Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มอง′จำนำข้าว′ ในมิติการเมือง ความ′ทุกข์′ของใคร

คอลัมน์ การเมือง มติชน 9 ตุลาคม 2555



แล้วนโยบาย "จำนำข้าว" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ก็กลายเป็นเป้าของมวลบาทา ที่ห่อหุ้มด้วยเกือกยี่ห้อหรู

ในทางการเมือง นโยบายระดับที่ใช้เงินหมุนเวียนนับแสนล้าน ไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่นอน

มีผู้เกี่ยวข้องนับล้านครัวเรือน

คือ "ชาวนา" ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเปล่งคำขวัญไว้ว่า "ทุกข์ของชาวนา คือทุกข์ของแผ่นดิน"

ราคาข้าวระดับ 12,000 บาท, 15,000 บาท และ 20,000 บาท ส่งผลเปลี่ยนแปลง ความทุกข์ในชีวิตแน่นอน

ในทางตรงกันข้าม ผู้เสียประโยชน์ คือนักธุรกิจ พ่อค้าส่งออก ที่เคยได้ประโยชน์จากการกดราคาข้าว

พร้อมๆ กับความภาคภูมิใจในตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก



ในทางการเมือง นโยบายนี้จะส่งผล อย่างลึกซึ้ง

ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่พรรคเพื่อไทยผลักดันเมื่อ ต้นปี จะทำให้โครงสร้างการเมืองที่ถูกออกแบบโดยรัฐธรรมนูญ 2550 กลายเป็นอดีต

องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ทรงอิทธิพล อาจจะถูกทบทวนที่มาและบทบาท

กลุ่มอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ จะถูกลิดรอนมือไม้ หมดสิ้นกลไกที่เคยใช้เดินหมากเดินเกมการเมือง

การเมืองแบบประชาธิปไตย ที่ทุกประการดำเนินไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน มีการถ่วงดุลอำนาจอย่างเหมาะสม มีระบบตรวจสอบที่ตรงไปตรงมา

นั่นคือ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดจากรัฐธรรมนูญใหม่

จึงต้องพบกับการเตะสกัด ให้หยุดชะงัก ให้ได้



มองจากฝั่งของคู่ต่อสู้
การจำนำข้าว จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

อย่างน้อยที่สุด คือ เพิ่มการเชื่อมต่อผูกพันระหว่างชาวนากับพรรคเพื่อไทย

ยิ่งถ้าหมกมุ่นกับการแข่งขันช่วงชิงในสนามเลือกตั้ง จะพบว่า นโยบายจำนำข้าว จะสร้างความแตกต่าง

ระหว่างพรรคที่สนับสนุนและคัดค้านแน่นอน

ผลประโยชน์ทางการเมือง กำหนดให้คู่ต่อสู้ของพรรคเพื่อไทย ต้องดาหน้าเข้าถล่มนโยบายนี้อย่างไม่คิดชีวิต

นอกจากอาจารย์แห่งนิด้าและธรรม ศาสตร์ ในอนาคตอันใกล้ อาจจะเปิดตัว "คนชั้นกลาง" ออกมาร่วมขบวน

เพื่อให้ภาพของผู้เสียประโยชน์มีลักษณะเป็น "มวลชน" มากขึ้น

ขณะที่อาจารย์แห่ง "นิด้า" หรือสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เห็นว่าควรล้มการจำนำข้าว

โพลของนิด้า ก็ออกมาสนับสนุนมาตร การจำนำข้าว

สะท้อนให้เห็น "จุดแข็ง" ของมาตรการ ที่พุ่งเป้าไปแก้ปัญหาให้ชาวนา

แต่ถ้ามีจุดอ่อน อุปสรรค ปัญหา ก็ต้องแก้ไขไปตามสภาพ

นโยบายที่ใช้งบมหาศาลขนาดนี้ ย่อมมี "จุดอ่อน"

เหมือนงบไทยเข้มแข็ง หรืองบประกันราคาข้าว

ข้อกล่าวต่อการจำนำข้าวขณะนี้ คือเรื่อง "ทุจริต"

มีตั้งแต่การปลอมใบประทวน การจด ทะเบียนเกษตรกรปลอม การสวมสิทธิชาวนา การนำข้าวออกมาเวียนเทียนขาย ฯลฯ

รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง จะต้องจับกุมดำเนินคดี และตีแผ่ออกมาให้สังคมรับทราบ

เครือข่ายนักธุรกิจต่อต้านการทุจริต ฝ่ายค้านและนักวิชาการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียงดังที่สุดในเรื่องนี้ ต้องมอบข้อมูลให้กับ เจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

ด้วยสติและภูมิปัญญาของทุกฝ่าย เชื่อว่า "จุดอ่อน" น่าจะแก้ไขได้

เพื่อให้โครงการเดินต่อไป แทนที่จะใช้หลักคิดแบบสุดโต่ง

ประเภท พังบ้านเพื่อไล่ปลวก ที่สร้างความย่อยยับมามากแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น