ที่มา:มติชนรายวัน 5 พ.ย.2556
เห็นภาพและข่าวการชุมนุมของ
"ราชนิกุล" จากราชสกุลยุคล ราชสกุลดิศกุล ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชสกุลพึ่งบุญ ราชสกุลเสนีวงศ์ ราชสกุลทองแถม
แล้วคิดอย่างไร
เห็นการออก "แถลงการณ์" ของ 500 นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันนำโดย นายสมคิด เลิศไพทูรย์ และ นายสุรพล นิติไกรพจน์
แล้วคิดอย่างไร
เห็นการออก "แถลงการณ์" ของเครือข่ายแพทย์ อาจารย์แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์อันมีผู้ลงนามทั้งสิ้น 1,067 คน
แล้วคิดอย่างไร
ขณะที่ภาพของ "ราชนิกุล" เด่นชัดยิ่งว่ามาจากชนชั้นสูง ภาพของ "คณาจารย์" ภาพของบุคลากร "ทางการแพทย์"
คือปฏิมาแห่ง "ปัญญาชน" ระดับ "ครีม"
เท่ากับสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นสูง ปัญญาชน นักวิชาการระดับสูงของสังคมประเทศไทยล้วนคัดค้านและต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
คัดค้าน "ทักษิณ" แต่ไม่ต่อต้าน "อภิสิทธิ์"
บทบาทและการเคลื่อนไหวของ "ราชนิกุล" บทบาทและการเคลื่อนไหวของคณาจารย์และบุคลากรทางแพทย์มีความแจ่มชัดอย่างยิ่ง
1 คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งมีลักษณะย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่ง คือ ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ไม่กล่าวถึงกรณีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ความหมายของการเคลื่อนไหวนี้อันซ่อนแฝงอยู่ภายในระหว่างบรรทัด คือ เห็นชอบด้วยกับกระบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
เห็นชอบด้วยการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
ปลายหอกที่ "ราชนิกุล" กับ "คณาจารย์" และ "บุคลากรทางการแพทย์" พุ่งไปยังเป็นโทษกรรมอันเนื่องมาแต่ "ระบอบทักษิณ"
รวมถึงบริษัทบริวารอย่าง "เพื่อไทย" อย่าง "เสื้อแดง"
การก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จึงเป็นความชอบธรรม การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 จึงเป็นความถูกต้อง เป็นความชอบธรรม แม้จะมีการใช้อาวุธสงคราม มีคนตาย 99 ศพ มีคนบาดเจ็บร่วม
2,000 คน
"แถลงการณ์" เหล่านี้ "สะท้อน" อะไร
สิ่งที่ควรนำกลับมาขบคิดและพิจารณาอย่างจริงจังจึงน่าจะเป็นปาฐกถาพิเศษอันเนื่องในวาระ 40 ปี 14 ตุลาคม
ไม่ว่าจะเป็นของ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ไม่ว่าจะเป็นของ นายธีรยุทธ บุญมี
ปัญญาชน 2 คนนี้ยอมรับตรงกันว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยในห้วง 1 ทศวรรษหลังบ่งชี้อย่างเด่นชัดว่า
เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจ "เก่า" กับกลุ่มอำนาจ "ใหม่"
อำนาจเก่ามีรากฐานทางเศรษฐกิจแบบเก่า และได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นสูงและคนชั้นกลางในเมือง
เห็นได้จาก "เสื้อเหลือง" และ "เสื้อหลากสี"
อำนาจใหม่มีรากฐานทางเศรษฐกิจจากยุคแห่งโลกาภิวัตน์ และได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง "ใหม่" และระดับรากหญ้า
เห็นได้จาก "เสื้อแดง" ทั้งในชุมชนเมืองและชนบท
อย่าได้แปลกใจหากการชุมนุม "เวทีสามเสน" ของพรรคประชาธิปัตย์จะอบอุ่นอย่างยิ่งจากเหล่า "ราชนิกุล" จาก "คณาจารย์" และปัญญาชนชั้นสูง นักธุรกิจ คนชั้นกลางในเมือง
รวมทั้ง "ดารา" และเหล่า"เซเลบ"
จากนี้จึงเห็นได้ว่า แนวรบอันมีมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เป็นแนวรบอะไร
1 เป็นแนวรบทางการเมืองอันสัมพันธ์กับกระบวนการเคลื่อนไหวในทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่น 1 รูปธรรมอันสำแดงออกยืนยันถึงการปะทะทางวัฒนธรรมอันมีลักษณะชนชั้น
เป็นการ "ป้องกัน" ตนเองของ "ชนชั้นสูง"
แล้วคิดอย่างไร
เห็นการออก "แถลงการณ์" ของ 500 นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันนำโดย นายสมคิด เลิศไพทูรย์ และ นายสุรพล นิติไกรพจน์
แล้วคิดอย่างไร
เห็นการออก "แถลงการณ์" ของเครือข่ายแพทย์ อาจารย์แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์อันมีผู้ลงนามทั้งสิ้น 1,067 คน
แล้วคิดอย่างไร
ขณะที่ภาพของ "ราชนิกุล" เด่นชัดยิ่งว่ามาจากชนชั้นสูง ภาพของ "คณาจารย์" ภาพของบุคลากร "ทางการแพทย์"
คือปฏิมาแห่ง "ปัญญาชน" ระดับ "ครีม"
เท่ากับสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นสูง ปัญญาชน นักวิชาการระดับสูงของสังคมประเทศไทยล้วนคัดค้านและต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
คัดค้าน "ทักษิณ" แต่ไม่ต่อต้าน "อภิสิทธิ์"
บทบาทและการเคลื่อนไหวของ "ราชนิกุล" บทบาทและการเคลื่อนไหวของคณาจารย์และบุคลากรทางแพทย์มีความแจ่มชัดอย่างยิ่ง
1 คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งมีลักษณะย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่ง คือ ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ไม่กล่าวถึงกรณีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ความหมายของการเคลื่อนไหวนี้อันซ่อนแฝงอยู่ภายในระหว่างบรรทัด คือ เห็นชอบด้วยกับกระบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
เห็นชอบด้วยการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
ปลายหอกที่ "ราชนิกุล" กับ "คณาจารย์" และ "บุคลากรทางการแพทย์" พุ่งไปยังเป็นโทษกรรมอันเนื่องมาแต่ "ระบอบทักษิณ"
รวมถึงบริษัทบริวารอย่าง "เพื่อไทย" อย่าง "เสื้อแดง"
การก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จึงเป็นความชอบธรรม การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 จึงเป็นความถูกต้อง เป็นความชอบธรรม แม้จะมีการใช้อาวุธสงคราม มีคนตาย 99 ศพ มีคนบาดเจ็บร่วม
2,000 คน
"แถลงการณ์" เหล่านี้ "สะท้อน" อะไร
สิ่งที่ควรนำกลับมาขบคิดและพิจารณาอย่างจริงจังจึงน่าจะเป็นปาฐกถาพิเศษอันเนื่องในวาระ 40 ปี 14 ตุลาคม
ไม่ว่าจะเป็นของ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ไม่ว่าจะเป็นของ นายธีรยุทธ บุญมี
ปัญญาชน 2 คนนี้ยอมรับตรงกันว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยในห้วง 1 ทศวรรษหลังบ่งชี้อย่างเด่นชัดว่า
เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจ "เก่า" กับกลุ่มอำนาจ "ใหม่"
อำนาจเก่ามีรากฐานทางเศรษฐกิจแบบเก่า และได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นสูงและคนชั้นกลางในเมือง
เห็นได้จาก "เสื้อเหลือง" และ "เสื้อหลากสี"
อำนาจใหม่มีรากฐานทางเศรษฐกิจจากยุคแห่งโลกาภิวัตน์ และได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง "ใหม่" และระดับรากหญ้า
เห็นได้จาก "เสื้อแดง" ทั้งในชุมชนเมืองและชนบท
อย่าได้แปลกใจหากการชุมนุม "เวทีสามเสน" ของพรรคประชาธิปัตย์จะอบอุ่นอย่างยิ่งจากเหล่า "ราชนิกุล" จาก "คณาจารย์" และปัญญาชนชั้นสูง นักธุรกิจ คนชั้นกลางในเมือง
รวมทั้ง "ดารา" และเหล่า"เซเลบ"
จากนี้จึงเห็นได้ว่า แนวรบอันมีมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เป็นแนวรบอะไร
1 เป็นแนวรบทางการเมืองอันสัมพันธ์กับกระบวนการเคลื่อนไหวในทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่น 1 รูปธรรมอันสำแดงออกยืนยันถึงการปะทะทางวัฒนธรรมอันมีลักษณะชนชั้น
เป็นการ "ป้องกัน" ตนเองของ "ชนชั้นสูง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น