เปิดแพ็กเกจประมูลก่อสร้างใน 2 ล้านล้าน "ก่อสร้าง-ระบบรถไฟฟ้า" แยกชัด 533
สัญญา เคาะอีออกชั่นโครงการทางคู่ ถนนสี่เลน มอเตอร์เวย์ ด่านศุลกากร
สถานีขนส่ง ส่วนรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า
ดึงทั่วโลกร่วมประมูล "ชัชชาติ" ตั้งสำนักงานติดตามแผนลงทุน
เปิดทางเอกชนตรวจสอบความโปร่งใส
แหล่ง
ข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า
กระทรวงได้สรุปแผนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการภายใต้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2
ล้านล้านบาทเสร็จแล้ว ในจำนวน 53 โครงการ 533 สัญญา จะมีการประมูล 2
รูปแบบคือ แบบอีออกชั่น (ประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์) และแบบนานาชาติ
แยกการประมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ
งานก่อสร้างงานโยธากับงานระบบรถไฟฟ้าโดยโครงการภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 2
ล้านล้านบาท ในส่วนของรูปแบบการประมูลงานก่อสร้างมี 51 โครงการ
วงเงินก่อสร้างรวม 1,536,188 ล้านบาท แบ่งเป็นประมูลอีออกชั่น 39 โครงการ
วงเงินรวม 730,683 ล้านบาท แบบนานาชาติ 12 โครงการ วงเงินรวม 795,505
ล้านบาทเค้กการรถไฟฯ 1 ล้านล้าน
ราย ละเอียดแต่ละหน่วยงาน คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีจำนวน 28 โครงการ 28 สัญญา วงเงินกว่า 1,010,591 ล้านบาท ตามแผนเริ่มประมูลในปี 2557 เป็นงานประมูลอีออกชั่น 24 โครงการ วงเงิน 430,704 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ 11 โครงการ 11 สัญญา วงเงิน 250,060 ล้านบาท, รถไฟสายใหม่ 3 โครงการ 3 สัญญา วงเงิน 112,016 ล้านบาท, รถไฟชานเมือง 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 45,589 ล้านบาท
นอก จากนี้ มีงานประมูลอื่น ๆ อาทิ ปรับปรุงทาง ราง หมอน อาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม เครื่องกั้น โรงรถจักรแก่งคอย จำนวนรวม 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 23,039 ล้านบาท
ส่วน การประมูลแบบนานาชาติมี 4 โครงการ วงเงิน 579,886 ล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ โดยเฟสแรกคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง
รับเหมาไทยรองาน ทล.-ทช.
การ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบรถไฟฟ้าในเมือง มี 8 โครงการ 8 สัญญา วงเงิน 215,618 ล้านบาท จะเปิดประมูลก่อสร้างแบบนานาชาติทั้งหมด ประมูลในปี 2557 จำนวน 7 สาย และปี 2558 จำนวน 1 สาย
กรม ทางหลวง (ทล.) มีงานประมูล 5 โครงการ 375 สัญญา วงเงิน 227,230 ล้านบาท จะเปิดประมูลอีออกชั่นทั้งหมดในปี 2557 ได้แก่ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 77,970 ล้านบาท, ทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 1 โครงการ 11 สัญญา วงเงิน 13,770 ล้านบาท
โครงการ ขยายถนน 4 ช่องจราจร 1 โครงการ 45 สัญญา วงเงิน 80,610 ล้านบาท, บูรณะทางหลวงสายหลัก 1 โครงการ 236 สัญญา วงเงิน 31,600 ล้านบาท และก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 1 โครงการ 83 สัญญา วงเงิน 23,280 ล้านบาท
กรม ทางหลวงชนบท (ทช.) มีงานประมูล 2 โครงการ 58 สัญญา วงเงิน 27,287 ล้านบาท โดยเปิดประมูลแบบอีออกชั่นทั้งหมดและเริ่มประมูลปี 2557 ได้แก่ โครงการถนนเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน 1 โครงการ 36 สัญญา วงเงิน 23,237 ล้านบาท และถนนรอยัลโคสต์ 1 โครงการ 22 สัญญา วงเงิน 4,050 ล้านบาท
กรมเจ้าท่ารอเคาะ 2.8 หมื่น ล.
กรมการ ขนส่งทางบก (ขบ.) มีงานประมูล 2 โครงการ 16 สัญญา วงเงิน 9,872 ล้านบาท ใช้รูปแบบอีออกชั่น มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า อ.เชียงของ 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 1,954 ล้านบาท ทยอยประมูลปี 2558-2560, โครงการสถานีขนส่งสินค้า 1 โครงการ 15 สัญญา วงเงิน 7,918 ล้านบาท ประมูลปี 2560
กรม เจ้าท่า (จท.) มีงานประมูล 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 28,060 ล้านบาท โดยประมูลแบบอีออกชั่น ได้แก่ งานก่อสร้างท่าเรือ 4 โครงการ 4 สัญญา วงเงิน 17,410 ล้านบาท, ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 10,649 ล้านบาท
สุดท้ายคือ กรมศุลกากร มี 1 โครงการ เป็นงานปรับปรุงด่านศุลกากร จำนวน 41 สัญญา วงเงิน 7,527 ล้านบาท เริ่มดำเนินการปี 2557
รับเหมาเทศรอชิงดำรถไฟฟ้า
แหล่ง ข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนรูปแบบการประมูลงานระบบรถไฟฟ้าจะประมูลแบบนานาชาติทั้งหมด มีจำนวน 16 โครงการ 16 สัญญา วงเงินรวม 297,595 ล้านบาท โดยมี 2 หน่วยงานต้นสังกัดคือ การรถไฟฯ มี 9 โครงการ 9 สัญญา วงเงิน 186,794 ล้านบาท เริ่มประมูลปี 2557 แยกเป็นรถไฟชานเมือง 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 37,554 ล้านบาท กับรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ 4 สัญญา วงเงิน 148,240 ล้านบาท
อีกราย คือ รฟม. มีงานประมูลรถไฟฟ้าในเมือง 7 โครงการ 7 สัญญา วงเงิน 111,800 ล้านบาท เริ่มประมูลปี 2557 ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค), สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ปี 2558 มีสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต), สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี), สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี), สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และปี 2559 มีสายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู)
ชัชชาติดึงคนนอกตรวจสอบ
นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการ 2 ล้านล้านทั้ง 533 สัญญา กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการประมูลก่อสร้างแบบโปร่งใส เช่น การกำหนดราคากลาง วิธีการเปิดประมูล ซึ่งวงเงินระบุใน 2 ล้านล้านเป็นแค่กรอบวงเงินลงทุนเท่านั้น
ทั้ง นี้ กระทรวงคมนาคมจะร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นให้เข้ามาร่วม ตรวจสอบโครงการด้วย และจะมีการตั้งสำนักงานโครงการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนและบริหารโครงการให้ เป็นไปตามกำหนด เริ่มแรกให้ดำเนินการภายใต้กระทรวงคมนาคมก่อน จากนั้นในอนาคตจะเป็นภาพใหญ่หลัง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้แล้ว
เร่งประมูลจบใน 6 เดือน
นาย จุฬา สุขมานพ ผอ.สนข. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า รูปแบบประมูลอีออกชั่นส่วนใหญ่เป็นการเชิญชวนประมูลสำหรับผู้รับเหมาใน ประเทศ ขณะที่รูปแบบนานาชาติจะเป็นโครงการระดับมาตรฐานสากล เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง จะต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมาก่อสร้างให้เพราะเป็นความชำนาญเฉพาะด้าน
ขณะ ที่ขั้นตอนทั้ง 2 รูปแบบ เบ็ดเสร็จใช้เวลาโดยรวมในขั้นตอนดำเนินการประมาณ 6 เดือน สำหรับโครงการที่จะเปิดประมูลในปี 2557 ทุกโครงการคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้างในทันที เพื่อเร่งให้งานก่อสร้างไม่ล่าช้าและทำให้โครงการภาพใหญ่เดินไปตามแผนที่วาง ไว้ โดยจะทยอยประมูลตั้งแต่ปี 2557-2560 และขั้นตอนก่อสร้างจะเริ่มได้ตั้งแต่ปี 2557-2563 หรือให้แล้วเสร็จภายใน 7 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น