Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปฏิกิริยา"ปาฐกถา..ปู สะกิดแผล"ปฏิวัติ...91ศพ" ใครเพลี่ยงพล้ำ?

ข่าววิเคราะห์ หน้า 3,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2556



การเดินทางไปเยือนประเทศมองโกเลีย และกล่าวปาฐกถาพิเศษของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา เนื่องในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ได้สร้างความขุ่นเคืองให้กับกลุ่มคนบางกลุ่มในไทยมาตลอดสัปดาห์

ใจความสำคัญที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวปาฐกถาพิเศษ สรุปว่า ประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อประชาชนในชาติ ประชาธิปไตยทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ ทำให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุน และประชาธิปไตยมีความสำคัญกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์

แต่มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่ไม่เชื่อในประชาธิปไตย ยังใช้กำลังบังคับให้คนอยู่ในอำนาจ ยกตัวอย่างครอบครัวของ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกยึดอำนาจ และต่อมาประชาชนได้ต่อสู้และถูกสลายการชุมนุม เป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิต 91 ราย จนได้ประชาธิปไตยกลับคืน จึงอยากให้ทุกคนร่วมกันรักษาประชาธิปไตย

ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่า ดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ต้องเผชิญจะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักรักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆ ไปŽ

หลังจากกล่าวปาฐกถาเสร็จสิ้น ที่ประเทศไทยก็เกิดความเคลื่อนไหว

พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลในช่วงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 ได้ออกมากล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์

กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา ที่รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่ม ส.ว. 58 รักชาติ แถลงข่าวและกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์

กลุ่มเครือข่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ในโลกไซเบอร์ก็ออกมาประณาม น.ส.ยิ่งลักษณ์

กล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ทำลายภาพพจน์ของประเทศ นำเอา

ไฟในŽ ออกไปบอกให้โลกรู้

น่าสังเกตว่า กลุ่มคนที่ออกมาต่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มคนที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ

กลุ่มที่ออกมาเปิดโฉม ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ออกมา

เรียกร้องขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เรียกร้องทวงคืนปราสาทพระวิหาร คัดค้านการนิรโทษกรรม ต่อต้านการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และอื่นๆ ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์นำเสนอ

ปฏิกิริยาหลังการกล่าวปาฐกถาพิเศษของ น.ส.ยิ่งลักษณ์คราวนี้ ตอกย้ำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มพลังการเมือง 2 กลุ่ม

กลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ

กลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ

น่าสังเกตว่า ในกรณีการปาฐกถาพิเศษเรื่องประชาธิปไตยนี้ กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์จำกัดอยู่ในวงของกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นส่วนใหญ่

ขณะที่กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณคงมองเห็นแล้วว่า การเคลื่อนไหวแบบใดที่ทำให้ได้รับแรงหนุนจากมวลชน

ดูเหมือนว่า การเคลื่อนไหวด้วยการสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างจริงจัง จะทำให้รัฐบาลได้รับอานิสงส์อย่างน้อย 2 อย่าง

หนึ่ง คือ จำกัดวงกลุ่มต่อต้านที่ใช้ทุกวิถีทางเพื่อขับไล่รัฐบาล

น่าสังเกตว่า การปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ แม้จะมีกลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณออกมาเคลื่อนไหวคึกคัก แต่กลุ่ม

นักวิชาการกลับวางตัวด้วยความเข้าใจและเห็นเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องร้ายกาจรุนแรงเหมือนดั่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกประณาม

นี่อาจเป็นเพราะกาละและเทศะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงปาฐกถาพิเศษนั้นถูกต้อง

เนื้อความประชาธิปไตยที่นำเสนอก็เป็นเนื้อหาที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

เหตุการณ์ที่นำไปยกเป็นอุทาหรณ์ก็ไม่ได้เป็นความลับ ไม่ได้เป็นความเท็จ

ดังนั้น แม้การนำเอาเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศออกไปกล่าวในเวทีนานาชาติ อาจทำให้กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณขุ่นเคือง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ทุกสายตามองเห็นว่าเกิดขึ้นจริง

สอง คือ การปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ ยังได้ใจมวลชนคนเสื้อแดง ทำให้มวลชนที่เคลื่อนไหวเมื่อพฤษภาคม 2553 ได้รับคำยืนยันว่า รัฐบาลไม่เคยลืมเหยื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนั้น รัฐบาลยังยืนยันในประชาธิปไตย

การประโคมข่าวปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ จึงเป็นคุณต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์และเป็นคุณต่อรัฐบาล

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาคัดค้านปาฐกถาพิเศษของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะถือโอกาสพิมพ์

ปาฐกถาพิเศษนี้ออกแจกจ่ายให้ประชาชนได้อ่าน เพราะฝ่ายรัฐบาลรู้ว่า การตอกย้ำประชาธิปไตยจะทำให้ฝ่ายคัดค้านเพลี่ยงพล้ำ

เพลี่ยงพล้ำเพราะการต่อต้านที่ดาหน้ากันออกมา ไปๆ มาๆ จะกลายเป็นการปกปิดการปฏิวัติ และการใช้กำลังสลายการชุมนุม

กระทั่งกลายเป็นกลุ่มต่อต้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น