จาก มติชนออนไลน์
วันที่ 19-20 กันยายน สภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดพิจารณาร่าง
พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
พ.ศ. ... หรือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในวาระ 2
ร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งสิ้น 19 มาตรา มีสาระสำคัญคือ
ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อนำมาใช้ในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ได้สูงสุด 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2563
ทั้งนี้
การกู้เงินดังกล่าวเป็นการกู้เงินนอกงบประมาณ ไม่ต้องนำส่งคลัง
แต่หากเงินเหลือให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ไม่สามารถโยกวงเงินกู้ระหว่างยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน
แต่สามารถโยกเงินระหว่างแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน
หรือโยกเงินภายในแผนงานเดียวกันได้
โครงการที่จะดำเนินการและใช้เงินกู้
ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และผ่านการกลั่นกรองจาก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติโครงการ
รวมถึงกำหนดวงเงินกู้ วิธีการกู้ และการจัดสรรเงินกู้
ส่วนกระทรวงการคลังมีอำนาจในการกู้เงิน การบริหารเงินกู้ และการปรับโครงสร้างหนี้
และการกำหนดหลักเกณฑ์การติดตามและประเมินผลโครงการ
สำหรับยุทธศาสตร์ 3
ด้านที่แนบท้ายร่าง พ.ร.บ.
ประกอบด้วย
1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า
วงเงิน 354,560.73
ล้านบาท
2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
วงเงินดำเนินการ 1,042,376.74 ล้านบาท
และ
3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงินดำเนินการ
593,801.52 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์แต่ละด้านกำหนดให้ใช้จ่ายเงินกู้เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ
มีกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ.2563 หรืออีก 7
ปีข้างหน้า
ระบบคมนาคมที่อยู่ในแผนการสร้างมีทั้งถนนหลวงข้ามประเทศ
ปรับปรุงระบบรางรถไฟเป็นระบบรางคู่ สร้างรถไฟฟ้าไฮสปีด
ทำท่าเรือ
ปรับปรุงด่านศุลกากร
คาดหมายกันว่า
หากสามารถดำเนินการได้ตามแผน ประเทศไทยจะกลายเป็น ฮับ การท่องเที่ยว
สถานะของประเทศจะยกระดับขึ้นสูง จูงใจนักลงทุนต่างชาติ
และทำให้ชีวิตคนไทยสะดวกสบายขึ้น
โครงการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 7 ปีได้
จำเป็นต้องใช้เงินมหาศาล
นี่จึงเป็นที่มาของการเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2
ล้านล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของสภา
เป็นการนำเสนอภายใต้แรงต้านจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เห็นด้วยกับการกู้เงิน
2 ล้านล้านบาทมาลงทุน ด้วยเหตุผลหวาดผวาเกิดการ ทุจริตคอร์รัปชั่น
ขึ้น
ท่าทีที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยดังกล่าวยังเป็นเรื่องกังวล
เพราะพรรคเพื่อไทยเพิ่งผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งมีจำนวน 13 มาตรา
แค่ 13 มาตรา
ในสถานการณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย แทนที่จะใช้เวลาประชุมแค่ 2 วัน
กลับต้องใช้ถึง 13 วันในการพิจารณา จึงเกรงว่าร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ซึ่งมี 19 มาตรานี้ จะต้องใช้เวลายาวนานเท่าใด
อย่างไรก็ตาม
การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
มีข้อเปรียบเทียบ
ประการแรก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเป้าหมายที่การเมือง
ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้้น เกิดจากฝ่ายหนึ่งเห็นด้วยกับการ เลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา และฝ่ายที่เห็นว่าวุฒิสภาควรจะ คละ กัน
ไม่ปล่อยให้มีการเลือกตั้งทั้งหมด
ร่างกฎหมายฉบับนั้น
ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านมีความเห็นตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง
แต่ร่าง
พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีเป้าหมายที่เศรษฐกิจ
ข้อขัดแย้งอยู่ตรงที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการ กู้เงิน
จำนวนมากเพื่อเร่งรัดให้โครงการจบใน 7 ปี ส่วนฝ่ายค้าน ไม่ต้องการให้กู้เงิน
มากขนาดนั้น
แต่อยากให้เสนอโครงการเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติ
ส่วนการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมนั้น
พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วย
ดังนั้น หากฝ่ายค้านยึดวิธี ยื้อ
เหมือนดั่งที่ใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายค้านอาจถูกมองเป็น ตัวถ่วง
ดึงมิให้
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมเกิดขึ้น
ประการที่สอง
การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ที่ผ่านมา
รัฐสภาได้สร้างรอยแผลแก่ตัวเอง
มีการทำลายธรรมเนียมกรอบกติกา ผู้ทรงเกียรติ ด้วยการละเมิดข้อบังคับ
หรือยอมให้มีการละเมิดข้อบังคับ
มีการแสดงพฤติกรรมรุนแรง เช่น การโห่
การเสียดสี ใส่ร้ายเป็นต้น
ทั้งที่การพิจารณากฎหมายวาระ 2
เป็นการพิจารณาแก้ไขถ้อยคำในร่างกฎหมาย ที่ผ่านวาระ 1 คือ เห็นด้วย
กับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งแล้ว
แต่การประชุมรัฐสภาที่ผ่านมากลับไปอภิปรายในประเด็น
เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย
กับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาอีก
จนทำให้เกิดความวุ่นวาย
หากสภาผู้แทนราษฎรจะใช้วิธีนี้กับการพิจารณาร่าง
พ.ร.บ.
กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท คือ กลับไปอภิปราย เห็นด้วย หรือ
ไม่เห็นด้วย กับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทอีก
ก็เท่ากับซ้ำรอยการละเมิดกรอบการพิจารณาของสภาอีกครั้ง
หากเป็นเช่นนั้น
ความวุ่นวายเหมือนดั่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ย่อมเกิดขึ้นอีก
ขณะที่ทางวิปรัฐบาลขู่ว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ยังใช้เกมยื้อ
พรรคเพื่อไทยก็จะใช้วิธี โหวตปิดอภิปราย
เป็นรายมาตราสู้
และหากเป็นเช่นนั้นจริง ความวุ่นวายย่อมเกิดขึ้นอีก
ทำให้อุณหภูมิการพิจารณากฎหมายในสภาระอุซ้ำรอยเก่า
แต่หาก
ความวุ่นวายเกิดขึ้นจริง ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย
เพราะทุกครั้งที่เกิดความวุ่นวายขึ้น ประเด็นหลักที่น่าจะปรากฏข้อถกเถียง
มักถูกลืมเลือน
ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี่ก็เช่นกัน
ประเด็นในรายมาตราที่ควรแปรญัตติ คือจะทำอย่างไรให้มีการตรวจสอบการใช้เงินกู้ 2
ล้านล้านบาทอย่างรัดกุม
เพื่อมิให้เกิดช่องโหว่ที่นำไปสู่การโกงได้
ประเด็นในวาระ 2 เช่นนี้
หากทำได้ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ประชาชนผู้ฟัง
รวมไปถึงฝ่ายค้านย่อมได้รับประโยชน์
ประโยชน์ที่จะช่วยกันหากลยุทธ์กลวิธี
ป้องกันมิให้เงินกู้ที่ได้มารั่วไหลไปเข้าสู่กระเป๋าของใคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น