ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2556
กระทรวง
กลาโหม คงจะมีอาถรรพณ์อย่างคำร่ำลือ ไม่ใช่แค่ความเก่าแก่ 120 ปี
แต่เพราะเป็นกระทรวงที่แวดล้อมไปด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งศาลหลักเมือง
พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ยังรวมถึงเจ้าพ่อหอกลอง
รวมทั้ง อารักขเทวสถาน ที่มีเสาไม้สักตกน้ำมันในกลาโหม และปืนใหญ่พญาตานี หน้ากระทรวง
โดยเฉพาะเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก มาควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม หญิงคนแรก
เพราะ
แค่ บิ๊กอ๊อด พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้ากระทรวงกลาโหม มาทำงานในฐานะ
รมช.กลาโหม วันแรก 5 กรกฎาคม เท่านั้น วันรุ่งขึ้น คลิปฉาวประวัติศาสตร์
ก็ถูกปล่อยออกมา 6 กรกฎาคม ในทันใด
จากภาพของ ลุงอ๊อด พี่อ๊อด วัย
76 ที่แสนน่ารักใจดี กลายเป็น นายพลถั่งเช่า
ที่เต็มไปด้วยกลเกมเล่ห์เหลี่ยม หัวหมอ แถมมองน้องๆ ผบ.เหล่าทัพ
บางคนเป็นฝ่ายตรงข้าม จนทำให้บรรยากาศความเป็นพี่น้องแปร่งไป
จึงไม่แปลกที่ใครๆ จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กลาโหม และ กองทัพ ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว นับจากวันคลิปหลุด
แม้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะให้ทำหน้าที่ รมช.กลาโหม ต่อไป
ทั้งด้วยความเกรงใจและความสงสาร แต่แรงกดดันให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ลาออก
ก็ยังมีอยู่ ทั้งจากฝ่ายตรงข้าม และพวกเดียวกันเอง
ต้องยอมรับว่า
มีทหารแตงโม มากมายที่รอจะเสียบเป็น รมว.กลาโหม หรือ รมช.กลาโหม แทน
หลังจากที่มีชื่อรออยู่ในคิวมานาน แต่กลับถูกบิ๊กอ๊อด
ใช้แผนพาราชสีห์ทักษิณกลับบ้าน และสายสัมพันธ์กับบ้านสี่เสาเทเวศร์
และแกนนำอำมาตย์ระดับสูง จนได้กลับมาผงาดในกลาโหมอีกครั้ง
จึงไม่
แปลกที่เมื่อ พล.อ.ยุทธศักดิ์ พลาด แบบที่ตัวเขาเองเรียกว่าเป็น
"อุบัติเหตุทางการเมือง" บรรดาทหารแตงโม โดยเฉพาะแกนนำ ตท.10 จะออกมาซ้ำ
จี้ให้ลาออก
แต่ทว่า เบื้องหน้าเบื้องหลังคลิปหลุด
ที่ยังไม่อาจเปิดเผยได้ และยังไม่มั่นใจนักว่า เป็นฝ่ายอำมาตย์
ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หรือพวกเดียวกันเองนั้น แต่ก็ทำให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์
บอกว่า "การเมืองสกปรก"
แม้ พล.อ.ยุทธศักดิ์
นั้นยังคงทำงานในตำแหน่ง รมช.กลาโหม แบบเก้ๆ กังๆ
เพราะยังเคอะเขินกับเนื้อหาในคลิปสนทนากับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเฉพาะกับ
ผบ.เหล่าทัพ ที่ก็คุยกับบิ๊กอ๊อดแค่เป็นมารยาทเท่านั้น
โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. และ บิ๊กจิน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ที่ยังมีบางอย่างคาใจ คงมีแต่ บิ๊กตู่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เท่านั้นที่บิ๊กอ๊อดสนิทใจที่สุด ส่วนกับ
บิ๊กหรุ่น พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. ก็ไม่มีปัญหา
เพราะไม่ได้ถูกพาดพิงอะไรในคลิปให้เสียหาย
แต่ที่แน่ๆ บิ๊กอ๊อด ยังหวาดระแวงบิ๊กๆ ในกลาโหม เพราะหวั่นว่าจะยังจงรักภักดีต่อ บิ๊กโอ๋ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม
พล.อ.ยุทธ
ศักดิ์ พยายามทำงานตามปกติ เข้ากระทรวงกลาโหม หรือเดินทางไปภาคใต้
แต่ก็ยิ้มแห้งๆ และไม่ขอให้สัมภาษณ์ หรือพูดคุยกับนักข่าว ทั้งๆ ที่ปกติ
บิ๊กอ๊อดเป็นคนที่ชอบคุยกับนักข่าวและเป็น ลุงอ๊อดที่ใจดีของนักข่าว
แต่
บรรยากาศเหมือนเมื่อครั้งที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ มาเป็น รมว.กลาโหม
ในครั้งแรกนั้น ไม่อาจหาได้อีกแล้ว ไม่ว่าเดินไปที่ไหน แม้แต่ในกลาโหม
ก็ถูกทหารชั้นผู้น้อยและผู้ใหญ่แอบมองและซุบซิบ
รํ่าลือกัน
ว่า หลังการโยกย้ายทหารปลายปีนี้เสร็จสิ้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะถูกปรับออกจาก
ครม.ปู 5 แล้วจบชีวิตทางการเมือง แบบที่เรียกว่า ตกม้าตาย
เพราะคลิปถั่งเช่า เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ตัดสินใจเปลี่ยนแผน เปลี่ยนเส้นทางกลับบ้าน
เพราะแผนแตก
ความแตกหมดแล้ว ในการดัน พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ผ่านทางสภากลาโหม
แล้วเข้าสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรี ออกเป็น พระราชกำหนด
เมื่อ
การณ์เป็นเช่นนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะ รมว.กลาโหม
ก็คงไม่กล้าที่จะเสนอให้สภากลาโหม พิจารณา กม.นิรโทษกรรม แน่นอน แม้ว่า ตาม
พ.ร.บ.กลาโหมปี 2551 จะเปิดช่องไว้ให้ก็ตาม
ยิ่งบรรดา ผบ.เหล่าทัพ
ที่แม้จะมีสิทธิ์เสนอเข้าสภากลาโหมได้ แต่ก็คงไม่มีใครหาญกล้าที่จะพลีชีพ
แม้แต่ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. คนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ไว้ใจมาก และที่พูดคุยกับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ มาตลอดเองก็ตาม
จึงต้องมีการเปลี่ยนแผน...
แต่
ไม่น่าเชื่อว่า นอกจากทหารสายแตงโม ที่มีชื่อจ่อจะมาเสียบแทน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ หากถูกปรับออก ทั้ง บิ๊กเล็ก พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
ปลัดกลาโหม ที่จะเกษียณกันยายนนี้ หรือ พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์
ทหารในสายเจ๊แดง หรือ บิ๊กโอ๋ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม บิ๊กอ๊อด
พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 แล้ว
ยังมีชื่อของ
บิ๊กป้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม
ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีชื่อเป็นแคนดิเดตในลำดับต้นๆ แถมมาแรงด้วย
ทั้งๆ ที่เป็น รมว.กลาโหม ที่คุมกองทัพในการปราบปรามคนเสื้อแดง ที่แยกราชประสงค์ เมื่อพฤษภาคม 2553
แต่
หารู้ไม่ว่า ต่อให้ พล.อ.ประวิตร สนิทสนมกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ มากแค่ไหน แต่ พล.อ.ประวิตร
ก็ไม่เคยห่างหายไปจากบ้านจันทร์ส่องหล้า
อย่าลืมว่า เพราะเหตุใดที่
พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น จะเลือก พล.อ.ประวิตร มาเป็น ผบ.ทบ.
แล้วเขี่ย บิ๊กตุ้ย พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติผู้พี่ จาก ผบ.ทบ.
ที่นั่งมาแค่ปีเดียว ไปแขวนเป็น ผบ.สส.
ด้วยเพราะ พล.อ.ประวิตร
นั้นมีความสนิทสนมกับคุณหญิงอ้อ พจมาน ดามาพงศ์ อย่างมาก
ถึงขั้นที่เธอเคยจะจับคู่ให้แต่งงานกับเพื่อนหญิงรุ่นใหญ่ที่ใกล้ชิด
เพื่อหวังที่จะใช้ระบบเครือญาติมาสร้างความสวามิภักดิ์ในทางการเมือง
เช่นที่เธอก็จับคู่ คุณลูกน้ำ สลิลลาวัลย์ กับ บิ๊กบิ๊ก พล.อ.อ.คงศักดิ์
วันทนา ผบ.ทอ. พ่อม่าย สำเร็จมาแล้ว
แต่กรณีของ พล.อ.ประวิตร นั้น
ไม่สำเร็จ เพราะ พล.อ.ประวิตร แม้จะเป็นโสดสนิท ไม่เคยแต่งงานมาก่อน
แต่ก็มีหลายเหตุผลส่วนตัวที่ไม่อาจลั่นระฆังวิวาห์กับใครได้
โดยเฉพาะต้องผ่านด่านมารดาของ พล.อ.ประวิตร เสียก่อน
แต่ก็ไม่ได้ทำให้สายสัมพันธ์ของ พล.อ.ประวิตร กับคุณหญิงอ้อ เสื่อมไปแต่อย่างใด เพราะเธอเข้าใจ
เพราะ
แม้แต่ พล.อ.ประวิตร ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ และปราบคนเสื้อแดง
เขาก็ยังแอบมุดเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้าอยู่เนืองๆ แบบที่ลูกๆ ก็ยังงง
เวลา
นี้ชื่อของ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้มาแรงเพราะเป็นสายจันทร์ส่องหล้า แต่ยิ่งแรง
เพราะความที่เป็นพี่เลิฟของ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ.
และถูกยกให้เป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์
ยิ่งในยามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์
ควบกลาโหม และเชื่อกันว่า บทบาทและความสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น
เปรียบเสมือนเป็น รมว.กลาโหม เงา เลยด้วยนั้น
เขาย่อมมีส่วนในการผลักดันให้พี่ชายคนโตคนนี้ กลับมาคุมกลาโหม
ยิ่ง
เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลั่นวาจาในคลิป "ไว้ใจตู่มาก" ด้วยแล้ว
ประกอบกับความที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็สนิทสนมไว้ใจ พล.อ.ประยุทธ์ มาตลอด หาก
พล.อ.ประยุทธ์ เสนอชื่อใครมาเป็น รมว.กลาโหม แล้วล่ะก็ ย่อมไม่พลาด
เพราะจริงๆ แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ยังหวังให้ พล.อ.ประยุทธ์
ช่วยเคลียร์ทางกลับบ้านให้
ด้วยเพราะคลิปฉาวนี่เองที่ทำให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเปลี่ยนแผนในการกลับบ้าน เพราะหนูแก่อย่าง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ได้ตายไปในทางการเมืองพร้อมคลิปที่หลุดออกมาไปแล้ว
สาย
บูรพาพยัคฆ์ จึงเป็นเส้นทางใหม่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หมายจะใช้นำพากลับบ้าน
ด้วยเพราะไม่ใช่มีแค่ พล.อ.ประวิตร แต่ยังมี บิ๊กป๊อก พล.อ.อนุพงษ์
เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. รวมอยู่ด้วย ซึ่งทั้งคู่เป็นพี่เลิฟของ
พล.อ.ประยุทธ์
แม้ว่า พล.อ.อนุพงษ์ จะเป็น ผบ.ทบ. ที่นำปราบเสื้อแดง
แต่ทว่า ในระยะหลัง เขาก็ยังคงติดต่อสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
ในฐานะเพื่อน ตท.10 ท่ามกลางข่าวร่ำลือมากมาย
ต้องรับรู้ไว้
ว่า ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามหาช่องทางในการกลับประเทศ
ด้วยการเข้าทางทุกคนที่เชื่อว่า ใกล้ชิดกับสถาบัน หรือมหาอำมาตย์ใหญ่ๆ
โดยไม่สนใจว่า ในอดีตจะเป็นอย่างไร
แล้ว พล.อ.ประวิตร
ก็เป็นหนึ่งในนั้น ประกอบกับมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัวเดิมอยู่แล้ว
และก็ถือว่าเป็นทหารเสือราชินี ลำดับต้นๆ ที่เข้าถึง "วงใน" ได้ตลอด
ที่ทุกวันนี้หลังเกษียณ เขาก็ยังรอด้วยความหวังที่จะได้เป็นองคมนตรี
แต่ติดขัดตรงที่ว่า เขาไม่ค่อยใกล้ชิดกับ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
องคมนตรีและรัฐบุรุษ แถมซ้ำยังมีความขัดแย้งคาใจหลายเรื่องกับ บิ๊กแอ้ด
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกฯ ตั้งแต่อยู่ใน ทบ. เพราะ
พล.อ.ประวิตร ถูก พล.อ.สุรยุทธ์ เตะสกัดมาตลอด
แต่ด่าน ป๋าเปรม นั้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ที่แม้จะหลุดออกไป ก็คงจะยังแอบช่วยเคลียร์ให้
พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เงียบๆ แต่ต้องทิ้งระยะ เพราะในเวลานี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์
ยังไม่ขอเข้าพบ พล.อ.เปรม ในโอกาสที่มารับตำแหน่ง รมช.กลาโหม เลย
คาดว่าจะอาศัยโอกาสวันเกิด 94 ปีของ พล.อ.เปรม 26 สิงหาคมนี้ ที่ พล.อ.เปรม
จะเปิดบ้านให้ ผบ.เหล่าทัพอวยพร ที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์
อาจจะแอบดอดเข้าหาป๋าก่อน
ท่ามกลางการจับตามองว่า วันเกิดปีนี้
พล.อ.เปรม จะเปิดบ้านให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ นำ ผบ.เหล่าทัพ เข้าอวยพรหรือไม่
หรือว่าจะให้เป็นการภายในเฉพาะ ผบ.เหล่าทัพ เท่านั้น
ต้องยอมรับว่า
พล.อ.เปรม ที่แม้จะนิ่งเงียบ แต่ทว่า ก็ให้ความสนใจกับข่าว
คลิปเสียงนี้ไม่น้อย จากที่ได้อ่านข่าว
ก็ทำให้ป๋าเปรมอยากที่จะฟังคลิปด้วยหูตัวเอง
จนถึงขั้นถามนายทหาร
ใกล้ชิดว่า ได้ฟังมั้ย เห็นมั้ย เหมือนกับว่า อยากจะฟังบ้าง แต่ทว่า
ตัวป๋าเปรมเองรู้ดีว่า ไม่ควรฟัง
เพราะการไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ครั้งล่าสุด
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์ขอให้ป๋าพักผ่อนมากๆ อย่าทำให้เกิดความเครียด
เพื่อจะได้อยู่ถึง 100 ปี
อีกทั้งทหารลูกป๋าที่ดูแลใกล้ชิด
ก็ไม่ต้องการนำคลิปเสียงให้ป๋าเปรมฟัง
เพราะจะเป็นการดึงป๋าเปรมเข้ามาในความเครียดมากเกินไป จึงได้แค่สรุปๆ
เนื้อหาให้ฟังเท่านั้น
แต่ป๋าเปรม ไม่ได้ถามว่า คลิปนี้หลุดออกมาได้อย่างไร เพราะป๋านั้นรู้ดีที่สุดว่า "พระสยามเทวาธิราช มีจริง"
แต่
กระนั้น ข่าวการเปลี่ยนแผนกลับประเทศ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับการคัมแบ็กของ
พล.อ.ประวิตร สร้างความหวั่นไหวในกองทัพไม่น้อย โดยเฉพาะจะมีผลต่อการเลือก
ผบ.ทบ.คนใหม่ ที่จะมาแทน พล.อ.ประยุทธ์ ที่จะเกษียณกันยายน 2557
ด้วย
เพราะเวลานี้ บิ๊กโด่ง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสธ.ทบ. สายทหารเสือราชินี
เป็นเต็งหนึ่งก็จริงอยู่ เพราะมีแผงอำนาจ ตท.14 หนุนหลัง ทั้ง บิ๊กแมว
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. น้องรักของ พ.ต.ท.ทักษิณ บิ๊กแป๊ะ
พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกลาโหม ที่ทำงานใกล้ชิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาตลอด
แต่
หาก พล.อ.ประวิตร มาเป็น รมว.กลาโหม หรือแม้แต่ รมช.กลาโหม
ก็ทำให้ความหวังของ บิ๊กบี้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผช.ผบ.ทบ. น้องรัก
ฉายโชนขึ้นมาทันใด
พล.อ.ศิริชัย เป็น ตท.13 ส่วน พล.อ.อุดมเดช เป็น
ตท.14 แต่มีอายุราชการถึงกันยายน 2558 เหมือนกัน แต่ทว่า เส้นทางของ
พล.อ.อุดมเดช นั้นโตมาในสายคอมแมนด์ คุมกำลังรบมาตลอด แตกต่างจาก
พล.อ.ศิริชัย ที่โตมาในฝ่ายอำนวยการ
แม้ พล.อ.อุดมเดช
จะเป็นทหารเสือราชินี ที่เติบโตมาใน ร.21 รอ. กับ พล.อ.ประวิตร
พล.อ.อนุพงษ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ตาม
แต่ก็มีตำนานความขัดแย้งกันมาบ้างในอดีต ทำให้ไม่แนบแน่นกันเท่าที่ควร
แต่
ไม่ว่าใครจะมาเป็น รมช.กลาโหม คนใหม่ หรือว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะทู่ซี้เป็น
รมช.กลาโหม ต่อไปก็ตาม แต่ทว่า โผโยกย้ายครั้งนี้ ทบ. น่าจับตายิ่ง
โอกาสที่ พล.อ.ศิริชัย จะขยับจาก ผช.ผบ.ทบ. ขึ้น รอง ผบ.ทบ. ก็มีสูง
เพราะโดยรุ่นและอาวุโส ที่อาจถือว่า จ่อเป็น ผบ.ทบ. ได้ด้วย
สภาวการณ์
นี้ พล.อ.อุดมเดช จึงแวดล้อมไปด้วยความท้าทาย
เพราะโยกย้ายนี้มีการจับตามองไปที่ บิ๊กต๊อก พล.ท.ไพบูลย์ คุ้มฉายา
แม่ทัพภาคที่ 1 ว่าเขาจะขยับขึ้น 5 เสือ ทบ. ในโยกย้ายนี้เลยหรือไม่
เพราะ
หากเขาขยับขึ้นมาอยู่ในห้าเสือ ทบ. ก็ย่อมหมายถึงโอกาสที่เขาจะมาชิงเก้าอี้
ผบ.ทบ. ในโยกย้ายปลายปีหน้า ด้วยอีกคน เพราะเขามีอายุราชการถึงปี 2558
ด้วยเช่นกัน
แม้จะเสียเปรียบตรงที่เป็น ตท.15 และอ่อนอาวุโสกว่า
เพราะตอนนี้ยังติดยศพลโทอยู่ แต่ทว่า เขาเป็นนายทหารที่เติบโตมาในสาย รสช.
เป็นน้องรักของ บิ๊กตุ๋ย พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี อดีต ผบ.ทบ. แกนนำ จปร.5
ในสายของ บิ๊กสุ พล.อ.สุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ที่เคยมีบุญคุณกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ
อีกทั้งเขายังสนิทสนมกับแกนนำในพรรคไทยรักไทยหลายคน
จนเป็นเหตุให้เขาตกเป็นข่าวลือว่า เคยไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ
ก่อนที่จะได้ขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ในโยกย้ายตุลาคมปีที่แล้ว ตัดหน้า
บิ๊กอู๊ด พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพน้อยที่ 1 เพื่อน ตท.15
จนเจ้าตัวต้องออกมายืนยันว่า "คนอย่างผมไม่เคยกราบเท้าใครเพื่อขอตำแหน่ง"
แต่
ทว่า ในเวลานี้ก็ร่ำลือกันมากในหมู่ทหารสายแตงโมว่า พล.ท.ไพบูลย์
จะขึ้นห้าเสือ ทบ. และลุ้นเป็น ผบ.ทบ.คนใหม่ ซึ่งโชคดีที่ในคลิปฉาว
ไม่มีการพูดถึงชื่อของเขา เพราะยังมีข่าวลือมากมายออกมาเนืองๆ
เรื่องการไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ในต่างแดน
พล.ท.ไพบูลย์
จึงกลายเป็นความหวังของนายทหารสายวงศ์เทวัญ ที่จะมาทวงเก้าอี้ ผบ.ทบ.
กลับคืนจากบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี แต่ทว่า ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่
พล.ท.ไพบูลย์ จะฝ่าด่านอาวุโสขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ. ได้
หรือแม้แต่ขึ้นมาเป็นห้าเสือ ทบ. ในโยกย้ายนี้
แต่มีเสียงชื่นชมจากทหารแตงโมและคนในสายรัฐบาล ว่าเป็น นายทหาร "ตัวเล็ก แต่ใจถึง" ประเภทใจถึง พึ่งได้ เลยทีเดียว
แต่
ในกองทัพภาคที่ 1 ก็รู้กันดีว่าหาก พล.ท.ไพบูลย์ ขยับ พล.ท.วลิต น้องรักของ
พล.อ.ประวิตร และแกนนำบูรพาพยัคฆ์ จะขึ้นเป็นแม่ทัพน้อยที่ 1 แทน
และส่งผลให้ บิ๊กโชย พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 แกนนำ ตท.16
ก็ต้องรอคิว หรืออาจเป็นพลโท แม่ทัพน้อยที่ 1
เสียจังหวะการก้าวขึ้นสู่เก้าอี้ ผบ.ทบ. เพราะเขาจะเกษียณกันยายน 2559 แล้ว
แต่
อย่างน้อย โยกย้ายครั้งนี้ ควรจะต้องมีการกระจายรุ่นในห้าเสือ ทบ.
และการขึ้นครองยศพลเอก ทั้ง ตท.12 ตท.13 ตท.14 ที่คาดว่า พล.อ.ประยุทธ์
คงจะให้ถึงแค่ ตท.15 เท่านั้น เช่น พล.ท.ไพบูลย์ ที่จะขยับจากแม่ทัพภาคที่ 1
ขึ้น พลเอก เสธ.ทบ. แต่ก็ยังต้องสู้กับ บิ๊กโบ้ พล.ท.อักษรา เกิดผล รอง
เสธ.ทบ. ที่ถูกวางตัวไว้เป็น เสธ.ทบ. มารองรับ พล.อ.อุดมเดช เพื่อน ตท.14
ที่จ่อขึ้น ผบ.ทบ. ท่ามกลางการจับตามองว่า อาจผลักดัน บิ๊กติ๊ก พล.ท.ปรีชา
จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 แกนนำ ตท.15 น้องชายแท้ๆ บิ๊กตู่ขึ้นมา
เพื่อจ่อเป็น ผบ.ทบ. ในอนาคต เพราะเกษียณกันยายน 2559
ทั้งๆ
ที่ควรจะถึงคิว ตท.16 ที่จะขึ้นห้าเสือ ทบ. ได้ด้วย แต่เพราะ ตท.12
พล.อ.ประยุทธ์ อายุน้อย อีกทั้งความแรงของ ตท.15 รุ่นของน้องชาย ผบ.ทบ.
จึงทำให้ ตท.16 เสียจังหวะ แต่ก็ยังต้องจับตาแกนนำ ตท.16 ทั้ง บิ๊กอุ๋ย
พล.ท.พอพล มณีรินทร์ ผบ.รร.นายร้อย จปร. ที่เกษียณ 2559
ที่อาจได้ขยับขึ้นพลเอก มารอเข้าไลน์ โดยมีข่าวว่า พล.ต.กัมปนาท
อาจจะขยับไปกินพลโท ที่ ผบ.รร.จปร. แทน
โดยเฉพาะ บิ๊กเจี๊ยบ
พล.ท.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.นสศ. หรือเจี๊ยบเล็ก
ที่ถูกจับตามองว่าจะเป็นความหวังของรุ่นและของทหารรบพิเศษ ที่จะเป็น ผบ.ทบ.
หมวกแดงในอนาคต เลยทีเดียว เพราะเขามีอายุราชการถึงปี 2561
และเป็นที่ยอมรับของทุกสายทุกขั้วใน ทบ.
แต่ไม่ว่า รมว.กลาโหม
จะยังคงเป็นนายกฯ ปู ควบอยู่ หรือเป็น บิ๊กอ๊อด หรือบิ๊กคนไหนมาก็ตามแต่
การจัดโผโยกย้าย จัดทัพ ก็ยังคงอยู่ในมือ พล.อ.ประยุทธ์
แบบที่ใครก็ไม่กล้าแตะ ไม่กล้าล้วง หรือแม้แต่ ขอ เลยด้วยซ้ำ...
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ฝันสุดท้าย เจ้าชายแช่แข็ง
จาก ข่าวทะลุคน ข่าวสด 26
ก.ค. 2556 โฉมหน้าเสนาธิการแช่แข็ง แม่ทัพโค่นระบอบทักษิณ
กะเทาะน้ำแข็งแล้ว พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ เปิดตัว "คณะเสนาธิ การร่วม" แห่ง "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ"
น้ำแข็งที่หมายมาดจะแช่แข็งประเทศไทยไว้ แต่กลับกลายเป็น "กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม" ที่ถูกแช่นิ่งไว้พักหนึ่ง
กระทั่งมีน้ำมาเลี้ยงนั่นแล้ว จึงคืนชีพ
อดีตรองผบ.สส. ระบุว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
สำคัญ "ถูกครอบงำด้วยระบอบทักษิณ"
จึงจัดตั้งกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณขึ้น
อ้าง ภารกิจ 1.เป็นศูนย์กลางการประสานงาน องค์กร กลุ่ม เครือข่าย พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย
2.จัด ตั้งและขยายมวลชนผู้รักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รักประชาธิปไตย หวงแหนแผ่นดิน ให้สามัคคีรวมตัวกันมากขึ้น เป็นมวลมหาประชาชนในทุกจังหวัด
3.จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนในทุกจังหวัด
แล้วประกาศชื่อคณะเสนาธิการ ร่วม พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัฒน์ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี พิเชฐพัฒนโชติ และไทกร พลสุวรรณ
เรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐบาล ขีดเส้นตาย 7 วัน
ถ้าไม่ จะนัดชุมนุมในวันที่ 4 สิงหาคม
"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับเปิดโฉม หน้าเสนาธิการแช่เข็ง
พาดปก "ฝันสุดท้าย เจ้าชายแช่แข็ง"
สิ้นเสียงคณะเสนาธิการร่วม จึงคล้ายกับว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ จะกลายเป็นหมอดูแม่นๆ
จึงคล้ายกับว่า กลุ่มหน้ากากขาว รวมถึงแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน จะอบอุ่นยิ่ง
แต่คำเตือนกันก็ดังมา
โปรดระวังมหกรรมแช่แข็งหมู่ (อีกครั้ง)
กะเทาะน้ำแข็งแล้ว พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ เปิดตัว "คณะเสนาธิ การร่วม" แห่ง "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ"
น้ำแข็งที่หมายมาดจะแช่แข็งประเทศไทยไว้ แต่กลับกลายเป็น "กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม" ที่ถูกแช่นิ่งไว้พักหนึ่ง
กระทั่งมีน้ำมาเลี้ยงนั่นแล้ว จึงคืนชีพ
อดีตรองผบ.สส. ระบุว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
สำคัญ "ถูกครอบงำด้วยระบอบทักษิณ"
จึงจัดตั้งกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณขึ้น
อ้าง ภารกิจ 1.เป็นศูนย์กลางการประสานงาน องค์กร กลุ่ม เครือข่าย พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย
2.จัด ตั้งและขยายมวลชนผู้รักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รักประชาธิปไตย หวงแหนแผ่นดิน ให้สามัคคีรวมตัวกันมากขึ้น เป็นมวลมหาประชาชนในทุกจังหวัด
3.จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนในทุกจังหวัด
แล้วประกาศชื่อคณะเสนาธิการ ร่วม พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัฒน์ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี พิเชฐพัฒนโชติ และไทกร พลสุวรรณ
เรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐบาล ขีดเส้นตาย 7 วัน
ถ้าไม่ จะนัดชุมนุมในวันที่ 4 สิงหาคม
"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับเปิดโฉม หน้าเสนาธิการแช่เข็ง
พาดปก "ฝันสุดท้าย เจ้าชายแช่แข็ง"
สิ้นเสียงคณะเสนาธิการร่วม จึงคล้ายกับว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ จะกลายเป็นหมอดูแม่นๆ
จึงคล้ายกับว่า กลุ่มหน้ากากขาว รวมถึงแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน จะอบอุ่นยิ่ง
แต่คำเตือนกันก็ดังมา
โปรดระวังมหกรรมแช่แข็งหมู่ (อีกครั้ง)
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กุมเหตุ ปัจจัย การเมือง การทหาร ด้านหลัก รอง
คอลัมน์ การเมือง มติชน 27
ก.ค. 2556
ปัญหาการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกองกำลังของขบวนการก่อความไม่สงบในห้วงแห่งเดือนรอมฎอน ทำให้ประเด็นแหลมคม ว่าด้วย "การเมืองนำการทหาร"
หวนกลับมาอีกวาระหนึ่ง
คล้ายกับว่า เมื่อผ่านสงครามกลางเมือง เมื่อมีการประกาศใช้คำสั่ง 66/23 เรื่องการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์
ความเข้าใจในเรื่อง "การเมืองนำการทหาร" จะเป็นเรื่องเล็กจ้อย
นายทหารตั้งแต่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผ่านมาถึง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ล้วนมีความเข้าใจในแนวคิดนี้อย่างถ่องถ้วน
ไล่ระดับมาจนถึง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
แต่เมื่อสัมผัสกับการเคลื่อนไหว "แช่แข็ง" ประเทศไทย ประสานเข้ากับการเคลื่อนไหวเพื่อฉีกหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่
ก็เริ่มสงสัย
เหมือนความสงสัยต่อความรับรู้ทางการเมืองของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เหมือนความสงสัยต่อความรับรู้ทางการเมืองของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เข้าใจ "การเมือง" นำ "การทหาร" จริงหรือ
หากใครได้อ่านหนังสือเรื่อง "กำเนิดและความเปราะบางของเสรีประชาธิปไตย" อันเป็นงานวิจัยของ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จะทำให้รับรู้ถึงพัฒนาการ "การเมือง" ได้ลึกยิ่งขึ้น
รับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การทหาร หนีไม่พ้นไปจากกระบวนการทางเศรษฐกิจ
บทบาทที่ไม่ควรมองข้าม คือ บทบาทของ นโปเลียน โบนาปาร์ต
ผู้คนมักเข้าใจภาพลักษณ์ของนโปเลียนทางด้านนักการทหาร และภาพลักษณ์ของการเป็นจอมเผด็จการ
แต่หารู้ไม่ว่า นโปเลียน เข้าใจบทบาทการเมือง การทหารอย่างแนบแน่น
นโปเลียนอาศัยพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านปืนใหญ่ปรับเข้ากับยุทธวิธีรวมศูนย์การยิงไปยังจุดเปราะบางข้าศึก กำชัยครั้งแล้วครั้งเล่า
กระนั้น การทหารกับการเมืองของนโปเลียนดำเนินไปอย่างเป็นองค์เอกภาพ
นั่นก็คือ อาศัยการทหารไปแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง ขณะเดียวกัน อาศัยการทหารเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม
คำถามอยู่ที่ว่า การเมืองกับการทหารอะไรคือด้านหลัก
ต้องเริ่มต้นจากนิยามของเคลาซวิทซ์ที่ว่า สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง เป็นการเมืองที่หลั่งเลือด จึงจะตอบคำถามระหว่างการเมืองกับการทหารได้ว่าอะไรคือด้านหลัก อะไรคือด้านรอง
แน่นอน ในบางระยะการเมืองอาจเป็นด้านหลัก ในบางระยะการทหารอาจเป็นด้านหลัก
กระนั้น หากมองตามความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ทางการทหารล้วนเป็นการดำเนินไปแห่งกระบวนการทางการเมืองมิใช่หรือ
เพราะว่า สงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด
แม้ว่าขีดความขัดแย้งทางการเมืองมิอาจบริหารจัดการได้โดยวิธีการทางสันติ จำเป็นต้องใช้กำลัง จำเป็นต้องใช้อาวุธ นั่นก็คือ ก้าวเข้าสู่พรมแดนของการเมืองหลั่งเลือด การเมืองที่มีการตั้งปากกระบอกปืนเข้าหากัน
แต่ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ การเมืองอันหลั่งเลือดนั้นก็ยังถือว่าเป็น
พรมแดนของการเมืองอยู่นั่นเอง กระบวน
การทั้งหลั่งเลือด ทั้งไม่หลั่งเลือดจึงยังคงถูกกำกับอยู่ด้วยหลักทางการเมืองอย่างแนบแน่น
การเมืองต่างหากที่เป็นปัจจัยหลักตั้งแต่ต้นจนจบ
เพียงแต่จะยึดกุมอย่างไรจึงจะถือว่าไม่ละเมิดหลักการที่การเมืองนำการทหาร การทหารมีการเมืองเป็นธงกำกับ
หากยึดกุมได้ก็จะรบที่ไหนชนะที่นั่น
ความเป็นเหตุ ความเป็นปัจจัยระหว่างการเมืองกับการทหารจึงดำเนินไปอย่างเป็นองค์เอกภาพ
องค์เอกภาพนั้นในบางห้วงการเมืองอาจเป็นปัจจัยหลัก บางห้วงการทหารอาจเป็นปัจจัยหลัก แต่ที่ซึมซ่านอยู่โดยตลอดคือการไม่ทอดทิ้งธงทางการเมือง
การกุมเหตุ กุมปัจจัย จึงสำคัญอย่างยิ่งยวด
ปัญหาการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกองกำลังของขบวนการก่อความไม่สงบในห้วงแห่งเดือนรอมฎอน ทำให้ประเด็นแหลมคม ว่าด้วย "การเมืองนำการทหาร"
หวนกลับมาอีกวาระหนึ่ง
คล้ายกับว่า เมื่อผ่านสงครามกลางเมือง เมื่อมีการประกาศใช้คำสั่ง 66/23 เรื่องการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์
ความเข้าใจในเรื่อง "การเมืองนำการทหาร" จะเป็นเรื่องเล็กจ้อย
นายทหารตั้งแต่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผ่านมาถึง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ล้วนมีความเข้าใจในแนวคิดนี้อย่างถ่องถ้วน
ไล่ระดับมาจนถึง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
แต่เมื่อสัมผัสกับการเคลื่อนไหว "แช่แข็ง" ประเทศไทย ประสานเข้ากับการเคลื่อนไหวเพื่อฉีกหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่
ก็เริ่มสงสัย
เหมือนความสงสัยต่อความรับรู้ทางการเมืองของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เหมือนความสงสัยต่อความรับรู้ทางการเมืองของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เข้าใจ "การเมือง" นำ "การทหาร" จริงหรือ
หากใครได้อ่านหนังสือเรื่อง "กำเนิดและความเปราะบางของเสรีประชาธิปไตย" อันเป็นงานวิจัยของ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จะทำให้รับรู้ถึงพัฒนาการ "การเมือง" ได้ลึกยิ่งขึ้น
รับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การทหาร หนีไม่พ้นไปจากกระบวนการทางเศรษฐกิจ
บทบาทที่ไม่ควรมองข้าม คือ บทบาทของ นโปเลียน โบนาปาร์ต
ผู้คนมักเข้าใจภาพลักษณ์ของนโปเลียนทางด้านนักการทหาร และภาพลักษณ์ของการเป็นจอมเผด็จการ
แต่หารู้ไม่ว่า นโปเลียน เข้าใจบทบาทการเมือง การทหารอย่างแนบแน่น
นโปเลียนอาศัยพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านปืนใหญ่ปรับเข้ากับยุทธวิธีรวมศูนย์การยิงไปยังจุดเปราะบางข้าศึก กำชัยครั้งแล้วครั้งเล่า
กระนั้น การทหารกับการเมืองของนโปเลียนดำเนินไปอย่างเป็นองค์เอกภาพ
นั่นก็คือ อาศัยการทหารไปแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง ขณะเดียวกัน อาศัยการทหารเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม
คำถามอยู่ที่ว่า การเมืองกับการทหารอะไรคือด้านหลัก
ต้องเริ่มต้นจากนิยามของเคลาซวิทซ์ที่ว่า สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง เป็นการเมืองที่หลั่งเลือด จึงจะตอบคำถามระหว่างการเมืองกับการทหารได้ว่าอะไรคือด้านหลัก อะไรคือด้านรอง
แน่นอน ในบางระยะการเมืองอาจเป็นด้านหลัก ในบางระยะการทหารอาจเป็นด้านหลัก
กระนั้น หากมองตามความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ทางการทหารล้วนเป็นการดำเนินไปแห่งกระบวนการทางการเมืองมิใช่หรือ
เพราะว่า สงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด
แม้ว่าขีดความขัดแย้งทางการเมืองมิอาจบริหารจัดการได้โดยวิธีการทางสันติ จำเป็นต้องใช้กำลัง จำเป็นต้องใช้อาวุธ นั่นก็คือ ก้าวเข้าสู่พรมแดนของการเมืองหลั่งเลือด การเมืองที่มีการตั้งปากกระบอกปืนเข้าหากัน
แต่ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ การเมืองอันหลั่งเลือดนั้นก็ยังถือว่าเป็น
พรมแดนของการเมืองอยู่นั่นเอง กระบวน
การทั้งหลั่งเลือด ทั้งไม่หลั่งเลือดจึงยังคงถูกกำกับอยู่ด้วยหลักทางการเมืองอย่างแนบแน่น
การเมืองต่างหากที่เป็นปัจจัยหลักตั้งแต่ต้นจนจบ
เพียงแต่จะยึดกุมอย่างไรจึงจะถือว่าไม่ละเมิดหลักการที่การเมืองนำการทหาร การทหารมีการเมืองเป็นธงกำกับ
หากยึดกุมได้ก็จะรบที่ไหนชนะที่นั่น
ความเป็นเหตุ ความเป็นปัจจัยระหว่างการเมืองกับการทหารจึงดำเนินไปอย่างเป็นองค์เอกภาพ
องค์เอกภาพนั้นในบางห้วงการเมืองอาจเป็นปัจจัยหลัก บางห้วงการทหารอาจเป็นปัจจัยหลัก แต่ที่ซึมซ่านอยู่โดยตลอดคือการไม่ทอดทิ้งธงทางการเมือง
การกุมเหตุ กุมปัจจัย จึงสำคัญอย่างยิ่งยวด
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เผย"คนไร้ศาสนา"เพิ่มมากขึ้น ครองอันดับ 3 ของโลก"คริสต์"ครองแชมป์คนนับถือมากที่สุด
จาก มติชนออนไลน์
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการจั ยในชื่อ “ภูมิทัศน์ในการนับถือศาสนาของค นทั่ว
โลก” โดย “พิว” (The Pew Forum on Religion & Public Life)
รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี พ.ศ.2553 พบว่า ประชากรโลกที่ระบุว่าตัวเองเป็น คน “ไร้ศาสนา” หรือ “ไม่ผูกพันกับศาสนาใด” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ 3 ในขณะที่ศาสนาอิสลามและฮินดูมีแ นวโน้มว่าคนจะนับถือมากที่สุดใน โลก ส่วนศาสนายิวเป็นศาสนาที่มีแนวโ น้มลดลงมากที่สุด
รายงานวิจัย ระบุว่า ประชากรโลกว่า ร้อยละ 84 หรือประมาณ 6.9 ล้านคน ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือศาสนา ใดศาสนาหนึ่ง สำหรับศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่ สุดคือศาสนาคริสต์ โดยมีประชากรผู้นับถือกระจายอยู่ ในทุกภูมิภาคของโลก
นายคอนราด แฮ็กเกตต์ นักวิเคราะห์สถิติประชากร กล่าวว่า จากการสำรวจสำมะโนประชากรตัวอย่ างพบ ว่า ค่ากลางอายุของผู้ที่ระบุตัวเอง ว่าเป็นมุสลิมอยู่ที่อายุ 23 ปี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปร ะชากรทั้งโลกที่อายุ 28 ปี จากข้อมูลจึงมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ นับถือศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นในอ นาคต ขณะที่ศาสนายูดาย ค่ากลางอายุของผู้ที่นับถือศาสน านี้อยู่ที่ 36 ปี ขณะที่มีผู้นับถือศาสนานี้อยู่แ ค่เพียงแค่ 14 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 จึงมีแนวโน้มว่าจะมีผู้นับถือศา สนานี้น้อยลง สำหรับ 7 อันดับ กลุ่มศาสนาความเชื่อที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
อันดับ 2 ศาสนาอิสลาม สำหรับประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกข ณะนี้มีอยู่ประมาณ 1.6 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งคิดเป็นศาสนาอิสลามนิกายซุน นีย์ถึงร้อยละ 87 ถึง 90 ส่วนมุสลิมชีอะฮ์ คิดเป็นร้อยละ 10 ถึง 13
อันดับ 3 สำหรับผู้ที่ระบุว่าไร้ศาสนา หมายถึง ผู้ที่แสดงตนว่าไม่ได้นับถือศาส นาใด ๆ เลย เช่น ผู้ที่ปฏิเสธการมีพระเจ้า หรือไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริ ง หรือผู้ที่มีศรัทธาในจิตวิญญาณซึ่ งไม่
ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใด มีจำนวน 1.1 พันล้านคนทั่วโลก และกว่า 700
ล้านคนในจำนวนนี้ หรือคิดเป็นร้อยละ 62 อาศัยอยู่ในประเทศจีน
ซึ่งจำนวนดังกล่าวนี้คิดเป็น 52.2 เปอร์เซ็นต์ของชาวจีนทั้งประเทศ
รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น โดยมากกว่า 72 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 57
ของประชากรทั่วโลก อันดับ 3 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 51 ล้านคน คิดเป็นร้อละ
16.4 ของชาวอเมริกันทั้งประเทศ
อันดับ 4 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้ นับถือกระจุกอยู่เพียงในอินเดี ยมากที่สุดในโลกถึงร้อยละ 94 ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูมีอยู่ มากในประเทศอินเดีย เนปาล และบังคลาเทศ
อันดับ 5 ศาสนาพุทธ ครึ่งหนึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอ าศัยอยู่ในประเทศจีน รองลงมาคือประเทศไทย ร้อยละ 13.2 และอันดับ 3 คือที่ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.4%
อันดับ 6 กลุ่มศาสนาเล็ก ๆ เช่น บาไฮ ลัทธิเต๋า เจนไน ชินโต ซิกข์ เทนริเคียว วิคคา และโซโรอัสเตอร์ มีผู้นับถือรวมกันประมาณเกือบร้ อละ 1 หรือ 58 ล้านคนทั่วโลก ส่วนมากอยู่ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิ ฟิค
อันดับ 7 กลุ่มผู้ที่นับถือธรรมชาติ กราบไหว้ภูติผีและเทพเจ้าอื่น ๆ ตาม ความเชื่อของบรรพบุรุษ มีประมาณ 405 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งโลก โดยส่วนใหญ่พบในทวีปแอฟริกา ประเทศจีน หรือชาวอินเดียนแดง และอะบอริจิ้น
อันดับ 8 ศาสนายิว มีผู้นับถือศาสนานี้ในป ระเทศอิสราเอล โดยคิดเป็นร้อยละ 40.5 ของชาวยิวทั่วโลก ส่วนชาวยิวในประเทศสหรัฐฯ มีอยู่ถึงร้อยละ 41.1
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการจั
รายงานวิจัย ระบุว่า ประชากรโลกว่า ร้อยละ 84 หรือประมาณ 6.9 ล้านคน ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือศาสนา
นายคอนราด แฮ็กเกตต์ นักวิเคราะห์สถิติประชากร กล่าวว่า จากการสำรวจสำมะโนประชากรตัวอย่
อันดับ 1 ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถืออยู่ทั่วโลกสูงถึง 2.2 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.5 ของประชากรโลก แบ่งเป็ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคา ทอ
ลิกประมาณร้อยละ 50 นิกายโปรแตสแตนท์ นิกายแองกลิคัน
และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์ รวมกันร้อยละ 37 ส่วนนิกายออร์โธดอกซ์
รวมกันร้อยละ 12
อันดับ 2 ศาสนาอิสลาม สำหรับประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกข
อันดับ 3 สำหรับผู้ที่ระบุว่าไร้ศาสนา หมายถึง ผู้ที่แสดงตนว่าไม่ได้นับถือศาส
อันดับ 4 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้
อันดับ 5 ศาสนาพุทธ ครึ่งหนึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอ
อันดับ 6 กลุ่มศาสนาเล็ก ๆ เช่น บาไฮ ลัทธิเต๋า เจนไน ชินโต ซิกข์ เทนริเคียว วิคคา และโซโรอัสเตอร์ มีผู้นับถือรวมกันประมาณเกือบร้
อันดับ 7 กลุ่มผู้ที่นับถือธรรมชาติ กราบไหว้ภูติผีและเทพเจ้าอื่น ๆ ตาม ความเชื่อของบรรพบุรุษ มีประมาณ 405 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งโลก โดยส่วนใหญ่พบในทวีปแอฟริกา ประเทศจีน หรือชาวอินเดียนแดง และอะบอริจิ้น
อันดับ 8 ศาสนายิว มีผู้นับถือศาสนานี้ในป
การเมือง พลิกผัน ขบวนการ หน้ากากขาว เดินหน้า แช่แข็ง
ข่าวสดออนไลน์
หลังการชุมนุมของ หน้ากากขาว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม ผ่านพ้นไป ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่ สีขาว บนหน้ากากจะยังคงความขลังอยู่ได้เหมือนเดิม
เหตุเนื่องจากการจลาจลย่อยก่อนการสลาย
กลุ่มหน้ากากวี ฟอร์ ไทยแลนด์ อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เพราะไม่ยอมเคลื่อนจากบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์
แต่อย่าลืมว่าส่วนใหญ่ทยอยไปยังหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกทม.
เป็นการทยอยไปโดยมีรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงของกลุ่มธรรมยาตรานำหน้าไปและไม่รับฟังเสียงทัดทานจากกลุ่มหน้ากากวีฟอร์ ไทยแลนด์
เป็นไปตามเสียงเพรียกของ หนุมานอาสา
กลุ่ม หนุมานอาสา และธรรมยาตรานี้เองที่เพียรอย่างเต็มเรี่ยวแรงให้ หน้ากากขาว ดำเนินการในลักษณะแม้ไม่มี ผู้นำ แต่ต้องมี การนำ ในการเคลื่อนไหว
นี่คือการช่วงชิง การนำ
ตามเจตนารมณ์เดิมของ หน้ากากขาว อันโหมประโคมผ่านนักทฤษฎีบนเวทีของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
นี่คือ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นไปเอง
นี่คือ การเคลื่อนไหวโดย มวลชน ที่ไม่อาจทนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็น หุ่นเชิด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ คิด เพื่อไทย ทำ
ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนหยาดฝนย้อยมาสู่ดิน ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่ เหมือนกับการก่อรูปขึ้นของขบวนการนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ในเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 กระทั่งสาดซัดรัฐบาลเผด็จการ ถนอม-ประภาส ให้พังครืน
เมื่อต้อง คลื่น มวลมหาประชาชน
ในเบื้องต้น การเคลื่อนไหว หน้ากากขาว ได้รับการสำนองตอบจากพรรคการเมืองบางพรรคอย่างอบอุ่น
รูปธรรมสัมผัสได้จากกระแสใน ต่างจังหวัด
ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นที่สงขลา ไม่ว่าจะเป็นที่ตาก ไม่ว่าจะเป็นที่พิษณุโลก ไม่ว่าจะเป็นที่จันทบุรี แม้กระทั่งอุบลราชธานี และอุดรธานี
เป็นการเสกปั้นโดย หัวคะแนน ของบางพรรคการเมือง
แต่แล้วการเบียดแทรกเข้ามาของกลุ่ม หนุมานอาสา การเบียดแทรกเข้ามาของ กลุ่มธรรมยาตรา นำไปสู่การเปลี่ยนสีแปรธาตุของ หน้ากากขาว
ยากจะขับเคลื่อนอย่างเป็น ธรรมชาติ
จากพื้นฐานนี้เองจึงได้ปรากฏขึ้นของ กองทัพประชาชน โค่นล้มระบอบทักษิณ อย่างอัตโนมัติ
เป็นการเชื่อมต่อบทบาท กองทัพประชาชน มาจาก หน้ากากขาว ของกายฟอว์กส์ เป็นการเสกปั้นชุบชีวิตให้กับ องค์กรพิทักษ์สยาม วิญญาณแห่งสนามม้านางเลิ้ง
เดินหน้า แช่แข็ง ประเทศให้จงได้
หลังการชุมนุมของ หน้ากากขาว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม ผ่านพ้นไป ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่ สีขาว บนหน้ากากจะยังคงความขลังอยู่ได้เหมือนเดิม
เหตุเนื่องจากการจลาจลย่อยก่อนการสลาย
กลุ่มหน้ากากวี ฟอร์ ไทยแลนด์ อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เพราะไม่ยอมเคลื่อนจากบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์
แต่อย่าลืมว่าส่วนใหญ่ทยอยไปยังหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกทม.
เป็นการทยอยไปโดยมีรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงของกลุ่มธรรมยาตรานำหน้าไปและไม่รับฟังเสียงทัดทานจากกลุ่มหน้ากากวีฟอร์ ไทยแลนด์
เป็นไปตามเสียงเพรียกของ หนุมานอาสา
กลุ่ม หนุมานอาสา และธรรมยาตรานี้เองที่เพียรอย่างเต็มเรี่ยวแรงให้ หน้ากากขาว ดำเนินการในลักษณะแม้ไม่มี ผู้นำ แต่ต้องมี การนำ ในการเคลื่อนไหว
นี่คือการช่วงชิง การนำ
ตามเจตนารมณ์เดิมของ หน้ากากขาว อันโหมประโคมผ่านนักทฤษฎีบนเวทีของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
นี่คือ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นไปเอง
นี่คือ การเคลื่อนไหวโดย มวลชน ที่ไม่อาจทนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็น หุ่นเชิด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ คิด เพื่อไทย ทำ
ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนหยาดฝนย้อยมาสู่ดิน ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่ เหมือนกับการก่อรูปขึ้นของขบวนการนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ในเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 กระทั่งสาดซัดรัฐบาลเผด็จการ ถนอม-ประภาส ให้พังครืน
เมื่อต้อง คลื่น มวลมหาประชาชน
ในเบื้องต้น การเคลื่อนไหว หน้ากากขาว ได้รับการสำนองตอบจากพรรคการเมืองบางพรรคอย่างอบอุ่น
รูปธรรมสัมผัสได้จากกระแสใน ต่างจังหวัด
ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นที่สงขลา ไม่ว่าจะเป็นที่ตาก ไม่ว่าจะเป็นที่พิษณุโลก ไม่ว่าจะเป็นที่จันทบุรี แม้กระทั่งอุบลราชธานี และอุดรธานี
เป็นการเสกปั้นโดย หัวคะแนน ของบางพรรคการเมือง
แต่แล้วการเบียดแทรกเข้ามาของกลุ่ม หนุมานอาสา การเบียดแทรกเข้ามาของ กลุ่มธรรมยาตรา นำไปสู่การเปลี่ยนสีแปรธาตุของ หน้ากากขาว
ยากจะขับเคลื่อนอย่างเป็น ธรรมชาติ
จากพื้นฐานนี้เองจึงได้ปรากฏขึ้นของ กองทัพประชาชน โค่นล้มระบอบทักษิณ อย่างอัตโนมัติ
เป็นการเชื่อมต่อบทบาท กองทัพประชาชน มาจาก หน้ากากขาว ของกายฟอว์กส์ เป็นการเสกปั้นชุบชีวิตให้กับ องค์กรพิทักษ์สยาม วิญญาณแห่งสนามม้านางเลิ้ง
เดินหน้า แช่แข็ง ประเทศให้จงได้
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กลับมาแล้ว การเมืองเรื่องข้าว ชาวนา และอคติเมือง
โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
ท่ามกลาง ดราม่าเรื่องข้าว ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ นับเนื่องมาตั้งแต่เรื่องของข้อถกเถียงจากเรื่องจำนำข้าว มาจนถึง ข้าวเน่า-หนูตาย-แก๊งล้มข้าว-และการรมยาในข้าวนั้น ผมกลับรู้สึกดีใจที่สังคมนี้ให้ความสนใจกับเรื่องของข้าวและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนหนึ่งของความดีใจก็เพราะว่า เรื่องข้าวและชาวนาจะได้กลายเป็นเรื่องที่กลับมาเป็นที่สนใจมากขึ้น จากเดิมซึ่งขาดหายไปนานมากนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศนี้ในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งที่การศึกษาและการเมืองของเรื่องชนบท ข้าว และชาวนา นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมไทยนับจากอดีตเป็นต้นมา
ในอดีตนั้นเรื่องราวของเศรษฐกิจการเมืองเรื่องชาวนานั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของการเมืองและรัฐเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการพูดถึง "ขบวนการชาวนา" ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช หรือการเปลี่ยนแปลงประเทศในโลกที่สามไปสู่สังคมนิยม
อย่างน้อยในสังคมไทยเองนั้น เรื่องราวของข้าว ชาวนา และ การผูกโครงสร้างอำนาจกับนา นั้นก็มีให้รับทราบอยู่ทั่วไป ทั้งในชื่อของอาณาจักรอย่าง ล้านนา และระบบเหมืองฝายต่างๆ หรือกระทั่งระบบที่เรียกว่า ศักดินา ที่ผูกพันอำนาจกับเรื่องราวของที่ดิน การปลูกข้าว และการควบคุมกำลังคนรวมทั้งระบบการจัดสรรอำนาจต่างๆ (แม้จะมีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่าตกลงเรามีที่ดินเยอะขนาดนั้นจริงหรือ? แต่อย่างน้อยการเรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้าแผ่นดิน นั้นก็เกี่ยวข้องกับสังคมเกษตรกรรมในแบบที่อิงกับการปลูกข้าวเสมอ ยิ่งสมัยเดิมก็ชัดเจนอยู่ว่าข้าวเป็นสิ่งที่ห้ามส่งออกก่อนยุคสนธิสัญญาบาวริ่งอีกต่างหาก)
นอกจากนี้แล้วในยุคอดีตนั้นจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยและรัฐ-สังคมไทยนั้นเกี่ยวพันกับการขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับข้าวและชาวนา เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ดังที่งานวิชาการอย่างงานเศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯของ อาจารย์ผาสุก และอาจารย์คริส เบเกอร์ ชี้ให้เห็นพลังขับเคลื่อนสำคัญนอกเหนือจากรัฐ/กษัตริย์/ขุนนางเอง ก็คือ การ สร้าง และขับเคลื่อนพลังชาวนาในชนบท และ พลังกรรมกร (จากจีนอพยพ) ในเมือง ที่ทำให้พลวัตรของเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทย
เห็นได้ชัดจากปลดปล่อยพลังในชนบทจากโครงสร้างศักดินา และระบบโครงสร้างคูคลองสมัยใหม่ เพื่อเสริมกำลังการผลิตในเรื่องข้าว และการจัดระบบคนจีนอพยพที่ขับเคลื่อนแรงงานในเมือง อันเป็นการก่อร่างสร้างประเทศที่สำคัญก่อนที่จะเป็นเศรษฐกิจการเมืองสมัยใหม่จนถึงวันนี้
หรืออย่างสิ่งที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งก็คือ เราจะเห็นถึงจุดเปลี่ยนแปลงสังคมสำคัญจากพลังของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าว มาตั้งแต่อดีต นับตั้งแต่การสำรวจชนบทของไทยก่อนจะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 หรือจำนวนฎีกาที่เพิ่มขึ้นของชาวนาต่อองค์พระปกเกล้าฯ และกระทั่งข้อกล่าวหาของคณะราษฎรในประเด็นของ การทำนาบนหลังคน ในแถลงการณ์คณะราษฎรฉบับที่หนึ่ง
มิพักต้องพูดถึงโครงการจัดการจำกัดการถือครองที่ดินที่เผชิญการต่อต้านอย่างหนักในเค้าโครงเศรษฐกิจฯของนายปรีดี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
นอกจากนั้นเรายังต้องตั้งหลักกับเรื่องสำคัญอีกประการกนึ่งก็คือ การดำรงอยู่ของรัฐและเศรษฐกิจของไทยในอดีตนั้นจะต้องอยู่ให้ได้ภายใต้การจัดยึดครองจิตใจของชาวนาเป็นที่สำคัญ ดังที่เห็นจากการขับเคลื่อนขบวนการคอมมิวนิสต์เองนั้น หัวใจสำคัญของการต่อสู้ในแบบป่าล้อมเมือง และการต่อสู้ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากจีน และสงครามปลดแอกทั่วโลกในประเทศโลกที่สาม รวมทั้งไทยด้วยก็คือ การยึดกุมจิตใจของชาวนา และการทำความเข้าใจโครงสร้างความเชื่อมโยงของชาวนากับเศรษฐกิจโลก
นับเนื่องมาตั้งแต่ยุคที่เพลง เปิบข้าว ของจิตร ภูมิศักดิ์ ร้องกันอย่างติดปากในขบวนการนักศึกษา หรือในยุคที่สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย นั้นมีอิทธิพลสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามประสาน ร่วมกับขบวนการนักศึกษา และ กรรมกร
อย่างไรก็ตาม ความสนใจที่เรามีต่อเรื่องของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวนั้นดูจะลดลงไป อย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อสักยี่สิบกว่าปีก่อน อย่างน้อยนับเนื่องมาจากเมื่อสังคมไทยเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่เกิดการพัฒนาชนบทอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการพัฒนามากมายในชนบท และการส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (ผมเคยอภิปรายเรื่องเหล่านี้ไว้ในบทความปริทัศน์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองในการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตร และขบวนการชาวนาในสังคมไทยปัจจุบัน : ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์ ในวารสารฟ้าเดียวกันฉบับแรกเมื่อปี 2546)
ยิ่งเมื่อการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไป มาจนเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าธนาธิปไตย และนับเนื่องมาจนถึงการปฏิรูปการเมือง เราจะเห็นว่าจุดสนใจของการเมืองไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และทำให้เห็นตัวแสดงใหม่ๆในการเมืองไทย อย่างน้อยในสามด้าน คือ ชนชั้นกลางในเมือง และ ชาวบ้านในชนบท โดยที่ในเรื่องชาวบ้านในชนบทนั้น เกิดการสร้างภาพที่น่าสนใจออกมาเป็นสองด้าน
หนึ่งคือ กลุ่มคนที่ได้รับความสนใจอย่างมากผ่านวาทกรรม ชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ และโครงการพัฒนา ที่กลายเป็นข้ออ้างและกำลังขับเคลื่อนใน การเมืองภาคประชาชน และ การเมืองแบบประชาสังคม สอดประสานกับพลังก้าวหน้า (ใหม่) ของสังคมอาทิ เอ็นจีโอ และขบวนการต้านโลกาภิวัฒน์ต่างๆ รวมทั้งสมัชชาคนจน
กับกลุ่มคนที่มีจำนวนมาก แต่เหมือนกับถูกละเลยทางทฤษฎีมาเป็นเวลานาน นั่นคือ ชาวบ้านปกติ หรือชาวนาเดิมนั่นแหละครับ โดยคนเหล่านั้นถูกมองว่าได้รับประโยชน์จากโครงสร้างการเมืองอุปถัมภ์ ที่แปลงตัวเองมาสู่ระบบเลือกตั้ง และระบบสนับสนุนจากโครงสร้างของรัฐที่หมกมุ่นกับการพัฒนามาโดยตลอด
พวกหลังนี่แหละที่เมื่อเกิดการพรากอำนาจของเขาไปหลังจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 49 จึง กลายเป็นไพร่ ในวาทกรรมใหม่ที่นักวิชาการจำนวยหนึ่งเกิดอาการตื่นตาตื่นใจจนถึงกับทำวิจัยกันอย่างอึกทึกครึกโครมในช่วงที่ผ่านมา ว่าคนเสื้อแดงพวกนี้เป็นใคร มาจากไหนกันแน่
ถ้าอภิปรายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไปอีกสักหน่อย ก็จะพบว่า ชาวบ้านที่ดูจะอยู่ภายใต้ระบบการเมืองประชาธิปไตยเลือกตั้ง และโลกาภิวัตน์ที่พอจะต่อรองได้ผ่านการต่อรองกับกลไกการเมือง ที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบาย เอาใจชาวบ้าน นั้นดูจะเป็นที่รังเกียจของพวก การเมืองใหม่ มาโดยตลอด แต่อย่างน้อยเมื่อระบบประชาธิปไตยเลือกตั้ง และทุนนิยมเสรีโลกาภิวัตน์ ดำเนินต่อไป การศึกษาเรื่องการเศรษฐกิจการเมืองในชนบทจึงไม่ค่อยเป็นเรื่องน่าสนใจมากไปกว่า การศึกษาเรื่องของการซื้อเสียงที่ซับซ้อน และระบบเจ้าพ่อที่แผ่ขยายอิทธิพลไปทั่ว
จนกระทั่งเมื่อการต่อต้านการรัฐประหารมีมากขึ้น และการเมืองเสื้อแดงขยายตัวนั่นแหละครับ การพยายามจะลดทอนอำนาจของชาวบ้านกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในขบวนของประชาสังคมจึงมีมากขึ้น และดูเหมือนว่าการเมืองบนท้องถนนในแบบที่ต่อต้านการรัฐประหารจะถูกลดทอนคุณค่าลง ทั้งที่การเมืองแบบนี้กลายเป็นพื้นที่และกิจกรรมการเมืองของคนตัวเล็กตัวน้อยที่มีจำนวนมาก ซึ่งถูกกันจากระบบประชาธิปไตยเลือกตั้งที่ถูกพรากไปหมาดๆ และตกขบวนประชาธิปไตยอุดมคติแบบประชาสังคมที่ได้ดิบได้ดีกับการรัฐประหารและกระแสปฏิรูป (สิ่งนี้คือ สังคมของการเมือง (โดยแท้) political society ซึ่ง Chaterjee ในงาน Politics of the Governed วิจารณ์พวกสำนักคิดประชาสังคม (civil society) ไว้นานแล้ว และผมได้นำมาเป็นแรงบันดาลใจในงาน การเมืองของไพร่ ตั้งแต่ปี 2550)
และหลังจากการ กระชับพื้นที่ ในปี 2553 เราก็จะพบกับการส่งอำนาจต่อให้กับคณะกรรมการปฏิรูปต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการเมืองอุปถัมภ์และเลือกตั้งที่เป็นอยู่ รวมทั้งความเฟื่องฟูของขบวนการ สินค้าศีลธรรม ต่างๆท่ามกลางกระแสการต่อต้าน ทุน(นิยม)สามานย์ ในรูปแบบต่างๆ
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สิ่งที่กลายเป็นสนามการต่อสู้สำคัญเรื่องของเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวและชาวนานั้น ก็มาเป็นเรื่องของการจำนำข้าว และกระแสข้าวเน่า ซึ่งจุดสำคัญอยู่ที่ข้อกล่าวหาถึงความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายที่ทำให้เกิดการขาดทุน เกิดการซื้อเสียงทางนโยบาย เกิดการคอร์รัปชั่น และการไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน (อาทิจัดเก็บไม่ดีและรมยาเกินขนาด)
จากการรบรอบที่หนึ่งที่อิงกับเรื่องนโยบายราคา ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังมีการตรึงราคาจำนำข้าวเอาไว้ได้ที่ราคาเดิมไปอีกระยะหนึ่ง เพราะความเป็น ชาวนา นั้นทรงพลังเกินกว่าที่จะ ละเลย ทางนโยบาย และการเมืองในท้ายที่สุด (แม้ว่าการเมืองของชาวนาจะหายไปนานแล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้มีพลวัตรสูง เพราะกระแสการ กลับไปเป็นชาวนา (อีกครั้ง) นั้นมีอยู่มาก และจากความเข้าใจจริงที่ว่า ชาวนา นั้นเป็นเพียงบทบาทหนึ่งของผู้คนในทางเศรษฐกิจ ที่ซับซ้อนยิ่งในวันนี้ เพราะในแต่ละครัวเรือนนั้นมีรายได้ที่มามากกว่าหนึ่งทาง หรือมากกว่าจากการเป็นชาวนาเท่านั้น ดังนั้น เราจึงตอบไม่ได้ว่าชาวนาในวันนี้เป็นชาวนาจากอดีต หรือเป็นชาวนาที่แท้ แต่เราตอบได้ว่าชาวนาในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของชนบทที่มีพลวัตรสูงต่างหาก)
และการรบรอบที่สองนั้นเปลี่ยนจากเรื่องของการต่อสู้กับผู้ผลิต หรือชาวนามาสู่เรื่องของการโจมตีรัฐบาลในฐานะผู้บริโภคในกรณีข้าวเน่า ซึ่งในทางหนึ่งนั้นเหมือนกับจะทรงพลังและเห็นภาพได้ชัดกว่า และสื่อสารได้ง่ายกว่า แต่สิ่งที่ท้าทายมากขึ้นก็คือ แม้ว่างานนี้จะสงบศึกกับ (การเมืองแบบ) ชาวนาที่มีพลังและปริมาณมหาศาล เพราะถูกปลุกขึ้นมาทั้งจากนโยบายเอง และจากอคติเมือง (urban bias) แล้ว แต่สิ่งที่จะต้องเจอก็คือการลากเอาบริษัทข้าวต่างๆเข้ามาเล่นเกมฟ้องร้องทางกฎหมายโดยตรงเข้าด้วย และยังโยกคลอนสายสัมพันธ์ที่กระชับแน่นของชาวนาและรัฐบาลไม่ได้
ยิ่งในวันนี้แม้ว่าการเมืองของชาวนา จะไม่ได้ออกมาในรูปแบบของ ขบวนการชาวนา อีกต่อไป จนทำให้เราอาจลืมไปว่าการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของขบวนการเท่านั้น แต่เราจะพบว่า ความเป็นชาวนา อาจไม่ได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากการทำความเข้าใจง่ายๆ เชิงปริมาณว่ามีคนทำนามากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่นๆ แต่อาจจะต้องทำความเข้าใจถึงความเท่าทวีคูณทางอัตลักษณ์ (multiple identities) ของความเป็นชาวนา/ชนบท/ไพร่ ที่กระจายไปในคนจำนวนมากที่เชื่อมโยงตัวเองเข้าด้วยกันทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในวันนี้
และนั่นคือสิ่งที่ตอกย้ำว่า ในท้ายที่สุด อีกสิ่งหนึ่งที่คนที่เรียนเรื่องเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวและชาวนาเขาศึกษากันมานาน แต่มักไม่ค่อยพูดก็คือเรื่องของ อคติเมือง ที่ต้องการให้สินค้าเกษตรนั้นราคาถูก และการเมืองของชาวนานั้นไร้พลัง นั้นเอาเข้าจริงอาจจะอ่อนแรงลงจากการถูกท้าท้าย เพราะไปท้าทายและไปร่วมปลุกพลังของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวขึ้นมาอีกครั้ง นั่นแหละครับ
ท่ามกลาง ดราม่าเรื่องข้าว ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ นับเนื่องมาตั้งแต่เรื่องของข้อถกเถียงจากเรื่องจำนำข้าว มาจนถึง ข้าวเน่า-หนูตาย-แก๊งล้มข้าว-และการรมยาในข้าวนั้น ผมกลับรู้สึกดีใจที่สังคมนี้ให้ความสนใจกับเรื่องของข้าวและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนหนึ่งของความดีใจก็เพราะว่า เรื่องข้าวและชาวนาจะได้กลายเป็นเรื่องที่กลับมาเป็นที่สนใจมากขึ้น จากเดิมซึ่งขาดหายไปนานมากนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศนี้ในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งที่การศึกษาและการเมืองของเรื่องชนบท ข้าว และชาวนา นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมไทยนับจากอดีตเป็นต้นมา
ในอดีตนั้นเรื่องราวของเศรษฐกิจการเมืองเรื่องชาวนานั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของการเมืองและรัฐเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการพูดถึง "ขบวนการชาวนา" ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช หรือการเปลี่ยนแปลงประเทศในโลกที่สามไปสู่สังคมนิยม
อย่างน้อยในสังคมไทยเองนั้น เรื่องราวของข้าว ชาวนา และ การผูกโครงสร้างอำนาจกับนา นั้นก็มีให้รับทราบอยู่ทั่วไป ทั้งในชื่อของอาณาจักรอย่าง ล้านนา และระบบเหมืองฝายต่างๆ หรือกระทั่งระบบที่เรียกว่า ศักดินา ที่ผูกพันอำนาจกับเรื่องราวของที่ดิน การปลูกข้าว และการควบคุมกำลังคนรวมทั้งระบบการจัดสรรอำนาจต่างๆ (แม้จะมีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่าตกลงเรามีที่ดินเยอะขนาดนั้นจริงหรือ? แต่อย่างน้อยการเรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้าแผ่นดิน นั้นก็เกี่ยวข้องกับสังคมเกษตรกรรมในแบบที่อิงกับการปลูกข้าวเสมอ ยิ่งสมัยเดิมก็ชัดเจนอยู่ว่าข้าวเป็นสิ่งที่ห้ามส่งออกก่อนยุคสนธิสัญญาบาวริ่งอีกต่างหาก)
นอกจากนี้แล้วในยุคอดีตนั้นจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยและรัฐ-สังคมไทยนั้นเกี่ยวพันกับการขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับข้าวและชาวนา เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ดังที่งานวิชาการอย่างงานเศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯของ อาจารย์ผาสุก และอาจารย์คริส เบเกอร์ ชี้ให้เห็นพลังขับเคลื่อนสำคัญนอกเหนือจากรัฐ/กษัตริย์/ขุนนางเอง ก็คือ การ สร้าง และขับเคลื่อนพลังชาวนาในชนบท และ พลังกรรมกร (จากจีนอพยพ) ในเมือง ที่ทำให้พลวัตรของเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทย
เห็นได้ชัดจากปลดปล่อยพลังในชนบทจากโครงสร้างศักดินา และระบบโครงสร้างคูคลองสมัยใหม่ เพื่อเสริมกำลังการผลิตในเรื่องข้าว และการจัดระบบคนจีนอพยพที่ขับเคลื่อนแรงงานในเมือง อันเป็นการก่อร่างสร้างประเทศที่สำคัญก่อนที่จะเป็นเศรษฐกิจการเมืองสมัยใหม่จนถึงวันนี้
หรืออย่างสิ่งที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งก็คือ เราจะเห็นถึงจุดเปลี่ยนแปลงสังคมสำคัญจากพลังของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าว มาตั้งแต่อดีต นับตั้งแต่การสำรวจชนบทของไทยก่อนจะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 หรือจำนวนฎีกาที่เพิ่มขึ้นของชาวนาต่อองค์พระปกเกล้าฯ และกระทั่งข้อกล่าวหาของคณะราษฎรในประเด็นของ การทำนาบนหลังคน ในแถลงการณ์คณะราษฎรฉบับที่หนึ่ง
มิพักต้องพูดถึงโครงการจัดการจำกัดการถือครองที่ดินที่เผชิญการต่อต้านอย่างหนักในเค้าโครงเศรษฐกิจฯของนายปรีดี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
นอกจากนั้นเรายังต้องตั้งหลักกับเรื่องสำคัญอีกประการกนึ่งก็คือ การดำรงอยู่ของรัฐและเศรษฐกิจของไทยในอดีตนั้นจะต้องอยู่ให้ได้ภายใต้การจัดยึดครองจิตใจของชาวนาเป็นที่สำคัญ ดังที่เห็นจากการขับเคลื่อนขบวนการคอมมิวนิสต์เองนั้น หัวใจสำคัญของการต่อสู้ในแบบป่าล้อมเมือง และการต่อสู้ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากจีน และสงครามปลดแอกทั่วโลกในประเทศโลกที่สาม รวมทั้งไทยด้วยก็คือ การยึดกุมจิตใจของชาวนา และการทำความเข้าใจโครงสร้างความเชื่อมโยงของชาวนากับเศรษฐกิจโลก
นับเนื่องมาตั้งแต่ยุคที่เพลง เปิบข้าว ของจิตร ภูมิศักดิ์ ร้องกันอย่างติดปากในขบวนการนักศึกษา หรือในยุคที่สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย นั้นมีอิทธิพลสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามประสาน ร่วมกับขบวนการนักศึกษา และ กรรมกร
อย่างไรก็ตาม ความสนใจที่เรามีต่อเรื่องของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวนั้นดูจะลดลงไป อย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อสักยี่สิบกว่าปีก่อน อย่างน้อยนับเนื่องมาจากเมื่อสังคมไทยเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่เกิดการพัฒนาชนบทอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการพัฒนามากมายในชนบท และการส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (ผมเคยอภิปรายเรื่องเหล่านี้ไว้ในบทความปริทัศน์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองในการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตร และขบวนการชาวนาในสังคมไทยปัจจุบัน : ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์ ในวารสารฟ้าเดียวกันฉบับแรกเมื่อปี 2546)
ยิ่งเมื่อการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไป มาจนเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าธนาธิปไตย และนับเนื่องมาจนถึงการปฏิรูปการเมือง เราจะเห็นว่าจุดสนใจของการเมืองไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และทำให้เห็นตัวแสดงใหม่ๆในการเมืองไทย อย่างน้อยในสามด้าน คือ ชนชั้นกลางในเมือง และ ชาวบ้านในชนบท โดยที่ในเรื่องชาวบ้านในชนบทนั้น เกิดการสร้างภาพที่น่าสนใจออกมาเป็นสองด้าน
หนึ่งคือ กลุ่มคนที่ได้รับความสนใจอย่างมากผ่านวาทกรรม ชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ และโครงการพัฒนา ที่กลายเป็นข้ออ้างและกำลังขับเคลื่อนใน การเมืองภาคประชาชน และ การเมืองแบบประชาสังคม สอดประสานกับพลังก้าวหน้า (ใหม่) ของสังคมอาทิ เอ็นจีโอ และขบวนการต้านโลกาภิวัฒน์ต่างๆ รวมทั้งสมัชชาคนจน
กับกลุ่มคนที่มีจำนวนมาก แต่เหมือนกับถูกละเลยทางทฤษฎีมาเป็นเวลานาน นั่นคือ ชาวบ้านปกติ หรือชาวนาเดิมนั่นแหละครับ โดยคนเหล่านั้นถูกมองว่าได้รับประโยชน์จากโครงสร้างการเมืองอุปถัมภ์ ที่แปลงตัวเองมาสู่ระบบเลือกตั้ง และระบบสนับสนุนจากโครงสร้างของรัฐที่หมกมุ่นกับการพัฒนามาโดยตลอด
พวกหลังนี่แหละที่เมื่อเกิดการพรากอำนาจของเขาไปหลังจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 49 จึง กลายเป็นไพร่ ในวาทกรรมใหม่ที่นักวิชาการจำนวยหนึ่งเกิดอาการตื่นตาตื่นใจจนถึงกับทำวิจัยกันอย่างอึกทึกครึกโครมในช่วงที่ผ่านมา ว่าคนเสื้อแดงพวกนี้เป็นใคร มาจากไหนกันแน่
ถ้าอภิปรายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไปอีกสักหน่อย ก็จะพบว่า ชาวบ้านที่ดูจะอยู่ภายใต้ระบบการเมืองประชาธิปไตยเลือกตั้ง และโลกาภิวัตน์ที่พอจะต่อรองได้ผ่านการต่อรองกับกลไกการเมือง ที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบาย เอาใจชาวบ้าน นั้นดูจะเป็นที่รังเกียจของพวก การเมืองใหม่ มาโดยตลอด แต่อย่างน้อยเมื่อระบบประชาธิปไตยเลือกตั้ง และทุนนิยมเสรีโลกาภิวัตน์ ดำเนินต่อไป การศึกษาเรื่องการเศรษฐกิจการเมืองในชนบทจึงไม่ค่อยเป็นเรื่องน่าสนใจมากไปกว่า การศึกษาเรื่องของการซื้อเสียงที่ซับซ้อน และระบบเจ้าพ่อที่แผ่ขยายอิทธิพลไปทั่ว
จนกระทั่งเมื่อการต่อต้านการรัฐประหารมีมากขึ้น และการเมืองเสื้อแดงขยายตัวนั่นแหละครับ การพยายามจะลดทอนอำนาจของชาวบ้านกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในขบวนของประชาสังคมจึงมีมากขึ้น และดูเหมือนว่าการเมืองบนท้องถนนในแบบที่ต่อต้านการรัฐประหารจะถูกลดทอนคุณค่าลง ทั้งที่การเมืองแบบนี้กลายเป็นพื้นที่และกิจกรรมการเมืองของคนตัวเล็กตัวน้อยที่มีจำนวนมาก ซึ่งถูกกันจากระบบประชาธิปไตยเลือกตั้งที่ถูกพรากไปหมาดๆ และตกขบวนประชาธิปไตยอุดมคติแบบประชาสังคมที่ได้ดิบได้ดีกับการรัฐประหารและกระแสปฏิรูป (สิ่งนี้คือ สังคมของการเมือง (โดยแท้) political society ซึ่ง Chaterjee ในงาน Politics of the Governed วิจารณ์พวกสำนักคิดประชาสังคม (civil society) ไว้นานแล้ว และผมได้นำมาเป็นแรงบันดาลใจในงาน การเมืองของไพร่ ตั้งแต่ปี 2550)
และหลังจากการ กระชับพื้นที่ ในปี 2553 เราก็จะพบกับการส่งอำนาจต่อให้กับคณะกรรมการปฏิรูปต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการเมืองอุปถัมภ์และเลือกตั้งที่เป็นอยู่ รวมทั้งความเฟื่องฟูของขบวนการ สินค้าศีลธรรม ต่างๆท่ามกลางกระแสการต่อต้าน ทุน(นิยม)สามานย์ ในรูปแบบต่างๆ
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สิ่งที่กลายเป็นสนามการต่อสู้สำคัญเรื่องของเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวและชาวนานั้น ก็มาเป็นเรื่องของการจำนำข้าว และกระแสข้าวเน่า ซึ่งจุดสำคัญอยู่ที่ข้อกล่าวหาถึงความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายที่ทำให้เกิดการขาดทุน เกิดการซื้อเสียงทางนโยบาย เกิดการคอร์รัปชั่น และการไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน (อาทิจัดเก็บไม่ดีและรมยาเกินขนาด)
จากการรบรอบที่หนึ่งที่อิงกับเรื่องนโยบายราคา ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังมีการตรึงราคาจำนำข้าวเอาไว้ได้ที่ราคาเดิมไปอีกระยะหนึ่ง เพราะความเป็น ชาวนา นั้นทรงพลังเกินกว่าที่จะ ละเลย ทางนโยบาย และการเมืองในท้ายที่สุด (แม้ว่าการเมืองของชาวนาจะหายไปนานแล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้มีพลวัตรสูง เพราะกระแสการ กลับไปเป็นชาวนา (อีกครั้ง) นั้นมีอยู่มาก และจากความเข้าใจจริงที่ว่า ชาวนา นั้นเป็นเพียงบทบาทหนึ่งของผู้คนในทางเศรษฐกิจ ที่ซับซ้อนยิ่งในวันนี้ เพราะในแต่ละครัวเรือนนั้นมีรายได้ที่มามากกว่าหนึ่งทาง หรือมากกว่าจากการเป็นชาวนาเท่านั้น ดังนั้น เราจึงตอบไม่ได้ว่าชาวนาในวันนี้เป็นชาวนาจากอดีต หรือเป็นชาวนาที่แท้ แต่เราตอบได้ว่าชาวนาในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของชนบทที่มีพลวัตรสูงต่างหาก)
และการรบรอบที่สองนั้นเปลี่ยนจากเรื่องของการต่อสู้กับผู้ผลิต หรือชาวนามาสู่เรื่องของการโจมตีรัฐบาลในฐานะผู้บริโภคในกรณีข้าวเน่า ซึ่งในทางหนึ่งนั้นเหมือนกับจะทรงพลังและเห็นภาพได้ชัดกว่า และสื่อสารได้ง่ายกว่า แต่สิ่งที่ท้าทายมากขึ้นก็คือ แม้ว่างานนี้จะสงบศึกกับ (การเมืองแบบ) ชาวนาที่มีพลังและปริมาณมหาศาล เพราะถูกปลุกขึ้นมาทั้งจากนโยบายเอง และจากอคติเมือง (urban bias) แล้ว แต่สิ่งที่จะต้องเจอก็คือการลากเอาบริษัทข้าวต่างๆเข้ามาเล่นเกมฟ้องร้องทางกฎหมายโดยตรงเข้าด้วย และยังโยกคลอนสายสัมพันธ์ที่กระชับแน่นของชาวนาและรัฐบาลไม่ได้
ยิ่งในวันนี้แม้ว่าการเมืองของชาวนา จะไม่ได้ออกมาในรูปแบบของ ขบวนการชาวนา อีกต่อไป จนทำให้เราอาจลืมไปว่าการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของขบวนการเท่านั้น แต่เราจะพบว่า ความเป็นชาวนา อาจไม่ได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากการทำความเข้าใจง่ายๆ เชิงปริมาณว่ามีคนทำนามากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่นๆ แต่อาจจะต้องทำความเข้าใจถึงความเท่าทวีคูณทางอัตลักษณ์ (multiple identities) ของความเป็นชาวนา/ชนบท/ไพร่ ที่กระจายไปในคนจำนวนมากที่เชื่อมโยงตัวเองเข้าด้วยกันทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในวันนี้
และนั่นคือสิ่งที่ตอกย้ำว่า ในท้ายที่สุด อีกสิ่งหนึ่งที่คนที่เรียนเรื่องเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวและชาวนาเขาศึกษากันมานาน แต่มักไม่ค่อยพูดก็คือเรื่องของ อคติเมือง ที่ต้องการให้สินค้าเกษตรนั้นราคาถูก และการเมืองของชาวนานั้นไร้พลัง นั้นเอาเข้าจริงอาจจะอ่อนแรงลงจากการถูกท้าท้าย เพราะไปท้าทายและไปร่วมปลุกพลังของชาวนาและเศรษฐกิจการเมืองเรื่องข้าวขึ้นมาอีกครั้ง นั่นแหละครับ
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
จับตากม.นิรโทษฯ-ม็อบต้าน เปิดสภาการเมืองระอุ!
ที่มา:มติชนรายวัน 22 ก.ค.2556
หมายเหตุ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) นายพันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ความเห็นกรณีการเสนอร่าง (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในช่วงเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
พรรคเพื่อไทยและวิปรัฐบาลจะมีการประชุมกันในสัปดาห์หน้า ประเด็นที่ว่าวาระต่างๆ ที่มีเรียงกันอยู่บางวาระ กฎหมายบางฉบับก็ยังไม่ถูกบรรจุกลับเข้ามา เพราะว่ายังอยู่ในชั้นกรรมาธิการบ้าง อะไรบ้าง ทางผู้ที่เกี่ยวข้องคงไปดูกันว่าในบรรดาร่าง พ.ร.บ.รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญจะจัดลำดับอย่างไร เพราะว่าร่าง พ.ร.บ.บางฉบับเป็นร่างที่มีกรอบเวลาไว้ว่าจะต้องทำเมื่อใด เช่น พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ร่าง พ.ร.บ.เหล่านี้เป็นร่างที่จะทำให้การจัดวางลำดับต้องคำนึงถึงตัวร่างที่มีกฎเวลาให้สอดคล้องกัน
สำหรับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคงเป็นวาระที่ในส่วนวิปรัฐบาลจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าคงจะเห็นชัดเจนมากขึ้น และคิดว่าม็อบจะไม่มีผลอะไร เพราะในส่วนของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นที่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ในส่วนอะไรที่เป็นการแสดงความคิด การเสนอแนะ จะประท้วงอะไรก็แล้วแต่ในกรอบประชาธิปไตย ท่านแสดงอะไรมาเราก็ฟังอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่รูปแบบของการเสนอโดยปกติ เช่น ไปประท้วง ก็รับฟังอยู่แล้ว ขอเพียงให้อยู่ในกรอบของแนวประชาธิปไตย ไม่ใช่นอกแนวประชาธิปไตย เพราะว่ารัฐบาลชุดนี้เราถือว่าเรามาในกรอบของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมน้อมรับฟังและนำไปดำเนินการด้วยเหตุผลอยู่แล้ว
คิดว่ารัฐบาลมีหน้าที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากพี่น้องประชาชน รัฐบาลก็ดำเนินไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพราะฉะนั้นการทำอะไรเพื่อพี่น้องประชาชน ผมคิดว่าเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับการปรองดองนั้นเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่พี่น้องประชาชนส่วนมากอยากเห็น และรัฐบาลก็ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลก็มีนโยบายในการสร้างความสมานฉันท์ การทำอย่างนี้ไม่ใช่เอาใจใคร เราถือว่าการทำเพื่อพี่น้องประชาชนไม่ว่ากลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่
ในส่วนของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เชื่อว่าพี่น้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ที่ไปร่วมชุมนุมทางการเมือง มีความผิดก็เป็นความผิดที่โทษไม่ร้ายแรง เป็นความผิดทางเทคนิค ที่เรียกว่าความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช่เป็นความผิดในตัว เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าไม่ควรที่เขาต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดี ส่วนคนที่ถูกดำเนินคดีไปแล้วนั้น คนส่วนใหญ่ก็คิดว่าไม่ควรจะไปเอาผิดกับเขา มีอะไรหลายอย่างที่เห็นตรงกัน แต่เชื่อว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมไม่ได้ไปทำอะไรที่ผิดร้ายแรง คนส่วนใหญ่ก็เห็นไม่ต่างกันว่าควรจะนิรโทษกรรมให้ คิดว่าเป็นส่วนที่ช่วยกันดูได้ แต่สุดท้ายแล้วจะออกมาในรูปแบบไหนคงไม่มีใครบอกได้
อำนวย คลังผา
ขอย้ำว่าในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาลจะมีการประชุมกรอบการทำงานทั้งหมดภายหลังเข้าสู่สมัยการประชุมสภาสามัญทั่วไปที่จะเปิดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ยังจะการมีขอความเห็นและขอมติในที่ประชุมด้วยว่า จะมีมตินำร่างกฎหมายฉบับใดขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระก่อน-หลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ในวันที่ 1 สิงหาคม จะไม่มีการพิจารณากฎหมาย แต่จะมีการตั้งกระทู้ถามสด กระทู้ถามและเรื่องที่เพื่อรับทราบเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะคณะรองกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 และรองประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาให้ความเห็นว่า สภาน่าจะลงมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้ในวันที่ 7 สิงหาคมนั้น ก็เป็นความเห็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องขอให้ที่ประชุมวิปได้แสดงความเห็นและตัดสินใจกันอีกครั้งหนึ่งก่อน ขณะนี้คงให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้
พันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา
หากจะมีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ขึ้นพิจารณาในที่ประชุมสภา รัฐบาลควรต้องประเมินสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นก่อนว่า เหมาะสมหรือไม่ที่จะนำขึ้นพิจารณา เพราะขณะนี้ได้มีมวลชนบางกลุ่มเริ่มออกมาต่อต้าน ดังนั้น รัฐบาลควรจะมีตัวแทนไปประสานงานเพื่อพูดคุยหรือสร้างความเข้าใจให้กับมวลชนกลุ่มต่างๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยในหลักการเบื้องต้น คือ การนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลทุกกลุ่ม ทุกสี ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมการเมือง โดยไม่รวมแกนนำคนสั่งการ เพราะขณะนี้ประเทศชาติต้องการความสงบ และความปรองดอง เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปได้
เชื่อว่าเมื่อเปิดประชุมสภา สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ สถานการณ์บ้านเมืองจะมีความร้อนแรงมากขึ้น เพราะยังมีวาระร้อนๆ ที่รอการพิจารณาอยู่ ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายการเงิน และกฎหมายนิรโทษกรรม อาจจะเป็นประเด็นทำให้กลุ่มก้อนต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน ดังนั้นอยากให้ทุกฝ่ายเลิกแล้วต่อกัน หันมาช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง อย่านำความแค้นส่วนตัวมาเป็นชนวนปลุกระดมคนมาชุมนุม
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร
เชื่อว่าความร้อนแรงระหว่างการอภิปรายหรือพิจารณากฎหมายจะอยู่ในรัฐสภา แม้ว่าจะร้อนแรงอย่างไรก็เป็นเพียงความร้อนแรงที่เกิดจากคำพูดและอยู่ในกรอบและระเบียบของรัฐสภา ส่วนความร้อนแรงภายนอกรัฐสภานั้นยังเป็นการเลี้ยงกระแสอยู่เพื่อรอปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริมอยู่ ส่วน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดองนั้น ทุกฝ่ายก็ให้ความสำคัญรีบดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจากมีหลายฉบับก็คงให้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาจะไปหาฉบับสุดท้ายให้ชัดเจนว่าจะเลือกพิจารณาฉบับไหน
ส่วนการกลับมาอีกครั้งของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) รัฐบาลก็ให้เครดิตระดับหนึ่ง เพราะเป็นการสานต่อจาก พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ที่หมดบทบาทไป ส่วนจะยกระดับหรือเป็นการเลี้ยงกระแสก็ต้องดูสถานการณ์ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ จะมีการชุมนุมกันอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะมีการใช้กฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมสถานการณ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับแนวโน้มหรือสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยในขณะนี้มีการประเมินแล้วยังไม่น่ามีเหตุผลที่ต้องใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงแต่อย่างใด
องค์การพิทักษ์สยามมีความพยายามเชื่อมต่อกับกลุ่มหน้ากากขาว
เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มการเมืองภายนอกสภาต่างๆ มีความพยายามที่จะเชื่อมต่อระหว่างกัน เพียงแต่ว่าหากสถานการณ์ในขณะนั้นมีประเด็นที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวก็อาจจะมารวมกันได้ ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลจะต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนต่อไป ทั้งนี้ คิดว่าปัจจัยใดที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนว่ากลุ่มต่อต้านรัฐบาลเคลื่อนไหวลดลงมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างแกนนำ 2.ขาดนายทุนผู้สนับสนุน เพราะว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ต้องมีทุนสนับสนุน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐบาลด้วยว่าสามารถสืบสภาพได้แม่นตรงแค่ไหน หากสืบสภาพแม่นยำก็จะทำให้สามารถตัดวงจรเหล่านี้ออกไปได้ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ก็ยังมีอยู่เหมือนกัน
หมายเหตุ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) นายพันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ความเห็นกรณีการเสนอร่าง (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในช่วงเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
พรรคเพื่อไทยและวิปรัฐบาลจะมีการประชุมกันในสัปดาห์หน้า ประเด็นที่ว่าวาระต่างๆ ที่มีเรียงกันอยู่บางวาระ กฎหมายบางฉบับก็ยังไม่ถูกบรรจุกลับเข้ามา เพราะว่ายังอยู่ในชั้นกรรมาธิการบ้าง อะไรบ้าง ทางผู้ที่เกี่ยวข้องคงไปดูกันว่าในบรรดาร่าง พ.ร.บ.รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญจะจัดลำดับอย่างไร เพราะว่าร่าง พ.ร.บ.บางฉบับเป็นร่างที่มีกรอบเวลาไว้ว่าจะต้องทำเมื่อใด เช่น พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ร่าง พ.ร.บ.เหล่านี้เป็นร่างที่จะทำให้การจัดวางลำดับต้องคำนึงถึงตัวร่างที่มีกฎเวลาให้สอดคล้องกัน
สำหรับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคงเป็นวาระที่ในส่วนวิปรัฐบาลจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าคงจะเห็นชัดเจนมากขึ้น และคิดว่าม็อบจะไม่มีผลอะไร เพราะในส่วนของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นที่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ในส่วนอะไรที่เป็นการแสดงความคิด การเสนอแนะ จะประท้วงอะไรก็แล้วแต่ในกรอบประชาธิปไตย ท่านแสดงอะไรมาเราก็ฟังอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่รูปแบบของการเสนอโดยปกติ เช่น ไปประท้วง ก็รับฟังอยู่แล้ว ขอเพียงให้อยู่ในกรอบของแนวประชาธิปไตย ไม่ใช่นอกแนวประชาธิปไตย เพราะว่ารัฐบาลชุดนี้เราถือว่าเรามาในกรอบของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมน้อมรับฟังและนำไปดำเนินการด้วยเหตุผลอยู่แล้ว
คิดว่ารัฐบาลมีหน้าที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากพี่น้องประชาชน รัฐบาลก็ดำเนินไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพราะฉะนั้นการทำอะไรเพื่อพี่น้องประชาชน ผมคิดว่าเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับการปรองดองนั้นเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่พี่น้องประชาชนส่วนมากอยากเห็น และรัฐบาลก็ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลก็มีนโยบายในการสร้างความสมานฉันท์ การทำอย่างนี้ไม่ใช่เอาใจใคร เราถือว่าการทำเพื่อพี่น้องประชาชนไม่ว่ากลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่
ในส่วนของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เชื่อว่าพี่น้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ที่ไปร่วมชุมนุมทางการเมือง มีความผิดก็เป็นความผิดที่โทษไม่ร้ายแรง เป็นความผิดทางเทคนิค ที่เรียกว่าความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช่เป็นความผิดในตัว เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าไม่ควรที่เขาต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดี ส่วนคนที่ถูกดำเนินคดีไปแล้วนั้น คนส่วนใหญ่ก็คิดว่าไม่ควรจะไปเอาผิดกับเขา มีอะไรหลายอย่างที่เห็นตรงกัน แต่เชื่อว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมไม่ได้ไปทำอะไรที่ผิดร้ายแรง คนส่วนใหญ่ก็เห็นไม่ต่างกันว่าควรจะนิรโทษกรรมให้ คิดว่าเป็นส่วนที่ช่วยกันดูได้ แต่สุดท้ายแล้วจะออกมาในรูปแบบไหนคงไม่มีใครบอกได้
อำนวย คลังผา
ขอย้ำว่าในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาลจะมีการประชุมกรอบการทำงานทั้งหมดภายหลังเข้าสู่สมัยการประชุมสภาสามัญทั่วไปที่จะเปิดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ยังจะการมีขอความเห็นและขอมติในที่ประชุมด้วยว่า จะมีมตินำร่างกฎหมายฉบับใดขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระก่อน-หลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ในวันที่ 1 สิงหาคม จะไม่มีการพิจารณากฎหมาย แต่จะมีการตั้งกระทู้ถามสด กระทู้ถามและเรื่องที่เพื่อรับทราบเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะคณะรองกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 และรองประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาให้ความเห็นว่า สภาน่าจะลงมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้ในวันที่ 7 สิงหาคมนั้น ก็เป็นความเห็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องขอให้ที่ประชุมวิปได้แสดงความเห็นและตัดสินใจกันอีกครั้งหนึ่งก่อน ขณะนี้คงให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้
พันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา
หากจะมีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ขึ้นพิจารณาในที่ประชุมสภา รัฐบาลควรต้องประเมินสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นก่อนว่า เหมาะสมหรือไม่ที่จะนำขึ้นพิจารณา เพราะขณะนี้ได้มีมวลชนบางกลุ่มเริ่มออกมาต่อต้าน ดังนั้น รัฐบาลควรจะมีตัวแทนไปประสานงานเพื่อพูดคุยหรือสร้างความเข้าใจให้กับมวลชนกลุ่มต่างๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยในหลักการเบื้องต้น คือ การนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลทุกกลุ่ม ทุกสี ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมการเมือง โดยไม่รวมแกนนำคนสั่งการ เพราะขณะนี้ประเทศชาติต้องการความสงบ และความปรองดอง เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปได้
เชื่อว่าเมื่อเปิดประชุมสภา สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ สถานการณ์บ้านเมืองจะมีความร้อนแรงมากขึ้น เพราะยังมีวาระร้อนๆ ที่รอการพิจารณาอยู่ ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายการเงิน และกฎหมายนิรโทษกรรม อาจจะเป็นประเด็นทำให้กลุ่มก้อนต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน ดังนั้นอยากให้ทุกฝ่ายเลิกแล้วต่อกัน หันมาช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง อย่านำความแค้นส่วนตัวมาเป็นชนวนปลุกระดมคนมาชุมนุม
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร
เชื่อว่าความร้อนแรงระหว่างการอภิปรายหรือพิจารณากฎหมายจะอยู่ในรัฐสภา แม้ว่าจะร้อนแรงอย่างไรก็เป็นเพียงความร้อนแรงที่เกิดจากคำพูดและอยู่ในกรอบและระเบียบของรัฐสภา ส่วนความร้อนแรงภายนอกรัฐสภานั้นยังเป็นการเลี้ยงกระแสอยู่เพื่อรอปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริมอยู่ ส่วน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดองนั้น ทุกฝ่ายก็ให้ความสำคัญรีบดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจากมีหลายฉบับก็คงให้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาจะไปหาฉบับสุดท้ายให้ชัดเจนว่าจะเลือกพิจารณาฉบับไหน
ส่วนการกลับมาอีกครั้งของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) รัฐบาลก็ให้เครดิตระดับหนึ่ง เพราะเป็นการสานต่อจาก พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ที่หมดบทบาทไป ส่วนจะยกระดับหรือเป็นการเลี้ยงกระแสก็ต้องดูสถานการณ์ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ จะมีการชุมนุมกันอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะมีการใช้กฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมสถานการณ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับแนวโน้มหรือสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยในขณะนี้มีการประเมินแล้วยังไม่น่ามีเหตุผลที่ต้องใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงแต่อย่างใด
องค์การพิทักษ์สยามมีความพยายามเชื่อมต่อกับกลุ่มหน้ากากขาว
เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มการเมืองภายนอกสภาต่างๆ มีความพยายามที่จะเชื่อมต่อระหว่างกัน เพียงแต่ว่าหากสถานการณ์ในขณะนั้นมีประเด็นที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวก็อาจจะมารวมกันได้ ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลจะต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนต่อไป ทั้งนี้ คิดว่าปัจจัยใดที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนว่ากลุ่มต่อต้านรัฐบาลเคลื่อนไหวลดลงมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างแกนนำ 2.ขาดนายทุนผู้สนับสนุน เพราะว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ต้องมีทุนสนับสนุน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐบาลด้วยว่าสามารถสืบสภาพได้แม่นตรงแค่ไหน หากสืบสภาพแม่นยำก็จะทำให้สามารถตัดวงจรเหล่านี้ออกไปได้ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ก็ยังมีอยู่เหมือนกัน
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
จับกระแส ′กลุ่มชุมนุม′ ต้อนรับ ′เปิดสภา1ส.ค.′
ที่มา:มติชนรายวัน 22 ก.ค.2556
หมายเหตุ - พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประเมินทางการเมืองก่อนเปิดการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 สิงหาคม ขณะที่ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรอง ผบ.สส. ในฐานะประธานกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) แถลงเปิดตัว "คณะเสนาธิการร่วมและกำหนดจังหวะก้าวโค่นระบอบทักษิณ" เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร
"การชุมนุมคงไม่กระทบกับรัฐบาลจนถึงขั้นยุบสภา"
สถานการณ์ทางการเมืองก่อนเปิดการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ การชุมนุมกลุ่มต่างๆ ยังเป็นการบ่มเพาะเพื่อเลี้ยงกระแสและนำไปสู่การยกระดับการชุมนุม อย่างไรก็ตามความวุ่นวายก็ยังคงอยู่ภายนอกสภาเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงกับขั้นรุนแรงเนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่เกิดความเป็นเอกภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามชี้แจงประชาชนเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะนำประเด็นมายกระดับการชุมนุมให้เกิดความรุนแรงให้ได้
ส่วนสถานการณ์การชุมนุมขณะนี้ควรจะนำกฎหมายขึ้นมาพิจารณาก่อนหลังก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของสภา กฎหมายทั้งหมดที่อยู่ในสภาทั้งหมดไม่น่าจะเป็นประเด็นให้เกิดการชุมนุมที่รุนแรงถึงขั้นปิดล้อมสภา เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่มีเอกภาพมากนัก อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะนำร่างกฎหมายใดมาพิจารณาก็ต้องตอบประชาชน รวมทั้งคนเสื้อแดงให้ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การชุมนุมคงไม่กระทบกับรัฐบาลจนถึงขั้นยุบสภา เพราะรัฐบาลก็ตั้งใจที่จะบริหารประเทศให้ครบวาระ 4 ปี
"ส่วนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่เสนอโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาทำให้เหตุการณ์ทั้งในและนอกสภาเกิดความรุนแรงได้ คงจะยังไม่มีปัญหา เพราะสภายังไม่มีการนำขึ้นมาพิจารณา อย่างไรก็ตามหากนำขึ้นมาพิจารณาก็ไม่น่าจะกังวลเพราะเป็นการดำเนินการตามกลไกของสภาและพรรคฝ่ายค้านคงไม่กล้าที่จะกระทำอะไรที่อยู่นอกเหนือกติกา เช่น การปาแฟ้ม หรือดึงเก้าอี้ประธานสภา ให้เกิดความวุ่นวาย เหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพราะมีบทเรียนมาแล้วให้เกิดความเสียหายแก่พรรคตนเอง"
พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ
"สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน"
สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ถูกครอบงำด้วยระบอบทักษิณ รัฐบาลนี้ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นโกงกินบ้านเมือง ทำให้ประเทศสูญเงินไปกับนโยบายประชานิยมในโครงการจำนำข้าวหลายแสนล้านบาท เมื่อข้าราชการผู้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติได้ตรวจพบการทุจริต รัฐบาลกลับใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กระทำการข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรม
ดังนั้น ประชาชนทุกสาขาอาชีพ จากองค์กร กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ" ขึ้น โดยมีภารกิจคือ 1.เป็นศูนย์กลางการประสานงาน องค์กร กลุ่ม เครือข่าย พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย 2.จัดตั้งและขยายมวลชนผู้รักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รักประชาธิปไตย หวงแหนแผ่นดิน ให้สามัคคีรวมตัวกันมากขึ้น เป็นมวลมหาประชาชนในทุกจังหวัด 3.จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนในทุกจังหวัด
"นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัฒน์ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคณี นายพิเชษฎ พัฒนโชติ และนายไทกร พลสุวรรณ ทำหน้าที่ประสานองค์กร กลุ่ม เครือข่าย และพรรคการเมืองต่างๆ กำหนดแผนและแนวทางการเคลื่อนไหวมวลชน เพื่อให้บ้านเมืองพ้นจากวิกฤต"
ทางกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการ คือ 1.ให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม โดยทันที 3.ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาข้าวยากหมากแพง ด้วยการยุติการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และลดราคาน้ำมันทุกประเภท ด้วยการดำเนินการให้ ปตท.หยุดค้ากำไรเกินควรเอาเปรียบประชาชน และปฏิรูป ปตท.ให้กลับมาเป็นของประชาชน โดยทันที 4.ให้รัฐบาลยุติโครงการกู้เงินบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเห็นชัดแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 5.ให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอเพื่อล้างผิดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ 6.ให้รัฐบาลดำเนินการเอาผิดกับผู้ทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวในทุกขั้นตอน ยกเลิกการตั้งกรรมการสอบสวน น.ส.สุภา ปิยะจิต รองปลัดกระทรวงการคลัง รวมทั้งคืนตำแหน่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ตามคำสั่งศาล โดยทันที
ทั้งนี้ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการใดๆ หรือบ่ายเบี่ยง ซื้อเวลา กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณจะดำเนินการนัดชุมนุมโดยสันติ แสดงสิทธิตามรัฐธรรมนูญและแสดงพลังในวันที่ 4 สิงหาคม เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อต่อไป ส่วนเวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป
นครบาลประเมินสถานการณ์ม็อบ
กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้รวบรวมการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไว้ดังนี้ 1.กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนไทย ชุมนุมต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ปักหลักเป็นวันที่ 75 โดยนายสุชาติ ศรีสังข์ และนายทองดี นามแสงโคตร ยังคงชุมนุมบริเวณทางเดินสนามหลวง ตรงข้ามศาลฎีกา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลถอนตัวออกจากศาลโลก ปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ และขับไล่รัฐบาล ยอดผู้ชุมนุมประมาณ 300 คน
2.กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีดำ รวมตัวกันที่บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้ชื่อ "พร้อมเดินทางสู่กิจกรรมสร้างสรรค์อิสระ" ทำกิจกรรมเขียนป้ายผ้าเนื้อหาโจมตีรัฐบาล
3.กลุ่มหน้ากากขาว (V For Thailand) ไม่ปรากฏแกนนำที่ชัดเจน จะนัดรวมตัวกันในทุกวันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์ที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ การเคลื่อนไหวจะเดินขบวนไปยังย่านสยามสแควร์เพื่อหาแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล มีผู้เข้าร่วมชุมนุมต่อครั้งประมาณ 2-3 พันคน
4.กลุ่มนักรบนิรนาม นำโดย ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม จัดกิจกรรม "สลายสีเสื้อ" ประกาศทำกิจกรรมต่อต้านระบอบทักษิณ ยอดผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 500 คน
5.กลุ่มไทยสปริงได้นัดชุมนุมออนไลน์ โดยนัดให้ทุกคนมาดูคลิปวิดีโอการปราศรัยผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ ภายใต้การนำของนายแก้วสรร อติโพธิ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร และนายขวัญสรวง อติโพธิ พร้อมระบุว่า กลุ่มไทยสปริงไม่ใช่กลุ่มเดียวกับหน้ากากขาว กลุ่มที่สนามหลวง หรือพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีภารกิจต่อต้านระบอบทักษิณ พร้อมทั้งมีการขยายเครือข่ายกลุ่มไทยสปริงผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นหลัก
หมายเหตุ - พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประเมินทางการเมืองก่อนเปิดการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 สิงหาคม ขณะที่ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรอง ผบ.สส. ในฐานะประธานกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) แถลงเปิดตัว "คณะเสนาธิการร่วมและกำหนดจังหวะก้าวโค่นระบอบทักษิณ" เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร
"การชุมนุมคงไม่กระทบกับรัฐบาลจนถึงขั้นยุบสภา"
สถานการณ์ทางการเมืองก่อนเปิดการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ การชุมนุมกลุ่มต่างๆ ยังเป็นการบ่มเพาะเพื่อเลี้ยงกระแสและนำไปสู่การยกระดับการชุมนุม อย่างไรก็ตามความวุ่นวายก็ยังคงอยู่ภายนอกสภาเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงกับขั้นรุนแรงเนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่เกิดความเป็นเอกภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามชี้แจงประชาชนเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะนำประเด็นมายกระดับการชุมนุมให้เกิดความรุนแรงให้ได้
ส่วนสถานการณ์การชุมนุมขณะนี้ควรจะนำกฎหมายขึ้นมาพิจารณาก่อนหลังก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของสภา กฎหมายทั้งหมดที่อยู่ในสภาทั้งหมดไม่น่าจะเป็นประเด็นให้เกิดการชุมนุมที่รุนแรงถึงขั้นปิดล้อมสภา เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่มีเอกภาพมากนัก อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะนำร่างกฎหมายใดมาพิจารณาก็ต้องตอบประชาชน รวมทั้งคนเสื้อแดงให้ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การชุมนุมคงไม่กระทบกับรัฐบาลจนถึงขั้นยุบสภา เพราะรัฐบาลก็ตั้งใจที่จะบริหารประเทศให้ครบวาระ 4 ปี
"ส่วนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่เสนอโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาทำให้เหตุการณ์ทั้งในและนอกสภาเกิดความรุนแรงได้ คงจะยังไม่มีปัญหา เพราะสภายังไม่มีการนำขึ้นมาพิจารณา อย่างไรก็ตามหากนำขึ้นมาพิจารณาก็ไม่น่าจะกังวลเพราะเป็นการดำเนินการตามกลไกของสภาและพรรคฝ่ายค้านคงไม่กล้าที่จะกระทำอะไรที่อยู่นอกเหนือกติกา เช่น การปาแฟ้ม หรือดึงเก้าอี้ประธานสภา ให้เกิดความวุ่นวาย เหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพราะมีบทเรียนมาแล้วให้เกิดความเสียหายแก่พรรคตนเอง"
พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ
"สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน"
สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ถูกครอบงำด้วยระบอบทักษิณ รัฐบาลนี้ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นโกงกินบ้านเมือง ทำให้ประเทศสูญเงินไปกับนโยบายประชานิยมในโครงการจำนำข้าวหลายแสนล้านบาท เมื่อข้าราชการผู้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติได้ตรวจพบการทุจริต รัฐบาลกลับใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กระทำการข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรม
ดังนั้น ประชาชนทุกสาขาอาชีพ จากองค์กร กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ" ขึ้น โดยมีภารกิจคือ 1.เป็นศูนย์กลางการประสานงาน องค์กร กลุ่ม เครือข่าย พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย 2.จัดตั้งและขยายมวลชนผู้รักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รักประชาธิปไตย หวงแหนแผ่นดิน ให้สามัคคีรวมตัวกันมากขึ้น เป็นมวลมหาประชาชนในทุกจังหวัด 3.จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนในทุกจังหวัด
"นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัฒน์ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคณี นายพิเชษฎ พัฒนโชติ และนายไทกร พลสุวรรณ ทำหน้าที่ประสานองค์กร กลุ่ม เครือข่าย และพรรคการเมืองต่างๆ กำหนดแผนและแนวทางการเคลื่อนไหวมวลชน เพื่อให้บ้านเมืองพ้นจากวิกฤต"
ทางกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการ คือ 1.ให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม โดยทันที 3.ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาข้าวยากหมากแพง ด้วยการยุติการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และลดราคาน้ำมันทุกประเภท ด้วยการดำเนินการให้ ปตท.หยุดค้ากำไรเกินควรเอาเปรียบประชาชน และปฏิรูป ปตท.ให้กลับมาเป็นของประชาชน โดยทันที 4.ให้รัฐบาลยุติโครงการกู้เงินบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเห็นชัดแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 5.ให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอเพื่อล้างผิดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ 6.ให้รัฐบาลดำเนินการเอาผิดกับผู้ทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวในทุกขั้นตอน ยกเลิกการตั้งกรรมการสอบสวน น.ส.สุภา ปิยะจิต รองปลัดกระทรวงการคลัง รวมทั้งคืนตำแหน่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ตามคำสั่งศาล โดยทันที
ทั้งนี้ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการใดๆ หรือบ่ายเบี่ยง ซื้อเวลา กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณจะดำเนินการนัดชุมนุมโดยสันติ แสดงสิทธิตามรัฐธรรมนูญและแสดงพลังในวันที่ 4 สิงหาคม เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อต่อไป ส่วนเวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป
นครบาลประเมินสถานการณ์ม็อบ
กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้รวบรวมการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไว้ดังนี้ 1.กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนไทย ชุมนุมต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ปักหลักเป็นวันที่ 75 โดยนายสุชาติ ศรีสังข์ และนายทองดี นามแสงโคตร ยังคงชุมนุมบริเวณทางเดินสนามหลวง ตรงข้ามศาลฎีกา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลถอนตัวออกจากศาลโลก ปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ และขับไล่รัฐบาล ยอดผู้ชุมนุมประมาณ 300 คน
2.กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีดำ รวมตัวกันที่บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้ชื่อ "พร้อมเดินทางสู่กิจกรรมสร้างสรรค์อิสระ" ทำกิจกรรมเขียนป้ายผ้าเนื้อหาโจมตีรัฐบาล
3.กลุ่มหน้ากากขาว (V For Thailand) ไม่ปรากฏแกนนำที่ชัดเจน จะนัดรวมตัวกันในทุกวันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์ที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ การเคลื่อนไหวจะเดินขบวนไปยังย่านสยามสแควร์เพื่อหาแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล มีผู้เข้าร่วมชุมนุมต่อครั้งประมาณ 2-3 พันคน
4.กลุ่มนักรบนิรนาม นำโดย ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม จัดกิจกรรม "สลายสีเสื้อ" ประกาศทำกิจกรรมต่อต้านระบอบทักษิณ ยอดผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 500 คน
5.กลุ่มไทยสปริงได้นัดชุมนุมออนไลน์ โดยนัดให้ทุกคนมาดูคลิปวิดีโอการปราศรัยผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ ภายใต้การนำของนายแก้วสรร อติโพธิ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร และนายขวัญสรวง อติโพธิ พร้อมระบุว่า กลุ่มไทยสปริงไม่ใช่กลุ่มเดียวกับหน้ากากขาว กลุ่มที่สนามหลวง หรือพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีภารกิจต่อต้านระบอบทักษิณ พร้อมทั้งมีการขยายเครือข่ายกลุ่มไทยสปริงผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นหลัก
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาฯ
โดย ธงชัย วินิจจะกูล
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มีการเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค"
โดยบทคัดย่อของปาฐกถาระบุว่า "ความรู้เรื่องไทย ทั้งในทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา นโยบายศึกษา และอื่นๆ ในบริบทของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริบทโลกเป็นอย่างไร? กรอบการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยปัจจจุบันนี้ถ่วงรั้งอนาคตหรือไม่? เราจะสามารถก้าวข้ามจากชุมชนชาติไปสู่ชุมชนภูมิภาคได้หรือไม่? นักวิชาการจากหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีคุณูปการอย่างไรต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา? คุณูปการของพวกเขาจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างไรกับคุณูปการของนักวิชาการ "ตะวันตก"? ข้าพเจ้าเองจัดวางตนเอง และผู้อื่นจัดวางผลงานของข้าพเจ้าอย่างไร ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา?
ในตอนหนึ่ง ธงชัยกล่าวว่า ความรู้เกี่ยวกับไทย ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ ในความเห็นของผม ปัจจัยสำคัญ ลักษณะสำคัญก็คือ "Thai Centrism" (เน้นไทยเป็นศูนย์กลาง) ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความรู้แบบ "Thai Centric" มากๆ เราไม่รู้จักโลก เราไม่รู้จักเพื่อนบ้านเรา เราไม่รู้จักภูมิภาคนี้ เพราะเราเป็น "Thai Centrism" ความเหนือกว่า ความพิเศษ ความไม่เคยตกเป็นอาณานิคม และความรู้เรื่องไทยก็เช่นกันก็ "Thai Centrism"
คือถ้าคุณเอาตัวออกจากโลกสังคมไทยหน่อย ไปเปรียบเทียบที่อื่น ไปเรียนรู้ที่อื่น ผมก็ไม่เห็นว่าเราจะต้องภูมิใจน้อยกว่านี้ เพราะนี่คือบ้านเรา ความภูมิใจที่เราจะมีต่อสังคมไทยก็คือ เพราะที่นี่เป็นบ้านของเรา ไม่ใช่เพราะเราเป็นเพชรเม็ดงามที่ดีกว่าใครในโลก ผมมีเพื่อนมาจากลักเซมเบิร์ก ก็ไม่เห็นจะต้องภูมิใจลักเซมเบิร์กว่าใครจะดีกว่าใครในโลก เขารู้อยู่ว่าประเทศของเรากระจิดริดนิดเดียว แต่ที่เขารักลักเซมเบิร์กก็เพราะเป็นบ้านเขา เขาอยากกลับบ้าน
"ของเราก็เหมือนกัน เราสามารถภูมิใจเพราะว่าเป็นบ้านเรา เราแคร์ เรารัก โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเราเหนือกว่า ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าพิเศษ ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าเป็น exceptional (ข้อยกเว้น) ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเอาเข้าจริงมีหลายอย่างที่พอเราเผยอหัวออกไปนอกกรอบสังคมไทย จะได้รู้จักตัวเองอย่างเปรียบเทียบ รู้จักตัวเองอย่างพอเหมาะพอควร"
สังคมไทยไม่ได้ผลิตพวกเรามาให้รู้โลก รู้รอบ รู้กว้าง ผลผลิตสำคัญของความรู้เรื่องไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาคือ Thai Centrism ไม่ว่าคุณจะอ้างว่าเพื่อการพัฒนาเติบโต เพื่อยุคสงครามเย็น ต่อต้านคอมมิวนิสต์หรือะไรก็แล้วแต่ อันนั้นไปเถียงกันได้ เราน่าจะตระหนักว่าหมดยุคเหล่านั้นแล้ว เอาเข้าจริง ผมเห็นว่า มองย้อนไปนะ หมดยุคเหล่านั้นไปนานแล้วด้วย
สังคมไทยยังคงผลิตความรู้ชนิดนั้น ทั้งที่เงื่อนไขในสังคมไทยผ่านยุคนั้นไปนานแล้ว การศึกษาโดยรวมไม่ใช่แค่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่แค่ไทยศึกษา โดยให้เน้น Thai Centrism ให้มีลักษณะยกย่องหรือปิดหูปูตาให้เห็นแค่สังคมไทย มันพ้นยุคพ้นสมัยไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ประมาณ 30-40 ปีก่อน ปกติการเปลี่ยนแปลงไม่เกิดขึ้นฉับพลันทันที มันใช้เวลา อย่างน้อยที่สุดสังคมไทยต้องตระหนักและเริ่มปรับ
ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ผมเห็นว่าเป็นคำถามที่ท้าทายก็แล้วกัน ผมไม่ยืนยัน อาจจะต้องรอการถกเถียง ผมว่านี่อาจจะเป็นเหตุก็ได้ ที่ทำให้การศึกษาไทยล้มเหลว การศึกษาไทยอยู่ในโหมด อยู่ในแบบแผน แนวทาง ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยมานานแล้วจึงแสนจะน่าเบื่อ เพราะสิ่งที่นักเรียนเรียนในห้องเรียน ที่เขาออกจากห้องเรียนก็เพราะสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไม่ Relavant (สัมพันธ์) กับสังคมนี้เลย มันไม่สอดคล้อง เอาเข้าจริงผมไม่แน่ว่าด้วยนะว่าจะทำให้ภูมิใจสักแค่ไหน ทันทีที่เขาออกมาจากห้องเรียนมาอีกรอบ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว
แต่พอต้องการเรียนรู้จากตัวเอง บ้านเมืองของเรา บ้านของเรา ประเทศของเรา ยังอยู่ในโหมดที่ผูกติดกับไทยศึกษาแบบเก่าๆ ไม่สัมพันธ์กับสังคมนี้เลย ความรู้แบบที่ ต้องการสร้าง อธิบายความชอบธรรม หรือค้ำจุนจารีต ระเบียบสังคม ค้ำจุนการรู้จักที่ต่ำที่สูง ความสามัคคี รู้หน้าที่ ยกตัวอย่างสามคำนี้ เอาเข้าจริงผมว่าล้าสมัยไปเรียบร้อยแล้ว
ไม่ได้แปลว่าผมต้องการความแตกแยก ไม่ได้แปลว่าผมต้องการให้เกิดความก้าวร้าว ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง แต่สามคำนี้ มีไว้ผูกคนติดอยู่กับที่อย่างเดิม มันหมดสมัยไปนานแล้ว ทำไมเราจะให้คนรู้จักความสัมพันธ์ชนิดอื่นไม่ได้หรือ? เราสามารถมีความเคารพต่อกันได้ เราสามารถเคารพผู้ใหญ่ได้ด้วย โดยที่ไม่ต้องมีลักษณะที่ว่ามีความกดดันเรื่องที่ต่ำที่สูง หรืออย่างมี Hierachy (ลำดับชั้น) แบบเดิม เราสามารถเข้าใจความสามัคคีในแง่อื่นได้ไหม แทนที่จะต้องกดปราบ และบังคับ หรือกดดันไม่ให้ถกเถียงกัน เราสามารถส่งเสริมการถกเถียง อย่างศรีวิไล อย่างสันติ ได้ไหม ความสามัคคีชนิดนั้นแทนที่จะต้องเรียกร้องเอกภาพ ภายใต้การนำของผู้ใหญ่เสมอไป หมดสมัยอย่างนั้นไปนานแล้ว
การเรียนรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเรื่องไทย ขัดฝืนกับโลกที่เป็นอยู่ ชักธงอาเซียนอีกกี่สิบชาติ มันก็ไปไม่รอด เพราะมันไม่สัมพันธ์ มันไม่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเขา
เราเน้นการรู้จักหน้าที่ เน้นความมีระเบียบวินัยกันมาก จึงเกิดปรากฎการณ์ที่แม้กระทั่งเรื่องทรงผม เครื่องแต่งกาย ขณะที่หาความสัมพันธ์ไม่เจอแล้ว เหลืออย่างเดียวคือสร้างคนให้สยบต่ออำนาจ สังคมไทยในภาวะอย่างนั้นมันหมดไปนานแล้ว
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มีการเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค"
โดยบทคัดย่อของปาฐกถาระบุว่า "ความรู้เรื่องไทย ทั้งในทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา นโยบายศึกษา และอื่นๆ ในบริบทของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริบทโลกเป็นอย่างไร? กรอบการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยปัจจจุบันนี้ถ่วงรั้งอนาคตหรือไม่? เราจะสามารถก้าวข้ามจากชุมชนชาติไปสู่ชุมชนภูมิภาคได้หรือไม่? นักวิชาการจากหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีคุณูปการอย่างไรต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา? คุณูปการของพวกเขาจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างไรกับคุณูปการของนักวิชาการ "ตะวันตก"? ข้าพเจ้าเองจัดวางตนเอง และผู้อื่นจัดวางผลงานของข้าพเจ้าอย่างไร ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา?
ในตอนหนึ่ง ธงชัยกล่าวว่า ความรู้เกี่ยวกับไทย ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ ในความเห็นของผม ปัจจัยสำคัญ ลักษณะสำคัญก็คือ "Thai Centrism" (เน้นไทยเป็นศูนย์กลาง) ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความรู้แบบ "Thai Centric" มากๆ เราไม่รู้จักโลก เราไม่รู้จักเพื่อนบ้านเรา เราไม่รู้จักภูมิภาคนี้ เพราะเราเป็น "Thai Centrism" ความเหนือกว่า ความพิเศษ ความไม่เคยตกเป็นอาณานิคม และความรู้เรื่องไทยก็เช่นกันก็ "Thai Centrism"
คือถ้าคุณเอาตัวออกจากโลกสังคมไทยหน่อย ไปเปรียบเทียบที่อื่น ไปเรียนรู้ที่อื่น ผมก็ไม่เห็นว่าเราจะต้องภูมิใจน้อยกว่านี้ เพราะนี่คือบ้านเรา ความภูมิใจที่เราจะมีต่อสังคมไทยก็คือ เพราะที่นี่เป็นบ้านของเรา ไม่ใช่เพราะเราเป็นเพชรเม็ดงามที่ดีกว่าใครในโลก ผมมีเพื่อนมาจากลักเซมเบิร์ก ก็ไม่เห็นจะต้องภูมิใจลักเซมเบิร์กว่าใครจะดีกว่าใครในโลก เขารู้อยู่ว่าประเทศของเรากระจิดริดนิดเดียว แต่ที่เขารักลักเซมเบิร์กก็เพราะเป็นบ้านเขา เขาอยากกลับบ้าน
"ของเราก็เหมือนกัน เราสามารถภูมิใจเพราะว่าเป็นบ้านเรา เราแคร์ เรารัก โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเราเหนือกว่า ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าพิเศษ ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าเป็น exceptional (ข้อยกเว้น) ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเอาเข้าจริงมีหลายอย่างที่พอเราเผยอหัวออกไปนอกกรอบสังคมไทย จะได้รู้จักตัวเองอย่างเปรียบเทียบ รู้จักตัวเองอย่างพอเหมาะพอควร"
สังคมไทยไม่ได้ผลิตพวกเรามาให้รู้โลก รู้รอบ รู้กว้าง ผลผลิตสำคัญของความรู้เรื่องไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาคือ Thai Centrism ไม่ว่าคุณจะอ้างว่าเพื่อการพัฒนาเติบโต เพื่อยุคสงครามเย็น ต่อต้านคอมมิวนิสต์หรือะไรก็แล้วแต่ อันนั้นไปเถียงกันได้ เราน่าจะตระหนักว่าหมดยุคเหล่านั้นแล้ว เอาเข้าจริง ผมเห็นว่า มองย้อนไปนะ หมดยุคเหล่านั้นไปนานแล้วด้วย
สังคมไทยยังคงผลิตความรู้ชนิดนั้น ทั้งที่เงื่อนไขในสังคมไทยผ่านยุคนั้นไปนานแล้ว การศึกษาโดยรวมไม่ใช่แค่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่แค่ไทยศึกษา โดยให้เน้น Thai Centrism ให้มีลักษณะยกย่องหรือปิดหูปูตาให้เห็นแค่สังคมไทย มันพ้นยุคพ้นสมัยไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ประมาณ 30-40 ปีก่อน ปกติการเปลี่ยนแปลงไม่เกิดขึ้นฉับพลันทันที มันใช้เวลา อย่างน้อยที่สุดสังคมไทยต้องตระหนักและเริ่มปรับ
ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ผมเห็นว่าเป็นคำถามที่ท้าทายก็แล้วกัน ผมไม่ยืนยัน อาจจะต้องรอการถกเถียง ผมว่านี่อาจจะเป็นเหตุก็ได้ ที่ทำให้การศึกษาไทยล้มเหลว การศึกษาไทยอยู่ในโหมด อยู่ในแบบแผน แนวทาง ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยมานานแล้วจึงแสนจะน่าเบื่อ เพราะสิ่งที่นักเรียนเรียนในห้องเรียน ที่เขาออกจากห้องเรียนก็เพราะสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไม่ Relavant (สัมพันธ์) กับสังคมนี้เลย มันไม่สอดคล้อง เอาเข้าจริงผมไม่แน่ว่าด้วยนะว่าจะทำให้ภูมิใจสักแค่ไหน ทันทีที่เขาออกมาจากห้องเรียนมาอีกรอบ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว
แต่พอต้องการเรียนรู้จากตัวเอง บ้านเมืองของเรา บ้านของเรา ประเทศของเรา ยังอยู่ในโหมดที่ผูกติดกับไทยศึกษาแบบเก่าๆ ไม่สัมพันธ์กับสังคมนี้เลย ความรู้แบบที่ ต้องการสร้าง อธิบายความชอบธรรม หรือค้ำจุนจารีต ระเบียบสังคม ค้ำจุนการรู้จักที่ต่ำที่สูง ความสามัคคี รู้หน้าที่ ยกตัวอย่างสามคำนี้ เอาเข้าจริงผมว่าล้าสมัยไปเรียบร้อยแล้ว
ไม่ได้แปลว่าผมต้องการความแตกแยก ไม่ได้แปลว่าผมต้องการให้เกิดความก้าวร้าว ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง แต่สามคำนี้ มีไว้ผูกคนติดอยู่กับที่อย่างเดิม มันหมดสมัยไปนานแล้ว ทำไมเราจะให้คนรู้จักความสัมพันธ์ชนิดอื่นไม่ได้หรือ? เราสามารถมีความเคารพต่อกันได้ เราสามารถเคารพผู้ใหญ่ได้ด้วย โดยที่ไม่ต้องมีลักษณะที่ว่ามีความกดดันเรื่องที่ต่ำที่สูง หรืออย่างมี Hierachy (ลำดับชั้น) แบบเดิม เราสามารถเข้าใจความสามัคคีในแง่อื่นได้ไหม แทนที่จะต้องกดปราบ และบังคับ หรือกดดันไม่ให้ถกเถียงกัน เราสามารถส่งเสริมการถกเถียง อย่างศรีวิไล อย่างสันติ ได้ไหม ความสามัคคีชนิดนั้นแทนที่จะต้องเรียกร้องเอกภาพ ภายใต้การนำของผู้ใหญ่เสมอไป หมดสมัยอย่างนั้นไปนานแล้ว
การเรียนรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเรื่องไทย ขัดฝืนกับโลกที่เป็นอยู่ ชักธงอาเซียนอีกกี่สิบชาติ มันก็ไปไม่รอด เพราะมันไม่สัมพันธ์ มันไม่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเขา
เราเน้นการรู้จักหน้าที่ เน้นความมีระเบียบวินัยกันมาก จึงเกิดปรากฎการณ์ที่แม้กระทั่งเรื่องทรงผม เครื่องแต่งกาย ขณะที่หาความสัมพันธ์ไม่เจอแล้ว เหลืออย่างเดียวคือสร้างคนให้สยบต่ออำนาจ สังคมไทยในภาวะอย่างนั้นมันหมดไปนานแล้ว
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วสันต์ลงหลังเสือ
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 (มติชนรายวัน 18 ก.ค.2556)
โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข
เป็นข่าวใหญ่โต เมื่อ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ยื่นใบลา ประกาศทิ้งหมด ทั้งตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ
เรียกว่า "ลาขาด" มีผล 1 ส.ค.นี้
เหตุผลในการลาขาด ท่านวสันต์บอกว่า ทำภารกิจลุล่วงแล้ว ประกอบกับสัญญาไว้ว่า อยู่ครบ 2 ปีจะลาออก
เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นบ้าง
ท่านวสันต์ไม่ได้อธิบายว่าภารกิจที่ว่าลุล่วงแล้วคืออะไร
ย้อนไปมอง ระหว่างปี 2551 มาจนถึง 2556 ที่ท่านวสันต์ดำรงตำแหน่ง มีเหตุการณ์ทางการเมืองและเรื่องราวที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปเกี่ยวข้องมากมาย
โดยเฉพาะเรื่องยุบพรรคและไม่ยุบพรรค คดีเกี่ยวกับพรรคและนักการเมือง
ถามว่า ผลงานเป็นยังไง ท่านวสันต์คงรู้ดีกว่าคนอื่นๆ
เพราะท่านวสันต์เองพยายามออกมาชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับผลงานของศาลอยู่บ่อยๆ
ลีลาการชี้แจงของท่านมีสีสันน่าฟัง บางครั้งตรงไปตรงมาดี
แต่โดยรวมยิ่งแก้ยิ่งเข้าเนื้อ อย่างที่ออกมาเล่าเบื้องหลังการตัดสินบางคดี ที่ทำให้คำว่า "สุกเอา-เผากิน" ฮิตอยู่พักใหญ่
หรือล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68,237 ไว้ก็มีปัญหาเหมือนกัน
ขณะที่ในตัวศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็มีปัญหา
อย่างการที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนก่อน คือ นายชัช ชลวร ลาออก และนายวสันต์ขึ้นแทน
ก็มีการร้องเรียนว่า การลาออกเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ทำได้หรือ
ประธานศาลลาออกแล้ว กฎหมายกำหนดให้กลับไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจริงหรือ
เป็นปัญหาคาใจหลายๆ ฝ่ายอยู่
ถ้านายวสันต์ลาออกจากตำแหน่งประธาน แล้วยังนั่งเป็นตุลาการต่อไป ก็จะซ้ำรอยกับกรณีท่านชัชทันที และคงจะ "เรียกแขก" มาเยือนอีก
นี่อาจจะเป็นเหตุให้ต้องเลือกหนทางลาขาดแบบสะเด็ดน้ำอย่างที่เห็น
การลาออกครั้งนี้ และแบบนี้ ถือว่าเป็นการลงจากหลังเสือ เลิกราไปจากความยุ่งยากได้เหมือนกัน
ส่วนจะมีเจ้ากรรมนายเวรตามมาราวีอีกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องลุ้น
การเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในสภาพการเมืองอย่างที่ผ่านมา ด้วยแนวทางการทำงานอย่างที่ผ่านมา และอย่างที่คนบางกลุ่มคาดหวัง
ไม่ต่างจากการนั่งบนหลังเสือเท่าไหร่นัก
หรือบางคนอาจจะมองให้ลึกเข้าไปอีกว่า เป็นเรื่องของเสือขี่คนก็ได้
ท่านวสันต์ลาออกแบบนี้ ก็น่าสนใจมากว่า จะมีอะไรติดตามมา
โดยเฉพาะในส่วนของตุลาการ 8 คนที่เหลืออยู่ ตุลาการที่จะผ่านกระบวนการเข้ามาใหม่ ประธานศาลคนใหม่
กับภาระในการตัดสินคดีการเมืองร้อนๆ อีกหลายเรื่อง
ร้อนถึงขนาดที่มีคนรอตัดสินศาลอยู่อีกต่อหนึ่งเหมือนกัน
โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข
เป็นข่าวใหญ่โต เมื่อ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ยื่นใบลา ประกาศทิ้งหมด ทั้งตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ
เรียกว่า "ลาขาด" มีผล 1 ส.ค.นี้
เหตุผลในการลาขาด ท่านวสันต์บอกว่า ทำภารกิจลุล่วงแล้ว ประกอบกับสัญญาไว้ว่า อยู่ครบ 2 ปีจะลาออก
เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นบ้าง
ท่านวสันต์ไม่ได้อธิบายว่าภารกิจที่ว่าลุล่วงแล้วคืออะไร
ย้อนไปมอง ระหว่างปี 2551 มาจนถึง 2556 ที่ท่านวสันต์ดำรงตำแหน่ง มีเหตุการณ์ทางการเมืองและเรื่องราวที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปเกี่ยวข้องมากมาย
โดยเฉพาะเรื่องยุบพรรคและไม่ยุบพรรค คดีเกี่ยวกับพรรคและนักการเมือง
ถามว่า ผลงานเป็นยังไง ท่านวสันต์คงรู้ดีกว่าคนอื่นๆ
เพราะท่านวสันต์เองพยายามออกมาชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับผลงานของศาลอยู่บ่อยๆ
ลีลาการชี้แจงของท่านมีสีสันน่าฟัง บางครั้งตรงไปตรงมาดี
แต่โดยรวมยิ่งแก้ยิ่งเข้าเนื้อ อย่างที่ออกมาเล่าเบื้องหลังการตัดสินบางคดี ที่ทำให้คำว่า "สุกเอา-เผากิน" ฮิตอยู่พักใหญ่
หรือล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68,237 ไว้ก็มีปัญหาเหมือนกัน
ขณะที่ในตัวศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็มีปัญหา
อย่างการที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนก่อน คือ นายชัช ชลวร ลาออก และนายวสันต์ขึ้นแทน
ก็มีการร้องเรียนว่า การลาออกเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ทำได้หรือ
ประธานศาลลาออกแล้ว กฎหมายกำหนดให้กลับไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจริงหรือ
เป็นปัญหาคาใจหลายๆ ฝ่ายอยู่
ถ้านายวสันต์ลาออกจากตำแหน่งประธาน แล้วยังนั่งเป็นตุลาการต่อไป ก็จะซ้ำรอยกับกรณีท่านชัชทันที และคงจะ "เรียกแขก" มาเยือนอีก
นี่อาจจะเป็นเหตุให้ต้องเลือกหนทางลาขาดแบบสะเด็ดน้ำอย่างที่เห็น
การลาออกครั้งนี้ และแบบนี้ ถือว่าเป็นการลงจากหลังเสือ เลิกราไปจากความยุ่งยากได้เหมือนกัน
ส่วนจะมีเจ้ากรรมนายเวรตามมาราวีอีกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องลุ้น
การเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในสภาพการเมืองอย่างที่ผ่านมา ด้วยแนวทางการทำงานอย่างที่ผ่านมา และอย่างที่คนบางกลุ่มคาดหวัง
ไม่ต่างจากการนั่งบนหลังเสือเท่าไหร่นัก
หรือบางคนอาจจะมองให้ลึกเข้าไปอีกว่า เป็นเรื่องของเสือขี่คนก็ได้
ท่านวสันต์ลาออกแบบนี้ ก็น่าสนใจมากว่า จะมีอะไรติดตามมา
โดยเฉพาะในส่วนของตุลาการ 8 คนที่เหลืออยู่ ตุลาการที่จะผ่านกระบวนการเข้ามาใหม่ ประธานศาลคนใหม่
กับภาระในการตัดสินคดีการเมืองร้อนๆ อีกหลายเรื่อง
ร้อนถึงขนาดที่มีคนรอตัดสินศาลอยู่อีกต่อหนึ่งเหมือนกัน
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ลับ ลวง แหล ปชป. กับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับ ปชช.
พาดหัวข่าวโดย ทีมงานสุนัยแฟนคลับ
บทความบางส่วน โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
https://www.facebook.com/verapat/posts/4737964261215
บทความบางส่วน โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
https://www.facebook.com/verapat/posts/4737964261215
การที่
'ประชาธิปัตย์' มีท่าทีพร้อมร่วมเจรจาร่าง พ.ร.บ.
นิรโทษกรรมที่เสนอโดยกลุ่มญาติผู้สูญเสียล่าสุดนั้น
หากมองในแง่ดี ก็ต้องขอชม 'ประชาธิปัตย์' ที่พร้อมร่วมการเจรจาเพื่อหาทางออกให้บ้านเมือง
แต่หากมองในอีกแง่ ก็อาจเป็นเพราะ 'ประชาธิปัตย์' อ่านเกมส์ทะลุว่าการออกมาหนุนประเด็นเช่นนี้ ย่อมเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพรรครัฐบาลให้มีโอกาสเพลี่ยงพล้ำมากขึ้น
เพราะ 'ประชาธิปัตย์' ทราบดีว่าหากร่างนี้เดินหน้าต่อได้ ก็จะต้องเจรจากันเรื่องข้อความที่ต้องมีการตีความ เช่น
- "มีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง...เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ"
- "มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง"
ประเด็นเหล่านี้มีเกณฑ์พิจารณาอย่างไร ? ใครเป็นผู้พิจารณาทั้งในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ? พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล กระทรวงยุติธรรม ต่างคนต่างพิจารณา ?
สุดท้าย หากเจรจาประเด็นเหล่านี้ได้ ก็น่ายินดี แต่หากมีฝ่ายที่ไม่ยอม ไม่ว่าจะเป็นคนตัวใหญ่ที่อยากรอดไปพร้อมกับคนตัวเล็ก หรือคนตัวเล็กที่ไม่ยอมไปพร้อมกับคนตัวใหญ่ ก็อาจมีการทะเลาะกันเองในพรรค ชุมนุมหน้าสภา หรือไม่ก็ขู่ว่าพรรครัฐบาลไม่จงรักภักดี ฯลฯ
รัฐบาลซึ่งย่อมอ่านเกมส์ออก บวกกับยังแก้ปัญหาเรื่องอื่นไม่ได้ ก็จะลังเล ส่งผลให้ร่างนี้และร่างอื่นๆ ค้างในสภาต่อไป
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ฝ่ายรัฐบาลก็จะโดนโจมตีทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งจากฝ่ายที่มองว่าร่างกฎหมายมีปัญหา และจากฝ่ายที่มองว่ากฎหมายดีแล้วแต่รัฐบาลผลักไม่สำเร็จ
สุดท้ายการเมืองก็จะเข้าทาง 'ประชาธิปัตย์' อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (แม้ในความเป็นจริง 'ประชาธิปัตย์' อาจจะร่วมเจรจาอย่างจริงใจก็ตาม)
===========
ถ้าจะให้ดีสำหรับทุกฝ่ายที่มีความจริงใจ ผมก็เสนออย่างที่เคยเสนอไปแล้ว คือ แทนที่จะมาเสียเวลาเถียงกันกับ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับเดียว ผมเสนอให้ร่วมกันผลัก ร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับเข้าสภาพร้อมกัน และรับหลักการในวาระ 1 ไปพร้อมกันทั้งสองฉบับ ดังนี้
*** พ.ร.บ. ฉบับแรก ***
มุ่งนิรโทษกรรมโดยมีผลทันทีให้แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ถูกตั้งข้อหาความ ผิดรุนแรง เช่น อาจเป็นประชาชนที่ไปร่วมชุมนุม และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น สั่งให้กลับบ้านแล้วไม่ยอมกลับ หรือเป็นความผิดลหุโทษอื่นๆ อันเกี่ยวกับการชุมนุม ที่สังคมยอมรับร่วมกันได้ว่าสมควรได้รับการนิรโทษกรรม และอาจมีการพิจารณาถึงการเยียวยาผู้ที่ได้ถูกลงโทษก็เป็นได้
*** พ.ร.บ. ฉบับที่สอง ***
มุ่งสร้างกลไกบรรเทาความขัดแย้งต่อกรณีการกระทำที่มีข้อหารุนแรง และสังคมยังไม่สามารถยอมรับร่วมกันว่าสมควรได้รับการนิรโทษกรรมทันทีหรือไม่ เช่น การยึดทำเนียบรัฐบาล การเผาสถานที่ หรือทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฎหมายฉบับที่สองจะสร้างกลไกในการทำแสวงหาหนทางว่าผู้ใดสมควรได้รับการ บรรเทาหรือไม่เพียงใด
การบรรเทาความขัดแย้งตามกฎหมายฉบับที่สอง อาจเสนอให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้ทางเลือกที่จะสู้คดีต่อไปตามปกติ หรือจะเข้าสู่กระบวนการคณะกรรมการที่พอยอมรับได้จากทุกฝ่าย มาพิจารณาปัจจัยและบริบทต่างๆเกี่ยวกับความขัดแย้ง เช่น การยอมรับข้อเท็จจริง การขอโทษ การให้อภัย การพิจารณามูลเหตุจูงใจทางการเมือง การพิจารณาลักษณะการกระทำในรูปแบบผู้ตัดสินใจสั่งการ การเยียวยา และปัจจัยอื่นๆ
เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้ว ก็จะพิจารณามาตรการบรรเทาความขัดแย้งในกรณีต่างๆให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งอาจมีหลายวิธี เช่น การนิรโทษกรรม หรือ การรอลงอาญา หรือลดโทษ หรือควบคุมความประพฤติ หรือถ้าไม่สมควรได้รับการบรรเทาความขัดแย้ง ก็ย่อมต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการปกติ
===========
แน่นอนว่าวิธีนี้ไม่ใช่ 'เสร็จได้เร็ว' แต่หากทุกฝ่ายยอมที่จะเจรจากัน วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ 'เริ่มได้เร็ว' โดยร่างฉบับแรก อาจเสร็จก่อนร่างฉบับที่สอง แต่ร่างที่สองก็เริ่มต้นได้โดยไม่ถูกทิ้ง
ที่สำคัญ แนวคิดนี้เป็นการรวมเรื่องการค้นหาความจริงและแสดงความรับผิดชอบต่อความจริงเข้าไปในกระบวนการด้วย
มิใช่ว่านิรโทษแล้วก็จบกันไป โดยต่างคนก็ต่างคิดว่าตนเท่านั้นที่ถูก อีกฝ่ายเท่านั้นที่ผิด
แนวคิดในการ 'เปิดพื้นที่เจรจา' เช่นนี้ ผมเคยอธิบายไปแล้ว หากท่านใดสนใจ หรือสงสัย หรือยังมีสภาวะจิตหลอนนึกว่าข้อเสนอนี้ต้องการไป 'แย่งหน้า' ใคร โปรดอ่านหรือฟังคำอธิบายเพิ่มได้ที่ comment ด้านล่าง แล้วเชิญมาคุยกันดีๆ ด้วยเหตุด้วยผลครับ.
หากมองในแง่ดี ก็ต้องขอชม 'ประชาธิปัตย์' ที่พร้อมร่วมการเจรจาเพื่อหาทางออกให้บ้านเมือง
แต่หากมองในอีกแง่ ก็อาจเป็นเพราะ 'ประชาธิปัตย์' อ่านเกมส์ทะลุว่าการออกมาหนุนประเด็นเช่นนี้ ย่อมเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพรรครัฐบาลให้มีโอกาสเพลี่ยงพล้ำมากขึ้น
เพราะ 'ประชาธิปัตย์' ทราบดีว่าหากร่างนี้เดินหน้าต่อได้ ก็จะต้องเจรจากันเรื่องข้อความที่ต้องมีการตีความ เช่น
- "มีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง...เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ"
- "มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง"
ประเด็นเหล่านี้มีเกณฑ์พิจารณาอย่างไร ? ใครเป็นผู้พิจารณาทั้งในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ? พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล กระทรวงยุติธรรม ต่างคนต่างพิจารณา ?
สุดท้าย หากเจรจาประเด็นเหล่านี้ได้ ก็น่ายินดี แต่หากมีฝ่ายที่ไม่ยอม ไม่ว่าจะเป็นคนตัวใหญ่ที่อยากรอดไปพร้อมกับคนตัวเล็ก หรือคนตัวเล็กที่ไม่ยอมไปพร้อมกับคนตัวใหญ่ ก็อาจมีการทะเลาะกันเองในพรรค ชุมนุมหน้าสภา หรือไม่ก็ขู่ว่าพรรครัฐบาลไม่จงรักภักดี ฯลฯ
รัฐบาลซึ่งย่อมอ่านเกมส์ออก บวกกับยังแก้ปัญหาเรื่องอื่นไม่ได้ ก็จะลังเล ส่งผลให้ร่างนี้และร่างอื่นๆ ค้างในสภาต่อไป
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ฝ่ายรัฐบาลก็จะโดนโจมตีทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งจากฝ่ายที่มองว่าร่างกฎหมายมีปัญหา และจากฝ่ายที่มองว่ากฎหมายดีแล้วแต่รัฐบาลผลักไม่สำเร็จ
สุดท้ายการเมืองก็จะเข้าทาง 'ประชาธิปัตย์' อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (แม้ในความเป็นจริง 'ประชาธิปัตย์' อาจจะร่วมเจรจาอย่างจริงใจก็ตาม)
===========
ถ้าจะให้ดีสำหรับทุกฝ่ายที่มีความจริงใจ ผมก็เสนออย่างที่เคยเสนอไปแล้ว คือ แทนที่จะมาเสียเวลาเถียงกันกับ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับเดียว ผมเสนอให้ร่วมกันผลัก ร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับเข้าสภาพร้อมกัน และรับหลักการในวาระ 1 ไปพร้อมกันทั้งสองฉบับ ดังนี้
*** พ.ร.บ. ฉบับแรก ***
มุ่งนิรโทษกรรมโดยมีผลทันทีให้แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ถูกตั้งข้อหาความ ผิดรุนแรง เช่น อาจเป็นประชาชนที่ไปร่วมชุมนุม และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น สั่งให้กลับบ้านแล้วไม่ยอมกลับ หรือเป็นความผิดลหุโทษอื่นๆ อันเกี่ยวกับการชุมนุม ที่สังคมยอมรับร่วมกันได้ว่าสมควรได้รับการนิรโทษกรรม และอาจมีการพิจารณาถึงการเยียวยาผู้ที่ได้ถูกลงโทษก็เป็นได้
*** พ.ร.บ. ฉบับที่สอง ***
มุ่งสร้างกลไกบรรเทาความขัดแย้งต่อกรณีการกระทำที่มีข้อหารุนแรง และสังคมยังไม่สามารถยอมรับร่วมกันว่าสมควรได้รับการนิรโทษกรรมทันทีหรือไม่ เช่น การยึดทำเนียบรัฐบาล การเผาสถานที่ หรือทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฎหมายฉบับที่สองจะสร้างกลไกในการทำแสวงหาหนทางว่าผู้ใดสมควรได้รับการ บรรเทาหรือไม่เพียงใด
การบรรเทาความขัดแย้งตามกฎหมายฉบับที่สอง อาจเสนอให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้ทางเลือกที่จะสู้คดีต่อไปตามปกติ หรือจะเข้าสู่กระบวนการคณะกรรมการที่พอยอมรับได้จากทุกฝ่าย มาพิจารณาปัจจัยและบริบทต่างๆเกี่ยวกับความขัดแย้ง เช่น การยอมรับข้อเท็จจริง การขอโทษ การให้อภัย การพิจารณามูลเหตุจูงใจทางการเมือง การพิจารณาลักษณะการกระทำในรูปแบบผู้ตัดสินใจสั่งการ การเยียวยา และปัจจัยอื่นๆ
เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้ว ก็จะพิจารณามาตรการบรรเทาความขัดแย้งในกรณีต่างๆให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งอาจมีหลายวิธี เช่น การนิรโทษกรรม หรือ การรอลงอาญา หรือลดโทษ หรือควบคุมความประพฤติ หรือถ้าไม่สมควรได้รับการบรรเทาความขัดแย้ง ก็ย่อมต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการปกติ
===========
แน่นอนว่าวิธีนี้ไม่ใช่ 'เสร็จได้เร็ว' แต่หากทุกฝ่ายยอมที่จะเจรจากัน วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ 'เริ่มได้เร็ว' โดยร่างฉบับแรก อาจเสร็จก่อนร่างฉบับที่สอง แต่ร่างที่สองก็เริ่มต้นได้โดยไม่ถูกทิ้ง
ที่สำคัญ แนวคิดนี้เป็นการรวมเรื่องการค้นหาความจริงและแสดงความรับผิดชอบต่อความจริงเข้าไปในกระบวนการด้วย
มิใช่ว่านิรโทษแล้วก็จบกันไป โดยต่างคนก็ต่างคิดว่าตนเท่านั้นที่ถูก อีกฝ่ายเท่านั้นที่ผิด
แนวคิดในการ 'เปิดพื้นที่เจรจา' เช่นนี้ ผมเคยอธิบายไปแล้ว หากท่านใดสนใจ หรือสงสัย หรือยังมีสภาวะจิตหลอนนึกว่าข้อเสนอนี้ต้องการไป 'แย่งหน้า' ใคร โปรดอ่านหรือฟังคำอธิบายเพิ่มได้ที่ comment ด้านล่าง แล้วเชิญมาคุยกันดีๆ ด้วยเหตุด้วยผลครับ.
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เปิดร่างพ.ร.บ.นิรโทษฉบับปชช. ผิด-"เผา-สั่งการ"ไม่ยกเว้น
หมายเหตุ : ร่าง พ.ร.บ.นิโทษกรรมฉบับประชาชนที่เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรี และประธานสภา เพื่อบรรจุวาระในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. พ.ศ.2553
มาตรา 1
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นี้เรียกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดความสงบเรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549, พ.ศ...........
มาตรา 2
พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3
(1) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
(2) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.มั่นคง ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
(3) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา 3 (2) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 (1) หรือมาตรา 3 (2) ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(4) การกระทำใดๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย
การกระทำใดๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมอันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย
บทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งและสอง รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย
มาตรา 4
การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย
บทบัญญัติในวรรคที่สองให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น
มาตรา 5
เมื่อ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 (1), (2) และ (3) ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา 6
ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.นี้ จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น
มาตรา 7
การดำเนินการใดๆ ตาม พ.ร.บ.นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา 8
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
ทั้งนี้ นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.พ.ศ.2553 กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ว่า หลังจากได้แถลงข่าวเปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปในวันที่ 14 กรกฎาคม ขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยส่วนหนึ่งใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มญาติมีกำหนดการจะนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขอความสนับสนุนจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 09.00 น. วันที่ 16 กรกฎาคม และจะทยอยเดินสายขอความสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างๆ ยกเว้นพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม ก่อนที่ในขั้นตอนสุดท้ายจะเข้ายื่นร่าง พ.ร.บ.ต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ในวันที่ 24 กรกฎาคม เพื่อขอให้บรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมสภาในช่วงต้นเดือนสิงหาคมต่อไป
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
รายงานเสวนา "อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของมาตรา 112 กับสิทธิการประกันตัว"
จากประชาไท
ธงชัยชี้การไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา112 "ไร้เหตุผลสิ้นดี" วสันต์ พานิช ทนายสิทธิระบุศาลไม่มีหลักการในการประกันตัวผู้ต้องหา หนุ่มเรดนนท์ เล่าผู้คุมแดน8 ไฟเขียวถูกรุมทำร้ายในคุก เจ็บปวดกับ นปช. ผิดหวังกับทนายจากพรรคเพื่อไทย
ธงชัยชี้การไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา112 "ไร้เหตุผลสิ้นดี" วสันต์ พานิช ทนายสิทธิระบุศาลไม่มีหลักการในการประกันตัวผู้ต้องหา หนุ่มเรดนนท์ เล่าผู้คุมแดน8 ไฟเขียวถูกรุมทำร้ายในคุก เจ็บปวดกับ นปช. ผิดหวังกับทนายจากพรรคเพื่อไทย
(14 ก.ค.56) ที่โรงแรมกานต์มณีพาเลซ หลังการแถลงข่าวความคืบหน้าในการยื่นประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ ที่ถูกตัดสินจำคุกด้วยมาตรา 112 ครั้งที่ 15 มีการจัดเวทีเสวนา เรื่อง "อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของมาตรา 112 กับสิทธิการประกันตัว"
ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อพยายามตอบคำถามว่า ทำไมศาลจึงไม่ให้ประกันตัวในกรณีสมยศและคนอื่นๆ พบว่าทุกคำอธิบายล้วนมีจุดโหว่ หาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้ จนได้คำตอบว่าไม่มีเหตุผลสิ้นดี
ธงชัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มาตรา 112 จะถูกใช้ในกรณีดูหมิ่น ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงโดยตรง ไม่รวมถึงการกระทำในลักษณะจะทำลายล้างสถาบัน ซึ่งจัดอยู่ในความผิดฐานกบฏ ทำให้ความผิดต่อมาตรา 112 มีโทษไม่สูงมาก แต่นับแต่สงครามเย็นเป็นต้นมา มาตรา 112 ถูกใช้ในข้อหาที่ใหญ่โตรุนแรงขึ้น โดยถูกขยายความเป็นเรื่องความมั่นคง เนื่องจากสังคมไทยมองคอมมิวนิสต์ว่าเป็นลัทธิที่จะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เมื่อมองเช่นนั้น 112 จึงถูกผนวกเข้ากับความเข้าใจผิดดังกล่าว ว่าการหมิ่นกษัตริย์เพราะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะทำให้เกิดการทำร้าย ทำอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ดุจเดียวกับคอมมิวนิสต์
ดังนั้น แม้มาตรา 112 จะมีอดีตมายาวนาน แต่ก็เกิดลักษณะของ "112 ใหม่" ภายใต้บริบทใหม่ และถูกใช้เป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูความมั่นคงของชาติ โดยมีข้อสังเกตว่าระยะที่ใช้ 112 ในแง่กำจัดศัตรูอย่างเข้มข้น บ่อยครั้งและมีโทษรุนแรง มักควบคู่กับระยะที่เคลมว่าเกิดความเป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ควบกับการเป็นภัยต่อชาติ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าการขอประกันตัวในคดี 112 ทั้งหลายในภาวะเช่นนี้ ไม่ได้ประกันเพราะถูกถือเป็นความผิดรุนแรง วาดภาพราวกับจะทำลายชาติ
กรณีที่จะการได้รับการประกันตัว ตั้งข้อสังเกตว่า คนที่มีชื่อเสียง มีสถานะทางสังคมจะได้รับการประกันตัว เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยมักมีการทึกทักเอาว่าคนเหล่านี้จะไม่หลบหนี ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระทั้งสิ้น ทั้งที่ถามว่า อากงหรือนักโทษ 112 จะหนีไปไหน ชีวิตของพวกเขาส่วนใหญ่อยู่ตรงนี้ กลับไม่ได้รับการประกันตัว
ธงชัย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน งานวิจารณ์กระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาล ยังมีไม่เยอะ ทั้งนี้ ผู้พิพากษาจำนวนมากเข้าใจกันว่าตนเองทำงานใต้พระปรมาภิไธย เขาอยากเข้าใจพวกเขาว่าเข้าใจคำนี้ว่าอย่างไร พร้อมชี้ว่า ถ้าพวกเขารู้สึกเดือดร้อน โดยเอาตัวเองเข้าไปแทนกับกษัตริย์ นับว่าเป็นอันตราย เพราะ หนึ่ง ศาลกับเจ้าจะเทียบกันได้อย่างไร สอง เท่ากับศาลเป็นคู่ความเสียเอง จึงไม่สมควรจะตัดสินคดีเอง
ธงชัย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ มาตรา 112 กลายเป็นเลนส์หนึ่งที่ชาวโลกใช้ในการมองประเทศไทย การตีความ ให้ฟ้องเปรอะไปหมด โทษที่หนักรุนแรง การไม่ให้ประกัน เป็นเรื่องไร้เหตุผล และหากตัดสินผิด หรือตัดสินไม่ดี เช่น กรณีอากง ไทยจะเสียภาพพจน์อย่างยิ่ง เพราะไม่มีสถานทูตไหนแก้ต่างแทนได้ เสียหายต่อทั้งประเทศและสถาบันกษัตริย์เอง
"นี่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์หรือไม่ รอยัลลิสต์ไม่ใช่คนโง่ แต่ทำไมไม่คิดเรื่องนี้ก็ไม่ทราบ" ธงชัย กล่าว
วสันต์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และทนายความของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ชี้ว่า การให้ประกันตัวในคดีอาญาที่ผ่านมาไม่รู้ว่าหลักการอยู่ตรงไหน โดยยกตัวอย่างคดีอุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่คนที่ถูกกล่าวหาว่าอุ้มทนายสมชายได้รับการประกันตัว ต่อมา หลังมีคำตัดสินลงโทษ ปรากฏว่ามีการร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ โดยอ้างเหตุโคลนถล่มที่อุตรดิตถ์
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่อีสาน เยาวชนคนหนึ่งถูกฆ่าแขวนคออำพรางคดี สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ชันสูตรพบว่า ถูกซ้อมทรมานจนตาย แล้วเอามาแขวนคอ มีการส่งฟ้อง ศาลตัดสินลงโทษผู้ต้องหาทั้งประหารชีวิตและจำคุกหลายสิบปี แต่พวกเขาก็ได้ประกัน และยังรับราชการตามปกติ สรุปแล้ว การประกันตัวหรือไม่ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่รู้จะให้เหตุผลอย่างไร หาทฤษฎีมาสรุปไม่ได้
การได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และเป็นสิทธิตามกติการะหว่างประเทศ ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุว่า รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี นอกจากนี้ยังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 ซึ่งระบุว่า เมื่อรัฐธรรมนูญออกมาคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแล้ว ใช้บังคับได้เลยโดยไม่ต้องมีกฎหมายลูกรองรับ โดยตนเองเคยร้องต่อศาล กรณีลูกความถูกจับกุม โดยได้ยื่นขอปล่อยตัว ว่าควบคุมตัวโดยไม่ชอบและขอให้ผู้คุมตัวชดใช้ค่าเสียหาย โดยได้อ้างคำวินิจฉัยดังกล่าว ผลคือ ศาลสั่งปล่อยตัวและให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายด้วย
ธันย์ฐวุฒิ หรือ หนุ่ม เรดนนท์ อดีตผู้ต้องขัง112 ซึ่งเพิ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา เล่าว่า ในคดีของตนเองนั้น สู้เรื่องการประกันตัวมาโดยตลอด ตั้งแต่ชั้นฝากขัง ซึ่งยื่นประกันตัว 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ช่วงแรกที่เข้าไปในคุก ก็ยังมีความหวังอยู่ โดยหลังขึ้นศาลมีการสั่งฟ้องสืบพยาน ได้ยื่นประกันตัว ราว 8 ครั้ง ขณะนั้น ยังคิดว่าน่าจะได้ประกันตัวออกไป ไม่เคยมีอคติกับศาลหรือระบบยุติธรรมไทย จนกระทั่งอากงถูกตัดสินจำคุก มีนักวิชาการยื่นประกันตัว และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ทำให้ตัดสินใจว่าจะไม่ขอสู้แล้ว
จากการได้พบผู้คนจำนวนมากในเรือนจำ ทำให้เห็นว่าชาวบ้านหาเช้ากินค่ำมักไม่ได้ประกันตัว ขณะที่คนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีล้วนได้ประกัน จึงไม่สามารถหามาตรฐานใดๆ ได้ในระบบยุติธรรมของประเทศ ส่วนกรณีมาตรา 112 นั้น มาตรฐานเกือบจะเท่ากัน คือไม่เคยได้รับการประกันตัวเลย
หนุ่ม เรดนนท์ กล่าวว่า สำหรับนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น จะได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี จากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บางคน รวมถึงผู้ต้องขังด้วยกัน ตั้งแต่การถูกเขม่นไปจนการรุมทำร้าย
เขาเล่าว่า หลังเข้าไปในเรือนจำได้สองอาทิตย์ จะมีการแยกแดน นักโทษคดีหมิ่นฯ จะถูกจัดอยู่ในแดน8 ซึ่งเป็นแดนของนักโทษคดีความมั่นคง คดีที่มีโทษสูง หรือมีประวัติร้ายแรง โดยในวันที่เขาเดินเข้าแดนแปด ก็ถูกรุมสกรัมจากนักโทษด้วยกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่บางคนก็แสดงความอาฆาตเขาอย่างชัดเจนต่อหน้านักโทษคนอื่นๆ ซึ่งเขามองว่า นี่คือไฟเขียวให้นักโทษทุกคนทำอะไรกับเขาก็ได้ ทำให้เขาไม่สามารถเดินไปไหนได้อย่างเป็นสุข และแม้ข่าวนี้จะหลุดออกไปสู่ภายนอกเนื่องจากเขาแจ้งผ่านผู้มาเยี่ยม แต่สุดท้ายเขาก็ต้องทำรายงานว่าเป็นความเข้าใจผิดกัน ต้องยอม เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นพวกบ้าง
นอกจากนี้ ยังมีกรณีของสุริยันต์ นักโทษคดีหมิ่นฯ ที่โทรศัพท์ขู่วางระเบิด รพ.ศิริราช ที่โดนบ้องหู จนหูดับไปเป็นเดือน เลือดออกทางตา ตัวมีรอยช้ำเต็มไปหมด แม้ว่าเขาจะแนะนำให้ไปหาหมอบันทึกอาการป่วยไว้ แต่สุริยันต์กลัว จึงไม่ไป กรณีของอากง ที่แม้ไม่ถูกทำร้าย แต่ถูกบังคับให้ทำงานหนัก จนนักโทษคนอื่นต้องแอบมาช่วยทำ ทั้งนี้ หลังอากงเสียชีวิต นักโทษคดี 112 ถูกย้ายไปแดนหนึ่งทั้งหมด และได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น โดยสรุปแล้ว เปรียบเทียบกันสองรัฐบาล นักโทษคดีหมิ่นฯ ได้รับการปฏิบัติที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ หนุ่ม เรดนนท์ กล่าวด้วยว่า ถึงวันนี้เขาก็ยังไม่มีความสุขกับแนวทางของ นปช. เลย เจ็บปวดทุกครั้งที่เห็นแกนนำออกโทรทัศน์แล้วบอกว่าจะระดมมวลชนออกมาอีก อยากบอกว่าถ้าไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งทำ ถามว่ามีทนายให้เขาหรือยัง กองทุนยุติธรรมช่วยเหลือได้จริงหรือ พร้อมเล่าว่า ขณะอยู่ในคุก พวกเขาได้แต่มองมวลชนที่มาเยี่ยมแกนนำ ขณะที่พวกเขาไม่มีใครมาเยี่ยมเลย พรรคเพื่อไทยเคยเข้ามาครั้งหนึ่งหลังสลายการชุมนุม ให้เงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาท กับข้าว ของใช้ นปช. เข้ามา 4 ครั้ง จนตอนหลัง เขาริเริ่มโครงการของขวัญสีแดง เพื่อส่งกำลังใจให้ผู้ต้องขังที่ยังเหลืออยู่ จนตอนหลังจึงเริ่มได้รับความช่วยเหลือ แต่นั่นก็หมายถึงว่าเขาต้องทำก่อน จึงจะมีคนเข้ามาดูแล
ด้านความไม่พร้อมของทนายความ หนุ่ม เรดนนท์กล่าวว่า นักโทษหลายคนได้ทนายความที่ไม่ใส่ใจในคดีเลย ไม่เคยเข้ามาถาม กรณีของตัวเอง พรรคเพื่อไทยส่งทนายมาให้ แต่ได้เห็นหน้ากันในศาลตอนที่นัดพร้อมแล้ว สุดท้ายเขาจึงขอเปลี่ยนทนายเป็น อานนท์ นำภา ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในหลายๆ เรื่อง
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
อียิปต์ยามกองทัพล้มประชาธิปไตย
ที่มา:โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 419 13 กรกฎาคม 255
โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ในที่สุด สถานการณ์ยึดอำนาจในอียิปต์ก็มีแนวโน้มลุกลามกลายเป็นการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน จนถึงวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม นี้ มีประชาชนที่ต่อต้านการยึดอำนาจถูกสังหารไปแล้วมากกว่า 50 คน ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์ไม่น่าที่จะยุติลงได้โดยง่าย
ทั้งนี้กองทัพอียิปต์ได้ก่อการยึดอำนาจตั้งแต่วันพุธที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอรซี แล้วตั้งอัดลี มานซูร์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานาธิบดีรักษาการ แต่ฝ่ายกองทัพอ้างว่า ไม่ได้ทำการรัฐประหาร เพียงแต่ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชน หลังจากที่ประชาชนนับแสนคนได้มาชุมนุมขับไล่รัฐบาลของประธานาธิบดีมูรซีตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ปัญหาแรกสุดของข้ออ้างนี้ก็คือ ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งนับแสนคนเช่นกัน ก็ก่อการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลมอรซี
อียิปต์เป็นประเทศในกลุ่มอาหรับที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรมากถึง 84 ล้านคน และเป็นมิตรอันแน่นแฟ้นของสหรัฐอเมริกา ความสำคัญคือเป็นประเทศที่ควบคุมยุทธศาสตร์ คือ คลองสุเอช ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งน้ำมันของโลก ประวัติศาสตร์อียิปต์สมัยใหม่เริ่มจากการปฏิวัติในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2495 โดยคณะทหารหนุ่มฝ่ายก้าวหน้าได้โค่นอำนาจของกษัตริย์ฟารุก ต่อมา คณะปฏิวัติได้ประกาศให้ประเทศอียิปต์เป็นสาธารณรัฐ โดยมีนายทหารหนุ่มวัย 34 ปี คือ กามาล อับเดล นัสเซอร์ เป็นประธานาธิบดี นัสเซอร์ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษแห่งชาติ แต่ปกครองประเทศในแบบเผด็จการ แม้ว่ามีการใช้นโยบายใหม่ เช่น การใช้นโยบายเศรษฐกิจสังคมนิยม การปฏิรูปที่ดิน นอกจากนี้ก็คือ การรณรงค์ชาตินิยมอาหรับ เป็นปฏิปักษ์กับอิสราเอล และไม่นิยมตะวันตก โดยเฉพาะการยึดกิจการคลองสุเอช จากอังกฤษ อันนำมาซึ่งสงครามใน พ.ศ.2499 ต่อมา นัสเซอร์ก็นำประเทศเข้าสงครามกับอิสราเอลในเดือนตุลาคม พ.ศ.2510 อันนำมาสู่ความพ่ายแพ้ ทำให้นัสเซอร์เสื่อมศักดิ์ศรีอย่างมาก นัสเซอร์ถึงแก่กรรมในตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2513
รองประธานาธิบดีอัลวา ซาดัท ซึ่งเป็นนายทหารอีกคนหนึ่งที่ร่วมปฏิวัติ ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซาดัทได้นำประเทศเข้าทำสงครามกับอิสราเอลอีกครั้งใน พ.ศ.2516 ซึ่งในครั้งนี้ อียิปต์สามารถรักษาสถานะไม่ประสบความพ่ายแพ้ ทำให้ซาดัทได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ซาดัทตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยหันมาสร้างมิตรภาพกับสหรัฐอเมริกา และยุติภาวะสงครามกับอิสราเอล ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์แห่งสหรัฐได้เป็นเจ้าภาพให้ประธานาธิบดีซาดัทได้พบและเจรจากับนายกรัฐมนตรีเมนาเฮม เบกินแห่งอิสราเอลที่แคมป์เดวิดในสหรัฐอเมริกา และนำมาสู่การลงนามในสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิดในเดือนกันยายน พ.ศ.2521
ภายในประเทศ ประธานาธิบดีซาดัทได้ล้มเลิกเศรษฐกิจสังคมนิยม หันมารับการลงทุนจากตะวันตก ใช้นโยบายเศรษฐกิจเสรีมากยิ่งขึ้น การฟื้นความสัมพันธ์กับตะวันตกและมุ่งสู่ทุนนิยมสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ฝ่ายอิสลามหัวรุนแรง ซึ่งเห็นว่าซาดัททรยศต่อประเทศ ในวันที่ 6 ตุลาตม พ.ศ.2524 นายทหารที่เป็นฝ่ายชาตินิยมจัดจึงได้สังหารประธานาธิบดีซาดัทในขณะที่กำลังตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ
ฮอสนี มูบารัค รองประธานาธิบดีซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน และอยู่ในตำแหน่งต่อมานานถึง 30 ปี ในลักษณะของเผด็จการ แม้ว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งและลงประชามติรับรองถึง 3 ครั้ง แต่ก็เป็นการเลือกตั้งที่ปราศจากคู่แข่ง จนถึงการเลือกตั้งใน พ.ศ.2548 ที่เริ่มให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยมีผู้สมัครจากหลายพรรค มูบารัคลงสมัครในนามพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ และได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงถึง 88.6 %
นโยบายของมูบารัคก็คือ การรักษาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ และรื้อฟื้นสถานะในโลกอาหรับ ในทางเศรษฐกิจมูบารัคก็ยังส่งเสริมระบบเสรีต่อไป ทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างมาก ขณะที่ช่องว่างทางชนชั้นก็ยังคงรุนแรง โดยที่มูบารัคและครอบครัวก็ร่ำรวยอย่างมหาศาลภายใต้ระบบรัฐที่ทุจริตคอรับชั่นอย่างหนัก แต่กระนั้น อำนาจสถาปนาของกองทัพและศาลก็เป็นไปอย่างมั่นคง และกลายเป็นกำลังสำคัญในการค้ำจุนระบอบมูบารัค อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการบริหารไปหลายปี กระแสความไม่พอใจต่อมูบารัคขยายตัวมากขึ้น กลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่ขยายตัวมากกว่ากลุ่มอื่นคือ กลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2471 โดยมุ่งที่จะพื้นฟูหลักการดั้งเดิมของอิสลาม ยึดหลักชาตินิยมอาหรับ และต่อต้านทุนนิยมตะวันตก ในสมัยมูบารัคกลุ่มมุสลิมภราดรภาพถือว่าเป็นกลุ่มที่ผิดกฎหมาย
เมื่อเกิดกระแสอาหรับสปริงใน พ.ศ.2554 ประชาชนก็เริ่มชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีมูบารัค และขยายตัวอย่างรวดเร็วและกลายเป็นการจลาจล ในที่สุด ประธานาธิบดีมูบารัคต้องลาออกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ และให้พล.อ.ฮุสเซ็น ทานวานี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเป็นประธานาธิบดีรักษาการ เพื่อเปิดทางแห่งการฟื้นฟูประชาธิปไตย การเลือกตั้งเสรีครั้งแรกในประวัติศาสตร์อียิปต์มีขึ้นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน โมฮัมหมัด มอรซี ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปไตยและยุติธรรมซึ่งเป็นพรรคที่มาจากปีกทางการเมืองของอิสลามภราดรภาพ เพราะรัฐธรรมนูญของอียิปต์ห้ามตั้งพรรคการเมืองแนวศาสนาโดยตรง ปรากฏว่า มอรซีได้คะแนนเสียงมากที่สุด จึงได้เป็นประธานาธิบดีบริหารประเทศต่อมา
เมื่อขึ้นมาสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว มอรซีได้พยายามปฏิรูปการเมืองด้วยการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อลดบทบาทอำนาจนำดั้งเดิม คือ กองทัพและศาล แต่ให้เพิ่มอำนาจแก่ประธานาธิบดีนอกจากนี้ก็คือ การให้เสรีภาพแก่ฝ่ายมุสลิมภราดรภาพที่จะแสดงบทบาทได้อย่างเปิดเผย จึงได้นำมาสู่ความไม่พอใจ ประการต่อมาคือความล้มเหลวในทางเศรษฐกิจได้ช่วยโหมทวีความไม่พอใจ จึงได้เกิดกระแสต่อต้าน และนำมาซึ่งการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมอรซี จนกลายเป็นเงื่อนไขของการยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่งของกองทัพ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ฝ่ายยึดอำนาจไม่ใช่คำว่ารัฐประหาร ก็เป็นเพราะเงินช่วยเหลือทางทหารจำนวนมหาศาลจากอเมริกา เพราะในทางกฎหมาย รัฐบาลอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือแก่กองทัพที่ก่อการรัฐประหารทำลายประชาธิปไตยไม่ได้ ปัญหาก็คือ การยึดอำนาจก็เผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนเช่นกัน โดยตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม การชุมนุมใหญ่เพื่อต่อต้านการยึดอำนาจของฝ่ายทหารเกิดขึ้นหลายเมือง โดยเฉพาะในกรุงไคโร เมืองอเล็กซานเดรีย แต่ละแห่งมีประชาชนเข้าร่วมหลายหมื่นคน และนำมาซึ่งการปราบปรามอย่างรุนแรง
จึงมึความเป็นไปได้ว่า การยึดอำนาจของกองทัพจะนำมาซึ่งความชะงักงันทางการเมือง โดยที่ความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมอียิปต์ก็ยังคงดำเนินต่อไป และมีแนวโน้มที่จะกระทบอุตสาหกรรมการท่องเทียว ที่เป็นที่มาของรายได้สำคัญของประเทศ และจะนำมาซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก
สถานการณ์ในอียิปต์คงจะยังไม่จบลงโดยง่าย บทเรียนจากเรื่องนี้ ก็เป็นดังเช่นบทเรียนที่เกิดขึ้นมาแล้วในไทย คือ การรัฐประหารแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ แต่จะยิ่งนำมาซึ่งปัญหาใหม่ที่ยุ่งยาก และแก้ยากมากกว่าเดิม เพราะไปใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเสียแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)