Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

คนสั่งลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับ 354 วันที่ 7 - 13 เมษายน พ.ศ. 2555 หน้า 18 คอลัมน์ ฟังจากปาก โดย กิตติพิชญ์ ยิ่งวรการสุข



“การที่จะมีประชาชนจะ 1 คนหรือแสนคนลุกขึ้นมาเรียก ร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเองหรือพิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ บาลนั้นอาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นคือละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งคือการทุจริต คอร์รัปชัน จริงครับ ปัญหาเหล่านี้มีกระบวนการทางกฎหมาย แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยส่วนใหญ่เขาไม่รอให้กฎหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าสำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมืองที่เขาบอกว่ามันต้องสูงกว่าคนธรรมดา มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งยกตัวอย่างกรณีของเกาหลี นั่นแค่คิดนโยบายนะครับว่าต้องเปิดการค้าเสรี เอาเนื้อวัวจากอีกประเทศหนึ่งเข้ามา คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เขาลาออกทั้งคณะ ผมว่าอายุรัฐบาลเขาสั้นกว่ารัฐบาลนี้ตอนที่เขาตัดสินใจอย่างนั้น ใครที่เคยอยู่ในประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ในสหรัฐจะทราบ อย่าว่าแต่รัฐมนตรีเลยครับ ส.ส. ส.ว. บางทีมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัวลาออกครับ”

การอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัว หน้าพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้าน อภิ ปรายนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้มีสำนึก รับผิดชอบทางการเมืองด้วยการยุบสภาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551 กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยชุมนุมเรียกร้องให้นายสมัครลาออก

2 ปีเมษาเลือดยังมืดมน

คำอภิปรายดังกล่าวของนายอภิสิทธิ์ได้กลับมาทิ่มแทงนายอภิสิทธิ์จนถึงทุกวันนี้ว่าตัวตนที่แท้จริงเป็นนักการเมืองประเภทใด นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ถูกประณามว่ารวมหัวกันปล้นอำนาจและตั้งรัฐบาลในค่ายทหารเท่านั้น แต่การสั่งให้สลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ที่มีผู้เสียชีวิต 93 คน และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คนนั้นไม่ใช่แค่ตอกย้ำคำว่านิติรัฐและนิติธรรมเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงจริยธรรมและคุณธรรมของนายอภิสิทธิ์เองด้วย

การตัดสินใจใช้กองทัพสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงของรัฐบาลอภิสิทธิ์เมื่อวันที่ 10 เมษา ยน 2553 บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนดินสอและถนนราชดำเนิน จึงเป็นวันเสียงปืนแตกที่ส่งสัญ ญาณให้ใช้ความรุนแรง รวมถึงการใช้เฮลิคอปเตอร์ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ การใช้กำลังทหารนับหมื่นนายตั้งแต่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนถึงเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงตลอดทั้งวัน เสียงระเบิดและอาวุธสงครามดังสนั่น ขณะที่แก๊สน้ำตาก็กระจายทั่วท้องฟ้าจากเฮลิคอปเตอร์ตลอดถนนราชดำเนิน

ผลปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นทหาร 6 นาย และประชาชน 20 คน บาดเจ็บอีกกว่า 800 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตมี พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม (ยศขณะนั้น) รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ถูกสะเก็ดระเบิด ท้ายทอยขวาฉีกขาด น่อง 2 ข้างฉีกขาด ฟกช้ำอกซ้ายและด้านหน้า ต้นขาซ้ายฉีกขาด ที่ถนนดิน สอหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา รวมทั้งนายฮิโรยูกิ มูรา โมโต ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น ถูกยิ่งด้วยอาวุธความเร็วสูงของเจ้าหน้าที่ตัดขั้วหัวใจ

โยนบาป “ไอ้โม่งชุดดำ”

หลังเหตุการณ์ 10 เมษายน นายอภิสิทธิ์ก็เก็บตัวเงียบภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เกือบ 1 สัปดาห์ ก่อนจะออกมาแถลงไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ นอก จากนี้ยังนำคลิปวิดีโอมาออกอากาศโยนความผิดให้ “ไอ้โม่งชุดดำ” เป็นผู้ก่อความรุนแรง รวมทั้งฆ่าคนเสื้อแดงและเจ้าหน้าที่ ซึ่งนับแต่วันนั้นทั้งรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็ปลุกกระแส “ไอ้โม่งชุดดำ” โดยนำคลิปมาออกอากาศซ้ำแล้วซ้ำเล่า

จากวันนั้นจนถึงวันนี้เกือบ 2 ปี เหตุการณ์เมษายนเลือด 2553 จุดเริ่มต้นของความรุนแรง และการฆ่าหมู่ 19 พฤษภาคม 2553 รวมถึงการเผาบ้านเผาเมืองยังเป็น “ปริศนาที่มืดมน”

ใครคือ “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่ใช้อาวุธสงครามเอ็ม 79 ยิงใส่ผู้ชุมนุมและทหาร และใครคือผู้สั่งการ?
โดยเฉพาะคดีของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ถูกบิดเบือนครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่มีทั้งพยานบุคคล รวมทั้งภาพถ่ายและวิดีโอชัดเจนว่าเสียชีวิตอย่างไร แต่การชันสูตรพลิกศพกลับถูกแทรก แซงและบิดเบือนจนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องทวงถาม

แต่รายงานของกองทัพระบุชัดเจนว่าเหตุการณ์ 10 เมษายนนั้น กองทัพและรัฐบาลประเมินสถานการณ์ผิดพลาด และการวางแผนกระชับพื้นที่ก็ขาดความรอบคอบ จนทำให้เกิดการสูญเสียอย่างที่ไม่คาดคิด ซึ่งนายอภิสิทธิ์ในฐานะผู้นำสูงสุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้

ใครคือฆาตกรตัวจริง?

นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการแผนกเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ ทำรายงานความยาว 139 หน้า กรณี “เมษา-พฤษภาอำมหิต” โดยใช้หัวข้อว่า “จมดิ่งลงสู่ความโกลาหล : การชุมนุมประท้วงของ กลุ่มเสื้อแดงในประเทศไทยปี 2553 และการปราบ ปรามโดยรัฐบาล” โดยระบุว่าสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสีย ชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังขั้นรุนแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต ในลักษณะที่ “เกินความจำเป็นและปราศจากเหตุ อันควร” โดยที่สะพานผ่านฟ้าฯทหารบางนายใช้ปืนเอ็ม 16 และ TAR21 ยิงกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุม ทหารบางนายยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองใส่ผู้ชุมนุมตรงๆ ขณะที่แกนนำ นปช. ถูกตั้งข้อหาว่าก่อการร้าย ในขณะที่ไม่มีทหารหรือตำรวจรายใดเลยที่ถูกดำเนินคดีจนถึงขณะนี้ ซึ่งสะท้อนถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยว่าไม่เป็นกลาง

ขณะที่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวในโอ กาสเป็นประธานในพิธีบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 โดยชี้ว่า ผลการสอบสวนข้อเท็จจริงทั้งกรณีพฤษภาทมิฬ 2535 และพฤษภาเลือด 2553 ล้วนไม่นำไปสู่บทเรียนใดๆ เพราะถูกดองเงียบ คอป. เสนอให้รัฐบาลแก้ไขก็ไม่ได้รับการตอบสนองในทางที่ดีนัก

นายคณิตยังเรียกร้องให้พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้กลับมาเป็นที่น่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชน เพราะโดยปรกติเมื่อมีเหตุสูญเสีย บาดเจ็บล้มตายจากฝีมือของคนจะต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยกระบวนการยุติธรรมจะต้องค้นหาความจริงและจัดการกับผู้นั้น แต่บ้านเรากระบวนการยุติธรรมพิกลพิการ ประชาชนไม่เชื่อถือศรัทธา เพราะจนถึงขณะนี้ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ทั้งเหตุการณ์ปี 2535 และ 2553 จนต่างชาติต้องทวงถาม

ดำเนินคดี “มาร์ค-เทพ”

อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน อำ นาจเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่เคยถูกแช่แข็งและมีการพยายามบิดเบือนหลักฐานต่างๆเอาไว้ก็เริ่มเดินหน้าอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม หรือกรณีนายฮิโรยูกิ มูราโมโต และนายฟาบิโอ โปเลนกี ช่างภาพชาวอิตาลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม 2553 สำนวนคดีก็ใกล้เสร็จแล้ว และพนักงานอัยการศาลอาญากรุงเทพใต้จะสามารถไต่สวนได้เร็วๆนี้

เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือก สุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. ที่ถูกแจ้งความจากผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตว่าเป็นผู้สั่งให้มีการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีคนเจ็บและตายจำนวนมาก ก็เดินทางไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนใน ฐานะพยานคดี 6 ศพ โดยนายสุเทพเดินทางไปเมื่อ วันที่ 8 และ 14 ธันวาคม 2554 ส่วนนายอภิสิทธิ์ เดินทางไปให้ปากคำเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554

การให้ปากคำเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ของ นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพจึงมีความสำคัญอย่างมากกับการเริ่มต้นตามกระบวนกฎหมาย ทั้งยังทำ ให้เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากประชาชนก็ต้องใช้กระ บวนการกฎหมายปรกติ ไม่ใช่ใช้อำนาจเผด็จการหรือองค์กรที่ตั้งโดยอำนาจเผด็จการอย่างคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่รัฐ (คตส.) ตั้งธงเอาผิดใครคนใดคนหนึ่ง

ขณะที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับตำ รวจและอัยการว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีพรรคประชาธิปัตย์ในหัวข้อ “10 ฐานรากของประเทศ พิมพ์ เขียวของประเทศไทย” เกี่ยวกับการเมืองและกระบวนการยุติธรรมตอนหนึ่งว่า ความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางไม่ได้วัดกันที่ว่าอยู่ข้างไหน ความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางอยู่ที่ว่า “คุณอยู่กับความจริงหรือไม่” ดีก็คือดี ชั่วก็คือชั่ว การบังคับใช้กฎหมายเป็นปัญหาที่สังคมไทยมีมาโดยตลอดจึงต้องออกแบบกันใหม่เพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาหรือจุดอ่อนตรงนี้ให้ได้

จบแต่ไม่ยุติ “ผังกำมะลอ”

แม้เกือบ 2 ปี “ความจริง” ในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” จะยังไม่ปรากฏว่าใครยิง ใครฆ่า ใครคือฆาตกร และใครต้องรับผิดชอบ แต่ในไม่ช้านี้จะเห็นรายงานที่เป็นรูปธรรมทั้งจากตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมถึง คอป. และองค์กรที่ตรวจสอบและติดตามเรื่องนี้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ

เหมือนกรณี “ผังล้มเจ้า” ที่วันนี้กลายเป็น “ผังกำมะลอ” ไปแล้ว หลังจาก พ.ต.อ.ประเวช มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ แถลงหลังจาก พ.อ.วิจารณ์ จดแดง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณา จักร (กอ.รมน.) ในฐานะผู้แทน ศอฉ. เดินทางเข้าชี้แจงถึงกรณีแผนผังล้มเจ้าจำนวน 39 ราย เชื่อว่าจากพยานหลักฐานต่างๆ รวมถึงการสอบปากคำ พยานทุกปากไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิดอย่างชัดเจนได้ ดีเอสไอจึงจะประชุมเพื่อสรุปปิดสำ นวนคดีก่อนสงกรานต์เพื่อไม่สั่งฟ้อง รวมถึงคดีหมิ่นเบื้องสูงของนายจักรภพ เพ็ญแข

“เรื่องนี้ไม่มีความชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มต้นที่รับเป็นคดีพิเศษมานานเป็นปีแล้ว และเมื่อมีการเปลี่ยนคณะทำงานสอบสวนผมก็พยายามจะทำให้มันมีอะไร แต่จนถึงขณะนี้ผู้ที่กล่าวหาก็ยังไม่มีมูลที่ชัดเจนให้ดีเอสไอนำไปขยายผลสืบสวนหาคนผิดได้ หรือที่พูดกันในภาษาชาวบ้านว่าการกล่าวหาลอยๆ” พ.ต.อ.ประเวชกล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้มีรายชื่อใน “ผังล้มเจ้า” ว่ามีความสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณผ่านทางคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ก็ได้โพสต์ข้อความไว้อาลัยในเฟซบุ๊คว่า ตั้งแต่มีผัง 2 ปียังไม่เคยเจอคุณหญิงพจมานเลย และก่อนมีผังก็ไม่เคยเจอ แต่มีแล้วนึกว่าจะได้เจอสักหน่อยก็ยังไม่ได้เจออีก “จนบัดนี้ผมก็ยังเป็นปริศนานะว่าชื่อผมไปโยงกับคุณหญิงได้ไงหว่า นึกมา 2 ปีก็ยังนึกไม่ออก”

ขณะที่นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีชื่อใน “ผังล้มเจ้า” ด้วย ได้เขียนบทความในหน้า 7 คอลัมน์ถนนประชาธิปไตยว่า ผังล้มเจ้า ของ ศอฉ. ถือเป็นคดีปาหี่และฮาที่สุด

แต่ประเด็นสำคัญที่ไม่ยุติคือใครจะรับผิดชอบ “ผังกำมะลอ” นี้ เพราะได้ทำให้บุคคลที่มีชื่อในผังเสียหายและเสื่อมเสียศักดิ์ศรีเกียรติยศมาตลอด 2 ปีที่ถูกใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งทั้งนายสุเทพ นายอภิสิทธิ์ และ ศอฉ. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความอัปยศและไร้คุณธรรมของการใช้อำนาจรัฐ

2 ปีตลกร้ายที่ไม่ตลก

2 ปีเหตุการณ์เลือด 10 เมษายน 2553 ที่เสียงปืนแตกและเริ่มต้นการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมเลือดเย็นของรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยแล้วว่าเป็น “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด” และนายอภิสิทธิ์เป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด”

แม้จะมี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉินคุ้มครองการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐขณะนั้น หรือกระบวนการสร้างความ ปรองดองที่อาจมีการนิรโทษกรรมตามรายงานของ สถาบันพระปกเกล้าที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรอง ดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญย รัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่เป็นคนฉีกรัฐธรรมนูญเองได้กลับมาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ แต่ไม่ได้หมายความว่า “ความจริง” ทั้งหมดจะต้องถูกฝังไปกับหลุมศพของ “ฆาตกร”

อย่างที่อาจารย์สุดา รังกุพันธ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกระ บวนการยุติธรรมที่มีต่อคนเสื้อแดงที่ต้องเผชิญอาชญากรรมโดยรัฐ ซึ่งต้องการเห็นการปฏิรูปกฎหมายความมั่นคงอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากรัฐอีก ซึ่งคนเสื้อแดงได้ร่วมกันกล่าวคำปฏิญาณเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2555 ว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 53 ต้องไม่มีผลทางกฎหมาย ปล่อยนักโทษการเมือง ผู้ประกาศใช้ต้องได้รับโทษ” พร้อมทั้งยืนไว้อาลัยให้นายสุรชัย นิลโสภา อดีตผู้ต้องขังคดียิงเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งศาลยกฟ้อง แต่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา

2 ปีเหตุการณ์เมษาเลือด 2553 จึงสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความโหดเหี้ยมของการใช้อำนาจรัฐปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องประชา ธิปไตยและความยุติธรรมถูกเข่นฆ่าและถูกจับกุมนับร้อย นอกจากนี้ยังถูกวาทกรรมใส่ร้ายป้ายสีต่างๆนานา โดยเฉพาะ “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่ถูกประทับตราให้เป็นทั้ง “ผู้ก่อการร้าย” เครือข่าย “ล้มเจ้า” และวาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง” จากเหตุการณ์ “ฆ่าแล้วเผาเมือง” ถูกบิดเบือนผ่านสื่อให้เป็นวาระ “เพราะเผาเมืองจึงสมควรถูกฆ่า” ผิดจากความจริงที่ว่ามีคนตายกว่า 20 ศพ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2553 และถูกสไนเปอร์ส่องตายเรื่อยมาจนถึง 19 พฤษภาคม 2553 รวมกว่า 90 ศพ ผู้ชุมนุมสลายตัว แกนนำเข้ามอบตัว จากนั้นจึงเกิดการเผาที่ไม่มีการดับ...

ขณะที่วันนี้ “คนสั่งฆ่าลอยหน้า คนฆ่าลอยนวล” “การปรองดอง” กำลังถูกปลุกกระแสให้เป็นการ “ปอง ร้าย” จาก “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” ที่คัดค้านและขัดขวางการเยียวยาและการปรองดองทุกรูปแบบ

แม้ 2 ปี “ความจริง” การเข่นฆ่าและใส่ร้ายป้าย สีประชาชนยังไม่ปรากฏ และไม่รู้ว่าใครต้องรับผิด ชอบ แต่วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า “ผังล้มเจ้า” เป็น “ผังกำ มะลอ” เช่นเดียวกับ “แผนปรองดอง” ขณะนี้ที่เป็น ได้แค่ตลกร้ายของคณะละครลิงที่ได้แต่ร้องเจี๊ยกๆตาม บทละครที่รอผู้กำ กับการแสดงคอยสั่ง “คัต” หรือ “แอ็ค ชั่น” ต่อไปเท่านั้น!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น