คอลัมน์ ออกแบบประเทศไทย
หน้า 11,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2554
"ประเทศไม่ใช่บริษัท ประชาชนไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นจริงๆ ต้องอาศัยทุกคนร่วมกัน บริษัทจะอยู่ได้ก็ต้องรวมเป็นหนึ่ง แต่ถ้าทุกคนเอาคนละนิด บริษัทก็ล้ม ยิ่งประเทศไทยยิ่งลำบาก ถ้าทุกคนต้องพึ่งเงินของรัฐบาลเท่าไหร่ก็ไม่พอ กลับกันถ้าทุกคนช่วยกันคนละนิดคนละหน่อย ประเทศก็ไปได้"
ตัน ภาสกรนที หรือ "เสี่ยตัน" ผู้ก่อตั้ง "บริษัท ไม่ตัน จำกัด" หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันดีในนาม "เจ้าพ่อชาเขียว"
ด้วยความเป็นคนที่มีบุคลิกไม่เหมือนใคร เขาได้ดีไซน์ภาพลักษณ์ของตัวเองให้โดดเด่นด้วยการสวมหมวก จนมีคนพูดกันว่า "ตันตัวจริงต้องสวมหมวก"
ผู้ที่มักจะทำเรื่องธรรมดาให้กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดาได้อยู่เสมอ กับไอเดียสุดบรรเจิด ที่ทำให้คนไทยหันมาตื่นตัวกับกระแสอาหารญี่ปุ่นและเครื่องดื่มชาเขียว
เสี่ยตัน ยังทุ่มงบกว่า 30-40 ล้านบาท เปิดธุรกิจอาหารญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "ราเมนแชมป์เปี้ยน" ศูนย์รวมร้านราเมนสุดฮิต ที่มีรางวัลการันตีความอร่อยจากทีวีแชมป์เปี้ยน ที่ส่งตรงมาไกลจากแดนปลาดิบ
ก่อนหน้านี้ไม่นานเขายังได้กระโดดไปจับงาน "เดี่ยวไมโครโฟน" จนประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น
"เสี่ยตัน" จึงไม่รอช้าที่จะเปิดฉากเอ่ยถึง "วิกฤตประเทศไทย" ที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 7 ปี คือตั้งแต่ปี 2547-2554 จนดูเหมือนว่าจะไร้ซึ่งทางออก
เขามองทะลุปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แล้วยืนยันว่า "หนทางในการแก้ไขปัญหาคือ คนไทยทุกคนต้องยอมรับในกติกาความเป็นประชาธิปไตย ถ้าคนส่วนใหญ่เห็นอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น"
เขาบอกว่า หากการเลือกตั้ง มีผลสรุปออกมาแล้ว แม้ไม่ได้ดั่งใจ ผลยังไม่ดี ไม่เป็นไปตามที่ได้โฆษณา หาเสียง หรือแถลงนโยบายไว้ คราวหน้าก็ไม่ต้องไปเลือกเขา
"ประชาธิปไตยไม่ได้แปลว่าต้องเห็นด้วยหมดทุกคน หรือคิดเหมือนกันหมด ความคิดที่แตกต่างสองฝ่ายคือสิ่งที่จะทำให้ประเทศเจริญ และทำให้สังคมดีขึ้น ถ้าคิดแบบเดียวกัน จะให้ฮั้วกันเหรอ ถ้าคิดไม่แตกต่าง ประเทศไทยคงไม่เหลืออะไรแล้ว"
ด้วยความที่เป็นคนที่คิดที่ไม่เหมือนใคร "เสี่ยตัน" ได้เปรียบประชากรทั้ง 64 ล้านคน เป็นเข็มนาฬิกา สามเข็ม โดยสมมุติให้
ตัน ภาสกรนที หรือ "เสี่ยตัน" ผู้ก่อตั้ง "บริษัท ไม่ตัน จำกัด" หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันดีในนาม "เจ้าพ่อชาเขียว"
ด้วยความเป็นคนที่มีบุคลิกไม่เหมือนใคร เขาได้ดีไซน์ภาพลักษณ์ของตัวเองให้โดดเด่นด้วยการสวมหมวก จนมีคนพูดกันว่า "ตันตัวจริงต้องสวมหมวก"
ผู้ที่มักจะทำเรื่องธรรมดาให้กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดาได้อยู่เสมอ กับไอเดียสุดบรรเจิด ที่ทำให้คนไทยหันมาตื่นตัวกับกระแสอาหารญี่ปุ่นและเครื่องดื่มชาเขียว
เสี่ยตัน ยังทุ่มงบกว่า 30-40 ล้านบาท เปิดธุรกิจอาหารญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "ราเมนแชมป์เปี้ยน" ศูนย์รวมร้านราเมนสุดฮิต ที่มีรางวัลการันตีความอร่อยจากทีวีแชมป์เปี้ยน ที่ส่งตรงมาไกลจากแดนปลาดิบ
ก่อนหน้านี้ไม่นานเขายังได้กระโดดไปจับงาน "เดี่ยวไมโครโฟน" จนประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น
"เสี่ยตัน" จึงไม่รอช้าที่จะเปิดฉากเอ่ยถึง "วิกฤตประเทศไทย" ที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 7 ปี คือตั้งแต่ปี 2547-2554 จนดูเหมือนว่าจะไร้ซึ่งทางออก
เขามองทะลุปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แล้วยืนยันว่า "หนทางในการแก้ไขปัญหาคือ คนไทยทุกคนต้องยอมรับในกติกาความเป็นประชาธิปไตย ถ้าคนส่วนใหญ่เห็นอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น"
เขาบอกว่า หากการเลือกตั้ง มีผลสรุปออกมาแล้ว แม้ไม่ได้ดั่งใจ ผลยังไม่ดี ไม่เป็นไปตามที่ได้โฆษณา หาเสียง หรือแถลงนโยบายไว้ คราวหน้าก็ไม่ต้องไปเลือกเขา
"ประชาธิปไตยไม่ได้แปลว่าต้องเห็นด้วยหมดทุกคน หรือคิดเหมือนกันหมด ความคิดที่แตกต่างสองฝ่ายคือสิ่งที่จะทำให้ประเทศเจริญ และทำให้สังคมดีขึ้น ถ้าคิดแบบเดียวกัน จะให้ฮั้วกันเหรอ ถ้าคิดไม่แตกต่าง ประเทศไทยคงไม่เหลืออะไรแล้ว"
ด้วยความที่เป็นคนที่คิดที่ไม่เหมือนใคร "เสี่ยตัน" ได้เปรียบประชากรทั้ง 64 ล้านคน เป็นเข็มนาฬิกา สามเข็ม โดยสมมุติให้
"นายกรัฐมนตรี" เป็น "เข็มชั่วโมง"
"รัฐมนตรี" เป็น "เข็มนาที" และ
"ประชาชน" หรือ "ข้าราชการ" เป็น "เข็มวินาที"
ทุก "เข็ม" มีขนาดสั้นยาวต่างกัน ก็มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน
เพียงแต่ทุก "เข็ม" ที่ต่างกันนั้น มีภาระที่จะต้องแสดงบทบาทของตัวเองให้เต็มที่อย่างดีที่สุด
จึงจะทำให้ "สังคม" ทั้ง "สังคม" สามารถเดินไปได้
"การทำหน้าที่ยังเปรียบได้กับตัวละคร พระเอก และนางเอก เราก็แสดงบทบาทตามนั้น ไม่ใช่วันหนึ่งเราต้องลงจากบทบาทพระเอก นางเอกแล้วเรายังจะแสดงบทบาทนั้นอยู่ ซึ่งก็เป็นเรื่องตามธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นความโหดร้ายอะไร...
"..แต่ต้องอย่าไปยึดติดว่า เราเป็นคนกำหนด เราต้องเป็นคนสั่งการ ต้องเป็นไปตามความคิดของเราเท่านั้น ที่สำคัญคืออย่าทำหน้าที่ข้ามกัน แนะนำกันได้ ติกันได้ แต่อย่าทะเลาะกัน ติเพื่อสร้างสรรค์ บางคนทำหน้าที่เยอะจนเกินไป จนไม่รู้จะไปยังไง" เสี่ยตันขยายความ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บาดลึกซึมเข้าไปถึงเนื้อในของสังคมไทย จนทำให้ประชาชนแตกแยกออกเป็นฝักฝ่าย ถึงขั้นอาฆาตกัน เอาเป็นเอาตายไปข้างหนึ่ง
ผู้คิดค้นสูตร "น้ำผลไม้สองชนิดในขวดเดียว" อย่าง "Double Drink" วาดฝันอย่างยิ่ง ว่าอยากจะเห็นการเมืองเป็นเหมือน "ต้นไผ่" ที่เมื่อ แตกกออ่อน เบียดเสียดยัดเยียดแย่งกันเติบโตและแข็งแรงในท้ายที่สุด
จากไผ่ลำเล็กๆ กลายเป็น "ต้นไผ่" ที่ทนแรงปะทะจาก "พายุ" ได้
"เชื่อไหมว่าต้นไม้ใหญ่ๆ ล้ม ได้เมื่อเจอกับพายุลมแรง แต่ต้นไผ่ไม่ล้มนะ เพราะมันอยู่กันเป็นกลุ่มสามัคคีกัน แข่งกัน แต่ไม่ฆ่ากัน" เสี่ยตัน ให้แง่คิดสำคัญ
เมื่อปัญหาเกิดจากการเมือง "เขา" จึงอยากให้ "นักการเมือง" ผู้เป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในปัญหามากที่สุด หันมาประยุกต์ใช้ "ทฤษฎี 20:80"
คือจากเดิมที่ "นักการเมือง" ใช้เวลา "80 เปอร์เซ็นต์" จาก "100 เปอร์เซ็นต์" ไปกับการทะเลาะเบาะแว้งกันเอง จนเหลือเพียง "20 เปอร์เซ็นต์" เท่านั้นเป็นเวลาของการทำงาน
กลับมาใช้เวลา "80 เปอร์เซ็นต์" ไปทำงาน แล้วเวลาส่วนที่เหลืออีก "20 เปอร์เซ็นต์" มานั่งพูดคุยหารือข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน
"อย่าไปเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรไหนหรือบริษัทไหนไม่มีการโต้เถียงกัน กับความเห็นที่ไม่ตรงกัน คุยกันแล้วก็ต้องไปด้วยกันได้ ทุกวันนี้บางครั้ง ฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองก็ยังเถียงกันเอง ขัดขากันเอง ก็ไม่มีเวลาที่จะทำอะไรให้เดินไปข้างหน้า ... ที่ผ่านมาเราเห็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคนดีเยอะ ซึ่งก็เป็นที่มาของการที่เราเห็นว่าคนดีๆ เข้าไปทำงานการเมืองน้อยมาก พอคนดีๆ เข้าไปก็กลายเป็นคนไม่ค่อยดีเท่าไร ซึ่งคนดีๆ ก็มีน้อยอยู่แล้ว สังคมเราต้องการตัวอย่างที่ดี ก็หวังเล็กๆ ว่าสักวันหนึ่งจะมีตัวอย่างเล็กๆ ให้คนรุ่นหลัง ได้ดูเป็นแบบอย่าง" เขาพูดพรางถอนหายใจ
เสี่ยตันขยายความต่อว่า "ทัศนคติของนักการเมืองต้องเปลี่ยนไปเลย จากที่การเมืองเป็นการเมืองแบบสนามรบ เอาเป็นเอาตายกันจริงๆ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น การเมืองควรจะเป็นแค่กีฬา ลงไปทำงานเหมือนไปแข่งกัน ใครชนะก็รับถ้วยไป แต่แพ้แล้วก็เป็นเพื่อนกันได้ แล้วเที่ยวหน้าก็ผลัดกัน อย่างที่เขาพูดกันว่า ชนะเคยแพ้ แพ้เคยชนะ...
... คำที่ว่า ถ้าเราไม่ชนะเราไม่เลิก คำพูดนี้ฟังแล้วมันเกิดคำถามขึ้นในใจว่า มีครั้งไหนที่คุณได้ชัยชนะอย่างแท้จริง หากผลัดกัน...คุณชนะ คุณก็ชนะแค่ชั่วคราวเท่านั้น ผลัดกันสู้กันไปมา ความเสียหายก็เกิดขึ้นกับประเทศและประชาชน มันต้องต่างคนต่างยอมแพ้ มันถึงจะเป็นชัยชนะที่แท้จริง"
เสี่ยตันบอกว่า หากจะทำให้ การเมือง 2 ขั้ว มาอยู่ร่วมกันได้อย่างดี เหมือน "Double Drink" สามารถรวมน้ำผลไม้และสมุนไพร 2 ชนิด
เข้าด้วยกันได้นั้น เป็นสิ่งที่ "พูดง่ายแต่ทำยาก" เพราะมองไม่เห็นว่าจะทำอย่างไรให้รวมเป็นหนึ่งได้
แต่หากจะต้องทำจริง ก็ควรเริ่มจาก "ผู้นำประเทศ", "ผู้นำนักการเมือง", "ผู้นำชุมชน" ที่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน
เขาบอกว่า "ดี" คือจุดเริ่มต้นของ "ไม่ดี" และ "ไม่ดี" คือจุดเริ่มต้นของ "ดี"
แม้ "รัฐบาลพรรคเดียว" ที่มี "จุดแข็ง" คือการครองคะแนนเสียงข้างมาก "377 เสียง" ในอดีต ก็กลายเป็น "จุดอ่อน" ด้วยเช่นกัน
"การได้คะแนนเยอะเลยรู้สึกว่าเบ็ดเสร็จ เมื่อประชาชนให้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้คิดเลยเถิด มันก็กลายเป็นว่าการประนีประนอม การปรองดองกันอาจจะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ถ้าเขารู้สึกว่าเขาไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่ถ้าต้องพึ่งพาคนอื่นก็ต้องยอมรับในการให้เกียรติกัน...
... ทุกอย่างมันมีดีมีเสีย ค่าแรง 300 บาท กับเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ 15,000 บาท ผมก็เห็นด้วย ซึ่งจะว่าไปเงินเดือนแค่ 9,000 บาท ใครจะอยู่ได้ ยังไงก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายธุรกิจเองก็อยู่ไม่ได้" เสี่ยตัน ยกตัวอย่าง
เขามองว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคือ "การศึกษา" เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศด้อยการศึกษา โดยหวังแต่จะอาศัยค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่สามารถเข้าถึงทุนได้ ก็เข้าไม่ถึงโอกาส หวังพึ่งหัวคะแนนพรรคการเมืองก็คงไม่ไหว
"คนที่ฉลาดจะเลือกฟังทั้งสองฝ่าย เรามีสองหู ก็ฟังแดงที เหลืองที เขาสร้างเรามาให้มีสองหูก็ต้องฟังสองข้าง...แล้วทำไมสมองต้องอยู่ตรงกลาง ก็เพราะต้องให้เราค่อยๆ คิด พิจารณา เพราะทุกอย่างมีสองมุมอยู่แล้ว"
"เสี่ยตัน" มองว่า "นายกรัฐมนตรีหญิง" คนใหม่อย่าง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เปรียบเหมือน "ประธานบริษัท" ที่มีความถนัดเรื่องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยภาพลักษณ์ของการเป็น "นักธุรกิจ" มาก่อน หากจะเน้นเรื่องของ "ธุรกิจ" เหมือนที่ "รัฐบาลไทยรักไทย" เคยทำมา ก็สามารถทำให้ดีได้ แต่ต้องทำให้ถึงที่สุด
"ประเทศเราอยู่ได้ด้วยเสาเข็มใหญ่ๆ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยทรายเม็ดเล็กๆ ด้วย
?ถ้าทุกคนช่วยกันคนละนิด ยังไงก็สามารถพัฒนาประเทศได้ แต่ถ้าทุกคนต้องมาพึ่งประเทศอย่างเดียวมันไปไม่ไหว...มันเหนื่อย...
ยิ่งถ้าไม่มีความขัดแย้ง ป่านนี้ประเทศเดินไปข้างหน้าแล้ว...
แล้ววันนี้ทุกคนก็น่าจะได้รับบทเรียนด้วยกันครบทุกฝ่าย ว่าสุดท้ายไม่มีใครชนะเลย ทุกคนแพ้ด้วยกันทั้งนั้น...
... ประเทศไทยโชคดีมาก มีทุกอย่าง แต่อย่าไปรอนะว่าน้ำมันจะถูกหรือของจะถูก เราไม่มีแล้ว ประเทศเรายังมีอะไรอีกเยอะมากมาย ที่คนอื่นไม่มี ทั้งทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยว และรอยยิ้ม แต่เราก็มีอีกอย่างที่คนอื่นไม่มีคือ ′ชอบขัดแย้งกันเอง′
ทางออกเดียวที่จะทำให้ประเทศไม่ถึงทางตัน คือ ทุกคนต้องรวมเป็นหนึ่ง แล้วถ้าเราทำอะไรให้ดีขึ้นไม่ได้ ก็อย่าไปทำให้มันแย่ลงเลย" เขาทิ้งท้ายไว้ อย่างน่าคิด...
ทุก "เข็ม" มีขนาดสั้นยาวต่างกัน ก็มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน
เพียงแต่ทุก "เข็ม" ที่ต่างกันนั้น มีภาระที่จะต้องแสดงบทบาทของตัวเองให้เต็มที่อย่างดีที่สุด
จึงจะทำให้ "สังคม" ทั้ง "สังคม" สามารถเดินไปได้
"การทำหน้าที่ยังเปรียบได้กับตัวละคร พระเอก และนางเอก เราก็แสดงบทบาทตามนั้น ไม่ใช่วันหนึ่งเราต้องลงจากบทบาทพระเอก นางเอกแล้วเรายังจะแสดงบทบาทนั้นอยู่ ซึ่งก็เป็นเรื่องตามธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นความโหดร้ายอะไร...
"..แต่ต้องอย่าไปยึดติดว่า เราเป็นคนกำหนด เราต้องเป็นคนสั่งการ ต้องเป็นไปตามความคิดของเราเท่านั้น ที่สำคัญคืออย่าทำหน้าที่ข้ามกัน แนะนำกันได้ ติกันได้ แต่อย่าทะเลาะกัน ติเพื่อสร้างสรรค์ บางคนทำหน้าที่เยอะจนเกินไป จนไม่รู้จะไปยังไง" เสี่ยตันขยายความ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บาดลึกซึมเข้าไปถึงเนื้อในของสังคมไทย จนทำให้ประชาชนแตกแยกออกเป็นฝักฝ่าย ถึงขั้นอาฆาตกัน เอาเป็นเอาตายไปข้างหนึ่ง
ผู้คิดค้นสูตร "น้ำผลไม้สองชนิดในขวดเดียว" อย่าง "Double Drink" วาดฝันอย่างยิ่ง ว่าอยากจะเห็นการเมืองเป็นเหมือน "ต้นไผ่" ที่เมื่อ แตกกออ่อน เบียดเสียดยัดเยียดแย่งกันเติบโตและแข็งแรงในท้ายที่สุด
จากไผ่ลำเล็กๆ กลายเป็น "ต้นไผ่" ที่ทนแรงปะทะจาก "พายุ" ได้
"เชื่อไหมว่าต้นไม้ใหญ่ๆ ล้ม ได้เมื่อเจอกับพายุลมแรง แต่ต้นไผ่ไม่ล้มนะ เพราะมันอยู่กันเป็นกลุ่มสามัคคีกัน แข่งกัน แต่ไม่ฆ่ากัน" เสี่ยตัน ให้แง่คิดสำคัญ
เมื่อปัญหาเกิดจากการเมือง "เขา" จึงอยากให้ "นักการเมือง" ผู้เป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในปัญหามากที่สุด หันมาประยุกต์ใช้ "ทฤษฎี 20:80"
คือจากเดิมที่ "นักการเมือง" ใช้เวลา "80 เปอร์เซ็นต์" จาก "100 เปอร์เซ็นต์" ไปกับการทะเลาะเบาะแว้งกันเอง จนเหลือเพียง "20 เปอร์เซ็นต์" เท่านั้นเป็นเวลาของการทำงาน
กลับมาใช้เวลา "80 เปอร์เซ็นต์" ไปทำงาน แล้วเวลาส่วนที่เหลืออีก "20 เปอร์เซ็นต์" มานั่งพูดคุยหารือข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน
"อย่าไปเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรไหนหรือบริษัทไหนไม่มีการโต้เถียงกัน กับความเห็นที่ไม่ตรงกัน คุยกันแล้วก็ต้องไปด้วยกันได้ ทุกวันนี้บางครั้ง ฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองก็ยังเถียงกันเอง ขัดขากันเอง ก็ไม่มีเวลาที่จะทำอะไรให้เดินไปข้างหน้า ... ที่ผ่านมาเราเห็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคนดีเยอะ ซึ่งก็เป็นที่มาของการที่เราเห็นว่าคนดีๆ เข้าไปทำงานการเมืองน้อยมาก พอคนดีๆ เข้าไปก็กลายเป็นคนไม่ค่อยดีเท่าไร ซึ่งคนดีๆ ก็มีน้อยอยู่แล้ว สังคมเราต้องการตัวอย่างที่ดี ก็หวังเล็กๆ ว่าสักวันหนึ่งจะมีตัวอย่างเล็กๆ ให้คนรุ่นหลัง ได้ดูเป็นแบบอย่าง" เขาพูดพรางถอนหายใจ
เสี่ยตันขยายความต่อว่า "ทัศนคติของนักการเมืองต้องเปลี่ยนไปเลย จากที่การเมืองเป็นการเมืองแบบสนามรบ เอาเป็นเอาตายกันจริงๆ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น การเมืองควรจะเป็นแค่กีฬา ลงไปทำงานเหมือนไปแข่งกัน ใครชนะก็รับถ้วยไป แต่แพ้แล้วก็เป็นเพื่อนกันได้ แล้วเที่ยวหน้าก็ผลัดกัน อย่างที่เขาพูดกันว่า ชนะเคยแพ้ แพ้เคยชนะ...
... คำที่ว่า ถ้าเราไม่ชนะเราไม่เลิก คำพูดนี้ฟังแล้วมันเกิดคำถามขึ้นในใจว่า มีครั้งไหนที่คุณได้ชัยชนะอย่างแท้จริง หากผลัดกัน...คุณชนะ คุณก็ชนะแค่ชั่วคราวเท่านั้น ผลัดกันสู้กันไปมา ความเสียหายก็เกิดขึ้นกับประเทศและประชาชน มันต้องต่างคนต่างยอมแพ้ มันถึงจะเป็นชัยชนะที่แท้จริง"
เสี่ยตันบอกว่า หากจะทำให้ การเมือง 2 ขั้ว มาอยู่ร่วมกันได้อย่างดี เหมือน "Double Drink" สามารถรวมน้ำผลไม้และสมุนไพร 2 ชนิด
เข้าด้วยกันได้นั้น เป็นสิ่งที่ "พูดง่ายแต่ทำยาก" เพราะมองไม่เห็นว่าจะทำอย่างไรให้รวมเป็นหนึ่งได้
แต่หากจะต้องทำจริง ก็ควรเริ่มจาก "ผู้นำประเทศ", "ผู้นำนักการเมือง", "ผู้นำชุมชน" ที่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน
เขาบอกว่า "ดี" คือจุดเริ่มต้นของ "ไม่ดี" และ "ไม่ดี" คือจุดเริ่มต้นของ "ดี"
แม้ "รัฐบาลพรรคเดียว" ที่มี "จุดแข็ง" คือการครองคะแนนเสียงข้างมาก "377 เสียง" ในอดีต ก็กลายเป็น "จุดอ่อน" ด้วยเช่นกัน
"การได้คะแนนเยอะเลยรู้สึกว่าเบ็ดเสร็จ เมื่อประชาชนให้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้คิดเลยเถิด มันก็กลายเป็นว่าการประนีประนอม การปรองดองกันอาจจะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ถ้าเขารู้สึกว่าเขาไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่ถ้าต้องพึ่งพาคนอื่นก็ต้องยอมรับในการให้เกียรติกัน...
... ทุกอย่างมันมีดีมีเสีย ค่าแรง 300 บาท กับเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ 15,000 บาท ผมก็เห็นด้วย ซึ่งจะว่าไปเงินเดือนแค่ 9,000 บาท ใครจะอยู่ได้ ยังไงก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายธุรกิจเองก็อยู่ไม่ได้" เสี่ยตัน ยกตัวอย่าง
เขามองว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคือ "การศึกษา" เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศด้อยการศึกษา โดยหวังแต่จะอาศัยค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่สามารถเข้าถึงทุนได้ ก็เข้าไม่ถึงโอกาส หวังพึ่งหัวคะแนนพรรคการเมืองก็คงไม่ไหว
"คนที่ฉลาดจะเลือกฟังทั้งสองฝ่าย เรามีสองหู ก็ฟังแดงที เหลืองที เขาสร้างเรามาให้มีสองหูก็ต้องฟังสองข้าง...แล้วทำไมสมองต้องอยู่ตรงกลาง ก็เพราะต้องให้เราค่อยๆ คิด พิจารณา เพราะทุกอย่างมีสองมุมอยู่แล้ว"
"เสี่ยตัน" มองว่า "นายกรัฐมนตรีหญิง" คนใหม่อย่าง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เปรียบเหมือน "ประธานบริษัท" ที่มีความถนัดเรื่องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยภาพลักษณ์ของการเป็น "นักธุรกิจ" มาก่อน หากจะเน้นเรื่องของ "ธุรกิจ" เหมือนที่ "รัฐบาลไทยรักไทย" เคยทำมา ก็สามารถทำให้ดีได้ แต่ต้องทำให้ถึงที่สุด
"ประเทศเราอยู่ได้ด้วยเสาเข็มใหญ่ๆ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยทรายเม็ดเล็กๆ ด้วย
?ถ้าทุกคนช่วยกันคนละนิด ยังไงก็สามารถพัฒนาประเทศได้ แต่ถ้าทุกคนต้องมาพึ่งประเทศอย่างเดียวมันไปไม่ไหว...มันเหนื่อย...
ยิ่งถ้าไม่มีความขัดแย้ง ป่านนี้ประเทศเดินไปข้างหน้าแล้ว...
แล้ววันนี้ทุกคนก็น่าจะได้รับบทเรียนด้วยกันครบทุกฝ่าย ว่าสุดท้ายไม่มีใครชนะเลย ทุกคนแพ้ด้วยกันทั้งนั้น...
... ประเทศไทยโชคดีมาก มีทุกอย่าง แต่อย่าไปรอนะว่าน้ำมันจะถูกหรือของจะถูก เราไม่มีแล้ว ประเทศเรายังมีอะไรอีกเยอะมากมาย ที่คนอื่นไม่มี ทั้งทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยว และรอยยิ้ม แต่เราก็มีอีกอย่างที่คนอื่นไม่มีคือ ′ชอบขัดแย้งกันเอง′
ทางออกเดียวที่จะทำให้ประเทศไม่ถึงทางตัน คือ ทุกคนต้องรวมเป็นหนึ่ง แล้วถ้าเราทำอะไรให้ดีขึ้นไม่ได้ ก็อย่าไปทำให้มันแย่ลงเลย" เขาทิ้งท้ายไว้ อย่างน่าคิด...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น