จะยิ่งดึงสถาบันฯ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างขัดแย้ง
ยิ่งสังคมเติบโตแตกต่างมาก การหวังพึ่งพระราชอำนาจจะยิ่งทำให้สถาบันฯ
ตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น ในเมื่อเราห้ามหรือหยุดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทางอออกจึงมีทางเดียวคือปรับตัวขอยืมคำของ
"เกษียร เตชะพีระ" มากล่าวอีกทีว่า นี่ไม่ใช่เสนอให้ล้มเจ้า
แต่ต้องการล้มการอ้างอิงสถาบันฯ นี่เป็นทางออกทางเดียวที่จะทำให้การสืบราชสมบัติไม่มีปัญหา
ไม่เป็นประเด็นที่ให้คนที่อิงเจ้าเอาไปใช้
ไม่เป็นประเด็นที่องคมนตรีหรืออดีตนายกต้องไปซุปซิปให้พวกทูตอเมริกันรู้แล้วก็รายงานไปทั่วโลกให้คนทั้งโลกรู้
นี่เป็นทางออกเดียวที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีปัญหาระหว่างคนที่รักศรัทธาเจ้าแบบไม่ต้องมีเหตุผลเลยคนแบบนั้นเราก็ให้เขาอยู่นะ
กับคนที่รักแบบมีเหตุผล กับคนที่ไม่ค่อยรักเท่าไหร่แต่ยังเคารพคนที่รักอยู่ กับคนที่ไม่รักเลย พูดกันตรงๆว่าในสังคมไทยมีคนไม่แคร์กับการมีเจ้าการพูดแบบนี้ไม่ใช่การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
พูดแบบนี้เป็นการพูดแบบคอนเซปไทยที่เป็นการดูหมิ่นคนที่ไม่รักเจ้านะเพราะฉะนั้นไม่หมิ่น
สังคมไทยควรที่จะให้คนทุกประเภทที่รักแบบไม่ต้องมีเหตุผลเลยตลอดจนกระทั่งคนที่ไม่รักเลย
ก็อยู่ไปเถอะ จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อเครื่องล่าแม่มดมาตามปิดเว็บไซต์ไม่ต้องไล่ใครออกนอกประเทศไม่ต้องล่วงเกินหยาบคายถึงพ่อแม่คนอื่น
ไม่ต้องแขวนคอใครและไม่ต้องเผาใครทั้งเป็น
แถมนี่ยังเป็นหนทางที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยด้วย
สภาวะ
Hyper-royalism
ในสังคมไทย
Hyper แปลว่าอะไร ล้นเกิน คลั่ง
ผมขอใช้คำนี้เรียกแทนพวกกษัตริย์นิยมล้นเกิน พูดง่ายๆว่าคลั่งเจ้า ถือว่า 112 เป็นมาตราศักดิ์สิทธิ์
ห้ามแก้ไขหรือแตะต้อง ต่อให้ทำตามที่รัฐธรรมนูญอนุญาตก็ตาม เพราะมาตรา 112 เป็นมากกว่ากฎหมายอาญามาตราหนึ่ง
คือเป็นเครื่องมือบังคับควบคุมความคิดของลัทธิ Hyper-royalism การใช้มาตรา 112 ยังเปลี่ยนไปตามเวลาอีกด้วย การใช้ในแบบล่าสุดระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือใช้ทำลายจิตวิญญาณ
หมายถึงการใช้อย่างไร้ความปรานีจนกว่าจะยอมรับสารภาพ คือมักจับไว้ก่อน
ไม่ให้ประกันตัว พิจารณาลับ ลงโทษรุนแรง
แต่ให้ความหวังว่าจะพ้นคุกได้เร็วถ้ายอมรับสารภาพ จนหลายคนยอมแพ้ในที่สุด
นี่คือการทำร้ายถึงจิตวิญญาณ หากต้องการอิสรภาพทางกายต้องยอมแพ้ราบคาบทางมโนสำนึก
หลังจากนั้นชีวิตที่มีอิสระทางกายต้องกักขังจิตวิญญาณเสรีไว้ข้างในตลอดไป
Hyper-royalism เป็นลัทธิความเชื่อหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่บนความมีเหตุผล แต่อยู่กับความศรัทธา ความเชื่อ และความกลัว
ทั้งกลัวจะละเมิดโดยไม่ตั้งใจและกลัวคิดต่างจากคนอื่นแล้วจะถูกรังเกียจ สังคมใต้อิทธิพลเช่นนี้ไม่สามารถสร้างประชากรที่มีวิจารณญาณ
เพราะวัฒนธรรมทางปัญญาและวิชาการอยู่ภายใต้ความกลัว
Hyper-royalism ทำให้การสื่อสารในทางสาธารณะมีขีดจำกัดจนบางเรื่องเชื่อถือไม่ได้
เริ่มจากความกลัวจนกลายเป็นการควบคุมตัวเองแล้วกลายเป็นการร่วมแพร่ข่าวสารด้านเดียว
ร่วมประจบสอพลอ ข่าวสารข้อมูล ความคิดเห็นจึงหลบเลี่ยงลงสู่ใต้ดิน “ข่าวลือจึงว่อนเต็มไปหมดแล้ว”
และบ่อยครั้งที่มีความจริงมากกว่าข่าวสาธารณะเสียอีก เรากล้ายอมรับความจริงกันได้ไหมว่าวัฒนธรรมนินทาเจ้าแผ่ไปทั่วสังคมแล้ว
นักวิชาการบางท่านอยากให้สังคมไทยมีการวิจารณ์ผมบอกว่าการนินทาเจ้านี่แหล่ะคือนี่คือวัฒนธรรมการวิจารณ์แบบไทยๆอย่างหนึ่ง บ่อยครั้งไม่สร้างสรรค์แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เพราะในสังคมสาธารณะอนุญาติให้มีแต่การประจบสอพลอและการจงรักภักดี
เรากล้ายอมรับความจริงไหมว่าในสังคมชั้นสูง และพวกกษัตริย์นิยมเองสดุดีในที่แจ้งแต่นินทาว่าร้ายในที่ส่วนตัว
การสดุดีศรัทธาสรรเสริญและการนินทาว่าร้ายสองอย่างนี้มันขัดกันแต่ปัจจุบันทั้งศรัทธาความเชื่อและนินทาว่าร้ายอยู่ด้วยกันและบ่อยครั้งรวมอยู่ในตัวคนเดียวกันแล้วยังทำเป็นเรื่องปกติ แล้วสังคมก็ทำเป็นเรื่องปกติด้วย
พฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกปากว่าตาขยิบนี้ที่ระยะหลังคนเขาเรียกว่า”ตอแหล” พฤติกรรมตอแหลกำลังแพร่หลายในหมู่ผู้ที่เอ่ยปากว่าจงรักภักดีอย่างถวายหัว เพราะเขานินทาว่าร้ายเจ้าด้วยความจงรักภักดี
เป็นเรื่องปกติในตัวผู้นิยมเจ้าและประชาชนโดยทั่วไป ผมไม่ได้กำลังหมิ่นเจ้าเลย
แต่ถ้าบอกว่าผมกำลังหมิ่นคนที่กำลังทำอยู่นี้ผมบอกเลยว่าใช่
สิ่งต่างนี้เป็นตัวขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงและทำลายสถาบันเอง ซึ่งมันจะพินาจกันหมด แต่หากไม่อยากให้อันตรายต่อสถาบันฯ
และประชาธิปไตยสะสมมากไปกว่านี้
นิติราษฎร์ได้เสนอทางออกหนึ่งไว้ให้แล้วด้วยเจตนาที่ไม่อยากเห็นความขัดแย้งไปถึงจุดที่ทุกคนต้องสลดใจ นิติราษฎร์และครก.112 สามารถเอาตัวเองออกจากความเจ็บปวดในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ
แต่พวกเขายอมเจ็บตัวเพื่อช่วยหาทางออกแก่สังคมไทย แต่พวกลัทธิกษัตริย์นิยมกลับยังมองไม่เห็นความน่าสมเพชและความอับจนของตนเอง
ในอนาคตประวัติศาสตร์จะบันทึกว่า
เป็นความผิดพลาดมหันต์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่ฟังนิติราษฎร์และครก.112 แถมยังผลักไสทำร้ายความปรารถนาดีของพวกเขาเสียอีก
ในระยะที่ผ่านมามีคำกล่าวและปรากฏการณ์มากมายที่สะท้อนความวิปลาศในสังคมไทย
ทุกปรากฏการณ์ที่จะยกเป็นตัวอย่างต่อไปนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในสังคมอารยะ
แต่สังคมไทยกลับไม่รู้สึก ไม่เห็นเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด
ตัวอย่างที่ 1 มหาวิทยาลัยที่รับก้านธูปถูกตั้งคำถามถูกตำหนิ แต่มหาวิทยาลัยที่ปฏิเสธก้านธูปเพียงเพราะความคิดของเด็กกลับไม่ถูกสอบสวน ไม่โดนสังคมประณามด้วยซ้ำไป ทั้งที่ในสังคมอารยะอื่นๆ การกระทำเช่นนี้จะต้องถูกประณามแน่ๆ เขาเคยทำผิดทำนองนี้มาแล้วในยุคแมคคาร์ธีตั้งแต่ 60 ปีก่อน กลายเป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์ที่น่ารังเกียจ จึงเป็นบรรทัดฐานของอารยสังคมปัจจุบันที่จะไม่ทำอีก ในสังคมอารยะอื่นๆ อาจารย์ที่ฟ้องนักศึกษาเพียงเพราะความคิดต่างควรถูกไล่ออก เพราะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ ละเมิดจรรยาบรรณของนักวิชาการอย่างไม่ควรให้อภัย แต่สังคมไทยเฉย แถมกลับลงโทษเหยื่อ
ตัวอย่างที่ 2 การออกมาขับไล่คนที่ไม่สมาทานลัทธิ Hyper-royalism ให้ออกนอกประเทศ พฤติกรรมแบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในอารยสังคม เพราะเป็นการกระทำที่โง่เขลาน่าสมเพชสิ้นดี เอาอะไรมาเป็นเหตุผลขับไล่คนที่คิดต่างจากลัทธิของตัวออกนอกประเทศของเขาเอง
ในอารยประเทศ คนที่ขับไล่ผู้คิดต่างออกนอกประเทศจะถูกด่าประณามและถูกเรียกร้องให้ขอโทษ ยิ่งถ้าคนพูดเป็นผู้บัญชาการทหารยิ่งเป็นความผิด 2 ชั้น เพราะเขาไม่มีสิทธิให้ความเห็นทางการเมืองตราบที่ยังอยู่ในอำนาจ ถ้าอยากทำก็ออกจากอำนาจเสียก่อน ถ้าเกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตย ผู้บัญชาการทหารรายนี้โดนปลดอย่างแน่นอน แต่สังคมไทยไม่ว่าอะไร
ตัวอย่างที่ 3 คำกล่าวประเภท “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” สะท้อนจิตใจและรสนิยมต่ำของผู้พูด ยิ่งเป็นสื่อมวลชนที่มีผู้ฟังมากมาย ในอารยสังคมเขาจะถูกประณาม ถูกเรียกร้องให้ขอโทษและถูกถอดรายการ เพราะถือเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคม แต่สังคมไทยเฉย
ตัวอย่างที่ 4 เมื่อนิติราษฎร์ถูกขู่ ถูกทำร้ายหยาบคายด้วยวาจา ถูกคุกคามโจ่งแจ้งเปิดเผย นิติราษฎร์จึงถูกลงโทษจากสังคมและถูกจำกัดพื้นที่ ถูกเรียกร้องให้สอบสวน ให้ลงโทษทางวินัย
ในอารยสังคม
เขาเรียกร้องอาการทำนองนี้ว่าการลงโทษเหยื่อที่ถูกข่มขืน
โปรดตระหนักว่า
ความวิปริตข้อนี้มีอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ความวิปริตข้อนี้มีมูลเหตุเดียวกันกับการที่คนจำนวนมากยืนดูการแขวนคอ
เผาทั้งเป็น ตอกอกในที่สาธารณะได้โดยไม่เข้าช่วยเหลือยับยั้ง
หรือความพึงพอใจขณะดูเก้าอี้ฟาดร่างไร้ชีวิตบนปลายบ่วงเชือก
ตัวอย่างที่ 5 จนป่านนี้ ยังมีปัญญาชนวิปริตเรียกร้องให้ทหารออกมาทำรัฐประหารอยู่อีก
อีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์อาจจะบันทึกความผิดปกติของสังคมปัจจุบันโดยจดจำความวิปลาศที่ยกตัวอย่างมาจนเป็นตำนาน ความวิปลาศเหล่านี้สะท้อนอะไร?
คำตอบที่ 1 สะท้อนว่าสังคมไทยมีลักษณะพิเศษ
พิเศษเสียจนต้องยุติการใช้เหตุผล ยุติอารยธรรม ยุติมนุษยธรรม และต้องใช้ความเชื่อ
ศรัทธา หรือเหตุผลวิปลาศ
คำตอบที่ 2 สะท้อนว่าสังคมไทยป่วยหนัก หนักจนหลง แถมหลอกตัวเองไม่รู้ว่ากำลังป่วย ป่วยจนอธิบายหาเหตุผลไม่ได้ก็อ้างว่าเป็นลักษณะพิเศษ สำนวนปัจจุบันเรียกว่า “ไปไม่เป็น” แต่สังคมไทยกลับเชื่ออย่างภาคภูมิใจ
อาการวิปลาศอย่างที่กล่าวมายังสะท้อนด้วยว่าสังคมไทยไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งพอ นั่นคือ วัฒนธรรมทางปัญญาตกต่ำ เราเถียงกันด้วยเหตุผลไม่ค่อยได้ไกลเพราะอยู่กันด้วยความเชื่อกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เราไม่ชอบปัจเจกชนที่เป็นอิสระ เรากลัวคนที่คิดนอกกรอบ ความอ่อนแอทางปัญญา สะท้อนออกมาในสองวงการที่คุณภาพต่ำอย่างน่าวิตก คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน บ่อยครั้งผมรู้สึกเหมือนสังคมไทยอยู่ในยุคของกาลิเลโอ ในยุคนั้นอำนาจอยู่กับศาสนจักรที่ยึดมั่นในความรู้ความคิดผิดๆ ห้ามกาลิเลโอเผยแพร่ความรู้ใหม่ที่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่กาลิเลโอเสนอขัดแย้งกับความเชื่อและศรัทธาของผู้มีอำนาจและสังคมในขณะนั้น
มนุษย์เราโหดร้ายและขลาดเขลาพอที่จะทำอย่างนี้เป็นประจำ
เพราะมนุษย์ปกติมักสายตาสั้น มองโลกแคบ
ยิ่งสังคมที่ขาดวุฒิภาวะทางปัญญายิ่งขลาดเขลาเกินกว่าจะมองเห็นความเป็นอนิจจังของสังคม
ผมไม่ทราบว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตอันใกล้
แต่ค่อนข้างมั่นใจว่า อีก 50
ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะย้อนมองมายังปัจจุบัน
จะเห็นมูลเหตุของวิกฤติประการใหญ่ๆ ดังที่กล่าวมา
จะเห็นว่าวิกฤติของระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์เกิดจากความสำเร็จย้อนกลับมาท้าทายระบอบดังกล่าวเสียเอง
จะเห็นความไม่สามารถปรับตัวอันเกิดจาก Hyper-royalism และจะบันทึกความพยายามของคนจำนวนหนึ่งรวมทั้งนิติราษฎร์และครก.112
ที่จะหาทางออกแก่สังคมไทยด้วยปรารถนาดี แต่ผมไม่ทราบว่าลงท้ายระบอบการเมืองปัจจุบันจะปรับตัวสำเร็จหรือไม่
อันตรายที่แท้จริงอันเกิดจากการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงจะถูกถอดชนวนทันกาล
หรือจะดึงดันไปถึงจุดสุดท้ายของอภิชนาธิปไตยขบวนนี้
สังคมไทยจะยอมปลดล็อค
เปิดประตู แล้วเดินเข้าสู่ประตูของการปรับตัวหรือไม่ นิติราษฎร์
และครก.112
ช่วยเสนอทางปลดล็อคให้ทางหนึ่งแล้ว
เราท่านทุกคนมีส่วนในการตัดสินใจเพื่ออนาคตของสังคมไทยและลูกหลานของเราว่าจะเดินเข้าสู่ประตูของการปรับตัวหรือไม่
ประวัติ
ศาสตราจารย์
ดอกเตอร์ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย เกิดและโตที่กรุงเทพ ประเทศไทย อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์
6 ตุลาคม 2519ย้ายไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย
ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
แมดิสัน สหรัฐอเมริกา อ.ธงชัยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะศิลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทและเอกจาก มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
สาขาที่สนใจคือประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่
โดยเฉพาะการปะทะกันระหว่างสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอารยธรรมตะวันตก,
ประวัติศาสตร์สยาม/ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของความรู้ แนวคิด และนักคิด, และการเมืองวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน, ชาตินิยม, ภูมิศาสตร์
การแผนที่ ประวัติศาสตร์ที่อันตราย ความทรงจำ และวิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น
ได้รับรางวัล แปซิฟิกอาวอร์ดครั้งที่16จากประเทศญี่ปุ่นและขณะนี้สังคมโลกได้มอบตำแหน่งประธานของแอสโซซิเอชั่น
ฟอร์มเอเชียนสตัดดี่ เอ เอ เอส ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมนักวิชาการชั้นนำของเอเชียที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น