Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

มติพท.ชี้ศาลรธน.ไม่มีอำนาจรับพิจารณาแก้ไขรธน.ม.68–เลื่อนวาระนิรโทษกรรม

ข้อมูล ประชาไท



ชี้ “ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการรับพิจารณาเรื่องนี้” กรณีรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 พรรคเพื่อไทย เห็นชอบและสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ ส.ส. วรชัย เหมะ และขอให้มีการพิจารณาเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมาในการประชุม 18 เม.ย.นี้

มติร่วมที่ประชุม

คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค คณะกรรมการประสานภารกิจ และที่ประชุม ส.ส.พรรค

 
………………………………

1)  กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  ที่ประชุมเห็นว่า...

1.   รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ

     มาตรา 291 ...

                   ”ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการรับพิจารณาเรื่องนี้”

รัฐสภาจึงไม่ต้องดำเนินการตามศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

2.   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก จะร่วมกันออกคำแถลงการณ์ชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน   ถึงเหตุผลในการคัดค้านการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังดำเนินการกันอยู่ในรัฐสภาปัจจุบัน              

3.   สมาชิกรัฐสภาที่ร่วมกันพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอยู่ในขณะนี้ จะร่วมกันหารือเพื่อหาทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างถูกต้อง และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

4.   วันที่ 18 เม.ย.นี้ เวลา 09.30 น. รัฐสภาจะเปิดประชุมเพื่อลงมติในระเบียบวาระที่ยังค้างอยู่ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีการเสนอญัตติให้มีการแปรญัตติเป็นเวลา 60 วัน  แต่ไม่ครบองค์ประชุม

แต่เพื่อให้การดำเนินการในรัฐสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  พรรคจึงสนับสนุนให้มีการพิจารณาระเบียบวาระดังกล่าวใหม่  เพื่อให้กระบวนการต่างๆ ในรัฐสภาเกิดความเรียบร้อยต่อไป

2)  การพิจารณาข้อเสนอเลื่อนระเบียบวาระการพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม

ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยในระดับต่างๆ ได้พิจารณาอย่างกว้างขวางรอบคอบ ทั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์

พรรค / คณะกรรมการประสานภารกิจ / และที่ประชุม ส.ส.พรรค มีมติเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้

              “พรรคมีมติ เห็นชอบ และสนับสนุน

                  ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ ส.ส. วรชัย เหมะ

                  และขอให้มีการพิจารณาเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมา เป็นวาระแรก

                  เพื่อสามารถพิจารณาให้ทันการเปิดสมัยประชุมหน้า

                  โดยให้มีการพิจารณาเลื่อนระเบียบวาระ ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่ 18 เม.ย.นี้”


     ทั้งนี้ เห็นว่า ควรยึดหลักการที่จะช่วยนิรโทษกรรม และช่วยเหลือประชาชนทุกฝ่ายก่อน โดยยังไม่พิจารณา   นิรโทษกรรมแกนนำของทุกฝ่ายในขณะนี้ แต่จะนำเรื่องการนิรโทษกรรมแกนนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนอีกครั้ง อย่างรอบคอบ ในโอกาสต่อไปในอนาค       

17 เมษายน 2556
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายบวร ยสินทร กับคณะ ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.65 ว่า ประธานรัฐสภากับพะวก 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  แต่ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการชั่วคราว รวมทั้งเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับคำร้อง นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กรณีขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 ว่า “นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ กระทำการที่ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้ อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย การตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือไม่”
 
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ถูกร้องที่ 1 กับคณะ 11 คน และพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 12 กระทำการร่วมกันใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยศาลเห็นว่าคำร้องไม่ปรากฏว่ามีการกระทำฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง ดังนั้นคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินย่อมตกไปด้วย
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น