Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

2 ล้านล้าน ก้าวใหม่ที่ท้าทาย เชื่อมประเทศไทย...เชื่อมโลก

กองบรรณาธิการ ประชาชาติธุรกิจ



เป็นเวลานับ 10 ปีที่ "ประเทศไทย" ไม่ได้มีการลงทุน "ระบบโครงสร้างพื้นฐาน" มารองรับการพัฒนาของประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วถือว่ายังมีสัดส่วนน้อยมากอยู่ที่ 5% ของจีดีพี ทั้งที่สถิติควรจะอยู่ที่ 25% ซึ่งเป็นมาตรฐานดียวกับนานาประเทศทั่วโลก

เปิดปูม "ระบบราง" ไทยยังล้าหลัง

โดยเฉพาะด้าน "ระบบราง" ที่รัฐบาลไทยยังขาดการทุ่มเม็ดเงินพัฒนาโครงการไปมากในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา เพราะส่วนใหญ่จะมุ่งลงทุนไปที่โครงข่าย "ถนน" เป็นด้านหลัก ทำให้คนไทยเสพติด "ถนน" เพื่อการเดินทางและขนส่งสินค้าสูงมากถึง 82.6% มากกว่าทางน้ำอยู่ที่ 15.2% และรถไฟอยู่ที่ 2.2%

ส่งผลกระทบต่อต้นทุน "โลจิสติกส์" ที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น ข้อมูลเชิงสถิติขนส่งทางถนนมีตุ้นทุนอยู่ที่ 1.72 บาท/ตัน/กิโลเมตร สูงกว่ารถไฟอยู่ที่ 0.93 บาท/ตัน/กิโลเมตร และขนส่งทางน้ำอยู่ที่ 0.64 บาท/ตัน/กิโลเมตร ยังไม่นับรวมต้นทุนด้านพลังงานที่สูญเสียไปถึง 700,000 ล้านบาท/ปี จากราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานไม่หยุด

จากปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยเมื่อเทียบกับนานาประเทศทั่วโลกเรารั้งอันดับ 49 ของตาราง

เตรียมความพร้อมรองรับเออีซีปี 2558

ยิ่งไปกว่านั้นทำให้ศักยภาพการแข่งขันลดอย่างต่อเนื่อง หากไม่ทำอะไรเลยนับจากนี้ประเมินกันว่าอาจจะล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะในปี 2558 นี้ "ประเทศไทย" จะเจอคู่แข่งรอบด้านจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

ท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าจนมาถึงยุค "รัฐบาลเพื่อไทย" จึงมีแนวคิดจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ปรับยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เทียบชั้นนานาประเทศได้ จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจครั้งสำคัญของรัฐบาลเพื่อไทยที่จะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพลิกโฉมประเทศใหม่ โดยมีแผนลงทุน 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2556-2563

ในเม็ดเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะมุ่งเน้นการลงทุน "ระบบราง" เป็นหลัก มากกว่า 82% หรือกว่า 1.65 ล้านล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็น "ทางถนน" สัดส่วน 14.47% หรือมากกว่า 2.89 แสนล้านบาทและ "ทางน้ำ" มีสัดส่วน 1.49% หรือมากกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท

เปลี่ยนโหมดขนส่งจากทางสู่ราง

ยุทธศาสตร์เป้าหมายสำคัญก็เพื่อมาเติมโครงข่ายและขยายเส้นทางใหม่ของระบบราง ควบคู่ไปกับส่งเสริมการใช้ทางถนนของประเทศให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วไทย รวมทั้งเปิดประตูบ้านเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค

จากปัจจุบันภาพรวมโครงสร้างพื้นฐานของไทย มีถนน 200,000 กิโลเมตร มอเตอร์เวย์ 313 กิโลเมตร ทางรถไฟกว่า 4,000 กิโลเมตร แต่เป็นทางเดี่ยวหรือรางเดี่ยวถึง 3,700 กิโลเมตร รถไฟฟ้า 4 สาย ระยะทาง 80 กิโลเมตร

เป้าหมายการลงทุนมโหฬารในครั้งนี้คือ เป็นการปรับโหมดการขนส่งจากทางสู่รางและเรือ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า



ปัจจุบันจะพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่ 15.2% เป้าหมายต้องการลดให้เหลือ 13.2% การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดจาก 59% เหลือ 40% ความเร็วรถขนสินค้ารถไฟเพิ่มขึ้นเป็น 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วรถโดยสารเพิ่ม 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มจาก 2.5% เป็น 5% ทางน้ำเพิ่มจาก 12% เป็น 18%

หากแผนลงทุนได้เต็มรูปแบบตามที่กำหนด ประเทศไทยจะสามารถลดความสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี ทีเดียว

ลงทุน 7 ปีพลิกโฉมประเทศไทย

ภาพของประเทศไทยในแผนลงทุน 7 ปีข้างหน้า จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ที่มีจุดเริ่มต้นในวันนี้ ได้แก่ จะมีรถไฟฟ้าเพิ่มจากปัจจุบัน 4 สาย ระยะทาง 80 กิโลเมตร ผู้โดยสาร 9 แสนเที่ยวคน/วัน เพิ่มเป็น 10 สาย ระยะทาง 410 กิโลเมตร ผู้โดยสาร 5.36 ล้านเที่ยวคน/วัน รวมถึงระบบตั๋วร่วมที่จะเชื่อมโยงการเดินทางครบครันด้วยบัตรโดยสารใบเดียว

จะมีโครงการเปลี่ยนรถไฟรางเดี่ยวเป็นรางคู่ จากปัจจุบันมีโครงข่ายรถไฟไทยในพื้นที่ 47 จังหวัด ระยะทางรวม 4,043 กิโลเมตร แยกเป็นทางเดี่ยว 3,685 กิโลเมตร ทางคู่ 358 กิโลเมตร ขบวนวิ่ง 200 เที่ยว/วัน ปริมาณขนส่งสินค้า 11 ล้านตัน/ปี จำนวนผู้โดยสาร 45 ล้านเที่ยวคน/ปี วิ่งด้วยความเร็วเพียง 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง

แผนลงทุนที่กำหนดไว้ คือ จะขยายเส้นทางเพิ่มเป็น 53 จังหวัด โดยเพิ่มระยะทางเป็น 5,097 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้นอีก 2,857 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางเดี่ยว 1,882 กิโลเมตร ทางคู่ 3,215 กิโลเมตร ขบวนวิ่งมากกว่า 800 เที่ยว/วัน ปริมาณขนส่งสินค้ามากกว่า 50 ล้านตัน/ปี จำนวนผู้โดยสารมากกว่า 75 ล้านเที่ยวคน/ปี เมื่อถึงตอนนั้น รถไฟไทยจะวิ่งด้วยความเร็วถึง 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

จิ๊กซอว์ตัวใหม่ บุกเบิกรถไฟความเร็วสูง

โครงการลงทุนที่สำคัญ จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะเริ่มบุกเบิกเส้นทาง "รถไฟความเร็วสูง" ด้วยความเร็วสูงสุด 250-300 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โดย "รัฐบาลเพื่อไทย" มีแผนลงทุนเฟสแรกด้วยเม็ดเงิน 783,229 ล้านบาท พร้อมกับตั้งเป้าภายในอีก 5 ปีนับจากนี้ จะมีรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง เชื่อมโยงหัวเมืองใหญ่ใน 4 ภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เบ็ดเสร็จมีระยะทางรวม 1,806 กิโลเมตร

การลงทุนจะแบ่งเป็น 2 เฟส ในเฟสแรกประกอบด้วย 1.เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร 2.เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 3.เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร และ 4.เส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร

ส่วนเฟสที่ 2 จะมี 3 สายทาง โดยขยายสายเหนือขึ้นไปถึงจังหวัดเชียงใหม่, สายอีสานจากจังหวัดนครราชสีมาไปถึงจังหวัดหนองคาย เชื่อมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในอนาคต และสายใต้จากอำเภอหัวหินไปถึงสุดชายแดนใต้ที่ปาดังเบซาร์ เชื่อมกับประเทศมาเลเซีย

นอกจากนี้ จะมีถนน 4 ช่องจราจรเพิ่ม 45 โครงการ รวมระยะทาง 1,938 กิโลเมตร จากปัจจุบัน 12,877 กิโลงเมตร เพิ่มเป็น 14,815 กิโลเมตร, สร้างทางหลวงเชื่อมต่อด่านการค้าชายแดน 12 โครงการ จากปัจจุบันมีระยะทางรวม 120 กิโลเมตร เพิ่มอีก 12 โครงการรวมเป็น 213 กิโลเมตร รองรับการเชื่อมต่อการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาคอีกจำนวน 175 โครงการ ระยะทางรวม 2,003 กิโลเมตร, โครงการลงทุนขยายมอเตอร์เวย์ใหม่ 3 สายทาง ระยะทางรวม 529 กิโลเมตร มาช่วยย่นระยะการเดินทางได้เร็วกว่าเดิมถึง 39%

แผนลงทุนยังบรรจุโครงการเพิ่มสถานีขนส่งสินค้า 15 แห่งในจังหวัดนิคมอุตสาหกรรมและด่านการค้าชายแดน รองรับเป้าหมายการขนส่งผ่านสถานี 750.16 ล้านตัน/ปี เติมเต็มโครงข่ายถนนท่องเที่ยวชายทะเลสู่ภาคใต้ (รอยัลโคสต์) จากปัจจุบัน 155 กิโลเมตร เพิ่มเป็น 515 กิโลเมตร

เพิ่มมูลค่าที่ดิน-สร้างโอกาสธุรกิจ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ จากการต่อราง-ต่อทางเพิ่ม ไม่ใช่แค่โครงข่ายที่ประเทศไทยจะได้เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางและขนส่งสินคาให้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น หากแต่แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการพัฒนาที่ดินตลอดแนวเส้นทางทั้งระบบรางและถนน ทำให้มีการกระตุ้นการพัฒนาใหม่เกิดขึ้นเพราะเท่ากับเป็นการ "เปิดหน้าดิน" เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยตรง

โดยเฉพาะโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" ที่รัฐบาลเพื่อไทยต้องการจะจุดประกายการพัฒนาโดยรอบสถานีเหมือนกับต้นแบบโมเดลในประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถสร้างผลงานดำเนินการจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ทั้งการพัฒนาเมือง ศูนย์การค้า สร้างรายได้หล่อเลี้ยงโครงการยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้

ยังไม่นับรวมเป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างธุรกิจใหม่และผู้ประกอบการใหม่ ทั้งเอสเอ็มอีและการท่องเที่ยวหรืออื่นๆ อีกมากกมายที่จะตามมานับจาก 5 ปีนี้เป็นต้นไป

ส่วนหน้าตาจะประเทศไทยจะเปลี่ยนไปแบบไหน อย่างไร? รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน จะพลิกโฉมประเทศไทยได้จริงไหม?

มาฟังคำตอบพร้อมกันบนเวทีสัมมนาของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จากกูรูที่รู้จริงเรื่องระบบรางและการสร้างมูลค่าเพิ่มระดับแถวหน้าของเมืองไทย


.................

สัมมนาแห่งปีรถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน

พลิกโฉมประเทศไทย

connectivity = Opportunity


น.ส.พ.ประชาชาติธุรกิจฉลองก้าวขึ้นสู่ปีที่ 37 ด้วยการจัดสัมมนาเรื่อง "รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน พลิกโฉมประเทศไทย Connectivity = Opportunity" โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นองค์ปาฐกพิเศษ พูดเล่าถึงรายละเอียดทั้งหมดของแผนการบริหารดำเนินการเกี่ยวกับระบบรางทั้งหมดของประเทศไทย โดยภาพที่ปรากฏต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่คำพูดที่เป็นตัวอักษรบนกระดาษอีกต่อไป แต่เป็นการตอกย้ำเจตนารมณ์ในการพัฒนาประเทศ และการ "ลงมือ" ปฏิบัติอย่างแท้จริง พิสูจน์ถึงความตั้งใจในการทำงานพัฒนาประเทศ

ขณะเดียวกัน "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รับเกียรติจากกูรูแห่งวงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจปริญญาโทด้านการเงิน จาก Claremont Graduate กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ผู้ยึดครองตำแหน่งแชมป์อันดับ 1 ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศในขณะนี้ โดยบริษัทแสนสิริมีรายได้ทุบสถิติของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) ที่เคยครองแชมป์ก่อนหน้านี้ลงอย่างราบคาบ "เศรษฐา" จะมาตอบโจทย์การลงทุนและพัฒนาด้านอสังหาฯ เมื่อมีรถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน อะไรจะเกิดขึ้นกับวงการนี้

คนต่อมา ศุภลักษณ์ อัมพุช หญิงเหล็กแห่งวงการค้าปลีกไทย เจ้าของรางวัล Leading Women Entrepreneurs of the World เมื่อปี 2549 และเป็นผู้ปลุกปั้นห้างสยามพารากอน จนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท ดิ เอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

เช่นเดียวกัน ศุภลักษณ์ จะมาฉายภาพของ "การค้าขาย" รูปโฉมใหม่ เมื่อรถไฟฟ้า หรือไฮสปีดเทรนไปถึง แน่นอนว่าประเทศไทยต้องพลิกโฉม

ส่วน อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เรียนจบปริญญาโทรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ติดใจงานด้านการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "ต้องยอมรับก่อนว่าโลกเปลี่ยนแปลงและเราต้องปรับตัวให้ได้ นักธุรกิจบางคนที่เคยประสบความสำเร็จ แต่ถ้ายังมีวิธีคิดแบบเดิมๆอยู่อาจจะอยู่ไม่รอด"

อภิสิทธิ์จะกล่าวถึงภาพรวมของการต่อยอดโครงการรถไฟ รถไฟฟ้า และไฮสปีดเทรน ว่าสามารถจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มากกว่าการเป็นพาหนะเดินทางได้อย่างไร

สุดท้าย หนุ่มมาดเซอร์ ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นักศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นจะเป็นตำรวจ แต่ก็เป็นได้เพียงความฝันเพราะไม่อยากขัดใจมารดา

ครั้งนี้ ประภัสร์ มาในบทบาทใหม่ที่ไม่เคยมาก่อน โดยรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการถามปัญหา และซักคำตอบจากวิทยากรทั้งหลาย ด้วยลีลาของผู้รู้เกี่ยวกับระบบรางอย่างแท้จริง

รายการสัมมนามันส์...ส์..ๆ อย่างนี้ ไม่มีที่ไหน นอกจากที่นี่ "ประชาชาติธุรกิจ" มุ่งสู่ปีที่ 37 วันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 13.00 น. ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ สี่แยกราชประสงค์

1 ความคิดเห็น:

  1. บริษัทมิตรแท้ประกันภัย
    สินค้าขายดี ประกันภัยชั้น 3+พรบ ของมิตรแท้ทวีคูณ ราคาประหยัด ซื้อ ป.3 เหมือนได้ พรบ. ฟรีๆ
    1. เก๋ง ในราคา 2,600 บาท
    2. กระบะ ในราคา 3,600 บาท
    3. ตู้ ในราคา 3,800 บาท
    ประกันแนะนำ ชั้น 3 พิเศษใหม่ มี 7 แบบ 4 ราคา (ไม่รวมค่า พรบ.) ดังนี้
    1. ราคา 6,500บาท ซ่อมรถให้ 150,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
    2. ราคา 7,600 บาท ซ่อมรถให้ 150,000 บาท(***พิเศษ***)
    3. ราคา 7,000 บาท ซ่อมรถให้ 250,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
    4. ราคา 8,200บาท ซ่อมรถให้ 200,000 บาท (***พิเศษ***)
    5. ราคา 9,600 บาท ซ่อมรถให้ 250,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 250,000 บาท (***พิเศษ***)
    6. ราคา 7,800 บาท ซ่อมรถให้ 200,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 200,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
    7. ราคา 9,800 บาท ซ่อมรถให้ 300,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 300,000 บาท (***พิเศษ***)

    ***พิเศษ**** กรณีเชียวชนเป็นฝ่ายผิดไม่ต้องเสีย 2,000 บาท
    ความคุ้มครองหลัก
    1.ความรับผิดต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต บุคคลภายนอก 300,000 บาทต่อคน
    2.ส่วนเกิน พรบ. 10,000,000 บาทต่อครั้ง
    3.ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก 1,000,000 บาทต่อครั้ง
    4.อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองสูงสุดถึง 5 ท่านๆล่ะ100,000 บาทต่อคน รวม 500,000 บาทต่อครั้ง
    5.ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองสูงสุดถึง 5 ท่านๆหล่ะ 50,000 บาทต่อคน รวม 250,000 บาทต่อครั้ง
    6.การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา 300,000 บาทต่อครั้ง
    ข้อเสนอพิเศษ
    1. ไม่ต้องถ่ายรูปรถ,ไม่ต้องตรวจสภาพรถ,ไม่จำกัดอายุรถ
    2. คุ้มครองทันทีที่คุณโทรแจ้งประกัน
    **รับสมัครตัวแทนขายด้วยนะค่ะ**
    ถ้าสนใจข้อเสนอนี้ ติดต่อ สุนทรี (แพรว) ทะเบียนเลขที่ 5102006780
    โทร 081-7786141,02-5855588 E-mail: taw-d@msn.com
    ลิ้งค์ เข้ากรอกข้อมูล http://www.nv-insure.com

    ตอบลบ