Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

สาวไส้ ปชป. แฉเบื้องหลังปั่นกระแส พระวิหาร …พรรค-มี-ปม !!

บทความจาก นครสาส์น
 


ชาญวิทย์ เกษตรศิริอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ ประชาชาติธุรกิจเอาไว้เมื่อ 4 ก.พ.2556 โดยในตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ มีการวิเคราะห์ถึงประวัติศาสตร์ของ พรรคประชาธิปัตย์อย่างน่าสนใจ
ขอนำบทสัมภาษณ์ส่วนนั้น มาเผยแพร่อีกครั้ง
ดร.ชาญวิทย์ ยังฉายภาพการเมืองในอดีตของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ผูกมัดให้พรรคประชาธิปัตย์ในยุคปัจจุบันต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เอาจริงเอาจังกับการสู้คดีในศาลโลกว่า เป็นเพราะคนระดับตำนานของพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน คือ ควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวข้องกับความพ่ายแพ้บนศาลโลก เมื่อปี 2505


ควง คือส่วนหนึ่งของการยึดดินแดนเสียมราฐและพระตะบอง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม เพราะควงเป็นลูกของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้าย ก่อนยกดินแดนให้กับฝรั่งเศส ทำให้เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์ยอมไม่ได้ และถ้ายอมก็แปลว่าเป็นความผิดของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ตอน พ.ศ. 2505 ทำหน้าที่เป็นทนายความ เขาบอกคนไทยว่าจะชนะ 500 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ถึงที่มา-ที่ไปทั้งหมด เกิดขึ้นในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมแถบอินโดจีน ยึดฝ่ายซ้ายของไทย คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ในปัจจุบันให้เป็น อินโดจีนฝรั่งเศส

วันหนึ่งในปีรัตนโกสินทร์ศก 112 ชาติฝรั่งเศสส่งเรือรบ 2 ลำ ฝ่าป้อมพระจุลที่เมืองปากน้ำ หันปากกระบอกปืนขู่จะยิง วังหลวงพร้อมทั้งส่งกองกำลังทหารยึดเมืองจันทบุรีและเมืองด่านซ้าย (จ.เลย) ไว้ในครอบครอง

จนกระทั่ง พ.ศ. 2450 รัชกาลที่ 5 จึงได้ยินยอมลงนามสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ยกดินแดนเสียมเรียบ พระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส เพื่อให้คืนเมืองจันทบุรีในปี 2447 รวมถึงแลกตราดและด่านซ้ายกลับคืนมา

ซึ่งในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้มีการปักปันเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมปักปันฝ่ายฝรั่งเศส นำโดย พันตรีแบร์นาร์ดขณะที่ ฝ่ายสยามส่งบุคคลระดับพระน้ำพระยาเข้าเป็นคณะกรรมการ เช่น พลตรีหม่อมชาติเดชอุดมกับพลเอกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์

ต่อมาฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งขีดเส้นตัวปราสาทพระวิหารว่าเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชาให้แก่ฝ่ายสยาม แต่ยังไม่ทันที่แผนที่ดังกล่าวได้รับการรับรอง คณะกรรมการดังกล่าวกลับสลายตัวไปก่อนที่แผนที่ชุดดังกล่าวจะจัดพิมพ์เสร็จ การปักปันเขตแดนจึงยังเป็นเรื่อง ค้างคา

แม้การปักปันเขตแดนยังไม่จบสิ้นอย่างเป็นทางการ แต่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นอภิรัฐมนตรีในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงขออนุญาตฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ เพื่อขึ้นไปทอดพระเนตรปราสาทพระวิหาร ที่อยู่ภายใต้ธงฝรั่งเศส จึงเท่ากับเป็นการยอมรับว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสแล้ว

 

สถานการณ์ล่วงเลยถึงยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กระทั่งการเมืองเข้าสู่ยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2482 มีการชูลัทธิ ชาตินิยมเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยาม เป็นประเทศไทย พร้อมกับจุดกระแสเรียกร้องดินแดน มณฑลบูรพาและ ดินแดนฝ่ายซ้ายของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส

ชนวนดังกล่าวก่อให้เกิดการรบพุ่งระหว่างฝรั่งเศสกับไทย ในปี พ.ศ. 2483 อันเป็นเวลาเดียวกับที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มปะทุในสมรภูมิยุโรป

ฝรั่งเศสเวลานั้นอยู่ในสภาพสะบักสะบอม เพราะถูกเยอรมนีภายใต้การนำของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยกทัพนาซีเข้ายึดครองกรุงปารีสได้สำเร็จ

ขณะที่ไทยก็ฉวยโอกาสส่งกองกำลังทหารรุกข้ามพรมแดนไปยังกัมพูชาและลาว ในวันที่ 5 มกราคม 2483 สุดท้ายสงครามยุติลงด้วยการไกล่เกลี่ยของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 มกราคม ปีเดียวกัน

โดยฝรั่งเศสและไทยลงนามสงบศึกในสนธิสัญญาโตกิโอ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืน คือเสียมเรียบ จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชาคืน จากฝรั่งเศส

รัฐบาลจอมพล ป.นำดินแดนที่ได้รับคืนมาแบ่งเป็น 4 จังหวัด คือจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง

แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ญี่ปุ่นกลายเป็นฝ่ายปราชัย พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วน จอมพล ป.ถูกจับข้อหาเป็นอาชญากรสงคราม ทำให้รัฐบาล ปรีดี พนมยงค์ที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงหลังสงครามยุติ ได้คืนดินแดนที่รัฐบาลจอมพล ป.ยึดมาทั้งหมดคืนให้แก่ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาวอชิงตัน เพื่อแลกกับไทยไม่ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม

แต่การเมืองไทยพลิกผันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารภายใต้การนำของ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณได้ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์พร้อมกับเชิญ ควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

แม้ไทยจะคืนดินแดนและตัวปราสาทพระวิหารคืนให้แก่ฝรั่งเศสไปตั้งแต่รัฐบาลปรีดีเข้าบริหารประเทศ แต่หลังการยึดอำนาจ 2490 รัฐบาล ควงและ พล.ท.ผิณได้ลักลอบส่งทหารไทยขึ้นไปปักธงชาติไทยอยู่ในบริเวณดังกล่าวอีกครั้ง

6 ปีต่อมาหลังจากฝรั่งเศสคืนเอกราชให้กัมพูชา ในปี 2496 “พระเจ้านโรดมสีหนุก็ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ในปี พ.ศ. 2502 ให้ตีความว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาหรือไทย

ที่สุดศาลโลกมีมติ 9 ต่อ 3 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เป็นปฐมบทของข้อพิพาทไทย-กัมพูชา อันกินเวลามา 51 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น