ที่มา :
นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 363 วันที่ 9 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 หน้า 18 - 19 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
“ย้ำอีกทีนะครับ
ต้องไม่พูดว่า “ศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ”
เพราะศาลรัฐธรรมนูญทำได้ในกรณีตรวจสอบว่ากฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ครั้งนี้เป็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาล้ำแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ย้ำ ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาล้ำแดนอำนาจสถาปนารัฐ
ธรรมนูญ”
นายปิยบุตร
แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์
แสดงความเห็นกรณีตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 รับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 พิจารณาว่าร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรที่กำลังดำเนินในวาระ
3 มีลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมี “คำสั่ง” ให้รัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
ซึ่งส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐ ธรรมนูญอย่างน้อย 3 ประการคือ
1.ต่อไปนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
2.ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญจะเสียไปทั้งหมด
3.การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราวไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย
แต่ศาลรัฐ ธรรมนูญยังสามารถเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ นั่นหมายความว่าอนาคตอาจมีอีก
“ปัญหาอยู่ที่ว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรม
นูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญกลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเองแล้วจะทำอย่างไร?”
นายปิยบุตรกล่าว ขณะที่แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ระบุว่า
“หากรัฐสภายอมรับให้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนี้มีสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ
และมีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ลงอย่างสิ้นเชิงในที่สุด” (อ่านรายละเอียดหน้า 20)
ถ่วงดุล-ลดความหวาดระแวง
ด้านนายวสันต์
สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐ ธรรมนูญ ยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องดังกล่าวโดยไม่มีเจตนาจะขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่มีผู้มาร้องขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ จึงต้องไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าการยกร่างแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญตามที่มีการกล่าวหาหรือไม่
แม้ขณะนี้ยังไม่มีการยกร่างเป็นรายมาตรา และผู้ที่ยกร่างเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
(ส.ส.ร.) ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือพรรคการเมือง แต่คนเหล่านี้คือผู้ที่จะต้องให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่
ส.ส.ร. เป็นผู้ยกร่าง จึงเป็นผู้มีอำนาจสุดท้ายในการดำเนินการ
“ศาลจึงอยากรู้ว่าคนเหล่านี้มีความคิดในเรื่องรูปแบบของการปกครองอย่างไร
เช่น ถ้าบอกว่าจะไม่แตะสถาบัน แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด
2 ไว้ อย่างนี้ต้องชัดเจน
และต้องให้ความมั่นใจกับประชาชนและผู้ที่ร้องมา”
นายวสันต์กล่าวว่า
การรับพิจารณาคำร้องจึงไม่ถือว่าศาลเข้าไปแทรกแซงฝ่ายบริหารหรือแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ
แต่เป็นการดำเนินการตามที่รัฐธรรม นูญ มาตรา 68 ให้อำนาจไว้ ถือเป็นการถ่วงดุลในการตรวจสอบ
ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าไปก้าวล่วง ไปกำกับรัฐสภา จึงควรมองในทางบวกว่าการที่ศาลรับ
คำร้องและมีการไต่สวนก็เพื่อทำให้ลดความตึงเครียดและ ความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาลและรัฐสภา
นายบุญส่ง
กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า มติของศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว
และการสั่งให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
แต่อาจทำให้ช้าไปบ้าง หากสภาไม่ฟังและเกิดเรื่องขึ้นมาก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์
กร ส่วนใครเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญทำเกินอำนาจหน้าที่ อยากจะถอดถอนก็ไม่ว่าอะไร
ส่วนนายพิมล
ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กรณีที่นายพร้อมพงศ์
นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ศาลรัฐ ธรรมนูญรับคำร้องขัดรัฐธรรมนูญ
เพราะต้องรับคำร้องจากอัยการสูงสุดเท่านั้น เป็นการตีความเอง
ซึ่งเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนระบุชัดเจนว่าคณะตุลาการได้ตีความรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 ไว้ว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิในเรื่องนี้ผ่าน 2
ช่องทางคือ ผ่านทางอัยการสูงสุด และยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาเรื่องนี้ค่อนข้างเร็วนั้น
นายพิมลชี้แจงว่า ทุกครั้งที่จะมีการประชุมคณะตุลาการจะมีการพูดคุยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองทุกครั้ง
การใช้อำนาจของคณะตุลาการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เป็นการใช้อำนาจในเชิงป้องกัน
ไม่ใช่การแก้ไข
ยุบพรรค-ตัดสิทธิการเมือง
อย่างไรก็ตาม
คำชี้แจงของศาลรัฐธรรมนูญก็มีการโต้แย้งอย่างมากมายจากนักวิชาการ นักการเมือง
หรืออดีตตุลาการ ที่ยืนยันว่ามติดังกล่าวขัดรัฐธรรม นูญและไม่มีผลผูกพันกับรัฐสภา
ขณะเดียวกันมีการตั้งข้อสังเกตว่าก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติในวันที่
1 มิถุนายนนั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปราศรัยในเวทีการชุมนุมต่อต้านร่าง
พ.ร.บ.ปรองดองที่หน้ารัฐสภาตอนหนึ่งว่า หากวาจาศักดิ์สิทธิ์ ขอพูดเป็นสัจวาจา ศาลรัฐธรรมนูญจะคุ้มครองไม่ให้รัฐธรรมนูญผ่านวาระ
3 ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้แน่นอน จงคอยดูว่าวาจาจะศักดิ์สิทธิ์หรือไม่
มติของศาลรัฐธรรมนูญจึงยิ่งถูกมองว่าเป็นการกลับมาของกระบวนการ
“ตุลาการภิวัฒน์” เพื่อล้มพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นเครือข่ายของระบอบทักษิณหรือไม่
เพราะมาตรา 68 มีบทลงโทษกรณีหากประธานรัฐสภาไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรม
นูญที่มี “คำสั่ง” ให้ชะลอการพิจารณาลงมติแก้รัฐ
ธรรมนูญในวาระที่ 3 ไปจนกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ
แม้ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ก็ตาม
แต่หากมีคำวินิจฉัยว่า “คำสั่ง” ศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม ระบุว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ
ให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ เนื่องจากเห็นว่ามีบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการดังกล่าวแล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางล้มล้างได้
จี้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
กรณียุบพรรคการเมืองจึงตรงกับความเห็นของนายจาตุรนต์
ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่ระบุว่า การรัฐประหารไม่จำเป็นต้องทำโดยผู้นำกองทัพ
เพราะจริงๆแล้วขณะนี้เกิดการรัฐ ประหารโดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ขึ้นแล้ว ฉะนั้นใครที่คิดต่อต้านก็ให้เข้าใจว่าการรัฐประหารได้เริ่มขึ้นแล้ว
การต่อต้านรัฐประหารจึงควรกระทำได้แล้ว เพราะคาดการณ์ตั้งแต่ต้นแล้วว่าชนชั้นนำคงไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญง่ายๆ
แต่นึกไม่ออกว่าจะใช้วิธีไหน ตอนแรกคิดว่ารอให้ผ่านวาระ 3 ไปก่อนแล้วค่อยยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเมื่อร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จ
จึงใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
“จริงๆไม่ใช่ช่องทางที่ใช้ได้เลย
แต่เมื่อกล้าใช้ช่องนี้ก็แสดงว่าต้องกล้าล้ม เหมือนเคยล้มรัฐบาลนาย สมัคร สุนทรเวช
รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ครั้งนี้เอาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญมายุบพรรครอบใหม่
อะไรอีกสารพัด ทั้งๆที่กระบวนการทุกอยย่างดำเนินตามรัฐธรรมนูญ จึงถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรงมาก”
นายจาตุรนต์กล่าวและเรียกร้องให้รัฐสภาไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
เพราะไม่เหมือนคำวินิจฉัยซึ่งผูกพันคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา รัฐสภาจึงจำเป็นต้องทำตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 291 คือพิจารณาลงมติวาระ 3 เมื่อพ้นกำหนด
15 วัน
ทั้งเสนอให้ประชาชนรณรงค์อย่างจริงจังเพื่อถอดถอนตุลาการส่วนใหญ่ เพราะกระทำการขัดรัฐธรรมนูญเอง
ขณะที่นายจรัล
ดิษฐาอภิชัย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เคยเขียนบทความ “รัฐประหารโดยตุลาการ” แจกจ่ายแก่บุคคลและองค์
การระหว่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป คณะกรรมา ธิการต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาและสื่อ
มวลชน ฯลฯ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รัฐ
ประหารโดยตุลาการต่อต้านยากกว่าทำโดยทหาร จึงเห็นด้วยที่สภาผู้แทนราษฎรจะเดินหน้าลงมติในวาระ
3 เพราะจะเป็นการต่อสู้ที่แหลมคมที่สุดระหว่างสถาบันทางการเมืองสูงสุดของอำนาจอธิปไตยของประชาชนกับสถาบันสูงสุดทางอำนาจและประเพณี
ต้องปฏิเสธคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายวีรพัฒน์
ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ให้ความเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 122 บัญญัติว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ
มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
ดังนั้น
หากรัฐสภาปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของศาล รัฐธรรมนูญก็เท่ากับยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
อันเป็นการขัดหลักนิติธรรมทั้งโดยศาลและรัฐสภา เป็นการละเมิดกำหนดเวลาที่รัฐธรรม นูญกำหนดไว้
อีกทั้งส่งผลให้ผู้แทนปวงชนชาวไทยตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำของศาล
รัฐสภาจึงมี “หน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญที่จะปฏิเสธ
“คำสั่ง” ดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีกรณี
“อัยการสูงสุด” ที่ “ราย งานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ครั้งที่ 27/2550
คำอภิปรายโดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายจรัญ ภักดีธนากุล
(เป็นตุลาการศาลรัฐธรรม นูญในเวลานี้) ได้อภิปรายว่า ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้นำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงการให้สิทธิบุคคลอื่นยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลแต่อย่างใด
การตีความของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องดังกล่าวจึงทำให้บทบาทของ
“อัยการสูงสุด” ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลนั้นไร้ความหมาย
เพราะใครจะนำคดีไปสู่ศาลก็สามารถยื่นต่อศาลได้โดยไม่ต้องเสนอเรื่องผ่านอัยการ จึงเกิดคำถามตามมาว่าอัยการต้องดำเนิน
การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปหรือไม่ เพราะศาลได้รับคำร้องจากผู้อื่นที่ยื่นตรงต่อศาลไปแล้ว
นายวีรพัฒน์ชี้ว่า
มาตรา 68 ที่ให้ศาลมีอำนาจ “ยุบพรรคการเมือง”
หรือ “ตัดสิทธิทางการเมือง” คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี “อัยการ” เป็นกลไกในการกรอง คดี แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้วก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธ
ทางการเมือง ซึ่งจะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด
ด้านนายมีชัย
ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามผ่านเว็บไซต์
meechaithailand ถึงมาตรา 68 ว่าถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีการวินิจฉัยแล้วก็ต้องไปดูรัฐ
ธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า “คำวินิจ ฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ”
คำตอบของนายมีชัยจึงมีปัญหาว่า
“คำสั่ง” ศาล
รัฐธรรมนูญจะมีผลหรือไม่หากไม่ใช่ “คำวินิจฉัย”
เหมือนเทวดา!
จึงไม่แปลกที่นักวิชาการ
นักการเมือง และอดีต ผู้พิพากษา มีความเห็นว่าการรับคำร้องและคำสั่งของ
ศาลรัฐธรรมนูญขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาจากการสรรหาจาก คนไม่กี่คน โดยเฉพาะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประ
หารปี 2549 ที่ผ่านมาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายถึงการตัดสินคดีหลายครั้ง
และเป็นที่สงสัยในเรื่อง 2 มาตรฐาน โดยเฉพาะกรณีพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบพรรคที่ถูกกล่าวขานว่ายิ่งกว่าปาฏิหาริย์
ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ และถือว่าไม่ใช่คำวินิจฉัยหรือคำตัดสิน
เพราะการเสนอขอแก้ไขรัฐ ธรรมนูญไม่ได้เป็นการล้มล้างหรือให้ได้มาซึ่งอำนาจ
หากจะตีความว่าเข้าข่ายมาตรา 68 ผู้ร้องจะต้องยื่นต่ออัยการสูงสุดให้มีความเห็นก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรม
นูญ ไม่ใช่อยู่ๆก็ไปมุบมิบยื่นกันสนุกสนาน
“ขอถามตุลาการรัฐธรรมนูญ
8 คนว่าเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคมไปอยู่ที่ไหน
หรือนอนหลับ ถึงไม่รู้ว่าพวกผมได้อำนาจมาจากการเลือกตั้ง แล้วจะหาว่าได้อำนาจโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
เพียงแต่เราจะแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพราะเราไม่ชอบรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมาตรา 291 ให้เสนอได้
และวันนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่าใครจะได้เป็น ส.ส.ร. เพราะ ยังไม่รู้ว่าจะยกร่างอย่างไร
แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ส.ส.ร. 99 คน จะรื้อโครงสร้าง ล้มล้างอำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
หรือกลัวเขาจะไปรื้อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรียุติธรรม
ผมไม่เคยเห็นด้วยกับระบบศาลคู่ เพราะตรวจสอบไม่ได้ ทำอะไรตามใจชอบ
ถ้าเป็นระบบศาลยุติธรรมตรวจสอบได้ ไม่พอใจองค์คณะก็ร้องได้ แต่นี่เหมือนเทวดา
จะทำอะไรก็ทำ นักกฎหมายเห็นต่างกันได้ แต่อย่าสุดโต่ง เห็นอย่างนี้มากไป
ไม่มีใครเขารับได้หรอก”
มือเผาตัวจริง!
มติของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเป็นประวัติ
ศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทย อย่างแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ที่ว่าประหลาดและผิดพลาดอย่างชัดแจ้ง
เพราะขัดกับหลักการตีความกฎหมายทั้งในแง่ถ้อยคำ ประวัติความเป็นมา เจตนารมณ์ ตลอดจนระบบกฎหมายทั้งระบบ
หากรัฐสภายอมรับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญก็เท่ากับให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ
ทั้งยังเป็นการทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
แม้แต่นายอัชพร
จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ตอบแบบแทงกั๊กกรณีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาชะลอการลงมติจะทำได้หรือไม่ว่า
ต้องพิจารณาในรายละเอียดข้อกฎหมายด้วย เหตุและผล แต่คำสั่งศาลที่บังคับใช้กับรัฐสภาที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
และในโลกนี้ก็ไม่เคยมี
นายนันทวัฒน์
บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 ได้มอบอำนาจให้อัยการ สูงสุดเป็นคนกลั่นกรองก่อนเพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรม
นูญว่าควรรับคำร้องหรือไม่ สภาจึงควรประชุมเพื่อพิจารณาลงมติในวาระ 3 ต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจนว่า
1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีหน้าที่ในการตรวจรัฐธรรมนูญ
เพียงแต่สามารถดูว่ากฎหมายที่ออกมามีความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
2.มีการแยกอำนาจอย่างชัดเจนมานานแล้วว่าฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายตุลาการ ต้องแยกออกจากกัน และการพิจารณาออกกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการจึงไม่สามารถสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติหยุดทำงานในหน้าที่แท้ๆของตัวเองได้
และ 3.เฉพาะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผูกพันทุกองค์กรคือ
ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ แต่ไม่ใช่ว่า “คำสั่ง”
หรือ “คำสั่งการ” หรือ
“คำขอ” ของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลผูกพัน ฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่จำเป็นต้องเดินตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ
และไม่ควรทำด้วย
ส่วนนายเกษียร
เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบันถือกำเนิดจากรัฐธรรม นูญที่งอกจากปากกระบอกปืน
การที่พวกเขาเข้ามารับตำแหน่งบอกอยู่แล้วว่าพวกเขาฝักใฝ่การปกครองระบอบใด การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการปกป้องอำนาจของพรรคพวกตน
หาใช่ปกป้องรัฐธรรมนูญ ปกป้องประชาชนไม่”
การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญและมีคำสั่งให้รัฐสภาระงับการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย จึงถูกเปรียบเหมือน
การทำรัฐประหารโดยศาลรัฐธรรมนูญ
คำประกาศ
“โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง...” ครั้งนี้จึงไม่ใช่
เสียงของคณะรัฐประหาร แต่เป็นเสียงของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐ
ธรรมนูญจึงต้องเตือนสติตัวเองว่าอย่า “จุดชนวนกลียุค”
ให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟ!
โปรดอย่าเผาประเทศ...ด้วยตุลาการภิวัฒน์!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น