Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง ชายชุดดำ VS พลซุ่มยิงนก

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 374 วันที่ 25 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 หน้า 18 -19 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน



ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุ ระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถาน ที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นอันตรายต่อประชา ชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิ บัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marks manship) ที่มีขีดความสามารถ เพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอก จากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้

เอกสารข้อ 2.5 ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จากทั้งหมด 5 แผ่นที่ประทับตรา ลับโดยระบุถึง สยก.ศอฉ. ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130” เรื่องขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่ลงวันที่ 17 เมษายน 2553 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ.

ไม่มีสไนเปอร์?

เอกสารของ ศอฉ. ที่ประทับตรา ลับที่มีการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตหลายเว็บไซต์นั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ. ทบ.) ยอมรับว่าเป็นเอกสารจริง แต่ปฏิเสธเรื่องสไนเปอร์ว่าเป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังตอบคำถามถึงกระสุนที่มีการเบิกจ่ายว่า กระสุนที่เบิกเมื่อเหลือก็จะส่งคืน นอกนั้นใช้ฝึกหัดและจำหน่ายต่อไป ไม่ใช่เบิกไป 3,000 นัด ยิงไป 300 นัด ขาดไป 2,700 นัด แล้วต้องมีคนตาย 2,700 คน ถามว่าคนตายอยู่ที่ไหน มีใครบอกว่าทหารเอาปืนไปยิงคน สื่อไปเอามาจากไหน ต้องไปถามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เพราะถามลูกน้องแล้วเขาบอกว่า ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง

เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการใช้ สไนเปอร์มีเพียง พลแม่นปืน ระวังป้องกันที่ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่า นี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง

โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 พ.ต.ท.สม ชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอฉ. ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2553 จนเสร็จสิ้นปฏิบัติการ ปรากฏว่ามีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้ไป 117,923 นัด ในจำนวนนี้มีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด ส่วนกระสุนซ้อมเบิกเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด ซึ่งเป็นการยืนยันว่าทหารที่ใช้ปฏิบัติการช่วงเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 มีการเบิกจ่ายกระสุนจริง รวมถึงมีการใช้กระสุนซุ่มยิง

ใบสั่งฆ่า?

ไม่ว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี จะอ้างเหตุผลและความจำเป็นในการใช้อาวุธอย่างไรก็ตาม แต่ในเอกสารที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้รวมถึงขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper)” ก็ถูกตั้งคำถามว่าไม่ต่างอะไรกับ ใบสั่งฆ่าหรือไม่?

โดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาเปิดเผยผลการสอบสวนคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่าการเสียชีวิตของประชาชนเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่าให้ทุกอย่างเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม แต่ก็ไม่ต้องการให้ออกมาพูดหากคดียังไม่สิ้นสุด รวมถึงการขอร้องผ่านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับการสอบสวนคดี 98 ศพ ซึ่งดีเอสไอทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้เสียหาย พยานในที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดหรือพลซุ่มยิง 1 นายเข้าให้ปากคำ

ขณะที่ศาลอาญามีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ชาวยโสธร ที่ถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภใกล้แอร์พอร์ตลิงค์ จุดประจำการของทหาร หลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พฤษ ภาคม ต่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยจะเรียกนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ขณะนั้น เข้าเบิกความต่อศาลตามคำร้องขอของทนายความญาติผู้ตายกลางเดือนกันยายน ซึ่งนายสุเทพระบุว่าเป็นการเรียกในฐานะพยานฝ่ายทนายโจทก์ ไม่ใช่จำเลย ซึ่งมีความพยายามจะโยนความผิดให้ตนกับนายอภิสิทธิ์ ทั้งที่ไม่เคยสั่งการให้ฆ่าประชาชน

ถ้าต้องติดคุกเพราะเราตั้งใจดีต่อบ้านเมืองก็ให้มันรู้ไป แต่ยอมรับว่าตอนนี้กำลังเข้าสู่การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่โดยคนชนะ แต่ไม่มีใครลบความจริงได้ เพราะประชาชนเห็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งประ เทศ มีหลักฐานมากมาย แต่ขณะนี้มีความพยายามไม่พูดถึงชายชุดดำ แต่เป็นเรื่องที่เราต้องพูด ถ้าดีเอสไอจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเอาใจรัฐบาลและ ร.ต.อ.เฉลิม ผมก็จะดำเนินคดีกับดีเอสไอนายสุเทพกล่าวและยืนยันว่าไม่กลัวติดคุก

รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ได้รายงานสรุปความรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งมีความหนาถึง 932 หน้า ถือเป็นเสียงสะท้อนและมุมมองของประชา ชนที่ตกเป็นเหยื่ออย่างแท้จริง โดยระบุว่าการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ระหว่างวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ถือเป็นการปราบปรามประชาชนที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังทหารของฝ่ายรัฐที่มีการระดมกำลังกว่า 60,000 นาย และใช้กระสุนจริงกว่า 117,923 นัด ในจำนวนนี้เป็นกระสุนซุ่มยิงกว่า 2,000 นัด ในแง่ของความสูญเสียต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิตถึง 94 ราย ในจำนวนนี้เป็นพลเรือน 77 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย อาสา กู้ชีพ/พยาบาล 5 ราย ผู้สื่อข่าว 2 ราย และผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 2,000 ราย

ยุทธวิธีต่างๆที่รัฐใช้ในเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าขอคืนพื้นที่และ กระ ชับวงล้อมแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนจริงเกือบ 120,000 นัด การใช้กำลังปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมทุกด้าน การใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงจากที่สูง การซุ่มยิงบนรางรถไฟฟ้าเข้าไปยังวัดปทุมวนาราม แต่เป็นความตั้งใจใช้ปฏิบัติการสงครามในเมืองเพื่อสลายการชุมนุมปราบปรามขบวนการคนเสื้อแดง ไม่ใช่เพื่อการเจรจา แต่เพื่อทำลาย ประการสำคัญ ยุทธการ กระชับวงล้อมราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม หลายวันก่อนที่การเจรจาจะถูกล้มลงเสียอีก

บทนำในรายงานที่เขียนโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังตำหนิคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ไม่กล้าชี้ว่าใครคือผู้กระทำความผิด

ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตของรัฐ ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่กล้าออกมาประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว ซ้ำร้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 รายงานของ กสม. ระบุว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนทั่วไปที่ดำเนินการตามมาตรการที่ประกาศไว้ และกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้

ละเมิดขั้นตอนการสลายการชุมนุม

รายงานของ ศปช. ระบุถึงกรณีที่ ศอฉ. อ้างว่าได้ประกาศเกณฑ์การใช้กระสุนจริงไว้ 3 กรณีคือ 1.เพื่อยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า 2.เพื่อยิงต่อเป้าหมายเมื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดถืออาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม ลูกระเบิดที่จะสามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ และ 3.ยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่เมื่อจะถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตและไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้นั้น

แต่ลักษณะของการเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนพบว่าส่วนใหญ่เสียชีวิตจากกระสุนปืน ขณะที่มากกว่าครึ่งพบบาดแผลบริ เวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ ข้อมูลบาดแผลและสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าวไม่เพียงชี้ว่าปฏิบัติการทางทหาร นี้ไม่ได้ดำเนินการตามกฎการใช้กำลัง 3 ข้อเท่านั้น แต่ยังส่อให้เห็นว่าการยิงของเจ้าหน้าที่มุ่งปลิดชีวิต แม้แต่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพและอาสาสมัครกู้ชีพที่ไม่มีอาวุธ โดยเฉพาะ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม

ที่สำคัญรายงานการชันสูตรพลิกศพที่ไม่เผยแพร่ ต่อสาธารณะ มีข้อมูลระบุว่าผู้เสียชีวิต 87% เพราะ ถูกยิง และถูกยิงเข้าที่บริเวณศีรษะและคอถึง 30% แต่การทำรายงานการชันสูตรพลิกศพของทางการอย่างละเอียดกลับมีความหละหลวมและมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพกลับระบุว่าถูกทุบด้วยของแข็ง

ความอยุติธรรมหลังสลายการชุมนุม

ส่วนการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมนั้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำของวันที่ 19 พฤษภาคม มีภาพและหลักฐานชัดเจนว่ามีการไล่ล่าจับกุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมด้วยวิธีการรุนแรงทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำ มัดมือมัดเท้า ผูกผ้าปิดตา ทำร้ายร่างกายขณะจับกุม แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ก็ถูกจับมัดมือไพล่หลังและใช้คำพูดที่หยาบคาย ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรม และหลายกรณีเจ้าหน้าที่สั่งฟ้องโดยอาศัยเพียงภาพถ่ายในบริเวณที่ชุมนุม โดยไม่มีหลักฐานชี้ว่าผู้ถูกจับกุมกระทำผิดจริงหรือไม่ หรือกรณีเผาศาลากลางจังหวัด ประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นจำเลยเพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์

ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี แต่หลายรายรับสารภาพเพราะถูกข่มขู่และซ้อมทรมาน บางรายถูกขังหลายวันโดยไม่มีโอกาสได้พบญาติหรือปรึกษาทนายความ บางรายตำรวจจูงใจให้รับสารภาพโดยอ้างว่าศาลจะรอลงอาญาเพราะโทษไม่สูง แต่บางรายถูกบังคับให้เซ็นเอกสารโดยไม่มีโอกาสได้อ่านหรืออ่านไม่ออก เช่น คดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ที่สำคัญศาลมักตัดสินภายในวันเดียวหากผู้ต้องหาเลือกรับสารภาพ

แต่ในคดีที่ยังไม่เด็ดขาดซึ่งขณะนี้มีผู้ถูกคุมขังอีกกว่า 30 คนนั้น แม้จะขอประกันตัวหลายครั้งแต่ศาล ก็ไม่ให้ประกัน โดยตั้งเงินประกันไว้สูงมาก แล้วยังอ้างว่าเป็นคดีที่มีโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี และมีหลายคนถูกคุมขังเป็นเวลานานทั้งที่ไม่มีความผิด หรือขังเกินโทษของตน ซ้ำร้ายแม้กรณีที่ศาลสั่งยกฟ้องแต่กลับมีคำสั่งให้ขังไว้ในระหว่างที่อัยการอุทธรณ์

คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล

กว่า 2 ปีที่ผ่านมาของเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 จึงไม่แปลกที่คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวลขณะที่ประชาชนที่บริสุทธิ์กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคนเผาบ้านเผาเมืองและผู้ก่อการร้าย โดยอุปโลกน์เรื่อง ไอ้โม่งชุดดำที่วันนี้ยังจับไม่ได้แม้แต่คนเดียว และสไนเปอร์ที่ยิงผู้คนอย่างเลือดเย็นกลับถูกปกป้องว่าเป็นเพียงปืนยิงนก หาซื้อได้ตามตลาดนัด และบิดเบือนต่างๆนานา ทั้งที่มีหลักฐานและตัวตนชัดเจน

ขณะที่รายงานของกองทัพเองก็ระบุชัดเจนว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะการกระชับพื้นที่ 10 เมษายน จนทำให้เกิดการสูญเสียอย่างไม่คาดคิดและนำไปสู่การสังหารหมู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งนายอภิสิทธิ์ใน ฐานะผู้นำสูงสุดขณะนั้นยืนยันว่าไม่ผิดและทำทุกอย่างถูกต้อง โดยไม่เอ่ยปากขอโทษประชาชนแม้แต่คำเดียว

เช่นเดียวกับกองทัพที่แม้จะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ก็ไม่ควรปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่า ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิงซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องปกป้องลูกน้อง แต่ไม่ควรใช้วาทกรรมบิดเบือนและโกหกตอแหลอย่างที่ ศอฉ. ใช้โฆษณาชวนเชื่อและอ้างความชอบธรรมในการไล่ล่าคนเสื้อแดงโดยการอุปโลกน์ผังล้มเจ้าที่เป็นแค่ ผังกำมะลอแต่วันนี้กลับไม่มีคำ ขอ โทษประชาชนแม้แต่คำเดียว

การปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกองทัพจึงไม่ใช่การออกมาตอบโต้หรือข่มขู่ แต่ต้องทำ ความจริงให้ปรากฏเพราะทหารอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล

ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้กระสุนจริงกี่แสนนัด และกระสุนซุ่มยิงกี่พันนัด กองทัพก็ต้องเอาหลักฐานมายืนยันว่าใช้กระสุนไปเท่าไร เหลือเท่าไร ไม่ใช่กระ สุนหายไปอย่างปริศนาโดยไม่มีคำตอบใดๆ เพราะเป็นทรัพย์สินราชการที่ต้องมีบัญชีรับจ่ายชัดเจน ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีการทุจริต

ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริง

วันนี้คนไทย ตาสว่างรู้ความจริงหมดแล้ว เพราะมีทั้งภาพและหลักฐานมากมายที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ประจานความอำมหิตของ สังคมไทยไปทั่วโลก แต่วันนี้ทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และกองทัพก็ยังโยนความผิดไปให้ไอ้โม่งชุดดำ

โดยเฉพาะกรณี สไนเปอร์ที่กลายเป็นปมสำคัญของความจริง แต่กองทัพกลับพยายามสร้างวาทกรรมใหม่ให้เป็นแค่ พลแม่นปืนระวังป้องกันทั้งที่เอกสาร ศอฉ. ระบุชัดเจนว่าเป็น พลซุ่มยิงและมีวงเล็บภาษาอังกฤษว่า “Sniper” ที่หมายถึงพลซุ่มยิง (ระยะไกล) หรือผู้ลอบยิงที่มีความสามารถ สูงในการยิงระยะไกล ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่าง ดีเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม

ตราบใดที่ความจริงยังไม่ปรากฏและคนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นโรคความจำเลอะเลือน โกหกตัวเองว่า ที่นี่ไม่มีคนตายและปล่อยให้ ผู้กระทำผิดหรือ ฆาตกรลอยนวล ความสามัคคีปรองดองก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด การใช้ความ รุนแรงที่เป็นอาชญากรรมโดยรัฐก็จะย้อนกลับมาทำร้ายประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

การล้อมปราบประชาชนโดยมี ใบอนุญาตสั่งฆ่าให้ใช้อาวุธสงคราม แม้แต่การซุ่มยิงระยะไกล ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริงกันขนาดนี้ แต่ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ..แล้วจะไปหวังอะไรกับความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานที่กำลังหายไปจากระบบยุติธรรมไทย!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น