Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คนไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

จาก  http://www.whereisthailand.info



เมื่อพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องทำคือการ “เลือกตั้ง” โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ถือหลักการว่าอำนาจสูงสุดในประเทศ เป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีสิทธิออกเสียงเลือกบุคคลมาเป็นผู้นำประเทศของตนเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หลายคนทราบดีว่าการเลือกตั้งไม่ใช่กิจกรรมเพียงอย่างเดียวในระบอบ ประชาธิปไตย แต่ยังมีกิจกรรมในสังคมอีกหลายอย่างที่นับเป็นการ “มีส่วนร่วม” กับประชาธิปไตยด้วย เช่น การวมกลุ่มเสนอกฎหมาย การตรวจสอบการทำงานของตัวแทนตนเอง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นต่อสาธารณะ การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ การรวมกลุ่มรณรงค์ประเด็นทางสาธารณะต่างๆ ฯลฯ
แต่เนื่องจากการเลือกตั้งคือกิจกรรมขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จึงน่าจะสะท้อน “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนในสังคมนั้นๆได้ไม่น้อย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย [1][2][3][4] แสดงสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter Turnout) ในแต่ละประเทศย้อนหลังไปในอดีตดังที่เห็นในกราฟ
สหรัฐอเมริกา – จากกราฟจะเห็นว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิของสหรัฐนั้นมีการแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ในช่วง 50%-60% ตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์ – นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ประชาชนฟิิลิปปินส์มาใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับสูงมาก สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิไม่เคยลดต่ำลงกว่า 70% เลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
สหราชอาณาจักร – เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในสหราชอาณาจักรนั้นอยู่ใน ช่วง 70%-80% มาตลอด จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่ผู้มาใช้สิทธิลดลงไปอยู่ในระดับ 60%-70%
ไทย – สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 41.5% ในปี 2476 ถึงจุดสูงสุดที่ 85.38% ในปี 2550 โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 นั้น ไทยมีผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้น 75.03%
หมายเหตุ: สัดส่วนผู้มาใช้สิทธินี้นับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ การเลือกตั้งทั่วไป (เลือก สส.) ในประเทศที่ใช่ระบบรัฐสภา ไม่นับการเลือกตั้งวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งปลีกย่อยอื่นๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่าในอดีต รัฐบาลไทยมักต้องรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง “อย่านอนหลับทับสิทธิ” แต่ในปัจจุบัน เรามักไม่เห็นการรณรงค์ในทำนองนั้นแล้ว เป้าหมายของการรณรงค์ได้เปลี่ยนไปจากการมุ่งให้คนออกมาลงคะแนนกันมากๆ เป็นการมุ่งให้คนเลือกคนดีเข้าสภาแทน
ไม่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยในมิติอื่นๆจะมีมากเพียงพอหรือ ไม่ แต่ตัวเลขสัดส่วนผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั้นบอกเราว่า คนไทยในปัจจุบัน “ตื่นตัว” กันมากแล้วกับการใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง

อ้างอิง:

[1] สหรัฐอเมริกา http://en.wikipedia.org/wiki/Voter_turnout_in_the_United_States_presidential_elections
[2] ฟิลิปปินส์ http://en.wikipedia.org/wiki/Elections_in_the_Philippines
[3] สหราชอาณาจักร http://en.wikipedia.org/wiki/United_Kingdom_general_election,_2010
[4] ไทย http://en.wikipedia.org/wiki/Thai_general_election,_2011

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น