ทุกวันนี้ดูเหมือนจะยอมรับกันทั่วโลกเสียแล้วว่า
ระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบอบเศรษฐกิจที่เลวน้อยที่สุดในบรรดาระบอบเศรษฐกิจทั้งหลาย
ที่นักคิดทางการเมืองและนักคิดทางเศรษฐกิจพยายามค้นคิดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
เป็นต้นมา สงครามทางความคิดเรื่องบทบาทของรัฐกับปัจเจกชนซึ่งต่อสู้กันมาเป็นเวลากว่า
100 ปี ก็เป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้พังทลายลง
เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์แพ้ "สงครามอวกาศ" หรือ "Star wars" ในสมัยประธานาธิบดีเรแกนแห่งสหรัฐอเมริกา
และฝ่ายนิยมสหภาพแรงงาน
ซึ่งได้แก่ พรรคแรงงานในอังกฤษ และพรรคสังคมนิยมอื่น ๆ ในประเทศยุโรปตะวันออก
พ่ายแพ้แก่นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์ แห่งสหราชอาณาจักร
ที่ทำการต่อสู้กับสหภาพแรงงานเหมืองถ่านหิน
ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่และเข้มแข็งที่สุดในประเทศอังกฤษ
สาเหตุที่คำทำนายของ คาร์ล มาร์กซ์ ไม่เป็นความจริง กล่าวคือ ระบบทุนนิยมนั้นเป็นระบบที่ทำลายตัวเอง เพราะการขูดรีดของชนชั้นนายทุนซึ่งมีจำนวนน้อย กับชนชั้นกรรรมาชีพซึ่งมีจำนวนมาก ทำให้นายทุนสามารถกดค่าแรงไว้ในระดับที่ต่ำเท่าที่จะประทังชีวิตอยู่ได้เท่านั้น
สมมติฐานนี้ก็ไม่เป็นความจริงเมื่อเกิดมีสหภาพแรงงานขึ้นในยุโรป
สหภาพแรงงาน ทำให้กรรมกรสามารถต่อรองกับนายทุนผ่านทางสหภาพแรงงานได้
สหภาพแรงงานเติบใหญ่โตขึ้นจนสามารถตั้งพรรคการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลได้
อีกทั้งสมมติฐานที่ว่า ถ้าค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นเมื่อไหร่ ชนชั้นกรรมาชีพก็จะมีลูกมากขึ้น การที่ชนชั้นกรรมาชีพมีลูกมากขึ้นทำให้จำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าแรงก็จะไม่สูงขึ้นตามอุปสงค์อุปทานของตลาดแรงงานก็ไม่จริง เมื่อสังคมร่ำรวย มีการศึกษามากขึ้น การวางแผนครอบครัวก็เป็นที่แพร่หลาย ไม่ได้ผูกขาดอยู่แต่เฉพาะชนชั้นนายทุนเท่านั้น ค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงเมื่อคิดในรูปข้าวของสินค้าก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนนายทุนต้องออกไปหาแหล่งลงทุนใหม่ ๆ นอกประเทศที่ยังมีสัดส่วนของแรงงานต่อทุนมากกว่าประเทศของตน อันเป็นเหตุให้การพัฒนาได้กระจายตัวออกไปจากภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง จนกระทั่งครอบคลุมไปทั่วโลก ในที่สุดแม้ว่าในขบวนการดังกล่าวจะมีประชาชนบางส่วน "ตกรถ" ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ก็เป็นส่วนน้อยไม่ใช่ส่วนใหญ่
แม้แต่สิ่งที่เคยพูดว่าระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย อย่างเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ยุโรป อังกฤษแบบพรรคกรรมกร ซึ่งยังให้ความสำคัญกับบทบาทของ "รัฐ" ในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาล บัดนี้ก็ดูจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากการสนทนาโต้เถียงกัน ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ ประเทศที่เป็นที่ยกเว้นเห็นจะเป็นสหรัฐอเมริกา หัวหน้าค่าย "ทุนนิยม" เสียเองที่กำลังต่อสู้กันอยู่ในเรื่องสวัสดิการของรัฐในเรื่อง "การรักษาพยาบาล" เพราะรัฐบาลประธานาธิบดี
โอบามากำลังต่อสู้ที่จะจัดโครงการ "สุขภาพดีถ้วนหน้า" โดยการออกกฎหมายให้คนอเมริกันทุกคนต้อง "ประกันสุขภาพ" ไม่ของเอกชนก็ของรัฐบาล
ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่ารักษาพยาบาลในอเมริกันแพงมาก ที่แพงมากก็เพราะคนไข้อเมริกันชอบฟ้องแพทย์และพยาบาลเรียกค่าเสียหายมาก ๆ อยู่เสมอ หมอและพยาบาลก็ต้องซื้อประกัน ค่าประกันหมอก็แพงมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่าบริการรักษาพยาบาลที่อเมริกาก็เลยแพง ที่ยุโรปก็แพง แต่ยุโรปเขาบังคับให้ทุกคนประกันสุขภาพมานานแล้ว
คนอเมริกันและยุโรปหลาย ๆ คนบินมารักษาที่เมืองไทย อยู่พักผ่อนเที่ยวเล่นจนหาย บินกลับแล้วค่อยไปเบิกค่าพยาบาลรักษาที่บ้าน คิดรวมหมดแล้วยังถูกกว่า คุณภาพดีกว่า บริการดีกว่า
อีกทั้งสมมติฐานที่ว่า ถ้าค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นเมื่อไหร่ ชนชั้นกรรมาชีพก็จะมีลูกมากขึ้น การที่ชนชั้นกรรมาชีพมีลูกมากขึ้นทำให้จำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าแรงก็จะไม่สูงขึ้นตามอุปสงค์อุปทานของตลาดแรงงานก็ไม่จริง เมื่อสังคมร่ำรวย มีการศึกษามากขึ้น การวางแผนครอบครัวก็เป็นที่แพร่หลาย ไม่ได้ผูกขาดอยู่แต่เฉพาะชนชั้นนายทุนเท่านั้น ค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงเมื่อคิดในรูปข้าวของสินค้าก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนนายทุนต้องออกไปหาแหล่งลงทุนใหม่ ๆ นอกประเทศที่ยังมีสัดส่วนของแรงงานต่อทุนมากกว่าประเทศของตน อันเป็นเหตุให้การพัฒนาได้กระจายตัวออกไปจากภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง จนกระทั่งครอบคลุมไปทั่วโลก ในที่สุดแม้ว่าในขบวนการดังกล่าวจะมีประชาชนบางส่วน "ตกรถ" ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ก็เป็นส่วนน้อยไม่ใช่ส่วนใหญ่
แม้แต่สิ่งที่เคยพูดว่าระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย อย่างเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ยุโรป อังกฤษแบบพรรคกรรมกร ซึ่งยังให้ความสำคัญกับบทบาทของ "รัฐ" ในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาล บัดนี้ก็ดูจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากการสนทนาโต้เถียงกัน ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ ประเทศที่เป็นที่ยกเว้นเห็นจะเป็นสหรัฐอเมริกา หัวหน้าค่าย "ทุนนิยม" เสียเองที่กำลังต่อสู้กันอยู่ในเรื่องสวัสดิการของรัฐในเรื่อง "การรักษาพยาบาล" เพราะรัฐบาลประธานาธิบดี
โอบามากำลังต่อสู้ที่จะจัดโครงการ "สุขภาพดีถ้วนหน้า" โดยการออกกฎหมายให้คนอเมริกันทุกคนต้อง "ประกันสุขภาพ" ไม่ของเอกชนก็ของรัฐบาล
ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่ารักษาพยาบาลในอเมริกันแพงมาก ที่แพงมากก็เพราะคนไข้อเมริกันชอบฟ้องแพทย์และพยาบาลเรียกค่าเสียหายมาก ๆ อยู่เสมอ หมอและพยาบาลก็ต้องซื้อประกัน ค่าประกันหมอก็แพงมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่าบริการรักษาพยาบาลที่อเมริกาก็เลยแพง ที่ยุโรปก็แพง แต่ยุโรปเขาบังคับให้ทุกคนประกันสุขภาพมานานแล้ว
คนอเมริกันและยุโรปหลาย ๆ คนบินมารักษาที่เมืองไทย อยู่พักผ่อนเที่ยวเล่นจนหาย บินกลับแล้วค่อยไปเบิกค่าพยาบาลรักษาที่บ้าน คิดรวมหมดแล้วยังถูกกว่า คุณภาพดีกว่า บริการดีกว่า
คนที่มีฐานะดีในอเมริกาซึ่งส่วนมากนิยมพรรครีพับลิกัน
และสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากบริการของเอกชนได้จึงคัดค้าน ทั้ง ๆ
ที่มีน้ำหนักน้อย
อย่างที่เป็นข่าวอยู่ในสภาล่างของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน โดยเหตุที่ข้อเสียหรือจุดอ่อนของระบอบ "ทุนนิยม" ถูกแก้ไขได้เพราะระบอบทุนนิยมนั้นอยู่คู่กับระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย มิได้เป็นระบอบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพแบบคอมมิวนิสต์" ในขณะเดียวกัน ข้อดีของระบอบทุนนิยมก็ได้รับการสนับสนุน เช่น ประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงาน ประสิทธิภาพของตลาด ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร เพราะมีการแข่งขัน รวมทั้งโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ ทำให้เทคโนโลยีหรือวิทยาการ
การผลิตใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อการอยู่รอด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดถ้าหน่วยผลิตเป็นของ "รัฐ" หรือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดอย่างเต็มที่ ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจึงมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายได้ต่อหัวของประชากรก็สูงขึ้น มีสินค้าและบริการให้ประชาชนในประเทศได้อุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ
แต่อันตรายของระบอบทุนนิยมในหลายเรื่องก็ยังมีอยู่ เช่น นายทุนก็จะมุ่งแต่จะแข่งขันแสวงหากำไร ทำลายทรัพยากรของชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลอง มลพิษ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย รวมทั้งทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของชาวบ้าน ซึ่งสร้างขึ้นตามวิถีชีวิตแบบเดิมที่อาศัยเศรษฐกิจการเกษตรดั้งเดิม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ศิลปะพื้นบ้าน รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและคุณค่าของสังคมที่ไม่ใช่ตัวเงิน
ขณะนี้ก็เกิดแนวความคิดเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อสังคมของนายทุน" หรือที่ชอบเรียกกันว่า CSR หรือ Corporate Social Responsibility ทำโดยกลุ่มเอ็นจีโอ หรือหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐในยุโรป ตามด้วยอเมริกา ทำการต่อสู้เรียกร้องและคัดค้านข้อที่เป็นจุดเสียของระบอบทุนนิยม
กลุ่มนี้มีหลายสมาคม หลาย ๆ หน่วยงาน แต่ทั้งหมดพยายามรณรงค์ให้ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อบทบาทของนายทุนในการขูดรีดแรงงาน การทำลายสิ่งแวดล้อม การทำให้โลกร้อน การรักษาพันธุ์สัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ การทรมานสัตว์ และอื่น ๆ
ในทางการเมือง เมื่อชนชั้นนายทุนสามารถเอาชนะชนชั้นศักดินา สามารถสถาปนาระบอบการปกครอง "ประชาธิปไตย" ขึ้น ก็จะเกิดการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับประชาชน ซึ่งควรจะเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตยแต่ยังไม่เป็น จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทุนนิยมสามานย์" ซึ่งเป็นระบอบการปกครองของโลกในปัจจุบัน
ในทางเศรษฐกิจ ระบบการผลิตก็จะอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน มิได้อยู่ในมือหรืออิทธิพลของผู้บริโภค ตามปรัชญาเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ในระบบเศรษฐกิจเสรีนั้นอำนาจอธิปไตยเป็นของผู้บริโภค หรือ Consumer Sovereignty ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ กระแสการต่อสู้จึงเกิดขึ้น เป็นกระแสการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับผู้บริโภค ไม่ใช่นายทุนกับผู้ใช้แรงงานอีกต่อไปแล้ว เพราะปัญหาการต่อสู้ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับนายทุนสงบแล้ว หลังชัยชนะของนายกรัฐมนตรีหญิงมาร์กาเรต แทตเชอร์
กระแสทุนนิยม "New Capitalism" หรือ "ทุนนิยมที่บรรลุ" "Enlightened Capitalism" กำลังเกิดขึ้น กล่าวคือ ทุนนิยมหรือนายทุนหรือกิจการของบริษัทจะสำเร็จอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีกลุ่มที่สามารถสร้างกระแสให้ผู้บริโภคไม่ซื้อหรือไม่ยอมรับสินค้า หรือบริการที่ผู้ผลิตไม่รับผิดชอบต่อสังคมได้ และกระแสที่ว่านี้เข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ กระแสที่ว่านี้พยายามสถาปนาอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคให้ปรากฏเป็นจริงให้มากขึ้นเรื่อย ๆ คล้ายกับขบวนการประชาธิปไตยที่พยายามจะสถาปนาอำนาจประชาธิปไตยให้เป็นของประชาชนให้เป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมืองไทยของเราก็คงจะได้เห็นการเกิดขึ้นของกระแสทั้ง 2 กระแสอย่างแจ้งชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะหลีกเลี่ยงก็คงจะเป็นไปได้ยาก
บริษัท ห้างร้าน และนายทุนที่ต้องพึ่งตลาดในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ได้ตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อคนอย่างมาก และถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ จะได้ราคาสูงกว่าสินค้าปกติ และคุ้มกับการปฏิบัติตามค่านิยมนี้
ส่วนชนชั้นปกครองของเราจะเห็นกระแสเช่นว่านี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ ถ้าไม่เห็นก็ควรจะพยายามเห็นและปรับตัวอย่างพวกนายทุนเสีย สังคมและบ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย เป็นผลดีกับทุกฝ่าย อย่างไรเสียก็คงหนีไม่พ้นสองกระแสนี้
อย่างที่เป็นข่าวอยู่ในสภาล่างของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน โดยเหตุที่ข้อเสียหรือจุดอ่อนของระบอบ "ทุนนิยม" ถูกแก้ไขได้เพราะระบอบทุนนิยมนั้นอยู่คู่กับระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย มิได้เป็นระบอบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพแบบคอมมิวนิสต์" ในขณะเดียวกัน ข้อดีของระบอบทุนนิยมก็ได้รับการสนับสนุน เช่น ประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงาน ประสิทธิภาพของตลาด ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร เพราะมีการแข่งขัน รวมทั้งโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ ทำให้เทคโนโลยีหรือวิทยาการ
การผลิตใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อการอยู่รอด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดถ้าหน่วยผลิตเป็นของ "รัฐ" หรือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดอย่างเต็มที่ ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจึงมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายได้ต่อหัวของประชากรก็สูงขึ้น มีสินค้าและบริการให้ประชาชนในประเทศได้อุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ
แต่อันตรายของระบอบทุนนิยมในหลายเรื่องก็ยังมีอยู่ เช่น นายทุนก็จะมุ่งแต่จะแข่งขันแสวงหากำไร ทำลายทรัพยากรของชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลอง มลพิษ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย รวมทั้งทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของชาวบ้าน ซึ่งสร้างขึ้นตามวิถีชีวิตแบบเดิมที่อาศัยเศรษฐกิจการเกษตรดั้งเดิม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ศิลปะพื้นบ้าน รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและคุณค่าของสังคมที่ไม่ใช่ตัวเงิน
ขณะนี้ก็เกิดแนวความคิดเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อสังคมของนายทุน" หรือที่ชอบเรียกกันว่า CSR หรือ Corporate Social Responsibility ทำโดยกลุ่มเอ็นจีโอ หรือหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐในยุโรป ตามด้วยอเมริกา ทำการต่อสู้เรียกร้องและคัดค้านข้อที่เป็นจุดเสียของระบอบทุนนิยม
กลุ่มนี้มีหลายสมาคม หลาย ๆ หน่วยงาน แต่ทั้งหมดพยายามรณรงค์ให้ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อบทบาทของนายทุนในการขูดรีดแรงงาน การทำลายสิ่งแวดล้อม การทำให้โลกร้อน การรักษาพันธุ์สัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ การทรมานสัตว์ และอื่น ๆ
ในทางการเมือง เมื่อชนชั้นนายทุนสามารถเอาชนะชนชั้นศักดินา สามารถสถาปนาระบอบการปกครอง "ประชาธิปไตย" ขึ้น ก็จะเกิดการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับประชาชน ซึ่งควรจะเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตยแต่ยังไม่เป็น จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทุนนิยมสามานย์" ซึ่งเป็นระบอบการปกครองของโลกในปัจจุบัน
ในทางเศรษฐกิจ ระบบการผลิตก็จะอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน มิได้อยู่ในมือหรืออิทธิพลของผู้บริโภค ตามปรัชญาเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ในระบบเศรษฐกิจเสรีนั้นอำนาจอธิปไตยเป็นของผู้บริโภค หรือ Consumer Sovereignty ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ กระแสการต่อสู้จึงเกิดขึ้น เป็นกระแสการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับผู้บริโภค ไม่ใช่นายทุนกับผู้ใช้แรงงานอีกต่อไปแล้ว เพราะปัญหาการต่อสู้ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับนายทุนสงบแล้ว หลังชัยชนะของนายกรัฐมนตรีหญิงมาร์กาเรต แทตเชอร์
กระแสทุนนิยม "New Capitalism" หรือ "ทุนนิยมที่บรรลุ" "Enlightened Capitalism" กำลังเกิดขึ้น กล่าวคือ ทุนนิยมหรือนายทุนหรือกิจการของบริษัทจะสำเร็จอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีกลุ่มที่สามารถสร้างกระแสให้ผู้บริโภคไม่ซื้อหรือไม่ยอมรับสินค้า หรือบริการที่ผู้ผลิตไม่รับผิดชอบต่อสังคมได้ และกระแสที่ว่านี้เข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ กระแสที่ว่านี้พยายามสถาปนาอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคให้ปรากฏเป็นจริงให้มากขึ้นเรื่อย ๆ คล้ายกับขบวนการประชาธิปไตยที่พยายามจะสถาปนาอำนาจประชาธิปไตยให้เป็นของประชาชนให้เป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมืองไทยของเราก็คงจะได้เห็นการเกิดขึ้นของกระแสทั้ง 2 กระแสอย่างแจ้งชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะหลีกเลี่ยงก็คงจะเป็นไปได้ยาก
บริษัท ห้างร้าน และนายทุนที่ต้องพึ่งตลาดในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ได้ตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อคนอย่างมาก และถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ จะได้ราคาสูงกว่าสินค้าปกติ และคุ้มกับการปฏิบัติตามค่านิยมนี้
ส่วนชนชั้นปกครองของเราจะเห็นกระแสเช่นว่านี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ ถ้าไม่เห็นก็ควรจะพยายามเห็นและปรับตัวอย่างพวกนายทุนเสีย สังคมและบ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย เป็นผลดีกับทุกฝ่าย อย่างไรเสียก็คงหนีไม่พ้นสองกระแสนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น