Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เส้นทางคุก “อภิสิทธิ์” เดิมตามรอยทรราช “แบ๊กโบ” ไปศาล ICC แน่ในไม่ช้า!


โดย ทีมข่าว Sunai FanClub



กรณีศึกษาเกี่ยวกับศาล icc จากการมาเยือนของประธานสภาประเทศโกตดิวัวร์

จากกรณีศึกษาและแนวทางที่จะนำนายอภิสิทธิ์  เวทชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไปขึ้นศาลอาญาระหว่าประเทศ (ICC) โดยมีแนวทางจากกรณีกาศึกษาจากเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนโดยการใช้อาวุธจริงในสาธารณรัฐโกดิวัวร์ดังนี้

อดีตประธานาธิบดีโลร็องด์ แบ๊กโบ  นับเป็นอดีดผู้นำประเทศคนแรกที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาสั่งการให้ทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงและฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเนื่องจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีจนความรุนแรงดังกล่าวเกือบกลายเป็นสงครามกลางเมือง  ทั้งนี้กองกำลังสหประชาชาติได้เข้ามาระงับความรุนแรง  และสามารถจับตัว นายโลร็องด์ แบ๊กโบ  ได้ ณ ที่ซ่อนตัวในที่แห่งหนึ่งซึ่งช่วยยุติความรุนแรงดังกล่าวในสาธารณรัฐโกดิวัวร์ ที่ดำเนินกว่า 4 เดือน หน่วยงานสหประชาชาติซึ่งปฏิบัติภายในประเทศโกตดิวัวร์ ได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากวิกฤตการเมืองราว 1,012 คน  เป็หญิง 103คนและเด็ก 42 คน ถูกฆ่าในเหตุปะทะกันทางการเมือง  และอย่างน้อย 505 คน ถูกฆ่าในเมืองดูโกอู

แม้ว่าโกตดิวัวร์ ไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม แต่ก็ได้มีการประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลไอซีซีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 และหลังจากนั้น ประธานาธิบดีของไอวอรีโคสต์ก็ได้ประกาศยืนยันการยอมรับเขตอำนาจศาลอีกครั้งในปี 2553 และ 2554 โดยอาศัย มาตรา 12 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ระบุถึงเงื่อนไขเบื้องต้นในการใช้เขตอำนาจศาลดังนี้
ข้อ 3 ในกรณีที่รัฐใด ๆ ไม่ได้เป็นภาคีต่อธรรมนูญกรุงโรมตามข้อกำหนดในย่อหน้า 2 รัฐดังกล่าวก็อาจยอมรับการปฏิบัติตามเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศตามความผิดที่มีขึ้นได้ ทั้งนี้โดยการแจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนของศาล...” แต่เป็นการประกาศยอมรับเฉพาะคดีนี้เท่านั้นดังนั้น ICC. จึงมีอำนาจในการพิจารณาคดีดังกล่าว

ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม 2554 องค์คณะตุลาการพิจารณาเบื้องต้นที่ 3 จึงได้อนุญาตให้อัยการของศาลไอซีซีทำการสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี ในประเทศไอวอรีโคสต์ จากความขัดแย้งระหว่างนายแบ๊กโบ อดีตประธานาธิบดี และนายอลาสซาเน ออตตารา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ที่เป็นเหตุให้ผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายปะทะกันหลายครั้ง จนกองกำลังของสหประชาชาติซึ่งนำโดยฝรั่งเศสต้องเข้าแทรกแซง และมีการจับกุมตัวนายบักโบ้ในเวลาต่อมา
  
นอกจากนี้ กรณีการนำตัวนายบักโบ้ไปดำเนินคดีที่ศาลไอซีซียังถูกเปรียบเทียบกับกรณีของนายซาอิฟ อัล อิสลาม กัดดาฟี บุตรชายของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย ที่ไอซีซีตัดสินใจให้เข้ารับการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศได้

ซึ่งในกรณีนี้นายหลุยส์ โมเรโน่ โอคัมโป้ หัวหน้าอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าวว่า การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศยินยอมให้มีการพิจารณาคดีของนายซาอิฟ และนายอับดุลลาห์ อัล-เซนุสซี่ อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของลิเบียภายในประเทศลิเบียนั้น เป็นเพราะรัฐบาลใหม่ของลิเบียมีสิทธิที่จะดำเนินการในคดีนี้ ซึ่งตามหลักการของไอซีซีแล้ว จะให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศนั้นๆก่อน ซึ่งหากว่ากระบวนการดังกล่าวราบรื่นดี ไอซีซีก็จะไม่เข้าไปแทรกแซง

ในขณะเดียวกันก็อาจมองได้ว่า การนำตัวอดีตผู้นำไอวอรีโคสต์ขึ้นศาลในครั้งนี้ เป็นการพิสูจน์ตัวเองของนายโอคัมโป้ว่า ในที่สุดเขาก็นำตัวผู้นำประเทศเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของไอซีซีได้ หลังจากที่เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า ที่ผ่านมาเขามักมีอคติทางการเมือง และมักนำตัวชาวแอฟริกันผิวดำขึ้นศาลเท่านั้น โดยการออกหมายจับพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟีก็ถูกมองว่า เป็นไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับชาติตะวันตกในการใช้กำลังทางการทหารเข้าแทรกแซง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น