และนโยบายใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
กระทั่งประชาชนคนไทยต้องบาดเจ็บ-เสียชีวิต นับสิบ-นับร้อยคน ในช่วง “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”
แม้ขณะนี้ “ผู้ได้รับผลกระทบ” และ “ผู้เสียหาย” ยังอาจจะไม่ได้ยิน “คำขอโทษ” จาก “พรรคประชาธิปัตย์” อย่างเป็นทางการ
แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในยุค “รัฐบาลประชาธิปัตย์” ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น “นายกรัฐมนตรี”
เพราะหากย้อนไปครั้งหลังสุดที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ก้าวเข้ามาครอง “อำนาจรัฐ” ก็จะพบว่ามีเหตุการณ์สลายการชุมนุม จนประชาชนต้องสูญเสียหลายต่อหลายครั้ง
“พรรคประชาธิปัตย์” ก็มีเทคนิคมากมาย ในการที่จะไม่ “ยอมรับความผิด” หรือ “แสดงความขอโทษ” ต่อความผิดพลาด ซ้ำร้ายยังพบว่าหลายเหตุการณ์กลับพบว่ามีความพยายาม “โยนบาป” ไปให้ “คนอื่น” ที่แม้คนอื่นคนนั้นจะเป็น “พวกเดียวกัน” เอง
โดยใน “รัฐบาลชวน หลีกภัย” ทั้ง “ชวน 1” (พ.ศ.2535-2538) และ “ชวน 2” (พ.ศ.2540-2544) ก็เกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร-ผู้ใช้แรงงาน-คนยากคนจน อยู่ตลอดเวลา
จน “รัฐบาลชวน” ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “รัฐบาลวัวลืมตีน” เพราะ “นายกรัฐมนตรี” ที่บอกว่าตัวเองมาจาก “ลูกชาวบ้าน-หลานชาวนา” ไต่เต้าจาก “เด็กวัด” สู่เก้าอี้ “นายกรัฐมนตรี” นั้นกลับเป็น “นายกรัฐมนตรี” ผู้มีเรื่องอื้อฉาวที่สุดในการ “ปราบปรามประชาชนคนยาคนจน” (ข้อมูลเพิ่มเติมใน : “เชื้อชั่วไม่มีวันตาย ตำนาน ปชป.เปื้อนเลือด ปราบ ปชช….ไม่เว้นกระทั่งวันพระ” ( http://www.phranakornsarn.com/democrat/1296.html )
ซึ่งไม่เพียง “ประชาชน” เท่านั้นที่ประสบเคราะห์กรรมในยุค “รัฐบาล ชวน หลีกภัย” แต่ “องค์กรภาคประชาชน” ต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง ในเรื่องที่เห็นต่างกับ “รัฐบาล” ก็ถูกกระทำจาก “รัฐบาลชวน หลีกภัย” อย่างเจ็บปวดแสนสาหัส
โดย “รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์” ได้บันทึกเอาไว้ในหนังสือ “เศรษฐกิจการเมือง ยุครัฐบาลชวน หลีกภัย” ของ สำนักพิมพ์ผู้จัดการปี 2538 ในตอนที่ชื่อว่า “นโยบายชำเราอุทยานแห่งชาติ” ซึ่งระบุถึง นโยบายของ “รัฐบาลชวน หลีกภัย” ในการให้ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ประกาศ “เขตท่องเที่ยว” หรือจัดตั้ง “นิคมการท่องเที่ยว” ขึ้นในอุทยานแห่งชาติ โดยนายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นได้ตระเตรียมปูทางให้ ททท.เข้าไปจัดการอุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยว
โดยมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2536 ให้ ททท.สำรวจและกำหนดพื้นที่ที่เป็นสถานท่องเที่ยวและทรัพยากรท่องเที่ยวที่ต้องสงวนไว้เป็นของรัฐ โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และ มติ ครม. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536 ให้ ททท. ประสาน กับกรมป่าไม้ในการกำหนดพื้นที่และสถานที่ที่เป็นสถานท่องเที่ยวและทรัพยากร ท่องเที่ยวที่ต้องสงวนไว้เป็นของรัฐ โดยในการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติคราวต่อไปให้มีการกันพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ด้วยการออกพระราชกฤษฎีกาควบคู่กันไป
จากนั้น “กรมป่าไม้” ก็ออกระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บุคคล ธรรมดาหรือนิติบุคคลเข้าไปประกอบการในเขตอุทยานแห่งชาติโดย (1) การจำ หน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และของที่ระลึก (2) ที่พักอาศัย หรือกิจการอื่นที่จำ เป็นแก่การท่องเที่ยว (3) บริการการนำ เที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งเมื่อพฤติการณ์เด่นชัดขนาดนี้ แรงต่อต้านก็ปรากฏขึ้นอย่างชนิดรุนแรงมาก ทั้งจากนักวิชาการ NGOs และรวมไปถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมป่าไม้เอง
โดยเริ่มจาก “ศูนย์วิจัยป่าไม้” คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามด้วย “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และข้าราชการระดับสูงในกรมป่าไม้
แต่ ททท.ยุคนั้นก็ไม่ละความพยายาม ที่จะยื้อแย่งอำนาจการประกาศ “เขตการท่องเที่ยว” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มาจากกรมป่าไม้ โดยอาศัยพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งยิ่งทำให้กระแสการต่อต้านยิ่งมาก
“เมื่อกลุ่ม NGOs เริ่มประสานเสียงการคัดค้าน อย่างหนักแน่น โดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยและมูลนิธิโลกสีเขียว ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ครั้นในวันที่ 18 ตุลาคม ศกเดียวกัน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศ “ไม่เอาด้วยโว้ย” ในคอลัมน์ “ซอยสวนพลู” ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐรายวัน
แม้ว่านายสาวิตต์ โพธิวิหค จะแสดงความใจกว้างด้วยการพบปะ กับกลุ่ม NGOs ในวันต่อมา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น แต่แรงกดดันทางการเมือง ก็มีมากพอที่จะทำ ให้นายสาวิตต์ต้องประกาศยกเลิกนโยบายการกำหนดเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536
ผู้ที่ติดตามความคืบหน้าของนโยบายการกำหนดเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอดมีข้อกังขามิได้เกี่ยวกับความจริงใจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเกี่ยวกับการดำ เนินนโยบายดังกล่าวนี้ แม้จนบัดนี้ประชาชนยังมิได้รับทราบรายละเอียดของแผนการดำ เนินงานของ ททท. หาก ททท.มีอำนาจการบริหารจัดการเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภายใต้ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
หากรัฐบาลอ้างว่า ททท.จัดทำ แผนการดำ เนินงานยังไม่แล้วเสร็จก็เป็นเรื่องน่าประหลาดยิ่งนักที่ ททท.รีบเร่งในการยื้อแย่งอำนาจจากกรมป่าไม้ ทั้งๆที่ยังไม่มีแผนการดำเนินงานของตนเอง แท้ที่จริงแล้ว มีเหตุผลน่าเชื่อว่า รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบนโยบายการท่องเที่ยวและผู้บริหาร ททท. มีแผนการหลักเกี่ยวกับการจัดการเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่แล้ว เพียงแต่มิได้เปิดเผยต่อสาธารณชนโดยละเอียดเท่านั้น
แผนการหลักดังกล่าวนี้ครอบคลุมเรื่องการให้เอกชนสร้างสถานที่พักและโรงแรม เป็นอย่างน้อย มิฉะนั้น ททท.คงไม่ออกแรงยื้อแย่งอำนาจการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติจากกรมป่าไม้ เพราะจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา สิ่งก่อสร้างในเขตอุทยานแห่งชาติจะต้องยกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 การส่งเสริมให้เอกชนเข้าไปลงทุนในเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จึงเป็นไปได้ยาก เว้นเสียแต่ว่าการกำหนดเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
เมื่อกระแสการคัดค้านนโยบายการกำหนดเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทวีความเข้มข้นขึ้น
ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์พากันดาหน้าออกมาโจมตีกลุ่มผู้คัดค้านในทำนองว่า “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด”
รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบนโยบายการท่องเที่ยวถึงกับกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลมิได้มีแผนที่จะนำ อุทยานแห่งชาติไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะไม่มีการสร้างสนามกอล์ฟไม่มีการปลูกสร้างอาคารในพื้นที่ “ไข่แดง” และจะไม่มีการให้สัมปทานที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติแก่เอกชน
โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 ตุลาคม 2536 รายงานข่าวว่า ก่อนหน้าที่นายสาวิตต์ โพธิวิหค จะพบกับกลุ่ม NGOs ได้เคยให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนว่า อาจจะมีการสร้างรีสอร์ทในอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตด้วยว่า นายเสรี วังส์ไพจิตร รองผู้ว่าการ ททท. ก็ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2536 ว่า ททท.จะประกาศเขตการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ 12 แห่ง และที่ราชพัสดุ 8 แห่ง โดยอาจกันพื้นที่บางส่วนให้เอกชนสร้างโรงแรมและสถานที่พัก (กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 ตุลาคม 2536) ดังนั้น จึงเป็นที่แน่ชัดว่า ททท.มีแผนการที่จะให้สัมปทานแก่เอกชนในการสร้างโรงแรมและสถานที่พักเป็นอย่างน้อย
และด้วยแผนการดังกล่าวนี้ททท. จึงต้องลงทุนยื้อแย่งอำนาจการบริหารจัดการเขตการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจากกรมป่าไม้ หากมิใช่ด้วยแผนการดังกล่าวนี้ ก็ยากที่จะอธิบายได้ว่า เหตุใด ททท. จึงต้องกระโดดเข้สู่วังวนแห่งความขัดแย้งกับกรมป่าไม้โดยไม่จำ เป็น ททท. ลงทุนสร้างวิดีโอเทปเพื่อชี้ให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของกรมป่าไม้ในการดูแลและบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ โดยเสนอตัวเข้าทำ หน้าที่บางส่วนแทนกรมป่าไม้…
… ประชาชนฉลาดพอที่จะแยกแยะระหว่าง “นโยบายที่ประกาศ” (stated policy) กับ “นโยบายที่แท้จริง” (real policy) เมื่อผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ดาหน้าออกมาโจมตีกลุ่มผู้คัดค้านในทำนองว่า “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด” พฤติกรรมในเวลาต่อมาของนักการเมืองเหล่านี้ หากมิใช่ผลประโยชน์ทางธุรกิจอันแน่นหนา ก็เข้าข่าย “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด” ไม่แตกต่างกัน
ในประชาสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ราษฎรย่อมมีสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ไม่ว่าจะฟัง “ได้ศัพท์” หรือไม่ เพราะการ “ฟังไม่ได้ศัพท์” อาจเกิดจากความจงใจของรัฐบาลในการปกปิดและบิดเบือนข่าวสาร นโยบายการกำหนดเขตการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติครั้งนี้ก็เข้าข่ายทำนองนี้
ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ข้อมูลข่าวสารจะไม่สมบูรณ์เท่านั้น หากทว่ายังมีความพยายามที่จะปิดปากข้าราชการอีกด้วย มิไยจะต้องกล่าวถึงการพูดจากลับกลอกของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์คนแล้วคนเล่า”
“รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์” บันทึกเอาไว้ ในช่วงระหว่างที่ ททท.พยายามยื้อแย่งอำนาจจากกรมป่าไม้ เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 เดือน ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชน ที่เห็นว่า ททท. ไม่ควรเปิดอุทยานแห่งชาติ ให้เอกชน ใช้หาประโยชน์ในทางธุรกิจนั้น วาทกรรม “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด” กลายเป็นวาทกรรมหลักที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เอามาใช้ในการตอบโต้กลุ่มต่อต้านนโยบายนี้อย่างเจ็บปวด
โดย “นายอาคม เอ่งฉ้วน” รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้กลุ่มผู้คัดค้านในทำ นองว่า `ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด’ อย่างเผ็ดร้อน
ซึ่ง “รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์” ทิ้งคำถามเอาไว้ในบทความดังกล่าวว่า “ณ วันนี้ อุทยานแห่งชาติรอดพ้นจากการถูกข่มขืนชำ เราครั้งใหญ่ เพียงด้วยพฤติกรรม “ฟังไม่ได้ศัพท์” จับเอาไปกระเดียด” ของประชาชน ในเมื่อประชาชนรู้เห็นเช่นชาติผู้นำรัฐบาลเหล่านี้เสียแล้ว ถึงจะ “ฟังไม่ได้ศัพท์” ก็จะยังคงต้อง “กระเดียด” ต่อไปในอนาคต ข้อที่ราษฎรรอดสงสัยมิได้ก็คือผู้ที่ “ฟังได้ศัพท์” ดังเช่นนายกรัฐมนตรี เหตุไฉนจึงไม่ยอม “กระเดียด” ???”
และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือเมื่อ “สาวิตย์ โพธิวิหค” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี “รัฐบาลชวน หลีกภัย” ที่รับผิดชอบดูแลนโยบายด้านการท่องเที่ยว ประกาศยกเลิก “นโยบายให้ ททท.ประกาศเขตพื้นที่ท่องเที่ยว ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ” หลังประชาชนร่วมกันคัดค้านครั้งใหญ่
“รัฐมนตรีในรัฐบาลชวน หลีกภัย” และ “สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์” ตั้งแต่ “เบอร์ 1” ยัน “เบอร์สุดท้าย” พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “นโยบาย” ดังกล่าว “เป็นนโยบายของรัฐมนตรี” ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลชวน หลีกภัย” หน้าตาเฉย !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น