"จาตุรนต์"
จวก "ชนชั้นนำไม่ยอมให้ปรองดอง-การรัฐประหารเริ่มต้นแล้ว"
(วันที่ 3
มิถุนายน 2555, go6tv) ที่โรงแรมอมารีเอเทรียม
ถนนเพชรบุรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎร
ระงับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า
วันนี้เป็นการแถลงครั้งแรกหลังได้รับสิทธิพลเมืองกลับคืนมา และรู้สึกว่าการเมืองต้อนรับแบบดุเดือดพอสมควร
ในฐานะพลเมืองชั้นสอง ไม่มีสิทธิเป็นคนมา 5 ปี ขณะนี้ มีสิทธิได้เท่ากับพลเมืองทั่วประเทศ แต่พบว่าสิทธิประชาชนทั่วประเทศ
กำลังถูกปล้นไปอีกครั้ง
“ขณะนี้มีข่าวลือว่าจะมีการรัฐประหาร
ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำรัฐประหาร โดยผู้นำกองทัพ เพราะ จริงๆ แล้วเกิดรัฐประหาร
โดยตุลาการภิวัฒน์ขึ้นแล้ว ฉะนั้น ใครคิดต่อต้าน รัฐประหาร โดยคิดว่า ต้องระวังกระทั่งเกิดการรัฐประหารแล้วค่อยออกมาต่อต้าน
ก็ขอให้เข้าใจว่า การรัฐประหารได้เริ่มขึ้นแล้ว ฉะนั้นการต่อต้านควรจะกระทำได้แล้ว”
นายจาตุรนต์กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวตอนหนึ่งว่า คาดอยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่า ชนชั้นนำคงไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญนี้อย่างง่ายๆ แต่นึกไม่ออกว่าจะใช้วิธีไหน ตอนแรกคิดว่า รอให้ผ่านวาระ 3 ไปก่อน แล้วค่อยไปยื่นให้ศาลตีความ แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจวินิจฉัย เมื่อร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จ จึงมาใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จริงๆ ไม่ใช่ช่องทางที่ใช้ได้เลย แต่เมื่อกล้าใช้ช่องนี้แสดงว่าต้องกล้าล้ม
เมื่อถามว่า ชนชั้นนำ หมายถึงคนกลุ่มใด นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ชนชั้นนำ ก็คือชนชั้นนำ คือคนที่ยังมีอำนาจทั้งหลาย หรือคนที่ยังมีอำนาจแฝงอยู่ตามรัฐธรรมนูญนี้ คนที่คิดจะล้มอำนาจรัฐบาลที่มาจากประชาชน เหมือนเคยล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ล้มรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พอคราวนี้จะแก้รัฐธรรมนูญโดยสภา ก็คิดจะล้ม เรื่องนี้ อาจจะนำไปสู่การยุบพรรครอบใหม่อะไรอีกสารพัด ก็เป็นได้ ทั้งๆ ที่กระบวนการทุกอยย่างดำเนินตามรัฐธรรมนูญ จึงถือว่า เป็นการกระทำที่ร้ายแรงมาก
เมื่อถามว่า รัฐบาลนี้ ถูกหลอกเกี่ยวกับการปรองดองหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รัฐบาลเองคงไม่ได้โดนหลอกอะไร เพราะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับกระบวนการทั้งหลาย แต่นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความพยายามที่จะปรองดองใดๆ เลยจากชนชั้นนำในประเทศนี้ มีแต่พยายามรักษา อำนาจตัวเองไว้และมีแต่จะทำลายกระบวนการที่จะทำให้บ้านเมือง เป็นประชาธิปไตยทุกวิถีทาง ชัดเจน โดยไม่คำนึงถึงวิกฤตใดๆที่จะตามมาถือเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวอย่างยิ่งของกระบวนการนี้
นายจาตุรนต์ กล่าวตอนหนึ่งว่า คาดอยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่า ชนชั้นนำคงไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญนี้อย่างง่ายๆ แต่นึกไม่ออกว่าจะใช้วิธีไหน ตอนแรกคิดว่า รอให้ผ่านวาระ 3 ไปก่อน แล้วค่อยไปยื่นให้ศาลตีความ แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจวินิจฉัย เมื่อร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จ จึงมาใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จริงๆ ไม่ใช่ช่องทางที่ใช้ได้เลย แต่เมื่อกล้าใช้ช่องนี้แสดงว่าต้องกล้าล้ม
เมื่อถามว่า ชนชั้นนำ หมายถึงคนกลุ่มใด นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ชนชั้นนำ ก็คือชนชั้นนำ คือคนที่ยังมีอำนาจทั้งหลาย หรือคนที่ยังมีอำนาจแฝงอยู่ตามรัฐธรรมนูญนี้ คนที่คิดจะล้มอำนาจรัฐบาลที่มาจากประชาชน เหมือนเคยล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ล้มรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พอคราวนี้จะแก้รัฐธรรมนูญโดยสภา ก็คิดจะล้ม เรื่องนี้ อาจจะนำไปสู่การยุบพรรครอบใหม่อะไรอีกสารพัด ก็เป็นได้ ทั้งๆ ที่กระบวนการทุกอยย่างดำเนินตามรัฐธรรมนูญ จึงถือว่า เป็นการกระทำที่ร้ายแรงมาก
เมื่อถามว่า รัฐบาลนี้ ถูกหลอกเกี่ยวกับการปรองดองหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รัฐบาลเองคงไม่ได้โดนหลอกอะไร เพราะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับกระบวนการทั้งหลาย แต่นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความพยายามที่จะปรองดองใดๆ เลยจากชนชั้นนำในประเทศนี้ มีแต่พยายามรักษา อำนาจตัวเองไว้และมีแต่จะทำลายกระบวนการที่จะทำให้บ้านเมือง เป็นประชาธิปไตยทุกวิถีทาง ชัดเจน โดยไม่คำนึงถึงวิกฤตใดๆที่จะตามมาถือเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวอย่างยิ่งของกระบวนการนี้
ขบวนรถไฟอำนาจชนกัน..ที่สถานีจตุพร
วิจัย ใจภักดี
ข่าวเจาะลึก จาก RED POWER เล่มที่ 17 วันที่ 1
สิงหาคม 2554
การพังทลายของโครงสร้างระบอบการปกครองในรอยต่อของระบอบศักดินาสู่ยุคประชาธิปไตยของทุกรัฐล้วนแล้วแต่มีปัจจัยสำคัญที่เหมือนกันคือ
ผู้มีอำนาจมองไม่เห็นพลังแห่งพัฒนาการของสิ่งที่เรียกว่า “ความตื่นตัวของประชาชน”
แม้มีบทเรียนให้เห็นแล้ว
ผู้มีอำนาจก็ยังมองไม่เห็น
ไม่เพียงแต่มองไม่เห็นแต่ยังไม่เชื่อด้วยว่าระบอบอำนาจที่พระเจ้าประทานให้แก่กษัตริย์จะพังทลายได้ด้วยฝีมือของพลังแห่งคนจนที่เขาดูถูกว่าเป็นคนโง่
การพังทลายของราชวงศ์บูร์บลองในฝรั่งเศสในปี
ค.ศ.1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารีอังตัวเนต
มองไม่เห็นผลสะเทือนของสงครามกลางเมืองในอังกฤษที่อยู่ใกล้กันระหว่าง พระเจ้าชาร์ลส์ที่
1 กับสามัญชนครอมเวลล์ ที่ก่อตัวตั้งแต่ต้นทศวรรษ ค.ศ.1640
การต่อสู้ที่ยาวนานระหว่างแนวคิดกษัตริย์นิยมกับสาธารณรัฐนิยม
เกือบหนึ่งศตวรรษที่เริ่มจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1789
ขยายตัวไปทั้งภาคพื้นยุโรป
แต่กลับมิได้ให้บทเรียนแก่ราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างราชวงศ์ชิงในจีนและราชวงศ์โรมานอฟในรัสเซียเลย
จึงเกิดการพังทลายของทั้ง 2 ราชวงศ์ในปี ค.ศ.1912 และค.ศ.1917 ไล่ถัดกันมา
200
กว่าปีนับแต่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสได้เกิดการปรับตัวของระบอบ
กษัตริย์นิยมทั่วทั้งยุโรปแล้วนำรัฐทั้งหมดของภาคพื้นยุโรปและอเมริกาเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐนิยมและระบอบรัฐสภานิยมที่กษัตริย์กับประชาชนอยู่ร่วมกันได้
แม้จะย่างเข้าศตวรรษที่
20 แล้วแต่ก็กลับมิได้ให้บทเรียนแก่ราชวงศ์อียิปต์,อิหร่าน,เอธิโอเปีย แล่ล่าสุดคือเนปาล
เลยจึงได้เกิดการพังทลายของราชวงศ์ดังที่กล่าวมานี้อีก
เป็นที่น่าสังเกตว่านับแต่ปลายศตวรรษที่
19 ก่อนก้าวขึ้นศตวรรษที่ 20 ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ได้ให้กำเนินทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ส่งผลสะเทือนต่อแนวคิดทางวิชาการทางการเมืองอย่างมาก
เกิดวิชาการวิจัยที่ทำให้มนุษย์สามารถทำนายความต้องการของมนุษย์มหาชนได้อย่างแม่นยำที่รู้จักกันในนาม
“การทำโพล” จึงเกิดการเรียนรู้ทฤษฎีวิวัฒนาการทางการเมืองอย่างเช่นทุกวันนี้
แต่ทำไมในศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษแห่งความเจริญทางวิชาการแล้วจึงไม่สามารถเตือนภัยให้ระบอบกษัตริย์ในอียิปต์,
อิหร่าน, เอธิโอเปีย
และเนปาลให้เกิดการปรับตัวเพื่อจะดำรงรักษาฐานะแห่งระบอบอำนาจราชวงศ์ได้ต่อไปอีก
คำตอบที่สำคัญคือผลประโยชน์
ไม่ใช่เพียงแต่ผลประโยชน์ของราชวงศ์ที่เป็นอุปสรรคหากแต่เป็นผลประโยชน์ของเหล่าขุนนางที่อยู่รายล้อมพระองค์ที่ก่อตัวกันขึ้นกลายเป็นระบอบขุนนางที่เข้มแข็งห่างเหินประชาชนและพัฒนาสู่ความเน่าเฟะ
โดยทำหน้าที่พิทักษ์อำนาจของตนด้วยการปิดกั้นข้อมูลความทุกข์ร้อนของประชาชนไม่ให้เข้าสู่พระเนตรพระกรรณของราชวงศ์
ความเป็นจริงแห่งวิวัฒนาการของโลกในหลายประเทศควรอย่างยิ่งที่จะได้นำมาเป็นบทเรียนของการจัดระเบียบในสังคมไทยเพื่อดำรงรักษาพระบารมีพระมหากษัตริย์เจ้าให้ยืนยาวตราบนานเท่านานด้วยคลังแห่งวิชาการที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
(หากนับจากจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีมากที่สุดในอาเซียน)
แต่น่าเสียดายที่ไม่มีนักวิชาการที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมจากรั้วมหาวิทยาลัยที่จะออกมาติติงตักเตือนความมัวเมาในผลประโยชน์ของพวกเหล่าขุนนางที่ก่อกรรมทำเข็ญสร้างวิกฤติให้แก่ประเทศไทยมายาวนานกว่า
5 ปีแล้ว ด้วยการที่พวกเขาไม่ยอมรับและขัดขวางมติมหาชนตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาด้วยเหตุผลง่ายๆว่าพวกส.ส.ขาดคุณธรรม
เหตุการณ์จากรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณขยายตัวสู่การยึดทำเนียบรัฐบาล
และยึดสนามบิน เพื่อล้มรัฐบาล สมัคร – สมชาย
เพื่อจะนำนายอภิสิทธิ์หุ่นเชิดขึ้นเป็นนายกฯกลับได้รับการปกป้องว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องจากระบอบขุนนาง
โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้อธิบายความ
แม้วันนี้ผลการเลือกตั้งเป็นคำตอบที่ดีที่สุดแล้วว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อการอธิบายความของพรรคประชาธิปัตย์
แต่ระบอบขุนนางยังใช้ความพยายามทุกวิถีทางและใช้กลไกแห่งอำนาจทำลายเจตนาของประชาชน
เพียงเพื่อตอบสนองความอาฆาตแค้น
และอารมณ์ความเกลียดชังเป็นการเฉพาะของคนบางคนในหมู่ขุนนาง
โดยมองไม่เห็นถึงผลกระทบต่อโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะพิเศษของสังคมไทย
ขบวนการแห่งอารมณ์แค้นที่ฝังรากลึกจากกรณีการเกลียดชัง
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ของคนบางคนที่ไม่อาจปฏิเสธได้ที่แสดงออกตลอดระยะเวลา 5 ปี
ของการแย่งชิงอำนาจด้วยกำลังอาวุธ โดยไม่ยอมรับกฎกติกาประชาธิปไตย
จนถึงวันนี้แสดงออกให้เห็นชัดที่ใช้กลไกอำนาจของ กกต.
ที่พยายามจะขัดขวางการเข้าสู่อำนาจตามทำนองคลองธรรมของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จนกระทั่งการใช้อำนาจศาลเป็นเครื่องมือในการกักตัว นายจตุพร พรหมพันธุ์
ไม่ให้ก้าวเข้าสู่สภา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า
ระบอบอำมาตย์กำลังจุดชนวนให้เกิดการปะทะกันในเชิงสัญลักษณ์และโคร้างสร้าง
ระหว่างอำนาจของศาลที่เป็นตัวแทนของสถาบันกษัตริย์กับอำนาจรัฐสภาที่มาจากประชาชน
นายจตุพร พรหมพันธุ์
โดยส่วนตัวเป็นเพียงแค่เด็กคนหนึ่งที่มาจากจังหวัดสุราษฎ์ธานี
จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
แต่จากการนำมวลชนขึ้นต่อสู้กับระบอบเผด็จการอำมาตย์ตลอดระยะเวลา 5 ปี ในนามแกนนำ
นปช. ได้ทำให้ฐานะของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ถูกหลอมรวมเป็นแกนแห่งพลังของประชาชนไปแล้วโดยพฤตินัย
และจากผลการเลือกตั้งที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ยืนอยู่ในกลุ่มของ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ในฐานะบัญชีรายชื่ออย่างมีนัยยะสำคัญจนได้รับความเห็นชอบของประชาชน 15
ล้านเสียงเศษนี้ได้ทำให้ฐานะของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ กลายเป็นแกนพลังของมหาชนโดยนิตินัยไปแล้ว
ฐานะวันนี้ นายจตุพร
พรหมพันธุ์ จึงเป็นตัวแทนของมหาชนโดยชอบทั้งทางการเมืองและทางกฎหมาย
ซึ่งแตกต่างจากหัวหน้าม็อบอย่าง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯทุกคน
ที่มีเพียงฐานะทางการเมืองแต่ไม่มีฐานะทางกฎหมาย
คำถามของสังคมที่ อัยการ– ศาล ไม่อาจจะอธิบายได้ว่า
แล้วทำไมหัวหน้าม็อบอย่างแกนนำพันธมิตรฯที่ก่อจลาจลยึดทำเนียบและยึดสนามบินยาวนานเกือบ
7 เดือนจึงได้รับความกรุณาปราณีจากกระบวนการยุติธรรมประกันตัวได้ไม่มีปัญหา
แล้วทำไมแกนนำ นปช. ซึ่งเป็นหัวหน้าม็อบที่กระทำผิดในลักษณะเดียวกันอีกทั้งผ่านการเห็นชอบของประชาชนได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงเป็นเสียงข้างมาก
จึงไม่ได้รับความกรุณาปราณีจากกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะจากศาลที่ไม่ยอมให้
นายจตุพร ออกไปลงคะแนนเสียงในฐานะผู้สมัคร ส.ส. ทั้งๆที่ นายจตุพร
ยื่นขอประกันตัวเพื่อรักษาสิทธิทางการเมืองของตนออกไปลงคะแนนเพียง 3 ชั่วโมง
ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยถือว่าศาลจะปฏิเสธสิทธินี้ไม่ได้
แล้วในที่สุดกลายเป็นเหตุอ้างของ กกต.ที่จะตัดสิทธิ์ของ นายจตุพร
การกระทำของ กกต.
จึงปฏิเสธความเข้าใจของมหาชนไม่ได้ว่า กกต. รับลูกมาจากศาล
ศาลจะอ้างว่าเป็นอำนาจแห่งดุลยพินิจอิสระของศาลในฐานะอำนาจอธิปไตยที่เสมอกับอำนาจนิติบัญญัติ
และอำนาจบริหาร ที่มาจากประชาชน ย่อมอ้างได้ แต่ยิ่งอ้างก็ยิ่งอันตราย
เพราะมีกรณีคู่ขนานเปรียบเทียบระหว่างแกนนำ นปช.
ที่มีอำนาจโดยนิตินัยแห่งมหาชนยอมรับ
กับแกนนำพันธมิตรที่ไม่มีอำนาจโดยนิตินัยแห่งมหาชนยอมรับใดๆเลย
แล้วทำไมในอดีตศาลจึงยอมให้แกนนำพันธมิตรฯประกันตัวได้จากคดีที่ก่อความรุนแรงและความเสียหายยิ่งกว่า
คือกรณียึดทำเนียบรัฐบาลและยึดสนามบิน ?
ยิ่งมองลึกเข้าไปในโครงสร้างอำนาจของศาลในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่มีลักษณะพิเศษยิ่งอันตราย
เพราะศาลเป็นอำนาจโดยตรงของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมใดๆในการ
“รับรอง”อำนาจของศาลเลย
แต่ประชาชนมีฐานะเพียงเป็นผู้ “รองรับ” อำนาจของศาลเท่านั้น
ปรากฏการณ์ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์
จึงกลายเป็นชนวนระเบิดอันเป็นผลการจากเผชิญหน้าทางอำนาจระหว่าง อำนาจตุลาการ
ตัวแทนของสถาบันกษัตริย์ กับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ตัวแทนของประชาชน
นี้คือจุดอ่อนอันเป็นปัญหาของระบอบขุนนางที่ใช้ความอาฆาตแค้นและอารมณ์ของคนบางคนที่อวดอ้างคุณธรรมเหนือมติมหาชนเข้ามาแทรกแซงระบอบรัฐสภาไทย
ปรากฏการณ์ของ นายจตุพร
พรหมพันธุ์ เปรียบเทียบได้เสมือนหนึ่งระบอบขุนนางที่เสมือนหนึ่งเป็นนายสถานีรถไฟกำลังเมาอำนาจ
สับรางให้รถไฟขบวนตุลาการกับรถไฟขบวนประชาชน ชนกันที่สถานี จตุพร
ถ้าถามว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?
ผมอยากจะตอบว่า
ต้องจัดหลักสูตรพาบรรดาขุนนางผู้มีอำนาจทั้งหลายเข้าอบรมวิชาทฤษฎีวิวัฒนาการทางการเมือง
โดยเน้นการศึกษาประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย
ในยุครอยต่อก่อนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น