การไต่สวนคดีล้มล้างประชาธิปไตย ในศาลรัฐธรรมนูญ 2 วัน เมื่อ 5-6 ก.ค.ที่ผ่านมา
ดำเนินไปอย่างเข้มข้น
ด้านหนึ่งเป็นการ "โชว์" หลักวิชา "ว่าความ" ภาคปฏิบัติของนักกฎหมายจากพรรคการเมือง
สร้างลีลา ใส่อารมณ์ ให้อีกฝ่ายเป็นอาชญากรประชาธิปไตยใจฉกาจ
ทั้งๆ รู้กันว่า นี่คือ คดีการเมือง
เนื้อหาการเบิกความพัวพันนุงนังกับเรื่องการเมือง มากกว่าจะเป็นพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในเชิงวิชาการกฎหมาย มีคำให้การที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจปัญหา
การเลือกพยานของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพยานที่มาให้ความเห็นทางวิชาการของฝ่ายผู้ร้อง
ก็ได้เปิดหูเปิดตากับวิชาการไประดับหนึ่ง
ส่วนฝ่ายผู้ถูกร้อง คือ นายโภคิน พลกุล
นายโภคินนอกจากแนบแน่นกับพรรคเพื่อไทยตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน เขาคือ ดอกเตอร์กฎหมาย สาขากฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยปารีส 2
"คลิป" คำเบิกความ ตอบคำซักถาม 1 ชั่วโมง 40 นาทีเศษ ของนายโภคิน กำลัง "ฮิต" ในแวดวงผู้สนใจการเมืองขณะนี้
ตอนหนึ่งของการเบิกความ นายโภคินกล่าวต่อศาลฯว่า
ความผิดตามมาตรา 68 บัญญัติชัดเจนว่า เป็นเรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างประชาธิปไตย และกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครอง นอกเหนือจากวิถีทางรัฐธรรมนูญ
ต้องดูว่าข้อเท็จจริงขณะนี้ ยุติอย่างไร
จะพบว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นข้อยุติในขณะนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังเป็นเพียงแค่ร่างที่ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 2 เท่านั้น
ยังไม่ได้มีการแก้ไขคำแม้แต่คำเดียว
ถ้าข้อยุติหยุดเพียงแค่นี้ คือยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลับมีการจินตนาการว่า จะไปแก้ไขเช่นนั้นเช่นนี้ และมีความผิด
ผมจึงคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเรากำลังเอาจินตภาพไปตัดสินข้อเท็จจริงในปัจจุบันอยู่
และถ้าหากสมมุติต่อไปว่า หากมีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 และออกเป็นกฎหมาย แต่มีข้อยุติแค่การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เท่านั้น
ส.ส.ร. จะดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ยังไม่มีใครทราบ
แต่กลับมีการจินตนาการอีกว่า ส.ส.ร. จะเป็นพวกนั้นพวกนี้ และมีพรรคการเมือง นักการเมือง กลุ่มต่างๆ อยู่เบื้องหลัง
อาจจะกล่าวว่า มีนาย ก. นาย ข.ไปพูด ทำให้เห็นว่าจะแก้อย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องของนาย ก. นาย ข. ไม่ใช่ ส.ส.ร.ที่จะแก้ไข
มีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ร้อง ทำนองว่า "จินตนาการ" ที่เกิดขึ้น มาจากการแสดงท่าทีที่น่าหวาดระแวงและสับสนของฝ่ายรัฐบาลนั่นเอง
ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า จินตนาการของผู้ร้องทั้ง 5 ราย เกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ เป็นผลอย่างตรงไปตรงมาจากท่าทีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จริงหรือ?!
และเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นี่เองหรือ
หรือว่า "จินตนาการ" นี้ คือภาคต่อ ของหนังผีเรื่องเดิม ที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร 2549
หรือว่า เป็นจินตนาการบนพื้นฐานของการต่อสู้ช่วงชิงทางการเมือง เมื่อฝ่ายหนึ่งสู้ไม่ได้ ก็หาหนทางเอาชนะด้วยวิธีการพิเศษ
จับมือกับอำนาจกับมือที่มองเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง
จะอย่างไรก็ตาม การนำเอา "จินตนาการ" มาปะปนกับเรื่องจริง ย่อมเป็นเรื่องอันตรายกับทุกฝ่าย
โดยเฉพาะหากสังคมนี้แยกไม่ออก ระหว่างเรื่องจริงกับจินตนาการ
และชวนให้ "จินตนาการ" กันต่อไปว่า บ้านเมืองหลังจากนี้ จะเป็นอย่างไร
ด้านหนึ่งเป็นการ "โชว์" หลักวิชา "ว่าความ" ภาคปฏิบัติของนักกฎหมายจากพรรคการเมือง
สร้างลีลา ใส่อารมณ์ ให้อีกฝ่ายเป็นอาชญากรประชาธิปไตยใจฉกาจ
ทั้งๆ รู้กันว่า นี่คือ คดีการเมือง
เนื้อหาการเบิกความพัวพันนุงนังกับเรื่องการเมือง มากกว่าจะเป็นพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในเชิงวิชาการกฎหมาย มีคำให้การที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจปัญหา
การเลือกพยานของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพยานที่มาให้ความเห็นทางวิชาการของฝ่ายผู้ร้อง
ก็ได้เปิดหูเปิดตากับวิชาการไประดับหนึ่ง
ส่วนฝ่ายผู้ถูกร้อง คือ นายโภคิน พลกุล
นายโภคินนอกจากแนบแน่นกับพรรคเพื่อไทยตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน เขาคือ ดอกเตอร์กฎหมาย สาขากฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยปารีส 2
"คลิป" คำเบิกความ ตอบคำซักถาม 1 ชั่วโมง 40 นาทีเศษ ของนายโภคิน กำลัง "ฮิต" ในแวดวงผู้สนใจการเมืองขณะนี้
ตอนหนึ่งของการเบิกความ นายโภคินกล่าวต่อศาลฯว่า
ความผิดตามมาตรา 68 บัญญัติชัดเจนว่า เป็นเรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างประชาธิปไตย และกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครอง นอกเหนือจากวิถีทางรัฐธรรมนูญ
ต้องดูว่าข้อเท็จจริงขณะนี้ ยุติอย่างไร
จะพบว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นข้อยุติในขณะนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังเป็นเพียงแค่ร่างที่ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 2 เท่านั้น
ยังไม่ได้มีการแก้ไขคำแม้แต่คำเดียว
ถ้าข้อยุติหยุดเพียงแค่นี้ คือยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลับมีการจินตนาการว่า จะไปแก้ไขเช่นนั้นเช่นนี้ และมีความผิด
ผมจึงคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเรากำลังเอาจินตภาพไปตัดสินข้อเท็จจริงในปัจจุบันอยู่
และถ้าหากสมมุติต่อไปว่า หากมีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 และออกเป็นกฎหมาย แต่มีข้อยุติแค่การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เท่านั้น
ส.ส.ร. จะดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ยังไม่มีใครทราบ
แต่กลับมีการจินตนาการอีกว่า ส.ส.ร. จะเป็นพวกนั้นพวกนี้ และมีพรรคการเมือง นักการเมือง กลุ่มต่างๆ อยู่เบื้องหลัง
อาจจะกล่าวว่า มีนาย ก. นาย ข.ไปพูด ทำให้เห็นว่าจะแก้อย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องของนาย ก. นาย ข. ไม่ใช่ ส.ส.ร.ที่จะแก้ไข
มีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ร้อง ทำนองว่า "จินตนาการ" ที่เกิดขึ้น มาจากการแสดงท่าทีที่น่าหวาดระแวงและสับสนของฝ่ายรัฐบาลนั่นเอง
ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า จินตนาการของผู้ร้องทั้ง 5 ราย เกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ เป็นผลอย่างตรงไปตรงมาจากท่าทีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จริงหรือ?!
และเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นี่เองหรือ
หรือว่า "จินตนาการ" นี้ คือภาคต่อ ของหนังผีเรื่องเดิม ที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร 2549
หรือว่า เป็นจินตนาการบนพื้นฐานของการต่อสู้ช่วงชิงทางการเมือง เมื่อฝ่ายหนึ่งสู้ไม่ได้ ก็หาหนทางเอาชนะด้วยวิธีการพิเศษ
จับมือกับอำนาจกับมือที่มองเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง
จะอย่างไรก็ตาม การนำเอา "จินตนาการ" มาปะปนกับเรื่องจริง ย่อมเป็นเรื่องอันตรายกับทุกฝ่าย
โดยเฉพาะหากสังคมนี้แยกไม่ออก ระหว่างเรื่องจริงกับจินตนาการ
และชวนให้ "จินตนาการ" กันต่อไปว่า บ้านเมืองหลังจากนี้ จะเป็นอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น