ที่มา:มติชนรายวัน 27 กันยายน 2556
ดูท่าจะไม่ง่ายตามที่ฝ่ายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลวางปฏิทินการเดินหน้างานด้านนิติบัญญัติ
โดยเฉพาะ ประเด็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของ
ส.ว.ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 ไปเรียบร้อยแล้ว และรอให้ผ่านพ้น
15 วัน ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ก็จะต้องดำเนินการลงมติในวาระ 3
ต้องยอมรับว่ากระบวนการเดินหน้าแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของ
ส.ว.นั้น ถูกฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.สายสรรหา
งัดสารพัดช่องทางเพื่อสกัดกั้นไม่ให้การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเดินหน้าได้อย่างง่ายดาย
ตามที่คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยและแกนนำรัฐบาลได้วางปฏิทินเอาไว้
ยิ่งล่าสุดฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์งัดคลิปเด็ด อย่าง
?การกดบัตรแทนกัน? โดยมีการอ้างว่าเป็นกลุ่ม ส.ส.ของฝั่งรัฐบาล ในช่วงที่มีการลงมติ
ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว. ในวาระ 2 จึงเข้าทางของฝ่ายค้าน
นำไปยื่นหลักฐานเพิ่มน้ำหนักการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่ทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์
ได้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ว่าสมาชิกรัฐสภาทั้ง 310 คน
กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่
ไปก่อนหน้านั้นแล้ว
สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
คลิปกดบัตรแทนกัน
น่าจะไปช่วยเพิ่มน้ำหนักให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้ายากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น
อีกทั้งมีการดักคอด้วยว่าหากรัฐบาลยังดึงดัน เดินหน้าลงมติในวาระ 3
ของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่่มาของ ส.ว.
อาจจะเสี่ยงเป็นผู้กระทำความผิดและถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งด้วย
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลและทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยยังประเมินตรงกันและพร้อมเดินหน้า
ลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่่มาของ ส.ว. ในวาระ 3
ตามกำหนดการเดิมในวันที่ 28 กันยายน
โดยยืนยันว่าเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาในฐานะที่มีหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยโดยระบบรัฐสภา
จะทำให้รัฐสภาเกิดความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ที่สามารถดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ซึ่งตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 90 ระบุว่า
ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และร่าง
พ.ร.บ.จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป
หากยึดตามกรอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อสภาได้ให้ความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว
จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้รับความยินยอมขึ้นทูลเกล้าฯ
เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ฝ่ายต่อต้านจึงมีการประเมินกันว่า
หากรัฐสภายังยืนยันที่จะลงมติในวาระ 3 อย่างที่ตั้งใจไว้ กระบวนการต่อไปคือ
ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150
แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ
ส.ว.เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ก็ตาม
แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการให้นายกฯระงับกระบวนการการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ไปก่อนในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
กระบวนการนับจากนี้หลังจากลงมติในวาระ 3
จึงเปรียบเสมือนเผือกร้อนที่จะกลับไปอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี
ที่จะต้องเป็นผู้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
แม้รัฐธรรมนูญมาตรา 150 จะให้อำนาจนายกฯในการดำเนินการ
แต่ฝ่ายคัดค้านก็ยังคงออกมาดักคอด้วยว่า
หากยังดึงดันนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีปัญหาตามมาหรือไม่
คงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้ดุลพินิจของตัวเอง
กระบวนการเดินหน้าร่างแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว.นับจากนี้
จึงน่าจับตายิ่งในการช่วงชิงจังหวะรุก-ถอย ทางการเมืองของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้่ขาด
ผมว่าคนเสื้อแดงบางคน (เช่นคุณ "เต้" คุณ "ลุงยิ้ม") ที่ออกมาด่าและโต้คนต้านเขื่อน โต้ผิดประเด็น หรืออย่างน้อยก็โต้ในลักษณะที่น ้ำหนักไม่พอนะ
คือ ที่โต้เรื่อง ไฟฟ้าต้อวใช้ หรือเรื่องน้ำท่วม น่ะ ("พวกมรึงหยุดใช้เน็ตสิ" "ห้างที่พวกมรึงชอบเข้า ใช้ไฟ" หรือ
"ลองไปอยู่ที่น้ำท่วมบ้างสิ")
ผมเข้าใจว่า ประเด็นใหญ่ของการต้านเขื่อนแม่ วงก์ (ซึ่งเท่าที่อ่านๆข้อมูล ผมเห็นด้วย) มันอยู่ที่ว่า เขื่อนนี้ ไม่ได้ช่วยเรื่องน้ำท่วมได้จริงๆ (เรื่องไฟ ยิ่งไม่เกี่ยวเท่าไร)
และในเมื่อ "ราคาที่ต้องจ่าย" (ความสูญเสียเรื่องป่า เรื่องสัตว์ที่เอาคืนไม่ได้) มันไม่ "คุ้ม" กับการที่สร้างอะไรมา โดยที่ไม่ได้มีผลตามที่อ้าง (กันน้ำท่วม) ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็หาทางอื่นดีกว่า
พวกเคลื่อนไหวครั้งนี้ จะดราม่า ดัดจริตเว่อร์ๆยังไง (ซึ่งผมรำคาญเหมือนกัน) แต่ผมว่า bottom line มันอยู่ตรงนี้นะ คือ มันไม่ "คุ้ม" ไม่จำเป็น กับ สิ่งที่จะต้องจ่าย
........
ที่น่าคิดคือ เขื่อนนี้ เป็น 10 ปี ไม่เคยผ่านความเห็นชอบของคณะกรร มการศึกษาเลย แต่มาปีที่แล้ว (2555) ครม มาอนุมัติให้เดินหน้า ... คือหลังจากมีพระราชดำรัสสนับสนุ นในปีก่อนหน้านั้น (2554) -- ทำไม? และเกี่ยวข้องหรือไม่? ผมก็อยากรู้เหมือนกัน น่าเสียดาย ฝ่ายต้านเขื่อนเองก็ไม่ยอมพยายา มหาคำอธิบายเรื่องนี้
ผมซีเรียสนะ ที่หวังว่ารัฐบาลจะ "ถอย" เรื่องนี้ ... ที่กำลังห่วงคือ รัฐบาลมีทิศทาง "เดินหน้า" ในเรื่องอื่นๆที่คล้ายกัน (รถไฟ ข้าว) โดยที่ฝ่ายต้านส่วนใหญ่ เป็นพวกไม่ชอบรัฐบาลขาประจำอยู่ (รวมทั้งกรณีนี้) แต่เฉพาะเรื่องนี้ ผมเห็นว่ารัฐบาลควรฟังและ "ถอย" นะ ขนาดคนเลือกรัฐบาลมาเองหลายคนก็ เห็นว่าควรถอย (คุณปลอดประสพ ที่ดูแลเรื่องนี้ ไม่ใช่คนที่เหมาะสมในแง่การฟังค วามเห็นต่าง)
คือ ที่โต้เรื่อง ไฟฟ้าต้อวใช้ หรือเรื่องน้ำท่วม น่ะ ("พวกมรึงหยุดใช้เน็ตสิ" "ห้างที่พวกมรึงชอบเข้า ใช้ไฟ" หรือ
"ลองไปอยู่ที่น้ำท่วมบ้างสิ")
ผมเข้าใจว่า ประเด็นใหญ่ของการต้านเขื่อนแม่
และในเมื่อ "ราคาที่ต้องจ่าย" (ความสูญเสียเรื่องป่า เรื่องสัตว์ที่เอาคืนไม่ได้) มันไม่ "คุ้ม" กับการที่สร้างอะไรมา โดยที่ไม่ได้มีผลตามที่อ้าง (กันน้ำท่วม) ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็หาทางอื่นดีกว่า
พวกเคลื่อนไหวครั้งนี้ จะดราม่า ดัดจริตเว่อร์ๆยังไง (ซึ่งผมรำคาญเหมือนกัน) แต่ผมว่า bottom line มันอยู่ตรงนี้นะ คือ มันไม่ "คุ้ม" ไม่จำเป็น กับ สิ่งที่จะต้องจ่าย
........
ที่น่าคิดคือ เขื่อนนี้ เป็น 10 ปี ไม่เคยผ่านความเห็นชอบของคณะกรร
ผมซีเรียสนะ ที่หวังว่ารัฐบาลจะ "ถอย" เรื่องนี้ ... ที่กำลังห่วงคือ รัฐบาลมีทิศทาง "เดินหน้า" ในเรื่องอื่นๆที่คล้ายกัน (รถไฟ ข้าว) โดยที่ฝ่ายต้านส่วนใหญ่ เป็นพวกไม่ชอบรัฐบาลขาประจำอยู่