โดย จักรภพ เพ็ญแข
ตามข่าวการเมืองในช่วงสองสามวันมานี้ คล้ายกับนั่งดูละครเก่าๆ เรื่อง “รัฐซ้อนรัฐ” รัฐหนึ่งคือรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา ภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีกรัฐหนึ่งเป็นรัฐของใครก็ไม่รู้ เพราะแอบทำงานแบบเครือข่ายอยู่ในเงามืดและ ส่งลูกน้องออกมาก่อการร้ายผ่านระบบต่างๆ ที่ตัวใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญและนอกรัฐธรรมนูญ เดิมทีรัฐนี้รวมศูนย์ไปที่คนๆ เดียว พูดไม่กี่คำก็เบี่ยงเบนทิศทางของประเทศได้หมด แต่ต่อมาสังสารวัฏทำให้คนๆ นั้นอ่อนแรงลง ทำให้อำนาจอย่างมาเฟียที่มีอยู่หลุดมาสู่มือของลูกน้องบ้าง ญาติบ้าง หรือบริวารที่คอยรับส่วนบุญและบาปอยู่แถวๆ นั้นบ้าง ความวุ่นวายของบ้านเมืองจึงบังเกิดไม่หยุดหย่อน เพราะเชื้อโรคกระจายพรัดพรายไปหมด วัคซีนอย่างเดียวที่จะแก้ไขสภาพการณ์นี้ได้คือเสียงของประชาชน ก็ถูกตรึงอยู่ในรูปของรัฐบาลที่ต้องเล่นบทนางเอกสำหรับคนทุกคนไม่ว่าจะเป็น เทวดาหรือซาตาน และถูกตรึงอยู่ในรูปขบวนการมวลชนที่เคลื่อนได้เฉพาะตามคำสั่งจากศูนย์กลาง เท่านั้น หลักฐานชิ้นเล็กๆ ล่าสุดที่แสดงความเป็น “รัฐซ้อนรัฐ” คือสิ่งที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องคอยคำถามอยู่ในเวลานี้
ฉากละครล่าสุดเริ่มจากปาฐกถาเรื่องประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีไทยที่ มองโกเลีย ซึ่งถูกคนที่ยังไม่ตื่นวิจารณ์กันอย่างรุนแรงและหยาบคาย เมื่อนายกรัฐมนตรีกลับมาแล้ว ก็ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ว่า จำเป็นต้องพูดความจริงให้โลกรู้ ไม่มีเจตนาทำร้ายประเทศชาติ อะไรทำนองนี้ ทันทีที่สิ้นคำตอบ ท่านนายกฯ ก็ได้รับคำถามแนวสองและแนวสามตามมาเป็นลูกกระพรวน คล้ายกับบทละครที่เขาเขียนต่อกันจนเป็นฉากที่ไหลเลื่อนต่อเนื่องเรียบร้อย ว่า การที่กระทรวงไอซีทีสั่งปิดเว็ปไซต์หมิ่นตัวท่านนายกฯ อย่างรุนแรงและหยาบคายนั้นตัวท่านคิดอย่างไร นายกรัฐมนตรีตอบว่าเขาคงว่ากันไปตามหน้าที่ของเขาละมัง ไม่มีอะไรโฉ่งฉ่างเป็นพิเศษหรอก พอสิ้นคำตอบนี้ ท่านผู้แทนอำนาจเก่าในคราบนักข่าวแถวนั้นก็สวนหมัดทันทีว่า แล้วเว็ปไซต์หมิ่นเบื้องสูงเล่า ไม่เห็นรัฐบาลจัดการอะไรเลย ดูจะเปิดกันได้อย่างเสรีเหลือเกิน นายกรัฐมนตรียิ้มและบอกว่ารัฐบาลก็จัดการอยู่เสมอ
อ่านข่าวถึงตรงนี้แล้วก็อดขำไม่ได้ นี่ล่ะครับเมืองไทยที่มีสองรัฐซ้อนกันอยู่ สังคมกำลังถกเถียงกันอยู่ดีๆ ว่าปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไทยที่มองโกเลียถูกผิดอย่างไร และสิทธิในฐานะมนุษย์คนหนึ่งของนายกรัฐมนตรีนั้นมีอยู่หรือไม่ จู่ๆ ก็มีมือดี (หรือไม่ก็มือเลว) โยนประเด็นใหม่เข้ามาในเรื่อง “เบื้องสูง” เพื่อให้ประเด็นนี้เข้ามากลบประเด็นการล่วงละเมิดสิทธิของนายกรัฐมนตรีและ ความเป็นเผด็จการเนื้อในหรือไม่ของเมืองไทยไปเสียเลย เขารู้ว่า รัฐบาลที่มุ่งเอาใจทุกคนทุกฝ่ายอย่างนี้ต้องรีบตอบคำถามนั้นเป็นหลักและ ตอบอย่างตัวซี้ตัวสั่น จนแทบลืมสิทธิของตนเองในฐานะรัฐบาลและในฐานะบุคคลไปหมด “เบื้องสูง” เป็นเสมือนยาขนานเอกที่ช่วยฝ่ายตรงข้ามกับประชาธิปไตยได้ตลอดกาล เรียกว่าสิ้นคิดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็คว้าอันนี้ล่ะมาช่วย ประหนึ่งว่านโยบายในบ้านเมืองนี้มีสูงมีต่ำ คนในระดับลูกชาวบ้านถูกละเมิดสิทธิก็ทนกันได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกละเมิดสิทธิก็ทนกันได้ แต่ถ้าเป็น “เบื้องสูง” ล่ะก็เกิดอดรนทนไม่ได้กันทันที ต้องวางสิทธิของคนอื่นๆ เพื่อมาจัดการเรื่องนี้โดยพลัน แล้วที่เคยได้ยินพระราชดำรัสว่า “....พระเจ้าอยู่หัวก็เป็นประชาธิปไตย ถูกวิจารณ์ได้...” หายไปไหนเสียแล้วหรือ ใครเป็นคนเบี่ยงเบนหรือทำให้ผิดเพี้ยนไปหรือ...
เพื่อให้เรื่อง “รัฐซ้อนรัฐ” ชัดเจนขึ้น
ผมขอนำบทความเก่าชิ้นหนึ่งที่เขียนไว้มาลงไว้ตรงนี้ เพราะเรื่องที่ว่าเก่าก็ยังเป็นเรื่องปัจจุบันอยู่อย่างนั้น
ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเลย เผื่อบางท่านยังไม่ได้อ่านจะได้ช่วยกันอ่านและวิสั ชนาว่าบ้านเมืองของเราที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นายกรัฐมนตรีพูดน้อยไปหรือไม่ที่สาธารณรัฐมองโกเลีย บทความนี้ชื่อ “รัฐภายในรัฐ” ผมเขียนให้กับนิตยสาร “มหาประชาชน” เมื่อครั้งที่ยังช่วยบริหารแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการฯ อยู่
คอลัมน์
ผมเป็นข้าราษฎร
เรื่อง รัฐภายในรัฐ
โดย จักรภพ เพ็ญแข
นักหนังสือพิมพ์อาวุโส “พญาไม้” ได้กรุณาเขียนถึงผมในคอลัมน์ของท่าน ว่าด้วยวลีหนึ่งที่ผมยกมาพูดคุยกับกลุ่มประชาธิปไตยที่มาฟังกันทั่วโลกเมื่อ วันก่อน ผมจึงคิดว่าควรนำเรื่องนี้มาขยายความให้ชัด เพราะหนามที่ปักอกระบอบประชาธิปไตยไทยมาตลอดนั้น ไม่มีชิ้นไหนใหญ่กว่าชิ้นนี้ และตำอยู่ในใจผู้อาวุโสหลายคนในเมืองไทยอย่างชนิดพูดไม่ออกบอกไม่ถูก
นั่นคือเรื่องของ “รัฐภายในรัฐ”
คำๆ นี้ไม่ได้ปรากฎอยู่ในตำราและงานวิจัยที่ก้าวหน้าในวิชารัฐศาสตร์อย่างเดียว แต่ยังเป็นคำที่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาใช้เรียกสภาวะเมืองไทยในช่วง สงครามเย็นว่า “state within state” ที่แปลออกมาตรงกันว่า รัฐภายในรัฐ นั่นด้วย
ความจริงคนที่ศึกษาการเมืองไทยถึงระดับโครงสร้างและรูปแบบการเมืองการปกครอง ก็รู้เรื่องนี้ทุกคน เรื่องนี้ไม่ใช่ความรู้ใหม่ เพียงแต่เหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ ที่พรรคไทยรักไทยกลายเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลด้วยเสียงข้างมาก ได้คุณทักษิณมาเป็นนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเต็ม จนถึงขั้น “เกย” กับผู้มีอำนาจเดิม ได้กลายเป็นหลักฐานที่จับต้องได้ว่า “รัฐภายในรัฐ” ในราชอาณาจักรไทยนั้นมีตัวตนจริง
หลักฐานนี้ชี้ว่าประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของประเทศนี้อย่างที่โฆษณาชวนเชื่อกัน
“รัฐภายในรัฐ” มีความหมายว่า ภายในประเทศไทยที่เรียกตามศัพท์กฎหมายระหว่างประเทศว่ารัฐไทยนี้ มีรัฐบาลซ้อนกันอยู่ ๒ ชนิดคือ รัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมาตามกระบวนการกับรัฐบาลที่ไม่เคยลงเลือกตั้งและ ไม่เคยสนใจที่จะได้รับเลือกตั้ง
รัฐบาลประเภทหลังประกอบด้วย:
๑. ข้าราชการระดับผู้ใหญ่ทั้งพลเรือนและทหารที่เติบโตมาเรื่อยๆ ในระบบอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจเดิม แล้วผลัดกันสวมอำนาจแบบสมบัติผลัดกันชม จนบางครั้งก็เกิดแก่งแย่งกัน
๒. กลไกการควบคุมรัฐไทยโดยสิ้นเชิง เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพบก การบินไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
๓. ฝ่ายหารายได้ ทั้งจากสมบัติเดิมและสมบัติใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายดูดทุนไม่ว่าจะเป็นทุนเก่าหรือทุนใหม่เข้าสู่ส่วนกลาง
๔. นักวิชาการผู้มีทักษะเฉพาะด้าน โดยเฉพาะวิธีควบคุมบ้านเมืองด้วยกฎหมาย เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญ การซ่อนเงื่อนไขรักษาอำนาจและผลประโยชน์ไว้ในกฎหมายระดับรองลงไป เป็นต้น
๕. ข้อตกลงกับประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและไม่ทับซ้อนในพื้นที่อำนาจของกันและกัน
รัฐบาลประเภทนี้จึงมีทุกอย่างอย่างสมบูรณ์ในการแสวงหาและรักษาอำนาจ ถือเป็นรัฐบาลตัวจริงของราชอาณาจักรนี้
ส่วนรัฐบาลเลือกตั้งเอาไว้เป็นภาพลักษณ์ของประเทศและใส่เป็นหน้ากากบังตัวจริงไว้
อยากได้อะไรก็โทรศัพท์หรือส่งคนมาสั่งรัฐบาลเลือกตั้งเหมือนสั่งพิซซ่า
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงแรกๆ (ตั้งแต่กลุ่ม “เรารักในหลวง” เป็นต้นมา) การแสดงตัวของ “ตุลาการภิวัตน์” คำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นโมฆะ การลอบสังหารนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเลือกตั้งด้วยระเบิดรถยนต์ การรัฐประหาร คปค./คมช. ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ การยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกือบทุกคดี ฯลฯ คือผลงานของรัฐบาลตัวจริงของรัฐไทย
และเป็นเพียงผลงานส่วนหนึ่งเท่านั้น
ไม่มีทางเลยครับที่รัฐบาลเลือกตั้งจะสู้ได้ เพราะนอกจากการจัดตั้งกลไกอำนาจที่อ่อนแอผิดกับรัฐบาลตัวจริงที่ดำรง สภาพอยู่ลับๆ และแข็งแกร่ง รัฐบาลเลือกตั้งยังต้องทำงานและเผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นประจำวัน ใครจะวิจารณ์ด่าว่าอย่างไรก็มาลงที่รัฐบาลเลือกตั้งทั้งหมด
รัฐบาลตัวจริงลอยตัวอยู่เหนือภาวะขึ้นลงของประชามติ ไม่ถูกทดสอบแต่อย่างใดทั้งสิ้น นานๆ ครั้งก็ออกมาทำหน้าที่ “กูรู้” สอนสั่งรัฐบาลเลือกตั้งราวกับลูก
ภารกิจของรัฐบาลตัวจริงผู้เป็น “รัฐภายในรัฐ” ก็ชัดเจนนัก จุดเริ่มต้นคือความไม่ยอมเสียอำนาจและผลประโยชน์ให้กับคู่แข่งสำคัญคือฝ่าย ประชาธิปไตย มาจนถึงหน้าที่หลักไม่กี่อย่างคือ:
๑. สร้างภาพให้ระบบการเมืองเป็นสิ่งเลวร้าย เน่าเสีย จนประชาชนรู้สึกว่าพึ่งพาอาศัยไม่ได้ เช่นตอกย้ำเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เป็นต้น
๒. รัฐบาลประชาธิปไตยต้องดูด้อยความสามารถ ด้อยค่า และสมควรถูกทำลายทิ้ง ถ้ามีค่าและมีกำลังอำนาจขึ้นมา ก็สร้างภาพว่าโกง เป็นเผด็จการ และไม่จงรักภักดี เพื่อกำจัดเสีย
๓. ทำให้ระบบราชการ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของรัฐบาลตัวจริง สูงส่งกว่าประชาชนทั้งประเทศ สร้างเงื่อนไขให้มวลชนโง่กว่าและล้าหลังกว่าเสมอไป
๔. กระชับอำนาจอยู่ตลอดเวลา ด้วยการสร้างการแข่งขันในหมู่ลูกน้องและผู้ปฏิบัติงาน ใครทำพลาดก็กำจัดออกไป ใครทำดีถูกใจก็ส่งเสริมอย่างไม่ต้องสนใจความรู้สึกของใคร
๕. โฆษณาชวนเชื่ออย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าเนื้องานปัจจุบันไม่มี ก็ไปขุดอดีตมาโฆษณาซ้ำซากจนเกิดความคุ้นชินและไม่กล้าท้าทาย สร้างตัวเองจนเป็น “มาตรฐานแห่งความดี” ของสังคมไทย
๖. คนที่กล้าท้าทาย โดยเฉพาะท้าทายอย่างเปิดเผย ก็เชือดไก่ให้ลิงดู โดยลงโทษอย่างดิบเถื่อน
๗. ไม่ว่าถูกกดดันอย่างไร ผู้นำรัฐบาลตัวจริงจะไม่เผยโฉมหน้าเป็นอันขาด แต่จะแสดงบทเลี่ยงๆ เมื่อถึงคราวจำเป็นให้คนที่ต่ำกว่าตีความเองว่าต้องการอะไรและอย่างไร (หลายครั้งก็ปล่อยให้ตีความผิด) นอกนั้นจะสั่งการผ่านรหัสและใช้ “บ๋อย” เพื่อไม่ให้ใครสาวถึง
๘. ทำความตกลงกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหราชอาณาจักรอยู่เสมอว่าตราบใดที่รัฐบาลตัวจริงรักษาอำนาจได้อย่างมั่น คง ผลประโยชน์ของทั้งสามก็จะเสถียรตามไปด้วย หลักการนี้เรียกกันเล่นๆ ในวงการว่า “I Live, You Live. I die, You die” เอกอัครราชทูตไทยใน ๓ ประเทศนี้จึงถูกคัดเลือกอย่างระมัดระวัง และมักมีงานพิเศษหลังเกษียณเสมอ
ขณะนี้การเมืองถูกบงการเป็นรายวันโดยรัฐบาลตัวจริง “รัฐภายในรัฐ” รัฐบาลเลือกตั้งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็พยายามรักษาตัวเหมือนเนื้อหอยในเปลือกหอย ทำงานอะไรไม่ได้เลย
รัฐบาลเลือกตั้งที่ประชาชนต้องการจริงๆ ก็ถูกกดไว้ ไม่อนุญาตให้ขึ้นมาเป็นทางเลือก เพราะถ้าประชาชนเลือกตั้งรัฐบาลของตัวเองแล้ว รัฐบาลตัวจริงอาจเกิดอนิจจัง ตั้งอยู่ไม่ได้อีกต่อไปในรัฐไทย
เราอาจโทษรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ของฝ่ายประชาธิปไตย เอาเข้าจริงแล้วก็เรื่องขี้หมาทั้งนั้น
ปัญหาคือรัฐบาลตัวจริงที่ใจแคบ เห็นแก่ตัว ทรุดโทรม และอำมหิต
หัวใจของปัญหาการเมืองไทยคือ “รัฐภายในรัฐ”.
***********************************
เรื่อง รัฐภายในรัฐ
โดย จักรภพ เพ็ญแข
นักหนังสือพิมพ์อาวุโส “พญาไม้” ได้กรุณาเขียนถึงผมในคอลัมน์ของท่าน ว่าด้วยวลีหนึ่งที่ผมยกมาพูดคุยกับกลุ่มประชาธิปไตยที่มาฟังกันทั่วโลกเมื่อ วันก่อน ผมจึงคิดว่าควรนำเรื่องนี้มาขยายความให้ชัด เพราะหนามที่ปักอกระบอบประชาธิปไตยไทยมาตลอดนั้น ไม่มีชิ้นไหนใหญ่กว่าชิ้นนี้ และตำอยู่ในใจผู้อาวุโสหลายคนในเมืองไทยอย่างชนิดพูดไม่ออกบอกไม่ถูก
นั่นคือเรื่องของ “รัฐภายในรัฐ”
คำๆ นี้ไม่ได้ปรากฎอยู่ในตำราและงานวิจัยที่ก้าวหน้าในวิชารัฐศาสตร์อย่างเดียว แต่ยังเป็นคำที่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาใช้เรียกสภาวะเมืองไทยในช่วง สงครามเย็นว่า “state within state” ที่แปลออกมาตรงกันว่า รัฐภายในรัฐ นั่นด้วย
ความจริงคนที่ศึกษาการเมืองไทยถึงระดับโครงสร้างและรูปแบบการเมืองการปกครอง ก็รู้เรื่องนี้ทุกคน เรื่องนี้ไม่ใช่ความรู้ใหม่ เพียงแต่เหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ ที่พรรคไทยรักไทยกลายเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลด้วยเสียงข้างมาก ได้คุณทักษิณมาเป็นนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเต็ม จนถึงขั้น “เกย” กับผู้มีอำนาจเดิม ได้กลายเป็นหลักฐานที่จับต้องได้ว่า “รัฐภายในรัฐ” ในราชอาณาจักรไทยนั้นมีตัวตนจริง
หลักฐานนี้ชี้ว่าประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของประเทศนี้อย่างที่โฆษณาชวนเชื่อกัน
“รัฐภายในรัฐ” มีความหมายว่า ภายในประเทศไทยที่เรียกตามศัพท์กฎหมายระหว่างประเทศว่ารัฐไทยนี้ มีรัฐบาลซ้อนกันอยู่ ๒ ชนิดคือ รัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมาตามกระบวนการกับรัฐบาลที่ไม่เคยลงเลือกตั้งและ ไม่เคยสนใจที่จะได้รับเลือกตั้ง
รัฐบาลประเภทหลังประกอบด้วย:
๑. ข้าราชการระดับผู้ใหญ่ทั้งพลเรือนและทหารที่เติบโตมาเรื่อยๆ ในระบบอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจเดิม แล้วผลัดกันสวมอำนาจแบบสมบัติผลัดกันชม จนบางครั้งก็เกิดแก่งแย่งกัน
๒. กลไกการควบคุมรัฐไทยโดยสิ้นเชิง เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพบก การบินไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
๓. ฝ่ายหารายได้ ทั้งจากสมบัติเดิมและสมบัติใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายดูดทุนไม่ว่าจะเป็นทุนเก่าหรือทุนใหม่เข้าสู่ส่วนกลาง
๔. นักวิชาการผู้มีทักษะเฉพาะด้าน โดยเฉพาะวิธีควบคุมบ้านเมืองด้วยกฎหมาย เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญ การซ่อนเงื่อนไขรักษาอำนาจและผลประโยชน์ไว้ในกฎหมายระดับรองลงไป เป็นต้น
๕. ข้อตกลงกับประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและไม่ทับซ้อนในพื้นที่อำนาจของกันและกัน
รัฐบาลประเภทนี้จึงมีทุกอย่างอย่างสมบูรณ์ในการแสวงหาและรักษาอำนาจ ถือเป็นรัฐบาลตัวจริงของราชอาณาจักรนี้
ส่วนรัฐบาลเลือกตั้งเอาไว้เป็นภาพลักษณ์ของประเทศและใส่เป็นหน้ากากบังตัวจริงไว้
อยากได้อะไรก็โทรศัพท์หรือส่งคนมาสั่งรัฐบาลเลือกตั้งเหมือนสั่งพิซซ่า
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงแรกๆ (ตั้งแต่กลุ่ม “เรารักในหลวง” เป็นต้นมา) การแสดงตัวของ “ตุลาการภิวัตน์” คำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นโมฆะ การลอบสังหารนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเลือกตั้งด้วยระเบิดรถยนต์ การรัฐประหาร คปค./คมช. ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ การยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกือบทุกคดี ฯลฯ คือผลงานของรัฐบาลตัวจริงของรัฐไทย
และเป็นเพียงผลงานส่วนหนึ่งเท่านั้น
ไม่มีทางเลยครับที่รัฐบาลเลือกตั้งจะสู้ได้ เพราะนอกจากการจัดตั้งกลไกอำนาจที่อ่อนแอผิดกับรัฐบาลตัวจริงที่ดำรง สภาพอยู่ลับๆ และแข็งแกร่ง รัฐบาลเลือกตั้งยังต้องทำงานและเผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นประจำวัน ใครจะวิจารณ์ด่าว่าอย่างไรก็มาลงที่รัฐบาลเลือกตั้งทั้งหมด
รัฐบาลตัวจริงลอยตัวอยู่เหนือภาวะขึ้นลงของประชามติ ไม่ถูกทดสอบแต่อย่างใดทั้งสิ้น นานๆ ครั้งก็ออกมาทำหน้าที่ “กูรู้” สอนสั่งรัฐบาลเลือกตั้งราวกับลูก
ภารกิจของรัฐบาลตัวจริงผู้เป็น “รัฐภายในรัฐ” ก็ชัดเจนนัก จุดเริ่มต้นคือความไม่ยอมเสียอำนาจและผลประโยชน์ให้กับคู่แข่งสำคัญคือฝ่าย ประชาธิปไตย มาจนถึงหน้าที่หลักไม่กี่อย่างคือ:
๑. สร้างภาพให้ระบบการเมืองเป็นสิ่งเลวร้าย เน่าเสีย จนประชาชนรู้สึกว่าพึ่งพาอาศัยไม่ได้ เช่นตอกย้ำเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เป็นต้น
๒. รัฐบาลประชาธิปไตยต้องดูด้อยความสามารถ ด้อยค่า และสมควรถูกทำลายทิ้ง ถ้ามีค่าและมีกำลังอำนาจขึ้นมา ก็สร้างภาพว่าโกง เป็นเผด็จการ และไม่จงรักภักดี เพื่อกำจัดเสีย
๓. ทำให้ระบบราชการ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของรัฐบาลตัวจริง สูงส่งกว่าประชาชนทั้งประเทศ สร้างเงื่อนไขให้มวลชนโง่กว่าและล้าหลังกว่าเสมอไป
๔. กระชับอำนาจอยู่ตลอดเวลา ด้วยการสร้างการแข่งขันในหมู่ลูกน้องและผู้ปฏิบัติงาน ใครทำพลาดก็กำจัดออกไป ใครทำดีถูกใจก็ส่งเสริมอย่างไม่ต้องสนใจความรู้สึกของใคร
๕. โฆษณาชวนเชื่ออย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าเนื้องานปัจจุบันไม่มี ก็ไปขุดอดีตมาโฆษณาซ้ำซากจนเกิดความคุ้นชินและไม่กล้าท้าทาย สร้างตัวเองจนเป็น “มาตรฐานแห่งความดี” ของสังคมไทย
๖. คนที่กล้าท้าทาย โดยเฉพาะท้าทายอย่างเปิดเผย ก็เชือดไก่ให้ลิงดู โดยลงโทษอย่างดิบเถื่อน
๗. ไม่ว่าถูกกดดันอย่างไร ผู้นำรัฐบาลตัวจริงจะไม่เผยโฉมหน้าเป็นอันขาด แต่จะแสดงบทเลี่ยงๆ เมื่อถึงคราวจำเป็นให้คนที่ต่ำกว่าตีความเองว่าต้องการอะไรและอย่างไร (หลายครั้งก็ปล่อยให้ตีความผิด) นอกนั้นจะสั่งการผ่านรหัสและใช้ “บ๋อย” เพื่อไม่ให้ใครสาวถึง
๘. ทำความตกลงกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหราชอาณาจักรอยู่เสมอว่าตราบใดที่รัฐบาลตัวจริงรักษาอำนาจได้อย่างมั่น คง ผลประโยชน์ของทั้งสามก็จะเสถียรตามไปด้วย หลักการนี้เรียกกันเล่นๆ ในวงการว่า “I Live, You Live. I die, You die” เอกอัครราชทูตไทยใน ๓ ประเทศนี้จึงถูกคัดเลือกอย่างระมัดระวัง และมักมีงานพิเศษหลังเกษียณเสมอ
ขณะนี้การเมืองถูกบงการเป็นรายวันโดยรัฐบาลตัวจริง “รัฐภายในรัฐ” รัฐบาลเลือกตั้งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็พยายามรักษาตัวเหมือนเนื้อหอยในเปลือกหอย ทำงานอะไรไม่ได้เลย
รัฐบาลเลือกตั้งที่ประชาชนต้องการจริงๆ ก็ถูกกดไว้ ไม่อนุญาตให้ขึ้นมาเป็นทางเลือก เพราะถ้าประชาชนเลือกตั้งรัฐบาลของตัวเองแล้ว รัฐบาลตัวจริงอาจเกิดอนิจจัง ตั้งอยู่ไม่ได้อีกต่อไปในรัฐไทย
เราอาจโทษรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ของฝ่ายประชาธิปไตย เอาเข้าจริงแล้วก็เรื่องขี้หมาทั้งนั้น
ปัญหาคือรัฐบาลตัวจริงที่ใจแคบ เห็นแก่ตัว ทรุดโทรม และอำมหิต
หัวใจของปัญหาการเมืองไทยคือ “รัฐภายในรัฐ”.
***********************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น