Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทเรียน สหรัฐ กรณี "งบประมาณ" สะท้อน ถึงไทย

ที่มา:มติชนรายวัน 5 ต.ค.2556



สิ่งที่ ญาง ปอล ซาตร์ สรุปว่า "นรกอยู่ที่คนอื่น" ไม่เพียงแต่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากกรณีที่พรรครีพับลิกันลงโทษรัฐบาล บารัค โอบามา

ผ่านโครงการ "โอบามา แคร์" เท่านั้น

หากจากกรณีของสหรัฐได้ส่งผลในเชิงเปรียบเทียบโดยอัตโนมัติไปยังการยื่นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ไปยัง "ศาลรัฐธรรมนูญ"

เป็นความพยายามของ "ประชาธิปัตย์"

เป็นความพยายามของ "กลุ่ม 40 ส.ว." เจ้าเก่า

ไม่ว่าในที่สุดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร แต่ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ก็คือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ต้องประกาศและบังคับใช้ช้าออกไป

ทั้งๆ ที่วันที่ 1 ตุลาคม คือจุดเริ่มต้นของ "ปีงบประมาณ"

ฝันร้ายที่จะตามมาอย่างแน่นอนคือ เค้าลางที่ชะตากรรมของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จะต้องเดินไปในทิศทางเดียวกันกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ

นี่คือการเตะ "สกัดขา"



เหตุใดจึงว่ากระบวนการไม่ว่าต่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ไม่ว่าต่อร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท คือรูปธรรมแห่งบทสรุปที่ว่า

"นรกอยู่ที่คนอื่น"

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง การตรวจสอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณกระทำมาแล้วตามหนทางแห่งระบบรัฐสภา

ผ่านวาระ 3 มาอย่างถูกต้อง

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง โอกาสที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศจะต้องผ่านวาระ 3 อย่างแน่นอน

แต่จำเป็นต้องมี "วาระ 4"

กรณีของสหรัฐอเมริกา ภาพสะท้อนความขัดแย้งจากโครงการโอบามา แคร์ ยังอยู่ในกรอบแห่งระบบรัฐสภา

ไม่มี "ศาล" เข้ามาเกี่ยวข้อง

ขณะที่ของเราขั้นตอนแห่ง "อำนาจนิติบัญญัติ" อันอยู่ในวาระ 3 ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นส่วนหนึ่งแห่ง "อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ" เข้ามามีบทบาทเป็น "วาระ 4" อันเสมือนกับว่าอำนาจตุลาการอยู่ในฐานะเหนือกว่าอำนาจอื่น

เหนือกว่า "บริหาร" เหนือกว่า "นิติบัญญัติ"



คําตอบของความสงสัยทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

อันเป็นผลพวงของ "รัฐประหาร"

อันโยงไปยังอีกคำตอบ 1 ซึ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ เป็นรัฐประหารอันมีพื้นฐานมาจากแนวคิดในเรื่อง

"ตุลาการภิวัฒน์"

พื้นฐานของแก่นแกนในทางความคิดก็คือ ให้บทบาทของ "ศาลรัฐธรรมนูญ" เป็นอย่างสูงประหนึ่งจะเป็นป้อมปราการสุดท้าย

ดีกว่าคนอื่น เหนือกว่าคนอื่น

มูลเชื้ออย่างแท้จริงก็คือ ความหวาดระแวงต่อการเมือง ความหวาดระแวงต่อคนในแวดวงเศรษฐกิจ เห็นแต่เพียงคนในศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ยอดเยี่ยม ล้ำเลิศ เป็นคนดีเลิศประเสริฐศรียิ่งกว่าใครในโลกหล้า

เป็นที่มาแห่งแนวคิด "นรก" อยู่ที่ "คนอื่น"

ความขัดแย้ง ความแตกแยก ความปั่นป่วนวุ่นวายอันก่อรูปในห้วงก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 มีมูลฐานมาจากความคิดเช่นนี้

ความคิดเช่นนี้ การเมืองเช่นนี้



จากเดือนกันยายน 2549 มายังเดือนกันยายน 2556 ยืนยันอย่างเด่นชัดในภาวะปั่นป่วนตลอด 7 ปี

เป็น 7 ปีที่อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเผชิญกับความขัดแย้งในทาง

สังคม เป็น 7 ปีที่อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ต้องปะทะกับกระแสหลายกระแสในทางสังคม การเมือง ทวีความแหลมคมเป็นลำดับ

ตกเป็น "เป้า" ทาง "การเมือง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น