โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
ข้อมูลจาก Thai E-News
ตามที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงปาฐกถาความตอนหนึ่งว่า "ถ้าย้อนไปดูประวัติศาสตร์ฮิ ตเลอร์ยังได้เป็นผู้นำที่ได้ มาจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งได้ พรรคพวกมาในสภาก็ได้แก้ ไขกฎหมายเพื่อรักษาอำนาจของตั วเอง ในที่สุดผู้นำเสียงข้างมากก็ นำพาเยอรมันไปสู่หายนะก็คื อประเทศเยอรมัน" {1} ข้อความนี้ไม่สอดคล้องกั บความจริง
แม้ฮิตเลอร์จะมาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นการเลือกตั้งที่โกงมา รวมทั้งการทำลายคู่แข่ง และที่สำคัญไม่ได้ชนะด้วยเสี ยงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2476 ฮิตเลอร์ได้คะแนนเสียง 44% ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และแม้ฮิตเลอร์จะชนะการเลือกตั ้งใน 33 จาก 35 เขตเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่โดยเสียงส่วนใหญ่อยู่ดี {2} ดังนั้นการที่ฮิตเลอร์ นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามจึงไม่ ใช่มติของชาวเยอรมันส่วนใหญ่
บางคนเข้าใจว่าคนส่วนน้อยเห็ นได้ถูกต้องกว่าคนส่วนใหญ่ เช่น คดี Perry v. Schwarzenegger ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิ พากษาไปเมื่อ 4 สิงหาคม 2553 ว่า ผลการลงประชามติของชาวมลรัฐแคลิ ฟอร์เนีย เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2551 ที่มีมติห้ามคนเพศเดียวกั นสมรสกันนั้น ขัดต่อหลักความเสมอภาคและขัดต่ อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา คำพิพากษานี้ดูประหนึ่งว่ าศาลตัดสินไปในทางที่ขัดต่อมติ มหาชน (Anti-Majoritarian Decision) คล้ายกับว่า "เมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที ่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่ แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ ผิดให้เสียงข้างมากรับรู้ไว้” {3}
ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิด ความจริงก็คือประชามติ ของชาวมลรัฐหนึ่งจะไปขัดกับรั ฐธรรมนูญของทั้งประเทศ (ซึ่งมาจากฉันทามติของคนทั้ งประเทศ) ย่อมไม่ได้อยู่แล้ว ประชามติของคนกลุ่มย่อยเช่นนี้ ย่อมไม่มีผล เช่น ชาวฮาวายจะลงประชามติ แยกออกจากสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้ หรือกรณีมติของคณะโจรว่ าจะไปปล้นบ้านไหน ชุมชนไหน ย่อมใช้ไม่ได้เพราะโจรไม่ใช่ คนส่วนใหญ่ในสังคม
อย่างไรก็ตาม หากมีการลงประชามติกันทั่ วประเทศห้ามการแต่ งงานของคนเพศเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ต้องแก้ กฎหมายตามเสียงส่วนใหญ่ ผู้พิพากษาก็คงไม่อยู่ในวิสั ยที่จะออกมาพูดเป็นอื่นในที่ สาธารณะหรือมาตัดสินเป็นอื่นได้ ดังนั้นมันจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะกล่าวว่าศาล (ผู้พิพากษาไม่กี่คน) ซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยก็มี หน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้ างมากไม่ได้
เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนั้ นเป็น
สัจธรรม (แต่กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้น ในกรณีศิลปวิทยาการ
เช่นจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์ ก็ต้องถามผู้รู้ เป็นต้น) ทั้งนี้ยกเว้นกรณีถู กโฆษณาชวนเชื่อ หรืองมงายเอง ซึ่งไม่ใช่พบเห็นแต่ในหมู่ปุถุ ชน แม้แต่อาจารย์ระดับดอกเตอร์ชื่ อดังยังหลงคารมเปรตกู้มาแล้ว หรือกรณีพวกคุณหญิงคุณนาย นายทหารใหญ่ ๆ ก็ไปหลงเคารพอลัชชี เป็นต้น
ยิ่งกว่านั้นนายวสันต์ยังกล่ าวว่า "เยอรมันจึงมีศาลรัฐธรรมนู ญและมีอำนาจมาก และมีบทบัญญัติพิทักษ์รัฐธรรมนู ญสำหรับประชาชน" การที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมี เกียรติภูมิสูงนั้นเป็ นเพราะสภาเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิ พากษาที่สมัครเข้ามาตามคุณสมบั ติที่กำหนด {4} แต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญของไทย กลับแตกต่างกัน โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 204 ระบุที่มาของตุลาการศาลรั ฐธรรมนูญว่าเป็นผู้พิ พากษาในศาลฎีกา 3 คน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับเลื อกโดยวิธีลงคะแนนลับ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องอื่ นอีก 2 คน {5}
อีกประเด็นหนึ่งที่พึงวิพากษ์ การแสดงปาฐกถาของนายวสันต์ก็คือ ความไม่สมควรในวิจารณ์หรือเหน็ บแนมการเมืองในฐานะที่เป็นตุ ลาการ ทั้งนี้ตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องจริยธรรมตุลาการศาลรั ฐธรรมนูญ ระบุว่าตุลาการต้อง "ระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็ นต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณชนในเรื ่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ เสนอหรืออาจจะเสนอให้ศาลรั ฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย" {6}
นอกจากนั้นในประมวลจริยธรรมขาราชกา
รตุลาการยังระบุว่า "ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน
หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน
ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิ บัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา" {7} ดังนั้นการแสดงปาฐกถาครั้งนี้ซึ ่งพาดพิงถึงบุคคลและพรรคการเมื องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จึงไม่ควรทำ เว้นแต่จะลาออกจากสถานะตุลาการ
หากผู้เป็นตุลาการออกมาพู ดการเมือง จะถูกติเตียนว่าเอนเอียงได้ ส่งผลต่อความเชื่อมั่ นของประชาชน โดยผลจากการสำรวจเมื่อปี 2554 {4} พบ
ว่าประชาชนส่วนใหญ่ (57%) ไม่เชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 37.62
ไม่ค่อยเชื่อมั่น ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น)
และมีส่วนน้อยที่เชื่อมั่น เหตุผลที่ไม่เชื่อมั่นก็เพราะ “เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็ นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน” {8}
ผู้เขียนเป็นห่วงใยต่อความมั่ นคงของสถาบันตุลาการจึ งแสดงความเห็นข้างต้นมาด้ วยความเคารพและด้วยความบริสุทธิ ์ใจ
อ้างอิง
{1} ข่าว "ปธ.ศาลรธน. ชี้ เสียงข้างมากหากยึดติดอำนาจ ประเทศจะหายนะ" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 5 เมษายน2556 ณ www.thairath.co.th/content/ pol/337042
{2} การเลือกตั้งในเยอรมนี German federal election, March 1933. http://en.wikipedia.org/wiki/ German_federal_election,_ March_1933
{3} กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิ บัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกั นกับสิ่งที่ต่างกัน ปรกติ 28 กันยายน 2554 www.manager.co.th/daily/ ViewNews.aspx?NewsID= 9540000123483
{4} ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีwww.mpil.de/shared/data/pdf/ constguarantjudindep_germany. pdf หน้า 276 และจากเว็บไซต์ของศาลดังกล่าว ณwww.bundesverfassungsgericht. de/en/organization/ organization.html
{5} ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญwww.constitutionalcourt.or.th/ index.php?option=com_content& view=article&id=151&Itemid=82& lang=thindex.php
{6} ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง จริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2548) http://www. constitutionalcourt.or.th/ index.php?option=com_docman& task=cat_view&gid=175&Itemid= 101&lang=th และ พ.ศ.2555 ณ www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2555/A/106/40.PDF
{7} ประมวลจริยธรรมขาราชการตุลาการhttp://elib.coj.go.th/Article/ copy%20of%20judge.pdf
{8} ดุสิตโพลคนกรุง 37.62% ไม่เชื่อศาล รธน.-“วสันต์”แนะตั้ง ส.ส.ร.แก้ รธน. ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2554 18:51 น. www.manager.co.th/Politics/ Viewnews.aspx?NewsID=954000010 3816
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น