Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

วันของแม่ผู้สูญเสีย พะเยาว์ อัคฮาด


จาก กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ RED Power ฉบับที่ 28 เดือน สิงหาคม 2555

 
ผู้หญิง กับ คำว่า “แม่” แยกจากกันไม่ได้ เพราะเป็นเพศของผู้ที่ให้กำเนิดลูก ต้องอดทนทั้งความเจ็บปวดทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรักที่มีต่อ “ลูก” เป็นความรักที่ลึกซึ้ง เสียสละและทุ่มเท เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของการปกป้องคุ้มภัยให้ลูก  อันเป็นสัญชาติญาณของผู้หญิงที่เป็นเพศแม่ ซึ่งจะหาสิ่งใดมาเทียบเทียมไม่ได้ การแสดงบทบาทของแม่  จึงมีภาพสะท้อนจากชีวิตจริงไปสู่นวนิยาย วรรณกรรมและวันสำคัญของชาติแต่ใครเล่าจะเล่าขานความเจ็บปวดของแม่ที่สูญเสียลูกด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรมเฉกเช่น นางพเยาว์ อัคฮาด แม่ของน้องเกด หรือนางสาวกมลเกด หรือนางสาวกมลเกด อัคฮาร์ด พยาบาลอาสาผู้เสียชีวิตในวัดปทุมด้วยคมกระสุนของทหารที่ซื้ดด้วยเงินภาษีประชาชน และถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากราชการมานานกว่า 2 ปี ในโอกาสวันแม่ในเดือนสิงหาคมนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่คนได้จะได้รับรู้ร่วมกันในทุกด้านมุมมองของคำว่า “แม่”
 
แม่ผู้มีอุดมการณ์จากวรรณกรรม
บทบาทแม่จากโลกวรรณกรรมมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับแม่เข้ามาเกี่ยวข้องบ่อยครั้ง บางเรื่องสร้างความสะเทือนใจได้อย่างมาก  วรรณกรรมต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ “แม่” ของแมกซิม กอร์กี้ ซึ่งเก็บประวัติวิถีชีวิตของยอร์ด ซาโลมอฟ  รัสเซียในระบอบศักดินากรรมกรผู้ต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์ระบอบสังคมที่เป็นธรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดของแม่ผู้ถูกกดขี่ทางวัฒนธรรมกลายเป็นแม่ที่เป็นนักปฏิวัติ โดยแม็กซิม กอร์กี้ นักเขียนนามอุโฆษแห่งรัสเซียยุคปฏิวัติได้ นักเรื่องราวมารจนาเป็นวรรณกรรมแห่งโลกมีชีวิต “แม่” โดยผ่านตัวละครเอกชื่อปาเวล วลาสซอฟ และแม่  ซึ่งฉายให้เห็นภาพความรักของแม่ที่มีต่อลูก ความรักของแม่ผู้มีอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม   เป็นการต่อสู้ของแม่ในฐานะตัวแทนของผู้ใช้แรงงานที่ตรากตรำทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และถูกกดขี่ทางเพศ จากสามี และยอมจำนนต่อวัฒนธรรมศักดินาที่กดขี่ความคิด แต่ได้มีโอกาสเข้าร่วมจึงกลายเป็นนักปฏิวัติในเวลาต่อมาต้องต่อสู้ทางการเมืองร่วมกับลูกชาย  “แม่” ของปาเวล จึงกลายเป็นนักปฏิวัติและเป็นผลให้วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับความนิยมและครองใจนักอ่านจากทั่วโลก  ซึ่งไม่ต่างอะไรจากชีวิตของแม่อย่างนางพเยาว์ อัคฮาด และแม่อีกหลายคนที่สูญเสียลูกในเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชนที่ผ่านฟ้า และราชประสงค์ได้กลายเป็นวิกฤติของประเทศไทยที่ยากแก่การมอดดับด้วยกระแสลมแห่งความไม่เป็นธรรมของระบอบเผด็จการไทยที่กำลังพัดกระหน่ำอยู่ในขณะนี้
 
 
แม่ทางการเมืองผู้ครองรางวัลโนเบล สันติภาพร่วมกัน

(ซ้าย-ขวา) ตอวักกุล การ์มาน (Tawakkul Karman) นักเคลื่อนไหวชาวเยมน, เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ (Ellen Johnson Sirleaf) ประธานาธิบดีหญิงชาวไลบีเรีย และเลย์มาห์ จีโบวี (Leymah Gbowee) นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพชาวไลบีเรีย คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2011 ร่วมกัน

เมื่อปีที่แล้ว 2011 ข่าวต่างประเทศดังกระหึ่มทั่วโลก  เป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงสามคนจาก  2 ประเทศที่ยากจน ได้รับรางวัลโนเบิล พร้อมในปีเดียวกัน 3 หญิงแกร่งที่เป็นทั้งแม่และผู้นำของประเทศ  ที่ผู้เขียนกล่าวถึงมาจากประเทศ ไลบีเรีย และเยเมน คือ นางเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ประธานาธิบดีหญิงแห่งไลบีเรีย, นางเลย์มาห์ จีโบวีสตรีนักต่อสู้เพื่อสันติภาพชาวไลบีเรีย และ นางตอวักกุล การ์มาน สตรีนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยชาวเยเมน

นายธอร์บยอร์น  แจ็คแลนด์ ประธานคณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศให้เธอทั้งสามได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2011 ร่วมกัน  ณ กรุงออสโล  มันต้องไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่นอนที่จะมอบรางวัลอันทรงเกียรติแก่ผู้หญิงทั้งสามคน  และเป็นแม่ที่ต่อสู้เพื่อคนส่วนใหญ่ของทั้งประเทศ  ผลงานของเธอทั้งสามที่เข้าตากรรมการรางวัลโนเบล เนื่องจาก การต่อสู้ด้วยสันติวิธี เพื่อความปลอดภัยของผู้หญิง เพื่อสิทธิของผู้หญิง จากการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพ และที่สำคัญที่สุดเธอทั้งสามจะใช้สรรพนามแทนตัวเธอว่า “แม่” เสมอ
              

วันแม่ น้ำตาแม่ วันแห่งความสูญเสียของนางพเยาว์ อัคฮาดและผู้ร่วมทุกข์

            ความหมายของ “แม่” นั้นลึกซึ้งงดงาม มนุษย์ทุกคนหนึ่ง ที่จะออกมาลืมตาดูโลกได้นั้นเกิดจากความทรมานที่มีความสุขของผู้หญิงหนึ่งคน จึงเป็นสาเหตุให้คำว่า “แม่” ยิ่งใหญ่เสมอ  ความจริงแล้วการก่อเกิดของ “วันแม่” นั้นเกิดขึ้นจากหญิงชาวอเมริกันชื่อ แอนนา เอ็ม จาร์วิส มีอาชีพครูในรัฐฟิลาเดเฟีย  ซึ่งเธอใช้เวลาเรียกร้องประมาณ 2 ปี เพื่อเรียกร้องให้มีการกำหนดวันแม่  จนกระทั่งมีการบรรจุวันแม่ไว้ในปฎิทินของประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ตรงกับสมัยของประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน โดยมีคำสั่งให้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ ดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น  ถ้าวันแม่มาถึงเมื่อไหร่บ้านหลังไหนที่แม่ยังมีชีวิตอยู่จะถูกประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูบ้านด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู ถ้าบ้านไหนประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาวแสดงว่าบ้านนั้น “แม่” ได้เสียชีวิตไปแล้ว จากวันแม่ของชาวอเมริกันจึงกลายเป็นวันแม่ในหลายประเทศ  แม้กระทั่งประเทศไทยจะแตกต่างกัน เพียงแค่วันและวันที่ต่างกันเท่านั้น

          สำหรับ “วันแม่” ของไทยใช้สัญลักษณ์ดอกมะลิแทนใจลูกเพื่อกราบเท้าแม่  แต่ “แม่” ที่สูญเสียลูกเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 แม่ “พะเยา อัคฮาด” ควรจะได้รับการกราบเท้าจากลูกสาว

“น้องเกด หรือ กมลเกตุ อัคฮาด” อันเป็นที่รักด้วยดอกมะลิเฉกเช่นแม่ชาวไทยทั่วไป  แต่แม่พเยาว

กลับมีเพียงรอยน้ำตาและรูปถ่ายของลูกไว้ข้างกายเท่านั้น  เหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้วกระสุนปืนที่วิ่งฝ่าความอลหม่านของประชาชนที่พยายามหนีตายเพื่อเอาชีวิตรอดไปอาศัยภายในวัดปทุมที่ได้ชื่อว่า “เขตอภัยทาน”  กระสุนหลายนัดที่ฝ่าความสลัวของเวลาใกล้ค่ำหลายนัดได้พรากลูกของแม่  “น้องเกด” สาวน้อยผู้มีใจอารีก้าวเข้ามาสู่ม็อบ”เสื้อแดง” เพียงแค่เป็นอาสาสมัครพยาบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เป็นเด็กและคนแก่

            นางพเยาว์ อัคฮาด ก่อนเกิดเหตุการณ์ 19 พค. 53 เธอเป็นแม่ค้าขายพวงมาลัยอยู่ตลาดสดหน้าหมู่บ้านที่อาศัยของครอบครัว “อัคฮาด” 5 ชีวิต เธอเป็นแม่ที่เลี้ยงดูลูกทั้ง 3 คนด้วยความรัก ความเข้าใจ และอิสรภาพกับลูก เธอไม่เคยสนใจการเมือง ไม่ชอบการเมือง ไม่แม้กระทั่งไปเลือกตั้งเธอไม่สนใจสีเสื้อใด ๆ ทั้งสิ้น แต่หลังจากที่การประกาศยุติการชุมนุมของ นปช. หรือ เสื้อแดงผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง เธอรู้สึกกระวนกระวายใจเป็นห่วงลูกสาวคนเดียวของครอบครัวที่ไปเป็นอาสาพยาบาลให้กับคนในที่ชุมนุมของ “เสื้อแดง” จะกลับบ้านไม่ได้ เวลาใกล้ค่ำประมาณหกโมงเย็นเวลาเคอร์ฟิว “แม่” ก็โทรศัพท์หาลูกสาว แต่สิ่งที่ได้ยินเป็นเสียงความวุ่นวาย เสียงปืนที่ดังผ่านการพูดคุยของเธอกับลูกสาวทางโทรศัพท์ทำให้เธอตกใจมากยิ่งขึ้น เธอย้อนหลังเรื่องราวในวันนั้นกับหนังสือ RedPower ด้วยเสียงที่ชัดเจนราวกับว่าเกิดขึ้นมาเมื่อวานนี้

          “เป็นห่วงลูกกลัวลูกจะกลับบ้านไม่ทัน พยายามโทรไปหาเขาเราได้ยินเสียงปืนเราก็ตกใจ ถามไปว่าทำไมมีเสียงปืนแกนนำมอบตัวตั้งแต่บ่ายแล้วไม่ใช่เหรอ เขาก็บอกว่าหนูก็ไม่รู้เหมือนกัน เสร็จแล้วเราก็ถามว่าหนูอยู่ไหนนี่ เขาก็บอกว่าหนูอยู่หน้าวัด เราก็คิดว่าเต็นท์อยู่ริมถนนเพราะเราเคยเห็น แต่ไม่คิดว่ารถของลูกเราอยู่ในวัด ก็บอกให้เขาไปอยู่ในวัด พรุ่งนี้ค่อยกลับนะเดี๋ยวไม่มีรถ แล้วเขาก็บอกว่าแค่นี้ก่อนนะ” แหละนี่คือเสียงสุดท้ายที่สองแม่ลูกจะได้ยินจากกันและกัน

คำกล่าวกันว่า ความรักและความเป็นห่วงของพ่อแม่ที่มีต่อลูกจะยังคงเป็นเช่นนั้นตลอด

จนกว่าลูกจะกลับมาอยู่ในสายตาของคนในครอบครัว คำพูดเหล่านี้เป็นจริง เพราะ “แม่พเยา” ยัง

เป็นห่วงและความเป็นห่วงยังไม่ทันจางหายไปจากความรู้สึก  เวลาประมาณสองทุ่มของคืนนั้น คืนที่สร้างความเจ็บปวดที่สุดในชีวิตของแม่   “มีคนโทรไปหาเพื่อนของน้องเกด แล้วก็โทรไปบอก

น้องสะใภ้ของแม่ว่า....น้องเกตุ โดนยิง แล้วเขาก็โทรมาหาแม่ แม่ก็ตกใจรีบโทรกลับไปตามเบอร์ที่โทรหาเขาก็บอกน้องโดนยิงแต่ไม่รู้เป็นยังไง แม่ก็เลยโทรไปที่เบอร์ที่โทรมาโทรเท่าไหร่ก็ไม่ติด จึงตัดสินใจโทรไปที่เบอร์ลูกสาวก็มีคนรับ คนที่รับเป็นเพื่อนของเจ้าเกดที่รอดตาย เราก็ถามว่าน้อง

เป็นยังไง เขาก็บอกว่าน้องโดนยิง  เราก็ถามว่าส่งโรงพยาบาลรึยัง เด็กก็เงียบไปพักหนึ่ง.... เด็กเขาก็บอกว่าน้องตายแล้ว แม่ก็ไม่เชื่อนะ แล้วก็ว่าเขาว่า ล้อเล่นอย่างนี้มันไม่ดีนะ ฉันเพิ่งคุยกับลูกฉันเมื่อตอนหกโมงกว่านี่เอง เด็กมันก็ร้องไห้โฮเลย มันก็บอกน้องโดนยิงจริง ๆ น้องตายแล้วจริง ๆ หนูไม่โกหก หนูอยู่กับศพน้องยังอยู่ตรงหน้าหนูนี่ สิ่งที่แม่พเยากลัวที่สุดคือ “ศพหาย” ถึงกับร้องสั่งเพื่อนน้องเกดไปว่าให้เอาศพไปไว้ในวัดระวังศพหาย ที่เธอห่วงเรื่องดังกล่าวเพราะ “ลูกสาวเธอนั่นเอง” วันสุดท้ายที่น้องเกดกลับมาเล่นสงกรานต์กับน้องและเป็นวันสุดท้ายที่แม่ได้เจอหน้าลูก ได้เล่าให้แม่ฟังว่า เหตุการณ์ 10 เมษา 53 มีมวลชนโดนยิงและมีการแย่งศพกันระหว่างทหารกับผู้ชุมนุม “เสื้อแดง”  เป็นสาเหตุที่ แม่พเยาต้องสั่งไปโดยอัตโนมัติ “ว่าอย่าให้ศพหาย”

                   ถึงอย่างไรเธอก็ยังไม่เชื่อว่าลูกสาวสุดที่รักจะลาจากโลกนี้ไปจริง จะแน่ใจได้

อย่างไรในเมื่อ  “น้องเกด หรือ กมลเกด อัคฮาด”  หญิงสาววัย 25 ปี เพิ่งมาขอความฝันสูงสุดของเธอ

จากแม่ว่า...จะสอบเข้าเรียนพยาบาลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า  แต่อุปสรรคที่ขวางกั้นแม่เดินทางไป

หาลูกสาวคือ เคอร์ฟิว แม่ต้องใช้ทั้งความเข้มแข็งและความอดทน รอถึงวันรุ่งขึ้น พอ 6 โมงเช้า สิ่ง

ที่ทำสิ่งแรก คือโทรศัพท์ไปที่เบอร์น้องเกตุแต่ไม่เปิด เธอตัดสินใจหาเบอร์โทรเข้าไปในวัด พอพระ

รับแม่พเยาว์ก็ถามว่า “ในวัดมีศพผู้หญิง จริงหรือไม่ พระก็บอกว่ามีศพหนึ่ง” เป็นคำตอบที่แม่

พเยาว์หรือแม่อีกหลายคนที่เจอกับเหตุการณ์อย่างนี้ไม่อยากได้ยินเลย  แม้จะเจ็บปวดแค่ไหนต้อง

ระงับมันไหวแล้วจัดการกับสิ่งที่ต้องทำ นี่คือความเข้มแข็งของเพศหญิงที่ได้ชื่อว่า “แม่” เธอจึงบอก

กับพระว่า

“ดิฉันจะเข้าไปดูศพลูก หลวงพ่อบอกโยมอย่ามา มาไม่ได้ มันยังยิงกันอยู่เลย ข้างในออก

ไม่ได้ ข้างนอกเข้าไม่ได้ โยมอย่ามา ตอนนี้เราติดต่อ สส. สว. ให้มานำคนที่มาหลบอยู่ในวัดออกไป

จะให้เขามาเอาศพ 6 ศพส่งไปโรงพยาบาลให้ โยมอย่ามามันอันตราย”

 แม่พเยาว์ไม่เชื่อยังพยายามหารถไปที่ราชประสงค์ แต่อุปสรรคยังไม่หมด เรียกได้ว่ามัน

เป็นบทพิสูจน์ของความเป็นแม่ที่มีหัวใจแข็งแกร่ง ไม่ยอมต่ออุปสรรคใด ๆ  และไม่เชื่อผู้ใด หากไม่เห็นด้วยดวงตา แม่พยายามเรียกรถแท็กซี่หลายคัน ไม่มีคันไหนยอมไป แถมด้วยการเล่าให้แม่ฟังอีกว่า ทหารมันเห็นแท็กซี่มันยิงเลย นี่คือการจุดประกายให้ผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยเป็นแค่แม่ของลูก แม่บ้าน และแม่ค้า เธอคิดว่านี่มันประเทศไทยรึเปล่า สุดท้ายเธอกับลูกชายกลับมาตั้งหลักที่บ้าน บ่ายวันที่ 20 พค. 53 ทีวีก็ออกข่าวว่าจะนำศพไปโรงพยาบาลเพื่อพิสูจน์ศพ โดยมีหมอพรทิพย์ออกมาว่าจะไปพิสูจน์ศพตอนบ่าย  แม่ยังเชื่อในวิถีของอาชีพแพทย์ว่าจะไม่โกหก เพราะลูกสาวเธอเคยไปช่วยหมอคนนี้คราวสึนามิเกิดขึ้นทางภาคใต้ ทำให้เธอดีใจว่าศพจะได้พิสูจน์แล้ว การรับศพคงจะไม่เป็นอุปสรรคอีกแล้ว เธอตัดสินใจโทรไปโรงพยาบาล แม่โทรไปโรงพยาบาล แต่คำตอบคือ ไม่ต้องมา มาก็ยังไม่ได้รับศพ มาก็ไม่ให้ดู พวกเขาต้องพิสูจน์ศพก่อน ให้มารับศพวันต่อไป  เป็นอันว่าแม่พเยาว์ต้องอดทนกับความเจ็บปวดที่เก็บไว้ข้างในจนกระทั่งได้พบลูกอีกครั้งวันที่ 21 พค.53

 

ก้าวที่ช้าแต่แข็งแกร่งของแม่

            “ชีวิตจริงมันยิ่งกว่านิยาย หรือนิยายก็มาจากชีวิตจริง” ประโยคดังกล่าวไม่ได้ห่างไกลไปจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเลย แม่หลายคนที่ไม่เคยเข้าใจสิ่งที่ลูกทำ แม่หลายคนเปลี่ยนความคิดว่าตนเองมีหน้าที่แค่การทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ไม่เคยสนใจสิ่งรอบข้างหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเอง แต่หลังจากการสูญเสียลูกหรือสามีหรือบุคคลอันเป็นที่รัก มักส่งผลให้เธอเหล่านั้นก้าวเดินด้วยความแข็งแกร่ง

          หลังจากแม่พเยาว์พยายามหาทางไปรับศพในวันที่สองของการเสียชีวิตของน้องเกตุแล้วได้รับคำตอบว่า “ไม่ได้”   วันที่ 21 พค. 53 แม่และลูกชายไปถึงทางโรงพยาบาลตำรวจ ได้ดูรูปศพจากคอมพิวเตอร์ว่าศพไหนที่ใช่  และแม่ก็เจอรูปน้องเกตุ ติดป้ายชื่อไว้ว่า “หญิงไม่ทราบชื่อ” ทำให้แม่ต้องรีบบอกว่า “คนนี้แหละลูกฉัน นางสาวกมลเกตุ อัคฮาด”  น้องชายของน้องเกตุไปถามหมอว่า “พี่ผมโดนยิงกี่นัด” หมอตอบว่า “สองนัด” และ “ถูกยิงจากล่างหรือบน” หมอตอบ “ไม่ได้”  ณ เวลานั้นแม่พเยาว์ไม่ต้องการรู้เรื่องใดทั้งสิ้นสิ่งที่ต้องการคือ เอาศพลูกสาวไปบำเพ็ญกุศลก่อน

คืนที่สองของการตั้งสวดอภิธรรมศพน้องเกตุมีหน่วยงานอาสา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไปนำทั้ง 6 ศพจากวัดปทุมมาส่งโรงพยาบาลตำรวจ เขามาบอกกับแม่ว่า น้องเกตุโดนยิงมากกว่าสองนัด  นับจากวินาทีนั้นเป็นต้นมาแม่พเยาว์ต้องใช้ความอดกลั้นแล้วเดินต่อไป  เมื่อถึงวันเผาศพแม่พเยาว์อาจทำเหมือนคนไทยทั่วไปที่เปิดเพื่อดูหน้าคนที่ตนรักเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะจากกันตลอดไป แต่แม่ทำมากกว่านั้นคือเปิดโลงศพแล้วถ่ายรูปและร่องรอยที่ถูกยิง ปรากฏว่าน้องเกตุโดนยิงตั้งแต่ขาไปจนถึงหัวเลย  น้องเกตุถูกยิงทั้งหมด 11 นัด มันไม่ใช่สองนัดอย่างที่หมอพรทิพย์ออกมานั่งแถลงข่าวกับ ศอฉ. ว่านางสาวกมลเกตุถูกยิงสองนัดไม่มีหัวกระสุนในตัว มันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่พเยาว์คิดว่า พวกคุณยิงลูกฉันแล้ว พวกคุณยังช่วยเหยียบย่ำลูกฉันอีกเหรอ ตั้งแต่วันนั้นแม่พเยาว์ก็บอกกับลูกสาวที่อยู่ในสภาพร่างไร้วิญญาณว่า แม่สู้ตายเพื่อลูกของแม่ เธอประกาศว่าจะไม่ยอมรัฐบาลและทุก ๆ บุคคลที่รวมกันฆ่าลูกเธอและใส่ร้ายป้ายสีลูกของเธออีก ร่างกาย นับจากวันนั้นแม่พเยาว์ผู้ไม่เคยสนใจการเมือง หรือจะมาข้องแวะกับการเมือง เธอไปทุกที่ทุกแห่งเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับลูกของเธอ สุดท้าย DSI ก็ออกมาสรุปว่าโดนยิง 5 นัด ถึงแม้เรื่องจริง ๆ แล้วน้องเกตุโดนยิงทั้งหมด 11 นัด  ความจริงที่ปรากฏอีกประการคือ ทุกศพที่ถูกยิงในวัดปทุมนั้น น้องเกดคนเดียวที่โดนยิงมากที่สุด น้องเกตุเป็นผู้หญิงเป็นอาสาพยาบาลมีเครื่องหมาย “กาชาด” ซึ่งถือว่ายามศึกสงครามห้ามทำร้ายเด็ดขาด  แม่พเยาว์กล่าวด้วยอารมณ์โมโหทุกครั้งเมื่อมีใครก็ตามมาถามถึงเรื่องการเสียชีวิตของลูกสาว

“น้องเกดุเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ พวกเขาออกแถลงการณ์อย่างบิดเบือนข้อเท็จจริง แรก ๆ

 ออกมาบอกว่า น้องเป็นพยาบาลเถื่อน ถูกยิงจากนอกวัดแล้วลากศพเข้ามาในวัด โดยเฉพาะ “นาย

ไก่อู คนพูดสวมเครื่องแบบกองทัพแต่พูดตอแหลกันได้อย่างหน้าตาเฉย ลูกฉันตายเพราะถูก

ฆาตรกรรมนะ ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างยิงกันแล้วโดนยิงตาย ”  นี่คืออีกสาเหตุที่ทำให้แม่พเยาว์ต้องออกมา

ต่อสู้ หาความเป็นธรรมให้กับลูก

สิ่งที่แม่อย่างเธออยากรู้คือ พวกเขาฆ่าลูกฉันทำไม น้องเกตุถูกยิงขณะที่มือเขายังสวมถุงมือ

ผ้ายังคาดปาก สัญลักษณ์กาชาดยังอยู่บนตัว การที่ ศอฉ. ออกมาแถลงเกี่ยวกับการเสียชีวิตในวัดปทุมเกิดจากการต่อสู้กันแล้วถูกยิงตาย ทหารที่ยิงเข้าไปในวัดออกมาบอกว่ายิงต่อสู้กับชายชุดดำ  แต่แม่พเยาว์ตั้งข้อสังเกตว่า..... “ทั้งหกศพพิสูจน์แล้วมือไม่มีเขม่าดินปืนสักศพ หลักฐานเหล่านี้ทำให้แม่พเยาว์ออกมาประกาศทันทีว่า “การตายของน้องเกตุและหกศพเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่ยอมรับเพราะความกลัวคนจะว่าทหารยิงประชาชน การใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับทหารถูกปล้นปืนไปมันใช้ไม่ได้ ไม่เกี่ยวกับการที่ทหารไปยิงคน พวกคุณยังพิสูจน์ไม่ได้เลยว่า คนกลุ่มนี้เขาเอาปืนคุณไปจริงรึเปล่า แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ 6 ศพถูกฆ่าในวัดมันคือเรื่องจริง”

          จากวันนั้น 19 พฤษภาคม 2553 จนถึงวันนี้ “แม่” ผู้สูญเสียที่เปลี่ยนตัวเองจากแม่ค้า กลายนักสู้เพื่อหาความยุติธรรมให้กับลูกสาวที่เสียชีวิต และเพื่อคนอื่น ๆ ในสังคม แม่พเยาวจึงเปิดศูนย์ที่อิมพีเรียลไว้สำหรับการรับเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ของคนเสื้อแดงผู้ได้รับผลกระทบแล้วยังไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐ  เธอจะเป็นผู้ติดตามเรื่องราวและต่อกรกับผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนที่จะที่ไม่ยอมให้ความยุติธรรมประชาชนในสังคมไทย เธอยังเดินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนกว่า “คนสั่งฆ่าจะไม่ลอยนวล”

                  

                                      -----------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น