จากคำพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านคำพิพากษา คดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง ยืดเยื้อยาวนานมาหลายปี
โดยคำพิพากษาจำคุกนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 12 ปี
พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. 10 ปี ส่วน
นายโภคิน พลกุล นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รอดพ้นข้อกล่าวหา[1] ซึ่งที่ผ่านมานายประชา ไม่เคยมาฟังคำตัดสินเลย ศาลก็เลื่อนอ่านคำตัดสินมาจนถึงที่สุดก็อ่านคำตัดสินลับหลังโดยไม่ต้องรอ
นายประชา อีกต่อไป ไม่มีการพักการพิจารณาไว้จนกว่าจะได้ตัวกลับมาก่อน...
แต่ที่น่าสนใจก็คือยังมีคดีหนึ่งคือคดีหวยบนดินซึ่งก็มีการตัดสินไปแล้วเช่นกัน
เมื่อวันที่ 30
ก.ย. 52 [2] ทุกๆคนได้ถูกพิพากษาหมดยกเว้น
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 ไม่เดินทางมาสอบคำให้การว่า
ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งจำหน่ายคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากสารบบไว้ชั่วคราวจนกว่าจะนำตัวมาดำเนินคดีได้
ส่วนจำเลยคนอื่นอีก 26 ราย
จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อตามปกติ
ส่วนถ้ามีการพิจาณาแล้วมีคำพิพากษาไปแล้วผลคำพิพากษาจะไม่มีผลเกี่ยวข้องกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ จนกว่าจะนำตัวกลับมาและดำเนินการพิจาณากับ พ.ต.ท.ทักษิณใหม่อีกครั้ง [3]
..... เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองคดีของทั้งสองคนแล้วทำให้ประชาชนคนธรรมดาไม่เข้าใจก็คือ
มาตรฐานของคำพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อยู่ตรงไหน คำถามคือ จะเก็บคดีที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ไว้เพื่ออะไร ? ครับท่าน
..........................................................................
ศาลฏีกา
พิพากษาคดีซื้อรถดับเพลิงกทม.จำคุก"ประชา มาลีนนท์"12ปี [1]
เมื่อวันที่ 10 กันยายน
องค์คณะผู้พิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านคำพิพากษา คดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กรุงเทพมหานคร
ที่ยืดเยื้อยาวนานมาหลายปี โดยคำพิพากษาจำคุกนาย ประชา มาลีนนท์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 12 ปี พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ
ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. 10 ปี ส่วน นายโภคิน พลกุล นายวัฒนา
เมืองสุข ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รอดพ้นข้อกล่าวหา
โดยคดีดังกล่าวมีจำเลยที่ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ได้ยื่นฟ้องประกอบด้วย นาย โภคิน พลกุล นายประชา มาลีนนท์ นายวัฒนา เมืองสุข
พล.ต.ต. อธิลักษณ์ตันชูเกียรติ บริษัท สไตเออร์เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์
จำกัด หรือ STEYR-DAIMLER-PUCH Spezial fahrzeug AG&CO KG(ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเนื่องจากมีสำนักงานจัดตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรีย)
และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นจำเลยที่ 1-6
ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ(ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542
จากกรณีการจัดซื้อรถ
และเรือดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกทม.มูลค่า6,687,489,000บาท
ทั้งนี้ศาลฎีกาฯได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษามาแล้วรอบหนึ่งเมื่อ6สิงหาคม 2556 ด้วยเหตุประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทยไม่มาปรากฏตัวต่อศาลฯจนทำให้องค์คณะผู้พิจารณาไต่สวนคดีเลื่อนการอ่านคำพิพากษามาเป็นวันนี้พร้อมกับออกหมายจับนายประชาด้วยเหตุศาลเห็นว่ามีเจตนาจงใจหลีกเลี่ยงหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาทำให้ศาลไม่สามารถอ่านคำพิพากษาได้จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลยที่2 และให้ปรับนายประกันมูลค่า 2 ล้านบาท
โดยในวันนี้นายประชา จำเลยที่ 2 ที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ก่อนหน้านี้ และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ไม่เดินทางมาศาล ส่วนจำเลยคนอื่นๆ เดินทางมาศาลทั้งหมด
ทั้งนี้ศาลฎีกาฯได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษามาแล้วรอบหนึ่งเมื่อ6สิงหาคม 2556 ด้วยเหตุประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทยไม่มาปรากฏตัวต่อศาลฯจนทำให้องค์คณะผู้พิจารณาไต่สวนคดีเลื่อนการอ่านคำพิพากษามาเป็นวันนี้พร้อมกับออกหมายจับนายประชาด้วยเหตุศาลเห็นว่ามีเจตนาจงใจหลีกเลี่ยงหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาทำให้ศาลไม่สามารถอ่านคำพิพากษาได้จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลยที่2 และให้ปรับนายประกันมูลค่า 2 ล้านบาท
โดยในวันนี้นายประชา จำเลยที่ 2 ที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ก่อนหน้านี้ และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ไม่เดินทางมาศาล ส่วนจำเลยคนอื่นๆ เดินทางมาศาลทั้งหมด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378800017
................................................................
เปิดสามปมพิพากษาหวยบนดิน
ศาลเอกฉันท์ไม่ผิดยักยอกเงินรัฐ [2]
"กรุงเทพธุรกิจ"
สรุปประเด็นคำฟ้องในคดีหวยบนดินและคำพิพากษาของศาล หลังคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหวยบนดินเมื่อวันที่
30 กันยายน 52
ประเด็นที่
1 จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ในฐานะคณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (บอร์ดกองสลาก)
ที่ร่วมกันมีมติเสนอโครงการหวยบนดินเพื่อนำเงินรายได้คืนสู่สังคม
และงดเว้นการจัดเก็บภาษี กระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาตรา 5 และ มาตรา 9 หรือไม่
เห็นว่า
กองสลากจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารายได้เข้ารัฐโดยการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล
มีแนวทางการปฏิบัติจัดสรรรางวัลอย่างชัดเจน เงินที่ได้รับร้อยละ 60 นำไปจ่ายค่ารางวัล
ร้อยละ 28 เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน ร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารงาน ส่วนการออกโครงการหวยบนดินไม่ได้กำหนดอัตราส่วนรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน
แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการออกสลากกินแบ่งลักษณะพิเศษเพื่อจะนำเงินไปใช้ในทางสาธารณประโยชน์
แต่ปรากฏว่าการออกสลากลักษณะพิเศษดังกล่าวไม่ได้จำกัดงวดตามแนวทางที่กองสลากเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้
ดังนั้น
การออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3
ตัวดังกล่าว ไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากการกุศลตาม
พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
จึงไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยงขาดทุน แต่การออกหวยบนดินยังกำหนดการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกสลากทุกคนที่ถูกหมายเลข
2 และ 3 ตัว โดยไม่กำหนดวงเงินที่รับแทง
ทำให้กองสลากต้องขาดทุนรวม 7 งวด จากการออกสลากทั้งสิ้น 80
งวด เป็นเงิน 1,600 ล้านบาทเศษ
จึงไม่อาจได้รับการงดเว้นการลดหย่อนภาษีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการงดเว้นประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2540 และกฎกระทรวงปี 2503 และ 2543
ขณะที่ ศาลยังเห็นว่า
การไม่นำเงินรายได้จากการออกสลากหลังจากหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากระทรวงการคลัง
ก็ไม่ถูกต้อง แม้ว่าเงินดังกล่าวจะได้มาจากการออกสลากที่ไม่ถูกต้อง
แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้สอยได้ตามอำเภอใจ ถือว่าผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเด็นที่ 2 จำเลยที่
2 -30 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี (ชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
มีความผิดฐานร่วมกันมีมติให้ดำเนินโครงการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว
ตามที่จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ซึ่งเป็นบอร์ดกองสลากเสนออนุมัติ
และเป็นผู้ใช้ให้งดเว้นการจัดเก็บภาษีจากการออกสลากหรือไม่
เห็นว่า จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ได้มีมติเสนอโครงการโดยผลประชุมเมื่อวันที่ 30
เม.ย. 2545 ซึ่งจำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงคลังและประธานบอร์ดกองสลาก) จำเลยที่ 42
(นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการกองสลาก)
เป็นผู้นำมติเสนอต่อจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้เร่งดำเนินการ
จากนั้นมีการจัดประชุมและอนุมัติโครงการโดยมีจำเลยที่
10 (นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง) เข้าร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2546 และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เป็นวาระพิเศษ โดยที่ ครม.ไม่น่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด
เพียงพิจารณาจากเอกสารและฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงการคลังและกองสลาก
จึงอนุมัติหลักการโดยเข้าใจว่าเป็นโครงการที่ถูกต้อง
จนมีการออกสลากตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค. 2546-16 พ.ย. 2549
ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 31 และ
42 ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของกองสลาก
ย่อมต้องทราบวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองสลาก เจตนารมณ์กฎหมายในการออกสลาก
ซึ่งแม้จำเลยจะอ้างว่าออกสลากตามนโยบายฝ่ายบริหารในการปราบปรามยาเสพติดและหวยใต้ดิน
แต่ก็ควรที่จะต้องคำนึงว่าทั้งโครงการออกสลากและนโยบายฝ่ายบริหารที่จะนำมาปฏิบัติจะต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย
จึงควรจะต้องทักท้วงจำเลยที่ 1 เมื่อเห็นว่าโครงการไม่ถูกต้อง
และต้องมีการแก้ไขกฎหมาย
ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า
นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา
(ในขณะนั้น) ได้ทำความเห็นท้วงติงในประเด็นข้อกฎหมาย
ซึ่งเห็นว่าต้องแก้ไขแนวทางการออกสลากไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายรองรับโครงการ
แต่จำเลยที่ 31
และ 42 กลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน
แต่ยังฝืนเสนอให้มีการออกสลาก
และทำความตกลงกับธนาคารออมสินขอเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้เห็นว่าจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่าการออกสลากอาจมีปัญหา
และสุ่มเสี่ยงที่รัฐจะเสียหายในระบบการคลัง
จึงถือเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ดังนั้น จำเลยที่ 10, 31 และ 42 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ประกอบมาตรา 83 และ 86 และ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ส่วนจำเลยที่ 2-30 อนุมัติเห็นชอบโครงการในหลักการ
ไม่ใช่ผู้ใช้ให้จำเลยที่ 31 และ 42 ดำเนินการออกสลากและละเว้นไม่เสียภาษีอากร
รวมทั้งไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 10, 31 และ 42
ส่วนจำเลยที่ 32, 34, 36, 38, 39,
40 และ 43-47 ที่เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐเข้าไปเป็นกรรมการกองสลาก
ก็ไม่ได้เป็นบอร์ดกองสลากมาตั้งแต่ต้น
อาจเข้าใจว่าการอนุมัติออกสลากดังกล่าวน่าจะชอบด้วยกฎหมาย
เพราะผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และอนุมัติเงินรายได้ใช้จ่ายเพื่อเด็กยากจนตามวัตถุประสงค์ ไม่มีเจตนายักยอกเงิน
องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมาก ว่า จำเลยกลุ่มนี้ไม่มีความผิด
ประเด็นที่
3 จำเลยทั้งหมดต้องร่วมกันคืนหรือใช้ทรัพย์ที่ร่วมกันมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินซึ่งเป็นเงินรายได้จากการออกหวยบนดินรวมจำนวน 14,862,254,865.94
บาท หรือไม่
เห็นว่า
เมื่อจำเลยที่ 10
เสนอโครงการตามที่จำเลยที่ 31 และ 42 เสนอมา
ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการอนุมัตินำเงินไปใช้จ่ายโครงการต่างๆ
ทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา และด้านสังคมอื่นๆ
โดยไม่มีหลักฐานปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์แก่พวกพ้องแต่อย่างใด
จึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์หรือเบียดบังทรัพย์สินของทางราชการ
ดังนั้นจำเลยทั้งสามและจำเลยอื่นๆ ไม่ต้องร่วมกันคืนเงินตามคำร้องโจทก์
พิพากษาด้วยมติเอกฉันท์
ว่า จำเลยที่ 10
มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 83
ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท จำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก)
มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 2
ปี ปรับ 10,000 บาท
ส่วนจำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์)
กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ อันเป็นบทหนักสุดตาม
จำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน
ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไว้คนละ
2 ปี
สั่งจำหน่ายคดี "ทักษิณ"ออกจากสารบบชั่วคราว [3]
เมื่อวันที่ 25 ก.ค.
นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ
และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นัดสอบคำให้การจำเลย คดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน) แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 ไม่เดินทางมาสอบคำให้การว่า
ศาลฎีกาฯจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากสารบบไว้ชั่วคราวจนกว่าจะนำตัวมาดำเนินคดีได้
ส่วนจำเลยคนอื่นอีก 26 ราย
จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อตามปกติ
ส่วนถ้ามีการพิจาณาแล้วมีคำพิพากษาไปแล้วผลคำพิพากษาจะไม่มีผลเกี่ยวข้องกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ จนกว่าจะนำตัวกลับมาและดำเนินการพิจาณากับ พ.ต.ท.ทักษิณใหม่อีกครั้ง
“กรณีนี้ขั้นตอนก็เหมือนคดีก่อนหน้านั้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น คดีหวยบนดินที่ต้องพักการพิจารณาไว้จนกว่าจะได้ตัวกลับมา ซึ่งทางอัยการจะไม่ต้องยื่นฟ้องคดีใหม่แต่เข้าสู่กระบวนการพิจาณาของศาลได้เลย”นายวินัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากคดีดังกล่าวแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีคดีที่ค้างอยู่ในศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายคดี อาทิ คดีการแปลงสัญญาสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กิจการชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), คดีทุจริตการออกหวยบนดิน 2 ตัวและ 3 ตัว ซึ่งแม้ศาลฎีกาจะตัดสินไปแล้ว โดยยกฟ้องผู้เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากตอนพิจารณาคดีในชั้นศาลฎีกา พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาสู้คดี ศาลจึงงดการพิจารณาคดี ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณกลับไทย ก็ต้องกลับมาสู้คดีในศาลฎีกาคดีหวยบนดินอีกครั้งเพียงคนเดียว, คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือซุกหุ้น ซึ่งคดีนี้ทาง ป.ป.ช.ได้มายื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯเอาไว้หลังจากศาลฎีกาฯได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งในคำพิพากษาของศาลฎีกาฯระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณปกปิดหุ้นชินคอร์ปฯ ในขณะเป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 119 คือแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จขณะเป็นนายกรัฐมนตรี ทาง ป.ป.ช.ได้มายื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณเอาไว้แล้วที่ศาลฎีกาฯ แต่คดีค้างพิจารณาไว้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณหลบหนีคดีอยู่ต่างประเทศ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น