Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ใครบ้างต้องการกษัตริย์พระองค์ใหม่

ข้อมูลจาก Thai E-News 

:คำถามต่อคนหนุ่มสาวทั้งที่รักเจ้า และไม่เอาเจ้า



 เราจำเป็นต้องนำสถาบันกษัตริย์มาทดสอบตนเองในระบอบประชาธิปไตย

ถอดความโดย ระยิบ เผ่ามโน จากเรื่อง Who wants a new king? ของMichiel Bles ใน (RNW)


เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๓๐ เมษายน นี้ วิลเล็ม อเล็กซานเดอร์ แห่งราชวงศ์ออเร้นจ์ จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อสมเด็จพระมารดา ราชินีบีอาทริกทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติ อันจะมีพิธีเฉลิมฉลองกันขนานใหญ่ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าร่วมในการนี้


ต่อไปนี้เป็นคำถาม ๕ ข้อ ต่อผู้ที่เป็นตัวแทนของสองฝ่าย กลุ่มรักเจ้า และกลุ่มไม่เอาเจ้า


มาร์ติน แวน เบโคเว็น วัย ๓๕ ปี เป็นประธานของ สมาคมออเร้นจ์กลุ่มรักเจ้าแห่งเนเธอร์แลนด์ ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่เอี่ยม ซึ่งมีความนิยมในสถาบันกษัตริย์อย่างแม่นมั่น เขากล่าวว่า “ราชวงศ์ดั๊ทช์เป็นหน้าเป็นตาของเนเธอร์แลนด์ในต่างประเทศ ทำให้เกิดการเคารพศรัทธาได้มากกว่าประธานาธิบดี” 

กิ้จส์ เพ็สเก็นส์ ๒๗ ปี เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มรีพับลิกัน ฝ่ายไม่เอาเจ้า ซึ่งหมกมุ่นกับการจัดงานรายการต่างๆ เพื่อต่อต้านสถาบันกษัตริย์ เขาลงข้อความในหน้าเว็บhetis2013 ของเขาตอนหนึ่งว่า“ราชาธิปไตยจงพินาจ” 




ต่อคำถามว่า “คุณจะทำอะไรในวันที่ ๓๐ เมษายน นี้”
มาร์ติน :“เรา จัดเป็นเทศกาลดนตรีครั้งใหญ่ขึ้นในตำบลของเรา ผมดูแลเรื่องผังรายการ และวงดนตรี มันจะเป็นรายการตามประเพณีสำหรับทุกๆ คน มีทั้งการละเล่น และอาหาร ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมแบบราชวงศ์ออเร้นจ์ ผมจะไม่สวมมงกุฏจำลองหรอกนะ แต่จะสวมเสื้อสีส้มเป็นสัญญลักษณ์”
กิ้จส์ :“เราจะไปชุมนุมต่อต้านกัน ที่จตุรัสวอเตอร์ลูในอัมสเตอดัม มีคนจำนวนมากกว่า ๑ พันลงชื่อเข้าร่วมแล้ว และในช่วงก่อนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน เราจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นมากมายเกี่ยวกับการที่จะแสดงความเห็น อย่างสร้างสรรค์กันอย่างไรในเรื่องนี้ พวกฝ่ายศิลป์ก็จัดทำแผ่นป้ายกัน มีทั้งการเขียนสีบนร่างกาย มีนักกฏหมายคอยให้คำแนะนำถึงสิทธิที่แท้จริงของเรามีอย่างไร แม้จะทำการประท้วงกันภายนอกบริเวณของทางราชการ ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดขาวเพื่อแสดงการต่อต้าน สีขาวเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่กำหนดว่าอะไรเป็นอะไร สำหรับเราหมายถึงอนาคตของราชวงศ์ที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปอย่างไร ด้วยเหตุว่าสรรพสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง”
“แล้วทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญต่อคุณนัก”

มาร์ติน :“ใน ตำบลของเราไม่เคยมีอะไรให้ทำในวัน ควีนส์เดย์ ของพระราชินี  พวกคนหนุ่มสาวมักจะไปเที่ยวกันตามเมืองใหญ่ๆ เราจึงจัดงานสังสรรค์ขึ้นสำหรับพวกเราเอง เราต้องการแสดงให้เห็นจริงๆ ในความรู้สึกที่เป็นความสามัคคี ความรู้สึกแบบออเร้นจ์ เราภาคภูมิในเนเธอร์แลนด์ และก็เป็นเรื่องดีที่จะเฉลิมฉลองกัน”

กิ้จส์ :“เรา ต้องการให้มีการถกปัญหาสถาบันกษัตริย์กันขึ้น มันล่าช้าล่วงเลยมานานเกินไปแล้ว มันไม่ถูกต้องถ้าเราไม่สามารถตัดสินอย่างใดๆ ในประมุขแห่งรัฐของเราได้ สิทธิพิเศษเพื่อปกป้องคุ้มครองนั้นไม่ควรมีอีกต่อไปแล้วในเวลานี้ ผู้นำควรที่จะตรวจสอบได้ และได้รับเลือกตามคุณสมบัติ มิใช่จากภูมิหลังของครอบครัว”
“คุณหวังอะไรจากกษัตริย์ และราชินีองค์ใหม่”
มา ร์ติน :“ผมคิดว่าทั้งสองพระองค์จะไม่ทรงติดยึดกับแบบแผนประเพณีเก่าๆ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวันสำคัญแห่งชาติ คิงสเดย์ ของเราจะไม่เป็นแบบโบราณเหมือนวัน ควีนสเดย์ ที่มีแต่การเล่นวิ่งกระสอบ และ สปิจเกอร์โพเป็น (แปลตรงตัวได้ว่า อึตะปู) ผมหวังว่าคนหนุ่มสาวจะเข้ามาร่วมกันมากขึ้น และทำให้เป็นการฉลองแบบทันสมัย”
กิ้จส์ :“โอ เค วิลเล็ม อเล็กซานเดอร์ทรงทันสมัยมากกว่าพระราชมารดา แต่ถ้าจะให้เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ทรงควรที่จะตรัสว่า “บัดนี้ข้าพเจ้าได้เข้าดำรงตำแหน่งแล้ว มาทำประชามติกันในเรื่องอนาคตของราชวงศ์เสียเถอะ” บนหน้าเว็บของเรามี  ข้อเรียกร้อง ให้ แก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการทำประชามติ ในขณะนี้สามารถทำประชามติได้ทุกเรื่องในเนเธอร์แลนด์ ยกเว้นเรื่องสถาบันกษัตริย์ เราคิดว่านั่นเป็นสิ่งเหลวไหล”
“คุณคิดอย่างไรกับคนที่มีความเห็นตรงข้ามกับคุณอย่างที่สุด”
มาร์ติน :“มัน เป็นเรื่องของความคิดเห็นนะ ผมคิดว่าราชวงศ์เป็นหน้าเป็นตาของเนเธอร์แลนด์ในต่างประเทศ ราชวงศ์สร้างความเคารพศรัทธาได้มากกว่าประธานาธิบดี ผมรู้จักกับคนเยอรมันจำนวนมาก พวกเขาคลั่งไคล้ราชวงศ์ออเร้นจ์กันมากทีเดียว เหมือนกับฟุตบอลน่ะ เราอิจฉาเยอรมันเพราะเขาเป็นแชมเปี้ยนฟุตบอลบ่อยเหลือเกิน แต่คนเยแรมันก็อิจฉาเราที่มีราชวงศ์”
กิ้จส์ :“อย่าง นั้นก็ดีละถ้ามันจะทำให้นาวาของคุณลอยล่องได้ แต่ก็ต้องเปิดตาของคุณต่อความเป็นจริง ว่าอะไรมันจะดีขึ้นได้อย่างไรกันแน่ เราจำเป็นต้องนำสถาบันกษัตริย์มาทดสอบตนเองในระบอบประชาธิปไตย
“คุณอยากจะบอกอะไรกับฝ่ายตรงข้ามของคุณ”
มาร์ติน :“ก็ ดูสิว่าจะมีอะไรทางเลือกถ้ากำจัดสถาบันกษัตริย์ออกไปเสียแล้ว มันไม่สำคัญหรอกว่าเรามีกษัตริย์ หรือประธานาธิบดี ถึงอย่างไรก็มีเพียงบุคคลคนเดียวที่เป็นตัวแทนของประเทศชาติ”
กิ้จส์ :“มาร่วมลงชื่อกับข้อเรียกร้องของเราสิ แม้ว่าคุณจะเป็นฝ่าย โปร (สนับสนุน) เพราะเหตุว่านี่มันเป็นปี ค.ศ. ๒๐๑๓ นะครับ”

1 ความคิดเห็น: