โดยทีมข่าว Sunai Fan Club
คนไทยน้อยคนนักที่จะมีโอกาสไปเยือนประเทศคาซัคสถานและเกือบจะเป็นศูนย์ที่จะเคยไปเที่ยวเมือง
คูชาท๊อฟ (Kurchatov) ดินแดนทุ่งระเบิดนิวเคลียร์ หลังจากยุติสงครามเย็นเมืองนี้แทบจะเป็นเมืองร้าง
เพราะโครงการทดลองระเบิดนิวเคลียร์อาวุธมหาประลัยของรัสเซียได้ยุติลง
คงเหลือไว้แต่ความหลัง ความเจ็บป่วย
และอันตรายของกัมมันตภาพรังสีอันเป็นผลจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในพื้นที่ของเมืองนี้
แม้จะอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองแต่ไม่มีใครอยากเสี่ยงไป
คาซัคสถานใช้วิกฤตินิวเคลียร์เป็นโอกาส
หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี คศ.1989
รัฐต่างๆที่เคยอยู่ในจักรวรรดิของรัสเซียก็สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเอกราช คาซัคสถานเป็นหนึ่งใน
15
รัฐที่แตกตัวออกมาโลกจึงได้รู้ความจริงว่ารัฐคาซัคสถานคือพื้นที่ที่ถูกใช้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์
โดยเริ่มก่อตั้งศูนย์วิจัยตั้งแต่ปี คศ.1949 โดย คูชาทอฟ อิกอร์ วาซิลิวิช (Kurchatov Iqor
Vasilicevich) เป็นผู้อำนวยการศูนย์คนแรกซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียและเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
วิศวกรมือเอกในฐานะผู้นำกรรมกรได้ทำการก่อสร้างศูนย์วิจัยนี้ขึ้น ท่านผู้อ่านก็คงจะถึงบางอ้อว่าชื่อ คูชาท๊อฟ
ที่เป็นศูนย์วิจัยทดลองอาวุธนิวเคลียร์ก็มาจากชื่อของนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้
โดยนำชื่อสกุลของท่านมาเป็นชื่อเมืองและชื่อศูนย์วิจัย
รูปปั้นของท่านผู้ก่อตั้ง
คูชาท๊อฟ อิกอร์ วาซิลิวิช (Kurchatov Iqor Vasilicevich)
ที่ตั้งอยู่ที่หน้าศูนย์วิจัยนิวเคลียร์
|
จากปี คศ.1949 ประมาณ 40
ปีหลังจากนั้นได้มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์รวมกันแล้วประมาณเกือบ 500 ครั้ง
ในช่วงสงครามเย็น คือนับแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี คศ.1945
และจากข้อมูลที่ถูกเปิดเผยหลังจากอำนาจเผด็จการของระบอบโซเวียตที่เผชิญกับสหรัฐอเมริกามายาวนานถึง
50 ปี ในวันนี้ได้ล่มสลาย
ความลับทั้งหลายก็ถูกเปิดเผยขึ้นว่าผลจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตในครั้งแรกๆเป็นการทดลองแบบดิบๆ
คือทดลองบนผืนดินในรัฐแห่งนี้ที่มีประชากรอยู่อาศัยเบาบางเมื่อ 60
ปีก่อนก็ลองคิดดูเถอะครับว่าก็ขนาดญี่ปุ่นเจอไป 2 ลูกก่อนจะยอมแพ้และเป็นอันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่
2 กัมมันตภาพรังสีปรมาณูได้ส่งผลให้เกิดคนเจ็บคนป่วยยาวนานมาจนถึงวันนี้
แล้วชาวคาซัคสถานโดยเฉพาะในพื้นที่ของเมืองคูชาท๊อฟและพื้นที่ใกล้เคียงจะเจอเข้าไปขนาดไหน
หลักฐานทางทะเบียนคนเสียชีวิตที่ถูกเปิดเผยหลังจากที่ปิดลับมาเป็นเวลายาวนานจึงมีนับแสนคนและที่บาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้างรวมแล้วมีเป็นล้านคน
ในการเดินทางของ ส.ส.สุนัย ตามคำเชิญรัฐสภาคาซัคสถานครั้งนี้ได้นำคณะไปเยี่ยมโรงพยาบาลในเมืองเซเม่
(Semey) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่คลุมพื้นที่ของเมืองคูชาท๊อฟ
เจ้าหน้าที่ก็ได้นำสมุดบุญชีคนป่วยมาให้ชมซึ่งในอดีตแม้แต่ทะเบียนผู้ป่วยก็เป็นความลับ
ท่านผู้อ่านฟังถึงตรงนี้แล้วคงย้อนนึกถึงเมืองไทยเราวันนี้นะครับว่าเราก็อยู่ในยุคเผด็จการเหมือนกันแต่ไม่รู้สึกตัวเพราะอะไรๆก็เป็นความลับแม้แต่คนถูกฆ่าตายกลางราชประสงค์ยังพูดความจริงไม่ได้ว่าใครสั่งฆ่าดูๆไปก็คล้ายกับคนในเมืองเซเม่และคูชาท๊อฟ
ประเทศรัสเซียในเวลานั้นที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีอยู่กับความตายทุกลมหายใจเข้าออก
ดังนั้นท่านประธานาธิบดี นาซาบาเยฟ (Nazabayev)
ซึ่งเป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศขึ้นใหม่เมื่อ
16 ธันวาคม คศ.1991
จึงใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสโดยเสนอนโยบายที่ชาวโลกเรียกร้องต้องการมาเป็นเวลานานแล้วคือ
เป็นผู้นำเรียกร้องให้ยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อให้โลกปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์โดยมีชื่อโครงการระดับโลกนี้ว่า
“จากการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ไปสู่โลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์” (From the Nuclear Test Ban to a Nuclear Weapons-Free World )
โดยจัดประชุมประจานความโหดร้ายของยุคสงครามเย็นโดยเชิญตัวแทนจากประเทศต่างๆเข้าร่วมการประชุมรณรงค์มายาวนาน
นับแต่ก่อตั้งประเทศโดยใช้ข้อมูลพื้นที่จริงที่เป็นศูนย์วิจัยและทดลองอาวุธนิวเคลียร์ที่เมือง
คูชาท๊อฟ และ เซเม่ จัดแสดงนิทรรศการและรณรงค์
การเดินทางไปเมืองคูชาทอฟและเซเม่ของ
ส.ส.สุนัย ระหว่างวันที่ 26-31 สิงหาคม
2555 ก็เป็นไปตามคำเชิญของรัฐสภาคาซัคสถานเพื่อเข้าร่วมรณรงค์ยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นปีที่
21 ก็จากแปรวิกฤติเป็นโอกาสฯพณฯ นาซาบาเยฟ
จึงเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ครองใจประชาชนคาซัคสถานมาติดต่อกันตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาจนถึงวันนี้
โดยไม่มีการกล่าวหาใส่ร้ายว่าผูกขาดอำนาจหรือเผด็จการรัฐสภาเหมือนอย่างบ้านเรา
สุนัยแฟนคลับขอนำเพื่อนๆชมภาพการเดินทางสู่ทุ่งนิวเคลียร์คูชาท๊อฟเสมือนหนึ่งเดินทางไปเอง
เนื่องจากเมืองคูชาท๊อฟอยู่การทุ่งทะเลทรายไม่สะดวกกับการเดินด้วยทางรถยนต์จึงต้องเครื่องบินจากเมืองหลวง
Astana
ไปลงที่สนามบิน Semey ก่อนแล้วจึงนั่ง ฮ.
ไปอีกประมาณ 50 นาที ซึ่งเป็น ฮ. เก่าของรัสเซีย ทำให้หลายคนปฏิเสธที่จะไม่ร่วมเดินทางไปด้วย
การต้อนรับที่สนามบิน คูชาท๊อฟ สาวๆคาซัค แต่ชุดประจำชาติมาต้อนรับด้วยหน้าตายิ้มแย้ม หลายคนมีกำลังใจขึ้น ฮ. แบบตายเป็นตาย |
สภาพ
ฮ.ที่จะนำคณะผู้มาเยือนไปคูชาท๊อฟ
|
พร้อมเดินทาง แม้
ฮ.เก่า แต่นักบินมือใหม่ ได้ยินแล้วมีกำลังใจเป็นหนุ่มขึ้นเยอะ
|
ตลอดทางก่อนถึงเมืองคูชาท๊อฟเป็นทุ่งโล่งไม่มีผู้คนอาศัย
|
เริ่มเข้าสู่เมืองคูชาท๊อฟบ้านเมืองที่เห็นไม่มีผู้อยู่อาศัยคล้ายเมืองร้างหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็นและยุติการสร้างระเบิดนิวเคลียร์
|
ฮ. ลงที่เมืองคูชาท๊อฟ ณ. ศูนย์วิจัย |
คณะสาวสวยคาซักในชุดพื้นเมือง
(สีแดงซะด้วย) ตั้งแถวคอยต้อนรับคณะผู้มาเยือน
|
นี่คือตัวอาคารสำนักงาน
(ป้ายบอกชื่อสำนักงานแต่อ่านไม่ออกเพราะเป็นภาษารัสเซีย)
|
ภาพแสดงนิทัศการณ์ให้รายระเอียดเกี่ยวกับการทดลองนิวเคลียร์ในอดีตและภาพประชาชนที่ได้รับความเจ็บป่วยจากการแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสี |
ในห้องปฏิบัติการต้องใส่ชุดเสื้อคลุม
|
คาซักสถานแปรศูนย์วิจัยนี้เป็นศุนย์วิจัยเพื่อเยียวยาและขจัดรังสีรวมทั้งนำนิวเคลียร์มาสู่การพัฒนาที่สร้างสรรค์
|
ออกจากเมืองคูชาท๊อฟสู่ทุ่งนิวเคลียร์ของจริง ส.ส.สุนัย กล่าวแถลงการณ์ ณ ทุ่งนิวเคลียร์ คูชาท๊อฟ งานเลี้ยงขอบคุณ ณ กระโจมกลางทุ่งนิวเคลียร์ |
งานเฉลิมฉลองแห่งสันติภาพที่ประชาชนชาวคาซักสถานภาคภูมิใจ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น