ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 387 วันที่ 24-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 10 คอลัมน์ เพื่อชาติประชาชน โดย Pegasus
ยุทธศาสตร์ 3 ก้าวของทฤษฎีเติ้ง เสี่ยว ผิง คือเริ่มจากประกาศแผนในปี 1979 จะทำให้เศรษฐกิจจีนในปี ค.ศ. 1990 โตเป็น 2 เท่าของปี 1980 เพื่อให้สังคมพ้นจากความยากจน ปี 2000 เศรษฐกิจจะโตขึ้นอีก 2 เท่า ประชาชนจะกินดีอยู่ดีโดยพื้นฐาน และก้าวที่ 3 ปี 2050 จีนจะรุ่งเรืองระดับโลก มีความมั่งคั่งร่ำรวยถ้วนหน้า
สถานการณ์ในขณะนี้หลังการประชุมสมัชชาครั้งที่ 18 จีนจะหันมาสนใจสิ่งแวดล้อม ดูแลด้านการสาธารณสุข ลดการเติบโตอย่างร้อนแรงเพื่อให้เกิดภาวะสมดุลมากขึ้น โดยกล่าวอย่างอหังการว่าปี 2020 จะไม่เหลือคนจนอีกต่อไป
แน่นอนว่าเป้าหมายของจีนที่จะเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกในปี 2050 ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่ออีกต่อไป หันมาเปรียบเทียบกับไทยที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เริ่มแรกประชากรยากจนน้อยกว่า ต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนจำนวนมาก มีก๊าซธรรมชาติส่งออกเป็นลำดับที่ 27 ของโลก มีน้ำมันส่งออกเป็นลำดับที่ 33 ของโลก
แต่ไทยทำอะไรอยู่ ทำไมประชาชนจึงยังลำบากยากแค้น ฆ่าฟันสังหารหมู่กันเองไม่เลิก ขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันจีนเปิดประเทศจากที่เศรษฐกิจล้าหลังและยากจนในปี 1980 หรือ พ.ศ. 2523 ขณะที่ไทยมีคนบางกลุ่มคิดจะ “แช่แข็งประเทศ” 5 ปี โดยเริ่มใน พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2523 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก มีการพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ ยุติสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่ยังใช้ประชาธิปไตยเสี้ยวใบ ครึ่งใบ มีความพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง จนวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พล.อ.เปรมวางมือทางการเมืองหลังมีการเดินขบวนเรียกร้องให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ
พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากพรรคการเมือง เริ่มนโยบายใหม่ “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ทำให้มีการเก็งกำไรในที่ดินอย่างรุนแรง เงินเฟื่องฟู แต่รัฐบาลอยู่ได้ 2 ปีกว่าก็ถูกยึดอำนาจโดย รสช. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 แล้วให้นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอก เป็นการ “แช่แข็งประเทศ” 1 ปี หลังจากนั้นมีการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาชนเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง มีการปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จบลงด้วยชัยชนะของประชาชนที่นำโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
แต่ประธานรัฐสภาในขณะนั้นกลับละเมิดกติกาประชาธิปไตย และประชาชนถูกหลอกให้หลงงมงายไปกับสื่อเลือกข้างจนยอมละทิ้งหลักการ โดยสนับสนุนให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งคือนายอานันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ต่ออีก 1 ปี จนมีการเลือกตั้งโดยนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ.เปรม โดยพลิกชนะ พล.ต.จำลองอย่างเหลือเชื่อในปี 2535-2538 เหตุการณ์ช่วงนี้บ้านเมืองสงบเงียบ มีแค่กรณีส่งสุนัขมากัดเกษตรกรชาวอีสานที่มาประท้วงขอความเป็นธรรม
แต่ที่สำคัญคือมีการเปิดเสรีให้นำเงินกู้ต่างประเทศเข้ามาโดยไม่ปล่อยค่าเงินให้ลอยตัว ทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศมหาศาลและไร้ทิศทาง ส่งผลให้รัฐบาลต่อมาคือ นายบรรหาร ศิลปอาชา เผชิญหน้ากับเศรษฐกิจขาลง ทั้งยังถูกโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคนต่างด้าวอีก จึงใช้วิธียุบสภา ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รับเคราะห์วิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ฟองสบู่แตก และต้องลาออก นายชวนได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 และมีการสั่งปิด 56 สถาบันการเงิน มีหนี้เสียจำนวนมหาศาล มีการจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ขึ้นมาสะสางหนี้ แต่ ปรส. ก็ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้ว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 10 ข้อหา แต่จนถึงขณะนี้ก็ไม่มีการดำเนินคดีจนจะหมดอายุความในปี 2556
มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งต้องการให้พรรคการเมืองมีความมั่นคง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2544 และชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 แต่กลับมีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีการตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คลอดรัฐธรรมนูญประหลาดฉบับ 2550 แต่ยังได้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาคือ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่ก็ถูกกลุ่มเสื้อเหลืองชุมนุมกดดัน และรัฐบาลก็มีอันเป็นไปจากอำนาจ “ตุลาการภิวัฒน์” พร้อมกับการเข้ามาของรัฐบาลที่ตั้งในค่ายทหารที่ปราบปรามประชาชนจนเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ประชาชนก็ยังเลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามา โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็อาจจบลงด้วยอำนาจนอกระบบอีกครั้งจากความคิดจะ “แช่แข็งประเทศไทย 5 ปี”
จีนได้นโยบาย 4 ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยว ผิง ที่ว่า “ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง” ทำให้วันนี้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยกวาดล้างพวกกลัวการเปลี่ยนแปลง เกลียดการเลือกตั้ง เพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวและบริวาร
ประเทศไทยจึงถึงเวลาที่ประชาชนทั้งมวลจะลุกขึ้นต่อสู้อย่างเข้มแข็งเพื่อขับไล่กลุ่มที่กดขี่ประชาชน เพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เพื่อให้ลูกหลานมีอนาคตที่ดี แต่ต้องสู้อย่างฉลาด ไม่ประมาท ใช้ปัญญาและรอจังหวะที่เหมาะสม ประชาธิปไตยและประชาชนจงเจริญ
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
แช่แข็งประเทศไทย ใครหนาว?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับ 387 วันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2555 หน้า 18 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
“วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 วันพิพากษา ขับไล่รัฐบาล เผด็จศึกตระกูลชิน เวลา 09.01 น. ณ ลานพระบรรูปทรงม้า”
สโลแกนของ “องค์กรพิทักษ์สยาม” ที่ติดป้ายเชิญชวน “คนเกลียดทักษิณ” ให้มาร่วมชุมนุม ขณะที่ทวิตเตอร์ของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานองค์กรพิทักษ์สยาม ใช้สโลแกน “มุ่งมั่น แช่แข็ง ประเทศไทย” จึงไม่แปลกที่เสธ.อ้ายจะไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยขณะนี้ อย่างที่ให้สัมภาษณ์ว่า
"ผมไม่เคยเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยจะดีตรงไหนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เช่น ถ้าคุณเป็นคนดีของจังหวัด แต่ไม่มีเงิน ลงสมัคร ส.ส.ก็ไม่ได้รับเลือก แล้วมันจะเป็นประชาธิปไตยอย่างไร ลองอธิบายหน่อย.."
การชุมนุมวันที่ 28 ตุลาคมที่สนามม้านางเลิ้ง ภายใต้ชื่อ “รวมพลังหยุดวิกฤตและหายนะชาติ” ที่มีองค์กรพิทักษ์สยามเป็นแกนนำ โดยมีแนวร่วม อาทิ กลุ่มสยามสามัคคี กลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) และภาคีเครือข่ายต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะภาคีเครื่อข่ายประชาชน 16 จังหวัดภาคใต้
ครั้งสุดท้ายหรือนับหนึ่ง
การชุมนุมครั้งแรก พล.อ.บุญเลิศได้แถลงวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า ต้องการขับไล่รัฐบาลและล้างระบอบทักษิณ โดยระบุว่า ทนไม่ได้กับการบริหารราชการของรัฐบาลภายใต้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 3 ประการ คือ 1.รัฐบาลปล่อยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบัน โดยไม่มีการป้องกัน และยังดูเหมือนจะมีการส่งเสริมด้วยซ้ำ 2.รัฐบาลเป็นหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารและขาดธรรมาภิบาล และ 3.รัฐบาลปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งแรกจะเรียกว่า “น้ำจิ้ม” ก็ไม่ผิด แต่ที่เหนือความคาดหมายคือมีผู้มาร่วมชุมนุมหลายหมื่นคน ไม่ใช่หลักพันคนอย่างที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เย้ยหยันไว้ แต่ผุ้ชุมนุมจะมากหรือน้อยก็ตาม การชุมนุมที่นำโดยเสธ.อ้ายก็สะท้อนชัดเจนว่า กลุ่ม “เกลียดทักษิณ” ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเสธ.อ้ายที่ระยุว่า ต้องแช่แข็งประเทศ แช่แข็งนักการเมืองเลว 5 ปี เพื่อให้โอกาสคนดีมาบริหารและปฏิรุปการเมืองไทย
การชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายน จึงแตกต่างกับครั้งแรกอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลที่เหมือน “กระต่ายตื่นตูม” กลัวจะซ้ำรอยม็อบพันธมิตรฯ ที่ถือโอกาสอยู่ยาวและหาเงื่อนไขเพื่อปิดล้อมรัฐบาล เพราะทุกสายข่าวยืนยันว่าจะมีผู้มาชุมนุมหลายหมื่นคน แต่เสธ.อ้ายยังมั่นใจอย่างน้อยก็มีจำนวนแสน แม้ไม่ถึงล้านอย่างที่เคยประกาศว่า จะเป็นครั้งสุดท้าย หากผู้ชุมนุมมาน้อยจะยุติการชุมนุม หากผู้มาชุมนุมมากถึง 1 ล้านคนตามที่วางเป้าหมายไว้ก็จะขับเคลื่อนขับไล่รัฐบาลตามแผน เป็นศึกที่ต้องรบให้ชนะ “ถ้าเขาอยู่ เราต้องไป ถ้าเราอยู่ เขาต้องไป”
“เสธ.อ้าย” คนเพื่อนมาก
ย้อนกลับมาประวัติความเป็นมาของเสธ.อ้าย ซึ่งศูนย์ข้อมูลการเมืองไทยเว็บไซต์รัฐสภาไทย ระบุว่า พล.อ.บุญเลิศ เป็นนายทหารผู้กว้างขวาง-มากเพื่อน– เปี่ยมบารมี-ใจใหญ่ แต่ชอบเก็บตัวเงียบเชียบ เน้นทำงานอยู่เบื้องหลังเสมอๆ เป็นนายพลที่เรียนเก่งจนเพื่อนให้เป็นประธานนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1) และเป็น “ลูกป๋า” ระดับหัวกะทิที่เข้านอกออกในมาตลอด
ด้วยวัตรปฏิบัติที่น่ารักยิ้มแย้มแจ่มใส พูดหวาน ขานเพราะ จึงเป็นน้องอ้ายที่พี่ๆรัก เป็นพี่อ้ายที่น้องๆ นับถือ เสธ.อ้ายจึงมีทั้งคนรักและคนยำเกรงไม่น้อย เป็นเพื่อนรัก พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ คนใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แต่ที่สนิทแนบแน่นชนอดแกะไม่ออกคือ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เพื่อนรุ่นพี่ที่ติดคุก “กบฏ 26 มีนา” จึงไม่แปลกที่เสธ.อ้ายได้เป็นเลขาธิการราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) ที่พล.ต.สนั่นเคยนั่งอยู่
การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่เสธ.อ้ายเป็นประธาน จึงไม่ใช่ “ม็อบกระจอก” แม้จะไม่ใช่ “ตัวจริงเสียงจริง” ก็ตาม แต่เป็นการจุดชนวนขบวนการ “ขับไล่รัฐบาล เผด็จศึกตระกูลชิน” อย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากหมดยุคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่แกนนำและกลุ่มทุนที่สนับสนุนแตกกันจนเย็บไม่ติด
มหากฐินล้ม “ปู”
กลุ่มเกลียดทักษิณประกาศชัดเจนว่า พร้อมจะโค่นล้มรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่วันแรกที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าหนึ่งในสถานที่เคลื่อนไหวของกลุ่มเกลียดทักษิณคือ บ้านเช่าหลังใหญ่ที่ “ลูกป๋า” หลายคนเป็นสมาชิกสำคัญในการหารือและวางแผนต่างๆ แม้แต่การจัดตั้งมวลชนทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเคยเป็นแกนนำสำคัญที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังกลุ่มพันธมิตรฯ
จึงไม่แปลกที่การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามจะได้การสนุบสนุนจากแกนนำพันธมิตรฯ โดยเฉพสะพล.ต.จำลอง ศรีเมืองที่ประสานกับกลุ่มสันติอโศกให้เป็นแกนกลางสำคัญในการปักหลักชุมนุมถ้ายืดเยื้อ ซึ่ง นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ ระบุว่า “โพธิรักษ์” เจ้าสำนักสันติอโศกได้ย้ำตลอดเวลาเรื่อง “พลังสามัคคี” โดยเรียกร้องให้พันธมิตรฯ กลุ่มหลากสี และเครือข่ายต่างๆ ร่วมมือกันขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายของแผ่นดิน ตือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบของทักษิณที่เป็นระบบทุนสามานย์ทำลายชาติ ทำลายจิตใจและคุณค่าของความเป็นคน
“ตอนนี้มันเทศกาลกฐิน วันที่ 28 พฤศจิกายนจะเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลกฐิน วันที่ 24-25 พฤศจิกายน หลายคนที่ตั้งกฐินไว้ เขามีความคิดว่ากฐินที่เขาทำไปมันสู้จะนำมาทำมหากฐินที่กู้ชาติกู้แผ่นดินไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนจะมาทอดมหากฐินกู้ชาติกู้แผ่นดินที่พระรูปร.5 ฤกษ์ชัยคือ 901 (เวลา 09.01 น.) อันนี้จะเป็นการพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง"
นายชัยวัฒน์กล่าวและเชื่อว่า มหากฐินกู้ชาติกู้แผ่นดินครั้งนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยอีกครั้งหนึ่ง
กลุ่มทุน-อีแอบ
เสธ.อ้ายจึงกล้าประกาศว่า การชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายนจะมีคนชุมนุมเป็นล้าน แม้ต่อมาจะลดเป็นจำนวนแสนก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกของกลุ่มเกลียดทักษิณในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีการหารือตลอดเวลา การชุมนุมครั้งนี้จึงไม่ต่างจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีกลุ่มสันติอโศก พันธมิตรฯ กลุ่มสหภาพแรงงานของนายสมศักดิ์ โกสัยสุข กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และเครือข่ายประชาชน 16 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานะเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนกลุ่มทุนที่ประกาศตัวโจ่งแจ้งที่สุดคือ นายสมพจน์ ปิยะอุย เจ้าสัวเครือโรงแรมดุสิตธานี เพื่อน “กบฏ 26 มีนา” ร่วมกับเสธ.อ้าย และมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แกนนำสำคัญในการโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนายสมภพจึงป็นหนึ่งในศูนย์กลางการระดมทุนในการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากกลุ่มทุน “อีแอบ” อีกหลายกลุ่มที่เป็นศัตรูกับพ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งกลุ่มชนชั้นสูงที่ใกล้ชิดสถาบัน ตุลาการอาวุโสและอดีตข้าราชการระดับสูง
ทหารแก่ไม่มีวันตาย
แต่ที่ทำให้การชุมนุมของเสธ.อ้ายยิ่งมีสีสันและถูกจับตามองมากขึ้น คือ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตนายทหารคนสนิทของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่ประกาศจะร่วมการชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม แต่ยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับพล.อ.เปรม เพราะแม้แต่ภรรยาตนยังไม่รู้เลย ซึ่งตนไม่ได้รู้จักกับพล.อ.บุญเลิศเป็นการส่วนตัว หรือไปประชุมวางแผนเรื่องม็อบ แต่ที่ร่วมชุมนุมเพราะความรักชาติและเป็นทหารแก่ที่จะไม่มีวันตายไปจากการรักชาติบ้านเมือง ห่วงใยกองทัพ ปกป้องสถาบัน ตามที่เคยได้ตั้งปฏิญาณว่า จักรักษามรดกของพระองค์ท่านไว้ด้วยเลือด จึงขอเตือน พ.ต.ท.ทักษิณว่าอย่ามายุ่งกับตนเอง เพราะตนเองจะขอยืนตรงข้ามกับนักการเมืองที่โกงชาติบ้านเมือง
“ผมเป็นทหารแก่ที่ไม่มีวันตาย จากการต่อสู้รักษาความถูกต้อง ผมจะสู้กับนักการเมืองเลวๆ ถ้าทำให้ผมตาย ญาติพี่น้องผมก็จะลุกขึ้นมาล้างแค้นสู้ต่อไป ผมยังกินเงินเดือนบำนาญจากทหาร ผมจะสู้ จะชุมนุม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่พวกนักการเมืองชั่วเอาความสุขของผมไป”
นายกฯพระราชทาน
นายกรหริศ บัวสรวง โหรประจำกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม กล่าวผ่านรายการ "เจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์" ว่า วันที่ 24 พฤศจิกายนจะมาต่ำสุดประมาณ 500,000 คน วันนั้น 24 เดือน 11 ปี 2012 เมื่อนำตัวเลขบวกกัน 2+0+4+7 จะเท่ากับ 13 หมายความว่า Transformation จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือผ่าตัดครั้งใหญ่
“ถ้าคนมาหลักแสนหลักล้านจะปิดเกมวันนั้นเลย จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะสแกนทุกอย่างออกมาทุกชั่วโมง แต่ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ จะให้รัฐบาลและคนสำคัญที่มีตำแหน่งสำคัญได้รับทราบทุกระยะว่า มีเหตุการณ์แบบนี้ ประชาชนมีฉันทามติว่าไม่เอาแล้วรัฐบาลชุดนี้ และนำเสนอตัวนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญแน่นอน และไม่ใช่ให้ทหารปฏิวัติ แต่จะให้นายกฯปูลาออก และขอพระราชทานนายกฯตามมาตรา 7”
นายกรหริศกล่าวและขยายความฃนายกฯพระราชทานนั้นยังไม่ได้คุยกัน แต่จะเร่งรัดคดีความต่างๆ ให้รวดเร็ว จะเป็นใครก็ได้ ไม่ว่าพลเรือนหรือทหาร แต่ความจริงควรเป็นทหาร หรือมีเชื้อสายของทหาร เพราะดวงเมืองเราเป็นอย่างนั้น ซึ่งจะเป็น "น.ต.คนหนึ่ง" หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ
“ชงเองกินเอง”ล้มรัฐบาลใน 1 วัน?
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่ากรกระทรวงพาณิชย์ แกนนำคนเสื้อแดง ก็ยอมรับว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามจะมีผู้มาร่วมชุมนุมไม่น้อย แต่คงไม่มากจนถึงล้นถึงสะพานผ่านฟ้าตามที่พล.อ.บุญเลิศประกาศ อย่างไรก็ตามสาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่มีคนชุมนุม 50,000 คนหรือล้านคน แต่อยู่ที่สถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะโค่นล้มขับไล่รัฐบาลภายในเวลา 1 วัน แต่ถ้าจะเป็นอย่างนั้นก็หมายความว่าจะต้องมีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้นมาจริงๆ ในวันที่มีการชุมนุม ไม่ว่าจะเกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังซึ่งตนก็เป็นห่วง
“สถานการณ์พิเศษต้องอาศัยคนสร้าง และคนที่จะสร้างก็คือคนที่จัดการชุมนุม และชักใยการเคลื่อนไหวอยู่ เวลานี้มือที่สอง มือที่สามไม่น่ากังวล แต่ที่ต้องจับตามองคือมือที่มองไม่เห็นทั้งหลายว่าได้เตรียมการวางแผนที่จะแช่แข็งปิดประเทศแบบไหน อย่างไร ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดิมที่เคยเคลื่อนไหวโค่นล้มขับไล่รัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ มาจนถึงยุคนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งปัจจุบันมือที่มองไม่เห็นยังอยู่ครบถ้วน ประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหว นักวิชาการ ข้าราชการเกษียณอายุ และพรรคการเมือง ซึ่งผมมั่นใจว่าตัว พล.อ.บุญเลิศไม่ใช่คนสั่งการ และไม่ใช่คนคุมเกมทั้งหมด ดังนั้นหากมีการชุมนุมแล้วกลุ่มผู้ชักใยต้องการจะให้มีการขับเคลื่อนมวลชน พล.อ.บุญเลิศไม่ได้อยู่ในจุดที่จะตัดสินใจอยู่แล้ว”
นายณัฐวุฒิ กล่าวและว่า การที่ พล.ร.อ.พะจุณณ์คนสนิท พล.อ.เปรมยังเข้ามาร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่คาดเดาได้อยู่แล้ว แต่ถือเป็นเรื่องดีที่พล.ร.อ.พะจุณณ์พูดชัดเจน ตรงไปตรงมา แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังซ่อนตัวอยู่ในเงามืด ไม่ว่าจะเป็นคนของพรรคการเมืองที่เข้ามาติดต่อประสานงานกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวและบรรดาคนหน้าเดิมที่ยังไม่ปรากฏตัว
ส่วนคนเสื้อแดงนั้น นายณัฐวุฒิยืนยันว่า ไม่มาเผชิญหน้าแน่ เพราะรู้ทันว่าเรื่องนี้เขาตั้งใจจะชงเองกินเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเลยเถิดจนมีการโค่นล้มรัฐบาลและแช่แข็งประเทศไทย ก็ถึงเวลาและเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เพราะตนอยู่ในประเทศเหมือนที่ พล.อ.บุญเลิศพูดไม่ได้ แต่ขณะนี้ยังมั่นใจคำสัตย์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ทุกคนที่ลั่นวาจาว่าทหารจะอยู่ในที่ตั้ง วางตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่สถานการณ์ก็ทำให้ประมาทไม่ได้ เพราะ 5-6 ปีที่ผ่านมา อะไรที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น มันก็เกิดได้ในการเมืองไทย
“แช่แข็ง” ใครหนาว?
การประกาศจะ “แช่แข็งประเทศไทย-แช่แข็งนักการเมือง” ขององค์การพิทักษ์สยาม และให้มีนายกฯ พระราชทานนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับการเมืองไทย เพราะแม้แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ยังพยายามใช้วาทกรรมให้คนไทยเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นศูนย์กลางของปัญหาบ้านเมือง โดยใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ แต่ต้องการให้มีการเมืองแบบพรรคเดียว ไม่ใช่รัฐบาลพรรคเดียว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและความตึงเครียดในสังคมตลอดเวลา
แต่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐที่ถือเป็นผู้นำโลก กลับกล่าวชื่นชมนายกฯยิ่งลักษณ์ว่า “ผมยินดีที่ได้มายืนเคียงข้างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการยึดถือในประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล นิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนสากล.."
จึงไม่แปลกที่ผลสำรวจของเอแบคโพลล์จะระบุว่า ประชาชนถึงร้อย 94.5 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเบื่อพฤติกรรมของนักกรเมืองทุกครั้งที่มีการสำรวจความเห็น ทั้งที่ขณะนี้เศรษฐกิจบ้านเมืองกำลังเดินข้างหน้า ผู้นำประเทศมหาอำนาจมาเยือนไทยติดๆ กันถึง 2 คน แต่กลับมีคนกลุ่มหนึ่งต้องการ “แช่แข็งประเทศ-แช่แข็งนักการเมือง” ซึ่งไม่ต่างกับพม่าหรือเกาหลีเหนือที่ปิดประเทศ โดยไม่สนใจว่าบ้านเมืองจะหายนะอย่างไร
อย่างที่ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความเห็นในเฟซบุ๊คว่า “..การเมืองไทย การเมืองอาเซียน การเมืองโลก ได้วิ่งเลย ‘คนรุ่นเก่า’ หรือ ‘อำนาจเก่า/บารมีเก่า’ ไปแล้วครับ”
แต่สังคมไทยกลับจมปลักกับความรุนแรงและความคิดแบบไดโนเสาร์เต่าล้านปี ซึ่ง นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์ ให้ความเห็นว่าวิธีสู้กับฝ่ายขวาจัดว่า ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ให้พวกนี้เป็นวีรชน แต่ต้องล้อเลียนให้เป็นตัวตลกที่ขวางโลก อย่างที่เสนอให้ “แช่แข็งประเทศ”
แช่แข็งประเทศ..จึงมีคนหนาวแน่ แต่ไม่รู้ใครจะหนาว ?
“วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 วันพิพากษา ขับไล่รัฐบาล เผด็จศึกตระกูลชิน เวลา 09.01 น. ณ ลานพระบรรูปทรงม้า”
สโลแกนของ “องค์กรพิทักษ์สยาม” ที่ติดป้ายเชิญชวน “คนเกลียดทักษิณ” ให้มาร่วมชุมนุม ขณะที่ทวิตเตอร์ของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานองค์กรพิทักษ์สยาม ใช้สโลแกน “มุ่งมั่น แช่แข็ง ประเทศไทย” จึงไม่แปลกที่เสธ.อ้ายจะไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยขณะนี้ อย่างที่ให้สัมภาษณ์ว่า
"ผมไม่เคยเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยจะดีตรงไหนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เช่น ถ้าคุณเป็นคนดีของจังหวัด แต่ไม่มีเงิน ลงสมัคร ส.ส.ก็ไม่ได้รับเลือก แล้วมันจะเป็นประชาธิปไตยอย่างไร ลองอธิบายหน่อย.."
การชุมนุมวันที่ 28 ตุลาคมที่สนามม้านางเลิ้ง ภายใต้ชื่อ “รวมพลังหยุดวิกฤตและหายนะชาติ” ที่มีองค์กรพิทักษ์สยามเป็นแกนนำ โดยมีแนวร่วม อาทิ กลุ่มสยามสามัคคี กลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) และภาคีเครือข่ายต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะภาคีเครื่อข่ายประชาชน 16 จังหวัดภาคใต้
ครั้งสุดท้ายหรือนับหนึ่ง
การชุมนุมครั้งแรก พล.อ.บุญเลิศได้แถลงวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า ต้องการขับไล่รัฐบาลและล้างระบอบทักษิณ โดยระบุว่า ทนไม่ได้กับการบริหารราชการของรัฐบาลภายใต้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 3 ประการ คือ 1.รัฐบาลปล่อยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบัน โดยไม่มีการป้องกัน และยังดูเหมือนจะมีการส่งเสริมด้วยซ้ำ 2.รัฐบาลเป็นหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารและขาดธรรมาภิบาล และ 3.รัฐบาลปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งแรกจะเรียกว่า “น้ำจิ้ม” ก็ไม่ผิด แต่ที่เหนือความคาดหมายคือมีผู้มาร่วมชุมนุมหลายหมื่นคน ไม่ใช่หลักพันคนอย่างที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เย้ยหยันไว้ แต่ผุ้ชุมนุมจะมากหรือน้อยก็ตาม การชุมนุมที่นำโดยเสธ.อ้ายก็สะท้อนชัดเจนว่า กลุ่ม “เกลียดทักษิณ” ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเสธ.อ้ายที่ระยุว่า ต้องแช่แข็งประเทศ แช่แข็งนักการเมืองเลว 5 ปี เพื่อให้โอกาสคนดีมาบริหารและปฏิรุปการเมืองไทย
การชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายน จึงแตกต่างกับครั้งแรกอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลที่เหมือน “กระต่ายตื่นตูม” กลัวจะซ้ำรอยม็อบพันธมิตรฯ ที่ถือโอกาสอยู่ยาวและหาเงื่อนไขเพื่อปิดล้อมรัฐบาล เพราะทุกสายข่าวยืนยันว่าจะมีผู้มาชุมนุมหลายหมื่นคน แต่เสธ.อ้ายยังมั่นใจอย่างน้อยก็มีจำนวนแสน แม้ไม่ถึงล้านอย่างที่เคยประกาศว่า จะเป็นครั้งสุดท้าย หากผู้ชุมนุมมาน้อยจะยุติการชุมนุม หากผู้มาชุมนุมมากถึง 1 ล้านคนตามที่วางเป้าหมายไว้ก็จะขับเคลื่อนขับไล่รัฐบาลตามแผน เป็นศึกที่ต้องรบให้ชนะ “ถ้าเขาอยู่ เราต้องไป ถ้าเราอยู่ เขาต้องไป”
“เสธ.อ้าย” คนเพื่อนมาก
ย้อนกลับมาประวัติความเป็นมาของเสธ.อ้าย ซึ่งศูนย์ข้อมูลการเมืองไทยเว็บไซต์รัฐสภาไทย ระบุว่า พล.อ.บุญเลิศ เป็นนายทหารผู้กว้างขวาง-มากเพื่อน– เปี่ยมบารมี-ใจใหญ่ แต่ชอบเก็บตัวเงียบเชียบ เน้นทำงานอยู่เบื้องหลังเสมอๆ เป็นนายพลที่เรียนเก่งจนเพื่อนให้เป็นประธานนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1) และเป็น “ลูกป๋า” ระดับหัวกะทิที่เข้านอกออกในมาตลอด
ด้วยวัตรปฏิบัติที่น่ารักยิ้มแย้มแจ่มใส พูดหวาน ขานเพราะ จึงเป็นน้องอ้ายที่พี่ๆรัก เป็นพี่อ้ายที่น้องๆ นับถือ เสธ.อ้ายจึงมีทั้งคนรักและคนยำเกรงไม่น้อย เป็นเพื่อนรัก พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ คนใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แต่ที่สนิทแนบแน่นชนอดแกะไม่ออกคือ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เพื่อนรุ่นพี่ที่ติดคุก “กบฏ 26 มีนา” จึงไม่แปลกที่เสธ.อ้ายได้เป็นเลขาธิการราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) ที่พล.ต.สนั่นเคยนั่งอยู่
การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่เสธ.อ้ายเป็นประธาน จึงไม่ใช่ “ม็อบกระจอก” แม้จะไม่ใช่ “ตัวจริงเสียงจริง” ก็ตาม แต่เป็นการจุดชนวนขบวนการ “ขับไล่รัฐบาล เผด็จศึกตระกูลชิน” อย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากหมดยุคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่แกนนำและกลุ่มทุนที่สนับสนุนแตกกันจนเย็บไม่ติด
มหากฐินล้ม “ปู”
กลุ่มเกลียดทักษิณประกาศชัดเจนว่า พร้อมจะโค่นล้มรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่วันแรกที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าหนึ่งในสถานที่เคลื่อนไหวของกลุ่มเกลียดทักษิณคือ บ้านเช่าหลังใหญ่ที่ “ลูกป๋า” หลายคนเป็นสมาชิกสำคัญในการหารือและวางแผนต่างๆ แม้แต่การจัดตั้งมวลชนทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเคยเป็นแกนนำสำคัญที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังกลุ่มพันธมิตรฯ
จึงไม่แปลกที่การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามจะได้การสนุบสนุนจากแกนนำพันธมิตรฯ โดยเฉพสะพล.ต.จำลอง ศรีเมืองที่ประสานกับกลุ่มสันติอโศกให้เป็นแกนกลางสำคัญในการปักหลักชุมนุมถ้ายืดเยื้อ ซึ่ง นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ ระบุว่า “โพธิรักษ์” เจ้าสำนักสันติอโศกได้ย้ำตลอดเวลาเรื่อง “พลังสามัคคี” โดยเรียกร้องให้พันธมิตรฯ กลุ่มหลากสี และเครือข่ายต่างๆ ร่วมมือกันขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายของแผ่นดิน ตือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบของทักษิณที่เป็นระบบทุนสามานย์ทำลายชาติ ทำลายจิตใจและคุณค่าของความเป็นคน
“ตอนนี้มันเทศกาลกฐิน วันที่ 28 พฤศจิกายนจะเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลกฐิน วันที่ 24-25 พฤศจิกายน หลายคนที่ตั้งกฐินไว้ เขามีความคิดว่ากฐินที่เขาทำไปมันสู้จะนำมาทำมหากฐินที่กู้ชาติกู้แผ่นดินไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนจะมาทอดมหากฐินกู้ชาติกู้แผ่นดินที่พระรูปร.5 ฤกษ์ชัยคือ 901 (เวลา 09.01 น.) อันนี้จะเป็นการพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง"
นายชัยวัฒน์กล่าวและเชื่อว่า มหากฐินกู้ชาติกู้แผ่นดินครั้งนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยอีกครั้งหนึ่ง
กลุ่มทุน-อีแอบ
เสธ.อ้ายจึงกล้าประกาศว่า การชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายนจะมีคนชุมนุมเป็นล้าน แม้ต่อมาจะลดเป็นจำนวนแสนก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกของกลุ่มเกลียดทักษิณในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีการหารือตลอดเวลา การชุมนุมครั้งนี้จึงไม่ต่างจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีกลุ่มสันติอโศก พันธมิตรฯ กลุ่มสหภาพแรงงานของนายสมศักดิ์ โกสัยสุข กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และเครือข่ายประชาชน 16 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานะเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนกลุ่มทุนที่ประกาศตัวโจ่งแจ้งที่สุดคือ นายสมพจน์ ปิยะอุย เจ้าสัวเครือโรงแรมดุสิตธานี เพื่อน “กบฏ 26 มีนา” ร่วมกับเสธ.อ้าย และมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แกนนำสำคัญในการโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนายสมภพจึงป็นหนึ่งในศูนย์กลางการระดมทุนในการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากกลุ่มทุน “อีแอบ” อีกหลายกลุ่มที่เป็นศัตรูกับพ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งกลุ่มชนชั้นสูงที่ใกล้ชิดสถาบัน ตุลาการอาวุโสและอดีตข้าราชการระดับสูง
ทหารแก่ไม่มีวันตาย
แต่ที่ทำให้การชุมนุมของเสธ.อ้ายยิ่งมีสีสันและถูกจับตามองมากขึ้น คือ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตนายทหารคนสนิทของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่ประกาศจะร่วมการชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม แต่ยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับพล.อ.เปรม เพราะแม้แต่ภรรยาตนยังไม่รู้เลย ซึ่งตนไม่ได้รู้จักกับพล.อ.บุญเลิศเป็นการส่วนตัว หรือไปประชุมวางแผนเรื่องม็อบ แต่ที่ร่วมชุมนุมเพราะความรักชาติและเป็นทหารแก่ที่จะไม่มีวันตายไปจากการรักชาติบ้านเมือง ห่วงใยกองทัพ ปกป้องสถาบัน ตามที่เคยได้ตั้งปฏิญาณว่า จักรักษามรดกของพระองค์ท่านไว้ด้วยเลือด จึงขอเตือน พ.ต.ท.ทักษิณว่าอย่ามายุ่งกับตนเอง เพราะตนเองจะขอยืนตรงข้ามกับนักการเมืองที่โกงชาติบ้านเมือง
“ผมเป็นทหารแก่ที่ไม่มีวันตาย จากการต่อสู้รักษาความถูกต้อง ผมจะสู้กับนักการเมืองเลวๆ ถ้าทำให้ผมตาย ญาติพี่น้องผมก็จะลุกขึ้นมาล้างแค้นสู้ต่อไป ผมยังกินเงินเดือนบำนาญจากทหาร ผมจะสู้ จะชุมนุม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่พวกนักการเมืองชั่วเอาความสุขของผมไป”
นายกฯพระราชทาน
นายกรหริศ บัวสรวง โหรประจำกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม กล่าวผ่านรายการ "เจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์" ว่า วันที่ 24 พฤศจิกายนจะมาต่ำสุดประมาณ 500,000 คน วันนั้น 24 เดือน 11 ปี 2012 เมื่อนำตัวเลขบวกกัน 2+0+4+7 จะเท่ากับ 13 หมายความว่า Transformation จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือผ่าตัดครั้งใหญ่
“ถ้าคนมาหลักแสนหลักล้านจะปิดเกมวันนั้นเลย จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะสแกนทุกอย่างออกมาทุกชั่วโมง แต่ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ จะให้รัฐบาลและคนสำคัญที่มีตำแหน่งสำคัญได้รับทราบทุกระยะว่า มีเหตุการณ์แบบนี้ ประชาชนมีฉันทามติว่าไม่เอาแล้วรัฐบาลชุดนี้ และนำเสนอตัวนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญแน่นอน และไม่ใช่ให้ทหารปฏิวัติ แต่จะให้นายกฯปูลาออก และขอพระราชทานนายกฯตามมาตรา 7”
นายกรหริศกล่าวและขยายความฃนายกฯพระราชทานนั้นยังไม่ได้คุยกัน แต่จะเร่งรัดคดีความต่างๆ ให้รวดเร็ว จะเป็นใครก็ได้ ไม่ว่าพลเรือนหรือทหาร แต่ความจริงควรเป็นทหาร หรือมีเชื้อสายของทหาร เพราะดวงเมืองเราเป็นอย่างนั้น ซึ่งจะเป็น "น.ต.คนหนึ่ง" หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ
“ชงเองกินเอง”ล้มรัฐบาลใน 1 วัน?
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่ากรกระทรวงพาณิชย์ แกนนำคนเสื้อแดง ก็ยอมรับว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามจะมีผู้มาร่วมชุมนุมไม่น้อย แต่คงไม่มากจนถึงล้นถึงสะพานผ่านฟ้าตามที่พล.อ.บุญเลิศประกาศ อย่างไรก็ตามสาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่มีคนชุมนุม 50,000 คนหรือล้านคน แต่อยู่ที่สถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะโค่นล้มขับไล่รัฐบาลภายในเวลา 1 วัน แต่ถ้าจะเป็นอย่างนั้นก็หมายความว่าจะต้องมีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้นมาจริงๆ ในวันที่มีการชุมนุม ไม่ว่าจะเกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังซึ่งตนก็เป็นห่วง
“สถานการณ์พิเศษต้องอาศัยคนสร้าง และคนที่จะสร้างก็คือคนที่จัดการชุมนุม และชักใยการเคลื่อนไหวอยู่ เวลานี้มือที่สอง มือที่สามไม่น่ากังวล แต่ที่ต้องจับตามองคือมือที่มองไม่เห็นทั้งหลายว่าได้เตรียมการวางแผนที่จะแช่แข็งปิดประเทศแบบไหน อย่างไร ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดิมที่เคยเคลื่อนไหวโค่นล้มขับไล่รัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ มาจนถึงยุคนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งปัจจุบันมือที่มองไม่เห็นยังอยู่ครบถ้วน ประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหว นักวิชาการ ข้าราชการเกษียณอายุ และพรรคการเมือง ซึ่งผมมั่นใจว่าตัว พล.อ.บุญเลิศไม่ใช่คนสั่งการ และไม่ใช่คนคุมเกมทั้งหมด ดังนั้นหากมีการชุมนุมแล้วกลุ่มผู้ชักใยต้องการจะให้มีการขับเคลื่อนมวลชน พล.อ.บุญเลิศไม่ได้อยู่ในจุดที่จะตัดสินใจอยู่แล้ว”
นายณัฐวุฒิ กล่าวและว่า การที่ พล.ร.อ.พะจุณณ์คนสนิท พล.อ.เปรมยังเข้ามาร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่คาดเดาได้อยู่แล้ว แต่ถือเป็นเรื่องดีที่พล.ร.อ.พะจุณณ์พูดชัดเจน ตรงไปตรงมา แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังซ่อนตัวอยู่ในเงามืด ไม่ว่าจะเป็นคนของพรรคการเมืองที่เข้ามาติดต่อประสานงานกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวและบรรดาคนหน้าเดิมที่ยังไม่ปรากฏตัว
ส่วนคนเสื้อแดงนั้น นายณัฐวุฒิยืนยันว่า ไม่มาเผชิญหน้าแน่ เพราะรู้ทันว่าเรื่องนี้เขาตั้งใจจะชงเองกินเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเลยเถิดจนมีการโค่นล้มรัฐบาลและแช่แข็งประเทศไทย ก็ถึงเวลาและเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เพราะตนอยู่ในประเทศเหมือนที่ พล.อ.บุญเลิศพูดไม่ได้ แต่ขณะนี้ยังมั่นใจคำสัตย์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ทุกคนที่ลั่นวาจาว่าทหารจะอยู่ในที่ตั้ง วางตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่สถานการณ์ก็ทำให้ประมาทไม่ได้ เพราะ 5-6 ปีที่ผ่านมา อะไรที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น มันก็เกิดได้ในการเมืองไทย
“แช่แข็ง” ใครหนาว?
การประกาศจะ “แช่แข็งประเทศไทย-แช่แข็งนักการเมือง” ขององค์การพิทักษ์สยาม และให้มีนายกฯ พระราชทานนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับการเมืองไทย เพราะแม้แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ยังพยายามใช้วาทกรรมให้คนไทยเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นศูนย์กลางของปัญหาบ้านเมือง โดยใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ แต่ต้องการให้มีการเมืองแบบพรรคเดียว ไม่ใช่รัฐบาลพรรคเดียว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและความตึงเครียดในสังคมตลอดเวลา
แต่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐที่ถือเป็นผู้นำโลก กลับกล่าวชื่นชมนายกฯยิ่งลักษณ์ว่า “ผมยินดีที่ได้มายืนเคียงข้างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการยึดถือในประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล นิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนสากล.."
จึงไม่แปลกที่ผลสำรวจของเอแบคโพลล์จะระบุว่า ประชาชนถึงร้อย 94.5 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเบื่อพฤติกรรมของนักกรเมืองทุกครั้งที่มีการสำรวจความเห็น ทั้งที่ขณะนี้เศรษฐกิจบ้านเมืองกำลังเดินข้างหน้า ผู้นำประเทศมหาอำนาจมาเยือนไทยติดๆ กันถึง 2 คน แต่กลับมีคนกลุ่มหนึ่งต้องการ “แช่แข็งประเทศ-แช่แข็งนักการเมือง” ซึ่งไม่ต่างกับพม่าหรือเกาหลีเหนือที่ปิดประเทศ โดยไม่สนใจว่าบ้านเมืองจะหายนะอย่างไร
อย่างที่ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความเห็นในเฟซบุ๊คว่า “..การเมืองไทย การเมืองอาเซียน การเมืองโลก ได้วิ่งเลย ‘คนรุ่นเก่า’ หรือ ‘อำนาจเก่า/บารมีเก่า’ ไปแล้วครับ”
แต่สังคมไทยกลับจมปลักกับความรุนแรงและความคิดแบบไดโนเสาร์เต่าล้านปี ซึ่ง นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์ ให้ความเห็นว่าวิธีสู้กับฝ่ายขวาจัดว่า ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ให้พวกนี้เป็นวีรชน แต่ต้องล้อเลียนให้เป็นตัวตลกที่ขวางโลก อย่างที่เสนอให้ “แช่แข็งประเทศ”
แช่แข็งประเทศ..จึงมีคนหนาวแน่ แต่ไม่รู้ใครจะหนาว ?
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
"ปิยบุตร"ชำแหละ"ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ไร้อำนาจยื่นฟ้อง"กสทช." นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งเศสจี้ไทยเดินหน้า3จี
จาก มิติชนออนไลน์ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาผ่าทางตัน 3 จี ในหัวข้อ "3 G...อนาคตหลังศาลปกครอง" ว่า ประเด็นเกี่ยวกับคดีประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ต หรือ 3 จี ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้ร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้สัมปทานสิทธิ์และใบอนุญาตดำเนินการบริการ 3 จี แก่ผู้ประกอบการ 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด ในเครือ เอไอเอส บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด ในเครือดีแทค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือทรู คอร์เปอเรชั่นนั้น
ตามกฎหมายปกครองและพระราชบัญญัติ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ.2552 กำหนดแนวทางไว้แนวทางเดียวคือให้เปิดประมูล 3 จี ดังนั้นปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะมีคนโต้แย้งทันทีว่ารัฐได้รับค่าสัมปทานน้อยกว่าความจริงบ้าง และ ประกาศหลักเกณฑ์การประมูลไม่เป็นธรรมบ้าง
โดยก่อนหน้านี้มีกลุ่มคนที่อ้างเป็นตัวแทนผู้บริโภคไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางรวม 6 คดี (ฉบับ) เพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครอง และ/หรือ เพื่อทำให้เอกชนที่ได้รับสัมปทานต้องหยุดเดินหน้าการลงทุนขั้นต่อไป ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำฟ้อง เนื่องจากผู้ยื่นฟ้องเป็นผู้บริโภคและการให้บริการ 3 จี ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้การอ้างเป็นคนไทยเป็นสภาวะที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะคนที่ถือบัตรประชาชนทุกคนก็เป็นคนไทย
เป็นที่น่าสังเกตกรณีศาลปกครองกลางเขียนลงไปในคำฟ้องทั้ง 6 ฉบับ ว่าผู้มีสิทธิหรืออำนาจฟ้อง กสทช.ในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ คือผู้ตรวจการแผ่นดิน ปัญหาอยู่ที่ว่าเวลาไปฟ้องศาล ศาลต้องบอกไม่รับเรื่องจากโจทก์ เพราะศาลไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมายที่จะต้องแนะนำต่อท้ายว่าให้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน
จากนั้นก็ปรากฎว่าคนกลุ่มนี้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยทำหนังสือไปถึงเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วไปนำเรื่องยื่นต่อไปฟ้องศาลปกครอง ปัญหาคือผู้ตรวจฯ อาศัยอำนาจไปฟ้อง เราต้องมาดูว่าหน่วยงานใดบ้างที่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
เมื่อย้อนกลับไปดูในพระราชบัญญัติตรวจการแผ่นดิน มาตรา 13 (1) ก. บรรดาคนที่จะไปอยู่ภายใต้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง 3 กลุ่มนี้ ของสังกัดหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ ราชการส่วนท้องถิ่น ส่วน กสทช.เป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ได้เข้ากลุ่มตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเลย
ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินจะลงไปตรวจ กสทช.ไม่ได้แล้ว และผู้ตรวจการแผ่นดินก็รู้ถึงเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จึงเขียนชัดในคำฟ้องที่ยื่นไปยังศาลปกครองว่า คณะกรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน ไม่ได้อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน
พูดง่าย ๆ คือตัวกฎหมายไม่เปิด แต่ไปอ้างตามศาลปกครองกลางเขียนไว้
อีกทั้งยังบอกว่าบอร์ด กสทช.ไม่ได้อยู่ในอำนาจ ดังนั้นจึงพุ่งเป้าไปเล่นงานที่ตัวบุคคลคือ เลขาธิการ กสทช.ซึ่งทำหน้าที่เป็นธุรการสังกัดหน่วยงานรัฐ
ผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ขอศาลอีกเรื่องคือ เรื่องประกาศหลักเกณฑ์การประมูล ที่ออกโดยบอร์ด กสทช.ทั้ง 11 คน ในหลักกฎหมายหากจะร้องเรื่องนี้ ตามกฎหมายจะร้องได้ต้องพุ่งไปที่ตัวเลขาธิการ และ รองเลขาฯ กสทช.เท่านั้น
เมื่อมาพิจารณาโดยอิงกับกฎหมายของอเมริกาจะแบ่งการพิจารณารับคำร้องออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก เป็นส่วนประกอบคำวินิจฉัยหรือธงของคดี ส่วนที่ 2 ส่วนประกอบไม่ได้เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ในความเห็นของผมการที่ศาลปกครองกลางไปแนะนำว่าคนที่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์การประมูล ส่วนขยายที่ศาลปกครองกลางเขียนต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบคำวินิจฉัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุผลหลักหรือแก่นของคำสั่ง จึงไม่ผูกพันกับคนอื่น
คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็ยืนยันชัดเจนว่าบอร์ด กสทช.ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จึงส่งไปที่ศาลปกครองไม่ได้แต่ยืมคำแนะนำของศาลปกครองกลางส่งเรื่องฟ้องรอบใหม่
โดยความเคารพที่ผมมีต่อศาลนั้น ศาลปกครองไม่ควรจะต้องรับคำฟ้องตั้งแต่แรกแล้ว
ขั้นตอนการพิจารณาเรื่องเข้าสู่ศาลล้วนมีลำดับ คือ อยู่ในเขตอำนาจหรือไม่ คนฟ้องมีสิทธิ์ยื่นฟ้องหรือไม่ ระยะเวลาการฟ้องและรูปแบบถูกต้องหรือไม่ เพราะการฟ้องคดีต่างๆ ถ้าหากจบตั้งแต่ตรงนี้ ก็ไม่ต้องเปิดพิจารณาใด ๆ
แต่เมื่อเปิดไต่ส่วนไปแล้วประมาณสัปดาห์กว่า ไม่รู้จะออกคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ เป็นเรื่องที่กำลังลุ้นกันอยู่ แสดงว่าศาลรับเรื่องนี้เข้าไปแล้ว ในความเห็นของผมคือ เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จะส่งได้เฉพาะคำสั่ง กฎระเบียบ ของเจ้าหน้าที่ และกรณีการออกประกาศกฎเกณฑ์การประมูล 3 จี กำหนดโดยบอร์ด กสทช.ที่ไม่ได้เจ้าหน้าที่รัฐหรือสังกัดส่วนราชการต่าง ๆ
ถามว่าแล้วศาลปกครองจะตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เลยหรือ คำตอบของผมคือ "ได้" แต่ต้องดูว่าคนฟ้องเป็นใคร ในเมื่อตามกฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดินทำได้เฉพาะในกรอบที่ระบุไว้เท่านั้น จะไปฟ้องเรื่องอื่นไม่ได้ เพราะคำฟ้องที่เขียนลงไปยื่นฟ้องก็บ่งบอกชัดเจนว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบบอร์ด กสทช.
โดยสรุปแล้วผมมีความเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจไปตรวจสอบประกาศหลักเกณฑ์การประมูล 3 จี และ ศาลปกครองไม่ควรรับคำฟ้องตั้งแต่แรกแล้ว
ทางด้านนายเกอร์ราร์ด โปโกเรล นักเศรษฐศาสตร์ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส กล่าวในงานสัมมนาเดียวกัน หัวข้อ "เศรษฐศาสตร์การเมืองในการกำหนดราคาคลื่นความถี่" ว่ากรณีการประมูล 3 จีของประเทศไทย ที่มีข้อถกเถียงกันอยู่ขณะนี้ถึงราคาประมูลที่ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย จ่ายค่าสัมปทานบริการ 3 จี ควรจะต้องทำให้รัฐซึ่งเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีต้องได้รับเงินสูงกว่า 40,000-45,000 ล้านบาท
นักเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมทั่วโลกมีความเห็นคล้ายคลึงกัน คือ ตอนนี้เป็นเวลาเหมาะสมที่ไทยควรจะพัฒนาเทคโนโลยีบริการคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ต ส่วนราคาประมูลเป็นเพียงปัจจัยเล็ก ๆ เท่านั้น เรื่องการพัฒนาบริการคลื่นความถี่ของประเทศต่างในสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ส่วนใหญ่จะเน้นวางรูปแบบบริหารจัดการ
โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับการเปิดทางให้ผู้ประกอบการเข้ามาแข่งขัน เพื่อลดอำนาจการต่อรองระหว่างรัฐกับผู้ที่ได้สัมปทาน และ เพิ่มทางเลือกให้แก่ภาคธุรกิจ ผู้บริโภคทุกกลุ่ม จะได้ใช้โครงข่ายโทรคมนาคมราคาถูกลงโดยอัตโนมัติ
เป้าหมายหลักต้องให้น้ำหนักการตอบโจทก์บริการสาธารณะแก่คนทั้งประเทศ รวมถึง 3 จี ยังเป็นเครื่องมือสำคัญของประเทศที่ภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้และนำมาใช้พัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจแข่งขันกับนานาประเทศ
เพราะหากสนใจเรียกร้องกันแต่เรื่องเพิ่มค่าสัมปทาน ยิ่งสูงมากจะยิ่งกลายเป็นอำนาจที่ผู้ประกอบการจะนำมาต่อรองกับรัฐบาลได้ กรณีการจัดเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ เนื่องจากการลงทุนด้วยการจ่ายเงินค่าแรกเข้าสูงมาก
ส่วนการจัดการคลื่นความถี่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก เป็นหน้าที่ของ กสทช.ต้องทำหน้าที่กำกับดูแลให้ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้คลื่นความถี่มีความผันผวนสูงมาก ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้ประเทศไทยลองพิจารณาวิธีการจัดการคลื่นความถี่ โดยทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทะเบียน หาส่วนแบ่งตลาดจากเครือข่ายอนาล็อกเดิมแบ่งมาพัฒนาเป็นดิจิตอลเพิ่มขึ้น และ เพิ่มแรงจูงใจหรืออินเซ็นทีฟการให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนนำคลื่นอนาล็อกมาแบ่งให้รายอื่นทำเครือข่ายดิจิตอล
ทำควบคู่ไปพร้อมกับอีก 3 ช่องทาง นั่นคือ หาวิธีนำคลื่นที่เหลืออยู่มาพัฒนาใหม่ ใส่เทคโนโลยีใหม่เข้าไป และ หากลกลไกการตลาดเข้ามาเสริม เพื่อให้เกิดกุญแจแห่งความสำเร็จ 2 เรื่อง คือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายและบริการให้แก่ ภาครัฐ เอกชน สาธารณะ
2.จัดการทางด้านการตลาดได้เต็มที่ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันทำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353494827&grpid=01&catid&subcatid
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาผ่าทางตัน 3 จี ในหัวข้อ "3 G...อนาคตหลังศาลปกครอง" ว่า ประเด็นเกี่ยวกับคดีประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ต หรือ 3 จี ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้ร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้สัมปทานสิทธิ์และใบอนุญาตดำเนินการบริการ 3 จี แก่ผู้ประกอบการ 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด ในเครือ เอไอเอส บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด ในเครือดีแทค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือทรู คอร์เปอเรชั่นนั้น
ตามกฎหมายปกครองและพระราชบัญญัติ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ.2552 กำหนดแนวทางไว้แนวทางเดียวคือให้เปิดประมูล 3 จี ดังนั้นปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะมีคนโต้แย้งทันทีว่ารัฐได้รับค่าสัมปทานน้อยกว่าความจริงบ้าง และ ประกาศหลักเกณฑ์การประมูลไม่เป็นธรรมบ้าง
โดยก่อนหน้านี้มีกลุ่มคนที่อ้างเป็นตัวแทนผู้บริโภคไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางรวม 6 คดี (ฉบับ) เพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครอง และ/หรือ เพื่อทำให้เอกชนที่ได้รับสัมปทานต้องหยุดเดินหน้าการลงทุนขั้นต่อไป ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำฟ้อง เนื่องจากผู้ยื่นฟ้องเป็นผู้บริโภคและการให้บริการ 3 จี ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้การอ้างเป็นคนไทยเป็นสภาวะที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะคนที่ถือบัตรประชาชนทุกคนก็เป็นคนไทย
เป็นที่น่าสังเกตกรณีศาลปกครองกลางเขียนลงไปในคำฟ้องทั้ง 6 ฉบับ ว่าผู้มีสิทธิหรืออำนาจฟ้อง กสทช.ในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ คือผู้ตรวจการแผ่นดิน ปัญหาอยู่ที่ว่าเวลาไปฟ้องศาล ศาลต้องบอกไม่รับเรื่องจากโจทก์ เพราะศาลไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมายที่จะต้องแนะนำต่อท้ายว่าให้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน
จากนั้นก็ปรากฎว่าคนกลุ่มนี้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยทำหนังสือไปถึงเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วไปนำเรื่องยื่นต่อไปฟ้องศาลปกครอง ปัญหาคือผู้ตรวจฯ อาศัยอำนาจไปฟ้อง เราต้องมาดูว่าหน่วยงานใดบ้างที่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
เมื่อย้อนกลับไปดูในพระราชบัญญัติตรวจการแผ่นดิน มาตรา 13 (1) ก. บรรดาคนที่จะไปอยู่ภายใต้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง 3 กลุ่มนี้ ของสังกัดหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ ราชการส่วนท้องถิ่น ส่วน กสทช.เป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ได้เข้ากลุ่มตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเลย
ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินจะลงไปตรวจ กสทช.ไม่ได้แล้ว และผู้ตรวจการแผ่นดินก็รู้ถึงเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จึงเขียนชัดในคำฟ้องที่ยื่นไปยังศาลปกครองว่า คณะกรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน ไม่ได้อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน
พูดง่าย ๆ คือตัวกฎหมายไม่เปิด แต่ไปอ้างตามศาลปกครองกลางเขียนไว้
อีกทั้งยังบอกว่าบอร์ด กสทช.ไม่ได้อยู่ในอำนาจ ดังนั้นจึงพุ่งเป้าไปเล่นงานที่ตัวบุคคลคือ เลขาธิการ กสทช.ซึ่งทำหน้าที่เป็นธุรการสังกัดหน่วยงานรัฐ
ผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ขอศาลอีกเรื่องคือ เรื่องประกาศหลักเกณฑ์การประมูล ที่ออกโดยบอร์ด กสทช.ทั้ง 11 คน ในหลักกฎหมายหากจะร้องเรื่องนี้ ตามกฎหมายจะร้องได้ต้องพุ่งไปที่ตัวเลขาธิการ และ รองเลขาฯ กสทช.เท่านั้น
เมื่อมาพิจารณาโดยอิงกับกฎหมายของอเมริกาจะแบ่งการพิจารณารับคำร้องออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก เป็นส่วนประกอบคำวินิจฉัยหรือธงของคดี ส่วนที่ 2 ส่วนประกอบไม่ได้เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ในความเห็นของผมการที่ศาลปกครองกลางไปแนะนำว่าคนที่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์การประมูล ส่วนขยายที่ศาลปกครองกลางเขียนต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบคำวินิจฉัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุผลหลักหรือแก่นของคำสั่ง จึงไม่ผูกพันกับคนอื่น
คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็ยืนยันชัดเจนว่าบอร์ด กสทช.ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จึงส่งไปที่ศาลปกครองไม่ได้แต่ยืมคำแนะนำของศาลปกครองกลางส่งเรื่องฟ้องรอบใหม่
โดยความเคารพที่ผมมีต่อศาลนั้น ศาลปกครองไม่ควรจะต้องรับคำฟ้องตั้งแต่แรกแล้ว
ขั้นตอนการพิจารณาเรื่องเข้าสู่ศาลล้วนมีลำดับ คือ อยู่ในเขตอำนาจหรือไม่ คนฟ้องมีสิทธิ์ยื่นฟ้องหรือไม่ ระยะเวลาการฟ้องและรูปแบบถูกต้องหรือไม่ เพราะการฟ้องคดีต่างๆ ถ้าหากจบตั้งแต่ตรงนี้ ก็ไม่ต้องเปิดพิจารณาใด ๆ
แต่เมื่อเปิดไต่ส่วนไปแล้วประมาณสัปดาห์กว่า ไม่รู้จะออกคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ เป็นเรื่องที่กำลังลุ้นกันอยู่ แสดงว่าศาลรับเรื่องนี้เข้าไปแล้ว ในความเห็นของผมคือ เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจ จะส่งได้เฉพาะคำสั่ง กฎระเบียบ ของเจ้าหน้าที่ และกรณีการออกประกาศกฎเกณฑ์การประมูล 3 จี กำหนดโดยบอร์ด กสทช.ที่ไม่ได้เจ้าหน้าที่รัฐหรือสังกัดส่วนราชการต่าง ๆ
ถามว่าแล้วศาลปกครองจะตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เลยหรือ คำตอบของผมคือ "ได้" แต่ต้องดูว่าคนฟ้องเป็นใคร ในเมื่อตามกฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดินทำได้เฉพาะในกรอบที่ระบุไว้เท่านั้น จะไปฟ้องเรื่องอื่นไม่ได้ เพราะคำฟ้องที่เขียนลงไปยื่นฟ้องก็บ่งบอกชัดเจนว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบบอร์ด กสทช.
โดยสรุปแล้วผมมีความเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจไปตรวจสอบประกาศหลักเกณฑ์การประมูล 3 จี และ ศาลปกครองไม่ควรรับคำฟ้องตั้งแต่แรกแล้ว
ทางด้านนายเกอร์ราร์ด โปโกเรล นักเศรษฐศาสตร์ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส กล่าวในงานสัมมนาเดียวกัน หัวข้อ "เศรษฐศาสตร์การเมืองในการกำหนดราคาคลื่นความถี่" ว่ากรณีการประมูล 3 จีของประเทศไทย ที่มีข้อถกเถียงกันอยู่ขณะนี้ถึงราคาประมูลที่ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย จ่ายค่าสัมปทานบริการ 3 จี ควรจะต้องทำให้รัฐซึ่งเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีต้องได้รับเงินสูงกว่า 40,000-45,000 ล้านบาท
นักเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมทั่วโลกมีความเห็นคล้ายคลึงกัน คือ ตอนนี้เป็นเวลาเหมาะสมที่ไทยควรจะพัฒนาเทคโนโลยีบริการคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ต ส่วนราคาประมูลเป็นเพียงปัจจัยเล็ก ๆ เท่านั้น เรื่องการพัฒนาบริการคลื่นความถี่ของประเทศต่างในสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ส่วนใหญ่จะเน้นวางรูปแบบบริหารจัดการ
โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับการเปิดทางให้ผู้ประกอบการเข้ามาแข่งขัน เพื่อลดอำนาจการต่อรองระหว่างรัฐกับผู้ที่ได้สัมปทาน และ เพิ่มทางเลือกให้แก่ภาคธุรกิจ ผู้บริโภคทุกกลุ่ม จะได้ใช้โครงข่ายโทรคมนาคมราคาถูกลงโดยอัตโนมัติ
เป้าหมายหลักต้องให้น้ำหนักการตอบโจทก์บริการสาธารณะแก่คนทั้งประเทศ รวมถึง 3 จี ยังเป็นเครื่องมือสำคัญของประเทศที่ภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้และนำมาใช้พัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจแข่งขันกับนานาประเทศ
เพราะหากสนใจเรียกร้องกันแต่เรื่องเพิ่มค่าสัมปทาน ยิ่งสูงมากจะยิ่งกลายเป็นอำนาจที่ผู้ประกอบการจะนำมาต่อรองกับรัฐบาลได้ กรณีการจัดเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ เนื่องจากการลงทุนด้วยการจ่ายเงินค่าแรกเข้าสูงมาก
ส่วนการจัดการคลื่นความถี่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก เป็นหน้าที่ของ กสทช.ต้องทำหน้าที่กำกับดูแลให้ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้คลื่นความถี่มีความผันผวนสูงมาก ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้ประเทศไทยลองพิจารณาวิธีการจัดการคลื่นความถี่ โดยทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทะเบียน หาส่วนแบ่งตลาดจากเครือข่ายอนาล็อกเดิมแบ่งมาพัฒนาเป็นดิจิตอลเพิ่มขึ้น และ เพิ่มแรงจูงใจหรืออินเซ็นทีฟการให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนนำคลื่นอนาล็อกมาแบ่งให้รายอื่นทำเครือข่ายดิจิตอล
ทำควบคู่ไปพร้อมกับอีก 3 ช่องทาง นั่นคือ หาวิธีนำคลื่นที่เหลืออยู่มาพัฒนาใหม่ ใส่เทคโนโลยีใหม่เข้าไป และ หากลกลไกการตลาดเข้ามาเสริม เพื่อให้เกิดกุญแจแห่งความสำเร็จ 2 เรื่อง คือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายและบริการให้แก่ ภาครัฐ เอกชน สาธารณะ
2.จัดการทางด้านการตลาดได้เต็มที่ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันทำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353494827&grpid=01&catid&subcatid
‘โอบามา’เยือน‘ไทย-พม่า-เขมร’ปรับยุทศาสตร์เอเชีย-คานดุลจีน
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 386 วันที่ 17-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 9 คอลัมน์ จับกระแสการเมือง โดย ทีมข่าวต่างประเทศ
หลังชนะการเลือกตั้งเข้าสู่ทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประเดิมเยือน 3 ชาติเอเชียทันทีระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายนนี้ ได้แก่ พม่า ไทย และกัมพูชา โดยจะมาไทยวันที่ 18 พฤศจิกายน เพื่อหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก่อนจะเดินทางไปกัมพูชาเพื่อร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก โดยมีผู้นำจีน ญี่ปุ่น และรัสเซียเข้าร่วมด้วย คาดว่าผู้นำสหรัฐจะหารือในประเด็นกว้างๆคือ ด้านความมั่งคั่ง เศรษฐกิจ และการลงทุน
แต่ที่ถูกจับตามากที่สุดคือการเยือนพม่าครั้งแรกของประธานาธิบดีสหรัฐในรอบ 50 ปี เพื่อหารือกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า
แม้การเยือนพม่าจะใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่เป็นการบ่งบอกว่ารัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปของพม่าอย่างเต็มที่หลังจากนางซู จี ได้รับอิสรภาพและได้เป็น ส.ส. ครั้งแรกในชีวิตการเมืองกว่า 30 ปีของเธอ ทั้งยังคาดว่านายโอบามาจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อกลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมและแวะชมสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมในย่างกุ้งด้วย
นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงว่า นายโอบามาตั้งใจกล่าวกับประชาสังคมว่าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้นในพม่า ขณะที่นายเดวิด แบมฟอร์ด จากสำนักข่าว BBC กล่าวว่า การเยือนของนายโอบามาสะท้อนให้เห็นถึงนัยสำคัญว่าสหรัฐต้องการปรับความสัมพันธ์กับพม่าให้เป็นปรกติอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจของจีนในพม่าที่ยาวนานอีกด้วย
แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนวิพากษ์วิจารณ์การเยือนพม่าของนายโอบามาว่าเร็วเกินไป เพราะรัฐบาลพม่ายังมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และไม่ดำเนินการแก้ปัญหาระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140 คน และบาดเจ็บกว่า 100,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงยา จนต้องอพยพหนีไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญตามสนธิสัญญาของสหรัฐ นายโอบามาจะพบและหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์เนื่องในวาระครบรอบ 180 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ การเจรจาขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และหารือด้านความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยจะมีการลงนามความเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์”
ขณะที่นายลีออน พาเนตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ จะหารือกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีกลาโหม เพื่อร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง
ส่วนการเยือนกัมพูชาที่เป็นจุดสุดท้ายนั้น นายโอบามาจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่เป็นกรอบความร่วมมือสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน โดยทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีโอกาสเจรจากับผู้นำสหรัฐโดยตรง
นอกจากชัยชนะของนายโอบามาแล้ว จุดที่โลกติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกันคือ การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยประชุมที่ 18 ที่รับรองการเสนอชื่อนายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดี ให้ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนายหู จิ่นเทา ซึ่งครบวาระ หลังจากอยู่ในตำแหน่ง 2 สมัยนาน 10 ปี ถือเป็นการส่งผ่านอำนาจครั้งสำคัญของจีนยุคใหม่ ซึ่งนายสีจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีและประธานคณะกรรมาธิการกลางกลาโหมในเดือนมีนาคมปีหน้า
จีนแสดงความโล่งใจที่นายโอบาชนะการเลือกตั้ง แม้จีนกับสหรัฐจะกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งในด้านการค้า การทหาร และการเมือง แต่ผู้นำจีนก็ไม่ต้องการให้นายรอมนีย์ชนะ เพราะนายรอมนีย์ประกาศว่าจะใช้นโยบายแข็งกร้าวเพื่อกดดันจีน รวมถึงอาจประกาศใช้มาตรการขู่คว่ำบาตรจีน โดยร่วมมือกับชาติพันธมิตร เพื่อให้จีนยึดมั่นในกฎระเบียบการค้าโลก เพราะถือว่าจีนทำให้สหรัฐขาดดุลการค้ามหาศาลในขณะนี้
แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจคือด้านความมั่นคงที่นายโอบามาประกาศระหว่างเยือนอินโดนีเซียเมื่อกลางปีนี้ว่าจะส่งทหารนาวิกโยธิน 2,500 นาย ไปประจำการที่เมืองดาร์วินในออสเตรเลีย แต่จะไม่ตั้งฐานทัพถาวร ตามแผนการปรับยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก หลังจากสหรัฐเตรียมถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานทั้งหมดภายในสิ้นปี 2014
การเปิดเกมรุกยุทธศาสตร์ในภูภาคเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐจึงมีผลโดยตรงต่อการขยายอิทธิพลของจีน รวมทั้งการค้าที่วันนี้จีนผงาดเป็นมหาอำนาจอับดับ 2 แล้ว และคาดว่าอีก 5 ปีจะขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 แทนสหรัฐ ดังนั้น สหรัฐจึงต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งเพื่อรองรับอิทธิพลของจีนอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ใช่การเป็นศัตรู อย่างที่นายพาเนตตาย้ำกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนว่าต้องการเห็น “ระเบียบปฏิบัติ” (code of conduct) ของอาเซียนมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด โดยสหรัฐต้องการให้จีนเจรจาข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์และเกาะปะการังอื่นๆกับอาเซียน เพราะสหรัฐถือว่าทะเลจีนใต้เป็นทั้งแหล่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และประมงที่สำคัญ ทั้งยังเป็น 1 ใน 3 เส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของสหรัฐด้วย
นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ก็บอกว่าจีนพร้อมจะยอมรับ “ระเบียบปฏิบัติ” ของอาเซียนบนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน แต่ไม่ได้ระบุกรอบเวลาในการรับรอง ทั้งยังขอสงวนสิทธิต่อการเจรจาข้อพิพาทแบบทวิภาคีระหว่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรมเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์และบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังส่งกองเรือไปประจำการถาวรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสหรัฐพยายามใช้นโยบายปิดล้อมจีน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยใช้ชาติในเอเชียเป็นพันธมิตร ซึ่งมีหลายชาติที่มีข้อพิพาทกับจีน อย่างญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเตี้ยวหยูหรือหมู่เกาะเซนกากุ หรือกรณีหมู่เกาะทาเคชิมาหรือหมู่เกาะต็อกโตที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้บาดหมางกับจีน
นักวิเคราะห์การเมืองจึงเห็นว่านายโอบามาตัดสินใจถูกที่มาเยือนไทยซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียสำหรับการเริ่มต้นยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งนายบิล คลินตัน และนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก็เคยมาเยือนแล้ว
ขณะที่ไทยก็ต้องให้สหรัฐในฐานะพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดปลดล็อกเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสหรัฐจัดให้ไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองอย่างยิ่ง Priority Watch List (PWL) หากสหรัฐต้องการให้ไทยเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจีนกับไทยถือเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์ “พิเศษ” ทั้งระดับรัฐบาล ภาคเอกชน และระดับพระราชวงศ์ของไทย
ที่สำคัญไทยจะทำให้เกิดความถ่วงดุลที่ดีทั้งจีนกับสหรัฐอย่างไร โดยไม่ทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีปัญหาหรือขาดความเป็นอิสระ โดยเฉพาะไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใด เพราะเมื่อยักษ์กับยักษ์มาชนกัน บรรดาหญ้าแพรกก็แหลกลาญเป็นธรรมดา
หลังชนะการเลือกตั้งเข้าสู่ทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประเดิมเยือน 3 ชาติเอเชียทันทีระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายนนี้ ได้แก่ พม่า ไทย และกัมพูชา โดยจะมาไทยวันที่ 18 พฤศจิกายน เพื่อหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก่อนจะเดินทางไปกัมพูชาเพื่อร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก โดยมีผู้นำจีน ญี่ปุ่น และรัสเซียเข้าร่วมด้วย คาดว่าผู้นำสหรัฐจะหารือในประเด็นกว้างๆคือ ด้านความมั่งคั่ง เศรษฐกิจ และการลงทุน
แต่ที่ถูกจับตามากที่สุดคือการเยือนพม่าครั้งแรกของประธานาธิบดีสหรัฐในรอบ 50 ปี เพื่อหารือกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า
แม้การเยือนพม่าจะใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่เป็นการบ่งบอกว่ารัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปของพม่าอย่างเต็มที่หลังจากนางซู จี ได้รับอิสรภาพและได้เป็น ส.ส. ครั้งแรกในชีวิตการเมืองกว่า 30 ปีของเธอ ทั้งยังคาดว่านายโอบามาจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อกลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมและแวะชมสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมในย่างกุ้งด้วย
นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงว่า นายโอบามาตั้งใจกล่าวกับประชาสังคมว่าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้นในพม่า ขณะที่นายเดวิด แบมฟอร์ด จากสำนักข่าว BBC กล่าวว่า การเยือนของนายโอบามาสะท้อนให้เห็นถึงนัยสำคัญว่าสหรัฐต้องการปรับความสัมพันธ์กับพม่าให้เป็นปรกติอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจของจีนในพม่าที่ยาวนานอีกด้วย
แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนวิพากษ์วิจารณ์การเยือนพม่าของนายโอบามาว่าเร็วเกินไป เพราะรัฐบาลพม่ายังมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และไม่ดำเนินการแก้ปัญหาระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140 คน และบาดเจ็บกว่า 100,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงยา จนต้องอพยพหนีไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญตามสนธิสัญญาของสหรัฐ นายโอบามาจะพบและหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์เนื่องในวาระครบรอบ 180 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ การเจรจาขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และหารือด้านความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยจะมีการลงนามความเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์”
ขณะที่นายลีออน พาเนตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ จะหารือกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีกลาโหม เพื่อร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง
ส่วนการเยือนกัมพูชาที่เป็นจุดสุดท้ายนั้น นายโอบามาจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่เป็นกรอบความร่วมมือสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน โดยทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีโอกาสเจรจากับผู้นำสหรัฐโดยตรง
นอกจากชัยชนะของนายโอบามาแล้ว จุดที่โลกติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกันคือ การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยประชุมที่ 18 ที่รับรองการเสนอชื่อนายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดี ให้ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนายหู จิ่นเทา ซึ่งครบวาระ หลังจากอยู่ในตำแหน่ง 2 สมัยนาน 10 ปี ถือเป็นการส่งผ่านอำนาจครั้งสำคัญของจีนยุคใหม่ ซึ่งนายสีจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีและประธานคณะกรรมาธิการกลางกลาโหมในเดือนมีนาคมปีหน้า
จีนแสดงความโล่งใจที่นายโอบาชนะการเลือกตั้ง แม้จีนกับสหรัฐจะกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งในด้านการค้า การทหาร และการเมือง แต่ผู้นำจีนก็ไม่ต้องการให้นายรอมนีย์ชนะ เพราะนายรอมนีย์ประกาศว่าจะใช้นโยบายแข็งกร้าวเพื่อกดดันจีน รวมถึงอาจประกาศใช้มาตรการขู่คว่ำบาตรจีน โดยร่วมมือกับชาติพันธมิตร เพื่อให้จีนยึดมั่นในกฎระเบียบการค้าโลก เพราะถือว่าจีนทำให้สหรัฐขาดดุลการค้ามหาศาลในขณะนี้
แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจคือด้านความมั่นคงที่นายโอบามาประกาศระหว่างเยือนอินโดนีเซียเมื่อกลางปีนี้ว่าจะส่งทหารนาวิกโยธิน 2,500 นาย ไปประจำการที่เมืองดาร์วินในออสเตรเลีย แต่จะไม่ตั้งฐานทัพถาวร ตามแผนการปรับยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก หลังจากสหรัฐเตรียมถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานทั้งหมดภายในสิ้นปี 2014
การเปิดเกมรุกยุทธศาสตร์ในภูภาคเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐจึงมีผลโดยตรงต่อการขยายอิทธิพลของจีน รวมทั้งการค้าที่วันนี้จีนผงาดเป็นมหาอำนาจอับดับ 2 แล้ว และคาดว่าอีก 5 ปีจะขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 แทนสหรัฐ ดังนั้น สหรัฐจึงต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งเพื่อรองรับอิทธิพลของจีนอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ใช่การเป็นศัตรู อย่างที่นายพาเนตตาย้ำกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนว่าต้องการเห็น “ระเบียบปฏิบัติ” (code of conduct) ของอาเซียนมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด โดยสหรัฐต้องการให้จีนเจรจาข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์และเกาะปะการังอื่นๆกับอาเซียน เพราะสหรัฐถือว่าทะเลจีนใต้เป็นทั้งแหล่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และประมงที่สำคัญ ทั้งยังเป็น 1 ใน 3 เส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของสหรัฐด้วย
นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ก็บอกว่าจีนพร้อมจะยอมรับ “ระเบียบปฏิบัติ” ของอาเซียนบนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน แต่ไม่ได้ระบุกรอบเวลาในการรับรอง ทั้งยังขอสงวนสิทธิต่อการเจรจาข้อพิพาทแบบทวิภาคีระหว่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรมเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์และบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังส่งกองเรือไปประจำการถาวรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสหรัฐพยายามใช้นโยบายปิดล้อมจีน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยใช้ชาติในเอเชียเป็นพันธมิตร ซึ่งมีหลายชาติที่มีข้อพิพาทกับจีน อย่างญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเตี้ยวหยูหรือหมู่เกาะเซนกากุ หรือกรณีหมู่เกาะทาเคชิมาหรือหมู่เกาะต็อกโตที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้บาดหมางกับจีน
นักวิเคราะห์การเมืองจึงเห็นว่านายโอบามาตัดสินใจถูกที่มาเยือนไทยซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียสำหรับการเริ่มต้นยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งนายบิล คลินตัน และนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก็เคยมาเยือนแล้ว
ขณะที่ไทยก็ต้องให้สหรัฐในฐานะพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดปลดล็อกเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสหรัฐจัดให้ไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองอย่างยิ่ง Priority Watch List (PWL) หากสหรัฐต้องการให้ไทยเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจีนกับไทยถือเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์ “พิเศษ” ทั้งระดับรัฐบาล ภาคเอกชน และระดับพระราชวงศ์ของไทย
ที่สำคัญไทยจะทำให้เกิดความถ่วงดุลที่ดีทั้งจีนกับสหรัฐอย่างไร โดยไม่ทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีปัญหาหรือขาดความเป็นอิสระ โดยเฉพาะไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใด เพราะเมื่อยักษ์กับยักษ์มาชนกัน บรรดาหญ้าแพรกก็แหลกลาญเป็นธรรมดา
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ถามถึง′แนวทาง′ การเมือง′คนดี′ ′ทิศทาง′และ′อนาคต′
คอลัมน์ การเมือง มติชน 20 พ.ย.2555
ปรากฏการณ์ต้านข้อเสนอ "แช่แข็ง" ประเทศไทย ลุกลามไปทั่ว
เป็นข้อเสนอของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ที่กำลังจะจัดการชุมนุมประชาชน 1 ล้านคน ในวันที่ 24-25 พฤศจิกายน ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
ปรากฏการณ์ต้าน นอกจากมาจากนักวิชาการ ปัญญาชนแล้ว
ยังมาจาก "แฟลชม็อบ" ที่นำโดย บ.ก.ลายจุด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ไปแล้ว ที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม
จากการชุมนุมของ คนเสื้อแดง ที่ขอนแก่นไปแล้ว ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมนับหมื่น
จากการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่ อบต. บางปลา จ.สมุทรปราการ มีผู้เข้าร่วมนับหมื่นเช่นกัน
ยังจะมีการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงภาคอีสานที่อุดรธานี และเสื้อแดงภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ในปลายสัปดาห์
การปฏิเสธจากนักวิชาการ ปัญญาชนนั้น เข้าใจได้ว่า กำหนดโดยหลักการทางวิชาการ
ส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นชัดเจนว่า สนับสนุนรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แล้วฝ่ายอื่นๆ เล่า ?!
ความเห็นทั่วไปของประชาชนในภาพรวม แม้จะยากสัมผัส แต่อาจเข้าถึงได้ผ่านการสำรวจของโพลต่างๆ
สวนดุสิตโพลนำเสนออย่างระมัด ระวังว่า 42.69% ของผู้ให้ความเห็นทั่ว ประเทศ ต้องการให้ใช้วิธีเจรจา มากกว่าออกมาชุมนุม
30.43% เห็นว่า เป็นเกมการเมืองเพื่อหวังกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้อง ส่งผลกระทบต่อประเทศ
39.09% เกรงจะเกิดความรุนแรง, 44.24% แนะทุกฝ่ายมีสติ ใช้เหตุผล
41.07% ขอให้ องค์การพิทักษ์สยาม ชุมนุมอย่างสงบ ใช้สันติวิธี และไม่ใช้ความรุนแรง
ขณะที่เอแบคโพลล์ สำรวจ 17 จังหวัดใหญ่ ฟันเปรี้ยงๆ ว่า 94.5% ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
84% อยากให้การชุมนุมเป็นไปโดย สงบ
แต่ก็นั่นแหละ โพลเหล่านี้ อาจเบี่ยงเบนด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง
"คำตอบ" ที่ถูกต้องแม่นยำ อาจจะต้องรอสรุป จากวันชุมนุม 24 พฤศจิกายน
มองจากฝ่ายผู้สนับสนุน อาจจะเห็นความคึกคักได้จากเครือข่ายโซเชียลมีเดียของพรรคการเมืองบางพรรค กับสื่อบริวาร
เป็นกลุ่มคนอ่านออกเขียนได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น วางตนเองว่าเป็นผู้รู้ และเข้าใจประชาธิปไตยยิ่งกว่า "รากหญ้า" เสื้อแดง
เป็น "พลเมืองฉลาด" ผู้โชคร้าย ที่ดันมาเกิดในประเทศที่มีนายกฯโง่ !
มุมมองของคนกลุ่มนี้ ต่อการชุมนุม 24 พฤศจิกายน ของ องค์การพิทักษ์สยาม จึงเป็นบวก
เป็น "ความหวัง" อันเรืองรอง ในการทวงคืนประเทศไทย
ให้กลับไปสู่อ้อมอกของคนดี คืนสู่ระบบที่บริหารงานโดยคนดี
ซึ่งยังพร่าเลือนว่า หน้าตาของระบบดังกล่าวเป็นอย่างไร
คําถามที่ยังไม่มีใครตอบ ก็คือ ภายใต้แนวทาง "คนดี" นั้น "ใคร" จะมาเป็นผู้นำรัฐบาล และเป็นรัฐมนตรี
ใครจะเข้าไปอยู่ในสภาคนดี และใครจะเป็นคนเลือกคนดี
จะนำพาประเทศมุ่งหน้าไปในทิศทางดีๆ ทิศทางใด
การแช่แข็งประเทศ, การปิดประเทศ จะดำเนินการในลักษณะใด และคนไทยจะได้อะไรจากระบบนี้
จะทำอย่างไรกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การนำเข้าและ ส่งออก การไปมาหาสู่ การแลกเปลี่ยนในด้านต่างๆ กับมิตรประเทศ
สนธิสัญญา ข้อผูกพันระหว่างประเทศต่างๆ จะยกเลิกทิ้งทั้งหมดหรือไม่ ฯลฯ
ถือเป็น "เรื่องใหญ่" ที่จะต้องมีคำตอบ
เมื่อนำเสนอเรื่องของ "คนดี" ในทางตรงกันข้าม ก็ต้องมี "คนไม่ดี"
คำถามไม่สำคัญ แต่น่าจะต้องตอบก็คือ
แล้วจะเอา "คนไม่ดี" ไปโยนทิ้งไว้ที่ไหน !?
ปรากฏการณ์ต้านข้อเสนอ "แช่แข็ง" ประเทศไทย ลุกลามไปทั่ว
เป็นข้อเสนอของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ที่กำลังจะจัดการชุมนุมประชาชน 1 ล้านคน ในวันที่ 24-25 พฤศจิกายน ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
ปรากฏการณ์ต้าน นอกจากมาจากนักวิชาการ ปัญญาชนแล้ว
ยังมาจาก "แฟลชม็อบ" ที่นำโดย บ.ก.ลายจุด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ไปแล้ว ที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม
จากการชุมนุมของ คนเสื้อแดง ที่ขอนแก่นไปแล้ว ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมนับหมื่น
จากการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่ อบต. บางปลา จ.สมุทรปราการ มีผู้เข้าร่วมนับหมื่นเช่นกัน
ยังจะมีการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงภาคอีสานที่อุดรธานี และเสื้อแดงภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ในปลายสัปดาห์
การปฏิเสธจากนักวิชาการ ปัญญาชนนั้น เข้าใจได้ว่า กำหนดโดยหลักการทางวิชาการ
ส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นชัดเจนว่า สนับสนุนรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แล้วฝ่ายอื่นๆ เล่า ?!
ความเห็นทั่วไปของประชาชนในภาพรวม แม้จะยากสัมผัส แต่อาจเข้าถึงได้ผ่านการสำรวจของโพลต่างๆ
สวนดุสิตโพลนำเสนออย่างระมัด ระวังว่า 42.69% ของผู้ให้ความเห็นทั่ว ประเทศ ต้องการให้ใช้วิธีเจรจา มากกว่าออกมาชุมนุม
30.43% เห็นว่า เป็นเกมการเมืองเพื่อหวังกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้อง ส่งผลกระทบต่อประเทศ
39.09% เกรงจะเกิดความรุนแรง, 44.24% แนะทุกฝ่ายมีสติ ใช้เหตุผล
41.07% ขอให้ องค์การพิทักษ์สยาม ชุมนุมอย่างสงบ ใช้สันติวิธี และไม่ใช้ความรุนแรง
ขณะที่เอแบคโพลล์ สำรวจ 17 จังหวัดใหญ่ ฟันเปรี้ยงๆ ว่า 94.5% ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
84% อยากให้การชุมนุมเป็นไปโดย สงบ
แต่ก็นั่นแหละ โพลเหล่านี้ อาจเบี่ยงเบนด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง
"คำตอบ" ที่ถูกต้องแม่นยำ อาจจะต้องรอสรุป จากวันชุมนุม 24 พฤศจิกายน
มองจากฝ่ายผู้สนับสนุน อาจจะเห็นความคึกคักได้จากเครือข่ายโซเชียลมีเดียของพรรคการเมืองบางพรรค กับสื่อบริวาร
เป็นกลุ่มคนอ่านออกเขียนได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น วางตนเองว่าเป็นผู้รู้ และเข้าใจประชาธิปไตยยิ่งกว่า "รากหญ้า" เสื้อแดง
เป็น "พลเมืองฉลาด" ผู้โชคร้าย ที่ดันมาเกิดในประเทศที่มีนายกฯโง่ !
มุมมองของคนกลุ่มนี้ ต่อการชุมนุม 24 พฤศจิกายน ของ องค์การพิทักษ์สยาม จึงเป็นบวก
เป็น "ความหวัง" อันเรืองรอง ในการทวงคืนประเทศไทย
ให้กลับไปสู่อ้อมอกของคนดี คืนสู่ระบบที่บริหารงานโดยคนดี
ซึ่งยังพร่าเลือนว่า หน้าตาของระบบดังกล่าวเป็นอย่างไร
คําถามที่ยังไม่มีใครตอบ ก็คือ ภายใต้แนวทาง "คนดี" นั้น "ใคร" จะมาเป็นผู้นำรัฐบาล และเป็นรัฐมนตรี
ใครจะเข้าไปอยู่ในสภาคนดี และใครจะเป็นคนเลือกคนดี
จะนำพาประเทศมุ่งหน้าไปในทิศทางดีๆ ทิศทางใด
การแช่แข็งประเทศ, การปิดประเทศ จะดำเนินการในลักษณะใด และคนไทยจะได้อะไรจากระบบนี้
จะทำอย่างไรกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การนำเข้าและ ส่งออก การไปมาหาสู่ การแลกเปลี่ยนในด้านต่างๆ กับมิตรประเทศ
สนธิสัญญา ข้อผูกพันระหว่างประเทศต่างๆ จะยกเลิกทิ้งทั้งหมดหรือไม่ ฯลฯ
ถือเป็น "เรื่องใหญ่" ที่จะต้องมีคำตอบ
เมื่อนำเสนอเรื่องของ "คนดี" ในทางตรงกันข้าม ก็ต้องมี "คนไม่ดี"
คำถามไม่สำคัญ แต่น่าจะต้องตอบก็คือ
แล้วจะเอา "คนไม่ดี" ไปโยนทิ้งไว้ที่ไหน !?
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
คนดีอย่าง ร.ต.อภิสิทธิ์
เรื่องจากปก จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 386 ประจำวัน จันทร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2012
“วันนี้เริ่มต้นที่ศาลปกครองก่อนเป็นขั้นแรก และถ้ามีใครไปยื่นเรื่องคุณสมบัติผมที่ศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็ต้องไปชี้แจง ที่ศาลรัฐธรรมนูญว่าคำสั่งปลด ผมออกจากราชการนั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนศาลรัฐธรรมนูญหรือศาล ปกครองถ้ารับเรื่องทั้งสองไว้จะ มีแนวทางอย่างไรว่าจะให้ศาลไหนเป็นผู้พิจารณา ต้องมาดูกันอีกที แต่สุดท้ายในเรื่องคุณสมบัติผมต้องไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อนุมัติคำสั่งกระทรวงกลาโหมลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ให้ปลดหรือให้ออกจากราชการว่า หากมีพฤติกรรมผิดวินัยทหารจริงก็ต้องดำเนินการภายใน 3 เดือน แต่ของตนผ่านมา 24 ปีแล้ว หรือจะทำให้เป็นกรณีแรกของประวัติศาสตร์ ที่สำคัญการปลดคนออกจากราชการแบบนี้ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง พล.อ.อ.สุกำพล น่าจะทราบดี เพราะมีคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาที่เคยวินิจ ฉัยไว้แล้วตั้งแต่ปี 2551 อีกทั้งคำสั่งปลดให้ไปเป็นทหารกองหนุนก็เป็นไม่ได้ เพราะอายุเกินแล้ว
นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า คำสั่งของกระทรวงกลาโหมตั้งใจสกัดกั้นหรือกลั่นแกล้งทางการเมือง เดิมตั้งเรื่องว่าหนีทหาร สุดท้ายจากคำสั่งที่ออกมาแสดงว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเห็นว่าตนเป็นทหารแล้ว ไม่อย่างนั้นจะปลดออกได้อย่างไร ประโยคที่เขาต้องการให้อยู่ในคำสั่งคือบอกว่าประพฤติทุจริต ประพฤติมิชอบในวงราชการ เพื่อปลดออก และมีการยื่นให้องค์กรต่างๆชี้ว่าขาดคุณสมบัติ เพื่อมาตีให้ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตกไป และการสอบของกระทรวงกลาโหมก็ทำอย่างเร่งรีบ น่าจะขัดกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้มอบอำนาจให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ยื่นฟ้อง พล.อ.อ.สุกำพลต่อศาลปกครองกลาง ฐานกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีคำสั่งลงวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งศาลได้รับคดีไว้เพื่อพิจารณา และมีคำสั่งว่าจะรับฟ้องเพื่อมีคำพิพากษาต่อไปหรือไม่
คำสั่งกระทรวงกลาโหม
สำหรับรายละเอียดคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 ระบุว่าให้ปลดหรือให้ออกจากราชการ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ได้กระทำความผิด ด้วยการนำเอกสารเท็จคือ ใบสำคัญ สด.9 ฉบับใบแทน ลงวันที่ 8 เมษายน 2531 (ซึ่งใช้แทนฉบับจริง ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 ที่อ้างว่าชำรุดสูญหาย) ไปขึ้นทะเบียนกองประจำการที่จังหวัดนครนายกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 จึงถือว่านายอภิสิทธิ์กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นความผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรงในการแจ้งความหรือใช้เอกสารอันมีข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานสัสดี และอนุมัติสั่งการให้เพิกถอนคำสั่งการบรรจุนายอภิสิทธิ์เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน ตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เนื่องจากมีการปกปิดข้อความอันเป็นจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ คือการขาดการเกณฑ์ทหารเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 และไม่มีใบสำคัญทางทหารที่ถูกต้องในการบรรจุ
ดังนั้น คำสั่งบรรจุจึงมิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งเมื่อคำสั่งการบรรจุไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำสั่งการแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นนายทหารสัญญาบัตรยศว่าที่ ร.ต. ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จึงให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวต่อเนื่องกันไป
โดยคณะกรรมการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการถอดยศและเรียกเบี้ยหวัดคืนจากนายอภิสิทธิ์ ประกอบด้วย พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน พล.อ.ชาญ โกมลหิรัญ เจ้ากรมเสมียนตรา พล.อ.ชัยรัตน์ ชีระพันธุ์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ พล.ท.พอพล มณีรินทร์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อย จปร. เป็นกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการได้ทำหนังสือให้นายอภิสิทธิ์มาให้การหรือนำส่งเอกสารเพื่อเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความถูกต้องของตน แต่นายอภิสิทธิ์บ่ายเบี่ยงและขอเลื่อนเวลามาให้การ และมิได้นำส่งเอกสารใดๆให้กับคณะกรรมการ จนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลาให้ส่งเอกสารเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการจึงลงมติตัดสินเป็นเอกฉันท์ในความผิดต่างๆของนายอภิสิทธิ์ และรายงานผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรับทราบเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
“เรืองไกร” ฟันดาบสองยื่น กกต.
นอกจากการออกมาตอบโต้ของพรรคประชาธิปัตย์ในรูปแบบต่างๆแล้ว ที่น่าสนใจคือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ มาตรา 62 เพื่อขอให้ประธาน กกต. ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรค 3 โดยขอให้ กกต. ส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิก ภาพ ส.ส. ของนายอภิสิทธิ์ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (6) จากกรณีถูกปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลา โหมหรือไม่ โดยแนบเอกสาร 1.สำเนาคำสั่งกระทรวง กลาโหมที่ 1163/2555 2.สำเนาข่าวที่เกี่ยวข้อง 3.สำ เนาคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 8/2549 และ 4.สำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543
นายเรืองไกรกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ไม่สามารถร้องเรียนต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงกลาโหมได้ เนื่องจากเรื่องเกี่ยวกับวินัยทหารไม่ได้อยู่ในอำนาจที่ศาลปกครองจะพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรค 2 (1) ซึ่งบัญญัติ ชัดเจนว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องที่เกี่ยว กับวินัยทางทหารได้ แต่เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม นอกจากนี้หากยึดตามแนวทางของศาลฎีกา การที่นายอภิสิทธิ์ถูกปลดออกจากราชการย่อมมีผลทันทีด้วย
นายเรืองไกรระบุว่า นายอภิสิทธิ์ใช้วิธีเดียวกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยสถานะ โดยใช้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 50 คน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเหมาะสมกว่าการไปยื่นศาลปกครอง เนื่องจากมีข้อเท็จจริงกรณีการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งศาลปกครองให้ความเห็นกรณีปลดออกในคำวินิจฉัย 8/2549 ว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจตามมาตรา 9 วรรค 2 (1) นอก จากนี้แนวทางในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 ที่มีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษา ได้วางไว้ว่า กรณีถูกไล่ออก ปลดออก เมื่อคำสั่งออกมาแล้วและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยการตั้งคณะกรรมการถือว่ามีผลใช้บังคับทันที
เตือน “อภิสิทธิ์” ยื่นเอกสารเท็จ
นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตือนนายอภิ สิทธิ์กรณีไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่า อาจมีความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จและใช้เอกสารเท็จต่อศาล เพราะสาระสำคัญต่อคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 ที่ให้ปลดนายอภิสิทธิ์ออกจากราชการ นายอภิสิทธิ์ต้องพิจารณาและตั้งคำถามกับตนเองก่อนว่าการพิจารณาเรื่องนี้เป็นไปในรูปของคณะบุคคล คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลา โหมมิได้ใช้อำนาจหรือดุลยพินิจโดยลำพังตนเอง แต่ใช้อำนาจในรูปของคณะกรรมการ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าคณะกรรมการซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่รังแกตน เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพียงเห็นชอบตามการพิจารณาและข้อเสนอของคณะบุคคลที่เป็นกรรมการเท่านั้น เรื่องนี้จะทำให้ชีวิตของนายอภิสิทธิ์เป็นปัญหาในลักษณะที่เรียกว่างูกินหางไม่เสร็จสิ้น
ขณะที่นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ โพสต์ความเห็นผ่านเฟซบุ๊ค “รมต.กลาโหมมีอำนาจสั่งปลดคุณอภิสิทธิ์ได้หรือไม่?” ว่าเรื่องนี้มีผู้อ้างความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ 566/2553 ว่าสั่งปลดไม่ได้ ซึ่งต้องพิจารณา 2 ประเด็นสำคัญคือ
ประเด็นแรก คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า การที่กระทรวงกลาโหมจะดำเนินการทางวินัยตามมติ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้น ถ้ากระทรวงกลาโหม เห็นว่ามีอำนาจที่จะปลดออกจากประจำการได้ก็ต้องปลดออก โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายของการรับราชการ หากพ้นจากราชการแล้วก็ไม่อาจ ปลดออกจากประจำการได้ และหากเป็นการดำเนินการทางวินัยก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ประเด็นที่ 2 คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าการถอดยศทหารถือว่ายศเป็นสิ่งที่ติดตัวทหาร ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในประจำการหรือนอกประจำการ การถอดยศทหารจึงสามารถกระทำได้ แม้ทหารผู้นั้นจะออกจากประจำการแล้ว โดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา การถอดยศจึงสามารถดำเนินการได้ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะอยู่ในประจำการหรือนอกประจำการก็ตาม และหากฝ่ายกฎหมายของนายอภิสิทธิ์อ้างเรื่อง “วินัย” ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องวินัยทหาร
เตือน ปชป. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ส่วนกรณีที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงโจมตีว่ากระทรวงกลาโหมรีบร้อนจนเกิดความผิดพลาดอย่างน้อย 3 จุดนั้น กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม ออกมาชี้แจงตอบโต้ทันควันว่า สำเนาที่อ้างว่าพิมพ์คำว่า “รัฐมนตรีว่าการทรวงกลาโหม” ตกคำว่า “กระ” นั้น เป็นสำเนาที่ไม่ตรงกับข้อความในฉบับจริง ซึ่งต้องลงนามโดยเจ้ากรมเสมียนตราหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่ฉบับจริงได้พิมพ์คำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” ไว้อย่างถูกต้อง
คำว่า “ผิดหลง” ที่ใช้ในคำสั่งนั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ตามภาษากฎหมายแล้ว ไม่ได้ใช้คำว่า “หลงผิด” และ การใช้คำว่า “ว่าที่ร้อยตรี” นำหน้าชื่อนายอภิสิทธิ์ใน ย่อหน้าแรก เป็นการบรรยายถึงการกระทำและความ ผิดของว่าที่ร้อยตรีอภิสิทธิ์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531
แต่การใช้คำว่า “ร้อยตรี” นำหน้าชื่อนายอภิสิทธิ์ในตอนต่อๆไป เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งต่อร้อยตรีอภิสิทธิ์ ในวันออกคำสั่งมียศอย่างไรก็ต้องเรียกตามนั้น แต่คำสั่งจะให้มีผลบังคับย้อนหลังไปยังวันใดตามสมควรแก่เหตุก็ย่อมทำได้ ทั้งนี้ เป็นความถูกต้องและเป็นไปตามแบบธรรมเนียมทหารแล้ว การกล่าวหาว่าเร่งรีบ ลุกลี้ลุกลนนั้นก็ไม่ถูกต้อง เพราะคณะกรรมการใช้เวลาสอบสวนต่อเนื่องรวมเวลา 136 วัน ก่อนจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพิจารณา
ในหนังสือกรมเสมียนตราทิ้งท้ายว่า ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูก ดูหมิ่น หรือสร้างความเข้าใจผิดต่อคณะกรรมการ หรือชี้นำว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการไม่น่าเชื่อถือ อาจมีความผิด ฐานหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นเจ้าพนักงาน...ฯลฯ
ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์!
ส่วน พล.อ.อ.สุกำพลยืนยันว่า ไม่ได้ตั้งธงเรื่องนี้อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหา แต่มีข้อมูลหลักฐานถึงความไม่ชอบมาพากลและพบว่าผิดจริง จึงต้องทำตามขั้นตอน หากนายอภิสิทธิ์จะส่งหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมก็สามารถทำได้ พร้อมให้ความเป็นธรรมเสมอ หากในวันอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายค้านหยิบประเด็นถอดยศมาอภิปรายก็พร้อมชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา และแจกแจงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์ทำผิดขั้นตอนอย่างไร ให้ประชาชนทั้งประเทศรับทราบว่าไม่ได้กลั่นแกล้งและไม่มีการ เมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะมีผู้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วส่งมายังกระทรวงกลาโหม
พล.อ.อ.สุกำพลฝากถามนายอภิสิทธิ์ว่า หนีทหารจริงหรือไม่ มีหลักฐานการขอผ่อนผันหรือไม่ และใช้หลักฐานเท็จหรือไม่ ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์เคยตอบคำถามเหล่านี้หรือไม่
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุกรณีการถอดยศร้อยตรีของนายอภิสิทธิ์ว่า เรื่องนี้หากเป็นลูกตาสีตาสา นายอภิสิทธิ์จะไม่สามารถสมัครเป็น ส.ส. ได้ตั้งแต่ต้น เพราะขาดคุณสมบัติ จะไม่ได้เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย เนื่องจากไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร เรื่องนี้เดินมาเป็นหลายสิบปีจนกระทรวงกลาโหมสรุปและมีมติ จึงไม่ใช่เรื่องการกลั่นแกล้ง แต่เป็นเรื่องว่าในที่สุดก็ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์เหนือกว่ากฎกติกาที่ถูกต้องของบ้านเมืองไปได้
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมที่จะถามเรื่องจริยธรรมจากใครอีกแล้ว นอกจากนายอภิสิทธิ์จะแสดงสปิริตของตัวเองออกมา อย่างที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ลาออกจากทุกตำแหน่ง หากเทียบกับกรณีนายอภิสิทธิ์นั้นต่างกันมาก เพราะนายอภิสิทธิ์ใช้วิธีการสร้างเอกสารเท็จลวงโลกมาเกือบครึ่งชีวิตจนได้เป็นนายกรัฐมนตรี
คนดี (ร้อยตรีอภิสิทธิ์)?
“เมื่อมีประชาชนเพียง 1 คน หรือแสนคนมาเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาตัวเองนั้น ไม่ได้ขัดหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารประเทศนั้นละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิประชาชน หรือทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องเหล่านี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่รอให้กฎหมายจัดการ แต่จะมีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง”
คำอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้านกับรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่รัฐบาลเมื่อปี 2551 วันนี้นายอภิสิทธิ์คงต้องถามตัวเองเช่นเดียวกันว่ามี “สำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง” หรือไม่หลังจากถูกถอดยศ “ร้อยตรี”
เช่นเดียวกับเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตปี 2553 ที่มีคนตายถึง 99 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ในฐานะผู้นำรัฐ บาลนอกจากจะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมืองแล้ว ยังไม่มีแม้แต่คำ “ขอโทษ” ขณะที่นายอภิสิทธิ์ได้อภิปรายรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯที่บริเวณหน้ารัฐสภาจนมีผู้เสียชีวิต 2 คนว่า “ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้วรัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี”
“สำนึกทางการเมือง” หรือ “ความรับผิดชอบทางการเมือง” จึงเป็นวาทกรรมที่นายอภิสิทธิ์ต้องถามตัวเอง เช่นเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดกรณีส่งบุคคลเข้าแทรกแซงการทำงานในกระทรวงวัฒนธรรม แม้วุฒิสภาจะลงมติไม่ถอดถอนก็ตาม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปลายเดือนพฤศจิกายนจึงน่าจะเป็นการอภิ ปรายพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ที่พรรคประชาธิปัตย์แนบชื่อในฐานะ “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” ทั้งที่วันนี้ถูกกระทรวงกลาโหมระบุว่า “การกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตนเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง”
เพราะที่นี่คือแผ่นดินไทย แผ่นดินของ “คนดี” ที่คนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยยกย่องบูชา ทำอะไรก็ไม่ผิด ตรวจสอบก็ไม่ได้ แม้แต่ทำให้คนตายเกลื่อนเมือง..
ทำให้นึกถึงสุภาษิตละตินบทหนึ่งที่บอกว่า “Corruptio optimi pessima”..the corruption of the best is the worst of all.
..ไม่มีอะไรจะสุดชั่วร้ายไปกว่าคนที่ถูกยก ย่องว่าเป็น “คนดีที่สุด” แต่กลับกระทำในสิ่งที่ชั่วร้ายเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด
“วันนี้เริ่มต้นที่ศาลปกครองก่อนเป็นขั้นแรก และถ้ามีใครไปยื่นเรื่องคุณสมบัติผมที่ศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็ต้องไปชี้แจง ที่ศาลรัฐธรรมนูญว่าคำสั่งปลด ผมออกจากราชการนั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนศาลรัฐธรรมนูญหรือศาล ปกครองถ้ารับเรื่องทั้งสองไว้จะ มีแนวทางอย่างไรว่าจะให้ศาลไหนเป็นผู้พิจารณา ต้องมาดูกันอีกที แต่สุดท้ายในเรื่องคุณสมบัติผมต้องไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อนุมัติคำสั่งกระทรวงกลาโหมลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ให้ปลดหรือให้ออกจากราชการว่า หากมีพฤติกรรมผิดวินัยทหารจริงก็ต้องดำเนินการภายใน 3 เดือน แต่ของตนผ่านมา 24 ปีแล้ว หรือจะทำให้เป็นกรณีแรกของประวัติศาสตร์ ที่สำคัญการปลดคนออกจากราชการแบบนี้ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง พล.อ.อ.สุกำพล น่าจะทราบดี เพราะมีคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาที่เคยวินิจ ฉัยไว้แล้วตั้งแต่ปี 2551 อีกทั้งคำสั่งปลดให้ไปเป็นทหารกองหนุนก็เป็นไม่ได้ เพราะอายุเกินแล้ว
นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า คำสั่งของกระทรวงกลาโหมตั้งใจสกัดกั้นหรือกลั่นแกล้งทางการเมือง เดิมตั้งเรื่องว่าหนีทหาร สุดท้ายจากคำสั่งที่ออกมาแสดงว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเห็นว่าตนเป็นทหารแล้ว ไม่อย่างนั้นจะปลดออกได้อย่างไร ประโยคที่เขาต้องการให้อยู่ในคำสั่งคือบอกว่าประพฤติทุจริต ประพฤติมิชอบในวงราชการ เพื่อปลดออก และมีการยื่นให้องค์กรต่างๆชี้ว่าขาดคุณสมบัติ เพื่อมาตีให้ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตกไป และการสอบของกระทรวงกลาโหมก็ทำอย่างเร่งรีบ น่าจะขัดกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้มอบอำนาจให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ยื่นฟ้อง พล.อ.อ.สุกำพลต่อศาลปกครองกลาง ฐานกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีคำสั่งลงวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งศาลได้รับคดีไว้เพื่อพิจารณา และมีคำสั่งว่าจะรับฟ้องเพื่อมีคำพิพากษาต่อไปหรือไม่
คำสั่งกระทรวงกลาโหม
สำหรับรายละเอียดคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 ระบุว่าให้ปลดหรือให้ออกจากราชการ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ได้กระทำความผิด ด้วยการนำเอกสารเท็จคือ ใบสำคัญ สด.9 ฉบับใบแทน ลงวันที่ 8 เมษายน 2531 (ซึ่งใช้แทนฉบับจริง ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 ที่อ้างว่าชำรุดสูญหาย) ไปขึ้นทะเบียนกองประจำการที่จังหวัดนครนายกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 จึงถือว่านายอภิสิทธิ์กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นความผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรงในการแจ้งความหรือใช้เอกสารอันมีข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานสัสดี และอนุมัติสั่งการให้เพิกถอนคำสั่งการบรรจุนายอภิสิทธิ์เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน ตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เนื่องจากมีการปกปิดข้อความอันเป็นจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ คือการขาดการเกณฑ์ทหารเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 และไม่มีใบสำคัญทางทหารที่ถูกต้องในการบรรจุ
ดังนั้น คำสั่งบรรจุจึงมิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งเมื่อคำสั่งการบรรจุไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำสั่งการแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นนายทหารสัญญาบัตรยศว่าที่ ร.ต. ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จึงให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวต่อเนื่องกันไป
โดยคณะกรรมการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการถอดยศและเรียกเบี้ยหวัดคืนจากนายอภิสิทธิ์ ประกอบด้วย พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน พล.อ.ชาญ โกมลหิรัญ เจ้ากรมเสมียนตรา พล.อ.ชัยรัตน์ ชีระพันธุ์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ พล.ท.พอพล มณีรินทร์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อย จปร. เป็นกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการได้ทำหนังสือให้นายอภิสิทธิ์มาให้การหรือนำส่งเอกสารเพื่อเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความถูกต้องของตน แต่นายอภิสิทธิ์บ่ายเบี่ยงและขอเลื่อนเวลามาให้การ และมิได้นำส่งเอกสารใดๆให้กับคณะกรรมการ จนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลาให้ส่งเอกสารเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการจึงลงมติตัดสินเป็นเอกฉันท์ในความผิดต่างๆของนายอภิสิทธิ์ และรายงานผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรับทราบเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
“เรืองไกร” ฟันดาบสองยื่น กกต.
นอกจากการออกมาตอบโต้ของพรรคประชาธิปัตย์ในรูปแบบต่างๆแล้ว ที่น่าสนใจคือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ มาตรา 62 เพื่อขอให้ประธาน กกต. ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรค 3 โดยขอให้ กกต. ส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิก ภาพ ส.ส. ของนายอภิสิทธิ์ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (6) จากกรณีถูกปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลา โหมหรือไม่ โดยแนบเอกสาร 1.สำเนาคำสั่งกระทรวง กลาโหมที่ 1163/2555 2.สำเนาข่าวที่เกี่ยวข้อง 3.สำ เนาคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 8/2549 และ 4.สำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543
นายเรืองไกรกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ไม่สามารถร้องเรียนต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงกลาโหมได้ เนื่องจากเรื่องเกี่ยวกับวินัยทหารไม่ได้อยู่ในอำนาจที่ศาลปกครองจะพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรค 2 (1) ซึ่งบัญญัติ ชัดเจนว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องที่เกี่ยว กับวินัยทางทหารได้ แต่เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม นอกจากนี้หากยึดตามแนวทางของศาลฎีกา การที่นายอภิสิทธิ์ถูกปลดออกจากราชการย่อมมีผลทันทีด้วย
นายเรืองไกรระบุว่า นายอภิสิทธิ์ใช้วิธีเดียวกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยสถานะ โดยใช้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 50 คน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเหมาะสมกว่าการไปยื่นศาลปกครอง เนื่องจากมีข้อเท็จจริงกรณีการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งศาลปกครองให้ความเห็นกรณีปลดออกในคำวินิจฉัย 8/2549 ว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจตามมาตรา 9 วรรค 2 (1) นอก จากนี้แนวทางในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 ที่มีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษา ได้วางไว้ว่า กรณีถูกไล่ออก ปลดออก เมื่อคำสั่งออกมาแล้วและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยการตั้งคณะกรรมการถือว่ามีผลใช้บังคับทันที
เตือน “อภิสิทธิ์” ยื่นเอกสารเท็จ
นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตือนนายอภิ สิทธิ์กรณีไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่า อาจมีความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จและใช้เอกสารเท็จต่อศาล เพราะสาระสำคัญต่อคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 ที่ให้ปลดนายอภิสิทธิ์ออกจากราชการ นายอภิสิทธิ์ต้องพิจารณาและตั้งคำถามกับตนเองก่อนว่าการพิจารณาเรื่องนี้เป็นไปในรูปของคณะบุคคล คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลา โหมมิได้ใช้อำนาจหรือดุลยพินิจโดยลำพังตนเอง แต่ใช้อำนาจในรูปของคณะกรรมการ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าคณะกรรมการซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่รังแกตน เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพียงเห็นชอบตามการพิจารณาและข้อเสนอของคณะบุคคลที่เป็นกรรมการเท่านั้น เรื่องนี้จะทำให้ชีวิตของนายอภิสิทธิ์เป็นปัญหาในลักษณะที่เรียกว่างูกินหางไม่เสร็จสิ้น
ขณะที่นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ โพสต์ความเห็นผ่านเฟซบุ๊ค “รมต.กลาโหมมีอำนาจสั่งปลดคุณอภิสิทธิ์ได้หรือไม่?” ว่าเรื่องนี้มีผู้อ้างความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ 566/2553 ว่าสั่งปลดไม่ได้ ซึ่งต้องพิจารณา 2 ประเด็นสำคัญคือ
ประเด็นแรก คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า การที่กระทรวงกลาโหมจะดำเนินการทางวินัยตามมติ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้น ถ้ากระทรวงกลาโหม เห็นว่ามีอำนาจที่จะปลดออกจากประจำการได้ก็ต้องปลดออก โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายของการรับราชการ หากพ้นจากราชการแล้วก็ไม่อาจ ปลดออกจากประจำการได้ และหากเป็นการดำเนินการทางวินัยก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ประเด็นที่ 2 คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าการถอดยศทหารถือว่ายศเป็นสิ่งที่ติดตัวทหาร ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในประจำการหรือนอกประจำการ การถอดยศทหารจึงสามารถกระทำได้ แม้ทหารผู้นั้นจะออกจากประจำการแล้ว โดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา การถอดยศจึงสามารถดำเนินการได้ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะอยู่ในประจำการหรือนอกประจำการก็ตาม และหากฝ่ายกฎหมายของนายอภิสิทธิ์อ้างเรื่อง “วินัย” ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องวินัยทหาร
เตือน ปชป. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ส่วนกรณีที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงโจมตีว่ากระทรวงกลาโหมรีบร้อนจนเกิดความผิดพลาดอย่างน้อย 3 จุดนั้น กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม ออกมาชี้แจงตอบโต้ทันควันว่า สำเนาที่อ้างว่าพิมพ์คำว่า “รัฐมนตรีว่าการทรวงกลาโหม” ตกคำว่า “กระ” นั้น เป็นสำเนาที่ไม่ตรงกับข้อความในฉบับจริง ซึ่งต้องลงนามโดยเจ้ากรมเสมียนตราหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่ฉบับจริงได้พิมพ์คำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” ไว้อย่างถูกต้อง
คำว่า “ผิดหลง” ที่ใช้ในคำสั่งนั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ตามภาษากฎหมายแล้ว ไม่ได้ใช้คำว่า “หลงผิด” และ การใช้คำว่า “ว่าที่ร้อยตรี” นำหน้าชื่อนายอภิสิทธิ์ใน ย่อหน้าแรก เป็นการบรรยายถึงการกระทำและความ ผิดของว่าที่ร้อยตรีอภิสิทธิ์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531
แต่การใช้คำว่า “ร้อยตรี” นำหน้าชื่อนายอภิสิทธิ์ในตอนต่อๆไป เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งต่อร้อยตรีอภิสิทธิ์ ในวันออกคำสั่งมียศอย่างไรก็ต้องเรียกตามนั้น แต่คำสั่งจะให้มีผลบังคับย้อนหลังไปยังวันใดตามสมควรแก่เหตุก็ย่อมทำได้ ทั้งนี้ เป็นความถูกต้องและเป็นไปตามแบบธรรมเนียมทหารแล้ว การกล่าวหาว่าเร่งรีบ ลุกลี้ลุกลนนั้นก็ไม่ถูกต้อง เพราะคณะกรรมการใช้เวลาสอบสวนต่อเนื่องรวมเวลา 136 วัน ก่อนจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพิจารณา
ในหนังสือกรมเสมียนตราทิ้งท้ายว่า ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูก ดูหมิ่น หรือสร้างความเข้าใจผิดต่อคณะกรรมการ หรือชี้นำว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการไม่น่าเชื่อถือ อาจมีความผิด ฐานหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นเจ้าพนักงาน...ฯลฯ
ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์!
ส่วน พล.อ.อ.สุกำพลยืนยันว่า ไม่ได้ตั้งธงเรื่องนี้อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหา แต่มีข้อมูลหลักฐานถึงความไม่ชอบมาพากลและพบว่าผิดจริง จึงต้องทำตามขั้นตอน หากนายอภิสิทธิ์จะส่งหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมก็สามารถทำได้ พร้อมให้ความเป็นธรรมเสมอ หากในวันอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายค้านหยิบประเด็นถอดยศมาอภิปรายก็พร้อมชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา และแจกแจงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์ทำผิดขั้นตอนอย่างไร ให้ประชาชนทั้งประเทศรับทราบว่าไม่ได้กลั่นแกล้งและไม่มีการ เมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะมีผู้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วส่งมายังกระทรวงกลาโหม
พล.อ.อ.สุกำพลฝากถามนายอภิสิทธิ์ว่า หนีทหารจริงหรือไม่ มีหลักฐานการขอผ่อนผันหรือไม่ และใช้หลักฐานเท็จหรือไม่ ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์เคยตอบคำถามเหล่านี้หรือไม่
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุกรณีการถอดยศร้อยตรีของนายอภิสิทธิ์ว่า เรื่องนี้หากเป็นลูกตาสีตาสา นายอภิสิทธิ์จะไม่สามารถสมัครเป็น ส.ส. ได้ตั้งแต่ต้น เพราะขาดคุณสมบัติ จะไม่ได้เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย เนื่องจากไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร เรื่องนี้เดินมาเป็นหลายสิบปีจนกระทรวงกลาโหมสรุปและมีมติ จึงไม่ใช่เรื่องการกลั่นแกล้ง แต่เป็นเรื่องว่าในที่สุดก็ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์เหนือกว่ากฎกติกาที่ถูกต้องของบ้านเมืองไปได้
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมที่จะถามเรื่องจริยธรรมจากใครอีกแล้ว นอกจากนายอภิสิทธิ์จะแสดงสปิริตของตัวเองออกมา อย่างที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ลาออกจากทุกตำแหน่ง หากเทียบกับกรณีนายอภิสิทธิ์นั้นต่างกันมาก เพราะนายอภิสิทธิ์ใช้วิธีการสร้างเอกสารเท็จลวงโลกมาเกือบครึ่งชีวิตจนได้เป็นนายกรัฐมนตรี
คนดี (ร้อยตรีอภิสิทธิ์)?
“เมื่อมีประชาชนเพียง 1 คน หรือแสนคนมาเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาตัวเองนั้น ไม่ได้ขัดหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารประเทศนั้นละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิประชาชน หรือทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องเหล่านี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่รอให้กฎหมายจัดการ แต่จะมีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง”
คำอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้านกับรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่รัฐบาลเมื่อปี 2551 วันนี้นายอภิสิทธิ์คงต้องถามตัวเองเช่นเดียวกันว่ามี “สำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง” หรือไม่หลังจากถูกถอดยศ “ร้อยตรี”
เช่นเดียวกับเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตปี 2553 ที่มีคนตายถึง 99 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ในฐานะผู้นำรัฐ บาลนอกจากจะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมืองแล้ว ยังไม่มีแม้แต่คำ “ขอโทษ” ขณะที่นายอภิสิทธิ์ได้อภิปรายรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯที่บริเวณหน้ารัฐสภาจนมีผู้เสียชีวิต 2 คนว่า “ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้วรัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี”
“สำนึกทางการเมือง” หรือ “ความรับผิดชอบทางการเมือง” จึงเป็นวาทกรรมที่นายอภิสิทธิ์ต้องถามตัวเอง เช่นเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดกรณีส่งบุคคลเข้าแทรกแซงการทำงานในกระทรวงวัฒนธรรม แม้วุฒิสภาจะลงมติไม่ถอดถอนก็ตาม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปลายเดือนพฤศจิกายนจึงน่าจะเป็นการอภิ ปรายพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ที่พรรคประชาธิปัตย์แนบชื่อในฐานะ “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” ทั้งที่วันนี้ถูกกระทรวงกลาโหมระบุว่า “การกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตนเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง”
เพราะที่นี่คือแผ่นดินไทย แผ่นดินของ “คนดี” ที่คนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยยกย่องบูชา ทำอะไรก็ไม่ผิด ตรวจสอบก็ไม่ได้ แม้แต่ทำให้คนตายเกลื่อนเมือง..
ทำให้นึกถึงสุภาษิตละตินบทหนึ่งที่บอกว่า “Corruptio optimi pessima”..the corruption of the best is the worst of all.
..ไม่มีอะไรจะสุดชั่วร้ายไปกว่าคนที่ถูกยก ย่องว่าเป็น “คนดีที่สุด” แต่กลับกระทำในสิ่งที่ชั่วร้ายเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ม็อบไล่รัฐบาลกับนักประชาธิปไตยจอมปลอม
เรื่องจากปก จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3423 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน 2012
การเมืองทวีความร้อนแรงสวนทางกับสภาพอากาศที่อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีความเคลื่อนไหวคึกคักทั้งในสภาและนอกสภา
แม้จะปฏิเสธความเกี่ยวข้องแต่สอดคล้องกันอยู่ในท่าทีของการดำเนินการ อันมีเป้าหมายใหญ่เดียวกันคือการโค่นล้มรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
การเมืองในสภาก็ว่ากันไปตามกฎกติกาที่มีกำกับอยู่ จะเล่นแรงแค่ไหนหากยังอยู่ในกฎ ในกรอบกติกาก็ถือว่ารับได้
แต่ที่ไม่อาจยอมรับได้คือ การเมืองนอกสภา ที่ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบบ
มุ่งแช่แข็งประเทศไทยนาน 5 ปี กันไม่ให้นักการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับภารกิจการบ้านการเมืองทั้งในฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
เมื่อเป้าหมายชัดก็ต้องมีคำถามย้อนกลับไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 40 ส.ว. นักวิชาการ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ครั้งหนึ่งเคยออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ต้องถามว่าคนเหล่านี้มีจุดยืนกับการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลเพื่อแช่แข็งประเทศนาน 5 ปีอย่างไร และต้องแสดงจุดยืนนั้นออกมา
การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยรัฐบาลที่ทำกันในสภาตามขั้นตอน พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนักวิชาการพากันมองว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป็นการกระทำเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่ใช่วิถีตามรัฐธรรมนูญ ถือว่าขัดต่อข้อกำหนดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. พากันยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ระงับยับยั้งการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งศาลรับคดีไว้พิจารณาอย่างทันใจ
แม้ภายหลังจะชี้ว่าการแก้มาตรา 291 ยังไม่เข้าข่ายผิดตามมาตรา 68 แต่ก็ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ได้จากการทำรัฐประหารหยุดชะงักมาถึงปัจจุบัน
ขณะที่การชุมนุมขับไล่รัฐบาลขององค์การพิทักษ์สยามประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการแช่แข็งประเทศนาน 5 ปี ไม่ให้นักการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง และต้องการกำหนดกติกาการปกครองบ้านเมืองใหม่
แช่แข็งประเทศเพื่อร่างกติกาใหม่เป็นการทำนอกสภา ไม่มีกฎหมายรองรับ
แต่พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนักวิชาการที่เคลื่อนไหวคัดค้านการแก้มาตรา 291 อย่างคึกคักเอาเป็นเอาตายกลับเงียบกริบ
นอกจากไม่มีแม้แต่เสียงวิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังมีท่าทีให้กำลังใจและสนับสนุน
ไม่มีใครคิดฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งระงับการชุมนุมที่มีเป้าหมายล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร
ทั้งที่เป็นการกระทำเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่ใช่วิถีตามรัฐธรรมนูญ
มีเพียงนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ที่ยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ระงับยับยั้งการชุมนุม โดยยื่นเรื่องไปตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา
แต่ถึงวันนี้ศาลก็ยังไม่มีคำตอบว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ขณะที่การชุมนุมจะมีขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.
ต้องตั้งคำถามถึงศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกันว่ากรณีนี้สำคัญเร่งด่วนพอที่จะพิจารณาเหมือนกับการรับพิจารณาแก้มาตรา 291 โดยตรงไม่รอคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดก่อนตามขั้นตอนหรือไม่
หากแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มาตราเดียว ถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แล้วการชุมนุมวันที่ 24 พ.ย. ที่มีเป้าหมายล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร จะเรียกว่าอะไร?
ม็อบองค์การพิทักษ์สยามได้จับผู้ประกาศตัวเป็นนักประชาธิปไตยแก้ผ้าล่อนจ้อนโชว์ต่อหน้าสาธารณชนแล้วว่าตัวตนที่แท้จริงเป็นอย่างไร
ใครนักประชาธิปไตยตัวจริง ใครตัวปลอม
การเมืองทวีความร้อนแรงสวนทางกับสภาพอากาศที่อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีความเคลื่อนไหวคึกคักทั้งในสภาและนอกสภา
แม้จะปฏิเสธความเกี่ยวข้องแต่สอดคล้องกันอยู่ในท่าทีของการดำเนินการ อันมีเป้าหมายใหญ่เดียวกันคือการโค่นล้มรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
การเมืองในสภาก็ว่ากันไปตามกฎกติกาที่มีกำกับอยู่ จะเล่นแรงแค่ไหนหากยังอยู่ในกฎ ในกรอบกติกาก็ถือว่ารับได้
แต่ที่ไม่อาจยอมรับได้คือ การเมืองนอกสภา ที่ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบบ
มุ่งแช่แข็งประเทศไทยนาน 5 ปี กันไม่ให้นักการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับภารกิจการบ้านการเมืองทั้งในฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
เมื่อเป้าหมายชัดก็ต้องมีคำถามย้อนกลับไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 40 ส.ว. นักวิชาการ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ครั้งหนึ่งเคยออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ต้องถามว่าคนเหล่านี้มีจุดยืนกับการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลเพื่อแช่แข็งประเทศนาน 5 ปีอย่างไร และต้องแสดงจุดยืนนั้นออกมา
การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยรัฐบาลที่ทำกันในสภาตามขั้นตอน พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนักวิชาการพากันมองว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป็นการกระทำเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่ใช่วิถีตามรัฐธรรมนูญ ถือว่าขัดต่อข้อกำหนดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. พากันยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ระงับยับยั้งการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งศาลรับคดีไว้พิจารณาอย่างทันใจ
แม้ภายหลังจะชี้ว่าการแก้มาตรา 291 ยังไม่เข้าข่ายผิดตามมาตรา 68 แต่ก็ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ได้จากการทำรัฐประหารหยุดชะงักมาถึงปัจจุบัน
ขณะที่การชุมนุมขับไล่รัฐบาลขององค์การพิทักษ์สยามประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการแช่แข็งประเทศนาน 5 ปี ไม่ให้นักการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง และต้องการกำหนดกติกาการปกครองบ้านเมืองใหม่
แช่แข็งประเทศเพื่อร่างกติกาใหม่เป็นการทำนอกสภา ไม่มีกฎหมายรองรับ
แต่พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนักวิชาการที่เคลื่อนไหวคัดค้านการแก้มาตรา 291 อย่างคึกคักเอาเป็นเอาตายกลับเงียบกริบ
นอกจากไม่มีแม้แต่เสียงวิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังมีท่าทีให้กำลังใจและสนับสนุน
ไม่มีใครคิดฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งระงับการชุมนุมที่มีเป้าหมายล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร
ทั้งที่เป็นการกระทำเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่ใช่วิถีตามรัฐธรรมนูญ
มีเพียงนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ที่ยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ระงับยับยั้งการชุมนุม โดยยื่นเรื่องไปตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา
แต่ถึงวันนี้ศาลก็ยังไม่มีคำตอบว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ขณะที่การชุมนุมจะมีขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.
ต้องตั้งคำถามถึงศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกันว่ากรณีนี้สำคัญเร่งด่วนพอที่จะพิจารณาเหมือนกับการรับพิจารณาแก้มาตรา 291 โดยตรงไม่รอคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดก่อนตามขั้นตอนหรือไม่
หากแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มาตราเดียว ถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แล้วการชุมนุมวันที่ 24 พ.ย. ที่มีเป้าหมายล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร จะเรียกว่าอะไร?
ม็อบองค์การพิทักษ์สยามได้จับผู้ประกาศตัวเป็นนักประชาธิปไตยแก้ผ้าล่อนจ้อนโชว์ต่อหน้าสาธารณชนแล้วว่าตัวตนที่แท้จริงเป็นอย่างไร
ใครนักประชาธิปไตยตัวจริง ใครตัวปลอม
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ส.ส.สุนัย ส่งสารแสดงความยินดี ลัดดา แทมมี่ ดั๊กเวิร์ท
8 พฤศจิกายน
2555
เรียน ท่านลัดดา
แทมมี่ ดั๊กเวิร์ท
สมาชิกรัฐสภา
กระผมขอแสดงความยินดี ในโอกาสที่ท่านได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
โดยปราศจากข้อสงสัยจากชาวอเมริกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากประชาชนในเขตเลือกตั้งที่
8 ของรัฐอิลินอยส์
ที่ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเขา เหล่านั้นมีความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง
และมีประสิทธิภาพของท่าน
ตามที่ท่านจะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในเร็วๆ นี้ในฐานะสมาชิกรัฐสภา
กระผมได้รอที่จะได้ร่วมงานกับท่าน ในการที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้ยิ่งขึ้นไป
และขยายความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศ
ผมขอใช้โอกาสนี้เรียนเชิญท่าน มาเยือนประเทศไทยตามโอกาสที่ท่านสะดวก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีหน้า ถือเป็นการฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 180 ปี ระหว่างไทย
และสหรัฐอเมริกา การเยือนประเทศไทยของท่าน แน่นอนว่าจะมีส่วนสนับสนุนความสัมพันธ์
และมิตรภาพระหว่างรัฐสภาไทย และรัฐสภาสหรัฐ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ขอแสดงความนับถือ
นายสุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ระวังสูญญากาศอำนาจ..รัฐประหารแนวทางโมเสส
บทชี้นำ RED POWER ฉบับที่ 30 เดือน พฤศจิกายน 2555
รัฐประหารสูตรโบราณตรารถถังและโคโยตี้งานนี้จัดยากเพราะคนสั่งก็สั่งไม่ไหว
คนอยากจะขับรถถังออกไปก็ไม่กล้า แต่แนวคิดบ้าๆของปะป๋ายังอยู่ในหมู่ทหารคำสั่งการเรื่อง
“คนดี” จึงกลายเป็นสารตกค้างอยู่ในสมองตุลาการ ดูได้จากการแสดงบทบาทของ
ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญและ ตลก.ศาลปกครอง
จับตา สว.40,ประชาธิปัตย์,พันธมิตร
และนักวิชาการ ลูกสมุนปะป๋าทำหน้าที่กองหลังประสานกันเป็นแพคอยส่งลูก
จับตา องค์กรอิสระที่ปะป๋าฟูมฟักทำหน้าที่หลักคล้ายปีกซ้ายปีกขวารับลูกจากกองหลังส่งศูนย์หน้า
จับตา ตุลาการที่ปะป๋าสั่งให้ยืนออฟไซด์คอยยิงใส่รัฐบาลสายทักษิณทำหน้าที่คล้ายศูนย์หน้าฟุตบอลที่จ้องแต่จะยุบพรรค
เหตุการณ์ชุลมุนวันนี้
ดูดีๆมีเสียมีได้คล้ายๆเหตุการณ์สมัยรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย
ก่อนอำนาจจะหลุดลอยไปอยู่ในกำมือรัฐบาลหุ่นเชิดอำมาตย์นามอภิสิทธิ์ เพียงแต่วันนี้มีตัวแปรเสื้อแดงจึงเล่นยากแต่อำมาตย์ก็ยังอยากเล่น
วันนี้เป็นสถานการณ์การจัดอำนาจใหม่ของจริงๆยิ่งกว่าก่อนเหตุการณ์
19 กันยา 2549
ไม่ตัดสินใจก็ไม่ได้
เพราะสถานการณ์บีบให้ต้องตัดสินใจ
จะไสรถถังออกไปก็ไม่ได้
เพราะปัจจัยสำคัญดันไม่พร้อม !!!
เมื่อนั่งทางในหาทางออกของการเมืองไทยสไตร์ปะป๋าจึงเห็นท่าจะออกได้ทางเดียวสำหรับปะป๋า“เขี้ยว”จอมเบี้ยวระบบต้องจบเกมส์แบบ “เปรมๆ”ด้วยประเคนคำวินิจฉัยให้รัฐบาลปูหลุดจากอำนาจชั่วคราวเพื่อไปเข้าสภาเลือกนายกฯใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย
(เพราะดูๆไปก็ไม่น่าเกลียด)
ขณะที่รัฐบาลใหม่กำลังลุ้น
ภาวะสูญญากาศทางอำนาจก็จะเกิดและพร้อมกันอำมาตย์ก็จะเปิดเกมส์ประกาศสำคัญเพื่อการจัดอำนาจใหม่
ศาล+พินัยกรรมการเมือง
จะเป็นเรื่องใหม่ที่ใครๆก็นึกไม่ถึง
จะกลายเป็นพลังดึงกำลังทุกส่วนเข้าศูนย์กลางเพื่อการเตรียมพร้อม....แล้วนั่นคือการรัฐประหารที่ทหารทั้งเหลืองทั้งแตงโมก็ปฏิเสธไม่ได้
การจัดอำนาจใหม่ด้วยรูปแบบพิเศษคือเหตุผลสำคัญที่รอมานานจึงห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญและห้ามออกกฎหมายปรองดองเพราะปะป๋าหมายปองประคองลูกมานานจนจะหลุดมือแล้ว
หากสถานการณ์เป็นไปตามที่นั่งทางในดังที่คาดไว้ปะป๋าก็จะทำหน้าที่คล้ายโมเสสศาสดาพยากรณ์ผู้รับมอบบัญญัติ
10 ประการจากพระเจ้าเพื่อนำไปตั้งรัฐตามบัญชาของพระองค์
ประชาชนคนเสื้อเหลืองเห็นโมเสสจะเฮ
แต่คนเสื้อแดงจะเป๋และมึนงงหลงไปกับเขา....โปรดระวัง
ถ้าสำเร็จเราจะเห็นโมเสสทางการเมือง
แต่ถ้าพลาดโมเสสจะกลายเป็นเศษเนื้อจนชิ้นส่วนร่างกายแตกสลายไม่ครบ
32 จับใส่โรงส่งขึ้นสวรรค์ไม่ครบถ้วน
โปรดติดตามชมภาพยนต์รัฐประหารแนวทางโมเสสอีกไม่นานเกินรอ
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
‘แรงเงา’ของประชาชนไทย!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 384 วันที่ 3-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 4 คอลัมน์ ถนนประชาธิปไตย โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ผมเป็นคนชอบงานเขียนของนันทนา วีระชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนันทนาได้รับอิทธิพลจากสตรีนิยมหลัง 14 ตุลามาไม่น้อย ในนวนิยายของนันทนาหลายเรื่องจะเน้นบทบาทความเด่นของตัวละครสตรีที่มีความกล้าต่อสู้และท้าทายสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้กับผู้ชายชั่วที่เอาเปรียบผู้หญิง และในบรรดางานเขียนหลายเรื่องของเธอ แรงเงาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง
เรื่องย่อของ “แรงเงา” เล่าถึง “มุตตา” ซึ่งเป็นข้าราชการหญิงที่เรียบร้อยและอ่อนต่อโลก จึงตกเป็นภรรยาลับของ “เจนภพ” ซึ่งเป็นชายเจ้าชู้และผู้บังคับบัญชาในที่ทำงาน ต่อมา “มุตตา” ถูกภรรยาของเจนภพชื่อ “นพนภา” ตามมาตบตีต่อหน้าคนจำนวนมาก และถูกซ้ำเติมโดยเพื่อนข้าราชการ ทำให้เธออับอายจนต้องหนีกลับบ้านต่างจังหวัด และพบว่าตนเองท้อง ในที่สุดก็ฆ่าตัวตายหนีปัญหา แต่ “มุนินทร์” พี่สาวฝาแฝดที่เป็นคนเข้มแข็งไม่ยอมใคร ไม่สามารถยอมรับเรื่องความตายของน้องสาวได้ จึงปลอมตัวเป็นมุตตากลับมาแก้แค้น และในที่สุดก็สามารถเอาชนะ ทำให้ “นพนภา” และ “เจนภพ” ได้รับกรรมตามที่ตนเองก่อไว้ และครอบครัวของ “นพนภา” ก็ประสบความแตกแยก ส่วน “มุนินทร์” ได้แต่งงานกับ “วีกิจ” หลานของ “เจนภพ” ที่เข้าช่วยเหลือ “มุตตา” ตลอดมา
หลังจากเรื่อง “แรงเงา” เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง และขณะนี้ละครเรื่องนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมาก แม้ว่าผู้สร้างละครครั้งนี้เน้นฉากตบกันระหว่างผู้หญิงมากไปหน่อย แต่ถ้าดูจากเนื้อหาต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ให้บทเรียนแก่สังคมพอสมควร
แต่ที่น่าสนใจคือโครงเรื่องของเรื่อง “แรงเงา” เข้ากันได้กับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ประชาชนไทยก็ไม่ต่างอะไรกับ “มุตตา” คือไม่เคยมีปากเสียง ยอมจำนนต่อชนชั้นปกครอง และปล่อยชะตากรรมของประเทศไว้ในมือชนชั้นนำจำนวนน้อย ไม่ว่าจะใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยเต็มใบ เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่เคยบ่น จะรัฐประหารหรือเอาใครมาเป็นรัฐบาลก็ยอมรับโดยดุษณีภาพ
แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้ขบวนการประชาชนไทยกลายร่างเป็น “มุนินทร์” ลุกขึ้นตอบโต้กับชนชั้นนำอำมาตย์อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่ยอมให้ชนชั้นปกครองกำหนดชะตากรรมของประเทศเช่นเดิมอีก จึงสร้างความยากลำบากอย่างมากแก่ชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย
ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้จึงอยู่ที่ว่าประชาชนคนส่วนใหญ่ต้องการการเมืองแบบประชาธิปไตย ให้รัฐบาลที่บริหารประเทศมาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากของประชาชน แต่กลุ่มชนชั้นจารีตประเพณีต้องการสร้างการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย ขอเพียงให้มีคนดีมาบริหารบ้านเมือง และจะมาด้วยวิธีไหนก็ได้ จากการรัฐประหาร การแต่งตั้ง การกำหนดโดยศาล หรือโดยผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และมีการสร้างวาทกรรมตลอดเวลาว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนชั่ว จึงกลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นกลไกอำนาจของคนชั่ว คนดีต้องขึ้นสู่อำนาจด้วยวิธีพิเศษ แต่ปัญหาเริ่มต้นตั้งแต่การนิยามคำว่า “คนดี” แล้ว เพราะคนดีในสังคมไทยล้วนแต่เป็นพวกที่ตรวจสอบไม่ได้ ต้องใช้ความเชื่อถือไปรับรองความเป็นคนดีทั้งสิ้น
ทรรศนะในลักษณะที่ยกย่องคนดี ไม่เอาประชาธิปไตยนี้ เห็นได้ชัดในการชุมนุมทางการเมืองที่สนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยองค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ นายทหารนอกราชการ เป็นผู้ประสานงาน โดยใช้ชื่อการชุมนุมว่า “หยุดวิกฤตและหายนะของชาติ” พล.อ.บุญเลิศแถลงว่า รัฐบาลชุดนี้สร้างความเสียหายมากกว่ารัฐบาลชุดใด โดยเฉพาะการปล่อยให้มีการจาบจ้วงหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การทุจริตมหาศาล และเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ที่น่าสังเกตคือ พล.อ.บุญเลิศไม่ได้แสดงหลักฐานความล้มเหลวในการบริหารบ้านเมืองที่มีน้ำหนักแต่อย่างใด ส่วนข้อโจมตีรัฐบาลว่าปล่อยให้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็เป็นเพียงการอิงเจ้าเอาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาใส่ร้ายศัตรูทางการเมืองที่ปราศจากเหตุผล เพราะในระยะที่บริหารประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถวายพระเกียรติเสมอมา เพียงแต่ยังไม่ได้ใช้นโยบายล่าแม่มด จับผู้บริสุทธิ์เข้าคุกแบบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เท่านั้น
ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้มีหลายคนมาเข้าร่วมปราศรัย เช่น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ดร.ต่อตระกูล ยมนาค, นายพิเชฐ พัฒนโชติ, ดร.เสรี วงษ์มณฑา และนายประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ เป็นต้น แต่ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังสงวนท่าที ไม่ได้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ
น.ต.ประสงค์ได้อิงแอบกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการสนับสนุนคนดีให้เข้ามาทำงานแทนคนไม่ดี จึงอยากเสนอให้ประชาชนรวมตัวกันตั้งกรรมการขึ้นมาช่วยกันคิดและปรึกษาหารือเฟ้นหาคนดีเสนอให้กับกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยามและสร้างเครือข่าย เพื่อหาคนดีมาทำงานแทนคนไม่ดี และให้ประชาชนทำป้ายไปติดที่หน้าทำเนียบรัฐบาลกับรัฐสภาว่า “ที่นี่เป็นเขตอำนาจของประชาชน นักการเมืองทุรชนห้ามเข้า” ด้วย ซึ่งการอธิบายของ น.ต.ประสงค์ยังคงซ้ำซากในเรื่องการปกครองโดยคนดีที่ไม่ต้องมาจากประชาธิปไตยอยู่นั่นเอง
แนวคิดลักษณะนี้ตอกย้ำโดยคำอธิบายของ พล.อ.บุญเลิศว่า ที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมา 15 ล้านเสียงนั้น “ไม่รู้เปลี่ยนหีบมาหรือเปล่า” และถ้าสามารถไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้สำเร็จก็จะให้มีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาดูแลการบริหารบ้านเมือง ซึ่งอาจจะให้มีการหยุดเล่นสักพัก แช่แข็งประเทศไทย ตัดบทบาทนักการเมืองถึง 5 ปี แล้วค่อยให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ เพราะถ้าปีเดียวแบบ พ.ศ. 2549 เดี๋ยวพวกนักการเมืองก็กลับมาใหม่ แล้วจะไม่ได้ผล
พล.อ.บุญเลิศอ้างว่าการดำเนินการเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิวัติของประชาชน คณะบุคคลที่บริหารประเทศในภาวะพิเศษนี้ต้องทำภารกิจ 4 ประการให้สำเร็จคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มการศึกษา เพิ่มความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาลงโทษตามกฎหมาย
ข้อเสนอของ พล.อ.บุญเลิศเป็นการสะท้อนความฝันกลางวันอันไม่เป็นประชาธิปไตย โดยคิดว่าประชาชนส่วนข้างมากจะยอมให้มีคนกลางจากฟากฟ้ามาบริหารประเทศชั่วคราว 5 ปี เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญตามใจชอบของชนชั้นนำและลงโทษคนไม่มีความผิดเช่น พ.ต.ท.ทักษิณ
เพียงแต่ประชาชนในวันนี้ได้เปลี่ยนจาก “มุตตา”เป็น “มุนินทร์” เสียแล้ว สิ่งที่ชนชั้นนำจะต้องเผชิญคือการไม่ยอมรับและตอบโต้อย่างเต็มที่จากประชาชน และในที่สุดชนชั้นปกครองจารีตก็ต้องพ่ายแพ้ด้วยกาลเวลา และพ่ายแพ้ด้วยแรงเงาของประชาชนนั่นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)