ข่าวสดออนไลน์
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ซึ่งผ่านการพิจารณาวาระ 2 อยู่ระหว่างรอรัฐสภาโหวตรับวาระ 3 จะสะดุดหรือเดินหน้าต่ออย่างไร ยังเป็นที่จับตา
พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ และจะขอให้ศาลสั่งชะลอการโหวตวาระ 3 ขณะที่พรรคเพื่อไทยประกาศเดินหน้าเต็มสูบ
ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง มีความเห็นจากนักวิชาการดังนี้
ยุทธพร อิสรชัย
คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.
เป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะโดย หลักการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั่วไปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าให้ศาลรัฐ ธรรมนูญสามารถควบคุมความชอบของกฎหมายได้ ไม่ให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร
หากศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาศาลฯ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
ประเมินว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยื่นประเด็นเดิมที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดต่อมาตรา 68 และมาตรา 291 การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราสามารถทำได้และไม่ล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปัตย์น่าจะร้องเรื่องอำนาจหน้าที่ของส.ว. มากกว่า เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยื่นร้องในประเด็นเดิมศาลรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถรับคำร้องได้ เพราะเคยรับและวินิจฉัยไปแล้ว
และหากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้ระงับการลงมติวาระ 3 แต่กระบวนทางสภายังจะเดินหน้าให้มีการลงมติต่อไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าถ้าฝ่ายนิติบัญญัติทำตามศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง ก็อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นอิสระของฝ่ายนิติ บัญญัติว่าถูกอำนาจตุลาการก้าวล่วง
ดังนั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะประชุมและลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องแยกจากฝ่ายตุลาการที่เป็นคนละส่วนกัน
ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติไม่กล้าก็จะถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสภาไทยอ่อนแอ ขณะที่ฝ่ายตุลาการต้องระวังคำวินิจฉัยด้วย เพราะการจะวินิจฉัยให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดจะต้องมีความผิดชัดเจน
ถ้าขั้นตอนตามกฎหมายถูกต้องทั้งหมด แล้วศาลรัฐ ธรรมนูญมาแทรกแซงการลงมติก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การที่ส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่งไม่สนับ สนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวจะไปเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง
ถ้ามองตามหลักการแล้วการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนส.ว.สรรหา ให้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
แม้จะเป็นสิทธิ์ของส.ส.และส.ว.ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่กรณีดังกล่าวเห็นว่าการไปยื่นเรื่องในลักษณะนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีการกระทำใดที่ส่อว่าจะไปขัดข้อกฎหมาย
อีกด้านหนึ่งจะเท่ากับว่า ส.ส.ฝ่ายค้านยอมรับและสนับสนุนให้ส.ว.มาจากการสรรหาเท่านั้น และพยายามสร้างวาทกรรมว่าหากได้ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งแล้วจะกลายเป็นสภาผัว สภาเมีย
แต่ในข้อเท็จจริงรัฐสภาสามารถออกแบบกลไกการป้องกัน ไม่ให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ระหว่าง ส.ส.และส.ว.ได้ ซึ่งยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมาย โดยไม่เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างไร
ส่วนกรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อกฎหมายที่ส่อจะขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่หากรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจาราณาก็อาจตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ เหมือนเช่นตอนที่รับเรื่องแก้ไขมาตรา 68 และ 237
มีการตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ดังกล่าวอยู่บนหลักการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ยังไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่ว่ารัฐธรรมนูญต้องการจะรับลูกจากฝ่ายค้านเพื่อมาโจมตีรัฐบาล
ต้องอย่าลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกก่อตั้งมาโดยอิสระ แต่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากยังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เหมือนเช่นก่อนหน้านี้ ที่มีข้อกล่าวหาว่าไปก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภา
ดังนั้น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจ แต่ขึ้นอยู่กับความมีเหตุมีผลในการพิจารณาคดีต่างๆ และใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม
ขณะนี้ยังเห็นว่า กระบวนการในรัฐสภาก็ยังคงสามารถเดิน หน้าได้อยู่ ไม่ได้หมดความเชื่อมั่นตามที่ถูกกล่าวหา เพราะถือว่ายังเป็นเวทีที่ทุกฝ่ายสามารถถกเถียงหาข้อสรุปกันได้ หากคุยกันด้วยเหตุผล
พนัส ทัศนียานนท์
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภาโดยตรง ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้
หากแต่การรับคำร้องเมื่อครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ไว้วินิจฉัย ตามมาตรา 68 เป็นการเล่นกลกับตัวหนังสือ ตีความขยายอำนาจของตนเองให้กว้างออกไป
ทั้งที่รัฐธรรมนูญระบุชัดว่า การร้องเรียนต่อศาลในมาตรา ดังกล่าวต้องผ่านอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินเท่านั้น แต่ก็ตีความให้สามารถร้องเรียนได้ทั้ง 2 ช่องทาง ผ่านทั้ง อสส. และศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
ศาลรัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานเอาไว้แบบนี้แล้ว จึงเชื่อว่าจะรับเรื่องร้องเรียนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่มา ส.ว.แน่ แต่จะตัดสินออกมาอย่างไรเท่านั้นเอง
การยื่นตีความเป็นเกมทางการเมืองอย่างหนึ่งของส.ส. ประชาธิปัตย์ และส.ว.สรรหา เผื่อไว้สำหรับเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หวังจะให้เหมือนอย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยยุบ 3 พรรค ชี้ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปทำอาหารออกทีวี ตอนนี้กลุ่มส.ว.สรรหา ดิ้นพล่าน เพราะร่างแก้ไข ดังกล่าวจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพทันทีเมื่อได้ ส.ว.ทั้งหมด 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง
การตัดสินใจที่จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 รัฐสภาต้องไม่กลัว ไม่หงอ พรรคเพื่อไทยต้องอย่ากลัวเกินไปที่จะเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาศาลก็เคยยกคำร้องในมาตรา 291 ไปแล้ว และไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะไม่มีผลผูกพัน
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือหากเดินหน้าต่อไปโดยที่ศาลมีคำวินิจฉัยให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นอีกครั้งได้ ในขั้นตอนก่อนประกาศบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้เช่นกัน
พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ และจะขอให้ศาลสั่งชะลอการโหวตวาระ 3 ขณะที่พรรคเพื่อไทยประกาศเดินหน้าเต็มสูบ
ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง มีความเห็นจากนักวิชาการดังนี้
ยุทธพร อิสรชัย
คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.
เป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะโดย หลักการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั่วไปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าให้ศาลรัฐ ธรรมนูญสามารถควบคุมความชอบของกฎหมายได้ ไม่ให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร
หากศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาศาลฯ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
ประเมินว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยื่นประเด็นเดิมที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดต่อมาตรา 68 และมาตรา 291 การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราสามารถทำได้และไม่ล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปัตย์น่าจะร้องเรื่องอำนาจหน้าที่ของส.ว. มากกว่า เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยื่นร้องในประเด็นเดิมศาลรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถรับคำร้องได้ เพราะเคยรับและวินิจฉัยไปแล้ว
และหากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้ระงับการลงมติวาระ 3 แต่กระบวนทางสภายังจะเดินหน้าให้มีการลงมติต่อไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าถ้าฝ่ายนิติบัญญัติทำตามศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง ก็อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นอิสระของฝ่ายนิติ บัญญัติว่าถูกอำนาจตุลาการก้าวล่วง
ดังนั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะประชุมและลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องแยกจากฝ่ายตุลาการที่เป็นคนละส่วนกัน
ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติไม่กล้าก็จะถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสภาไทยอ่อนแอ ขณะที่ฝ่ายตุลาการต้องระวังคำวินิจฉัยด้วย เพราะการจะวินิจฉัยให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดจะต้องมีความผิดชัดเจน
ถ้าขั้นตอนตามกฎหมายถูกต้องทั้งหมด แล้วศาลรัฐ ธรรมนูญมาแทรกแซงการลงมติก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การที่ส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่งไม่สนับ สนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวจะไปเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง
ถ้ามองตามหลักการแล้วการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนส.ว.สรรหา ให้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
แม้จะเป็นสิทธิ์ของส.ส.และส.ว.ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่กรณีดังกล่าวเห็นว่าการไปยื่นเรื่องในลักษณะนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีการกระทำใดที่ส่อว่าจะไปขัดข้อกฎหมาย
อีกด้านหนึ่งจะเท่ากับว่า ส.ส.ฝ่ายค้านยอมรับและสนับสนุนให้ส.ว.มาจากการสรรหาเท่านั้น และพยายามสร้างวาทกรรมว่าหากได้ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งแล้วจะกลายเป็นสภาผัว สภาเมีย
แต่ในข้อเท็จจริงรัฐสภาสามารถออกแบบกลไกการป้องกัน ไม่ให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ระหว่าง ส.ส.และส.ว.ได้ ซึ่งยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมาย โดยไม่เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างไร
ส่วนกรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อกฎหมายที่ส่อจะขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่หากรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจาราณาก็อาจตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ เหมือนเช่นตอนที่รับเรื่องแก้ไขมาตรา 68 และ 237
มีการตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ดังกล่าวอยู่บนหลักการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ยังไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่ว่ารัฐธรรมนูญต้องการจะรับลูกจากฝ่ายค้านเพื่อมาโจมตีรัฐบาล
ต้องอย่าลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกก่อตั้งมาโดยอิสระ แต่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากยังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เหมือนเช่นก่อนหน้านี้ ที่มีข้อกล่าวหาว่าไปก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภา
ดังนั้น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจ แต่ขึ้นอยู่กับความมีเหตุมีผลในการพิจารณาคดีต่างๆ และใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม
ขณะนี้ยังเห็นว่า กระบวนการในรัฐสภาก็ยังคงสามารถเดิน หน้าได้อยู่ ไม่ได้หมดความเชื่อมั่นตามที่ถูกกล่าวหา เพราะถือว่ายังเป็นเวทีที่ทุกฝ่ายสามารถถกเถียงหาข้อสรุปกันได้ หากคุยกันด้วยเหตุผล
พนัส ทัศนียานนท์
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภาโดยตรง ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้
หากแต่การรับคำร้องเมื่อครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ไว้วินิจฉัย ตามมาตรา 68 เป็นการเล่นกลกับตัวหนังสือ ตีความขยายอำนาจของตนเองให้กว้างออกไป
ทั้งที่รัฐธรรมนูญระบุชัดว่า การร้องเรียนต่อศาลในมาตรา ดังกล่าวต้องผ่านอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินเท่านั้น แต่ก็ตีความให้สามารถร้องเรียนได้ทั้ง 2 ช่องทาง ผ่านทั้ง อสส. และศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
ศาลรัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานเอาไว้แบบนี้แล้ว จึงเชื่อว่าจะรับเรื่องร้องเรียนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่มา ส.ว.แน่ แต่จะตัดสินออกมาอย่างไรเท่านั้นเอง
การยื่นตีความเป็นเกมทางการเมืองอย่างหนึ่งของส.ส. ประชาธิปัตย์ และส.ว.สรรหา เผื่อไว้สำหรับเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หวังจะให้เหมือนอย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยยุบ 3 พรรค ชี้ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปทำอาหารออกทีวี ตอนนี้กลุ่มส.ว.สรรหา ดิ้นพล่าน เพราะร่างแก้ไข ดังกล่าวจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพทันทีเมื่อได้ ส.ว.ทั้งหมด 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง
การตัดสินใจที่จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 รัฐสภาต้องไม่กลัว ไม่หงอ พรรคเพื่อไทยต้องอย่ากลัวเกินไปที่จะเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาศาลก็เคยยกคำร้องในมาตรา 291 ไปแล้ว และไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะไม่มีผลผูกพัน
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือหากเดินหน้าต่อไปโดยที่ศาลมีคำวินิจฉัยให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นอีกครั้งได้ ในขั้นตอนก่อนประกาศบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น