ตามเหตุการณ์
ทันกระแสโลก หนังสือพิมพ์ Red Power ปีที่ 1 ฉบับที่ 27 เดือน กรกฎาคม 2555 โดย กองบรรณาธิการ
ทนงศักดิ์
ปิ่นถาวรe-mail : tanongsak . pinthaworn@gmail.com
ไม่ผิดหรอกครับที่ผมจะรับใช้ท่านผู้อ่านด้วยถ้อยคำกำกวม
และชวนให้ขยายความต่อไปถึงไหนต่อไหน
ฉบับนี้ขอรับใช้ท่านไปตามบริบทของเนื้อหาส่วนใหญ่ในเล่ม ที่กำลังพูดถึง
“พรรคคอมมิวนิสต์ผ่าเหล่า” แต่อ้าว…..อย่าเพิ่งคิดว่า
รัฐสวัสดิการ ที่ผมกำลังจะนำเสนอนี้เป็น “คอมมิวนิสต์” นะครับท่านครับ
เรามาลองดูนิยามของคำว่า รัฐสวัสดิการตามความหมายกันดีกว่าว่าหมายถึงอะไร รัฐสวัสดิการ
เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี
หลักประกันด้านการศึกษา
ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ตามความสามารถในการเรียน
หลักประกันด้านการว่างงาน รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน
หลักประกันด้านชราภาพ รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน
หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น
ประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า
คือเก็บภาษีจากคนรวยในอัตราต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก
เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลยถ้าจนมาก
นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจากคนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน
เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบรัฐสวัสดิการ
ระบบนี้จึงเป็นการ ‘เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข’ คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า
นอกจากนี้จะเน้นไปที่ภาษีทางตรง
คือเก็บจากรายได้ มากกว่าภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพราะอย่างหลังจะถูกบวกในราคาสินค้า รวมถึงสินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภค
ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนรวยคนจนก็บริโภคสิ่งจำเป็นพอๆกัน
ทำให้คนจนเสียภาษีทางอ้อมในอัตราที่มากกว่าคนรวย
ในรัฐสวัสดิการนั้น
สวัสดิการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นดำเนินงานโดยรัฐทั้งหมด
รัฐสวัสดิการมีลักษณะทั่วไป 3
ประการ คือ
1. รัฐประกันรายได้ขั้นต่ำของทุกคนในสังคม โดยไม่คำนึงว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร
ทำงานอะไร มีทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน
2. สร้างความมั่นคงในชีวิต ให้แก่ทุกคน ทุกครัวเรือน โดยให้มีหลักประกันทางรายได้ และอยู่รอดปลอดภัยจากภาวะวิกฤติต่างๆ
3. ให้พลเมืองทุกคน โดยไม่เลือกกลุ่มคน
ชนชั้น และสถานภาพ ได้รับบริการสังคม (Social service) อย่างเสมอหน้ากัน
ด้วยมาตรฐานที่ดีที่สุด เท่าเทียมกัน
ข้อสอง การเป็นรัฐสวัสดิการนั้นหมายถึง
“เงินจากคนรวย จุนเจือสู่คนจน” แต่สำหรับประเทศไทย “ข้าจะรวย เกี่ยวอะไรกับเอง
(คนจน) “ ….
การที่ต้องแบ่งและเฉลี่ยเงินทุนจากกลุ่มธุรกิจของตัวเอง
ไปสู่สังคมชนบท ในมุมมองของระบบทุนนิยมอำมาตย์แบบในประเทศไทยแล้ว
ถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับกลุ่ม และพวกพ้องของตนเอง
เพราะว่ามันจะทำให้ระบบชุมชน ระบบประชาชนเข้มแข็ง
และมีศักยภาพที่จะพัฒนาขึ้นมาทัดเทียมกับ
กลุ่มอำนาจอำมาตย์ที่ผูกขาดธุรกิจไว้แทบจะทุกประเภท
หากประชาชนและกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเข้มแข็ง
นั่นย่อมแสดงว่าโอกาสที่กลุ่มทุนอำมาตย์ผูกขาดจะเสียโอกาสในการเข้าถึงตลาดมากขึ้นไปด้วย
พูดกันง่ายๆ แบบที่ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายคือ “มีโอกาสเกิดผู้ท้าชิง
และผู้เล่นรายใหม่ในตลาด” ….. ก็ข้าเคยขายของข้าเท่านี้
ผลิตเท่านี้ อยากจะส่งเท่านี้ แต่วันดีคืนดี ดันมีคนมาผลิตแข่ง ตัดราคา
และแชร์ส่วนแบ่งในตลาด แล้วใครมันจะไปยอมล่ะครับ จริงไหม ….
ข้อสาม การที่จะเป็นรัฐสวัสดิการได้นั้น รัฐบาลต้องมีความเข้มแข็งและมีความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เพราะการบริหารส่วนใหญ่ของรัฐสวัสดิการจะเกี่ยวกับกับการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งเกิดขึ้นเรียกว่าแทบจะทุกวัน เพราะฉะนั้นหากไม่มีกลไกใดที่สามารถป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น และรั่วไหลของงบประมาณได้ ก็เป็นสิ่งที่อันตรายมากสำหรับการบริหารแบบรัฐสวัสดิการ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่วัฒนธรรมเอื้อพวกพ้อง ประจบประแจงและเลือกปฏิบัติแบบที่เป็นอยู่ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ที่จะทำให้เป็นรัฐสวัสดิการ การเป็นรัฐสวัสดิการไม่ใช่เป็นเพียงคำพูดที่ดูดี และแสดงออกถึงความห่วงใยเท่านั้น แต่ในโครงสร้างทั้งหมดตั้งแต่ ระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ไปจนถึงกลุ่มทุน จะต้องมีจิตสำนึกและเผื่อแผ่ต่อสังคมในวงกว้าง เพราะหากกลุ่มธุรกิจและกลุ่มทุนหรือผู้ปกครองมัวแต่ห่วงผลประโยชน์ของตัวเอง และโยนเพียงแค่เศษเงินลงไปให้ประชาชน รอรับถุงบริจาค แบบนี้รัฐสวัสดิการก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ซึ่งเรารู้กันดีอยู่แล้วว่า อะไรที่เป็นตัวขัดขวางที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเป็นรัฐสวัสดิการได้ ในอดีตนั้นมีผู้นำของไทยที่พยายามจะเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐสวัสดิการมาแล้ว โดยในปี พ.ศ. 2475 อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอหน่ออ่อนของรัฐสวัสดิการใน “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ประเด็นหลักๆ ของอาจารย์ปรีดีคือการประกันรายได้พื้นฐานสำหรับพลเมืองทุกคนโดยรัฐ ตั้งแต่เกิดจนสิ้นชีพ “เพื่อความสุขสมบูรณ์ของราษฎร” โดยมีมาตรการต่างๆ เช่นการแบ่งที่ดินทำกิน และการเก็บภาษีมรดกและภาษีรายได้ ซึ่งเก็บจากคนรวยในระดับสูง (Super tax) แต่ข้อเสนอนี้ของอาจารย์ปรีดีถูกปฏิเสธอย่างรุนแรงจากผู้มีอภิสิทธิ์ที่จะเสียประโยชน์และตระกูลขุนนางอำมาตย์ชั้นสูง โดยเฉพาะเมื่อมีการเสนอแนวคิดที่สนับสนุนการมีลำดับชนชั้นและความเหลื่อมล้ำในสังคม เหมือนกับว่ามันเป็น “ธรรมชาติ” และพวกอำมาตย์ก็ประโคมข่าวว่านี่เป็น ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือเรื่องลัทธิเศรษฐกิจที่พอดี ที่เสนอว่าคนรวยใช้เงินตามสบายได้ แต่คนจนต้องเจียมตัวหรือปรับตัว ลดค่าใช้จ่าย เพื่ออยู่รอดในสภาพความยากจน นี่คือลัทธิที่แช่แข็งความเหลื่อมล้ำและสร้างอุปสรรค์ต่อการกระจายรายได้และการสร้างความเท่าเทียมในสังคม ที่ขัดขวางการตั้ง รัฐสวัสดิการ ของประเทศไทยมาอย่างช้านาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น