จาก มติชนออนไลน์
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในฐานะที่ตนเคยเป็นอดีตสมาชิกสภา กทม. และผู้สมัคร ส.ส.กทม. และเป็นคนกรุงเทพฯที่เสียภาษี เห็นว่าการใช้งบประมาณของกทม.เพื่อใช้ดำเนินการในโครงการต่างๆ มีความไม่ชอบมาพากลและส่อไปในทางทุจริต แต่เมื่อใกล้จะครบวาระ 4 ปี กลับใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยเกินความจำเป็น
นายภักดีหาญส์ กล่าวต่อว่า ตนจึงต้องออกมาชี้แจงและเปิดเผยข้อมูลที่อาจไม่โปร่งใสของกทม.3 เรื่อง คือ โครงการจัดหาเครื่องมือหนักสำหรับใช้ในการซ่อมบำรุง 3 รายการ คือรถบดสั่นสะเทือนล้อเหล็ก, รถขุดตีนตะขาบ แขนยาวพร้อมหัวคีบตัด และรถไสผิวถนนขนาดความกว้างหัวไสไม่น่อยกว่า 2 เมตร รวมทั้งหมด 10 ชุด โดยใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯปี 55 จำนวน 100 ล้านบาท และงบฯผูกพันปี 56 กทม. จำนวน 900 ล้านบาท ซึ่งไม่ระบุว่าจะนำไปซื้ออะไร
นายภักดีหาญส์ กล่าวต่อว่า ที่น่าสังเกตคือการที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากทม. ใช้เวลาพิจารณาเพียง 2วัน ก่อนโอนงบประมาณให้สำนักการโยธาดำเนินการ อีกทั้งยังไม่ระบุสเปกของสิ่งของที่จะจัดซื้อจัดจ้างและนำ 3 รายการมารวมกัน เพื่อให้บริษัทที่ยื่นประมูลได้แบบเหมารรวม โดยไม่มีราคากลาง โดยไม่แยกเปิดประมูล 3 รายการ ซึ่งไม่เคยมีการปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน อีกทั้งข้อกำหนดในของบริษัทที่จะเข้ามาประมูลนั้นมีเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายที่รับการแต่งตั้งโดยตรงจากผู้ผลิตคุรุภัณฑ์ และหนังสือต้องออกภายใน 180 วัน และจดหมายตอบกลับไปยังบริษัทที่เสนอไม่มีการลงวันที่แต่อย่างใด หมายถึงถ้ามีบริษัทที่เป็นผู้แทนจำหน่ายและดำเนินการมา 15 ปี เข้าประมูลไม่ได้ เพราะเกิน180 วัน ถามว่าเป็นการกีดกั้นตัวแทนจำหน่ายที่ตั้งมากว่า 10 ปี ไม่ให้เข้ามาประมูลแข่ง และส่อพิรุธให้เห็นว่าเข้าข่ายแสวงหาผลประโยชน์ระหว่างหน่วยงานราชการและพ่อค้า หรือไม่ ตนเข้าใจว่าการดำเนินการเช่นนี้ของกทม.เป็นเพราะได้คุยกับบริษัทที่รับเหมาไว้เรียบร้อยแล้วใช้หรือไม่ นอกจากนั้นทราบว่ามีหลายบริษัทที่ไม่ได้รับการพิจารณาได้ส่งหนังสือเปิดผนึกสอบถามและร้องเรียนไปยังกทม.ถึงเรื่องนี้ว่ามีการฮั้วประมูลหรือไม่ และมี 2-3 บริษัทที่พบว่าเจ้าของเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้ ตนจะยื่นเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ต่อไป และจะส่งสำเนาเรื่องไปที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาต่อไปโดยที่บริษัทที่เป็นผู้เสียหายจากการผู้ขาดข้อสัญญาและข้อกำหนด
รองโฆษกรัฐบาล กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีโครงการที่น่าสังเกต อาทิ โครงการจัดซื้อรถดูดล้างท่อ ขนาด 3 ลูกบาศก์เมตร ยี่ห้ออีซูซุ จำนวน 42 คัน ซึ่งราคาเกินกว่าที่กำหนดไว้ถึง 1 เท่า จากที่กำหนด คันละ 4 ล้าน กลับคันละกว่า 8 ล้านบาท ทั้งที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ไม่ได้ร้องขอและไม่เคยได้รับการจัดสรร แต่กลับให้สำนักงานเขตตรวจรับ สร้างภาระให้เขตในการสร้างลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานขับ แต่ปรากฎว่ารถที่ส่งไปให้เขตใช้การไม่ได้จริง ดูดน้ำไม่ได้จริง เพราะถ้าทำได้ต้องการันตีว่าน้ำจะไม่ท่วมกทม. และในข้อสัญญาซื้อขายระบุว่าหากรถเกิดความเสียหายสามารถส่งกลับซ่อมแซมภายใน 7 วัน ซึ่งกทม.ไม่ดำเนินการฟ้องร้อง
รองโฆษกรัฐบาล กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในข้อกำหนดเรื่องราคาระบุว่าให้จัดซื้อได้ไม่เกินคันละ 4 ล้านบาท แต่กลับซื้อมากถึงคันละกว่าละ 8 ล้าน ถามว่าทำไมกทม.ไม่ฟ้องร้องบริษัทที่จัดซื้อ จึงมีข้อสังเกตว่าสาเหตุที่กทม.ไม่ฟ้องร้องเพราะบริษัทที่จัดซื้อเป็นพวกเดียวกับข้าราชการระดับสูงและฝ่าบบริหารหรือไม่
นายภักดีหาญส์ กล่าวว่า สำหรับโครงการเช่ารถเก็บขยะ 4 โครงการ เป็นเวลา 7 มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ที่ดำเนินการโดยสำนักสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับของนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ดูแลอยู่ ใช้วิธีประมูลด้วยวิธีอีออ๊อกชั่น ซึ่งบริษัทที่ประมูลงานได้ทั้ง 4 โครงการ เป็น 2 บริษัท คือ บ.อิทธิพร อิมพอร์ต จำกัด มีนายสมาน เตชะอิทธิพร เป็นเจ้าของ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีไอพี ออโต้พาร์ท เป็นผู้ที่ได้งานทั้งหมด ซึ่งการใช้งบประมาณจะแยกย่อยในการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แต่มีแค่ 2 บริษัทที่ชนะการประมูลแบบผูกขาด ซึ่งน่าสังเกตว่าเจ้าของบ.อิทธิพรนั้นมีบริษัทนอมินีอีกนับ10บริษัท ได้รับงานจากกทม. ซึ่งในตามกฎหมายที่ระบุนั้นผู้รับงานต้องไม่มีประโยช์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น คือไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดชนะการประมูลต้องไม่ใช่เจ้าของเดียวกันหรือนอมินีเพื่อป้องกันการล็อกสเปก จึงเห็นว่าทั้ง 4 โครงการ มีการล็อกสเป็กเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโครงการต่างๆที่พูดมา ตนอยากให้ผู้ที่เกี่ยวของเร่งตรวจสอบโดยเร็ว
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เรื่อง ชายชุดดำ VS พลซุ่มยิงนก
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 374 วันที่ 25 - 31 สิงหาคม
พ.ศ. 2555 หน้า 18 -19 คอลัมน์
เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
“ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุ ระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถาน ที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นอันตรายต่อประชา ชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิ บัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marks manship) ที่มีขีดความสามารถ เพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอก จากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”
เอกสารข้อ 2.5 ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จากทั้งหมด 5 แผ่นที่ประทับตรา “ลับ” โดยระบุถึง “สยก.ศอฉ. ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เมษายน 2553 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ.
ไม่มีสไนเปอร์?
เอกสารของ ศอฉ. ที่ประทับตรา “ลับ” ที่มีการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตหลายเว็บไซต์นั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ. ทบ.) ยอมรับว่าเป็นเอกสารจริง แต่ปฏิเสธเรื่องสไนเปอร์ว่าเป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังตอบคำถามถึงกระสุนที่มีการเบิกจ่ายว่า กระสุนที่เบิกเมื่อเหลือก็จะส่งคืน นอกนั้นใช้ฝึกหัดและจำหน่ายต่อไป ไม่ใช่เบิกไป 3,000 นัด ยิงไป 300 นัด ขาดไป 2,700 นัด แล้วต้องมีคนตาย 2,700 คน ถามว่าคนตายอยู่ที่ไหน มีใครบอกว่าทหารเอาปืนไปยิงคน สื่อไปเอามาจากไหน ต้องไปถามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เพราะถามลูกน้องแล้วเขาบอกว่า “ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง”
เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการใช้ “สไนเปอร์” มีเพียง “พลแม่นปืน ระวังป้องกัน” ที่ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่า นี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง
โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 พ.ต.ท.สม ชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอฉ. ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2553 จนเสร็จสิ้นปฏิบัติการ ปรากฏว่ามีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้ไป 117,923 นัด ในจำนวนนี้มีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด ส่วนกระสุนซ้อมเบิกเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด ซึ่งเป็นการยืนยันว่าทหารที่ใช้ปฏิบัติการช่วงเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 มีการเบิกจ่ายกระสุนจริง รวมถึงมีการใช้กระสุนซุ่มยิง
ใบสั่งฆ่า?
ไม่ว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี จะอ้างเหตุผลและความจำเป็นในการใช้อาวุธอย่างไรก็ตาม แต่ในเอกสารที่ระบุว่า “เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้” รวมถึง “ขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper)” ก็ถูกตั้งคำถามว่าไม่ต่างอะไรกับ “ใบสั่งฆ่า” หรือไม่?
โดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาเปิดเผยผลการสอบสวนคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่าการเสียชีวิตของประชาชนเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่าให้ทุกอย่างเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม แต่ก็ไม่ต้องการให้ออกมาพูดหากคดียังไม่สิ้นสุด รวมถึงการขอร้องผ่านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับการสอบสวนคดี 98 ศพ ซึ่งดีเอสไอทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้เสียหาย พยานในที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดหรือพลซุ่มยิง 1 นายเข้าให้ปากคำ
ขณะที่ศาลอาญามีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ชาวยโสธร ที่ถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภใกล้แอร์พอร์ตลิงค์ จุดประจำการของทหาร หลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พฤษ ภาคม ต่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยจะเรียกนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ขณะนั้น เข้าเบิกความต่อศาลตามคำร้องขอของทนายความญาติผู้ตายกลางเดือนกันยายน ซึ่งนายสุเทพระบุว่าเป็นการเรียกในฐานะพยานฝ่ายทนายโจทก์ ไม่ใช่จำเลย ซึ่งมีความพยายามจะโยนความผิดให้ตนกับนายอภิสิทธิ์ ทั้งที่ไม่เคยสั่งการให้ฆ่าประชาชน
“ถ้าต้องติดคุกเพราะเราตั้งใจดีต่อบ้านเมืองก็ให้มันรู้ไป แต่ยอมรับว่าตอนนี้กำลังเข้าสู่การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่โดยคนชนะ แต่ไม่มีใครลบความจริงได้ เพราะประชาชนเห็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งประ เทศ มีหลักฐานมากมาย แต่ขณะนี้มีความพยายามไม่พูดถึงชายชุดดำ แต่เป็นเรื่องที่เราต้องพูด ถ้าดีเอสไอจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเอาใจรัฐบาลและ ร.ต.อ.เฉลิม ผมก็จะดำเนินคดีกับดีเอสไอ” นายสุเทพกล่าวและยืนยันว่าไม่กลัวติดคุก
รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ได้รายงานสรุปความรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งมีความหนาถึง 932 หน้า ถือเป็นเสียงสะท้อนและมุมมองของประชา ชนที่ตกเป็นเหยื่ออย่างแท้จริง โดยระบุว่าการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ระหว่างวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ถือเป็นการปราบปรามประชาชนที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังทหารของฝ่ายรัฐที่มีการระดมกำลังกว่า 60,000 นาย และใช้กระสุนจริงกว่า 117,923 นัด ในจำนวนนี้เป็นกระสุนซุ่มยิงกว่า 2,000 นัด ในแง่ของความสูญเสียต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิตถึง 94 ราย ในจำนวนนี้เป็นพลเรือน 77 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย อาสา กู้ชีพ/พยาบาล 5 ราย ผู้สื่อข่าว 2 ราย และผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 2,000 ราย
“ยุทธวิธีต่างๆที่รัฐใช้ในเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่า “ขอคืนพื้นที่” และ “กระ ชับวงล้อม” แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนจริงเกือบ 120,000 นัด การใช้กำลังปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมทุกด้าน การใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงจากที่สูง การซุ่มยิงบนรางรถไฟฟ้าเข้าไปยังวัดปทุมวนาราม แต่เป็นความตั้งใจใช้ปฏิบัติการสงครามในเมืองเพื่อสลายการชุมนุมปราบปรามขบวนการคนเสื้อแดง ไม่ใช่เพื่อการเจรจา แต่เพื่อทำลาย ประการสำคัญ ยุทธการ “กระชับวงล้อม” ราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม หลายวันก่อนที่การเจรจาจะถูกล้มลงเสียอีก”
บทนำในรายงานที่เขียนโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังตำหนิคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ไม่กล้าชี้ว่าใครคือผู้กระทำความผิด
ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตของรัฐ ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่กล้าออกมาประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว ซ้ำร้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 รายงานของ กสม. ระบุว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนทั่วไปที่ดำเนินการตามมาตรการที่ประกาศไว้ และกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้
ละเมิดขั้นตอนการสลายการชุมนุม
รายงานของ ศปช. ระบุถึงกรณีที่ ศอฉ. อ้างว่าได้ประกาศเกณฑ์การใช้กระสุนจริงไว้ 3 กรณีคือ 1.เพื่อยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า 2.เพื่อยิงต่อเป้าหมายเมื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดถืออาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม ลูกระเบิดที่จะสามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ และ 3.ยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่เมื่อจะถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตและไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้นั้น
แต่ลักษณะของการเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนพบว่าส่วนใหญ่เสียชีวิตจากกระสุนปืน ขณะที่มากกว่าครึ่งพบบาดแผลบริ เวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ ข้อมูลบาดแผลและสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าวไม่เพียงชี้ว่าปฏิบัติการทางทหาร นี้ไม่ได้ดำเนินการตามกฎการใช้กำลัง 3 ข้อเท่านั้น แต่ยังส่อให้เห็นว่าการยิงของเจ้าหน้าที่มุ่งปลิดชีวิต แม้แต่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพและอาสาสมัครกู้ชีพที่ไม่มีอาวุธ โดยเฉพาะ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม
ที่สำคัญรายงานการชันสูตรพลิกศพที่ไม่เผยแพร่ ต่อสาธารณะ มีข้อมูลระบุว่าผู้เสียชีวิต 87% เพราะ ถูกยิง และถูกยิงเข้าที่บริเวณศีรษะและคอถึง 30% แต่การทำรายงานการชันสูตรพลิกศพของทางการอย่างละเอียดกลับมีความหละหลวมและมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพกลับระบุว่าถูกทุบด้วยของแข็ง
ความอยุติธรรมหลังสลายการชุมนุม
ส่วนการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมนั้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำของวันที่ 19 พฤษภาคม มีภาพและหลักฐานชัดเจนว่ามีการไล่ล่าจับกุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมด้วยวิธีการรุนแรงทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำ มัดมือมัดเท้า ผูกผ้าปิดตา ทำร้ายร่างกายขณะจับกุม แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ก็ถูกจับมัดมือไพล่หลังและใช้คำพูดที่หยาบคาย ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรม และหลายกรณีเจ้าหน้าที่สั่งฟ้องโดยอาศัยเพียงภาพถ่ายในบริเวณที่ชุมนุม โดยไม่มีหลักฐานชี้ว่าผู้ถูกจับกุมกระทำผิดจริงหรือไม่ หรือกรณีเผาศาลากลางจังหวัด ประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นจำเลยเพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์
ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี แต่หลายรายรับสารภาพเพราะถูกข่มขู่และซ้อมทรมาน บางรายถูกขังหลายวันโดยไม่มีโอกาสได้พบญาติหรือปรึกษาทนายความ บางรายตำรวจจูงใจให้รับสารภาพโดยอ้างว่าศาลจะรอลงอาญาเพราะโทษไม่สูง แต่บางรายถูกบังคับให้เซ็นเอกสารโดยไม่มีโอกาสได้อ่านหรืออ่านไม่ออก เช่น คดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ที่สำคัญศาลมักตัดสินภายในวันเดียวหากผู้ต้องหาเลือกรับสารภาพ
แต่ในคดีที่ยังไม่เด็ดขาดซึ่งขณะนี้มีผู้ถูกคุมขังอีกกว่า 30 คนนั้น แม้จะขอประกันตัวหลายครั้งแต่ศาล ก็ไม่ให้ประกัน โดยตั้งเงินประกันไว้สูงมาก แล้วยังอ้างว่าเป็นคดีที่มีโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี และมีหลายคนถูกคุมขังเป็นเวลานานทั้งที่ไม่มีความผิด หรือขังเกินโทษของตน ซ้ำร้ายแม้กรณีที่ศาลสั่งยกฟ้องแต่กลับมีคำสั่งให้ขังไว้ในระหว่างที่อัยการอุทธรณ์
คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล
กว่า 2 ปีที่ผ่านมาของเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 จึงไม่แปลกที่ “คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล” ขณะที่ประชาชนที่บริสุทธิ์กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคนเผาบ้านเผาเมืองและผู้ก่อการร้าย โดยอุปโลกน์เรื่อง “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่วันนี้ยังจับไม่ได้แม้แต่คนเดียว และ “สไนเปอร์” ที่ยิงผู้คนอย่างเลือดเย็นกลับถูกปกป้องว่าเป็นเพียงปืนยิงนก หาซื้อได้ตามตลาดนัด และบิดเบือนต่างๆนานา ทั้งที่มีหลักฐานและตัวตนชัดเจน
ขณะที่รายงานของกองทัพเองก็ระบุชัดเจนว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะการกระชับพื้นที่ 10 เมษายน จนทำให้เกิดการสูญเสียอย่างไม่คาดคิดและนำไปสู่การสังหารหมู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งนายอภิสิทธิ์ใน ฐานะผู้นำสูงสุดขณะนั้นยืนยันว่าไม่ผิดและทำทุกอย่างถูกต้อง โดยไม่เอ่ยปากขอโทษประชาชนแม้แต่คำเดียว
เช่นเดียวกับกองทัพที่แม้จะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ก็ไม่ควรปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่า “ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง” ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องปกป้องลูกน้อง แต่ไม่ควรใช้วาทกรรมบิดเบือนและโกหกตอแหลอย่างที่ ศอฉ. ใช้โฆษณาชวนเชื่อและอ้างความชอบธรรมในการไล่ล่าคนเสื้อแดงโดยการอุปโลกน์ “ผังล้มเจ้า” ที่เป็นแค่ “ผังกำมะลอ” แต่วันนี้กลับไม่มีคำ “ขอ โทษประชาชน” แม้แต่คำเดียว
การปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกองทัพจึงไม่ใช่การออกมาตอบโต้หรือข่มขู่ แต่ต้องทำ “ความจริงให้ปรากฏ” เพราะทหารอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล
ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้กระสุนจริงกี่แสนนัด และกระสุนซุ่มยิงกี่พันนัด กองทัพก็ต้องเอาหลักฐานมายืนยันว่าใช้กระสุนไปเท่าไร เหลือเท่าไร ไม่ใช่กระ สุนหายไปอย่างปริศนาโดยไม่มีคำตอบใดๆ เพราะเป็นทรัพย์สินราชการที่ต้องมีบัญชีรับจ่ายชัดเจน ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีการทุจริต
ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริง
วันนี้คนไทย “ตาสว่าง” รู้ความจริงหมดแล้ว เพราะมีทั้งภาพและหลักฐานมากมายที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ประจานความอำมหิตของ สังคมไทยไปทั่วโลก แต่วันนี้ทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และกองทัพก็ยังโยนความผิดไปให้ “ไอ้โม่งชุดดำ”
โดยเฉพาะกรณี “สไนเปอร์” ที่กลายเป็นปมสำคัญของความจริง แต่กองทัพกลับพยายามสร้างวาทกรรมใหม่ให้เป็นแค่ “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทั้งที่เอกสาร ศอฉ. ระบุชัดเจนว่าเป็น “พลซุ่มยิง” และมีวงเล็บภาษาอังกฤษว่า “Sniper” ที่หมายถึงพลซุ่มยิง (ระยะไกล) หรือผู้ลอบยิงที่มีความสามารถ สูงในการยิงระยะไกล ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่าง ดีเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม
ตราบใดที่ความจริงยังไม่ปรากฏและคนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นโรคความจำเลอะเลือน โกหกตัวเองว่า “ที่นี่ไม่มีคนตาย” และปล่อยให้ “ผู้กระทำผิด” หรือ “ฆาตกร” ลอยนวล ความสามัคคีปรองดองก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด การใช้ความ รุนแรงที่เป็น “อาชญากรรมโดยรัฐ” ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การล้อมปราบประชาชนโดยมี “ใบอนุญาตสั่งฆ่า” ให้ใช้อาวุธสงคราม แม้แต่การซุ่มยิงระยะไกล “ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริง” กันขนาดนี้ แต่ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ..แล้วจะไปหวังอะไรกับความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานที่กำลังหายไปจากระบบยุติธรรมไทย!
“ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุ ระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถาน ที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นอันตรายต่อประชา ชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิ บัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marks manship) ที่มีขีดความสามารถ เพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอก จากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”
เอกสารข้อ 2.5 ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จากทั้งหมด 5 แผ่นที่ประทับตรา “ลับ” โดยระบุถึง “สยก.ศอฉ. ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เมษายน 2553 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ.
ไม่มีสไนเปอร์?
เอกสารของ ศอฉ. ที่ประทับตรา “ลับ” ที่มีการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตหลายเว็บไซต์นั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ. ทบ.) ยอมรับว่าเป็นเอกสารจริง แต่ปฏิเสธเรื่องสไนเปอร์ว่าเป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังตอบคำถามถึงกระสุนที่มีการเบิกจ่ายว่า กระสุนที่เบิกเมื่อเหลือก็จะส่งคืน นอกนั้นใช้ฝึกหัดและจำหน่ายต่อไป ไม่ใช่เบิกไป 3,000 นัด ยิงไป 300 นัด ขาดไป 2,700 นัด แล้วต้องมีคนตาย 2,700 คน ถามว่าคนตายอยู่ที่ไหน มีใครบอกว่าทหารเอาปืนไปยิงคน สื่อไปเอามาจากไหน ต้องไปถามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เพราะถามลูกน้องแล้วเขาบอกว่า “ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง”
เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการใช้ “สไนเปอร์” มีเพียง “พลแม่นปืน ระวังป้องกัน” ที่ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่า นี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง
โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 พ.ต.ท.สม ชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอฉ. ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2553 จนเสร็จสิ้นปฏิบัติการ ปรากฏว่ามีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้ไป 117,923 นัด ในจำนวนนี้มีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด ส่วนกระสุนซ้อมเบิกเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด ซึ่งเป็นการยืนยันว่าทหารที่ใช้ปฏิบัติการช่วงเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 มีการเบิกจ่ายกระสุนจริง รวมถึงมีการใช้กระสุนซุ่มยิง
ใบสั่งฆ่า?
ไม่ว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี จะอ้างเหตุผลและความจำเป็นในการใช้อาวุธอย่างไรก็ตาม แต่ในเอกสารที่ระบุว่า “เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้” รวมถึง “ขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper)” ก็ถูกตั้งคำถามว่าไม่ต่างอะไรกับ “ใบสั่งฆ่า” หรือไม่?
โดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาเปิดเผยผลการสอบสวนคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่าการเสียชีวิตของประชาชนเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่าให้ทุกอย่างเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม แต่ก็ไม่ต้องการให้ออกมาพูดหากคดียังไม่สิ้นสุด รวมถึงการขอร้องผ่านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับการสอบสวนคดี 98 ศพ ซึ่งดีเอสไอทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้เสียหาย พยานในที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดหรือพลซุ่มยิง 1 นายเข้าให้ปากคำ
ขณะที่ศาลอาญามีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ชาวยโสธร ที่ถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภใกล้แอร์พอร์ตลิงค์ จุดประจำการของทหาร หลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พฤษ ภาคม ต่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยจะเรียกนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ขณะนั้น เข้าเบิกความต่อศาลตามคำร้องขอของทนายความญาติผู้ตายกลางเดือนกันยายน ซึ่งนายสุเทพระบุว่าเป็นการเรียกในฐานะพยานฝ่ายทนายโจทก์ ไม่ใช่จำเลย ซึ่งมีความพยายามจะโยนความผิดให้ตนกับนายอภิสิทธิ์ ทั้งที่ไม่เคยสั่งการให้ฆ่าประชาชน
“ถ้าต้องติดคุกเพราะเราตั้งใจดีต่อบ้านเมืองก็ให้มันรู้ไป แต่ยอมรับว่าตอนนี้กำลังเข้าสู่การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่โดยคนชนะ แต่ไม่มีใครลบความจริงได้ เพราะประชาชนเห็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งประ เทศ มีหลักฐานมากมาย แต่ขณะนี้มีความพยายามไม่พูดถึงชายชุดดำ แต่เป็นเรื่องที่เราต้องพูด ถ้าดีเอสไอจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเอาใจรัฐบาลและ ร.ต.อ.เฉลิม ผมก็จะดำเนินคดีกับดีเอสไอ” นายสุเทพกล่าวและยืนยันว่าไม่กลัวติดคุก
รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ได้รายงานสรุปความรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งมีความหนาถึง 932 หน้า ถือเป็นเสียงสะท้อนและมุมมองของประชา ชนที่ตกเป็นเหยื่ออย่างแท้จริง โดยระบุว่าการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ระหว่างวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ถือเป็นการปราบปรามประชาชนที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังทหารของฝ่ายรัฐที่มีการระดมกำลังกว่า 60,000 นาย และใช้กระสุนจริงกว่า 117,923 นัด ในจำนวนนี้เป็นกระสุนซุ่มยิงกว่า 2,000 นัด ในแง่ของความสูญเสียต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิตถึง 94 ราย ในจำนวนนี้เป็นพลเรือน 77 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย อาสา กู้ชีพ/พยาบาล 5 ราย ผู้สื่อข่าว 2 ราย และผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 2,000 ราย
“ยุทธวิธีต่างๆที่รัฐใช้ในเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่า “ขอคืนพื้นที่” และ “กระ ชับวงล้อม” แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนจริงเกือบ 120,000 นัด การใช้กำลังปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมทุกด้าน การใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงจากที่สูง การซุ่มยิงบนรางรถไฟฟ้าเข้าไปยังวัดปทุมวนาราม แต่เป็นความตั้งใจใช้ปฏิบัติการสงครามในเมืองเพื่อสลายการชุมนุมปราบปรามขบวนการคนเสื้อแดง ไม่ใช่เพื่อการเจรจา แต่เพื่อทำลาย ประการสำคัญ ยุทธการ “กระชับวงล้อม” ราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม หลายวันก่อนที่การเจรจาจะถูกล้มลงเสียอีก”
บทนำในรายงานที่เขียนโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังตำหนิคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ไม่กล้าชี้ว่าใครคือผู้กระทำความผิด
ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตของรัฐ ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่กล้าออกมาประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว ซ้ำร้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 รายงานของ กสม. ระบุว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนทั่วไปที่ดำเนินการตามมาตรการที่ประกาศไว้ และกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้
ละเมิดขั้นตอนการสลายการชุมนุม
รายงานของ ศปช. ระบุถึงกรณีที่ ศอฉ. อ้างว่าได้ประกาศเกณฑ์การใช้กระสุนจริงไว้ 3 กรณีคือ 1.เพื่อยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า 2.เพื่อยิงต่อเป้าหมายเมื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดถืออาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม ลูกระเบิดที่จะสามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ และ 3.ยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่เมื่อจะถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตและไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้นั้น
แต่ลักษณะของการเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนพบว่าส่วนใหญ่เสียชีวิตจากกระสุนปืน ขณะที่มากกว่าครึ่งพบบาดแผลบริ เวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ ข้อมูลบาดแผลและสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าวไม่เพียงชี้ว่าปฏิบัติการทางทหาร นี้ไม่ได้ดำเนินการตามกฎการใช้กำลัง 3 ข้อเท่านั้น แต่ยังส่อให้เห็นว่าการยิงของเจ้าหน้าที่มุ่งปลิดชีวิต แม้แต่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพและอาสาสมัครกู้ชีพที่ไม่มีอาวุธ โดยเฉพาะ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม
ที่สำคัญรายงานการชันสูตรพลิกศพที่ไม่เผยแพร่ ต่อสาธารณะ มีข้อมูลระบุว่าผู้เสียชีวิต 87% เพราะ ถูกยิง และถูกยิงเข้าที่บริเวณศีรษะและคอถึง 30% แต่การทำรายงานการชันสูตรพลิกศพของทางการอย่างละเอียดกลับมีความหละหลวมและมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพกลับระบุว่าถูกทุบด้วยของแข็ง
ความอยุติธรรมหลังสลายการชุมนุม
ส่วนการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมนั้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำของวันที่ 19 พฤษภาคม มีภาพและหลักฐานชัดเจนว่ามีการไล่ล่าจับกุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมด้วยวิธีการรุนแรงทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำ มัดมือมัดเท้า ผูกผ้าปิดตา ทำร้ายร่างกายขณะจับกุม แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ก็ถูกจับมัดมือไพล่หลังและใช้คำพูดที่หยาบคาย ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรม และหลายกรณีเจ้าหน้าที่สั่งฟ้องโดยอาศัยเพียงภาพถ่ายในบริเวณที่ชุมนุม โดยไม่มีหลักฐานชี้ว่าผู้ถูกจับกุมกระทำผิดจริงหรือไม่ หรือกรณีเผาศาลากลางจังหวัด ประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นจำเลยเพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์
ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี แต่หลายรายรับสารภาพเพราะถูกข่มขู่และซ้อมทรมาน บางรายถูกขังหลายวันโดยไม่มีโอกาสได้พบญาติหรือปรึกษาทนายความ บางรายตำรวจจูงใจให้รับสารภาพโดยอ้างว่าศาลจะรอลงอาญาเพราะโทษไม่สูง แต่บางรายถูกบังคับให้เซ็นเอกสารโดยไม่มีโอกาสได้อ่านหรืออ่านไม่ออก เช่น คดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ที่สำคัญศาลมักตัดสินภายในวันเดียวหากผู้ต้องหาเลือกรับสารภาพ
แต่ในคดีที่ยังไม่เด็ดขาดซึ่งขณะนี้มีผู้ถูกคุมขังอีกกว่า 30 คนนั้น แม้จะขอประกันตัวหลายครั้งแต่ศาล ก็ไม่ให้ประกัน โดยตั้งเงินประกันไว้สูงมาก แล้วยังอ้างว่าเป็นคดีที่มีโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี และมีหลายคนถูกคุมขังเป็นเวลานานทั้งที่ไม่มีความผิด หรือขังเกินโทษของตน ซ้ำร้ายแม้กรณีที่ศาลสั่งยกฟ้องแต่กลับมีคำสั่งให้ขังไว้ในระหว่างที่อัยการอุทธรณ์
คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล
กว่า 2 ปีที่ผ่านมาของเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 จึงไม่แปลกที่ “คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล” ขณะที่ประชาชนที่บริสุทธิ์กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคนเผาบ้านเผาเมืองและผู้ก่อการร้าย โดยอุปโลกน์เรื่อง “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่วันนี้ยังจับไม่ได้แม้แต่คนเดียว และ “สไนเปอร์” ที่ยิงผู้คนอย่างเลือดเย็นกลับถูกปกป้องว่าเป็นเพียงปืนยิงนก หาซื้อได้ตามตลาดนัด และบิดเบือนต่างๆนานา ทั้งที่มีหลักฐานและตัวตนชัดเจน
ขณะที่รายงานของกองทัพเองก็ระบุชัดเจนว่ากองทัพและรัฐบาลขณะนั้นประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะการกระชับพื้นที่ 10 เมษายน จนทำให้เกิดการสูญเสียอย่างไม่คาดคิดและนำไปสู่การสังหารหมู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งนายอภิสิทธิ์ใน ฐานะผู้นำสูงสุดขณะนั้นยืนยันว่าไม่ผิดและทำทุกอย่างถูกต้อง โดยไม่เอ่ยปากขอโทษประชาชนแม้แต่คำเดียว
เช่นเดียวกับกองทัพที่แม้จะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ก็ไม่ควรปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่า “ไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง” ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องปกป้องลูกน้อง แต่ไม่ควรใช้วาทกรรมบิดเบือนและโกหกตอแหลอย่างที่ ศอฉ. ใช้โฆษณาชวนเชื่อและอ้างความชอบธรรมในการไล่ล่าคนเสื้อแดงโดยการอุปโลกน์ “ผังล้มเจ้า” ที่เป็นแค่ “ผังกำมะลอ” แต่วันนี้กลับไม่มีคำ “ขอ โทษประชาชน” แม้แต่คำเดียว
การปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกองทัพจึงไม่ใช่การออกมาตอบโต้หรือข่มขู่ แต่ต้องทำ “ความจริงให้ปรากฏ” เพราะทหารอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล
ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้กระสุนจริงกี่แสนนัด และกระสุนซุ่มยิงกี่พันนัด กองทัพก็ต้องเอาหลักฐานมายืนยันว่าใช้กระสุนไปเท่าไร เหลือเท่าไร ไม่ใช่กระ สุนหายไปอย่างปริศนาโดยไม่มีคำตอบใดๆ เพราะเป็นทรัพย์สินราชการที่ต้องมีบัญชีรับจ่ายชัดเจน ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีการทุจริต
ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริง
วันนี้คนไทย “ตาสว่าง” รู้ความจริงหมดแล้ว เพราะมีทั้งภาพและหลักฐานมากมายที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ประจานความอำมหิตของ สังคมไทยไปทั่วโลก แต่วันนี้ทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และกองทัพก็ยังโยนความผิดไปให้ “ไอ้โม่งชุดดำ”
โดยเฉพาะกรณี “สไนเปอร์” ที่กลายเป็นปมสำคัญของความจริง แต่กองทัพกลับพยายามสร้างวาทกรรมใหม่ให้เป็นแค่ “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทั้งที่เอกสาร ศอฉ. ระบุชัดเจนว่าเป็น “พลซุ่มยิง” และมีวงเล็บภาษาอังกฤษว่า “Sniper” ที่หมายถึงพลซุ่มยิง (ระยะไกล) หรือผู้ลอบยิงที่มีความสามารถ สูงในการยิงระยะไกล ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่าง ดีเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม
ตราบใดที่ความจริงยังไม่ปรากฏและคนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นโรคความจำเลอะเลือน โกหกตัวเองว่า “ที่นี่ไม่มีคนตาย” และปล่อยให้ “ผู้กระทำผิด” หรือ “ฆาตกร” ลอยนวล ความสามัคคีปรองดองก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด การใช้ความ รุนแรงที่เป็น “อาชญากรรมโดยรัฐ” ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การล้อมปราบประชาชนโดยมี “ใบอนุญาตสั่งฆ่า” ให้ใช้อาวุธสงคราม แม้แต่การซุ่มยิงระยะไกล “ยิงจริง-ตายจริง-เจ็บจริง” กันขนาดนี้ แต่ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ..แล้วจะไปหวังอะไรกับความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานที่กำลังหายไปจากระบบยุติธรรมไทย!
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ปรากฎการณ์ “ทองลอก”
จาก บล็อก ประทีป คงสิบ
VoiceTV
เมื่อสมัยเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ เพื่อนหนุ่มสาวรุ่นเดียวกับผม ส่วนใหญ่รายได้ยังไม่มากนัก
หากไม่ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อ ชีวิตก็ดำรงอยู่ได้
แต่จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม บางคนก็อยาก“โชว์”ว่า มี”ฐานะ” เครื่องบ่งบอกฐานะประการหนึ่ง
ของคนหนุ่มสาวในยุคเดียวกับผม ก็คือ
การสวมใส่สร้อยคอ /เลสข้อมือ / หรือแหวนที่ทำด้วยทองคำ
บางคนพยามเก็บหอมรอมริบอยู่นานกว่าจะได้เลสทอง(แท้)สักเส้น แต่บางคนก็ใช้วิธีรวยลัด ด้วยการใส่สร้อย
หรือเลสที่เป็นทองชุบ งานทองชุบดีๆนี่ดูแทบไม่ออกเลยนะครับ
แค่นี้ก็ทำให้ผู้สวมใส่ดูดีมีฐานะในสายตาคนภายนอก เป็นที่ชื่นชมและอยากคบค้าสมาคม(สำหรับคนที่ชอบคบคนโดยดูฐานะ)
แต่เมื่อไม่ใช่ทองแท้ เป็นแค่ “ทองชุบ” ต่อให้ใช้กรรมวิธีดีแค่ไหน
ในที่สุดทองมันก็ลอกเข้าสักวัน
ใครที่อยากรวยแบบหลอกๆ ก็เอากลับไปให้ช่างชุบใหม่
ผมคิดถึงเรื่อง “ทองชุบ”
/ “ทองลอก” เพราะเผอิญช่วงนี้เห็นข่าว
กรณีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกกล่าวหาว่า
“หนีทหาร” และใช้เอกสารที่มีพิรุธเพื่อสมัครเข้าเป็นอาจารย์ร.ร.นายร้อยจปร.
กลับมาเป็นข่าวโด่งดังอีกครั้ง
ตอนที่มีการเปิดประเด็นข่าวนี้ครั้งแรกๆเมื่อปี
๒๕๔๒
และอีกหลายปีต่อมาเมื่อคุณจตุพร พรหมพันธุ์ นำมาโจมตีคุณอภิสิทธิ์(และถูกฟ้องร้องเป็นคดีความอยู่ในศาลขณะนี้)
ผมเองยังมองว่าเป็นประเด็นที่ “ไม่เข้าท่า”นัก
เพราะจากประวัติชีวิตของคุณอภิสิทธิ์ ผู้ที่สังคมวาดหวังว่า นี่คือ “นักการเมืองในฝัน”(การศึกษาดี/บุคคลิกภาพดี/ชาติตระกูลดี/วาทศิลป์ดี/หน้า ตาดี)
ใครๆก็รู้ว่า เคยรับราชการเป็นอาจารย์ร.ร.นายร้อยจปร.
มียศร.ต.อีกต่างหาก แล้วจะมามีปัญหา “หนีทหาร”ได้อย่างไร
สารภาพผิดเลยว่า ช่วงนั้นในฐานะบรรณาธิการข่าว ผมยังบอกกับนักข่าวในสังกัดว่า
อย่าเล่นเรื่องนี้เลย เพราะนอกจากรู้ว่าคุณอภิสิทธิ์เคยรับราชการทหารแล้ว
ยังมั่นใจกับ“ภาพลักษณ์”ส่วนตัวของคุณอภิสิทธิ์ที่ปรากฎ
ว่าคนๆนี้ เป็น “นักการเมืองน้ำดี”ที่ต้องช่วยกันส่งเสริม
จนเกิดเหตุเมษา-พฤษภา ๕๓ พร้อมความตาย ๙๘ ศพนี่แหละครับ ที่ทำให้ความเชื่อของผมสั่นคลอนและพังทลาย
“ทองชุบ” ที่ผมเคยเชื่อว่าเป็น “ทองแท้” เริ่มลอกร่อน
และเมื่อเรื่องเก่าหลายปีมาแล้ว ถูกนำมารื้อฟื้น ผมกลับไปตรวจสอบ อ่านและฟังการลำดับหลักฐานข้อมูล
ของฝั่งผู้กล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหา เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ คำว่า “ทองลอก” ก็ผุดขึ้นมาในมโนสำนึก
โธ่ !
ไม่ต้องไปไกลถึงขั้นว่าใช้เอกสารปลอมหรือไม่หรอกครับ เอาแค่ว่ารับราชการหนึ่งปี แต่ลากิจถึง
๒๐๐ กว่าวัน แถมตอนที่เริ่มใช้สิทธิ์ลา ก็เพิ่งบรรจุได้ไม่กี่วันอีก ถามว่าถ้าเป็นสามัญชนทั่วไป
มีใครทำได้ และมีองค์กรไหนที่อนุญาตให้ทำได้บ้าง(ถึงบางอ้อเลย ว่า
ทำไมถึงชื่อ “อภิสิทธิ์”)
และถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ ปรากฎการณ์ “ทองลอก” ที่ผมคิดว่าสั่นสะเทือนความรู้สึกสังคมไทย
ในระดับหลายริกเตอร์ ยังมีอีก ๒ กรณี
กรณีแรกคือ ผลสอบการถือครองที่ดินเขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา
ของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี
และองคมนตรีในปัจจุบัน ซึ่งในที่สุดมีข้อสรุปว่า
เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ(แต่พล.อ.สุรยุทธ์ กลับไม่มีความผิดใดๆ?)
“ภาพลักษณ์”ของพล.อ.สุรยุทธ์ ก่อนจะเกิดกรณีรุกเขายายเที่ยง
ก็เหมือนๆกับคุณอภิสิทธิ์นั่นแหละครับ คือ
มีภาพของความเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรมสูงส่ง แต่ที่เหนือกว่าคุณอภิสิทธิ์ และย้อนแย้งกับข้อหารุกป่าอย่างมาก
ก็ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ มีภาพของความเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติ
ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป เพราะเคยเป็นประธานมูลนิธิอนุรักษ์ป่าเขาใหญ่
ทั้งสองคนนี้(คุณอภิสิทธิ์และพล.อ.สุรยุทธ์) ช่างบังเอิญเหมือนกันอีกอย่าง คือ
ต่างถูกรับประกันในคุณสมบัติที่เพียบพร้อมของความเป็น “คนดี” จากพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ผู้ซึ่งมักเดินสายเรียกร้องให้คนไทยและสังคมไทย
ประพฤติตัวเป็นคนดีมีคุณธรรม เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน
อยู่เนืองๆ
กล่าวสำหรับพล.อ.สุรยุทธ์ เมื่อครั้งก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หลังการรัฐประหาร
๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ พล.อ.เปรม เคยกล่าวชมในทำนองว่า
เป็นคนที่เสียสละเพื่อบ้านเมือง เหมือนวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง(๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙)
ขณะที่คุณอภิสิทธิ์ ก็ไม่น้อยหน้า เพราะพล.อ.เปรม
ก็เคยกล่าวชมเมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆเหมือนกันว่า “คนไทยโชคดีที่ได้คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี”(๒๘
ธ.ค. ๒๕๕๑)
แต่คนไทยและประเทศไทยโชคดีที่เคยมีคุณอภิสิทธิ์
และพล.อ.สุรยุทธ์
เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ วันนี้หลายคนคงได้คำตอบกันแล้ว
ปรากฎการณ์ “ทองลอก”อีกกรณี ที่วันนี้หลายคนอาจจะลืมเลือนชื่อนี้ไปบ้างแล้ว
คือ กรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่โดนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ชี้มูลความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ กรณีจัดสัมมนาโครงการ “สตง.ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” เป็นเท็จ
โดยข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นการเบิกงบเพื่อจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน(๖
ก.ย. ๒๕๕๔)
ก่อนหน้าเกิดการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน
๒๕๔๙
ถ้ายังจำกันได้ ชื่อคุณหญิงจารุวรรณ
หอมฟุ้งอย่างมากในฐานะ“คนดีของแผ่นดิน”
ซื่อสัตย์สุจริต/มีคุณธรรมจริยธรรมสูงส่ง เป็นแบบอย่างของข้าราชการในอุดมคติ จึงไม่แปลกที่หลังการรัฐประหาร คุณหญิงจารุวรรณ
จึงยิ่งมีบทบาทโดดเด่นขึ้นไปอีก เพราะถูกมอบดาบอาญาสิทธิ์
ในนามคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือ คตส.(ร่วมกับ “คนดี”อื่นๆ) ให้เล่นงานนักการเมืองในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร ที่ถูกโค่นล้ม ด้วยข้อหาหนึ่งคือ
การทุจริตคอรัปชั่น
เพียงสัปดาห์แรกหลังรัฐประหาร คุณหญิงจารุวรรณ ให้สัมภาษณ์สื่ออย่างมั่นใจว่า
จะดำเนินคดีกับนักการเมืองเหล่านี้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์
หลักฐานพร้อมสุด เอาผิดได้แน่นอนเป็นกรณีแรก(๒๑
ก.ย. ๒๕๔๙)
แต่จนถึงวันนี้ อย่างที่รู้กัน คดีซีทีเอ็กซ์เงียบหายไปแล้ว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ที่เป็นผู้เปิดประเด็นทุจริตจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์
ยังต้องลงขอโทษ “เสียเช” นายวรพจน์ ยศะทัตต์ ผู้ขายเครื่องซีทีเอ็กซ์
โดยยอมรับว่าเข้าใจผิด
และวิเคราะห์ข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง(๒๒ ก.ย. ๒๕๕๑)
เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับคุณอภิสิทธิ์
/ พล.อ.สุรยุทธ์ และคุณหญิงจารุวรรณ “คนดี”ของสังคมไทย? ที่ผมไล่เรียงมา จึงถือเป็นปรากฎการณ์ที่สั่นสะเทือน สถาบัน”คนดี”
อย่างมาก
น่าจะอนุมานได้กับปรากฎการณ์“ทองลอก”.
ประทีป คงสิบ
๒๕ ก.ค. ๕๕
http://www.voicetv.co.th/blog/1240.html
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555
"มึงไทยมาก" วลีเจ็บจี๊ดของคนไทยที่ต้องสะกิดให้คิดกัน
ที่มาของข้อมูล http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5UVTBOakV3Tmc9PQ==§ionid=
โพสต์คำด่า
"มึงไทยมาก" ที่ระบาดไปทั่วโลกไซเบอร์ในต่างประเทศ
เนื่องจากที่มีเฟซบุ๊กแฟนเพจได้นำวลีฮิต "มึงไทยมาก" มาเผยแพร่จนระบาดว่อนโลกไซเบอร์ โดยอ้างว่าเป็นคำด่าสุดจี๊ดที่กำลังมาแรงส์สสสส...มากในหมู่ชาวฟิลิปปินส์
ใช้สำหรับเปรียบเปรยแนวเสียดสีคนไทย พร้อมกับให้คำอธิบาย 15 ประการที่กระแทกแดกดันคนไทยเข้าอย่างจัง
(ก็น่าเก็บเอาไปคิดกันบ้างว่าถ้าชาวต่างชาติได้เอาความล้าหลังของไทยมาล้อเรียนบ้างจะเป็นอย่างไร อย่างที่เคยมีคนไทยบางคนที่ได้ว่าคนอื่น ว่า "แต่งตัวล๊าวลาว" บ้างเป็นต้น คนประเทศลาวรู้เขาจะรู้สึกอย่างไร)
สำหรับต้นตอการโพสต์วลี
มึงไทยมาก (ที่เชื่อว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น) มีเนื้อหาดังนี้
ผู้ที่นำมาเผยแพร้อ้างว่าได้รวบรวมข้อความที่ชาวฟิลิปปินส์เขียนถึงคนไทย
ว่าคำว่า มึงไทยมาก เป็นคำด่าของชาวฟิลิปปินส์ ด้วยเหตุผลประกอบดังนี้
Let me tell you 15
reasons why Thais sucks!!!!!
ขอบอก เหตุผล 15 ข้อ ว่าทำไมคนไทยถึงห่วยแตก
ขอบอก เหตุผล 15 ข้อ ว่าทำไมคนไทยถึงห่วยแตก
1. They′re bad at
english. They′re terrible!!
คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าความรู้ภาษาอังกฤษของเขาแย่มากเลย
คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าความรู้ภาษาอังกฤษของเขาแย่มากเลย
2. They think their
country is better than other countries (or best in the world)
คนไทยคิดว่าประเทศของตัวเองดีกว่าประเทศอื่น ๆ หรือ ดีที่สุดในโลก
คนไทยคิดว่าประเทศของตัวเองดีกว่าประเทศอื่น ๆ หรือ ดีที่สุดในโลก
3. They use Thai
language on global websites because they′re too dumb and they have no manners.
คนไทยใช้ภาษาไทยในเว็บไซต์ทั่วโลก เพราะพวกเขาโง่เง่าและไร้มารยาท
คนไทยใช้ภาษาไทยในเว็บไซต์ทั่วโลก เพราะพวกเขาโง่เง่าและไร้มารยาท
4. They′re Steve Jobs′
slaves.
คนไทยเป็นทาสของสตีฟ จ็อบส์
คนไทยเป็นทาสของสตีฟ จ็อบส์
5. They′re retarded.
very close to the north korean level.
ประเทศไทยพัฒนาอย่างเชื่องช้าจนแทบจะเท่ากับประเทศเกาหลีเหนือเข้าไปทุกที
ประเทศไทยพัฒนาอย่างเชื่องช้าจนแทบจะเท่ากับประเทศเกาหลีเหนือเข้าไปทุกที
6. They use pirated
softwares.
คนไทยใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
คนไทยใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
7. They hate
democracy. They don′t even have it right now.
คนไทยเกลียดประชาธิปไตย และตอนนี้คนไทยเองก็ยังไม่มีประชาธิปไตยเลย
คนไทยเกลียดประชาธิปไตย และตอนนี้คนไทยเองก็ยังไม่มีประชาธิปไตยเลย
8. Feudalism!!
คนไทยยังใช้ระบบระบบเจ้าขุนมูลนาย
คนไทยยังใช้ระบบระบบเจ้าขุนมูลนาย
9. They snub other
countries in ASEAN. especially Laos and Cambodia. They think their country is
better… no They′re not.
คนไทยดูถูกประเทศอื่นในอาเซียน โดยเฉพาะ ลาว และ กัมพูชา พวกเขาคิดว่าประเทศตัวเองดีกว่า แต่มันไม่ใช่เลย
คนไทยดูถูกประเทศอื่นในอาเซียน โดยเฉพาะ ลาว และ กัมพูชา พวกเขาคิดว่าประเทศตัวเองดีกว่า แต่มันไม่ใช่เลย
10. Faith is bigger
than reasons.
คนไทยมองว่า ความเชื่อเป็นเรื่องใหญ่กว่าเหตุผล
คนไทยมองว่า ความเชื่อเป็นเรื่องใหญ่กว่าเหตุผล
11. They destroyed
Buddhist.
คนไทยทำลายล้างพระพุทธศาสนา
คนไทยทำลายล้างพระพุทธศาสนา
12. They′re
hypocrites. Their country is one of the biggest sex market in the world, They
still refuse to admit it.
คนไทยเสแสร้งทำเป็นไม่รู้และยังคงปฏิเสธว่าประเทศของตนเป็นตลาดค้ากามที่แห่งหนึ่งในโลก
13. Their football
team sucks!!!
ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นทีมที่ห่วยแตกมาก
ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นทีมที่ห่วยแตกมาก
14. Their gov killed
their own citizens!!
รัฐบาลของประเทศฆ่าประชาชนของตัวเอง
รัฐบาลของประเทศฆ่าประชาชนของตัวเอง
15. ………..
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กบฏในราชวงศ์ชิงกบฏชาวนาก่อนยุคประชาธิปไตย
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 373 วันที่ 18 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 หน้า 13 คอลัมน์ พายเรือในอ่าง โดย อริน
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกับนิยาม “กบฏ” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เป็นเอกภาพสำหรับข้อเขียนชิ้นนี้ เนื่องจากคำว่า “กบฏ” ครอบคลุมความหมายอยู่หลายบริบทที่หมายถึง “การยึดอำนาจการปกครองที่ไม่สำเร็จ” ไม่ว่าการยึดอำนาจนั้นจะมีจุดมุ่งหมายหรือเนื้อหา “เปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง” หรือเพียงแต่ “เปลี่ยนมือผู้กุมอำนาจการปกครอง” แต่ทั้งนี้ เนื้อหาที่มีลักษณะร่วมประการสำคัญคือเป็นการ “ลุกขึ้นใช้กำลังอาวุธเข้าโค่นล้มอำนาจการปกครองเดิม” โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในหมู่ “ผู้ปกครอง” หรือ “การลุกขึ้นสู้” โดยผู้คนธรรมดาสามัญชนหรือข้าทาสบ่าวไพร่ที่เป็น “ผู้ถูกปกครอง”
ในประวัติอารยธรรมของมนุษย์ยุคการปกครองก่อนประชาธิปไตยคือ ยุคศักดินาสวามิภักดิ์ และยุคราชาธิปไตย หรือที่ในประเทศไทยใช้ว่า “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” นั้นเคยเกิดการลุกขึ้นสู้ขึ้นหลายครั้ง จากสาเหตุหลักถูกสภาพแวดล้อมบังคับกดดันอย่างหนัก และหาทางออกด้วยการล้มล้างสังคมเก่า โดยอาศัยความเชื่อทางศาสนาเป็นอุดมการณ์ บางครั้งเป็นความพยายามลุกขึ้นสู้ของ “ทาส” ในประวัติศาสตร์ยุโรป บางครั้งเป็นการลุกขึ้นสู้ของไพร่ที่มีรากฐานการผลิตแบบเกษตรกรรม ซึ่งเรียกกันว่า “กบฏชาวนา” ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของผู้คนในท้องถิ่น ก่อตัวกันลุกฮือขึ้นต่อต้านนโยบายของรัฐอันก่อให้เกิดผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เช่น การเอารัดเอาเปรียบจากภาครัฐ ทั้งนโยบายที่มีลักษณะการเอารัดเอาเปรียบจากภาครัฐ ทั้งที่มาจากส่วนกลางและทั้งจากขุนนางอำมาตย์หรือเจ้าศักดินาในท้องถิ่นเอง เช่น การเพิ่มภาษีอากร การเก็บส่วนเกณฑ์แรงงานไปการศึกสงคราม
ทั้งนี้ ที่จะละเว้นไม่นำมาพิจารณาในข้อเขียนชิ้นนี้คือ การแย่งยึดอำนาจกันเองของ “ชนชั้นผู้ปกครอง” ทั้งการแย่งราชสมบัติในเชื้อสายราชวงศ์เดียวกัน หรือจากต่างสายราชวงศ์ รวมทั้งการลุกขึ้นแย่งยึดอำนาจจากเจ้าศักดินาเดิมโดยขุนนางอำมาตย์ ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาราชวงศ์ใหม่ในกรณีที่ก่อการสำเร็จ หรือการกลายเป็น “กบฏ” ที่เรียกกันว่า “ประหารเจ็ดชั่วโคตร”
สำหรับในบริบทของ “กบฏชาวนา” ที่แยกออกจากการ “แย่งยึดอำนาจกันเอง” ในหมู่ชนชั้นปกครองในระบอบศักดินาก็ดี หรือในระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ดี ล้วนแล้วแต่ยากหรือแทบไม่เคยประสบความสำเร็จเลยในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ หากยกตัวอย่างในอาณาจักรจีน นับจากการรวมแผ่นดินและสถาปนาเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียวในสมัย “จิ๋นซีฮ่องเต้” ที่เรียกว่า “ยุคจ้านกว๋อ” ที่ต่อจาก “ยุคชุนชิว” ซึ่งเป็นยุคแห่งการสู้รบกันระหว่างแคว้นต่างๆเพื่อชิงความเป็นใหญ่กว่า 255 ปี โดยมีแคว้นขนาดใหญ่ 7 แคว้นคือ ฉู่, ฉี, หาน, เอี้ยน, จ้าว, เว่ย และฉิน มีกบฏครั้งใหญ่ 3 ครั้งในยุคราชวงศ์ “ชิง” อันเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮั่นซึ่งเป็นชนชาติส่วนใหญ่ของจีนถูกปกครองโดยชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้ยกทัพเข้าโจมตีและเข้ายึดกรุงปักกิ่งอันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1644 และได้เปลี่ยนชื่อจาก “แมนจู” เป็น “ชิง” และสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นในปีเดียวกันนั่นเอง (ราชวงศ์ชิงปกครองจีนจนถึงปี ค.ศ. 1911 มีจักรพรรดิทั้งสิ้น 10 พระองค์ และถูกโค่นล้มโดย “การปฏิวัติซินไฮ่” ที่มี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำ จนได้รับสมญาว่าเป็น “บิดาของจีนใหม่”)
การลุกขึ้นสู้หรือกบฏชาวนาครั้งใหญ่ 3 ครั้งดังกล่าวคือ
กบฏพรรคดอกบัวขาว ในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ที่มีเป้าหมายฟื้นฟูราชวงศ์ต้าหมิง (ไต้เหม็ง) แต่การลุกขึ้นสู้ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1794 และขยายตัวจนดูเหมือนว่าอาจนำไปสู่ชัยชนะขั้นต้นในปี 1796 ถูกทำลายล้างสิ้นในปี 1800 มีการบันทึกตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากการลุกขึ้นสู้นี้ 16 ล้านคน
กบฏไท่ผิง โดยราษฎรจีนเริ่มรวมตัวต่อต้านอำนาจรัฐ มีผู้นำคือ หงซิ่วฉวน เป็นชาวอำเภอฮัวเซี่ยน มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งได้รับอิทธิพลของคริสต์ศาสนา ร่วมกับเฝิงอวิ๋นซาน ก่อตั้งสมาคมนับถือพระเจ้าในคริสต์ศาสนาที่มณฑลกว่างซี แล้วกลายสภาพเป็นกบฏไท่ผิงเทียนกว๋อในเวลาต่อมาในปี ค.ศ. 1851 ปลายรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง
กองทัพของหงซิ่วฉวนกับเฝิงอวิ๋นซานมีกำลังพลกว่าล้านคนบุกยึดเมืองหนานจิงได้ในปี ค.ศ. 1853 เป็นปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิง แต่แล้วหลังจากได้ชัยชนะในหลายสมรภูมิช่วงท้ายของกบฏไท่ผิงเทียนกว๋อ ผู้นำทั้งสองเกิดความขัดแย้งกันเองด้วยการแยกตัวเป็นอิสระ การลอบสังหารกันด้วยความระแวงใจ ทำให้กองทัพกบฏเริ่มอ่อนแอลง กอปรกับราชสำนักชิงขอร้องกองทัพอังกฤษซึ่งมีอาวุธทันสมัยและทหารแข็งแกร่งให้ช่วยกวาดล้างกบฏแลกกับผลประโยชน์ที่เสนอให้อังกฤษ ฝ่ายกบฏเริ่มสูญเสียที่มั่นไปจนถึงปลายปี ค.ศ. 1863 รัชสมัยของจักรพรรดิถงจื้อ (ซึ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลของอดีตสามัญชนชื่อ “เยโฮนาลา” หากได้เข้าวังเป็นนางสนมและได้รับการยกเป็น “เจ้าจอมหลัน” และในเวลาต่อมาได้เป็นพระนางซูสี มเหสีฝ่ายซ้าย หรือซูสีไทเฮา) ปีที่ 2 ทหารชิงและทหารต่างชาติล้อมเมืองเทียนจินได้ ปีถัดมาเมืองนั้นเกิดสภาพอดอยาก หงซิ่วฉวนฆ่าตัวตาย เมืองเทียนจินแตก จึงถือเป็นการปิดฉากกบฏไท่ผิงเทียนกว๋อลง แต่จิตวิญญาณต่อต้านราชวงศ์ชิงยังฝังแน่นในหัวใจของชาวฮั่น ซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้เกิดการปฏิวัติต่อต้านแมนจูในเวลาต่อมา ตลอดช่วงของการลุกขึ้นสู้ครั้งนี้มีการบันทึกว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 20 ล้านคน
ก่อนหน้าที่จักรพรรดิเสียนเฟิงจะสิ้นพระชนม์ได้ฝากราชโองการลับไว้ฉบับหนึ่งให้กับมเหสีฝ่ายขวาคือ พระนางซูอัน กำจัดพระนางซูสี มเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งในเวลานั้นมเหสีทั้งคู่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระโอรส ฮ่องเต้ถงจื้อ ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ ต่อมาพระนางซูสีวางยาสังหารพระนางซูอัน จนสามารถรวบอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว)
กบฏนักมวย ซึ่งเป็นการลุกฮือต่อต้านจักรวรรดินิยมและคริสต์ศาสนา นำโดย “สมาคมอี้เหอถวน” เริ่มต้นขึ้นในเมืองซานตงในปี 1898 มีการลอบสังหารมิชชันนารีชาวตะวันตก ประณามชาวต่างชาติ และเผาโบสถ์ ฯลฯ ในชั้นต้นกบฏนักมวยได้รับการสนับสนุนจากพระนางซูสีไทเฮามาก ทั้งด้านการส่งทัพหลวงมาช่วย และหนุนช่วยในด้านอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ จนกล่าวได้ว่าถูกหลอกใช้ โดยคิดจะคานอำนาจและสร้างการต่อรองกับมหาอำนาจตะวันตกหลังจากเข้ามามีอิทธิพลในจีน และได้ส่งกำลังทหาร อาวุธที่ทันสมัย และมิชชันนารีเข้าไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ แต่ในที่สุดในการยุทธ์หลายครั้งที่เรียกกันว่า “ศึกพันธมิตรแปดชาติ” (รวมญี่ปุ่นด้วย) ก็สามารถปราบกบฏนักมวยลงได้สำเร็จ สามารถยึดเมืองเทียนจินได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1900 ความสูญเสียที่มีบันทึกไว้ ผู้เสียชีวิตเป็นทหารต่างชาติ 2,500 คน พลเรือนชาวต่างชาติ 525 คน ชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์หลายพันคน ในขณะที่ทหารจีนที่ทางราชสำนักส่งมาสนับสนุนเสียชีวิตประมาณ 20,000 คน และกองกำลังกบฏนักมวยประมาณ 100,000-300,000 คน ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง และสามารถสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นในปี ค.ศ. 1911
ในการลุกขึ้นสู้ทุกครั้ง รวมทั้ง 3 ครั้งดังกล่าว กล่าวได้ว่าเกิดขึ้นจากการถูกสภาพแวดล้อมบังคับกดดันอย่างหนัก และหาทางออกด้วยการล้มล้างสังคมเก่านั้น...
กบฏทั้งหมดใช้ไสยศาสตร์นำ และถูกปราบราบคาบ
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ผลสอบกรรมการสิทธิฯชี้มาร์คประกาศภาวะฉุกเฉินจำเป็น-เหมาะสม-ไม่ละเมิดสิทธิฯ
จาก เว็บประชาไท http://www.prachatai.com/journal/2011/07/35930
“ข่าวสด” เผยรายงานกรรมการสิทธิฯ ฉบับเลื่อนการเผยแพร่
ระบุเสื้อแดงชุมนุมไม่สงบ-ติดอาวุธ พร้อมใช้ความรุนแรงตลอดเวลา
ส่วนอภิสิทธิ์ฯ ประกาศ พรก.ฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็นเหมาะสม
ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
การสลายชุมนุมไม่เกินกว่าเหตุเพราะเจ้าหน้าที่ใช้กระบอง-แก๊สน้ำตา-กระสุน
ยาง ส่วนฝ่ายสนับสนุนผู้ชุมนุมมีอาวุธสงคราม
ด้านมาตรการกระชับพื้นที่เป็นไปตามความจำเป็นของ พรก.
หมายเหตุ: หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 8 ก.ค. หน้า 3 ได้เปิดเผย “ผลการตรวจสอบ กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.-19 พ.ค.2553” ของคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยในรายงานมีทั้งหมด 9 กรณีที่สำคัญ
โดย รายงานนี้มีการนำเสนอเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุม กสม. ที่มีนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. เป็นประธานในการประชุม แต่ต่อมาเมื่อ 7 ก.ค. นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ กสม. และเป็นประธานของคณะทำงานดังกล่าว ได้แถลงขอโทษที่ไม่สามารถเปิดเผยรายงานตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของ กลุ่ม นปช. ในวันศุกร์ที่ 8 ก.ค. ตามที่เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้ได้ เนื่องจากมีกรรมการสิทธิบางคน ที่ยังเห็นว่าจะต้องมีประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมและต้องพิจารณาให้ครบถ้วน และเห็นว่าการขยายเวลาเปิดเผยรายงานออกไปจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ พร้อมทั้งยืนยันว่าการเลื่อนไม่ได้มีปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้องแต่อย่าง ใด
ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าวมีความยาว 80 หน้า กำหนดการตรวจสอบไว้ 9 กรณี โดย “ข่าวสด” ได้นำเสนอรายงานการตรวจสอบของ กสม. เอาไว้ดังนี้
กรณีที่ 1 เหตุการณ์การสั่งการของรัฐบาล การปฏิบัติหน้าที่และผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553
ผล การสอบสวนได้ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.2553 นปช.ได้ปลุกระดมมวลชนนัดชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถ.ราชดำเนิน และเคลื่อนขบวนปิดล้อมสถานที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และมีลักษณะยืดเยื้อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ต่อมานายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
วันที่ 17 มี.ค. นปช.ได้เจาะเลือดและนำไปเทและขว้างใส่บ้านพักส่วนตัวนายกฯ และวันที่ 21 มี.ค. สถานการณ์ตึงเครียดลดลง นำไปสู่การเจรจา ที่สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และเหตุการณ์ได้ขยายกว้างขึ้น
วันที่ 7 เม.ย. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง และกลุ่มนปช. ได้ปิดล้อมอาคารรัฐสภา ต่อมารัฐบาลมีคำสั่งปิดระบบสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีทีวี ทำให้สถานการณ์เริ่มมีความรุนแรง กระทั่งวันที่ 10 เม.ย. รัฐบาลได้ประกาศขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน และเกิดการปะทะกันจนมีประชาชนเสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 889 คน
ใน รายงานระบุว่า ข้อเท็จจริงจากการให้การของพยานบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 ราย นปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์ 26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทำให้ฟังได้ว่า
1.1 ผู้ชุมนุม การชุมนุมของกลุ่มนปช. ซึ่งชุมนุมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมี.ค. - 10 เม.ย. ได้ปิดกั้นการจราจร ทั้งที่ถนนราชดำเนิน และสี่แยกราชประสงค์ ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกินสมควร และกระทบต่อสิทธิ์ของคนอื่นในการใช้ชีวิตโดยปกติ และถือเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ
แม้ใน เบื้องต้นการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่วันที่ 10 เม.ย. การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ได้มีการต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม อันถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อม ใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
1.2 รัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เม.ย. เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนทั่วไป ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการตามมาตรการที่ประกาศไว้ก่อนจริง กระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้ แม้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อผู้ชุมนุมทั้งการใช้กระบอง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง แต่เมื่อพิจารณาย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับฝ่ายผู้ชุมนุมที่มีอาวุธและผู้สนับสนุนที่มีอาวุธ สงคราม
การขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลในครั้งนี้ ยังขาดการวางแผนที่ดี ทั้งเชิงรุกและรับ การข่าวที่ไร้ประสิทธิภาพและการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงและมีอาวุธร้าย แรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก ซึ่งการที่รัฐบาลไม่สามารถวางแผนหรือบริหารจัดการควบคุมสถานการณ์อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ประชาชนและผู้ชุมนุมเสียชีวิต รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการชดใช้เยียวยาความเสียหาย
นอกจากนี้เหตุ ระเบิดในที่ประชุมนายทหารโดยการเข้าเป้าด้วยแสงเลเซอร์ แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนเพื่อฆาตกรรมนายทหาร ได้แก่ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และ ส.ท.ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อันเป็นการกระทำที่แฝงอยู่ในเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มชายฉกรรจ์ จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งรัฐบาลต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดง เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2553
จาก การสอบถามพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ 21 ราย และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรงโดยระเบิดเอ็ม 79 ทั้ง 5 ลูกถูกยิงมาจากทิศทางที่กลุ่มนปช.ชุมนุม โดยมีแกนนำรับรู้ล่วงหน้า มีการเตรียมการระวังป้องกันมิให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้รับบาดเจ็บ มีการวางแผนจุดพลุตะไลและประทัดเพื่อบิดเบือนการยิงระเบิดเอ็ม 79 ขณะที่รัฐบาลมอบให้ตำรวจเข้ามาแก้ไขสถานการณ์
แต่จากพยานหลักฐาน นอกจากตำรวจจะนำรถควบคุมผู้ต้องหามากั้นบริเวณสี่แยกศาลาแดงแล้ว มิได้ดำเนินการอื่นใดให้เหตุการณ์สงบ นอกจากนี้เวลา 21.45 น. ตำรวจได้ออกมาจากโรงแรมดุสิตธานี โดยตั้งแถวหน้ากระดานและเปิดไฟสว่างใส่กลุ่มวัยรุ่นบนถนนสีลมที่ขว้างปาขวด ใส่ผู้ชุมนุม นปช. และไล่ตีกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงประชาชนที่ไม่รู้เรื่องโดยไม่มีการประกาศเตือน การกระทำดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553
คณะ กรรมการเห็นว่า การที่มีทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืน ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพได้ให้ข้อมูลว่า ทหารที่เสียชีวิตถูกยิงจากระยะไกลเนื่องจากไม่พบคราบเขม่า ดังนั้น รัฐบาลต้องมีหน้าที่นำคนผิดมาลงโทษ
กรณี ที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2553
คณะ กรรมการเห็นว่า กลุ่มนปช.ได้ขยายพื้นที่การชุมนุม จากสี่แยกราชประสงค์ มาถึงโรงพยาบาลจุฬาฯ และการชุมนุมมีการจัดตั้งถังแก๊สหน้าโรงพยาบาลจนต้องย้ายผู้ป่วย ถือเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิ์ของผู้ป่วย รวมทั้งแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนการเข้าไปตรวจค้นในโรงพยาบาลจุฬาฯ นั้น เข้าข่ายบุกรุกและเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล
กรณี ที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาล การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค.2553 รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ
คณะ กรรมการเห็นว่าการชุมนุมของ นปช. เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและมีอาวุธปืนอยู่ในสถานที่ชุมนุม มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มชุมนุมส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ส่วน มาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบ ตั้งแต่วันที่ 13-19 พ.ค.2553 ตามประกาศของศอฉ.นั้น เห็นว่าเป็นกรณีที่รัฐบาลกำหนดขึ้นโดยความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ของพระราช กำหนดดังกล่าว แต่มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์ ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมีผู้เสียชีวิต 57 ราย และบาดเจ็บ 437 คน
แม้ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏกรณีเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย จากการยิงปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่มผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในนปช. ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
ส่วนพฤติการณ์การกระทำของ ฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมในการเผาอาคารทรัพย์สิน ขยายไปถึงการเผาศาลากลางในหลายจังหวัด เห็นได้ว่าเป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวายและไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นและกระทำผิดกฎหมายอาญา
กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนาราม ระหว่างวันที่ 19-20 พ.ค.2553
คณะ กรรมการพิจารณาเห็นว่า รัฐบาลโดย ศอฉ.ได้ปฏิบัติการกดดันกระชับพื้นที่อย่างจริงจังมาตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. จนเกิดสถานการณ์การยิงปะทะในบริเวณพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่โดยรอบ ในสภาพที่บ้านเมืองวุ่นวาย ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ศพและบาดเจ็บ 7 คน ในวัดปทุมฯ
การรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพและผู้เสียชีวิตบางรายเป็นการเสียชีวิตนอกวัด บางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิด ขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการ ยุติธรรม
กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 และการดำเนินการเพื่อระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน
คณะ กรรมการพิจารณาเห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวมีเจตนาให้อำนาจแก่นายกฯ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การที่นายกฯใช้มาตรการดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและ เป็นความจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรง และไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มนปช. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 20 พ.ค.2553 ทั่วกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงการล้อมอาคารสถานที่ต่างๆ
คณะ กรรมการพิจารณาแล้วแยกเป็น 2 กรณี 1.การเคลื่อนไหวของ นปช.ทั่วกทม.และปริมณฑลในลักษณะขบวนรถยนต์และจักรยานยนต์นับพันคัน รวมทั้งมีเครื่องขยายเสียงกว่า 10 คัน เป็นการกระทำให้เกิดการจราจรติดขัดไปทั่วกทม. และเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2553 ยังปรากฏว่า นปช.ได้ทำร้ายคนขับแท็กซี่และทุบกระจกรถจนแตก เป็นการละเมิดสิทธิ์ในร่างกายและทรัพย์สิน
2.กรณีที่ นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล การเจาะเลือดนั้น เป็นการกระทำของแพทย์และพยาบาลนั้น เป็นการกระทำผิดต่อวิชาชีพตนเองและละเมิดต่อผู้ที่รับการเจาะเลือดอีกด้วย แม้เจ้าตัวยินยอม และการนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตลอดจนความรุนแรงต่อสื่อมวลชนในรูปแบบอื่น
คณะ กรรมการฯ พิจารณาว่าผลการเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือ ครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
กสม. ยังได้ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ 7 ข้อ อาทิ ให้รัฐบาลสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษ การสังเคราะห์บทเรียนจากความขัดแย้ง เป็นต้น
หมายเหตุ: หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 8 ก.ค. หน้า 3 ได้เปิดเผย “ผลการตรวจสอบ กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.-19 พ.ค.2553” ของคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยในรายงานมีทั้งหมด 9 กรณีที่สำคัญ
โดย รายงานนี้มีการนำเสนอเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุม กสม. ที่มีนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. เป็นประธานในการประชุม แต่ต่อมาเมื่อ 7 ก.ค. นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ กสม. และเป็นประธานของคณะทำงานดังกล่าว ได้แถลงขอโทษที่ไม่สามารถเปิดเผยรายงานตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของ กลุ่ม นปช. ในวันศุกร์ที่ 8 ก.ค. ตามที่เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้ได้ เนื่องจากมีกรรมการสิทธิบางคน ที่ยังเห็นว่าจะต้องมีประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมและต้องพิจารณาให้ครบถ้วน และเห็นว่าการขยายเวลาเปิดเผยรายงานออกไปจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ พร้อมทั้งยืนยันว่าการเลื่อนไม่ได้มีปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้องแต่อย่าง ใด
ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าวมีความยาว 80 หน้า กำหนดการตรวจสอบไว้ 9 กรณี โดย “ข่าวสด” ได้นำเสนอรายงานการตรวจสอบของ กสม. เอาไว้ดังนี้
000
ผล การสอบสวนได้ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.2553 นปช.ได้ปลุกระดมมวลชนนัดชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถ.ราชดำเนิน และเคลื่อนขบวนปิดล้อมสถานที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และมีลักษณะยืดเยื้อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ต่อมานายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
วันที่ 17 มี.ค. นปช.ได้เจาะเลือดและนำไปเทและขว้างใส่บ้านพักส่วนตัวนายกฯ และวันที่ 21 มี.ค. สถานการณ์ตึงเครียดลดลง นำไปสู่การเจรจา ที่สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และเหตุการณ์ได้ขยายกว้างขึ้น
วันที่ 7 เม.ย. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง และกลุ่มนปช. ได้ปิดล้อมอาคารรัฐสภา ต่อมารัฐบาลมีคำสั่งปิดระบบสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีทีวี ทำให้สถานการณ์เริ่มมีความรุนแรง กระทั่งวันที่ 10 เม.ย. รัฐบาลได้ประกาศขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน และเกิดการปะทะกันจนมีประชาชนเสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 889 คน
ใน รายงานระบุว่า ข้อเท็จจริงจากการให้การของพยานบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 ราย นปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์ 26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทำให้ฟังได้ว่า
1.1 ผู้ชุมนุม การชุมนุมของกลุ่มนปช. ซึ่งชุมนุมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมี.ค. - 10 เม.ย. ได้ปิดกั้นการจราจร ทั้งที่ถนนราชดำเนิน และสี่แยกราชประสงค์ ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกินสมควร และกระทบต่อสิทธิ์ของคนอื่นในการใช้ชีวิตโดยปกติ และถือเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ
แม้ใน เบื้องต้นการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่วันที่ 10 เม.ย. การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ได้มีการต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม อันถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อม ใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
1.2 รัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เม.ย. เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนทั่วไป ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการตามมาตรการที่ประกาศไว้ก่อนจริง กระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้ แม้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อผู้ชุมนุมทั้งการใช้กระบอง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง แต่เมื่อพิจารณาย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับฝ่ายผู้ชุมนุมที่มีอาวุธและผู้สนับสนุนที่มีอาวุธ สงคราม
การขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลในครั้งนี้ ยังขาดการวางแผนที่ดี ทั้งเชิงรุกและรับ การข่าวที่ไร้ประสิทธิภาพและการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงและมีอาวุธร้าย แรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก ซึ่งการที่รัฐบาลไม่สามารถวางแผนหรือบริหารจัดการควบคุมสถานการณ์อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ประชาชนและผู้ชุมนุมเสียชีวิต รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการชดใช้เยียวยาความเสียหาย
นอกจากนี้เหตุ ระเบิดในที่ประชุมนายทหารโดยการเข้าเป้าด้วยแสงเลเซอร์ แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนเพื่อฆาตกรรมนายทหาร ได้แก่ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และ ส.ท.ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อันเป็นการกระทำที่แฝงอยู่ในเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มชายฉกรรจ์ จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งรัฐบาลต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดง เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2553
จาก การสอบถามพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ 21 ราย และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรงโดยระเบิดเอ็ม 79 ทั้ง 5 ลูกถูกยิงมาจากทิศทางที่กลุ่มนปช.ชุมนุม โดยมีแกนนำรับรู้ล่วงหน้า มีการเตรียมการระวังป้องกันมิให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้รับบาดเจ็บ มีการวางแผนจุดพลุตะไลและประทัดเพื่อบิดเบือนการยิงระเบิดเอ็ม 79 ขณะที่รัฐบาลมอบให้ตำรวจเข้ามาแก้ไขสถานการณ์
แต่จากพยานหลักฐาน นอกจากตำรวจจะนำรถควบคุมผู้ต้องหามากั้นบริเวณสี่แยกศาลาแดงแล้ว มิได้ดำเนินการอื่นใดให้เหตุการณ์สงบ นอกจากนี้เวลา 21.45 น. ตำรวจได้ออกมาจากโรงแรมดุสิตธานี โดยตั้งแถวหน้ากระดานและเปิดไฟสว่างใส่กลุ่มวัยรุ่นบนถนนสีลมที่ขว้างปาขวด ใส่ผู้ชุมนุม นปช. และไล่ตีกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงประชาชนที่ไม่รู้เรื่องโดยไม่มีการประกาศเตือน การกระทำดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553
คณะ กรรมการเห็นว่า การที่มีทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืน ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพได้ให้ข้อมูลว่า ทหารที่เสียชีวิตถูกยิงจากระยะไกลเนื่องจากไม่พบคราบเขม่า ดังนั้น รัฐบาลต้องมีหน้าที่นำคนผิดมาลงโทษ
กรณี ที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2553
คณะ กรรมการเห็นว่า กลุ่มนปช.ได้ขยายพื้นที่การชุมนุม จากสี่แยกราชประสงค์ มาถึงโรงพยาบาลจุฬาฯ และการชุมนุมมีการจัดตั้งถังแก๊สหน้าโรงพยาบาลจนต้องย้ายผู้ป่วย ถือเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิ์ของผู้ป่วย รวมทั้งแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนการเข้าไปตรวจค้นในโรงพยาบาลจุฬาฯ นั้น เข้าข่ายบุกรุกและเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล
กรณี ที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาล การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค.2553 รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ
คณะ กรรมการเห็นว่าการชุมนุมของ นปช. เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและมีอาวุธปืนอยู่ในสถานที่ชุมนุม มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มชุมนุมส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ส่วน มาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบ ตั้งแต่วันที่ 13-19 พ.ค.2553 ตามประกาศของศอฉ.นั้น เห็นว่าเป็นกรณีที่รัฐบาลกำหนดขึ้นโดยความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ของพระราช กำหนดดังกล่าว แต่มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์ ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมีผู้เสียชีวิต 57 ราย และบาดเจ็บ 437 คน
แม้ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏกรณีเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย จากการยิงปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่มผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในนปช. ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
ส่วนพฤติการณ์การกระทำของ ฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมในการเผาอาคารทรัพย์สิน ขยายไปถึงการเผาศาลากลางในหลายจังหวัด เห็นได้ว่าเป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวายและไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นและกระทำผิดกฎหมายอาญา
กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนาราม ระหว่างวันที่ 19-20 พ.ค.2553
คณะ กรรมการพิจารณาเห็นว่า รัฐบาลโดย ศอฉ.ได้ปฏิบัติการกดดันกระชับพื้นที่อย่างจริงจังมาตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. จนเกิดสถานการณ์การยิงปะทะในบริเวณพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่โดยรอบ ในสภาพที่บ้านเมืองวุ่นวาย ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ศพและบาดเจ็บ 7 คน ในวัดปทุมฯ
การรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพและผู้เสียชีวิตบางรายเป็นการเสียชีวิตนอกวัด บางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิด ขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการ ยุติธรรม
กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 และการดำเนินการเพื่อระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน
คณะ กรรมการพิจารณาเห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวมีเจตนาให้อำนาจแก่นายกฯ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การที่นายกฯใช้มาตรการดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและ เป็นความจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรง และไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มนปช. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 20 พ.ค.2553 ทั่วกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงการล้อมอาคารสถานที่ต่างๆ
คณะ กรรมการพิจารณาแล้วแยกเป็น 2 กรณี 1.การเคลื่อนไหวของ นปช.ทั่วกทม.และปริมณฑลในลักษณะขบวนรถยนต์และจักรยานยนต์นับพันคัน รวมทั้งมีเครื่องขยายเสียงกว่า 10 คัน เป็นการกระทำให้เกิดการจราจรติดขัดไปทั่วกทม. และเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2553 ยังปรากฏว่า นปช.ได้ทำร้ายคนขับแท็กซี่และทุบกระจกรถจนแตก เป็นการละเมิดสิทธิ์ในร่างกายและทรัพย์สิน
2.กรณีที่ นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล การเจาะเลือดนั้น เป็นการกระทำของแพทย์และพยาบาลนั้น เป็นการกระทำผิดต่อวิชาชีพตนเองและละเมิดต่อผู้ที่รับการเจาะเลือดอีกด้วย แม้เจ้าตัวยินยอม และการนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตลอดจนความรุนแรงต่อสื่อมวลชนในรูปแบบอื่น
คณะ กรรมการฯ พิจารณาว่าผลการเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือ ครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
กสม. ยังได้ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ 7 ข้อ อาทิ ให้รัฐบาลสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษ การสังเคราะห์บทเรียนจากความขัดแย้ง เป็นต้น
ไขคำสั่งลับ"สไนเปอร์" ใครเกี่ยว-ไม่เกี่ยว !!??
ที่มา:มติชนรายวัน 20 สิงหาคม 2555
หมายเหตุ - กรณีเอกสารลับคำสั่งการการใช้อาวุธของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ถูกนำออกมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต โดยระบุว่ามีการสั่งการให้ใช้พลแม่นปืน หรือสไนเปอร์ มีความเห็นทั้งจาก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะอดีตกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (ทบ.) เกี่ยวกับเรื่องนี้
ธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ใน ฐานะอดีตกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้รับข้อมูลเรื่องคำสั่งการจากสื่อเช่นกัน แต่ช่วงที่เป็นกรรมการ ศอฉ. ขณะนั้นไม่เคยเห็นคำสั่งดังกล่าว แต่เท่าที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องทราบว่าลักษณะการทำงานของ ศอฉ.จะแบ่งผู้ปฏิบัติงานหลักเป็น 4 ส่วน คือ 1.บุคคลจากฝ่ายการเมือง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง 2.ข้าราชการตำรวจ ถือว่าเป็นผู้รักษากฎหมาย 3.ข้าราชการทหาร จะเข้ามาร่วมปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะกำลังหลักที่สำคัญ และส่วนสุดท้าย 4.ข้าราชการพลเรือน ในส่วนนี้ผมเข้าไปเกี่ยวข้องจะมีบุคคลจำนวนมาก เท่าที่ทราบ จะเป็นปลัดกระทรวงทุกกระทรวงและอธิบดีกรมที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ การประชุมของคณะกรรมการ ศอฉ.ชุดใหญ่ จะประชุมอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือวันละ 2 ครั้ง แบ่งออกเป็นการประชุมใหญ่และการประชุมย่อย การประชุมคณะกรรมการ ศอฉ.ชุดใหญ่ จะเป็นการประชุมเพื่อรายงานสถานการณ์ที่ผ่านมาในรอบ 24 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง และวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วง 12 หรือ 24 ชั่วโมงข้างหน้า การประชุมของ ศอฉ.ชุดใหญ่นี้ จะไม่มีการหารือ หรือตัดสินใจ หรือสั่งการ ในเรื่องสำคัญใดๆ มีเพียงการรายงานและวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวเท่านั้น
"แต่การ ประชุมย่อยต่างหากจะมีสาระสำคัญ เท่าที่ผมทราบ มีการประชุมส่วนยุทธการ และส่วนงานการข่าว และอื่นๆ เฉพาะส่วนการประชุมยุทธการ น่าจะถือว่ามีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นการสั่งการ บัญชาการ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และการประชุมย่อยในส่วนยุทธการนี้ จะมี 3 ส่วน เฉพาะฝ่ายการเมือง ฝ่ายตำรวจ ทหารเท่านั้น ฝ่ายพลเรือนไม่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ผมจึงได้เข้าร่วมเฉพาะการประชุมใหญ่ดังกล่าว แต่การประชุมยุทธการ ผมไม่ถูกกำหนดให้เข้าร่วมด้วย เท่าที่ทราบ หลังจากมีการประชุมยุทธการแต่ละครั้ง จะมีการทำคำสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อถือปฏิบัติในแต่ละเรื่อง น่าจะรวมถึงเรื่องการสั่งการ ให้มีการใช้กำลังเพื่อปฏิบัติการต่างๆ ด้วย"
ส่วนตัวมีความเห็น เรื่องนี้ว่า ศอฉ.ทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ที่คับขันของบ้านเมืองขณะนั้นแล้ว แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆ มุมมอง แต่ผมมีความเห็นในมุมหนึ่งว่า สภาวะบ้านเมืองที่วิกฤตเช่นนั้น ศอฉ.ได้ปฏิบัติการเหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติได้ในที่สุด และการสูญเสียในชีวิตและร่างกายของตำรวจ ทหาร และพลเรือน ก็ไม่เกิดการฆ่าและทำร้ายกัน อย่างรุนแรงไปมากกว่านี้
ปกติการออกคำ สั่งการแต่ละครั้ง กลุ่มย่อยต้องขอความเห็น ศอฉ.ชุดใหญ่หรือไม่นั้น ยืนยันว่าไม่มี เพราะคำสั่งการต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมส่วนยุทธการหรือประชุมกลุ่มย่อย ที่มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ที่เข้าร่วมการประชุม
ส่วนประธานการ ประชุมย่อยหรือส่วนยุทธการ ใครนั่งเป็นประธานการประชุมแต่ละครั้งนั้น คงจะมี ผอ.ศอฉ. และบางครั้งก็มีนายกรัฐมนตรีนั่งร่วมอยู่ด้วย
การ ประชุม ศอฉ.ชุดใหญ่จะมีคนมากหน้าหลายตาเข้าร่วมประชุม แต่การประชุมย่อยหรือประชุมส่วนยุทธการจะจำกัดคน ไม่มีข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้าร่วม ดังนั้น ผมจึงไม่ได้เข้าร่วมในส่วนยุทธการ การออกคำสั่งไม่ต้องขอความเห็น ศอฉ.ชุดใหญ่ เพราะประชุมย่อยมีนายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ.นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน และบางครั้งนายอภิสิทธิ์ก็ร่วมนั่งประชุมด้วย
หมายเหตุ - กรณีเอกสารลับคำสั่งการการใช้อาวุธของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ถูกนำออกมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต โดยระบุว่ามีการสั่งการให้ใช้พลแม่นปืน หรือสไนเปอร์ มีความเห็นทั้งจาก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะอดีตกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (ทบ.) เกี่ยวกับเรื่องนี้
ธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ใน ฐานะอดีตกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้รับข้อมูลเรื่องคำสั่งการจากสื่อเช่นกัน แต่ช่วงที่เป็นกรรมการ ศอฉ. ขณะนั้นไม่เคยเห็นคำสั่งดังกล่าว แต่เท่าที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องทราบว่าลักษณะการทำงานของ ศอฉ.จะแบ่งผู้ปฏิบัติงานหลักเป็น 4 ส่วน คือ 1.บุคคลจากฝ่ายการเมือง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง 2.ข้าราชการตำรวจ ถือว่าเป็นผู้รักษากฎหมาย 3.ข้าราชการทหาร จะเข้ามาร่วมปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะกำลังหลักที่สำคัญ และส่วนสุดท้าย 4.ข้าราชการพลเรือน ในส่วนนี้ผมเข้าไปเกี่ยวข้องจะมีบุคคลจำนวนมาก เท่าที่ทราบ จะเป็นปลัดกระทรวงทุกกระทรวงและอธิบดีกรมที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ การประชุมของคณะกรรมการ ศอฉ.ชุดใหญ่ จะประชุมอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือวันละ 2 ครั้ง แบ่งออกเป็นการประชุมใหญ่และการประชุมย่อย การประชุมคณะกรรมการ ศอฉ.ชุดใหญ่ จะเป็นการประชุมเพื่อรายงานสถานการณ์ที่ผ่านมาในรอบ 24 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง และวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วง 12 หรือ 24 ชั่วโมงข้างหน้า การประชุมของ ศอฉ.ชุดใหญ่นี้ จะไม่มีการหารือ หรือตัดสินใจ หรือสั่งการ ในเรื่องสำคัญใดๆ มีเพียงการรายงานและวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวเท่านั้น
"แต่การ ประชุมย่อยต่างหากจะมีสาระสำคัญ เท่าที่ผมทราบ มีการประชุมส่วนยุทธการ และส่วนงานการข่าว และอื่นๆ เฉพาะส่วนการประชุมยุทธการ น่าจะถือว่ามีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นการสั่งการ บัญชาการ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และการประชุมย่อยในส่วนยุทธการนี้ จะมี 3 ส่วน เฉพาะฝ่ายการเมือง ฝ่ายตำรวจ ทหารเท่านั้น ฝ่ายพลเรือนไม่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ผมจึงได้เข้าร่วมเฉพาะการประชุมใหญ่ดังกล่าว แต่การประชุมยุทธการ ผมไม่ถูกกำหนดให้เข้าร่วมด้วย เท่าที่ทราบ หลังจากมีการประชุมยุทธการแต่ละครั้ง จะมีการทำคำสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อถือปฏิบัติในแต่ละเรื่อง น่าจะรวมถึงเรื่องการสั่งการ ให้มีการใช้กำลังเพื่อปฏิบัติการต่างๆ ด้วย"
ส่วนตัวมีความเห็น เรื่องนี้ว่า ศอฉ.ทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ที่คับขันของบ้านเมืองขณะนั้นแล้ว แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆ มุมมอง แต่ผมมีความเห็นในมุมหนึ่งว่า สภาวะบ้านเมืองที่วิกฤตเช่นนั้น ศอฉ.ได้ปฏิบัติการเหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติได้ในที่สุด และการสูญเสียในชีวิตและร่างกายของตำรวจ ทหาร และพลเรือน ก็ไม่เกิดการฆ่าและทำร้ายกัน อย่างรุนแรงไปมากกว่านี้
ปกติการออกคำ สั่งการแต่ละครั้ง กลุ่มย่อยต้องขอความเห็น ศอฉ.ชุดใหญ่หรือไม่นั้น ยืนยันว่าไม่มี เพราะคำสั่งการต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมส่วนยุทธการหรือประชุมกลุ่มย่อย ที่มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ที่เข้าร่วมการประชุม
ส่วนประธานการ ประชุมย่อยหรือส่วนยุทธการ ใครนั่งเป็นประธานการประชุมแต่ละครั้งนั้น คงจะมี ผอ.ศอฉ. และบางครั้งก็มีนายกรัฐมนตรีนั่งร่วมอยู่ด้วย
การ ประชุม ศอฉ.ชุดใหญ่จะมีคนมากหน้าหลายตาเข้าร่วมประชุม แต่การประชุมย่อยหรือประชุมส่วนยุทธการจะจำกัดคน ไม่มีข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้าร่วม ดังนั้น ผมจึงไม่ได้เข้าร่วมในส่วนยุทธการ การออกคำสั่งไม่ต้องขอความเห็น ศอฉ.ชุดใหญ่ เพราะประชุมย่อยมีนายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ.นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน และบางครั้งนายอภิสิทธิ์ก็ร่วมนั่งประชุมด้วย
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
คนไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
จาก http://www.whereisthailand.info
เมื่อพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องทำคือการ “เลือกตั้ง” โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ถือหลักการว่าอำนาจสูงสุดในประเทศ เป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีสิทธิออกเสียงเลือกบุคคลมาเป็นผู้นำประเทศของตนเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หลายคนทราบดีว่าการเลือกตั้งไม่ใช่กิจกรรมเพียงอย่างเดียวในระบอบ ประชาธิปไตย แต่ยังมีกิจกรรมในสังคมอีกหลายอย่างที่นับเป็นการ “มีส่วนร่วม” กับประชาธิปไตยด้วย เช่น การวมกลุ่มเสนอกฎหมาย การตรวจสอบการทำงานของตัวแทนตนเอง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นต่อสาธารณะ การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ การรวมกลุ่มรณรงค์ประเด็นทางสาธารณะต่างๆ ฯลฯ
แต่เนื่องจากการเลือกตั้งคือกิจกรรมขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จึงน่าจะสะท้อน “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนในสังคมนั้นๆได้ไม่น้อย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย [1][2][3][4] แสดงสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter Turnout) ในแต่ละประเทศย้อนหลังไปในอดีตดังที่เห็นในกราฟ
สหรัฐอเมริกา – จากกราฟจะเห็นว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิของสหรัฐนั้นมีการแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ในช่วง 50%-60% ตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์ – นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ประชาชนฟิิลิปปินส์มาใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับสูงมาก สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิไม่เคยลดต่ำลงกว่า 70% เลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
สหราชอาณาจักร – เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในสหราชอาณาจักรนั้นอยู่ใน ช่วง 70%-80% มาตลอด จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่ผู้มาใช้สิทธิลดลงไปอยู่ในระดับ 60%-70%
ไทย – สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 41.5% ในปี 2476 ถึงจุดสูงสุดที่ 85.38% ในปี 2550 โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 นั้น ไทยมีผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้น 75.03%
หมายเหตุ: สัดส่วนผู้มาใช้สิทธินี้นับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ การเลือกตั้งทั่วไป (เลือก สส.) ในประเทศที่ใช่ระบบรัฐสภา ไม่นับการเลือกตั้งวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งปลีกย่อยอื่นๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่าในอดีต รัฐบาลไทยมักต้องรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง “อย่านอนหลับทับสิทธิ” แต่ในปัจจุบัน เรามักไม่เห็นการรณรงค์ในทำนองนั้นแล้ว เป้าหมายของการรณรงค์ได้เปลี่ยนไปจากการมุ่งให้คนออกมาลงคะแนนกันมากๆ เป็นการมุ่งให้คนเลือกคนดีเข้าสภาแทน
ไม่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยในมิติอื่นๆจะมีมากเพียงพอหรือ ไม่ แต่ตัวเลขสัดส่วนผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั้นบอกเราว่า คนไทยในปัจจุบัน “ตื่นตัว” กันมากแล้วกับการใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง
เมื่อพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องทำคือการ “เลือกตั้ง” โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ถือหลักการว่าอำนาจสูงสุดในประเทศ เป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีสิทธิออกเสียงเลือกบุคคลมาเป็นผู้นำประเทศของตนเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หลายคนทราบดีว่าการเลือกตั้งไม่ใช่กิจกรรมเพียงอย่างเดียวในระบอบ ประชาธิปไตย แต่ยังมีกิจกรรมในสังคมอีกหลายอย่างที่นับเป็นการ “มีส่วนร่วม” กับประชาธิปไตยด้วย เช่น การวมกลุ่มเสนอกฎหมาย การตรวจสอบการทำงานของตัวแทนตนเอง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นต่อสาธารณะ การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ การรวมกลุ่มรณรงค์ประเด็นทางสาธารณะต่างๆ ฯลฯ
แต่เนื่องจากการเลือกตั้งคือกิจกรรมขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จึงน่าจะสะท้อน “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนในสังคมนั้นๆได้ไม่น้อย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย [1][2][3][4] แสดงสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter Turnout) ในแต่ละประเทศย้อนหลังไปในอดีตดังที่เห็นในกราฟ
สหรัฐอเมริกา – จากกราฟจะเห็นว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิของสหรัฐนั้นมีการแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ในช่วง 50%-60% ตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์ – นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ประชาชนฟิิลิปปินส์มาใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับสูงมาก สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิไม่เคยลดต่ำลงกว่า 70% เลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
สหราชอาณาจักร – เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในสหราชอาณาจักรนั้นอยู่ใน ช่วง 70%-80% มาตลอด จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่ผู้มาใช้สิทธิลดลงไปอยู่ในระดับ 60%-70%
ไทย – สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 41.5% ในปี 2476 ถึงจุดสูงสุดที่ 85.38% ในปี 2550 โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 นั้น ไทยมีผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้น 75.03%
หมายเหตุ: สัดส่วนผู้มาใช้สิทธินี้นับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ การเลือกตั้งทั่วไป (เลือก สส.) ในประเทศที่ใช่ระบบรัฐสภา ไม่นับการเลือกตั้งวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งปลีกย่อยอื่นๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่าในอดีต รัฐบาลไทยมักต้องรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง “อย่านอนหลับทับสิทธิ” แต่ในปัจจุบัน เรามักไม่เห็นการรณรงค์ในทำนองนั้นแล้ว เป้าหมายของการรณรงค์ได้เปลี่ยนไปจากการมุ่งให้คนออกมาลงคะแนนกันมากๆ เป็นการมุ่งให้คนเลือกคนดีเข้าสภาแทน
ไม่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยในมิติอื่นๆจะมีมากเพียงพอหรือ ไม่ แต่ตัวเลขสัดส่วนผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั้นบอกเราว่า คนไทยในปัจจุบัน “ตื่นตัว” กันมากแล้วกับการใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง
อ้างอิง:
[1] สหรัฐอเมริกา http://en.wikipedia.org/wiki/Voter_turnout_in_the_United_States_presidential_elections
[2] ฟิลิปปินส์ http://en.wikipedia.org/wiki/Elections_in_the_Philippines
[3] สหราชอาณาจักร http://en.wikipedia.org/wiki/United_Kingdom_general_election,_2010
[4] ไทย http://en.wikipedia.org/wiki/Thai_general_election,_2011
ได้เวลาเรืองไกร ไชจรัลโชว์ต่อมคุณธรรมรั่ว
ข่าวเจาะลึก หนังสือพิมพ์ Red Power ปีที่ 1 ฉบับที่ 27 เดือน
กรกฎาคม 2555 โดย กองบรรณาธิการ
อดีต สว.เรืองไกร จอมจี้จอมไชไม่เลือกข้าง
ได้เวลานั่งห้างส่องสัตว์มองเห็นถนัดด้วยข้อมูลศาลรัฐธรรมนูญ จรัล ภักดีธนากุล โดดงานไปหากินไซด์ไลน์
ด้วยหลักเหตุผลง่ายๆเข้าใจดีว่าวันที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งอวดอ้างเป็นศาลอันสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ที่เคยใช้อำนาจทำรัฐประหารเงียบยึดอำนาจจากรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชายมามอบให้นายอภิสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลมาแล้วนั้น
แต่ท่านดันแสดงออกถึงต่อมกระสันด้วยถึงเวลาจะต้องขึ้นบัลลังก์นั่งวินิจฉัยคดีความในศาลรัฐธรรมนูญ
แต่กลับไปรับงานบรรยายพิเศษเรื่อง “มาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง”
ในการอบรมหลักสูตรพัฒนาคุณธรรมทางการเมืองให้แก่นักการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) เป็นผู้จัด ณ ที่สำนักงาน กกต.เองเสียด้วย เมื่อวันที่ 20 เมษายน ศกนี้
เรืองไกร จอมไช ยังแฉด้วยว่าถ้ามีครั้งเดียวก็ไม่เป็นไรแต่ดูเหมือนว่าท่านชอบทำอะไรขัดกับที่ท่านพูดเสมอมานับตั้งแต่ตัดสินใจให้สมัครออกจากนายกฯเพราะทำกับข้าวเนื่องจากเป็นการรับผลประโยชน์เกิน
3,000 บาท ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อถูกโต้แย้งว่าท่านจรัล ดันไม่ค่อยดี ก็รับผลประโยชน์เกิน
3,000 บาท ในตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญด้วยการไปหากินกับการสอนหนังสือกวดวิชา
ซึ่งตัวนายจรัลมีฐานะสูงกว่านายกฯและยังเป็นผู้ควบคุมตรวจสอบกฎคุณธรรมยิ่งถือได้ว่าผิดหลักจริยธรรมคุณธรรมยิ่งกว่าคุณสมัครเสียอีก
เพราะไม่ต่างอะไรกับพระที่ห่มผ้าเหลืองแล้วสอนคุณธรรมชาวบ้านแต่ดันเสพสังวาสกับสีกาข้างวัดเสียเอง
ปรากฏว่าท่านจรัล ดันไม่ค่อยดีก็ขุดรูหนีออกไปได้ว่าการรับเงินจากการสอนหนังสือไม่ผิดเพราะเป็นการรับเงินเพื่อเป็นวิทยาทาน
เห็นหรือยังครับว่าท่านจรัล
ผู้มีวิทยาทานบารมีมีฝีปากลากให้ผู้คนลงนรกขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้าได้ ดังนั้น
เมื่อมาประดาบกับ เรืองไกร จอมไช จึงถือว่าเป็นมวยถูกคู่จริงๆ
วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
“การเมือง-การมวย”ตัดสินเอียงประณามได้
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับ 373 วันที่ 18 - 24 สิงหาคม
พ.ศ. 2555 หน้า 18 คอลัมน์ เรื่องจากปก
โดย ทีมข่าวการเมือง
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มี ข่าวใดที่คนไทยให้ความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์มากเท่ากับการชกมวยสากลสมัครเล่น
รุ่นไลท์ฟลายเวท 49 กิโลกรัม ชิงเหรียญทองโอลิมปิกระหว่าง “แก้ว พงษ์ประยูร” กับ “โจว
ซื่อหมิง” (Zou Shiming) หรือที่สื่อไทยเรียก “ซู ซิหมิง” นักชกจากสาธารณรัฐประชา ชนจีน
ว่านักชกไทยถูกโกง ถูกปล้นชัยชนะ!
ขณะที่สื่อต่างประเทศ เช่น สำนักข่าว “บีบีซี” และ “รอยเตอร์ส”
ของอังกฤษ ก็ใช้คำแบบเสียดสีว่า “โจว ซื่อหมิง
ป้องกันแชมป์โอลิมปิกได้อย่างหวุดหวิด ท่ามกลางเสียงโต้แย้ง”
ส่วน “ดิเอจ” สื่อของออสเตรเลีย และ “สปอร์ตติงไลฟ์” สื่อดังของอังกฤษ ออกมาแสดงความเห็นว่านักชกไทยน่าจะทำได้ดีกว่าอย่างน้อย 2
ยก
สื่อในเอเชียอย่าง “แชนเนลนิวส์ เอเชีย” ระ บุว่าเป็นผลการแข่งขันที่ “ขัดใจ” แฟนมวยในสนามอย่างยิ่ง ท่ามกลางเสียงโห่ไม่ยอมรับการตัดสิน
ขณะที่ก่อนหน้านี้สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่ามีการตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการให้คะแนนของการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชายในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้
โดยเมื่อปีที่แล้วผู้ที่อยู่ในแวดวงกีฬาชกมวยของโอลิมปิกเปิดเผยว่า ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอน
2012 นี้อาจมีการซื้อเหรียญรางวัลกันเกิดขึ้น คืออาเซอร์ไบจานยอมจ่ายเงินจำนวน
9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 280 ล้านบาท
ให้แก่สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานา ชาติ (ไอบา) เพื่อให้ได้ 2 เหรียญทอง แต่ไอบาออกมาปฏิเสธและประกาศจะยื่นฟ้องบีบีซี หลังจากคณะ กรรมการจัดงานโอลิมปิกไม่พบหลักฐานอย่างเป็นทาง
การใดๆเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพื่อซื้อเหรียญรางวัล
อย่างไรก็ตาม ผลการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นหลายรุ่นก็สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระบบการให้คะแนน
อย่างกรณี “มาโกเมด อับดุลลา มิดอฟ” นักชกจากอาเซอร์ไบจาน
เอาชนะนักชกจากญี่ปุ่นในการชกรุ่นแบนตัมเวท ทั้งที่นักชกของอาเซอร์ไบจานถูกชกล้มลงกับพื้นถึง
6 ครั้งในยกสุดท้าย แต่ญี่ปุ่นได้ประท้วงและมีการเปลี่ยนผลคำตัดสินให้นักชกจากอาเซอร์ไบจานแพ้
แต่กรณี “สายลม อาดี”
นักชกรุ่น 60 กิโล กรัมของไทย ที่แพ้คะแนนดิบ “กานี ซาอลาอูฟ” จากคาซัคสถาน หลังจากเสมอกัน 12-12
หมัด พ.ต.ธง ทวีคูณ โค้ชไทย ได้ยื่นหนังสือประท้วงทันที ตามกฎ
แต่ไม่เป็นผล โดยไอบาระบุว่ายื่นเรื่องช้าไป ทั้งที่ยื่นทันทีแต่ต้องนั่งรอนานถึง 2
ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการตัดสินมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกไม่ได้เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก
แต่มีการพูดกันมาตลอดเรื่อง “ล็อกผลคำตัดสิน” ว่าไม่ชอบมาพากล โดยเฉพาะโอลิมปิกปี 1988 ที่กรุงโซล
ประเทศเกาหลีใต้ รอย โจนส์ จูเนียร์ ที่ต่อมาเป็นนักมวยสากลอาชีพโลก
แพ้แก่นักชกเกา หลีใต้เจ้าถิ่น ทั้งที่ถูกชกจนสะบักสะบอม หลังจากนั้นกรรมการ 3
คน ถูกสั่งพักงานเพราะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ารับสินบน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเกาหลีใต้เพื่อแลกกับ 2 เหรียญทอง
และทำให้ทีมนักชกจากสหรัฐประท้วงไม่ขึ้นรับเหรียญ
ทำไมพลาดเหรียญทอง?
มีคำถามข้องใจว่าทำไม “สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ไม่ประท้วงตามกติกาภายใน 5 นาทีหลังจบการแข่งขัน
แต่มาร้องแรกแหกกระเชอโวยวาย ซึ่งสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯจะอ้างไม่ได้ว่าไม่รู้กฎกติกาของไอบา
แต่หากเห็นว่าถูกกลั่นแกล้งจริงก็สามารถประท้วงเพื่อประจานไอบาได้โดยการไม่ขึ้นไปรับเหรียญรางวัล
ขณะที่นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ
แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊คว่า “แก้ว” พลาดเหรียญทองเพราะประท้วงเกิน
5 นาที? โดยอ้างข่าวหลายสำนักที่รายงานตรงกันว่าเมื่อการแข่งขันจบลง
“เสธ.อ้าย” พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯของไทย รีบประท้วงกรณีชกแล้วคะแนนไม่ขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ไอบาไม่รับเรื่องเพราะเกินเวลา
5 นาทีที่กำหนด ไทยจึงเสียสิทธิประท้วง
นายวีรพัฒน์จึงตั้งคำถามว่าข่าวรายงานครบถ้วนหรือไม่
ตนไม่ทราบ แต่ในฐานะนักกฎหมายย้ำว่าในโลกใบนี้ไม่มีกฎกติกาอะไรที่ไร้สาระเช่นนั้น
“กฎ 5 นาทีที่ไอบาอ้างเพื่อปฏิเสธสิทธิประ
ท้วงของไทยนั้นต้องพิจารณาตามกฎระเบียบการแข่งขันที่เรียกว่า AIBA
Technical & Competi tion Rules โดยกฎข้อ 9.11.1 กำหนดว่าทีมนักชกไทยมีสิทธิประท้วงผลภายในเวลา 30 นาทีหลังจากการแข่งขัน
ในทางกฎหมาย ข้อ 9.11.1 ถือเป็นบททั่วไป นำไปใช้ได้กับการประท้วงการชกทุกนัด
แต่มีกฎอีกข้อคือ ข้อ 9.11.6 ระบุว่า หากเป็นการชกรอบ
ชิงชนะเลิศ การประท้วงควรทำภายใน 5 นาที”
ข้อ 9.11.6 ที่กำหนดว่า
“ควร” ประท้วงภาย ใน 5 นาที ถือเป็นบทเสริมบททั่วไป นำไปใช้ตีความ ประกอบเฉพาะนัดชิงชนะเลิศ
แต่ในทางกฎหมายไม่ใช่ “บทยกเว้น” คือไม่ได้ยกเว้นว่าเวลาประท้วง
30 นาทีในนัดปรกติจะหดลงเหลือ 5 นาทีในนัดชิงชนะเลิศ
คือเวลา 30 นาทียังใช้บังคับอยู่ตามเดิม
คำสำคัญคือคำว่า “shall
be” กับ “should be” Shall คือการกำหนดสิทธิหน้าที่ว่า
“ต้อง” ทำการประท้วงภายใน 30 นาที Should คือการกำหนดแนว ทางว่า “ควร” ทำการประท้วงภายใน 5 นาทีหลังนัด
ชิงชนะเลิศ ซึ่งอินเดียเคยยื่นฟ้องศาลอนุญาโต ตุลาการกีฬาโลก แต่ผลการตัดสินศาลกีฬาโลกไม่มีสิทธิไปละเมิดหรือกลับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
ชำแหละสมาคมมวยฯ?
พล.อ.ทวีป จันทรโรจน์
อดีตนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯหลายสมัย วิจารณ์การชกของ “แก้ว” กับ “โจว ซื่อหมิง”
ว่าจากประสบ การณ์ที่ดูมวยมาเป็นหมื่นคู่ มวยคู่นี้สามารถออกได้ทั้ง
2 ฝ่าย แต่อยากแนะนำสมาคมว่าปัญหาที่เกิดกับ “แก้ว” ครั้งนี้อย่าไปตกใจอะไร เพราะตัวอย่างโอลิมปิกที่จีนครั้งที่แล้วเป็นไปได้อย่างไรที่มวยของคิวบาไม่มีเหรียญทองกลับบ้านเลย
ซึ่งสมาคมมวยคิวบาก็ไม่พูดอะไร แต่กลับไปสร้างนักมวยขึ้นมาใหม่ ประเทศไทยจึงต้องสร้างนักมวยที่เน้นชกให้ชนะขาด
ไม่ต้องมานั่งลุ้นเหมือนที่ผ่านมา หากเราทำได้เขาก็ไม่สามารถโกงได้
เช่นเดียวกับสมรักษ์ คำสิงห์
ฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก ก็เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในการชกของ “แก้ว” ครั้งนี้มาจากสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯชุดนี้เป็นมือใหม่ทั้งหมด
ที่เพิ่งเข้ามาทำงานก็ได้รับงานใหญ่ทันที ดังนั้น หากนักมวยไทยจะไปต่อยที่ไหนก็ตามจะต้องฝึกชกให้ชนะขาด
เพราะหากนักมวยไทยทำได้ก็ไม่มีใครโกงได้แน่นอน
ปฏิรูปไม่ใช่ด่าทอ?
กรณีของ “แก้ว” จึงมีมุมมองหลากหลาย ไม่ใช่โหนตามกระแส “คลั่งชาติ”
จนละเลยความจริงที่เป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯ
ซึ่งต้องกลับมาประเมินผลงานว่าทำไมโอลิมปิกครั้งนี้นักมวยไทยจึงได้ไปชกแค่ 3
คน และมีเพียงคนเดียวที่เข้าชิง แถมยังโดนโกงอีก
ถ้ามีนักมวยเข้าไป 5-6 คนอย่างที่ผ่านมา และเข้าไปชิงสัก 3-4 คน ให้รู้ไปว่าถ้าโดนโกงได้ทั้งหมดก็เป็นเรื่องโคตรเหลือเชื่อ
และประเทศทั่วโลกก็คงไม่ยอมรับพฤติกรรมของไอบาเช่นกัน
สมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯจึงต้องแยกระหว่างเรื่อง
“โดนโกง” กับเรื่องของ “ผลงาน” เป็นคนละเรื่อง ก่อนจะประกาศบอยคอตไม่รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นเยาวชนชิงแชมป์โลกในเดือนพฤศจิกายนนี้
หรือประกาศจะไม่รับตำแหน่งในไอบา ทั้งที่ยังเป็นสมาชิกของไอบาและส่งนักมวยเข้าแข่งขันในรายการต่างๆ
แทนที่จะเดินหน้าต่อสู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไอบาอย่างจริงจัง
หากทำเช่นนั้นก็ไม่ต่างกับพรรคการเมืองไทยที่ “บอยคอต” ไม่ส่งคนลงสมัครเลือกตั้งและอ้างว่ายืนหยัดในระบอบประชาธิปไตย
แต่กลับไม่ยอมรับเสียงของประชาชน!!?
ด้านนายกนกพันธุ์ จุลเกษม
ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศว่า จะต้องมีการเปลี่ยน
แปลงเรื่องของการบริหารงานสมาคมกีฬาต่างๆ เพราะในโลกกีฬามีการบริหารงานหลายแบบ
อย่างจีนที่รัฐบาลดูแล 100% ส่งผลถึงการเตรียมนักกีฬาได้เต็มประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวียให้เอกชนดูแลทั้งหมด
ซึ่งได้ผลไม่แพ้กัน หรือสหรัฐให้รัฐบาลและเอกชนทำงานร่วมกัน
แต่ของไทยกลับไม่เข้าที่เข้าทาง ซึ่งกำลังเร่งให้ พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ออกมาใช้
น่าจะทำให้วงการกีฬาได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในโอลิมปิกเกมส์อีก 4 ปีข้างหน้าที่รีโอเดจาเนโรที่บราซิล ไม่ให้เหมือน “ลอนดอนเกมส์”
ส่วนนายวิจิตร สิทธินาวิน
นายกสมาคมไตรกีฬาแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลกล้าปฏิรูปจริงๆ
โดยปลดนายกสมาคมกีฬาที่ทำผลงานล้มเหลว แล้วแต่งตั้งคนของรัฐบาลเป็นแทน
ยืนยันว่ารัฐบาล ทำได้แน่นอน อย่างโครงการนักกีฬาช้างเผือก
ที่เป็นโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัย ปัจจุบันกลายเป็นโครงการนักกีฬาควายป่ามากกว่า เล่นกีฬาแล้วเรียนไม่จบเพราะสถานศึกษาไม่ให้การช่วยเหลือ
สื่อไทยใจกล้า?
อย่างไรก็ตาม กรณี “แก้ว” ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคน ไทยทั้งประเทศ ทุกสี ทุกฝ่ายไม่พอใจการตัดสินของ
ไอบาว่า “ไม่ยุติธรรม” และ “2 มาตรฐาน” จะเพราะ รักชาติ คลั่งชาติ
หรือโกรธแค้นก็ตาม ต่างรุมประ ณามผ่านเว็บบอร์ดของไอบาอย่างรุนแรงกว่า
200,000 ความเห็นเพียงไม่กี่วัน
รวมถึงนักชกจีนก็พลอยโดนหางเลขไปด้วย ทั้งที่ต้นเหตุสำคัญอยู่ที่กรรมการ หรือ “มือที่มองไม่เห็น” ที่มีอำนาจเหนือไอบา
โดยเฉพาะสื่อไทยฉวยโอกาส “โหนกระแส” ใจกล้ารุมประณามการตัดสินของไอบาทันทีว่า
“ไม่ยุติธรรม” ซึ่งไม่ผิดที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความไม่ยุติธรรม
การเล่นพรรคเล่นพวก ตัดสินให้นักชกฉบับบกระเป๋าของไทยแพ้ไปอย่างค้านสายตา
แต่หากมองสื่อไทยกับวิกฤตการเมืองที่ผ่านมากว่า
6 ปี กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่อง จากความ “อยุติธรรม” และ “2 มาตรฐาน”
ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเห็นชัดเจนว่าสื่อไทยส่วนใหญ่กลับเลือกข้าง โดยไม่คำนึงว่าอะไรคือความเป็นธรรม
อะไรคือความอยุติธรรม หรือ 2 มาตรฐาน
ขณะที่บางสื่อก็ตะแบงเป็น “แอ๊บขาว” ว่ามีจรรยาบรรณ แต่กลับไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ความ
“อยุติธรรม” ที่เกิดจาก “อำนาจนอกระบบ” และ “อำนาจในระบบ”
ทั้งที่ “มองเห็น” และ “มองไม่เห็น” แม้แต่ “วงจรอุบาทว์”
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ฉีกรัฐธรรมนูญและทำให้บ้านเมืองถอยหลังมาจนทุกวันนี้
การเมือง-การมวย
คำพังเพยที่ว่า “ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูตัว” จึงน่าจะเป็นอุทาหรณ์เช่นกันว่า
“ดูมวยโอลิมปิกแล้วอย่าลืมย้อนดูการเมืองไทย”
“แก้ว” โดนโกง แพ้ชวดเหรียญทอง
แต่ชนะใจ!
“ทักษิณ” โดนรัฐประหาร
แต่ชนะทุกครั้งที่ส่งตัวแทนขึ้นชกบนเวทีเลือกตั้ง!
“ประชาธิปัตย์” แพ้เลือกตั้ง
แต่เคยชนะใจคน ไทยหรือไม่? อดใจรอ 4 ปี
เพื่อชนะเลือกตั้งไหวมั้ย?
“กติกาไม่แฟร์” ยังไม่เท่ามี “กรรมการเอียง”!
อย่างรัฐธรรมนูญฉบับ “มดลูกเผด็จการ” ที่เกิดจาก “อำนาจนอกระบบ”
ผลพวง “รัฐประ หาร” ส่งพวกพ้องเข้าไปเป็นกรรมการตัดสินกีฬาการเมืองทุกประเภท
ไม่ต่างจากไอบา ตุลาการภิวัฒน์ วุฒิสมาชิกที่ครึ่งหนึ่งลากตั้ง
(หรืออีกชื่อฟังดูดีว่า “สรรหา”) โดยเฉพาะกรรมการในองค์กรอิสระเกือบทุกองค์กรขณะนี้ล้วนถูกตั้งคำถามเรื่องที่มาและคำตัดสินที่มีความคลางแคลงในเรื่อง
“ความยุติธรรม” และ “เป็นธรรม”
ทั้งสิ้น
ความรู้สึกของคนไทย (ไม่แบ่งสี)
ที่รู้สึกว่าถูกโกงเกมกีฬา เป็นความรู้สึกจริงๆ คือนั่งดู ยืนเชียร์
แต่ดันแพ้เพราะกรรมการตัดสินอย่างค้านสายตา แต่ไม่อาจหาความรู้สึกนี้ได้จากเกมการเมืองที่เลวร้ายยิ่งกว่า
เพราะคนไทยกลายเป็นพวกที่ไร้ความรู้สึก ไม่ห่วงใยคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
เสียดายว่านั่นเป็นเกมกีฬา แพ้ก็รอ 4 ปี เพื่อฝึกฝนไปแข่งโอลิมปิกใหม่ได้ เพราะไม่มีการส่องฝ่ายตรงข้ามด้วย “สไนเปอร์” หรือถูกตัดสินให้ติดคุกแต่ฝ่ายเดียว
ข้อนี้ยังไม่นับเรื่องเอียงไม่เอียง
ผิดหรือถูก ทั้งจากความรู้สึกของคนไทยต่างสี จากรัฐบาลวิธีพิเศษ
และจากสื่อมวลชนกระแสหลัก (ปักขี้เลน)
“ไอบา” ไม่ร้ายเท่า “ตุลาการภิวัฒน์”
ดังนั้น ความรู้สึกที่คนไทยโกรธเกลียด “ไอบา” ว่าโกงหรือปล้นชัยชนะนั้นคงไม่เลวร้ายเท่ากับกรณี
“ตุลาการภิวัฒน์” ที่ใช้ “องค์กรอิสระ” เป็นเครื่องมือเหมือนกับกรรมการไอบาหรือประธานไอบา
(ว่ากันว่าเป็นคนของจีน) ที่ยืนยันว่าไม่รู้ไม่เห็น และยืนยันว่ากรรมการทุกคนทำดีที่สุดและยุติธรรม
ก็ไม่ต่างจาก “อำนาจนอกระบบ” หรือ
“มือที่มองไม่เห็น” ในการเมืองไทย แม้จะใช้อำนาจและอิทธิพลสารพัดแต่ก็แพ้เลือกตั้งชวดเหรียญทอง
แต่ก็พยายามล้มพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน แทนที่จะเอาชนะใจประชาชนอย่างสง่างาม
ไม่ต่างกับพรรคประชาธิปัตย์ที่เหมือนสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯ
ที่เอาแต่โวยว่าถูกโกงแต่ดันลืมประเมินตนเอง
ความรู้สึกคนไทย (สีเหลือง) ตรงข้ามกับความ
รู้สึกคนไทย (สีแดง) ต่อผลลัพธ์ทางการเมืองทุกเรื่อง ในขณะที่ความรู้สึกคนไทย
(ทุกสี) ต่อผลลัพธ์ของมวยกลับเห็นตรงกันว่า “เราถูกโกง
ไม่เป็นธรรม”
อย่าแปลกใจที่เห็นสื่อมว ลชนไทยต่างรุมประ ณามไอบาที่ตัดสินค้านสายตาอย่างดุเดือด
ค้านสาย ตา...ด่าได้ทันที เพราะพี่แก (ไอบา) ไม่ใช่ศาล! (อิอิ)
“ถ้าไม่ถูกโกง เราต้องชนะ” วาทกรรมนี้ถูกใช้ในความรู้สึกของกองเชียร์ไทยในบริบทที่นักชกไทยชวดเหรียญทอง
“ถ้าไม่ถูกโกง เราต้องชนะ” วาทกรรมนี้ถูกใช้เสมอมาในความรู้สึกของกองเชียร์พรรคเก่าแก่ในบริบทที่แพ้เลือกตั้งเสมอมา
“ถ้าตุลาการไม่เอียง เราจะได้ความเป็นธรรม” วาทกรรมนี้เกิดขึ้นในความรู้สึกของกองเชียร์สีแดงต่อบริบท!?...(เขียนไม่ได้กลัวเจอข้อหาหมิ่นฯ) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เรื่องรักชาติ เชียร์ไทย
จึงเป็นเรื่องปรกติของการเชียร์กีฬา ซึ่งเราล้วนต่างยินดีกับ “แก้ว พงษ์ประยูร” ที่ชนะใจคนไทยทั้งประเทศ และขอบคุณบรรดาสปอนเซอร์ที่ยังรับปากว่าจะให้นักชกไทยได้อัดฉีดเทียบเท่าเหรียญทอง
แต่อย่าลืมฉุกคิดเรื่อง “อำนาจนอกระบบการเมืองไทย” ที่ส่งพวกพ้องเข้าไปเป็นกรรมการตัดสินในทุกองค์กรอิสระและไม่อิสระได้จนเป็นเรื่องปรกติ
ซึ่งไม่ต่างอะไรกับที่แต่ละประเทศต่างจะส่งคนของตนไปเป็นกรรมการในการตัดสินกีฬาต่างๆในโอลิมปิก
หรือเป็นเพราะเราเก่ง...เบ่งได้แต่ในบ้าน?
ถ้าคนไทย (ทุกสี) รู้สึกได้ถึงความไม่ยุติธรรม
เหมือนรับรู้ผลการตัดสินของไอบา รู้สึกว่าเหมือนถูกโกง ถูกปล้นเหรียญทอง
เจ็บช้ำน้ำใจจนทนไม่ได้ คิดแบบเป็นเหตุผล อย่างมีตรรกะ
เฉกเช่นการดูมวยในโอลิมปิกแล้วค้านสายตาจากผลของคำตัดสิน
แต่ต้องไม่ใช่ข้ออ้างว่า “กรูแพ้เพราะมรึงโกง”, “รอ 4 ปีไม่ไหวก็ยึดอำนาจซะ
แล้วยุบพรรคแมร่งเลย”, “ตุลาการวันนี้ พวกกรูทั้งนั้น นี่คือยุติธรรมอันหาที่สุดมิได้”
ถ้าสื่อไทยใจเป็นธรรม ลุกขึ้นมาประณามและชื่นชมนักข่าวไทยที่กล้าสงสัยในกระบวนการตุลาการ
ซึ่งเป็นต้นธารแห่งความยุติธรรม เหมือนกับขณะนี้ที่ชื่นชมนักข่าวไทยที่ใจกล้าไล่ต้อนประธานไอบาบ้าง
คนไทยคงไม่ต้องต่างสีกันถึงขนาดนี้ เพราะมีความรู้สึกต่อความเป็นธรรมในบริบทเดียวกัน
ในฐานะสื่อไทยที่ใส่ใจ “การมวย” เราขอประ ณาม..ประธานไอบาเฮงซวย..กรรมการตัดสินมวยเฮงซวย..ปล้น
เหรียญทองไทย!
ในฐานะ
สื่อไทยใจหาญกล้า...เอ่อ..ข้าแต่...ที่เคารพ “ตุลาการภิวัฒน์”
จงเจริญ! (แฮะๆ)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)