Independence Day
“ขอให้เสรีภาพจงมีแด่คนทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินนี้” คือถ้อยคำอันเปี่ยมไปด้วยความหมายที่เขียนบนระฆังเสรีภาพ
เมื่อกลางคริสต์ทศวรรษ 1700 ชาวอาณานิคมทั้ง 13 แห่งที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังกฤษในโลกใหม่พบว่า การอยู่ ใต้การปกครองของกษัตริย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกห่างออกไป 3,000 ไมล์เริ่มไม่ใช่เรื่องง่าย คนเหล่านี้เบื่อหน่ายที่ต้องถูกเรียกเก็บภาษี แต่อิสรภาพเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปและยากลำบาก ชาวอาณานิคมไม่อาจลืมได้ว่าพวกเขายังเป็นพลเมืองอังกฤษอยู่และต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์จอร์จที่ 3
เหตุการณ์ “tea party”และ “การสังหารหมู่” เป็นสองเหตุการณ์ที่เร่งให้กระบวนการประกาศอิสรภาพเป็นไปเร็วขึ้น นอกเหนือจากการก่อความไม่สงบทั่ว ๆ ไปแล้ว เหตุการณ์สองเหตุ การณ์นี้ได้ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชาวอาณานิคม
เหตุการณ์ “tea party”และ “การสังหารหมู่” เป็นสองเหตุการณ์ที่เร่งให้กระบวนการประกาศอิสรภาพเป็นไปเร็วขึ้น นอกเหนือจากการก่อความไม่สงบทั่ว ๆ ไปแล้ว เหตุการณ์สองเหตุ การณ์นี้ได้ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชาวอาณานิคม
เวอร์จิเนียเริ่มดำเนินการก้าวแรกสู่การประกาศอิสรภาพด้วยการลงคะแนนเสียงให้มีการจัดตั้งสภาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐอาณานิคมต่าง ๆ สภาแห่งภาค พื้นทวีป (Continental Con gress) ชุดแรกนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2317 และระบุข้อข้องใจของตนที่มีต่อกษัตริย์ ซึ่งเอกสารฉบับนี้เองจะกลายมาเป็นร่างฉบับแรกของเอกสารที่ประกาศให้อาณานิคมเป็นอิสระจากอังกฤษ จอร์จ วอ ชิงตัน เป็นผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายอาณานิคม และเริ่มรบกับทหารอังกฤษที่รัฐแมสซาชูเซตส์ จากนั้นต่อมาอีกเป็นเวลา 8 ปี ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้อย่างดุเดือดในสงครามปฏิวัติ
วันชาติสหรัฐ ตรงกับ วันที่ 4 กรกฎาคม เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันที่สภาแห่งภาคพื้นทวีปให้ความเห็นชอบร่างคำประกาศอิสรภาพ ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 จนถึงเดือนถัดไป จะมีการอ่านเอกสารฉบับนี้ในที่สาธารณะและประชาชน จะเฉลิมฉลองเมื่อใดก็ตามที่ได้ยินการอ่านเอกสารนี้ ในปีถัดไปที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ผู้คนตีระฆังและเรือก็ยิงสลุต มีการจุดเทียนและประทัดกันทั่วไป แต่สงครามก็ยังยืดเยื้อต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2326 และในปีนั้นเอง ก็มีการกำหนดวันประกาศอิสรภาพให้เป็นวันหยุดราชการ
จอห์น อดัมส์ ทนายความ และรองประธานาธิบดีสหรัฐ คนแรก และประธานาธิบดีสหรัฐคนที่สอง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสภาแห่งภาคพื้นทวีปชุดที่สองซึ่งลงนามในคำประกาศอิสรภาพ อดัมส์เขียนจดหมายถึงภรรยาว่า “ฉันเชื่อว่าคนรุ่นหลังจะเฉลิมฉลองเทศกาลนี้กันอย่างเอิกเกริก การเฉลิมฉลองควรจะทำอย่างเป็นทางการ โดยมีพิธีต่าง ๆ ขบวนพาเหรด การแสดง การละเล่น กีฬา เสียงปืน เสียงระฆัง กองไฟ และแสงสว่างไสวทั่วทั้งทวีปจากสุดฟากฝั่งด้านหนึ่งไปจนจดอีกด้านหนึ่ง.....”
วันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปีถือเป็นวันหยุดของชาว อเมริกัน ผู้คนจะนำอาหารที่ตนชอบ เช่น ฮอตดอก แฮมเบอร์ เกอร์ สลัดมันฝรั่ง ถั่วอบ และเครื่องเคียงต่าง ๆ ไปรับประทานกันกลางแจ้ง ในช่วงค่ำ ชาวเมืองจะออกมาชุมนุมกันเพื่อชมดอกไม้ไฟ ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก ชาวอเมริกันจะออกมาชุมนุมกันเพื่อฉลองวันชาติตามประเพณี
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกาประกาศว่า “อาณานิคมสหรัฐนี้เป็นและโดยสิทธิ ควรเป็นรัฐอิสระและมีเอกราช” ประกาศนี้เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์เสรีภาพของมนุษยชาติ ในวาระครบรอบ 235 ปีของการลงนามประกาศอิสรภาพ ขอสรรเสริญความกล้าหาญและความเสียสละของท่านทั้งหลายที่สร้างประเทศนี้ขึ้นมา และขอแสดงความยินดีซึ่งคุณค่าแห่งเสรีภาพและความเสมอภาคที่ทำให้ประเทศอเมริกาเข้มแข็งผู้รักชาติแห่งสงครามปฏิวัติได้ต่อสู้ด้วยความเชื่อที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน” และ “ได้รับสิทธิบางประการจากพระผู้สร้างโลกที่ผู้ใดก็ไม่อาจพรากไป ได้” ด้วยการดำเนินการตามอุดม การณ์นี้ คนอเมริกันหลายชั่วอายุคนได้ช่วยให้คนทุกมุมโลกได้มีความหวังถึงเสรีภาพได้อย่างเสรี
สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลา 178 ปี เริ่มตั้งแต่การลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและค้าขายเมื่อปี พ.ศ. 2376 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางไมตรีและค้าขายฉบับแรกที่สหรัฐ ลงนามกับประเทศในเอเชีย นอกจากนี้สหรัฐ และไทยยังเป็นประเทศคู่สนธิสัญญาจนถึงทุกวันนี้
ในปีนี้ วันที่ 3 กรกฎาคม 54 ก็จะเป็นวันประกาศอิสรภาพแห่งความคิดแห่งประชาชนไทยเช่นเดียวกัน
เป็นการประกาศดังๆให้ระบอบเผด็จการพญาปลวกทำลายบ้าน(เมือง)ได้รู้ว่า อำนาจที่มาจากปลายปืนมิอาจยั่งยืนเท่ากับอำนาจที่ได้มาจากเสรีชนที่มอบให้แด่ผู้แทนแห่งเสรีภาพได้ใช้อำนาจนั้น นี่คือ
“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพแห่งประชาธิปไตย”
แด่วีรชนผู้รักชาติและประชาธิปไตยที่ยอมตายแต่ไม่ยอมให้ใครพรากจิตวิญาณแห่งเสรีชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น