ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ 30 ส.ค.-5 ก.ย.2556
"เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตย
และประเทศร่วมกัน" เป็นหัวข้อที่ถูกตั้งขึ้นในการประชุมสภาปฏิรูปการเมืองนัดแรก
ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา
จากที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี และ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้รับมอบหมายให้เดินสายเทียบเชิญบุคคลต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น ไม่ต่ำกว่า 50 คน
แต่ไม่เกิน 100 คน
จึงปรากฏลิสต์รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ถูกกำหนดไว้ที่ 80
ชื่อ ซึ่งมีทั้งการร่อนการ์ดเชิญ และการเดินสายส่งเทียบเชิญด้วยตัวเองของทั้ง 2
เทพ
แต่ในท้ายที่สุด มีผู้ร่วมวงสนทนาร่วม 70 คน ซึ่งก็ไม่ถือว่าขี้เหร่นัก
เพราะจำนวนผู้เข้าประชุม
มีมากกว่าผู้ไม่มาร่วมประชุมอยู่มากโข
กลุ่มผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุม
ก็ไม่เกินความคาดหมาย เพราะประกาศที่จะไม่มาร่วมอย่างชัดเจน
ทั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา นายสมชาย แสวงการ
ส.ว.สรรหา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ
ส.ว.สรรหา
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กลุ่ม ส.ว.สรรหา นายประมนต์ สุธีวงศ์
ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท
เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นายสนธิ ลิ้มทองกุล
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ส่วนผู้เข้าร่วมประชุม
ประกอบด้วยกลุ่มการเมือง ได้แก่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา นายบรรหาร
ศิลปอาชา อดีตนายกฯ และแกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ
และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และแกนนำกลุ่มวาดะห์ นายพิชัย รัตตกุล
อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
และรองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
นายอุทัย พิมพ์ใจชน
อดีตประธานรัฐสภา นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายธีระ วงศ์สมุทร หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นพ.วรรณรัตน์
ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา นายอนุทิน
ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล พล.อ.สนธิ
บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(คมช.)
นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายสมศักดิ์
ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา นายพิมล ศรีวิกรม์ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ
ส.ว.อ่างทอง นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร
นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม
นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา
ภาควิชาการ และเอ็นจีโอ ประกอบด้วย
นายกระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายโคทม อารียา
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นายศุภชัย ยาวะประภาษ
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายวุฒิสาร ตันไชย
รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการสถาบันปรีดีพนมยงค์
นายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต นายสถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา นายธีรภัทร์
เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง นายเดโช สวนานนท์ รองประธาน สสร.2540 นายธงทอง
จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมตรี นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
นายคณิน บุญสุวรรณ
ภาคเอกชน ประกอบด้วย นายวีรพงษ์ รามางกูร
ประธานกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายอิสระ
ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายพยุงศักดิ์
ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายชาติศิริ โสภณพนิช
ประธานสมาคมธนาคารไทย นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์
ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นายมนัส โกศล
ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นายอุกฤษณ์ กาญจนเกตุ
รักษาการผู้อำนวยการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย นายประสิทธิ์ บุญเฉย
นายกสมาคมชาวนาไทย นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ นางสุพัฒนา อาทรไผท
ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ
ภาคประชาชน ประกอบด้วย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นางมุกดา อินต๊ะสาร นางธิดา
ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายชัยมงคล
ไชยรบ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย นายวิชัย บรรดาศักดิ์
นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายนพดล แก้วสุพัฒน์
นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย นายยงยศ แก้วเขียว
นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย นายสุพัฒน์ อาษาศรี
เลขาสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
ภาคสื่อมวลชน ไประกอบด้วย
นายสมชาย กรุสวนสมบัติ คอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นายฐากูร บุนปาน
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
และผู้แทนประกอบด้วย นายธวัชชัย
ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นายอาณัฐชัย รัตตกุล
ผอ.ศูนย์นโยบายสาธารณะเเละการจัดการ นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร
ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จากบุคลากรที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม จะขาดก็แต่คู่ขัดแย้งของรัฐบาล แต่หากนายกฯ
ยิ่งลักษณ์ จะให้สามารถดำเนินการให้สภาปฏิรูปเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
มุ่งเน้นที่จะเดินหน้าแก้ไขข้อขัดแย้งเพื่อให้เกิดความปรองดอง เมื่อนั้น
กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้ ก็จะกลายเป็นจระเข้ขวางคลอง
ที่ไม่ต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้าเข้าสู่การลดความขัดแย้งในสายตาของประชาชนหรือไม่
สังคมจะเป็นผู้ตัดสิน
แต่จะต้องไม่ให้การดำเนินการทั้งหมด
เป็นเพียงละครฉากใหญ่ แค่สร้างกระแสขึ้นมาเหมือนจุดพลุ
แล้วทุกอย่างก็เลือนหายไปในที่สุด
แต่ความขัดแย้งก็ยังคงอยู่ต่อไป
ในเมื่อนายกฯ เอง
ก็ต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุข อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า แม้เพียง 1%
ก็ต้องทำ
อย่างที่ นายพิชัย รัตตกุล เคยกล่าวไว้ว่า
"หากอะไรที่จะทำให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ ก็พร้อมที่จะทำทุกอย่าง
เพราะไม่รู้จะมีลมหายใจได้อีกกี่วัน"
หรืออย่างที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำ นปช. ระบุในบทความว่า
"ต้องเปิดใจให้กว้าง ละวางทิฐิและประโยชน์ทางการเมืองเสียก่อน
แสงสว่างของสังคมไทยอาจรออยู่ในเวทีปฏิรูปก็เป็นได้"
ดังนั้น
ประชาชนจึงกำลังรอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แม้มันจะริบหรี่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น