ไม่ใช่เรื่องอันสร้างความหวาดระแวงให้กับจีน
หากไทยยินยอมให้
นาซาเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อสำรวจภูมิอากาศ
ไม่ใช่
ที่ว่าไม่ใช่ เพราะจีนก็มีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่แล้วเป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ยิน ยอมให้ไมโครซอฟท์ไปจัดตั้งสถาบันเพื่อทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม
หากแต่ในปี 2547 ก็ยินยอมให้นาซาใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการบิน
ไม่เพียงแต่บินบริเวณชั้นบรรยากาศเหนือฮ่องกง หากแต่ยังครอบคลุมไปไกลถึงน่านน้ำและน่านฟ้าของญี่ปุ่น
จีนมีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่แล้ว
และไม่ใช่เรื่องที่หวั่นเกรงว่านาซาจะเข้าล่วงล้ำน่านน้ำ น่านฟ้า กัมพูชาและสิงคโปร์ อย่างที่ยกมาเอ่ยอ้าง เพราะความหวั่นเกรงอันมาจากหน่วยงานความมั่นคงไม่ว่ากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เช่นนี้ ก็กำชับผ่านสหรัฐและนาซาไปแล้ว
และได้รับคำยืนยันจากกัมพูชา สิงคโปร์ ว่าไม่ขัดข้อง
ปัญหาจากจีนจึงเสมอเป็นเพียงการยกขึ้นมาแสดงความวิตก เหมือนกับการยกปัญหาจากสิงคโปร์และกัมพูชาอันเป็นปัญหาที่ไม่ได้มีอยู่ในทางเป็นจริง
เรื่องจริงคือปัญหาไทย
ที่ออกมาประสานเสียงต่อต้าน คัด ค้านอย่างแข็งขัน ยกจีน ยกกัมพูชา ยกสิงคโปร์ ขึ้นมาก็เสมอเป็นเพียงน้ำยาบ้วนปาก
แท้จริงก็คือจะค้านรัฐบาล
ทั้งๆ ที่รู้อยู่เป็นอย่างดีว่าปัญหาความมั่นคงเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้น้อยมากภายใต้การสำรวจชั้นบรรยากาศ
ยิ่งเรื่องขีปนาวุธยิ่งเลอะเทอะ
เพราะว่าความร่วมมือระหว่างนาซากับองค์กรทางวิชาการของไทยในเรื่องภูมิอากาศทำกันมานานแล้ว
อย่างน้อยความร่วมมือระหว่างศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สตาร์ท) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับนาซาก็ทำร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2506
หากมีเจตนาจะล้วงตับก็ไม่เหลืออะไรให้ล้วงแล้ว
น่าเสียดายก็เพียงแต่การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ่อนด้อย น่าเสียดายก็เพียงแต่การประชา สัมพันธ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ่อนด้อย
จึงกลายเป็นเหยื่อ
ปัญหาทั้งหมดอันทำให้โครงการ การศึกษาเมฆและฝุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะว่าดำเนินการโดยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เรื่องของเมฆจึงกลายเป็นเรื่องการเมือง
เรื่องของชั้นบรรยากาศจึงกลายเป็นการส่งเครื่องบิน ER2 บินสูงกว่า 21 กิโลเมตร เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานธรรมชาติให้เชฟรอน
ดึงเชฟรอนสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ดึงโครงการซึ่งมีจุดเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้กลายเป็นการต่อรองเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
น่ายินดีที่กองทัพไม่เล่นกับพรรคประชาธิปัตย์
น่ายินดีที่นักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นที่ จิสดา ไม่ว่าจะเป็นที่จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไม่ประสานเสียงร้องทำนองเดียวกันกับพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร
แม้จะได้เสียงหนุนอบอุ่นเพียงนี้ แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไปไม่เป็น ไปไม่ถูก
ไปไม่เป็น ไปไม่ถูก เพราะติดฝันร้ายจากพรรคไทยรักไทย ฝันร้ายจากพรรคพลังประชาชน เมื่อเห็นพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรดาหน้ากันออกมาต้าน
ฝันร้ายว่าจะถูกสอย (อีกแล้ว)
คล้ายกับกรณีสนามบินอู่ตะเภาเป็นเรื่องเก่าๆ เป็นเรื่องคนหน้าเดิม เป็นเหตุผลเดิมๆ ตั้งแต่ปี 2549
กระนั้น กรณีสนามบินอู่ตะเภาก็ทำให้นึกถึงปราสาทพระวิหาร ทำให้มองทะลุไปยังรากเหง้าอันเป็นต้นตอของปัญหาที่สะสมและหมักหมมอยู่อย่างยาวนาน
ไทยฆ่าไทย
ไม่ใช่
ที่ว่าไม่ใช่ เพราะจีนก็มีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่แล้วเป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ยิน ยอมให้ไมโครซอฟท์ไปจัดตั้งสถาบันเพื่อทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม
หากแต่ในปี 2547 ก็ยินยอมให้นาซาใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการบิน
ไม่เพียงแต่บินบริเวณชั้นบรรยากาศเหนือฮ่องกง หากแต่ยังครอบคลุมไปไกลถึงน่านน้ำและน่านฟ้าของญี่ปุ่น
จีนมีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่แล้ว
และไม่ใช่เรื่องที่หวั่นเกรงว่านาซาจะเข้าล่วงล้ำน่านน้ำ น่านฟ้า กัมพูชาและสิงคโปร์ อย่างที่ยกมาเอ่ยอ้าง เพราะความหวั่นเกรงอันมาจากหน่วยงานความมั่นคงไม่ว่ากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เช่นนี้ ก็กำชับผ่านสหรัฐและนาซาไปแล้ว
และได้รับคำยืนยันจากกัมพูชา สิงคโปร์ ว่าไม่ขัดข้อง
ปัญหาจากจีนจึงเสมอเป็นเพียงการยกขึ้นมาแสดงความวิตก เหมือนกับการยกปัญหาจากสิงคโปร์และกัมพูชาอันเป็นปัญหาที่ไม่ได้มีอยู่ในทางเป็นจริง
เรื่องจริงคือปัญหาไทย
ที่ออกมาประสานเสียงต่อต้าน คัด ค้านอย่างแข็งขัน ยกจีน ยกกัมพูชา ยกสิงคโปร์ ขึ้นมาก็เสมอเป็นเพียงน้ำยาบ้วนปาก
แท้จริงก็คือจะค้านรัฐบาล
ทั้งๆ ที่รู้อยู่เป็นอย่างดีว่าปัญหาความมั่นคงเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้น้อยมากภายใต้การสำรวจชั้นบรรยากาศ
ยิ่งเรื่องขีปนาวุธยิ่งเลอะเทอะ
เพราะว่าความร่วมมือระหว่างนาซากับองค์กรทางวิชาการของไทยในเรื่องภูมิอากาศทำกันมานานแล้ว
อย่างน้อยความร่วมมือระหว่างศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สตาร์ท) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับนาซาก็ทำร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2506
หากมีเจตนาจะล้วงตับก็ไม่เหลืออะไรให้ล้วงแล้ว
น่าเสียดายก็เพียงแต่การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ่อนด้อย น่าเสียดายก็เพียงแต่การประชา สัมพันธ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ่อนด้อย
จึงกลายเป็นเหยื่อ
ปัญหาทั้งหมดอันทำให้โครงการ การศึกษาเมฆและฝุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะว่าดำเนินการโดยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เรื่องของเมฆจึงกลายเป็นเรื่องการเมือง
เรื่องของชั้นบรรยากาศจึงกลายเป็นการส่งเครื่องบิน ER2 บินสูงกว่า 21 กิโลเมตร เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานธรรมชาติให้เชฟรอน
ดึงเชฟรอนสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ดึงโครงการซึ่งมีจุดเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้กลายเป็นการต่อรองเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
น่ายินดีที่กองทัพไม่เล่นกับพรรคประชาธิปัตย์
น่ายินดีที่นักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นที่ จิสดา ไม่ว่าจะเป็นที่จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไม่ประสานเสียงร้องทำนองเดียวกันกับพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร
แม้จะได้เสียงหนุนอบอุ่นเพียงนี้ แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไปไม่เป็น ไปไม่ถูก
ไปไม่เป็น ไปไม่ถูก เพราะติดฝันร้ายจากพรรคไทยรักไทย ฝันร้ายจากพรรคพลังประชาชน เมื่อเห็นพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรดาหน้ากันออกมาต้าน
ฝันร้ายว่าจะถูกสอย (อีกแล้ว)
คล้ายกับกรณีสนามบินอู่ตะเภาเป็นเรื่องเก่าๆ เป็นเรื่องคนหน้าเดิม เป็นเหตุผลเดิมๆ ตั้งแต่ปี 2549
กระนั้น กรณีสนามบินอู่ตะเภาก็ทำให้นึกถึงปราสาทพระวิหาร ทำให้มองทะลุไปยังรากเหง้าอันเป็นต้นตอของปัญหาที่สะสมและหมักหมมอยู่อย่างยาวนาน
ไทยฆ่าไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น