Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ถึงจะแก้รายมาตราก็ไม่พ้นการถูกต่อต้านอยู่ดี!

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3348 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม 2012 โดย ดำรงค์ เปลี่ยนศรีศร


ในที่สุดคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญก็ปรากฏ ซึ่งความหมายตรงนี้อาจไขความหมายข้อข้องใจที่สับสนจากการคำวินิจฉัยครั้งก่อนที่ขนาดนักนิติศาสตร์และนักกฎหมายที่เจนสังเวียนก็ยังไม่เข้าใจว่าเป็นการพิพากษา หรือวินิจฉัย หรือแนะนำ หรือให้ความเห็นกันแน่?

จนกระทั่งวันที่ 26 ที่ผ่านมานี้เอง สภาพที่เป็นความงุงิก็หมดไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญพูดไทยเป็นไทยอีกครั้งในคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาอย่างเป็นทางการ รัฐสภาจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะเป็นรายมาตราเท่านั้น

แต่ก็มีคำถามน่าสงสัยว่า ถ้าแม้รัฐสภาเดินหน้าแก้ไขเป็นรายมาตราความขัดแย้งจะหมดสิ้นไปไหม?

ข้อนี้เห็นจะตอบได้ว่าคงจะหมดไปได้ยากมาก เสียงคัดค้านยังคงมีต่อไปทั้งเกมนอกสภาและในสภา แม้ว่าเกมในสภาจะคลายความกดดันลงไปได้บ้างตั้งแต่รัฐสภาได้เลื่อนการพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดองออกไป แทนที่จะให้กลายเป็นวาระเร่งด่วนฉบับที่ 1 ยิ่งถ้าฟังเสียงสะท้อนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมา เราต้องบอกว่าสงครามยังคงไม่ยุติ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ความเห็นว่า การเลื่อนพิจารณาปรองดองของรัฐสภานั้นเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ความขัดแย้งลดระดับลงมา แต่ถ้าจะให้ดีอยากให้รัฐบาลถอนร่างดังกล่าวออกไปเสีย ทั้งนี้ เพื่อความสบายใจของหลายฝ่าย ซึ่งก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเป็นใครบ้างที่สบายใจ นอกเหนือไปจากนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคยประกาศจะดาวกระจายและต่อต้านเรื่อง พ.ร.บ.ปรองดองอย่างเต็มรูปแบบไปยังสถานที่ต่างๆ

เมื่อฟังสัญญาณอย่างนี้แล้วเรานำมาเชื่อมโยงกับประเด็นของรัฐธรรมนูญก็คงเป็นความหมายใกล้เคียงกันคือ ถ้าจะให้นายอภิสิทธิ์และผู้อยู่เบื้องหลังสบายใจ เห็นทีต้องยกเลิกการแก้ไขแม้กระทั่งเป็นรายมาตรา หมายถึงว่าไม่ต้องแก้แม้แต่มาตราเดียวนั่นเอง

จึงมีข้อสังเกตว่าตามแนวคิดของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน แบบใช้ประชามิติและ ส.ส.ร. กับวิธีแก้ไขเป็นรายมาตราของรัฐสภา มีผลที่ไม่แตกต่างกันมากนัก มีโอกาสที่จะถูกพรรคประชาธิปัตย์และผู้อยู่เบื้องหลังต่อต้านอีกเช่นเคย

อาจยกตัวอย่างเช่น มาตรา 309 ซึ่งเป็นเสมือนการนิรโทษกรรมเครือข่ายของ คมช. มาตรานี้นายอภิสิทธิ์ประกาศแล้วว่าห้ามใครแตะต้อง ดังนั้น ถ้าหากว่าแก้ไขเป็นรายมาตราโดยหยิบมาตรานี้ขึ้นมาแก้ไข ประชาธิปัตย์ก็คัดค้านหัวชนฝา เพราะประชาธิปัตย์ได้ประโยชน์จากมาตราดังกล่าวของรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการอยู่แล้ว ถ้าหากว่าร่างขึ้นตามเค้าโครงของปี 2517 ก็ต้องปฏิเสธอำนาจของคณะรัฐประหารอีกเช่นกัน ดังนั้น การร่างรายมาตราหรือยกร่างขึ้นใหม่จึงมีน้ำหนักไม่แตกต่างกัน หรือถ้าจะเอามาตราอื่นมาพูดถึง เช่น มาตรา 68 เกี่ยวกับประเด็นที่พรรคเพื่อไทยถูกประชาธิปัตย์ฟ้องร้องในศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางไม่เป็นประชาธิปไตย ข้อนี้สงสัยจะถูกต่อต้านอีกเช่นกัน เนื่องจากเป็นมาตราที่ให้อำนาจเด็ดขาดกับฝ่ายประชาธิปไตย เอาไว้กำราบและสกัดฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเอง ดังนั้น เมื่อจะถูกตัดทอนเขี้ยวเล็บมีหรือฝ่ายอำมาตยาธิปไตยจะยินยอมได้ พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นลูกหาบก็ต้องอยู่ในบทบาทเช่นเดียวกัน

หันไปพิจารณามาตราอื่นๆ เช่น กรณียุบพรรค กรณีเรื่องของสมาชิกวุฒิสภาที่ห้ามการแต่งตั้ง แต่ให้มาจากการเลือกตั้งแทน ไล่ดูแต่ละรายมาตราก็เชื่อว่าแรงต่อต้านยังคงไม่หมดไป แต่จะพูดในวาทกรรมใหม่ คงไม่พูดว่าเป็นการแก้ไขเพื่อคนคนเดียว หรือเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกแล้ว แต่ประชาธิปัตย์คงสร้างสรรค์วาทกรรมขึ้นมาว่าเป็นการแก้ไขเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง รับรองชัวร์แน่นอนที่เขาต้องพูดเช่นนี้ และเผยแพร่วาทกรรมนี้ออกไปสู่กองเชียร์ของตัวเอง
สรุปแล้วก็คือ จะแก้ไขอย่างไรหรือทำอย่างไรเรื่องรัฐธรรมนูญนั้นก็ถูกประชาธิปัตย์ต่อต้านอยู่ดี เพราะเป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 7.1 ทางการเมือง ซึ่งร้ายแรงกว่าโรคมือเท้าปากที่เริ่มต้นในกัมพูชาจนระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทย เอนเทอโรไวรัสเชื้อมีอาการที่ปาก มือ และเท้าเท่านั้น แต่เชื้อเอนเทอโรไวรัสของลูกหาบอำมาตย์ทางการเมืองยังมีน้ำลายเป็นตัวแพร่เชื้อที่น่ากลัวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น