นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ
กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มา
ส.ว.ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรกมติ 6 ต่อ 3
ว่าการกระทำของ ส.ส. , ส.ว ผู้ถูกร้องมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลายมาตรา คือมาตรา122
,มาตรา125 ,มาตรา126 ,มาตรา 291 และมาตรา 3 คือ
ใช้อำนาจที่ขัดรัฐธรรมนูญทั้งกระบวนการและเนื้อหาสาระ และประเด็นที่สอง มติ 5 ต่อ 4
บอกว่า
เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศนอกวิถีทางตามรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา
68 และประเด็นที่สาม ศาลเห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไขการยุบพรรค
คำถามคือว่าต่อไปนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของพระมหากษัตริย์
นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า ตามมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ หากมีการกระทำที่เข้าข่ายตามมาตรา 68 ศาลต้องสั่งหยุดการกระทำ แต่กรณีนี้ศาลกลับไม่สั่งให้หยุดการกระทำ สิ่งนี้เป็นอันตราย เพราะว่าขณะนี้รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเสร็จไปแล้ว ขณะนี้การกระทำที่เหลืออยู่คือกระบวนการของพระมหากษัตริย์ว่าจะทรงลงพระปรมาภิไธย หรือว่าจะพระราชทานคืนมา หรือปล่อยไว้ 90 วัน ตอนนี้ก็เลยเกิดสูญญากาศทางกฎหมายว่าศาลต้องการสื่ออะไร ดังนั้นก็ต้องติดตามทางราชเลขาธิการซึ่งเป็นผู้ถือเอกสารอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป คำวิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลแล้ว เมื่อศาลได้วินิจฉัยว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมิชอบ กระบวนการขั้นตอนไม่ชอบ มีการเสียบบัตรไม่ถูกต้อง เวลาแปรญัตติน้อยเกินไป กระบวนการเหล่านี้มีความรุนแรงเข้าข่ายมาตรา 68 เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเสียงเฉียดฉิว 5 ต่อ 4 จึงไม่นำไปสู่การยุบพรรค
"แต่ ส.ส., ส.ว. 312 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ยังไม่ปลอดภัย เพราะศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ามีการกระทำผิดหลายมาตรามาก ซึ่งทำให้กระบวนการเข้าชื่อยื่นถอดถอน ส.ส. , ส.ว ที่คุณสุเทพได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว มีน้ำหนักขึ้นทันทีเพราะวันนี้มีการชี้ชัดจากศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่ามีการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญ และเมื่อเรื่องไปถึง ป.ป.ช. ว่าเรื่องนี้มีการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต ก็อาจโดน ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีผลทันทีในวันนี้ต่อตัวส.ส. ส.ว. แต่ไปเปิดช่องทาง กม. ให้มีการใช้กระบวนการอื่นๆ เช่นกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา หรือกระบวนการโดย ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไปแต่ในส่วนของวุฒิสภา เมื่อ ส.ว. ส่วนหนึ่งทำผิดเองเสียแล้ว แล้วจะวินิจฉัยว่าตัวเองทำผิดได้อย่างไร เป็นกระบวนการที่แปลกประหลาด ดังนั้น ก็ต้องรอดูว่า ป.ป.ช. จะว่าอย่างไร หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดินจะว่าอย่างไร หรือศาลอื่นๆซึ่งอาจมีผู้นำเรื่องไปยื่นฟ้องต่อศาล หรือว่าจะไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เพราะวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เปิดประตูไปสู่หลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังมองไม่ออกว่าจะไปจบตรงส่วนไหน " นายวีรพัฒน์ กล่าว
นักวิชาการอิสระท่านนี้ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องจับตามองต่อไป คือ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว. เสียงข้างน้อยที่แพ้โหวตการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ ก็จะไปร้องเรียนดำเนินการถอดถอน เอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มาเดินเกมต่อให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน ตั้งอนุกรรมการ และชี้มูลว่าทำผิดหรือไม่
" วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่เข้าเงื่อนไขยุบพรรค แต่ผมเสียดายที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าไม่เข้าเงื่อนไขที่ว่านี้คือเงื่อนไขอะไร ศาลไม่ได้แยกให้ชัดว่าอะไรคือการกระทำของพรรคการเมือง อะไรไม่ใช่การกระทำของพรรคการเมือง ทำให้กระบวนการตรงนี้คลุมเครือต่อไป "
ส่วนกรณีที่ว่ามีช่องทางให้นายกฯขอถอนร่างคืนมาหรือไม่ นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเรื่องการถอนร่างเอาไว้ ตามรัฐธรรมนูญระบุ ว่าทันทีที่มีการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าถวาย เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ถ้าไปขอคืนมา ก็เป็นการกระทำนอกรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการกระทำผิดอีก
"สำหรับ ส.ส. , ส.ว . 312 คนที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้างนั้น ต้องไปดูอุณหภูมิทางการเมืองภาคประชาชนว่ายืนข้างไหน ถ้าเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ประชาชนอาจจะยอมให้ ส.ส. ส.วปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แต่ถ้าจะให้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกคงจะยาก เพราะ ส.ส. ส.ว.ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ได้ออกมาแถลงก่อนหน้านี้แล้วว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ " นายวีรพัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้นายวีรพัฒน์ ยังกล่าวถึงประเด็นที่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันให้ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามว่า หากเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญก็ต้องปฏิบัติตาม แต่วันนี้เมื่อสภาเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้ ก็ยังโต้เถียงกันได้แต่เป็นการโต้เถียงที่นอกเหนือจากเรื่องกฎหมาย แต่เป็นการโต้เถียงทางการเมือง แต่สิ่งที่จะต้องจับตาต่อไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับตามมาตรา 291 ที่ค้างคาอยู่ในสภามาโหวตในวาระ 3หรือไม่ เพราะว่าวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราที่เกี่ยวกับ ส.ว. ผิด ทำไม่ได้เสียแล้ว และต้องดูมาตรา 270 รัฐธรรมนูญที่สามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอน ส.ส. ส.ว 312 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.ว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญนูญได้และก็ต้องรอดู ป.ป.ช. ว่าจะวินิจฉัยอย่างไร จะวินิจฉัยต่างจากศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ในเมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กรและเพียงแค่ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว ซึ่งทำให้เสียงในสภาเปลี่ยนไปทันที โดยเฉพาะ ส.ส.เพื่อไทย ที่เสียงต้องหายไปมาก
นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า ตามมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ หากมีการกระทำที่เข้าข่ายตามมาตรา 68 ศาลต้องสั่งหยุดการกระทำ แต่กรณีนี้ศาลกลับไม่สั่งให้หยุดการกระทำ สิ่งนี้เป็นอันตราย เพราะว่าขณะนี้รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเสร็จไปแล้ว ขณะนี้การกระทำที่เหลืออยู่คือกระบวนการของพระมหากษัตริย์ว่าจะทรงลงพระปรมาภิไธย หรือว่าจะพระราชทานคืนมา หรือปล่อยไว้ 90 วัน ตอนนี้ก็เลยเกิดสูญญากาศทางกฎหมายว่าศาลต้องการสื่ออะไร ดังนั้นก็ต้องติดตามทางราชเลขาธิการซึ่งเป็นผู้ถือเอกสารอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป คำวิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลแล้ว เมื่อศาลได้วินิจฉัยว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมิชอบ กระบวนการขั้นตอนไม่ชอบ มีการเสียบบัตรไม่ถูกต้อง เวลาแปรญัตติน้อยเกินไป กระบวนการเหล่านี้มีความรุนแรงเข้าข่ายมาตรา 68 เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเสียงเฉียดฉิว 5 ต่อ 4 จึงไม่นำไปสู่การยุบพรรค
"แต่ ส.ส., ส.ว. 312 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ยังไม่ปลอดภัย เพราะศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ามีการกระทำผิดหลายมาตรามาก ซึ่งทำให้กระบวนการเข้าชื่อยื่นถอดถอน ส.ส. , ส.ว ที่คุณสุเทพได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว มีน้ำหนักขึ้นทันทีเพราะวันนี้มีการชี้ชัดจากศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่ามีการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญ และเมื่อเรื่องไปถึง ป.ป.ช. ว่าเรื่องนี้มีการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต ก็อาจโดน ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีผลทันทีในวันนี้ต่อตัวส.ส. ส.ว. แต่ไปเปิดช่องทาง กม. ให้มีการใช้กระบวนการอื่นๆ เช่นกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา หรือกระบวนการโดย ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไปแต่ในส่วนของวุฒิสภา เมื่อ ส.ว. ส่วนหนึ่งทำผิดเองเสียแล้ว แล้วจะวินิจฉัยว่าตัวเองทำผิดได้อย่างไร เป็นกระบวนการที่แปลกประหลาด ดังนั้น ก็ต้องรอดูว่า ป.ป.ช. จะว่าอย่างไร หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดินจะว่าอย่างไร หรือศาลอื่นๆซึ่งอาจมีผู้นำเรื่องไปยื่นฟ้องต่อศาล หรือว่าจะไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เพราะวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เปิดประตูไปสู่หลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังมองไม่ออกว่าจะไปจบตรงส่วนไหน " นายวีรพัฒน์ กล่าว
นักวิชาการอิสระท่านนี้ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องจับตามองต่อไป คือ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว. เสียงข้างน้อยที่แพ้โหวตการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ ก็จะไปร้องเรียนดำเนินการถอดถอน เอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มาเดินเกมต่อให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน ตั้งอนุกรรมการ และชี้มูลว่าทำผิดหรือไม่
" วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่เข้าเงื่อนไขยุบพรรค แต่ผมเสียดายที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าไม่เข้าเงื่อนไขที่ว่านี้คือเงื่อนไขอะไร ศาลไม่ได้แยกให้ชัดว่าอะไรคือการกระทำของพรรคการเมือง อะไรไม่ใช่การกระทำของพรรคการเมือง ทำให้กระบวนการตรงนี้คลุมเครือต่อไป "
ส่วนกรณีที่ว่ามีช่องทางให้นายกฯขอถอนร่างคืนมาหรือไม่ นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเรื่องการถอนร่างเอาไว้ ตามรัฐธรรมนูญระบุ ว่าทันทีที่มีการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าถวาย เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ถ้าไปขอคืนมา ก็เป็นการกระทำนอกรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการกระทำผิดอีก
"สำหรับ ส.ส. , ส.ว . 312 คนที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้างนั้น ต้องไปดูอุณหภูมิทางการเมืองภาคประชาชนว่ายืนข้างไหน ถ้าเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ประชาชนอาจจะยอมให้ ส.ส. ส.วปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แต่ถ้าจะให้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกคงจะยาก เพราะ ส.ส. ส.ว.ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ได้ออกมาแถลงก่อนหน้านี้แล้วว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ " นายวีรพัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้นายวีรพัฒน์ ยังกล่าวถึงประเด็นที่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันให้ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามว่า หากเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญก็ต้องปฏิบัติตาม แต่วันนี้เมื่อสภาเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้ ก็ยังโต้เถียงกันได้แต่เป็นการโต้เถียงที่นอกเหนือจากเรื่องกฎหมาย แต่เป็นการโต้เถียงทางการเมือง แต่สิ่งที่จะต้องจับตาต่อไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับตามมาตรา 291 ที่ค้างคาอยู่ในสภามาโหวตในวาระ 3หรือไม่ เพราะว่าวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราที่เกี่ยวกับ ส.ว. ผิด ทำไม่ได้เสียแล้ว และต้องดูมาตรา 270 รัฐธรรมนูญที่สามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอน ส.ส. ส.ว 312 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.ว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญนูญได้และก็ต้องรอดู ป.ป.ช. ว่าจะวินิจฉัยอย่างไร จะวินิจฉัยต่างจากศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ในเมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กรและเพียงแค่ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว ซึ่งทำให้เสียงในสภาเปลี่ยนไปทันที โดยเฉพาะ ส.ส.เพื่อไทย ที่เสียงต้องหายไปมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น