17
มี.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์จัดอภิปรายทางวิชาการว่าด้วย
“ศาลกับความยุติธรรมในสังคมไทย” โดยช่วงหนึ่งเป็นการอภิปรายเรื่อง “ศาลในฐานะกลไกของระบอบ...?” Red Power นำบางส่วนมานำเสนอผู้อ่านซึ่งเป็นช่วงที่อภิปรายโดย
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดังต่อไปนี้
เป้าหมายในวันนี้อยู่ที่ผู้พิพากษาที่มีปัญหาในทางอุดมการณ์ในการใช้และตีความกฎหมายว่าขัดหลักประชาธิปไตยหรือไม่
ปัญหาสำคัญของการใช้และตีความ ม.112 ว่าทำไมเกิดแนวตีความแบบนี้
ทำไมพิพากษาแบบนี้ โดยเฉพาะหลัง 19 ก.ย. 49 อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ศาลมีบทบาททางการเมืองมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าจะตอบคำถามนี้ต้องมองย้อนไปในอดีต
มองภาพรวมการศึกษากฎหมายทั้งระบบ
บทบาทศาลหลัง 19 กันยา จะพบคำพิพากษา/คำวินิจฉัยจำนวนหนึ่งทุกระบบศาลที่ถูกวิจารณ์แบบไม่เคยเป็นมาก่อน
ทำไมเป็นเช่นนั้น ไทยผ่านรัฐประหารหลายครั้งแต่ไม่มีครั้งใดที่กระบวนการยุติธรรมเชื่อมโยงกับรัฐประหารเหมือนกับ19
ก.ย. เพราะโลกเปลี่ยนไป การใช้กำลังทหารอย่างเดียวไม่อาจบรรลุผลและเป็นที่ยอมรับได้
องค์กรที่ทรงอำนาจอย่างศาลจึงต้องรับภารกิจ ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงเชิงอำนาจ
ศาลอ้างว่าคณะรัฐประหารยึดอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลจึงต้องตัดสินคดีไปตามนั้น แต่เมื่อคณะรัฐประหารหมออำนาจ
ศาลสามารถปฏิเสธกฎหมายของคณะรัฐประหารได้แต่ก็ไม่ทำ
เป็นปัญหาระดับอุดมการณ์ในวงการกฎหมาย
วิชาชีพกฎหมาย โดยเฉพาะในหมู่ผู้พิพากษาตุลาการ ในช่วงปฏิวัติ 2475 มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร แต่อำนาจตุลาการแทบไม่ถูกแตะต้อง
ระบอบใหม่รับโครงสร้างตุลาการเดิมมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับประชาธิปไตย
ทำไมไม่มีคนสนใจ เพราะบทบาทศาลจำกัดอยู่ที่การตัดสินข้อคดีระหว่างเอกชน
ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน ศาลจึงไม่ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง
เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากในวงการกฎหมาย การวิจารณ์ศาลเกรงจะเป็นการดูหมิ่น ศาลจะอ้างว่าตัดสินในพระปรมาภิไธย
ทำให้เข้าใจผิดว่านี่คือการตัดสินของพระมหากษัตริย์
มีเหตุผลทางวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในผู้พิพากษาตุลาการ ในคำร้องหรือคำฟ้องของทนายที่ยื่นต่อศาลจะมีคำลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด” ซึ่งเป็นคำที่รับต่อๆมา การให้ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่อง“แล้วแต่จะโปรด”
สิ่งนี้ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนในวงการตุลาการ ควรเปลี่ยนเป็น “จึงเรียนมาเพื่อพิพากษาไปตามกฎหมายและความยุติธรรม”
ศาลเป็นเพียงองค์กรหนึ่งที่ใช้อำนาจของประชาชน ถ้าประชาชนไม่ให้อำนาจ
ศาลก็จะไม่มีสิทธิตัดสินคดี
แต่ความรู้สึกเช่นนี้ไม่เป็นที่ตระหนักในหมู่ผู้พิพากษา
ในอดีตคนที่สอนกฎหมายมักคือผู้พิพากษา ซึ่งถ่ายทอดทรรศนะ
วิธีคิด แบบตุลาการเป็นใหญ่มาสู่วงวิชาการ จากรู่นสู่รุ่น เมื่อมีการวิจารณ์ศาลหรือผู้พิพากษา
ก็จะถูกมองว่าไม่มีครู เป็นคนเนรคุณ เขาไม่เข้าใจสภาพการใช้อำนาจว่าเป็นการกล่อมเกลาลงไปในสำนึกของคน
เวลาพูดว่าศาลตัดสินไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ทำไมไม่ตีความแบบนี้ คำวิจารณ์ล้วนมีเหตุผลแต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแนวทางของการใช้กฎหมายของผู้พิพากษา
ตราบเท่าที่อุดมการณ์ที่กำกับใช้กฎหมายและตีความกฎหมายแบบนี้ยังอยู่ ข้อเรียกร้องแก้ไข ม. 112 เป็นแค่การบรรเทาปัญหานี้ลง
แม้แต่ข้อเรียกร้องยกเลิก เพราะหากอุดมการณ์การตีความกฎหมายไม่เปลี่ยน ศาลถูกกำกับด้วยอุดมการณ์ชนิดใดก็จะใช้และย่อมตีความกฎหมายเพื่อรับใช้อุดมการณ์ชนิดนั้น
การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะไม่ใช่แค่เปลี่ยนโครงสร้างกฎหมาย แต่ต้องทำให้อุดมการณ์ประชาธิปไตยฝังลงในสำนึกของผู้ใช้และผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
มิฉะนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้และตีความกฎหมายได้
บางคนบอกว่าไม่ใช่แค่ปัญหาเชิงอุดมการณ์แต่เป็นเรื่องความรู้ความสามารถของผู้พิพากษาตุลาการด้วย
มีวิธีคิดว่าผู้พิพากษาตุลาการเป็นชนชั้นบริสุทธิ์ ไม่ควรถูกตรวจสอบโดยคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย
อดีตผู้พิพากษาที่เป็นกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่าผู้พิพากษาตุลาการเกือบจะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบ คล้ายอดีตนายทหารคนหนึ่งที่ร่วมรัฐประหาร 49 เมื่อจะมีการตรวจสอบทรัพย์สิน
ก็บอกว่า จะมาตรวจสอบอะไร ท่านเป็นวีรบุรุษ
นี่คือวีธีคิดของคนในโครงสร้างปัจจุบัน
แล้วจะออกจากโครงสร้างแบบนี้อย่างไร การพยายามแก้ไขกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญแต่ยังไม่เพียงพอ
การเปลี่ยนความคิด วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้
เปลี่ยนให้ผู้พิพากษามีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพหลักนิติรัฐ
เคารพกฎหมายที่ยุติธรรม เขาก็สามารถใช้ศิลปะตีความและใช้กฎหมายเพื่ออำนวยความยุตํธรรมให้ประชาชนได้แม้กฎหมายอาจจะบกพร่อง
แต่ถ้าเปลี่ยนสิ่งนี้ไม่ได้แม้ กฎหมายจะดียังไงก็ตาม
เขาก็สามารถใช้กฎหมายไปในทางที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยและนิติรัฐได้
ระยะยาวต้องแก้ที่อุดมการณ์ เปลี่ยนโครงสร้างองค์กรตุลาการให้ยึดโยงประชาชน
ให้รู้สึกว่าอำนาจที่ใช้เป็นอำนาจของประชาชน
เมื่อนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กร
มีการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในองค์กร คนรุ่นใหม่ๆ ก็จะซึมซาบวิธีแบบใหม่
มีความคิดรับใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย รับใช้นิติรัฐ
ในแวดวงนิติศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์กับประชาชนร่วมกัน” เมื่อมีรัฐประหาร
อำนาจอธิปไตยจะกลับคืนสู่กษัตริย์เพียงคนเดียวทันที ทฤษฎีนี้มีพลังครอบงำ
ทำให้อุดมการณ์การใช้และตีความกฎหมายไทยเป็นอย่างที่เห็น
การถอดรื้ออุดมการณ์เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าต้องการประชาธิปไตย
ให้ผู้พิพากษาเกาะเกี่ยวราษฎร และตัดสินคดีตามกรอบประชาธิปไตย เราไม่มีทางเลือกอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น