1. ชีวิตที่ผันแปร
ผมจำความได้ว่าชีวิตที่เกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผมเริ่มต้นจากการเป็นนิสิตปีที่
1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสังเกตุการเลือกตั้งที่จังหวัดสุโขทัยเมื่อปี
2513 แต่ 40 กว่าปีผ่านไปชีวิตที่ไม่ได้คาดฝันวันนี้ได้มีโอกาสไปสังเกตุการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สหรัฐอเมริกาในฐานะตัวแทนของรัฐสภาไทยดูชั่งอัศจรรย์ใจจริงๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไปเห็นการเลือกตั้งของอเมริกาในขณะที่สมองของผมเต็มไปด้วยข้อมูลประชาธิปไตยแบบไทยๆ
ที่นักวิชาการไทยแต่มีใจเป็นเผด็จการได้เป่าเสกเวทย์มนต์ครอบงำสังคมไทยมายาวนาน ทำจนคนไทยเข้าใจประชาธิปไตยว่าเป็นระบอบการปกครองของเทวดาบนฟ้าไม่ใช่ระบอบการปกครองของสามัญชนที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน
ดังนั้น
คนไทยจึงเข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่เน้นแต่คุณธรรมและจริยธรรมแต่ไม่เน้นนโยบายที่จะเอาภาษีของประชาชนกลับไปสู่คนส่วนใหญ่และเน้นให้ระบบการเลือกตั้งเกิดความศักดิ์สิทธิ์เหมือนศาสนาขยับนิดก็ผิด
ขยับหน่อยก็โมฆะและใช้โอกาสแห่งความงุนงงในคุณธรรมอันจอมปลอมนี้ทำการโจมตีนักการเมืองตัวแทนของประชาชนว่าเป็นผู้ขาดคุณธรรมและจริยธรรมแล้วก็ใช้กำลังทหารยึดอำนาจเป็นระยะๆในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
และตลอดเวลาของการยึดอำนาจตัดตอนประชาธิปไตยนั้นก็สร้างระบบองค์กรอำนาจของขุนนางที่หลอกลวงว่าเป็นองค์กรอิสระแต่แท้จริงคือองค์กรของระบอบขุนนางขึ้นมาครอบงำระบอบประชาธิปไตยแล้วสุดท้ายเมื่อประชาชนรู้ทันก็ทำการจับกุมและเข่นฆ่าประชาชนที่ออกมาต่อต้านและหลังจากนั้นก็ใช้กลไกศาสนาเรียกร้องให้อภัยต่อกันด้วยเหตุผลที่คุ้นหูว่า
“เราเป็นคนไทยด้วยกันมีศาสนาเดียวกันและมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน” แล้วอีกไม่นานก็ฆ่ากันใหม่วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ไม่จบสิ้น มาถึงวันนี้ผมจึงเกิดภาวะตาสว่างว่าทั้งหมดที่คนไทยได้ถูกกรอกหูมาทั้งชีวิตนั้นเป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น
เพราะแท้จริงแล้วระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบปกครองของสามัญชนคนเดินดินที่มีทั้งผิดและถูกแต่มีสาระสำคัญคือใช้เสียงข้างมากตัดสินเป็นระยะๆและแก้ไขกันไปเรื่อยๆเรียกว่า
“พัฒนาการ” แต่ไม่ใช่ระบอบของสวรรค์ที่ทุกอย่างต้องถูกต้องตามหลักคุณธรรมทางศาสนาในไตรภูมิพระร่วงและหากผิดเมื่อไรก็เป็นบาปตราติดชีวิตไปถึงชาติหน้า
ดังนั้นเมื่อมองประชาธิปไตยไทยกับอเมริกาจึงเปรียบได้ว่าประชาธิปไตยไทยเหมือนระบอบบนฟ้าที่ไม่เป็นจริงกับประชาธิปไตยอเมริกาที่เป็นระบอบแห่งความเป็นจริงที่คนเดินดินต้องช่วยกัน
2.เลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี ได้วันดีตรงกัน
แค่รู้ว่าวันเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขาเลือกทุกวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายนของปีคู่ทุกๆ
4 ปี ซึ่งเลือกมาจะพอ 200 ปีแล้ว
ผมก็ได้รู้ทันทีว่าประชาธิปไตยของบ้านเรามีปัญหาแน่ๆ
เพราะวันเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทยไม่เคยตรงวันเลยตลอด 80 ปี
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา
กรณีนี้ยังไม่นับถึงตลอดระยะเวลา 80 ปีที่มีการฆ่าตัดตอนประชาธิปไตยหรือเรียกให้ทันสมัยแบบองค์การพิทักษ์สยามของ
เสธ.อ้าย ว่า “การแช่แข็งประชาธิปไตย” เป็นระยะๆ โดยไม่มีการเลือกตั้งรวมตลอดถึงระหว่างมีประชาธิปไตยก็ยังบิดเบี้ยวทำเอาใจหายใจคว่ำโดยอำนาจนอกระบบเล่นละครตบตาประชาชนพยายามช่วงชิงอำนาจที่ประชาชนมอบให้กลับคืนไปในทุกวิถีทางก็มีให้เห็นตลอดเวลาในประวิติศาสตร์การเมืองไทย
เช่น การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นนายกฯก็เกิดเหตุการณ์ใจหายใจคว่ำเริ่มตั้งแต่วันแรกของการรับพระบรมราชโองการ
ก่อนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าบริหารประเทศทั้งๆที่ได้รับเลือกตั้งมีเสียงข้างมากในสภาที่มาจากประชาชนแล้วแต่ทุกคนกลับต้องลุ้นว่า
“เธอ” จะได้เป็นนายกฯหรือไม่ เพราะในวันรับพระบรมราชโองการตามกำหนดเป็นวันที่
5 สิงหาคม 2555 แต่ต้องเลื่อนกำหนดไปเป็นวันที่ 8 สิงหาคม 2555 โดยไม่มีใครที่จะหาความจริงได้ว่าเป็นเพราะอะไร
? ได้แต่เพียงกล่าววิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆรวมถึงประวัติศาสตร์การรอเป็นนายกฯเก้อของ
พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ในปี 2535
ทั้งๆที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภา ด้วยเหตุที่รถยนต์ของ ดร.อาทิตย์
อุไรรัตน์
ในฐานะประธานรัฐสภาในขณะนั้นที่นำพระบรมราชโองการผ่านหน้าบ้านพลอากาศเอกสมบุญ
ระหงษ์ ไปจอดที่หน้าบ้านนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นเช่นนี้ก็ยิ่งเห็นชัดว่าระบอบของเรามีปัญหาจริงๆ
และเป็นปัญหาสำคัญที่นำประเทศชาติสู่วิกฤติอันเป็นผลมาจากโครงสร้างของระบอบจนเกิดภาวะบิดเบี้ยวต่อความเข้าใจของประชาชนและนำไปสู่ความไม่สงบของบ้านเมืองต่อเนื่องมายาวนาน
เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าที่สหรัฐอเมริกานั้นเขามีการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกๆ
4 ปี ตรงวัน ตรงปี กันมานานกว่า 100 ปี แล้วนับตั้งแต่เขามีเลือกตั้งกัน
กล่าวคือจะเป็นวันอังคารแรก (หลังจากมีวันจันทร์แรก) ของเดือนพฤศจิกายน (ถ้าวันที่
1 พฤศจิกายน เป็นวันอังคารก็จะเป็นอังคารที่สองของเดือนพฤศจิกายน แทน) ของปีคู่
ทุกๆ 4 ปีนับล่วงหน้าไปได้เลย
และแม้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยของเขาจะมีสะดุดหยุดลงบ้างเป็นธรรมดา เช่น
มีการสังหารประธานาธิบดีก็ตาม เขาก็มีระบบทดแทนทันทีโดยไม่ขาดตอน
คือจะมีรองประธานาธิบดีคนที่ 1 ขึ้นทำหน้าที่แทนทันที
ดังเช่นกรณีการสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี เมื่อ 22 พฤศจิกายน 1963 (พ.ศ. 2506)
ที่เมืองดัลลัส รัฐเทคซัส
และขณะนำศพของประธานาธิบดีเคนเนดีขึ้นเครื่องบินกลับไปทำพิธี ตอนบ่ายของวันตายนั้นรองประธานาธิบดีลินดอน
บี.จอห์นสัน ก็ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนทันทีโดยเข้ารับหน้าที่และสาบานตนต่อศาลสูงบนเครื่องบินที่บรรทุกศพของประธานาธิบดีเคนเนดีนั้นเอง
และอยู่จนครบวาระที่เหลืออยู่ของประธานาธิบดีที่เสียชีวิตแล้วก็เลือกตั้งกันใหม่ตามวันเวลาที่กำหนดไว้
เมื่อฟังผู้รู้มาบรรยายให้ฟังในประเทศไทยในห้องกรรมาธิการการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรที่เมืองไทยก่อนจะเดินทางไปสังเกตการณ์ที่สหรัฐอเมริกา
ผมก็สรุปได้ว่าที่ระบอบประชาธิปไตยของเขามีความมั่นคงและแน่นอนตรงวันเวลาเช่นนี้เป็นเพราะเขาไม่มีอำนาจนอกระบบที่เข้ามาแทรกแซงตัดตอนอำนาจของประชาชนเลย
พูดกันให้ตรงไปตรงมาก็คือ ทหารอเมริกันไม่อาจจะขับรถถังออกมายึดอำนาจโดยมีนักวิชาการที่เลวร้ายคอยอธิบายเหตุผลสร้างความชอบธรรมให้แก่การทำลายประชาธิปไตยว่า
“การขับรถถังออกมานั้นเพื่อสร้างความสงบและเป็นการรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์”
หรือมีการอธิบายด้วยภาษาโกหกที่คุ้นหูว่า “เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ไร้คุณธรรมบริหารประเทศด้วยการหาประโยชน์ส่วนตัว” เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ในอเมริกาประชาชนเขาเอาทหารตาย
รถถังจะกลายเป็นเศษเหล็กภายในพริบตา
ผมก็เป็นคนขี้สงสัยเมื่อรู้ว่าอเมริกาไม่มีทหารเสียสติและนักวิชาการขายตัว
แต่ก็ยังสงสัยจึงสอบถามผู้รู้ว่า ทำไม ? เขาถึงเลือกตรงวันอังคารและตรงเดือนตลอดเวลานานเป็นร้อยๆปี
เช่นนี้ด้วยเล่า ?
ก็ได้คำตอบว่าเป็นภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานเพราะเมื่ออเมริกาเริ่มต้นตั้งเป็นประเทศเมื่อ
200 กว่าปีก่อนเขาก็เป็นประเทศเกษตรกรรม
เวลาเลือกตั้งที่สะดวกก็ต้องทำกันในหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้วก็ตกอยู่เดือนพฤศจิกายนที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวและเมื่อก่อนการคมนาคมก็ไม่สะดวกจะเดินทางไปเลือกตั้งก็ต้องขี่ม้ากันไปเป็นวัน
ก็พอดีที่จะเป็นวันอังคารเพราะ วันอาทิตย์ทุกคนก็จะเข้าโบสถ์กันเป็นปกติพอ
วันจันทร์ ก็เป็นวันเดินทางทั้งวันกว่าจะถึงเมืองที่ลงคะแนนเลือกตั้งก็ค่ำมืดต้องนอนพัก
พอรุ่งเช้าวันอังคารก็ลงคะแนนแล้วขี่ม้ากลับบ้าน ดังนั้นเมื่อทำติดต่อกันมานานมันก็ลงตัวทุกๆ 4 ปี
ไม่มีขาดตอนก็เลยยาวกันมาอย่างนี้
ผู้รู้เขาเล่าให้ฟังอย่างนี้ก็ดูมีเหตุผลดีนะครับ
...............
ข่าวการโจมตีซีเรียทำให้สังคมอเมริกาตื่นตัว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เกิดประเด็นถกเถียงว่ารัฐบาลโอบมาเข้าใจความต้องการของประชาชนหรือไม่ หรือว่าคนอเมริกันต่างหากที่ต้องเข้าใจความเป็นไปของโลกให้มากกว่านี้ หรือว่าแท้ที่จริงแล้วการตัดสินใจของรัฐบาลขึ้นกับหลายปัจจัย คำว่า “เพื่อประชาชน” มีความหมายซับซ้อนกว่าที่คิด
ตอบลบhttp://www.chanchaivision.com/2013/09/Democracy-in-America-Debate-over-Syria.html