ที่มาของข่าว The Diplomat Blogs by Trefor Moss
เทร์เฟอร์ มอสส์ ผู้สื่อข่าวอังกฤษด้านความมั่นคงและการทหาร เขียนบทความแสดงความคิดเห็นในบล็อกของ The Diplomat เกี่ยวกับกรณีอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกสามครั้งติดกันในเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์ว่า สภาพอากาศ และความขัดข้องทางเทคนิค หาใช่เป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมดังกล่าวไม่ หากแต่เป็นเพราะอำนาจและงบประมาณของกองทัพที่มากเหลือล้น
ธรรมชาติที่เสี่ยงของปฏิบัติการทางทหาร ย่อมหมายถึงการประสบพบเจอกับอุบัติเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากแต่เคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศไทยตก ชี้ให้เราเห็นถึงปัญหาที่เป็นระบบมากกว่านั้น
กรณีเฮลิคอปเตอร์แบลก ฮอว์ก ซีกอร์สกี้ ยูเอช-60 ของกองทัพอากาศไทยตก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการสูญเสียเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 ฮิวอี้สองลำ ในขณะที่กำลังปฏิบัติภารกิจกู้ภัยแถบชายแดนไทย-พม่าที่จังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 รายในอุบัติเหตุทั้งสามครั้ง
เช่นเดียวกับสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อกองทัพประสบกับความล้มเหลวที่ต่อเนื่อง อุบัติเหตุสองครั้งแรกกลายเป็นเรื่องของสภาพอากาศที่ไม่ดี และอุบัติเหตุครั้งที่สามต้องโทษความผิดพลาดทางเทคนิค ทางผู้บัญชาการระดับสูงมีท่าทีต่อปัญหาดังกล่าวโดยเรียกร้องให้มีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ใหม่ ผู้บัญชาการทหารบก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ซึ่งสงบปากสงบคำมากขึ้นหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะว่า กองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใหม่จำนวน 36 ลำเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัย พลเอกประยุทธ์ ได้ขอให้รัฐบาลใหม่ช่วยดูแลคำร้องขอดังกล่าว และเสริมว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ไม่สามารถอนุมัติงบประมาณสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใหม่ ถึงแม้จะทราบแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนก็ตาม
สถานการณ์ของไทยเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับวิกฤติการณ์ที่สิ่งที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียในปี 2552 ได้ประสบ เมื่อเหตุเครื่องบินตกอย่างต่อเนื่องทำให้บุคลากรของกองทัพอากาศอินโดฯ เสียชีวิตกว่า 130 ราย และทำให้เรื่องยุทโธปกรณ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานกลายเป็นวาระที่ถูกพูดถึงระดับชาติ เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้รัฐบาลอินโดนีเซียเพิ่มงบประมาณทางการทหารและจัดซื้อเครื่องบินใหม่
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของประเทศไทยนั้นต่างไปจากสถานการณ์ของอินโดนีเซียมาก เนื่องจากกองทัพของอินโดนีเซียนั้นได้รับงบประมาณต่ำมากมานับศตวรรษ และถูกคว่ำบาตรทางอาวุธยุทโธปกรณ์มาอย่างยาวนาน ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรเพึ่งได้รับการยกเลิกเมื่อเร็วๆ นี้ ในขณะที่ประเทศไทยนั้นได้รับงบประมาณทางการทหารที่ถือว่าเยอะพอสมควรตามมาตรฐานของภูมิภาค โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารปี 2549 อันที่จริง งบประมาณทางด้านการทหารของไทยเพิ่มขึ้นสามเท่านับจากการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด และในปี 2554 งบประมาณทางทหารยืนอยู่ที่ 5.6 พันล้านบ้าน ซึ่งมากพอกันกับงบประมาณทางทหารของอินโดนีเซีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทยสี่เท่า
ก็จริงว่า โครงการทางความมั่นคงบางส่วนหยุดชะงักไปในปี 2553 เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการเงินทั่วโลก แต่ก็ออกจะเกินไปหน่อยสำหรับพลเอกประยุทธ์ ที่จะโทษรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าไม่ยอมอนุมัติงบประมาณทางทหาร ในขณะที่ทางกองทัพเองเป็นผู้ที่มีอำนาจเรื่องนโยบายด้านความมั่นคงอย่างเต็มที่ รวมถึงนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย คำถามก็คือว่า เหตุใดกองทัพอากาศไทยอยู่ดีๆ จึงต้องการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใหม่อย่างเร่งด่วน ในเมื่อกองทัพก็ได้รับงบประมาณอย่างมากมายมาตลอด และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถกำหนดวาระต่างๆ เองได้
ในขณะที่เฮลิคอปเตอร์แบลกฮอว์กที่ตกในอุบัติเหตุครั้งแรก มีอายุการใช้งานเพียงสองสามปี แต่เครื่องเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ที่นับเป็นยุทโธปกรณ์หลักของกองทัพไทยส่วนใหญ่แล้ว มีอายุการใช้งานมาแล้วราวสามสิบปี อย่างไรก็ตาม ทางการไทยก็รับทราบถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี จึงได้ขอซื้อเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กอีกสามลำจากสหรัฐอเมริกา มูลค่า 235 ล้านดอลลาร์ หนึ่งวันก่อนที่อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ลำแรกตก นอกจากนี้ การอัพเกรดเฮลิคอปเตอร์รุ่นฮิวอี้ ยังเป็นวาระของกองทัพมาเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้ว่าพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกคนก่อนหน้า ตัดสินใจจะไม่อัพเกรดเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ 15 ลำ ในปี 2551 และตัดสินใจจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์รุ่นรัสเซียน Mil Mi-17 แทน
ดังนั้น คำร้องขอของพลเอกประยุทธ์เพื่อจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ 36 ลำจึงดูเป็นเรื่องไม่ค่อยจริงใจเท่าไร เขาอาจจะลองโยนหินถามทาง และรอดูว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่น่าจะเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะตอบสนองต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวอย่างไร นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ใช้มาตรการกดดันอีกหลายครั้งผ่านทางสาธารณะ หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยเขาได้เสนอให้ทหารรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถึงแม้ว่าจะเคยลั่นวาจาไว้แล้วก่อนหน้านี้ก็ตามว่า เขาจะไม่แทรกแซงทางการเมืองใดๆ อีก
ณ จุดนี้ สิ่งที่คนไทยทั่วไป รวมถึงเหล่านายทหารที่ใช้เครื่องเฮลิคอปเตอร์ฮิวอื้ที่เก่าแก่ คงต้องสงสัยว่ากองทัพไทยที่ได้งบประมาณอุดหนุนอย่างอื้อซ่านั้นเอาเงินไปทำอะไร ภารกิจการต่อต้านการก่อความไม่สงบในภาคใต้ที่ใช้งบประมาณเยอะ ก็เป็นเรื่องหนึ่ง โครงการการจัดตั้งกองทัพภาคใหม่ที่ภาคเหนือ ก็ใช่ รวมถึงโครงการจัดตั้งกองพลทหารม้าของเปรม ติณสูลานนท์ ก็เป็นที่เห็นแจ้งแถลงไขแล้วว่า เพียงแค่สองเรื่องแรกนี้ ก็ใช้งบประมาณไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายที่กว้างกว่านั้นคือ การที่กองทัพเป็นผู้กำหนดงบประมาณและกำหนดวาระต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้เงินภาษีของประชาชนที่จ่ายไปไม่คุ้มค่า และกองทัพเองก็มักจะไม่ลงทุนในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ทั้งนี้ ปัญหาสำหรับประเทศไทยก็คือ ประเด็นด้านนโยบายดังกล่าว เป็นพื้นที่ทางนโยบายที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่กล้าที่จะเข้าไปแตะต้อง ถึงแม้ว่าจะมีคำสัญญาทางนโยบายด้านต่างๆ ออกมามากแค่ไหนก็ตาม
Thailand’s Military Crisis? By Trefor Moss
The inherently risky nature of military operations means that all armed forces suffer unavoidable accidents. But a spate of mishaps, such as the three helicopter crashes suffered over the past week by the Royal Thai Army, tends to point to more systemic problems.The crash of an RTA Sikorsky UH-60 Black Hawk on July 19 was followed within days by the loss of two Bell 212 Hueys involved in the subsequent search and rescue mission along the Burmese border in Phetchaburi. At least 17 people died in the three incidents.
As tends to happen when a country’s military experiences a string of failures—bad weather was blamed for two of the crashes, and technical problems for the third—the top brass responded by calling for urgent investment in new equipment. Army chief Gen. Prayuth Chan-ocha, who has remained fairly inconspicuous since Thailand’s watershed election in early July, said publicly that the RTA required 36 new helicopters to continue operating safely. Gen. Prayuth said he would pass this request to the new government as soon as it was in place, adding that the previous Democrat Party administration had failed to come up with the money for new helicopters despite being made aware of the pressing need.
The Thai situation is reminiscent of the air-worthiness crisis experienced by the Indonesian Air Force in 2009, when a string of crashes killed 130 military personnel and turned the country’s poor standard of military equipment into a national scandal. These events gave Jakarta some political leeway to start increasing funding to the military and to invest in replacement transport aircraft.
However, Thailand’s situation is very different from that of Indonesia. The Indonesian military has been chronically underfunded for decades, as well as suffering from long-standing arms embargoes that have only recently been lifted, whereas Thailand has always had a healthy defence budget by regional standards, especially since the military coup in 2006. In fact, the Thai defence budget doubled in the three years since the military takeover and now stands at $5.6 billion for 2011, a similar level to the entire defence budget of Indonesia, which has four times Thailand’s population.
While it’s true that some defence projects were put on hold in 2010 due to the global financial crisis, it seems a bit rich for Gen. Prayuth to blame the government of Abhisit Vejjajiva for withholding military funds during a period when the military itself was in charge of defence policy, and much of the rest of government besides. The question, then, is why the RTA is suddenly in urgent need of helicopters when it has always been amply funded and in a position to set its own priorities.
While the Black Hawk whose crash initiated the crisis was only a few years old, the Hueys that make up the backbone of the RTA’s rotary capability have in many cases seen 30 years’ service. The Thais have long been aware of these issues, however, having requested three new Black Hawks from the United States, worth $235 million, the day before the first of the three crashes. Huey upgrades have also been on the army’s agenda for a long time, although the previous army chief, Gen. Anupong Paochinda, decided against upgrading 15 of the RTA’s ageing Hueys in 2008 in order to invest in three new Russian Mil Mi-17 helicopters instead.
Gen. Prayuth’s urgent appeal for 36 new helicopters is therefore somewhat disingenuous. He may of course be testing the water, waiting to see how the new prime minister—which will presumably be Yingluck Shinawatra—responds to the demand. Prayuth applied similar pressure in another of his few public outings since the election, when he called for a military man to be named defence minister, despite having previously agreed not to make such interventions.
What ordinary Thais, not to mention the soldiers who have to fly in the army’s ageing Hueys, must be wondering is what exactly the country’s well-funded army spends its money on. The costly counterinsurgency in Thailand’s deep south is one thing; the establishment of a new cavalry division in the far north, a pet project of former army chief Prem Tinsulanonda, is another. These two concerns alone are soaking up billions of dollars, many would argue needlessly.
However, a broader explanation is that when the military effectively sets its own budget and determines its own priorities, the taxpayer gets very poor value for money and the armed forces themselves don’t always get investment in the things they really need. The problem for Thailand is that these are policy areas that Yingluck’s incoming administration, for all its ambitious campaign promises, will not dare to go anywhere near.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น