ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับ 383 วันที่ 27 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2555 หน้า 18 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
การจุดประเด็นการประมูลใบอนุญาต 3จี ของนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ว่าทำให้ประเทศต้องเสียหายถึง 16,000 ล้านบาท และตกเป็นภาระภาษีของประชาชน
แต่ผู้ประกอบการทั้ง 3
รายเหมือนได้ลาภลอยนั้นได้ถูกปั่นกระแสให้เป็นประเด็นร้อนทั้งทางธุรกิจและการเมืองไปโดยปริยาย
โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และกลุ่มเกลียดทักษิณ
ซึ่งเป็นกลุ่มจารีตประเพณีหน้าเดิมๆได้ฉวยโอกาสออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองทันที
ทั้งที่การประมูลเป็นเรื่องของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เป็นองค์กรอิสระ
ขนาดที่ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองยังโดดหนีไม่รับฟ้องคดี
แต่ยังมีการเคลื่อนไหวกันต่อไป
ให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลนี้เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันและเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจ
หลังจากที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง
รวมถึงทีดีอาร์ไอและพรรคประชาธิปัตย์ออกมาโจมตีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องว่าทำให้รัฐเสียหายนับแสนล้านบาท
และทำลายกลไกตลาดค้าข้าวมาแล้ว แต่ยังไม่มีผลกระทบใดๆถึงกับทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้
เพราะเมื่อเทียบกับนโยบายประกันราคาข้าวในยุคของรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีผลดีผลเสียไม่ได้แตกต่างกัน
จ้องล้มรัฐบาล
ในขณะที่องค์กรพิทักษ์สยามขับไล่รัฐบาล ที่นำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
หรือเสธ.อ้าย ก็มีการชุมนุมใหญ่วันที่ 28 ตุลาคม ที่สนามม้านางเลิ้ง โดยระบุว่า
เป็นการรวมตัวของคนรักชาติและรักพระเจ้าอยู่หัว
เพราะเห็นว่าการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้มีแต่ความล้มเหลว
หากปล่อยให้บริหารประเทศต่อไปก็มีแต่ความเสียหาย
โดยเฉพาะการจาบจ้วงสถาบันโดยไม่มีการเอาผิด รวมถึงเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งยังอ้างว่ามีหลักฐานการคอร์รัปชัน
จึงต้องหยุดวิกฤตและหายนะของชาติ
แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมองค์กรพิทักษ์สยามขับไล่รัฐบาล
และการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลจึงออกมาช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เตรียมเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ทั้งที่ประเด็น 3 จี เป็นเรื่องเชิงพาณิชย์และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
แต่ก็มีความพยายามดึงมาโยงกับการเมืองให้ได้
ทั้งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญแม้แต่ในอาเซียน มีแค่ไทยกับพม่าเท่านั้นที่ยังใช้ 3จี
ขณะที่ประเทศต่างๆเริ่มทดลองเทคโนโลยีใหม่ LTE หรือ 4จี และจะเปิดให้บริการภายในปี
2558 นี้แล้ว รวมถึงลาวที่ประกาศว่าจะพัฒนา 4 จี ทันทีที่พร้อม
ขณะที่ประเทศไทยยังย่ำอยู่กับที่
เพราะกระบวนการฉุดกระชากให้ทุกเรื่องไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
ที่ไม่ได้อ้างเพียงแค่ประเทศชาติและประชาชนเท่านั้น
แต่ทุกครั้งจะพยายามดึงสถาบันเบื้องสูงมาเกี่ยวข้องด้วย
อย่างกรณีองค์กรพิทักษ์สยามขับไล่รัฐบาล ซึ่ง เสธ.อ้ายยอมรับว่า
หากการชุมนุมจุดประกายติดก็จะยืดเยื้อเป็นการขับไล่รัฐบาลให้ได้
หรือกรณีภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) ที่ใช้กรณี
“สรยุทธไร่ส้ม” ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องจริยธรรม
สุดท้ายก็พุ่งเป้ามาที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่แล้วเมื่อสืบสาวราวเรื่องย้อนกลับไป
กลับพบว่าผู้เกี่ยวข้องกับ ภตช. ไม่ว่าจะเป็น น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ หรือนายมงคลกิตติ์
สุขสินธารานนท์ ล้วนยืนอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลทั้งสิ้น
โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกมายืนยันว่า
ขณะนี้มีกลุ่มที่พยายามจ้องล้มรัฐบาลจริง และไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ
เสธ.อ้ายแต่อย่างใด
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆขณะนี้มีลักษณะของการสอดประสานกับพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวโยงถึงกลุ่มอำนาจเดิม
หรือกลุ่มจารีตประเพณีที่ต้องการหวนกลับมามีอำนาจเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องไว้
โดยพยายามบิดเบือนประเด็นเดิมๆ เพื่อตอกย้ำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นแค่หุ่นเชิดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมทั้งข้อกล่าวหาคลาสสิกอย่างเช่น เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
รวมถึงการบิดเบือนด้วยข้อหาที่ไม่ต้องการการพิสูจน์อย่างความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ
ตั้งธงป่วนการเมือง
ในขณะที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ตั้งข้อสังเกตว่า
มีกระบวนการโจมตีการทำงานของ กสทช. ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างเป็นระบบ
มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล
มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง
ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง
ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆจนต้องการให้ล้มการประมูล 3จี
ครั้งนี้
แม้แต่การวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการก็ไม่ได้เป็นไปอย่างสุจริตใจ
เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่า กสทช.
ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้านบาท
ทั้งที่จริงๆแล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ
เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไป
โดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาต
เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz
จำนวน 45 GHz ถูกทิ้งไว้เฉยๆไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ
ตรงกันข้ามหากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร
หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล่าช้าออกไป
จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทย
และเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล
สุดยอด‘ลับ ลวง พราง’
แม้แต่ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการเสียงข้างน้อยใน กสทช.
ยังออกมาให้ความเห็นกรณีระยะเวลาการถือครองสิทธิในคลื่นโทรคมนาคมว่า
“โลกเรานี้มักจะมีพาราด็อกซ์เสมอ มองรอบ มองลึก
แล้วเราจะเห็นความย้อนแย้งนั้นเป็นสัจธรรม อาทิ เรื่องคลื่นโทรคมนาคม บอร์ด กทค.
มีมติรับรอง 3 บริษัทผ่านการประมูล ขณะเดียวกันก็เป็นเสียงข้างมากที่โหวตให้ CAT
& TOT ถือครองคลื่นไปได้อีก 15 ปี เมื่อต้นปีบอร์ด กทค.
โหวตแผนแม่บทให้หน่วยงานรัฐ อาทิ กองทัพ CAT & TOT ถือครองคลื่นในสูตร 5-10-15
ปี (วิทยุ-โทรทัศน์-โทรคมนาคม) ทั้งที่ไม่เห็นด้วยในการถือครองคลื่นอีก
เหมือนการประมูลคลื่น 2.1 GHz ตนก็ไม่เห็นด้วยกับสูตร 15-15-15 ซึ่งมองแง่ดี บอร์ด
กทค. คงคิดแบบเสมอภาคคือ รับรองสิทธิการครองคลื่น TOT-CAT-AIS-Dtac-True ไปเลยอีก
15 ปี แต่มองแง่ร้ายคือ ธำรง Status-quo หรืออำนาจนิยมอุปถัมภ์ ทุนนิยมอภิสิทธิ์
ถามว่าพันธกิจ กสทช. คือการธำรง status-quo หรือการ reform
การจัดสรรคลื่นความถี่”
น.ส.สุภิญญายังตั้งคำถามว่า แล้วใครสั่งและมีอำนาจกำหนดทิศทาง TOT & CAT
ให้มีศักยภาพมาสู้เอกชนได้ คำตอบคือรัฐบาล
จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะทำให้ CAT & TOT
เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่เข้มแข็งขึ้นมาเป็นคู่ต่อสู้กับเอกชน 3 รายให้ได้ ถ้า กทค.
ไม่เรียกคืนคลื่น ว่างๆก็มาประมูลใหม่
“การบ้านนี้ต้องฝากรัฐบาลเพื่อไทยแล้ว บัดนี้มีอำนาจเต็มในการกำกับ CAT &
TOT เพราะยังไม่ถูก privatized รัฐไทยยังเป็นเจ้าของ CAT&TOT เต็มตัว
บริหารผ่านบอร์ด เลือกโดยรัฐบาลแต่ละยุคสมัย ดังนั้น
รัฐบาลคงต้องเลือกว่าจะส่งเสริม พัฒนา ยกระดับ CAT&TOT แข่งกับเอกชน
หรือแปรรูปออกมาเป็นเอกชนเต็มตัวเพื่อแข่งกัน 5 ราย ยิ่งปีหน้าคลื่น 1800
จะหมดสัญญาสัมปทาน”
โดยกล่าวทิ้งท้ายอย่างมีปริศนา ให้ตีความกันเองว่า
“รอดูดร่ามา
True-CAT-รัฐบาล-กสทช. (กทค.) next episode วงการโทรคมนาคมสุดยอด ลับ ลวง พราง”
“สนธิลิ้ม” ประณาม กสทช.
ที่น่าสนใจคือแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่วันนี้ประกาศไม่เอาทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
ยังยืนยันว่าต้องมี “การปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ”
ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ตามก้นต่างชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง
ก็ออกมาโจมตีการประมูล 3 จีของ กสทช. เช่นกัน โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ
กล่าวหาว่าเป็นการประมูลที่อัปยศที่สุด และมีเงินหล่น 3,000 ล้านบาท จาก 3
บริษัท
“กสทช. หน้าที่คุณคือปกป้องผลประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ให้มาดูแลผลประโยชน์เอกชน
ที่สำคัญอย่าพูดให้ได้ยินอีกว่าไม่มี 3จี แล้วชาติจะฉิบหาย
ถ้าจะใช้ตรรกะนี้สู้กระโดดไป 4จี เลยไม่ดีกว่าหรือ ถามว่าถ้ามี 3จี แล้วคุณภาพชีวิต
วัฒนธรรมไทย การศึกษาจะดีขึ้นหรือไม่”
นายสนธิประณาม กสทช. และตั้งคำถามว่าทำไมต้องเอาใจเอกชน
เมื่อทรูฯจะหมดสัญญาปีหน้า เอไอเอสอีก 2 ปีหลังจากทรูฯ
ส่วนดีแทคจะหมดสัญญาตามหลังเอไอเอส 2 ปี ถ้าไม่ประมูลบริษัทก็เสียหาย
ยิ่งกันช่องสัญญาณให้เหลือเพียง 2 ช่อง ก็จะทำให้ทั้ง 3 รายต้องประมูลในราคาสูงสุด
ไม่ใช่ราคาต่ำสุดอย่างที่ กสทช. ตั้ง
อย่างไรก็ตาม
หากวิเคราะห์ถึงการออกมาโจมตีของนายสนธิก็อาจมองลึกลงไปได้ว่าไม่ใช่วาระเพื่อสะท้อนเรื่องการประมูลว่ามีการฮั้วหรือโปร่งใสหรือไม่เท่านั้น
แต่ยังทำให้เห็นความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ซึ่งมีผลอย่างมากกับการพัฒนาประเทศ
รวมถึงการเมืองที่แท้จริงว่าการไร้โอกาสทางเทคโนโลยีอาจทำให้ประชาชน “โง่งมงาย”
ต่อไปหรือไม่ เพราะหากคนไทยยังถูกกรอกหูให้เชื่อข้อมูลอย่างผิดๆ
หรือจริงบ้างเท็จบ้าง
อย่างที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯพยายามทำให้คนเสื้อเหลืองเชื่อว่าประเทศไทยจะหลุดพ้นจากวิกฤตหายนะมีทางเดียวเท่านั้นคือต้องปฏิรูปประเทศ
กำจัดนักการเมืองเลวให้สิ้นซากเท่านั้น
จนลืมไปว่ายังมีอภิสิทธิ์ชนที่เลวยิ่งกว่านักการเมืองเสียอีก
และที่หนักไปกว่านั้นคือประชาชนมีสิทธิตรวจสอบและลากคอนักการเมืองมาเอาผิดหรือขับไล่ออกไปได้
แต่อภิสิทธิ์ชนที่เหนือกว่านักการเมืองนั้นคนไทยไม่อาจตรวจสอบใดๆได้
ชุดดำ 3G แบบไทยๆ
แม้แต่ประเด็น “ชายชุดดำ” ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์กล่าวหาว่าคือคนเสื้อแดง
แต่จนกระทั่งวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าข้างนอกอาภรณ์ชายสวมชุดดำ
แต่แท้จริงแล้วอาจใส่กางเกงในสีเหลือง สีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีเขียวลายพรางอยู่ก็ได้
พิจารณาได้จากกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามเดินสายเพื่อบิดเบือน
โดยยกข้ออ้างว่าหากไม่มี “ชายชุดดำ” ก็จะไม่มีคนตายและความรุนแรงเกิดขึ้น
ซึ่งไม่ต่างกับการพยายามสร้างความชอบธรรมในการล้อมปราบและสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
หรือการฆ่าประชาชนไม่ผิดนั้น
ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ดาวเทียมที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการบิดเบือนและโฆษณาชวนเชื่อทั้งสิ้น
กลุ่มเสื้อเหลืองมีสื่อเอเอสทีวี กลุ่มเสื้อแดงที่เดิน 2
ขาคู่ขนานไปกับพรรคเพื่อไทยก็มีเอเชียอัพเดท
กลุ่มสีฟ้าและเสื้อหลากสีที่พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้บริการบลูสกายทีวีออกอากาศทุกกิจกรรมของพรรค
และมีผู้จัดรายการขาประจำล้วนเป็นพลพรรคจากพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
ซึ่งต้องยอมรับว่าแต่ละกลุ่มมีคนติดตามมากกว่าฟรีทีวี.บางช่องเสียอีก
ในขณะที่เทคโนโลยี 3จี หรือ 4จี
กำลังจะทำให้โทรศัพท์และอุปกรณ์มากมายที่เกี่ยวข้องกลายเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและรวดเร็ว
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม แม้แต่การทำสงครามในอนาคตที่เรียกว่า “สงครามไซเบอร์”
ซึ่งสหรัฐ รัสเซีย จีน และชาติในยุโรปให้ความสำคัญอย่างมาก
(อ่านเพิ่มเติม-โลกไม่หยุดนิ่ง หน้า 15)
แต่กลุ่มจารีตประเพณีกลับไม่ต้องการให้ใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า
เหมือนกลัวว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากำลังทลายกำแพงโบราณที่ปิดกั้นผู้คนในประเทศไทย
หรืออาจเกรงว่าจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริงที่มาจากประชาชน เพราะกลัวประชาชนจะ
“ตาสว่าง” อย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน จะไม่ “โง่งมงาย” จนครอบงำความคิดไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มจารีตประเพณีที่พยายามประคับประคองมาอย่างยาวนานนั่นเอง
หรือสิ่งที่ น.ส.สุภิญญาระบุว่าวงการโทรคมนาคมสุดยอด “ลับ ลวง พราง”
นั้นจะเปรียบได้กับการเมืองไทยที่กว่า 80 ปียังไม่สามารถหลุดพ้น “วงจรอุบาทว์”
และถูกบิดเบือนให้คนไทยเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ใช้กองทัพเป็นเครื่องมือและอิงแอบ
“สถาบันเบื้องสูง” เพื่อปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องเท่านั้น
กองทัพกับการเมือง
การเมืองไทยจึงไม่ต่างกับช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ใหม่ๆที่เป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย นำโดยนายปรีดี พนมยงค์
กับฝ่ายจารีตประเพณีที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทน
โดยมีกองทัพเป็นตัวแปรสำคัญทางการเมืองตลอด 80 ปีที่ผ่านมา
แม้ขนาดนายลี กวน ยิว อดีตผู้นำสิงคโปร์ ล่าสุดได้วิจารณ์ “ไทย” กับ “พม่า”
ที่กำลังเนื้อหอมสุดๆว่ามีพื้นที่และประชากรใกล้เคียงกัน ทั้งช่วงทศวรรษที่ 60
ยังมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2505
เมื่อพม่าก้าวสู่การปกครองระบอบทหารและปิดประเทศ
ตรงข้ามกับไทยที่ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรี เปิดรับการลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก
จนปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
แต่ไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น
ตลอด 80 ปีกองทัพกลับรัฐประหารถึง 18 ครั้ง และล้มเหลว 7 ครั้ง
ทำให้ไทยไม่มีความแน่นอนทางการเมืองและฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหนัก
ไดโนเสาร์เรียก “พี่”
ความเห็นของอดีตผู้นำสิงคโปร์จึงตอกย้ำชัดเจนว่ากองทัพยังมีบทบาทสำคัญกับการเมืองไทย
โดยเฉพาะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ที่ทำให้การเมืองไทยแตกแยกและขัดแย้งรุนแรงที่สุด ทั้งยังมีส่วนสำคัญกับเหตุการณ์
“เมษา-พฤษภาอำมหิต” ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด”
ที่ทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตล่าสุดรวม 99 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000
คน แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
อดีตรองนายกรัฐมนตรี
ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดและผู้ใช้อำนาจสั่งการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
(ศอฉ.) วันนี้ยังยืนยันว่าไม่ผิด และเดินสายจัดเวทีปลุกกระแส “ชายชุดดำ”
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
โดยการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม “บลูสกาย” ตลอด 24 ชั่วโมง
และยืนยันว่าบลูสกายทีวีหาใช่ทีวี.ของพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลคดีนายพัน คำกอง
แท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตที่ราชปรารภว่าเกิดจากฝีมือทหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ
ศอฉ. ไม่เพียงแค่ยืนยันว่าไม่ใช่ฝีมือของ “ชายชุดดำ” เท่านั้น
กลับกลายเป็นว่ากำลังจะกลายเป็นคดีฆาตกรรมที่อาจตั้งข้อหา “ฆาตกรรม” กับ
“ผู้มีอำนาจสูงสุด” และ “ผู้สั่งการ”
ขณะนั้นคือนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพอยู่ในขณะนี้
แม้วันนี้ “ชายชุดดำ” ยังเป็นปริศนาว่าเป็นใคร
และเป็นฝ่ายใดกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการมีชายชุดดำ แต่วันนี้คนส่วนใหญ่ก็
“ตาสว่าง” เพราะได้เห็นภาพและคลิปมากมายที่ถูกเผยแพร่ผ่านตามสื่อต่างๆ
โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ซึ่งพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทำให้โลกไร้พรมแดน
และนับวันจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เขามีใช้กันไปแล้วทั่วโลก
และกำลังก้าวสู่ 4จี แต่คนไทยยังทะเลาะดักดานอยู่กับการประมูล 3จี ไม่เลิก
จึงไม่แปลกที่ “ชายชุดดำ” ยังถูกบิดเบือนจนกลายเป็น “แพะชุดดำ” จาก
“ชายใจดำมือเปื้อนเลือด” เพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆ่า...
ทำไมรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ลากใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินชั่วคราวยาวนานข้ามปีจึงจับ
“ชายชุดดำ” ไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว?
ทำไมเจ้าหน้าที่จึงไม่ยิง “ชายชุดดำ” แต่กลับไปยิงชาวบ้านและผู้ชุมนุม?
ทำไม ศอฉ. จึงเผยแพร่ภาพชายชุดดำหลังจากวันเกิดเหตุถึง 3 วัน?
แล้วตอนนั้นนายกฯอภิสิทธิ์หายหน้าไปไหนนานนับสัปดาห์หลังการขอคืนพื้นที่
จนมีคนตายเป็นเบือในเวลาพลบค่ำ 10 เมษายน 2553
ตอนนั้นยังไม่มี 3จี
ความจริงผลุบๆโผล่ๆจึงถูกปกคลุมและตีโต้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อจาก
“สื่อรวมการเฉพาะกิจ” ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯที่เสนอข่าวด้านเดียว
ลาว เขมร เขาไป 3จี 4จี กันหมดแล้ว
ขนาดพม่ายังประนีประนอมยอมเปิดฟ้าให้ตาสว่าง
เหลือแต่ “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย” นี่แหละที่ไดโนเสาร์เรียก
“พี่”
อนาถ 3จี แบบไทยๆ!!
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนังสือแปลที่สหภาพรัฐสภานานาชาติชี้ถอดถอน"จตุพร"จาก ส.ส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แปลโดยทีมงาน Sunai FanClub
1. มีความกังวลอย่างมากว่านายจตุพรถูกถอดถอนจากการเป็นสส.ด้วยมูลเหตุที่ปรากฏว่าฝ่าฝืนพันธะในการปกป้องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศไทยโดยตรง
2. เมื่อพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง เป็นการขัดขวางไม่ให้บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาจากการใช้สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งขัดแย้งกับบทบัญญัติในไอซีซีพีอาร์ มาตรา 25 ซึ่งรับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมกับกิจกรรมทางสาธารณะ” และ “ลงคะแนนเสียงหรือลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นอย่างแท้จริงตามกำหนดเวลา” โดยปราศจาก “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
3. พิจารณาได้ว่าในกรณีนี้ว่าการปฏิเสธไม่ให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเรือนจำ
เพื่อใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือ “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล” โดยเฉพาะในบทบัญญัติไอซีซีพีอาร์ที่รับรอง
ให้สันนิษฐานบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ “ต้องแยกการปฏิบัติให้เหมาะสมต่อสถานะของบุคคลที่ยังไม่ถูกพิพากษาลงโทษ” (มาตรา 10(2)(a)) การถอดถอนนายจตุพรยังขัดกับจิตวิญญาณของมาตรา 102(4) ของรัฐธรรมนูญไทยซึ่งบัญญัติว่าบุคคลซึ่งต้องโทษทางอาญาไม่รวมถึงบุคคลที่ถูกกล่าวหาทางอาญาเท่านั้นที่จะเสียสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง
4. นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมในการถอดถอนนายจตุพรออกจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในครั้งหนึ่งทั้งที่ไม่มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใดและปรากฏอย่างชัดเจนว่าคำปราศรัยของเขาเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกซึ่งยืนยันโดยการยกร้องในเวลาต่อมา และยังมีความกังวลว่าศาลอาจสามารถตัดสินเรื่องกรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองของเขา แต่เมื่อกรณีนี้เป็นกรณีส่วนตัวอย่างชัดเจนเด็ดขาดระหว่างนายจตุพรและพรรคของเขา และไม่มีความขัดแย้งระหว่างพวกเขาในข้อพิพาทดังกล่าว
5. เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากกรณีที่กล่าวไปข้างต้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยซึ่งมีศักยภาพจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้
เพื่อจะพิจารณาการถอดถอนนายจตุพรอีกครั้งและประกันว่าบทบัญญัติทางกฎหมายในปัจจุบันจะสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่าแท้จริง และเราหวังว่าจะค้นหาความเห็นของเจ้าหน้าที่ให้กรณีดังกล่าว
6. มีความกังวลเกี่ยวกับมาตรฐานทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ใช้อ้างอิงในข้อหาที่กำลังรอการพิจารณาคดีของนายจตุพรและความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งคุมขังเขาอีกครั้ง และเราหวังว่าจะได้รับสำเนาเอกสารชี้แจงข้อกล่าวหา
และได้รับการแจ้งถึงผลของการพิจารณาคดีในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และการพิจารณาคดีครั้งต่อไป
เมื่อพิจารณาถึงความกังวลในกรณีนี้ อาจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ที่จะมองหาความเป็นไปได้ที่ส่งผู้สังเกตการณ์ร่วมรับฟังการพิจารณาคดี และร้องขอให้สำนักงานเลขานุการพิจาณาเรื่องนี้
7. ร้องขอให้สำนักงานเลขานุการถ่ายทอดคำตัดสินนี้ไปยังเจ้าหน้าซึ่งมีความสามารถและผู้ให้ข้อมูล
8. ตัดสินว่าจะมีการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในการประชุมครั้งต่อไปในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาสากลครั้งที่ 127 (ตุลาคม ปี 2555)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา
สหภาพรัฐสภาสากล
เรียน คณะกรรมาธิการ
เมื่อพิจารณาว่าผู้ให้ข้อมูลยืนยันว่าข้อหาทางอาญาของนายจตุพรที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก ข้อหาการเข้าร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมายมาจาก
ใช้อำนาจฉุกเฉินที่มิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว และการแจ้งข้อหาก่อการร้ายที่นายจตุพรและแกนนำเสื้อแดงคนอื่นเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง (ผู้ให้ข้อมูลระบุว่าในขณะที่รัฐบาลกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงก่อความรุนแรงหลายครั้ง แต่ไม่มีหลักฐานว่าแกนนำของพวกเขามีบทบาทในการวางแผนโจมตีทำร้าย หรือแม้แต่ล่วงรู้แผนการเหล่านั้น)
เมื่อพิจารณาว่าจะมีการพิจารณาคดีดังกล่าวในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และผู้ให้ข้อมูลกลัวว่าศาลจะสั่งคุมขังนายจตุพรอีกครั้ง และข้อเท็จที่คณะกรรมาธิการควรรู้คือประเทศไทยเป็นภาคีกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) และดังนั้นจึงมีพันธะที่จะปกป้องสิทธิดังกล่าว
สหภาพรัฐสภาสากล
เรียน คณะกรรมาธิการ
เมื่อพิจารณาว่าผู้ให้ข้อมูลยืนยันว่าข้อหาทางอาญาของนายจตุพรที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก ข้อหาการเข้าร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมายมาจาก
ใช้อำนาจฉุกเฉินที่มิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว และการแจ้งข้อหาก่อการร้ายที่นายจตุพรและแกนนำเสื้อแดงคนอื่นเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง (ผู้ให้ข้อมูลระบุว่าในขณะที่รัฐบาลกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงก่อความรุนแรงหลายครั้ง แต่ไม่มีหลักฐานว่าแกนนำของพวกเขามีบทบาทในการวางแผนโจมตีทำร้าย หรือแม้แต่ล่วงรู้แผนการเหล่านั้น)
เมื่อพิจารณาว่าจะมีการพิจารณาคดีดังกล่าวในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และผู้ให้ข้อมูลกลัวว่าศาลจะสั่งคุมขังนายจตุพรอีกครั้ง และข้อเท็จที่คณะกรรมาธิการควรรู้คือประเทศไทยเป็นภาคีกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) และดังนั้นจึงมีพันธะที่จะปกป้องสิทธิดังกล่าว
1. มีความกังวลอย่างมากว่านายจตุพรถูกถอดถอนจากการเป็นสส.ด้วยมูลเหตุที่ปรากฏว่าฝ่าฝืนพันธะในการปกป้องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศไทยโดยตรง
2. เมื่อพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง เป็นการขัดขวางไม่ให้บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาจากการใช้สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งขัดแย้งกับบทบัญญัติในไอซีซีพีอาร์ มาตรา 25 ซึ่งรับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมกับกิจกรรมทางสาธารณะ” และ “ลงคะแนนเสียงหรือลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นอย่างแท้จริงตามกำหนดเวลา” โดยปราศจาก “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
3. พิจารณาได้ว่าในกรณีนี้ว่าการปฏิเสธไม่ให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเรือนจำ
เพื่อใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือ “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล” โดยเฉพาะในบทบัญญัติไอซีซีพีอาร์ที่รับรอง
ให้สันนิษฐานบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ “ต้องแยกการปฏิบัติให้เหมาะสมต่อสถานะของบุคคลที่ยังไม่ถูกพิพากษาลงโทษ” (มาตรา 10(2)(a)) การถอดถอนนายจตุพรยังขัดกับจิตวิญญาณของมาตรา 102(4) ของรัฐธรรมนูญไทยซึ่งบัญญัติว่าบุคคลซึ่งต้องโทษทางอาญาไม่รวมถึงบุคคลที่ถูกกล่าวหาทางอาญาเท่านั้นที่จะเสียสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง
4. นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมในการถอดถอนนายจตุพรออกจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในครั้งหนึ่งทั้งที่ไม่มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใดและปรากฏอย่างชัดเจนว่าคำปราศรัยของเขาเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกซึ่งยืนยันโดยการยกร้องในเวลาต่อมา และยังมีความกังวลว่าศาลอาจสามารถตัดสินเรื่องกรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองของเขา แต่เมื่อกรณีนี้เป็นกรณีส่วนตัวอย่างชัดเจนเด็ดขาดระหว่างนายจตุพรและพรรคของเขา และไม่มีความขัดแย้งระหว่างพวกเขาในข้อพิพาทดังกล่าว
5. เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากกรณีที่กล่าวไปข้างต้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยซึ่งมีศักยภาพจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้
เพื่อจะพิจารณาการถอดถอนนายจตุพรอีกครั้งและประกันว่าบทบัญญัติทางกฎหมายในปัจจุบันจะสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่าแท้จริง และเราหวังว่าจะค้นหาความเห็นของเจ้าหน้าที่ให้กรณีดังกล่าว
6. มีความกังวลเกี่ยวกับมาตรฐานทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ใช้อ้างอิงในข้อหาที่กำลังรอการพิจารณาคดีของนายจตุพรและความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งคุมขังเขาอีกครั้ง และเราหวังว่าจะได้รับสำเนาเอกสารชี้แจงข้อกล่าวหา
และได้รับการแจ้งถึงผลของการพิจารณาคดีในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และการพิจารณาคดีครั้งต่อไป
เมื่อพิจารณาถึงความกังวลในกรณีนี้ อาจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ที่จะมองหาความเป็นไปได้ที่ส่งผู้สังเกตการณ์ร่วมรับฟังการพิจารณาคดี และร้องขอให้สำนักงานเลขานุการพิจาณาเรื่องนี้
7. ร้องขอให้สำนักงานเลขานุการถ่ายทอดคำตัดสินนี้ไปยังเจ้าหน้าซึ่งมีความสามารถและผู้ให้ข้อมูล
8. ตัดสินว่าจะมีการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในการประชุมครั้งต่อไปในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาสากลครั้งที่ 127 (ตุลาคม ปี 2555)
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สหภาพรัฐสภานานาชาติชี้ถอดถอนนายจตุพรออกจาก ส.ส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ใครรักคุณจตุพรให้ฟังผมทางนี้: ผมเคยทำนายไว้ล่วง
หน้าหลายครั้งแล้วว่าจตุพรจะไม่ได้เป็นสส.และจะไม่ได้เป็นรัฐมนตรีในการ เมืองยุคเปลี่ยนผ่าน (แต่ต้องได้เป็นแน่ๆ) แต่ถ้าได้เป็นต้องติดคุกเพราะอะไร
ไม่ต้องพูด มาดูมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนภาคสส.ของสหภาพรัฐสภานานาชาติ(IPU)ซึ่ง กำลังประชุมที่แคนาดากันดีกว่า
ส.ส.สุนัย พูดที่อนุสรณ์สถานว่าจตุพรจะไม่ได้เป็นสส.และจะไม่ได้เป็นรัฐมนตรีในการ เมื่อ 23 07 54
คณะกรรมการIPU. ได้มีมติเมื่อ24 ตุลาคม 2012ที่เมืองควีเบค แคนาดา เป็นเลขคดีที่ Th/ 183 กรณีที่อำนาจเผด็จการไทยได้ใช้ก ลไกของรัฐธรรมนูญเผด็จการ และใช้อำนาจ กกต.ประสานศาลรธน.และศาลยุต ิธรรม ถอดถอนนายจตุพรออกจากสส.โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระบวนป ชต.(ตามภาพหัวเรื่องที่นำแส ดงนี้)
ผู้รักประชาธิปไตยในไทยต้อง เร่งขยายการต่อสู้กับเผด็จก ารไทยซึ่งไม่ต่างอะไรกับคนบ ้าในสายตาโลก ออกไปต่างประเทศให้กว้างขวา ง เพราะในประเทศพวกบ้าถือปืนค รองอำนาจอยู่(ฟังนายฟันดำกั บพลเอกบุญเลิศพูดก็รู้ว่าบ้ าชัดๆและต้องรู้ด้วยว่าเขาพ ูดแทนใคร)เราจึงต้องระวังไม ่ใช่มัววนเวียนกับเรื่องอำน าจชั่วคราวที่จอมปลอม
วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555
แพะชุดดำ
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 382 วันที่ 20-26 พ.ศ. 2555 หน้า 18-19 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
“ถ้าวันนั้น ปีนั้นไม่มีชายชุดดำ ไม่ว่าตำรวจ ไม่ว่าทหาร ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา หรือคนเสื้อแดง จะไม่มีใครเสียชีวิตเลยครับพี่น้องครับ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยบนเวทีประชาชน “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราชชุด ดำ รับจ้างฆ่าประเทศไทย” ที่สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555 เพื่อยืนยันว่า “ชายชุดดำ” มีอยู่จริงในช่วงปี 2553 โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า หากการชุมนุมปี 2553 สงบ และปราศจากอาวุธ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถ้าถูก สลายโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รอง นายกรัฐมนตรี หรือใครสั่งให้เข้าไปสลายการชุมนุม เข่นฆ่าประชาชน นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ก็สมควรถูกประหารชีวิต แต่นั่นไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ส่วนวาทกรรม “ขอคืนพื้นที่” และ “กระ ชับวงล้อม” ไม่ใช่คำสั่งให้สลายการชุมนุม โดยวันที่ 10 เมษายนเป็นการ “ขอคืนพื้นที่” เพื่อเปิดการจราจรให้คนกรุงเทพฯกับคนฝั่งธนฯใช้สะพานพระราม 8 และสะพานพระปิ่นเกล้าได้ วันที่ 14-18 พฤษภาคมตั้งด่านเพื่อ “ปิดล้อมกดดัน” ให้การชุมนุมยุติไปเอง แต่เกิดการตอบ โต้จึงเกิดการสูญเสียขึ้น เพราะที่บ่อนไก่ ราชปรารภ ดินแดง หรือที่ใดก็ตาม ไม่ใช่จุดที่มีการสลายการชุมนุม ส่วนวันที่ 19 พฤษภาคมที่ต้อง “กระชับวงล้อม” เข้ามาที่สวนลุมฯเพราะมีการซ่องสุมอาวุธ และทำให้ประชาชนคนบริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่ต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก น้ำตาผู้สั่งการ
ขณะที่นายสุเทพกล่าวปราศรัยพร้อมน้ำตาว่า “จะยืนหยัดเคียงข้างเจ้าหน้าที่ทหารที่ตกเป็นจำเลยทุกคน ขอให้พี่น้องทหารไม่ว่าจะเป็นพลทหาร เป็นนายสิบ เป็นจ่า เป็นนายร้อย เป็นนายพัน ที่กำลังจะถูกคุณธาริต เพ็งดิษฐ์ และคุณประเวศน์ มูลประมุข สอบสวน มั่นใจได้ครับว่าผมจะเรี่ยไรเงินจ้างทนายที่ดีที่สุดในประเทศนี้สู้คดีให้ทุกคน จะไม่มีวันทอดทิ้งให้เพื่อนทหารผู้เสียสละเหล่านั้นต้องว้าเหว่ในการต่อสู้เป็นอันขาด และผมประกาศยืนยันมาตลอดเวลาว่าที่บรรดาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารเหล่านั้นออกมาปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาบ้านเมืองนั้น ผมเป็นคนสั่งเองทั้งสิ้น และเป็นการสั่งการตามอำนาจหน้าที่ในฐานะรองนายกรัฐ มนตรีฝ่ายความมั่นคงที่มีกฎหมายรองรับ”
การปราศรัยของนายสุเทพจึงไม่แปลกที่พยายามพูดถึงการเสียชีวิตของทหารจำนวน 8 นาย โดยเฉพาะ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนว่า เกิดจาก “ชายชุดดำ” ที่ติดอาวุธระดมยิงและขว้างระเบิดสังหารใส่ที่บริเวณข้างโรงเรียนสตรีวิทย์ โดยไม่พูดถึงประชาชนที่ถูกยิงตายอีกกว่า 80 ศพเลยว่าใครฆ่าและใครต้องรับผิดชอบ
เหมือนรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ให้ความสำคัญกับ “ชายชุดดำ” ค่อนข้างละเอียดกว่าการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งการตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งและการใช้อำนาจของ ศอฉ. ว่าเป็นลักษณะ “อาชญากรรมโดยรัฐ” เหมือนกรณี 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬหรือไม่ สำนึกทางการเมือง
การปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ที่ยืนยันให้ “ชายชุดดำ” เป็นต้นเหตุความรุนแรงทั้งหมดในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต จึงสะท้อนให้เห็น “จริยธรรม” หรือ “สำนึก” ความเป็นนักการเมืองและ “ผู้นำ” ของนายอภิสิทธิ์ได้อย่างดีว่าเป็นนักการเมืองที่น่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ครั้งที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านได้อภิปรายเรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี มี “สำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง” กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ว่า
“จะมีประชาชนจาก 1 คน หรือแสนคนลุก ขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเอง หรือพิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนั้นอาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นคือละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งคือการทุจริตคอร์รัปชัน จริงครับ ปัญหาเหล่านี้มีกระบวนการทางกฎหมาย แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยส่วนใหญ่เขาไม่รอให้กฎหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าสำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมืองที่เขาบอกว่ามันต้องสูงกว่าคนธรรมดา มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งยกตัวอย่างกรณีของเกาหลี นั่นแค่คิดนโยบายนะครับว่าต้องเปิดการค้าเสรี เอาเนื้อวัวจากอีกประเทศหนึ่งเข้ามา คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เขาลาออกทั้งคณะ ผมว่าอายุรัฐบาลเขาสั้นกว่ารัฐบาลนี้ตอนที่เขาตัดสินใจอย่างนั้น ใครที่เคยอยู่ในประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ในสหรัฐจะทราบ อย่าว่าแต่รัฐมนตรีเลยครับ ส.ส. ส.ว. บางทีมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว ลาออกครับ”
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังอภิปรายรัฐบาลนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯที่ปิดล้อมบริเวณหน้ารัฐสภาจนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คนว่า
“ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้วรัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี” อาชญากรรมโดยรัฐ
การเรียกร้องให้นายสมัครและนายสมชายมีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมืองหรือจริย ธรรมทางการเมืองจึงย้อนกลับมาถามนายอภิสิทธิ์เช่นกันว่ามีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมืองหรือไม่ เพราะเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตมีคนตายถึง 98 ศพ ไม่ใช่แค่คนสองคน นายอภิสิทธิ์ก็ไม่มีแม้แต่คำ “ขอโทษ” และโยนบาปทั้งหมดให้ “ชายชุดดำ” แต่จนวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใครและจับไม่ได้แม้แต่คนเดียว อีกทั้งในขณะที่นายอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในมือก็มีแต่วาทกรรม “ชายชุดดำ” ที่ไม่ต่างกับการโฆษณาชวนเชื่อ
แม้แต่รายงานของ คอป. ที่นายอภิสิทธิ์เอามาเป็นใช้เป็น “ยันต์กันผี” ก็ระบุว่า “ชายชุดดำ” ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนตาย 10 คน แต่ประชาชนที่มาชุมนุมอย่างสงบกว่า 80 คนที่เสียชีวิตก็มีหลักฐานชี้ว่าน่าจะเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็น “อาชญากรรมโดยรัฐ” เหมือน เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ความจริงฉบับวุฒิสภา
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มี “ชายชุดดำ” แต่ “ชายชุดดำ” จะเป็น “ผู้ก่อการร้าย” หรือ “ชายชุดลายพราง” ที่ใช้ปืนซุ่มยิงนกยิงใส่ผู้ชุมนุมนั้นก็ต้องพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความจริงของ คอป. หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพราะคลิปภาพ “ชายชุดดำ” ที่ปรากฏนั้น มีทั้งที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่และกลุ่มคนเสื้อแดง ขณะเดียวกันก็มีคลิป “ทหารใส่ชุดพลเรือนถือปืน” ซึ่ง ศอฉ. อ้างว่าเป็นชุดยิงคุ้มครองเพื่อนำคนเจ็บออกจากพื้นที่
รายงานของ คอป. ที่เน้นไปที่ “ชายชุดดำ” จึงไม่ใช่ “ความจริงทั้งหมด” และ “ความจริงที่สุด” เพราะรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ที่ทำงานคู่ขนาน แต่มีงบประมาณและอำนาจน้อยกว่า กลับทำรายงานได้ละเอียดกว่า และสรุปการสลายการชุมนุมครั้งนี้ว่า “อำพราง อัปลักษณ์ และอำมหิต”
โดยเฉพาะการเสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่และประ ชาชนจำนวน 94 คน ซึ่งระบุชัดเจนว่า ประชา ชนจำนวน 88 คน ถูกยิงที่ศีรษะถึง 32 คน ในจำนวนนี้เป็นอาสาสมัครหน่วยกู้ชีพและพยาบาล 6 คน ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 คน ทั้งยังระบุการเบิกกระสุนของกองทัพจำนวน 597,500 นัด แต่ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้กระสุนในการปราบปรามไป 117,923 นัด มีการจับกุมประชาชนดำเนินคดีทั่วประเทศ 1,857 คน
นอกจากนี้ยังมีรายงานของ “คณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง” วุฒิสภา ซึ่งนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน ได้สรุป “ข้อเท็จจริง” จำนวน 44 หน้า จากการศึกษาเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ว่าการใช้กำลัง 7 ขั้นตอนของ ศอฉ. ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการฝึกฝนตามขั้นตอนมาก่อน ประกอบกับเครื่องมือที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนมีไม่เพียงพอ และไม่มีประสิทธิภาพ
ส่วนการประกาศใช้ “เขตการใช้กระสุนจริง” บริเวณถนนราชปรารภถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะมีข้ออ้างหรือเงื่อนไขใด รัฐบาลก็ไม่สามารถประกาศเขตการใช้กระสุนจริงได้
รายงานของวุฒิสภายังระบุว่า การตั้งคณะกรรม การหลายคณะเพื่อค้นหา “ความจริง” ที่เกิดขึ้นยังไม่มีความจริงที่ชัดเจน เพราะเหตุการณ์มีหลายมิติ โดยเฉพาะ “ชายชุดดำ” เป็นใคร ใครเป็นผู้ลอบวางเพลิงอาคารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือในกระบวนการค้นหาความจริงของฝ่ายต่างๆ ไม่ยอมเปิดเผยความจริงหรือเปิดเผยเพียงบางส่วน จึงทำให้มีการกล่าวโทษของฝ่ายต่างๆมาจนทุกวันนี้ โดยรายงานของวุฒิสภาสรุปว่า
“เงื่อนไขที่เป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่การค้นหาความจริงได้ คณะกรรมการหรือผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนหาความจริงต้องมีความเป็น “อิสระ” อย่างแท้จริง และเมื่อความจริงปรากฏ ผู้สั่งการ ผู้กระทำผิด ต้องยินยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยอมรับการลงโทษ” โศกนาฏกรรมอำมหิต
การปราศรัยและจัดนิทรรศการ “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราชชุดดำ รับจ้างฆ่า ประเทศไทย” ของพรรคประชาธิปัตย์ และวาทกรรมที่พยายามทำให้ “ชายชุดดำ” เป็นต้นเหตุของความรุนแรงทั้งหมด เหมือนการจัดฉากให้เป็น “แพะชุดดำ” แทนที่จะค้นหาความจริงว่า “ใครคือผู้สั่งการ” และ “ผู้กระทำผิด” ซึ่งไม่ต่าง กับการ “ขุดเอาคนตายมาฆ่าซ้ำแล้วซ้ำอีก” เป็น “โศกนาฏกรรมอำมหิต” ที่ไร้ยางอายอย่างยิ่ง
อย่างที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ดำเนินรายการ “สายล่อฟ้า” โพสต์ข้อความพร้อมรูปผ่านเฟซบุ๊คว่า ใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลในบอร์ดเสรีไทยและราชดำเนิน เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม จนสรุปได้ชัดเจนเรื่องวิถีกระสุน โดยเฉพาะจากผลการชัน สูตร “น้องเกด” น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา “มีลักษณะทิศทางจากล่างขึ้นบน” ทำให้คนที่ปลิดชีวิตน้องเกดต้องอยู่ในแนวระนาบเดียวกับผู้ตาย ไม่ใช่ยิงจากสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งนายศิริโชคเปรียบว่าเหมือนทั้ง 6 ศพยืนตรงเคารพธงชาติให้ถูกยิง ทั้งที่ทุกคนพยายามหนีหัวซุกหัวซุนหาที่กำบังเพื่อหนีตาย หากวิถีกระสุนเป็นไปตามที่นายศิริโชคอ้าง ยิ่งเป็นการฆ่าที่โหดร้ายอำมหิต
นอกจากนี้นายศิริโชคยังระบุว่า ขณะที่ “น้องเกด” โดนยิงไม่ได้ใส่เอี๊ยมกาชาด แต่มีการเอาเอี๊ยมกาชาดมาวางบนศพหลังจากเสียชีวิต เป็นการจัดฉากและมีคนหากินกับความตาย ทั้งยังท้านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ให้ดีเบตกับตนผ่านฟรีทีวี.ช่องไหนก็ได้แบบ 2 ต่อ 1 เพื่อพิสูจน์ว่า “ชายชุดดำ” มีจริง ไม่ต้องให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพดีเบตตามที่นายณัฐวุฒิออกมาท้า
ข้อความของนายศิริโชคจึงยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ใครที่กำลังเอา “คนตาย” มาหากิน ทั้งที่มีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอประจานไปทั่วโลกว่าใครสั่งการ และใครฆ่าประชาชน
การ “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราช ชุดดำ รับจ้างฆ่าประเทศไทย” ของพรรคประชาธิปัตย์ จึงอาจไม่ใช่แค่การจัดฉาก “แพะชุดดำ” แต่อาจเป็นการยั่วยุให้คนเสื้อแดงออกมาตอบโต้จนเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและเกิดสุญญากาศ ทางการเมือง เป็นเงื่อนไขให้กองทัพใช้อำนาจพิเศษ ซึ่งไม่ใช่แค่วงจรอุบาทว์ที่จะกลับมาอีกครั้งเท่านั้น แต่ยังทำให้ “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” กลายเป็น “คนบริสุทธิ์” และกลับมามีอำนาจอีกครั้ง
“แพะชุดดำ” จึงเป็น “โศกนาฏกรรมอำมหิต” ที่ไร้ยางอาย เหมือนใช้ “สไนเปอร์” ทั้งกองทัพยิงเป้าประชาชนที่อยู่ในวงล้อมกลางกรุงเทพฯ ดุจยิงนกในกรง ที่ไม่มีทางหนีไปไหนได้!
“ถ้าวันนั้น ปีนั้นไม่มีชายชุดดำ ไม่ว่าตำรวจ ไม่ว่าทหาร ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา หรือคนเสื้อแดง จะไม่มีใครเสียชีวิตเลยครับพี่น้องครับ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยบนเวทีประชาชน “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราชชุด ดำ รับจ้างฆ่าประเทศไทย” ที่สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555 เพื่อยืนยันว่า “ชายชุดดำ” มีอยู่จริงในช่วงปี 2553 โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า หากการชุมนุมปี 2553 สงบ และปราศจากอาวุธ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถ้าถูก สลายโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รอง นายกรัฐมนตรี หรือใครสั่งให้เข้าไปสลายการชุมนุม เข่นฆ่าประชาชน นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ก็สมควรถูกประหารชีวิต แต่นั่นไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ส่วนวาทกรรม “ขอคืนพื้นที่” และ “กระ ชับวงล้อม” ไม่ใช่คำสั่งให้สลายการชุมนุม โดยวันที่ 10 เมษายนเป็นการ “ขอคืนพื้นที่” เพื่อเปิดการจราจรให้คนกรุงเทพฯกับคนฝั่งธนฯใช้สะพานพระราม 8 และสะพานพระปิ่นเกล้าได้ วันที่ 14-18 พฤษภาคมตั้งด่านเพื่อ “ปิดล้อมกดดัน” ให้การชุมนุมยุติไปเอง แต่เกิดการตอบ โต้จึงเกิดการสูญเสียขึ้น เพราะที่บ่อนไก่ ราชปรารภ ดินแดง หรือที่ใดก็ตาม ไม่ใช่จุดที่มีการสลายการชุมนุม ส่วนวันที่ 19 พฤษภาคมที่ต้อง “กระชับวงล้อม” เข้ามาที่สวนลุมฯเพราะมีการซ่องสุมอาวุธ และทำให้ประชาชนคนบริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่ต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก น้ำตาผู้สั่งการ
ขณะที่นายสุเทพกล่าวปราศรัยพร้อมน้ำตาว่า “จะยืนหยัดเคียงข้างเจ้าหน้าที่ทหารที่ตกเป็นจำเลยทุกคน ขอให้พี่น้องทหารไม่ว่าจะเป็นพลทหาร เป็นนายสิบ เป็นจ่า เป็นนายร้อย เป็นนายพัน ที่กำลังจะถูกคุณธาริต เพ็งดิษฐ์ และคุณประเวศน์ มูลประมุข สอบสวน มั่นใจได้ครับว่าผมจะเรี่ยไรเงินจ้างทนายที่ดีที่สุดในประเทศนี้สู้คดีให้ทุกคน จะไม่มีวันทอดทิ้งให้เพื่อนทหารผู้เสียสละเหล่านั้นต้องว้าเหว่ในการต่อสู้เป็นอันขาด และผมประกาศยืนยันมาตลอดเวลาว่าที่บรรดาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารเหล่านั้นออกมาปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาบ้านเมืองนั้น ผมเป็นคนสั่งเองทั้งสิ้น และเป็นการสั่งการตามอำนาจหน้าที่ในฐานะรองนายกรัฐ มนตรีฝ่ายความมั่นคงที่มีกฎหมายรองรับ”
การปราศรัยของนายสุเทพจึงไม่แปลกที่พยายามพูดถึงการเสียชีวิตของทหารจำนวน 8 นาย โดยเฉพาะ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนว่า เกิดจาก “ชายชุดดำ” ที่ติดอาวุธระดมยิงและขว้างระเบิดสังหารใส่ที่บริเวณข้างโรงเรียนสตรีวิทย์ โดยไม่พูดถึงประชาชนที่ถูกยิงตายอีกกว่า 80 ศพเลยว่าใครฆ่าและใครต้องรับผิดชอบ
เหมือนรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ให้ความสำคัญกับ “ชายชุดดำ” ค่อนข้างละเอียดกว่าการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งการตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งและการใช้อำนาจของ ศอฉ. ว่าเป็นลักษณะ “อาชญากรรมโดยรัฐ” เหมือนกรณี 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬหรือไม่ สำนึกทางการเมือง
การปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ที่ยืนยันให้ “ชายชุดดำ” เป็นต้นเหตุความรุนแรงทั้งหมดในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต จึงสะท้อนให้เห็น “จริยธรรม” หรือ “สำนึก” ความเป็นนักการเมืองและ “ผู้นำ” ของนายอภิสิทธิ์ได้อย่างดีว่าเป็นนักการเมืองที่น่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ครั้งที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านได้อภิปรายเรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี มี “สำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง” กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ว่า
“จะมีประชาชนจาก 1 คน หรือแสนคนลุก ขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเอง หรือพิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนั้นอาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นคือละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งคือการทุจริตคอร์รัปชัน จริงครับ ปัญหาเหล่านี้มีกระบวนการทางกฎหมาย แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยส่วนใหญ่เขาไม่รอให้กฎหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าสำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมืองที่เขาบอกว่ามันต้องสูงกว่าคนธรรมดา มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งยกตัวอย่างกรณีของเกาหลี นั่นแค่คิดนโยบายนะครับว่าต้องเปิดการค้าเสรี เอาเนื้อวัวจากอีกประเทศหนึ่งเข้ามา คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เขาลาออกทั้งคณะ ผมว่าอายุรัฐบาลเขาสั้นกว่ารัฐบาลนี้ตอนที่เขาตัดสินใจอย่างนั้น ใครที่เคยอยู่ในประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ในสหรัฐจะทราบ อย่าว่าแต่รัฐมนตรีเลยครับ ส.ส. ส.ว. บางทีมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว ลาออกครับ”
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังอภิปรายรัฐบาลนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯที่ปิดล้อมบริเวณหน้ารัฐสภาจนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คนว่า
“ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้วรัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี” อาชญากรรมโดยรัฐ
การเรียกร้องให้นายสมัครและนายสมชายมีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมืองหรือจริย ธรรมทางการเมืองจึงย้อนกลับมาถามนายอภิสิทธิ์เช่นกันว่ามีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมืองหรือไม่ เพราะเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตมีคนตายถึง 98 ศพ ไม่ใช่แค่คนสองคน นายอภิสิทธิ์ก็ไม่มีแม้แต่คำ “ขอโทษ” และโยนบาปทั้งหมดให้ “ชายชุดดำ” แต่จนวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใครและจับไม่ได้แม้แต่คนเดียว อีกทั้งในขณะที่นายอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในมือก็มีแต่วาทกรรม “ชายชุดดำ” ที่ไม่ต่างกับการโฆษณาชวนเชื่อ
แม้แต่รายงานของ คอป. ที่นายอภิสิทธิ์เอามาเป็นใช้เป็น “ยันต์กันผี” ก็ระบุว่า “ชายชุดดำ” ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนตาย 10 คน แต่ประชาชนที่มาชุมนุมอย่างสงบกว่า 80 คนที่เสียชีวิตก็มีหลักฐานชี้ว่าน่าจะเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็น “อาชญากรรมโดยรัฐ” เหมือน เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ความจริงฉบับวุฒิสภา
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มี “ชายชุดดำ” แต่ “ชายชุดดำ” จะเป็น “ผู้ก่อการร้าย” หรือ “ชายชุดลายพราง” ที่ใช้ปืนซุ่มยิงนกยิงใส่ผู้ชุมนุมนั้นก็ต้องพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความจริงของ คอป. หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพราะคลิปภาพ “ชายชุดดำ” ที่ปรากฏนั้น มีทั้งที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่และกลุ่มคนเสื้อแดง ขณะเดียวกันก็มีคลิป “ทหารใส่ชุดพลเรือนถือปืน” ซึ่ง ศอฉ. อ้างว่าเป็นชุดยิงคุ้มครองเพื่อนำคนเจ็บออกจากพื้นที่
รายงานของ คอป. ที่เน้นไปที่ “ชายชุดดำ” จึงไม่ใช่ “ความจริงทั้งหมด” และ “ความจริงที่สุด” เพราะรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ที่ทำงานคู่ขนาน แต่มีงบประมาณและอำนาจน้อยกว่า กลับทำรายงานได้ละเอียดกว่า และสรุปการสลายการชุมนุมครั้งนี้ว่า “อำพราง อัปลักษณ์ และอำมหิต”
โดยเฉพาะการเสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่และประ ชาชนจำนวน 94 คน ซึ่งระบุชัดเจนว่า ประชา ชนจำนวน 88 คน ถูกยิงที่ศีรษะถึง 32 คน ในจำนวนนี้เป็นอาสาสมัครหน่วยกู้ชีพและพยาบาล 6 คน ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 คน ทั้งยังระบุการเบิกกระสุนของกองทัพจำนวน 597,500 นัด แต่ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้กระสุนในการปราบปรามไป 117,923 นัด มีการจับกุมประชาชนดำเนินคดีทั่วประเทศ 1,857 คน
นอกจากนี้ยังมีรายงานของ “คณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง” วุฒิสภา ซึ่งนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน ได้สรุป “ข้อเท็จจริง” จำนวน 44 หน้า จากการศึกษาเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ว่าการใช้กำลัง 7 ขั้นตอนของ ศอฉ. ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการฝึกฝนตามขั้นตอนมาก่อน ประกอบกับเครื่องมือที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนมีไม่เพียงพอ และไม่มีประสิทธิภาพ
ส่วนการประกาศใช้ “เขตการใช้กระสุนจริง” บริเวณถนนราชปรารภถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะมีข้ออ้างหรือเงื่อนไขใด รัฐบาลก็ไม่สามารถประกาศเขตการใช้กระสุนจริงได้
รายงานของวุฒิสภายังระบุว่า การตั้งคณะกรรม การหลายคณะเพื่อค้นหา “ความจริง” ที่เกิดขึ้นยังไม่มีความจริงที่ชัดเจน เพราะเหตุการณ์มีหลายมิติ โดยเฉพาะ “ชายชุดดำ” เป็นใคร ใครเป็นผู้ลอบวางเพลิงอาคารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือในกระบวนการค้นหาความจริงของฝ่ายต่างๆ ไม่ยอมเปิดเผยความจริงหรือเปิดเผยเพียงบางส่วน จึงทำให้มีการกล่าวโทษของฝ่ายต่างๆมาจนทุกวันนี้ โดยรายงานของวุฒิสภาสรุปว่า
“เงื่อนไขที่เป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่การค้นหาความจริงได้ คณะกรรมการหรือผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนหาความจริงต้องมีความเป็น “อิสระ” อย่างแท้จริง และเมื่อความจริงปรากฏ ผู้สั่งการ ผู้กระทำผิด ต้องยินยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยอมรับการลงโทษ” โศกนาฏกรรมอำมหิต
การปราศรัยและจัดนิทรรศการ “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราชชุดดำ รับจ้างฆ่า ประเทศไทย” ของพรรคประชาธิปัตย์ และวาทกรรมที่พยายามทำให้ “ชายชุดดำ” เป็นต้นเหตุของความรุนแรงทั้งหมด เหมือนการจัดฉากให้เป็น “แพะชุดดำ” แทนที่จะค้นหาความจริงว่า “ใครคือผู้สั่งการ” และ “ผู้กระทำผิด” ซึ่งไม่ต่าง กับการ “ขุดเอาคนตายมาฆ่าซ้ำแล้วซ้ำอีก” เป็น “โศกนาฏกรรมอำมหิต” ที่ไร้ยางอายอย่างยิ่ง
อย่างที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ดำเนินรายการ “สายล่อฟ้า” โพสต์ข้อความพร้อมรูปผ่านเฟซบุ๊คว่า ใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลในบอร์ดเสรีไทยและราชดำเนิน เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม จนสรุปได้ชัดเจนเรื่องวิถีกระสุน โดยเฉพาะจากผลการชัน สูตร “น้องเกด” น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา “มีลักษณะทิศทางจากล่างขึ้นบน” ทำให้คนที่ปลิดชีวิตน้องเกดต้องอยู่ในแนวระนาบเดียวกับผู้ตาย ไม่ใช่ยิงจากสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งนายศิริโชคเปรียบว่าเหมือนทั้ง 6 ศพยืนตรงเคารพธงชาติให้ถูกยิง ทั้งที่ทุกคนพยายามหนีหัวซุกหัวซุนหาที่กำบังเพื่อหนีตาย หากวิถีกระสุนเป็นไปตามที่นายศิริโชคอ้าง ยิ่งเป็นการฆ่าที่โหดร้ายอำมหิต
นอกจากนี้นายศิริโชคยังระบุว่า ขณะที่ “น้องเกด” โดนยิงไม่ได้ใส่เอี๊ยมกาชาด แต่มีการเอาเอี๊ยมกาชาดมาวางบนศพหลังจากเสียชีวิต เป็นการจัดฉากและมีคนหากินกับความตาย ทั้งยังท้านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ให้ดีเบตกับตนผ่านฟรีทีวี.ช่องไหนก็ได้แบบ 2 ต่อ 1 เพื่อพิสูจน์ว่า “ชายชุดดำ” มีจริง ไม่ต้องให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพดีเบตตามที่นายณัฐวุฒิออกมาท้า
ข้อความของนายศิริโชคจึงยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ใครที่กำลังเอา “คนตาย” มาหากิน ทั้งที่มีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอประจานไปทั่วโลกว่าใครสั่งการ และใครฆ่าประชาชน
“แพะชุดดำ” จึงเหมือนการดิ้นเฮือกสุดท้าย ของพรรคประชาธิปัตย์
เพื่อปกป้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ซึ่งนายธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะผู้รับผิดชอบ คดี 98 ศพ ระบุว่า
มีแนวโน้มสูงที่อาจต้องพิจาร ณาดำเนินคดีในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 289 และมาตรา 59 กับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ
หลังจากที่ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งว่า การตายของนาย พัน คำกอง
คนขับแท็กซี่ที่ถูกยิงเสียชีวิตในคืนวันที่ 14 ต่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
บริเวณแอร์พอร์ตลิ้งค์ราชปรารภเสียชีวิตจากอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหาร
การ “เดินหน้าผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราช ชุดดำ รับจ้างฆ่าประเทศไทย” ของพรรคประชาธิปัตย์ จึงอาจไม่ใช่แค่การจัดฉาก “แพะชุดดำ” แต่อาจเป็นการยั่วยุให้คนเสื้อแดงออกมาตอบโต้จนเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและเกิดสุญญากาศ ทางการเมือง เป็นเงื่อนไขให้กองทัพใช้อำนาจพิเศษ ซึ่งไม่ใช่แค่วงจรอุบาทว์ที่จะกลับมาอีกครั้งเท่านั้น แต่ยังทำให้ “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” กลายเป็น “คนบริสุทธิ์” และกลับมามีอำนาจอีกครั้ง
“แพะชุดดำ” จึงเป็น “โศกนาฏกรรมอำมหิต” ที่ไร้ยางอาย เหมือนใช้ “สไนเปอร์” ทั้งกองทัพยิงเป้าประชาชนที่อยู่ในวงล้อมกลางกรุงเทพฯ ดุจยิงนกในกรง ที่ไม่มีทางหนีไปไหนได้!
วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ยกเลิกวัฒนธรรมนายทาส..เรียกร้องให้ทาสเสียสละ
บทชี้นำ
จาก RED POWER ปีที่ 2 ฉบับที่ 29 เดือน ตุลาคม 2555
การเรียกร้องให้ทาสเสียสละเพื่อนายทาสเป็นวัฒนธรรมของนายทาสที่มีมายาวนานในประวัติศาสตร์ที่นายทาสใช้ทาสด้วยกันเองเป็นผู้สร้างกระแสการหลอกลวงให้ทาสยอมจำนนต่อนายทาสโดยดุษฎี
นายคณิต ณ นคร
ท่านอยากจะเป็นประธาน
คอป.หรืออยากจะเป็นประธานลูกสมุนนายทาสอยู่ที่การปฏิบัติตัวของท่านเอง
การเสียสละของทาสเพื่อปกป้องระบอบทาสเป็นการเสียสละที่ไม่ต้องมีใครเรียกร้อง
เพราะทาสต้องจำทนเสียสละและมิได้เสียสละเฉพาะตัวทาสหากแต่บรรพบุรุษของทาสก็ได้เสียสละมาแล้วหลายชั่วคน
ทาสทำถูก
ก็ว่าผิด
นายทาสทำผิด
ก็ว่าถูก
ทาสฉลาด
ก็ว่าโง่
นายทาสโง่
ก็ว่าฉลาด
ทาสพูดมากก็จับติดตะรางหากทาสทำให้รำคาญมากนายทาสก็เอาถึงตายแล้วไม่ดูดำดูดี
ระบอบทาสเป็นเช่นนี้มิใช่หรือ
?
ทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามครรลองแห่งระบอบประชาธิปไตย
อำมาตย์กลับล้มระบอบกฎหมาย
ล้มระบอบประชาธิปไตยเพียงใช้ลมปากป้ายสีว่าทุจริตและไม่จงรักภักดี แต่ปรากฏว่า 6
ปีมาแล้วก็เอาผิดอะไรทักษิณไม่ได้
ถ้าทำกับทักษิณเป็นครั้งแรกและคนแรกก็ยังพอฟังและให้อภัย
แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์อำมาตย์กระทำเช่นนี้เสมอมากับทุกรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งและกำลังสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง
ประชาชนจึงตาสว่างว่าเนื้อแท้ของปัญหาอยู่ที่เหล่าอำมาตย์ไม่ชอบระบอบประชาธิปไตยและจะไม่สุขใจเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นประชาชนฉลาด
เหล่าอำมาตย์มองเห็นความตื่นตัวของประชาชนเป็นความวุ่นวายและเป็นอันตรายต่อชาติ(ของเขา)
เนื้อแท้ของการรัฐประหาร 19 กันยายน
2549 ก็เป็นเนื้อแท้เดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านมา คือทำลายความมั่นคงระบอบอำนาจของประชาชนเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบอบอำมาตย์ด้วยการโพนทะนาของเหล่าอำมาตย์ว่าขบวนประชาธิปไตยเป็นพวก
“ขบวนการล้มเจ้า” แต่เนื้อแท้เหล่าอำมาตย์คือหัวขบวนของ
“ขบวนการล้มประชาธิปไตย”
ล้มความชอบธรรมของรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีเสียงข้างมาก
ล้มความชอบธรรมของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่มีเสียงข้างมาก
ล้มความชอบธรรมของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีเสียงข้างมาก
ล้มระบอบกฎหมายด้วยสนับสนุนการก่อจลาจลของพันธมิตรฯเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
ล้มระบอบกฎหมายด้วยสนับสนุนการก่อจลาจลเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลและยึดสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อล้มรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ล้มระบอบความชอบธรรมแห่งประชาธิปไตยด้วยสนับสนุนการใช้อำนาจของกองทัพทุบระบอบพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ,จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารแถลงนโยบายนอกสภา
ล้มหลักศีลธรรมและมนุษยธรรมด้วยการเข่นฆ่าประชาชนเพื่อคุ้มครองรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
ล้มระบอบนิติธรรมด้วยการจับกุมคุมขังผู้เปิดโปงความเน่าเฟะของระบอบอำมาตย์แล้วห้ามประกันตัวอย่างไร้หลักกฎหมาย
ถ้าวันนี้
นายคณิต ณ นคร
ประธาน คอป.จะเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสียสละ ก็ต้องถามเป็นคำถามชุดว่า 1.ต้องให้นายสุรชัย แซ่ด่าน
(หรือด่านวัฒนานุสรณ์) เสียสละด้วยไหม?, 2.ต้องให้นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เสียสละด้วยไหม?, 3.ต้องให้พี่น้องไทยเสื้อแดงที่ถูกจับขังและห้ามประกันตัวมายาวนานเสียสละด้วยไหม?, 4.ต้องให้นายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง
และครอบครัวอย่าถือโทษโกรธศาลที่ไม่ให้อากงประกันตัวจนต้องตายในตะรางร่วมเสียสละด้วยใช่ไหม?, 5.ต้องให้ประชาชนที่เสียชีวิตจากลูกกระสุนปืนของทหารที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์จำยอมเสียสละชีวิตด้วยใช่ไหม
?
และ
6.ต้องถามต่อไปด้วยว่าต้องให้นายปรีดี พนมยงค์ ที่ไม่อาจจะกลับมาตายบนแผ่นดินเกิด
ทั้งๆที่ไม่มีความผิดต้องร่วมเสียสละด้วยใช่หรือไม่?
ถ้าคณะกรรมการ
คอป.เห็นด้วยกับนายคณิต ณ นคร
ก็เท่ากับท่านกำลังประจานว่าระบอบปกครองปัจจุบันเป็นระบอบทาสและพวกท่านกำลังทำตัวเป็นเสมือนลูกสมุนนายทาส
คอป.กำลังทำลายหลักนิติธรรมและทำลายภาพพจน์ของประเทศไทยในทางสากล
มีแต่นายทาสเท่านั้นที่ต้องเสียสละเพื่อปลดปล่อยทาส
มิใช่ให้ทาสเสียสละเสรีภาพและอิสรภาพเพื่อปลดปล่อยนายทาส
การเสียสละของทาสเพื่อรักษาระบอบทาสเป็นการเสียสละที่เลวร้ายที่สุดและเป็นปกติที่ทาสผู้ใกล้ชิดนายทาสพึงกระทำการหลองลวงทาสด้วยกันให้จำยอม
คุณคณิต ณ นคร และกรรมการ คอป.
เลือกเอาว่าจะเป็นไทหรือเป็นทาส
และถ้าอยากจะเลือกเป็นทาสต่อไปก็ขอให้เป็นเฉพาะตัวท่านเองอย่าได้หว่านล้อมเชิญชวนให้ผองทาสภาคภูมิใจกับความเป็นทาสต่อไปเลย
วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ปรับ ค.ร.ม.รอสัญญาณไฟจราจร
เรื่องเด่นประเด็นร้อน
จาก RED POWER ปีที่ 2 ฉบับที่ 29 เดือน ตุลาคม 2555
กลอนประตูลูกบิดบ้านเลขที่ 111
ทุกบานที่เคยถูกล็อคขังนักการเมืองมา 5 ปี บัดนี้ ได้พังทลายหมดแล้ว
นักการเมืองระดับเกจิอาจารย์หลายคนก็ออกเดินเตะฝุ่นบนถนนการเมืองมานานเกือบ 4
เดือนโดยเฉพาะคนที่รักษาเนื้อตัวดีไม่หนีไม่เล่นขี้ของพวกเผด็จการก็เตรียมแต่งตัวเข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลในฐานะเสนาบดี
แต่วันนี้เกิดมีปัญหาประหนึ่งว่าจราจรติดขัดเลยต้องนั่งอึดอัดอยู่ในรถ
และยังไม่มีวี่แววว่าการจราจรจะเปิดทางให้เข้าทำเนียบได้เมื่อไร
นักข่าวผู้เฝ้ามองการเมืองก่อนหน้านี้ต่างตีหวย ใบ้หวยว่า
ค.ร.ม.ใหม่จะปรับกันโดยเร็วหลังจาก 31 พฤษภาคมไม่นาน แต่วันนี้กลับบานออกไปใกล้จะ
4เดือนยังเลือนรางเต็มทีว่าจะมีสัญญาณปรับ ค.ร.ม.กันเมื่อไรแน่
สำนักข่าวเจาะลึกนึกไม่ถึงแห่ง Red Power จึงต้องลองล้วงทวงถามกับผู้รู้ในพรรคเพื่อไทยว่าเมื่อไร
ค.ร.ม.ใหม่จะคลอดสักที ก็ได้ความว่าวันนี้ ค.ร.ม.ใหม่ท้องแก่ใกล้คลอดเต็มที
แต่การจราจรติดขัดมากไม่ทราบว่าสัญญาณไฟจราจรเสียหรือสัญญาณไฟรวน เพราะขณะนี้มีผู้ไปแอบดูสัญญาณไฟจราจรพบว่าสัญญาณไฟดับๆติดๆ
เดี๋ยวขึ้นแดงเดี๋ยวขึ้นเหลือง จะว่าสัญญาณไฟเสียก็ไม่ใช่แต่จะว่าสัญญาณไฟดีก็ไม่เชิง
ทุกคนรู้ดีว่าช่างไฟฟ้าจราจรกำลังตรวจสอบซ่อมแซมอยู่ แต่ก็ไม่มีใครกล้าถามช่างซ่อมว่าสัญญาณไฟจะพอใช้ได้เมื่อไร
เพราะไม่มีใครคาดหวังว่าสัญญาณไฟจะดีเหมือนของเดิมเพียงแต่ขอให้เปิดใช้พอให้ขบวนรถวิ่งผ่านไปได้ก่อน
เพราะขณะนี้หญิงท้องแก่ใกล้คลอดเต็มทีรออยู่ในรถ และถ้าสัญญาณไฟจราจรยังใช้การไม่ได้ก็ขอให้มีจราจรออกมาโบกรถแทนสัญญาณไฟไปก่อนเพราะรถติดยาวนานเช่นนี้เห็นทีจะต้องคลอด
ค.ร.ม.ในรถยนต์กลางถนนหลวงก็จะดูอุจาดไป แต่จะทำอย่างไรได้ “ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง คนท้องจะคลอดลูก” จะห้ามได้หรือ?
ขอโทษทีถ้าใครอ่านแล้วงงว่าสาเหตุอะไรแน่ที่
ค.ร.ม.ใหม่ยังคลอดไม่ได้ก็กรุณาเข้าใจด้วยว่า นักข่าวสายการเมืองของ Red Power วันนี้กำลังประทับทรงวิญญาณ Hi S ที่โด่งดังทางอินเตอร์เน็ทเฝ้าดูเหตุการณ์และรายงานข่าวอยู่
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นโรดม สีหนุ สิ้นพระชนม์ กับความแข็งแกร่งของรัฐบาลสมเด็จฮุนเซน
โดย ส.ส.ดร.สุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
ข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จนโรดม
สีหนุ
ทำให้คนไทยต้องหวนคิดถึงอดีตความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในกรณีเขาพระวิหารที่มีมานานกว่า
50 ปี และแม้วันนี้ก็ยังมีคนบางกลุ่มพยายามที่จะใช้ความทรงจำที่เจ็บปวดเป็นเครื่องมือทางการเมือง
แต่จากเหตุการณ์เขาพระวิหารในอดีตจนถึงเขาพระวิหารปัจจุบันก็บอกความจริงกับเราว่าประชาชนกัมพูชาก็มีสำนึกเช่นเดียวกับคนไทยที่รักในเอกราชแต่สำหรับประชาชนกัมพูชามีความแตกต่างจากไทยที่ได้ผ่านความเจ็บปวดในการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติมากกว่าไทยจึงหล่อหลอมเป็นนโยบายแห่งรัฐส่งผลให้รัฐกัมพูชามีลักษณะเป็นรัฐที่ท้าทายที่ไทยควรต้องศึกษา
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
กัมพูชาเป็นรัฐที่บาดเจ็บมากที่สุดในสงครามการต่อสู้เพื่อเอกราชในกลุ่มประเทศอินโดจีนแต่ความกระหายเอกราชของพี่น้องกัมพูชาช่วงหนึ่งถูกเจือปนด้วยอุดมการณ์คอมมิวนิสต์แบบสุดโต่งของกลุ่มเขมรแดง
สงครามปลดปล่อยของชาวกัมพูชาจึงได้สร้างตำนานหฤโหดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้แก่มนุษย์ชาติได้เล่าขานไม่รู้จักจบสิ้นและภายใต้ริ้วรอยบาดแผลแห่งสงครามที่ฉกาจฉกรรจ์นี้ก็ได้ถูกบริหารจัดการโดยชายหนุ่มผู้ห้าวหาญในนาม
นายฮุนเซน ยาวนานกว่า 30 ปี ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนสามารถฟื้นชีวิตชาวกัมพูชากว่า
20 ล้านคน จากรัฐที่ไร้ระเบียบกลับเข้าสู่รัฐที่มีระเบียบและทะยานสู่การพัฒนายุคใหม่อย่างท้าทายอย่างเป็นตัวของตัวเองจากอดีตถึงปัจจุบัน
ในกรณีปัญหาชายแดนไทย - กัมพูชา “เขาพระวิหาร” ซึ่งกัมพูชากล้ายืนขึ้นท้าทายกองทัพไทยภายใต้การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่หนุนหลังโดยกลุ่มอำนาจรัฐจารีตนิยมของไทย
รวมตลอดถึงการแสดงจุดยืนอย่างโดดเด่นของนโยบายรัฐกัมพูชาต่อกรณีความขัดแย้งระหว่างจีน
– เวียดนาม ในหมู่เกาะทะเลจีนใต้กัมพูชาก็ได้แสดงออกเป็นตัวของตัวเองในฐานะรัฐเอกราชอย่างท้าทายเวียดนาม,ด้วยประวัติการต่อสู้ที่ห้าวหาญของฮุนเซนจากสามัญชนคนธรรมดาจึงก้าวขึ้นสู่สมเด็จเดโชฮุนเซนครองหัวใจประชาชนกัมพูชา
และเป็นมิสเตอร์ฮุนเซนในฐานะผู้นำอาเซียนตามวาระและเป็นผู้นำรัฐอาวุโสสูงสุดของอาเซียน
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ไทยต้องจับตาและศึกษาการเคลื่อนตัวของรัฐกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จฮุนเซนเป็นอย่างยิ่งต่อเชื่อมจากรัฐกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จนโรดม
สีหนุ ในอดีต
ความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลฮุนเซน
หากใช้การเมืองไทยเป็นตัวตั้งจะมองเห็นว่าการเมืองกัมพูชามีความมั่นคงอย่างยิ่งแม้สภากัมพูชาจะมีฝ่ายค้านที่มีพฤติกรรมทางการเมืองไม่ต่างจากฝ่ายค้านของไทย
แต่เสียง ส.ส.ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและเสียง ส.ว.ฝ่ายค้านในวุฒิสภามีจำนวนน้อยนิดจึงไม่ส่งผลสะเทือนทางการเมืองต่อรัฐบาลของสมเด็จฮุนเซน,แม้โครงสร้างการเมืองเขมรจะเป็นแบบเดียวกับไทยคือ
มี 2 สภาเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน
และกัมพูชาก็มีอำนาจนอกระบบที่แสดงตัวเป็นอีแอบเหมือนกับระบอบอำมาตย์ของไทยคือ นโรดม
รณฤทธิ์ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์และเป็นพี่ชายของพระมหากษัตริย์สีหมุนีแต่ว่ารัฐบาลของสมเด็จฮุนเซนก็บริหารจัดการจนฝ่ายค้านและอำมาตย์เขมรไม่อาจจะแสดงบทบาทเป็นผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญแข็งแกร่งอย่างประเทศไทยได้แม้เคยพยายามหลายครั้งที่จะทำรัฐประหารสมเด็จฮุนเซนและเคยลอบสังหารสมเด็จฮุนเซนมาแล้วและล่าสุดการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จนโรดม
สีหนุ ซึ่งแม้จะสละราชสมบัติไปก่อนแล้ว แต่พระบารมีของพระองค์ที่ครอบงำความคิดของประชาชนชาวกัมพูชามาอย่างยาวนานตลอดรัชสมัยที่พระองค์ได้ต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเอกราชและอธิปไตยของกัมพูชาจึงมีบทบาทในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวกัมพูชา
ดังนั้นเมื่อสมเด็จนโรดม สีหนุ ต้องเสด็จสู่สวรรคาลัยเช่นนี้ก็ย่อมส่งผลให้พลังของพรรคนโรดม
รณฤทธิ์ ในฐานะตัวแทนมือที่มองไม่เห็นต้องถดถอยจนหมดบทบาททางการเมืองและด้วยเหตุนี้การเมืองของกัมพูชาจึงมีความมั่นคงมากขึ้นภายใต้ระบอบรัฐสภาย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีอัตราเร่งสูงกว่าพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองของไทย
จากจำนวนที่นั่ง
ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อ 27 กรกฎาคม 2551 พรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซนก็ครองเสียงข้างมากโดยได้
90 ที่นั่งจากจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 123 ที่นั่งส่วนพรรคอันดับสองคือพรรคสม รังสี ได้
26 ที่นั่ง ส่วนพรรคนโรดม รณฤทธิ์ ได้ 2 ที่นั่ง,พรรคฟุนซินเปคได้ 2 ที่นั่ง
และพรรคสิทธิมนุษยชนได้ 3 ที่นั่ง และเมื่อมาดูผลการเลือกตั้งวุฒิสภาและสภาท้องถิ่นกัมพูชาที่ผ่านมาไม่นานนี้ก็จะยิ่งเห็นชัดถึงเสถียรภาพและความมั่นคง
กล่าวคือ พรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซนได้รับความสนับสนุนจากประชาชนกัมพูชาอย่างท่วมท้น
โดยได้รับเลือกร้อยละ 80 ของวุฒิสภาและ ร้อยละ 97 ของสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ
นอกจากนี้ภาพรวมของพัฒนาการทางการเมืองในช่วง
2 ปี ที่ผ่านมาก็แสดงอย่างเด่นชัดว่าระบอบการเมืองแบบรัฐสภาของกัมพูชามีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นจะเห็นจากการยุบรวมตัวของพรรคการเมืองต่างๆเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งทางการเมืองของแต่ละฝ่ายในระบบรัฐสภากัมพูชามากขึ้น
เพื่อเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556
ได้แก่ (1) การรวมตัวของพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อ
พรรคกอบกู้ชาติกัมพูชา หรือ Cambodia National Rescue Party (CNRP) และ (2) การรวมพรรคนโรดม รณฤทธิ์
กับพรรคฟุนซินเปค แต่การรวมพรรคทั้งสองดังกล่าวเป็นผลจากการหมดบารมีของ นโรดม
รณฤทธิ์ ในฐานะผู้นำพรรคจึงเกิดความแตกแยกภายในพรรคนโรดม
รณฤทธิ์จนส่งผลให้เจ้านโรดม รณฤทธิ์ ลาออกจากตำแหน่งประธานพรรค
และประกาศยุติบทบาททางการเมืองเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555
ระบอบรัฐสภาของกัมพูชามี
2 สภา คล้ายกับของไทย พรรคประชาชนของสมเด็จฮุนเซนก็ครองเสียงข้างมากทั้ง 2 สภา
โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งวุฒิสภาเมื่อ 29 มกราคม 2555 จากจำนวน ส.ว.ทั้งหมด 61
ที่นั่ง พรรคประชาชนกัมพูชาได้รับเลือกจำนวน 46 คน พรรคสม รังสี ได้รับเลือกจำนวน
11 คน และสมเด็จฯเจีย ซิม วุฒิสมาชิกจากพรรคประชาชนกัมพูชาได้รับเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภากัมพูชาเป็นสมัยที่
3
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลกัมพูชา
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2555 กัมพูชาได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลกัมพูชาชุดที่
3 ผลปรากฏว่า พรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้ง 1,592 ตำบลจากจำนวนทั้งสิ้น 1,633
ตำบล (คิดเป็นร้อยละ 97 ) และชนะการเลือกตั้งในทุกจังหวัดโดยจากที่นั่งทั้งหมด
11,459 ที่นั่ง มีพรรคต่างๆได้รับเลือกตั้งดังนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา จำนวน 8,283
ที่นั่ง,พรรคสม รังสี จำนวน 2,155 ที่นั่ง,พรรคฟุนซินเปค จำนวน 160
ที่นั่ง,พรรคนโรดม รณฤทธิ์ จำนวน 53 ที่นั่ง และพรรคสิทธิมนุษยชน จำนวน 800 ที่นั่ง
ความสัมพันธ์กัมพูชา
– เวียดนาม
จากความเข้าใจของคนไทยทั่วไปที่เชื่อว่ากัมพูชาเป็นเด็กในโอวาทของเวียดนามนั้น
วันนี้คงต้องเปลี่ยนความคิดได้แล้วเพราะมีรูปธรรมสำคัญในขณะนี้ที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลของ
สมเด็จ เดโช ฮุนเซน ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัดคือเหตุการณ์การแก้ปัญหาเขตแดน
กัมพูชา – เวียดนาม และปัญหาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ กล่าวคือ
1.ต่อปัญหาเขตแดนกัมพูชา
– เวียดนาม กัมพูชาและเวียดนามได้เปิดการเจรจากันหลายครั้งและเร่งรัดการกำหนดแนวเส้นเขตแดนและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างกัน
โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำหลักเขตแดนแล้ว 314 หลัก หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 70
ของแนวเขตแดนทั้งสิ้นของกัมพูชา – เวียดนาม (ระยะทาง 1,270 กิโลเมตร )
และมีแผนที่จะดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จภายในปี 2555
รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ข้อยุติการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำเขตแดนที่เกิดขึ้นแล้วในช่วงสงครามที่ผ่านมาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
คือ การคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด
และหากมีบริเวณใดที่พบว่ามีปัญหาการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของฝ่ายใด
อีกฝ่ายก็จะต้องหาพื้นที่ว่างในบริเวณอื่นมาแลกเปลี่ยนแทน
อย่างไรก็ดี
พรรคฝ่ายค้าน (พรรคสม รังสี) ได้พยายามนำประเด็นเรื่องเขตแดนกัมพูชา – เวียดนาม
มาใช้โจมตีความน่าเชื่อถือของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและพยายามปลุกกระแสชาตินิยมคล้ายกับที่พรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มพันธมิตรฯทำให้กรณีเขาพระวิหารว่ากัมพูชาเสียดินแดนให้แก่เวียดนามแล้วซึ่งเป็นประเด็นทางการเมืองที่ไม่อาจมองข้ามได้
เป็นผลให้สมเด็จฯฮุน เซน
ต้องยืนขึ้นชี้แจงต่อสภาแห่งชาติกัมพูชาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 9
สิงหาคม 2555 เป็นเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง โดยกล่าวว่าพรรคฝ่ายค้านพยายามใช้ประโยชน์ทางการเมืองจากเรื่องนี้เพื่อจะก่อวิกฤติทางการเมืองก็ทำให้ประเด็นวิกฤตินี้คลี่คลายลงระดับหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามในช่วง
7 เดือนแรกของปี 2555 กัมพูชาส่งเสริมความสัมพันธ์และเข้าใจอันดีกับเวียดนามโดยสมเด็จ
นโรดม สีหมุนี กษัตริย์กัมพูชา
เสด็จฯเยือนเวียดนามเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555
โดยเป็นการแวะเยือนระหว่างการเดินทางกลับจากต่างประเทศ ซึ่งการที่ผู้นำระดับสูงสามารถไปมาหาสู่กันได้ตลอดเวลาเป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันระหว่างกัมพูชากับเวียดนาม
2.ต่อปัญหาความขัดแย้งจีน
– เวียดนาม
ปัญหาความขัดแย้งในหมู่เกาะทะเลจีนใต้
ระหว่างจีน – เวียดนาม ได้เป็นบททดสอบของความเป็นตัวของตัวเองของกัมพูชาอีกรูปธรรมหนึ่งว่ามิได้เป็นเด็กในโอวาทของเวียดนามในนโยบายต่างประเทศ
จากการประชุมรัฐสภาอาเซียนหรือ AIPA ที่เกาะลอมบ๊อก
ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 16 – 21 กันยายน
ที่ผ่านมานี้โดยสมเด็จฯเดโช ฮุน เซน ในฐานะประธานอาเซียนได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดการประชุมและสมเด็จเฮง
สัมริน ประธานสภาผู้แทนราษฎรของกัมพูชาและนายเชียงวุน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานกรรมาธิการการต่างประเทศกัมพูชา
ได้แสดงบทบาทที่ขัดแย้งกับเวียดนามต่อกรณีที่เวียดนามจะนำประเด็นเรื่องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่ขัดแย้งกับจีนอยู่ในขณะนี้เข้าพิจารณาในการประชุมของ
AIPA ด้วยหวังจะเอาที่ประชุมของรัฐสภาอาเซียนบีบจีนในฐานะที่จีนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์
โดยฝ่ายกัมพูชาได้นำเสนอในที่ประชุมอย่างชัดเจนไม่เห็นด้วยกับเวียดนามในประเด็นนี้ด้วยเหตุผลลึกๆคือผลประโยชน์จากการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการของจีนในกัมพูชาและรัฐบาลของสมเด็จฯเดโช
ฮุนเซน ต้องการแสดงบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศที่ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของเวียดนาม
กัมพูชากับนานาชาติ
จากบทบาทที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนในปี
2555 กัมพูชาได้ใช้โอกาสนี้สร้างบทบาทในเวทีระดับโลก รวมถึงการเข้าร่วมการประชุม G20 ที่เม็กซิโก ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2555
อย่างไรก็ดีในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 45 เมื่อเดือนกรกฎาคม
2555
ที่ประชุมฯไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมในเรื่องทะเลจีนใต้ได้ส่งผลให้เห็นถึงจุดยืนของสมเด็จฯฮุน
เซน ที่จะไม่นำความขัดแย้งระหว่างจีนและเวียดนามที่เป็นมิตรเข้ามาสร้างความแตกแยกในอาเซียนในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
แต่คาดว่ากัมพูชาจะต้องเผชิญกับปัญหานี้อีกครั้งในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน
ศกนี้
นอกจากนี้กัมพูชายังได้มีโอกาสจัดพิธีต้อนรับประมุขจากประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่ไม่เคยเยือนกัมพูชามานานกว่า
10 ปีแล้ว คือการเดินทางมาเยือนของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ระหว่างวันที่ 30
มีนาคม – 2 เมษายน 2555 โดยทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านและขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ
อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน ความร่วมมือทางทหาร
รวมทั้งได้กำหนดเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภายในปี ค.ศ. 2017 ส่วนมหาอำนาจอีกฝ่ายหนึ่งคือสหรัฐอเมริกา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาก็เดินทางไปเยือน
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯคือนางฮิลลาลี คลินตัน ได้เดินทางมาเยือนกัมพูชาระหว่างวันที่
11-13 กรกฎาคม 2555
นอกจากกัมพูชาได้กระชับความใกล้ชิดกับมหาอำนาจทางการเมืองการทหารอย่างจีนและสหรัฐฯแล้ว
กัมพูชายังได้มีโอกาสต้อนรับแขกวีไอพีเชื้อพระวงศ์ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอีกด้วย
คือการเสด็จเยือนของมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ
แห่งญี่ปุ่นเสด็จฯเยือนกัมพูชาระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2555
ซึ่งนับว่าฐานะในทางสากลของกัมพูชาวันนี้ได้ปรับระดับขึ้นสู่ความน่าเชื่อถืออย่างยิ่งภายใต้การนำของสมเด็จฯ
ฮุน เซน
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชา
ภาพการค้ากัมพูชาครึ่งปีแรกในปีนี้ดีขึ้นแต่ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติยุโรปเช่นเดียวกับทุกประเทศในอาเซียนกล่าวคือในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน
2555 กัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออก 2.5
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ) และการนำเข้า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 9) โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และสิ่งทอ
และสินค้าที่กัมพูชานำเข้ามากที่สุด คือ ผ้าผืนเพื่อตัดเย็บ และน้ำมันเชื้อเพลิง
สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
ครองสัดส่วนร้อยละ 84 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
โดยมีสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดสำคัญ ดังนั้น
กัมพูชาจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปด้วยซึ่งแม้ว่าในช่วง 6
เดือนแรกจะมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2554
แต่เป็นอัตราที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวในช่วง 6 เดือนแรกของปี
2554 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 กว่าร้อยละ 25
ด้านการลงทุน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian
Investment Board -CIB) ได้อนุมัติโครงการลงทุนจำนวน 72 โครงการ
คิดเป็นเงินลงทุนรวม 168.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2554 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชาอนุมัติจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 15 โครงการ
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.32 และเงินทุนเพิ่มขึ้น 14.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มร้อยละ
9.6 โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
(40 โครงการ) ,รองเท้า (8 โครงการ),ธุรกิจโรงสี (4 โครงการ),ถุงเท้า (2
โครงการ),อุตสาหกรรมยางพารา (2 โครงการ),อาหารแปรรูป (2 โครงการ),กระเป๋า (2
โครงการ),ถุงมือ (2 โครงการ),โรงแรม (2 โครงการ),จุดให้บริการนักท่องเที่ยว (2
โครงการ),โทรคมนาคม (2 โครงการ),สิ่งทอ ( 1 โครงการ),ปุ๋ย ( 1
โครงการ),อุตสาหกรรมการเกษตร (1 โครงการ) และอุตสาหกรรมอื่นๆ (2 โครงการ)
โดยประเทศที่ได้รับอนุมัติโครงการลงทุนมากที่สุดตามจำนวนโครงการคือ จีน เกาหลีใต้
ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย และอังกฤษ ตามลำดับ และหากพิจารณาตามมูลค่าการลงทุนก็อยู่ในลำดับเดียวกัน
คือ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาในภาพรวมมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มาเป็นรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์
แน่นอนที่สุดคนไทยและชาวโลกได้รับรู้ถึงความแนบแน่นในความสัมพันธ์ภาคประชาชนของสองประเทศในงานสงการนต์ประวัติศาสตร์ที่เป็นครั้งแรกของโลกที่คนชาติหนึ่งเดินทางไปร่วมงานประเพณีเดียวกันกับคนอีกชาติหนึ่งเป็นจำนวนกว่า
50,000 คน โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก
ภาพลักษณ์ความสัมพันธ์ไทย – กัมพูชา
ภาคประชาชนจึงยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่พัฒนาไปในทางที่ดีและหากจะพิจารณาถึงภาคความสัมพันธ์ในระดับผู้นำก็จะเห็นว่าไทย
- กัมพูชาได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูงและหารือร่วมกันในระดับต่างๆ อาทิ
การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีกัมพูชาระหว่างการร่วมประชุม US-ASEAN
Business Forum ที่จังหวัดเสียมราฐ กัมพูชา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม
2555 การเดินทางเยือนจังหวัดจันทบุรีของนายซอร์ เค็ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนกัมพูชา
เพื่อร่วมกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์และกีฬากอล์ฟกระชับมิตรกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายไทย
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2555
ไทย-กัมพูชา
ต่างก็ผลัดกันเป็นเจ้าภาพการประชุมทวิภาคีที่สำคัญๆ(ซึ่งหยุดชะงักไปในช่วงที่เกิดความระหองระแหงระหว่างกันในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์)
เช่น การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 5
ที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2555
,การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 ที่กรุงพนมเปญ
ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2555 ,การประชุมคณะกรรมาธิการการค้าร่วมไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เป็นต้น
การเปิดจุดผ่านแดนถาวรและยกระดับจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
นับเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
โดยขณะนี้ทั้งสองฝ่ายให้การรับรองผลการสำรวจภูมิประเทศร่วมบริเวณที่จะเปิดจุดผ่านแดนถาวรแห่งใหม่ที่บ้านหนองเอี่ยน
จังหวัดสระแก้ว บ้านสตึงบท
จังหวัดบันเตียเมียนเจยแล้ว และในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับกัมพูชา
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ฝ่ายไทยกำลังพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับการก่อสร้างสถานที่ตั้งด่านและโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในเขตไทยต่อไป
ตลอดจนมีแผนที่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางถนนเชื่อมต่อจากจุดผ่านแดนถาวรไปยังทางหลวงหมายเลข
5 ของกัมพูชา และสะพานรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟที่จังหวัดสระแก้วและจังหวัดปอยเปตด้วย
นอกจากนี้ยังเห็นพ้องกันว่าการยกระดับจุดผ่อนปรนเป็นจุดผ่านแดนเพิ่มเติมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
จะช่วยสนับสนุนการค้าและการลงทุน รวมทั้ง การไปมาหาสู่ของประชาชนระหว่างกันเช่นที่จุดผ่อนปรนการค้าที่ช่องอานม้า
จังหวัดอุบลราชธานีกับบ้านสะเตียลกวาง อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร เป็นต้น
สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นแผลเรื้อรังของไทยและกัมพูชานั้นก็มีพัฒนาการในทางบวก
โดยทั้งสองฝ่ายสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา (Joint
Working Group - JWG) ครั้งที่ 1 (เมษายน 2555 ที่กรุงเทพฯ)
และครั้งที่ 2 (มิถุนายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ) ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกันในพื้นที่เขตปลอดทหารชั่วคราวให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการถอนกำลังทหาร
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วมไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย
ที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ต่อไป นอกจากนี้
ในระหว่างการพบหารือของนายกรัฐมนตรีไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
ที่จังหวัดเสียมราฐ ผู้นำทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการปรับกำลังพร้อมกันบนพื้นฐานความสมัครใจเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกทำให้เมื่อวันที่
18 กรกฎาคม 2555 ไทยและกัมพูชาจึงได้จัดพิธีปรับกำลังทหารในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง
โดยจัดตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนเพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยเบื้องต้นของศาลโลก
ด้านการค้า
ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2555 การค้าระหว่างไทย – กัมพูชา ภาพรวมดีขึ้นโดยมีมูลค่าการค้ารวมไทย –
กัมพูชาเท่ากับ 64,453.72 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.50) โดยไทยส่งออก 60,265.32
ล้านบาท และนำเข้าจากกัมพูชา 4,188.40 ล้านบาท ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า
56,076.92 ล้านบาท
สินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชาที่สำคัญ
ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูปน้ำตาลทราย อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม
เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
ส่วนสินค้านำเข้าจากกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ ผัก
ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์สินแร่โลหะอื่นๆ
เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์โลหะ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์
และผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 39,325.25 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 เช่นกัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.15)
โดยส่วนใหญ่ผ่านด่านจังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราด
นอกจากการแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างกันที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแล้ว
พัฒนาการเชิงบวกที่สำคัญในด้านการค้า คือ การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา
(Joint
Trade Committee – JTC) ครั้งที่ 3
ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ
โดยมีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย และนายจอม ประสิทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาเป็นประธานร่วม
โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นหลังจากเว้นว่างมาเป็นเวลากว่า 6 ปี
ในช่วงของการรัฐประหารและภาวะความไม่สงบของไทย (ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
2549 ที่จังหวัดเสียมราฐ)
อย่างไรก็ดี
ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2554 ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างสองประเทศ คือ
ปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรจากกัมพูชามาประเทศไทยในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว อาทิ
มันสำปะหลังและข้าวโพด แต่ทั้งสองฝ่ายได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยได้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆรวมทั้งในการประชุม
JTC
ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตจัดสรรสินค้าเกษตรพิเศษ
(Special Agriculture Inland Port)
บริเวณจังหวัดชายแดนไทยและกัมพูชา สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรจากกัมพูชาเก็บพักไว้แปรรูปก่อนส่งออกไปยังประเทศที่สามต่อไป
ด้านการลงทุน
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีนักลงทุนไทยที่ได้รับอนุมัติโครงการลงทุนในกัมพูชา
รวมทั้งสิน 4 ราย ดังนี้ (1) บริษัท Crystal Rice (Kampuchea) Co.,Ltd.ประกอบธุรกิจโรงสีข้าวขนาดใหญ่
พร้อมท่าเรือและระบบขนส่งแบบครบวงจรที่จังหวัดกัมปอต โดยเป็นการลงทุนของบริษัท Asia
Golden Rice ของไทยกับนักลงทุนกัมพูชา (2) โรงสีข้าว Rice
Mill Complex Co.,Ltd. เป็นการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับจีน
(3) โรงงานทำรองเท้า Aero soft Summit Footwear Ltd. เป็นการลงทุนระหว่างไทยกับกัมพูชา
และ (4) โรงงานผลิตเสื้อผ้า Trax Apparel (Cambodia) Co.,Ltd. ของนักลงทุนไทย
ด้านการท่องเที่ยว บรรยากาศความสัมพันธ์
ไทย – กัมพูชา ที่ดีขึ้นทำให้มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในกัมพูชามากขึ้น
โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2555
มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปกัมพูชา 78,156 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.8
(ยอดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นผลจากงานสงกรานต์เสื้อแดงดำหัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เสียมราฐ ) ทำให้ไทยขยับจากอันดับที่
8 ขึ้นเป็นอันดับที่ 5 รองจากนักท่องเที่ยวเวียดนาม เกาหลีใต้ จีน และลาว
สำหรับนักท่องเที่ยวกัมพูชาที่เดินทางมาไทยนั้น ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2555
มีจำนวน 196,282 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวของปี 2554 ร้อยละ 63.63
ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551
บทสรุป
ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเป็นผลมาจาการมีเสถียรภาพของรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จฮุนเซนที่เดินแนวทางนโยบายอย่างถูกต้องและท้าทายและอาศัยความเก๋าเกมส์เฉพาะตัวในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีในระบอบรัฐสภาที่ยาวนานที่สุดในอาเซียน
จึงยิ่งส่งผลให้กัมพูชากลายเป็นรัฐที่โดดเด่นที่สุดในอาเซียนและจากบาดแผลความไม่สงบหลายครั้งในกัมพูชาที่มุ่งหมายจะทำรัฐประหารสมเด็จฮุนเซนที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทางการไทยในอดีตได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
โดยเฉพาะการลอบสังหารสมเด็จฮุนเซนโดยคนใกล้ชิดกับนายสม รังสี
ที่เคยหลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จึงทำให้เราเข้าใจบทบาทที่ท้าทายของรัฐบาลสมเด็จฮุนเซนมากยิ่งขึ้น
และนับจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จนโรดม สีหนุ
ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวกัมพูชาประกอบกับการแสดงบทบาททางการเมืองของสมเด็จเดโช
ฮุนเซน ในการจัดงานส่งสวรรคาลัยให้แก่สมเด็จนโรดม สีหนุ
อย่างสมพระเกียรติ์ก็ยิ่งได้รับพลังจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำให้ฐานะทางการเมืองของสมเด็จเดโช
ฮุนเซน ที่มั่นคงอยู่เดิมแล้วยิ่งมั่นคงและแข็งแกร่งมากขึ้น
ซึ่งก็จะยิ่งส่งผลให้สมเด็จเดโช ฮุนเซน
แสดงบทบาทในเวทีอาเซียนและในเวทีโลกได้อย่างโดดเด่น
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องจับตาและให้ความสำคัญแก่รัฐกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จเดโช
ฮุนเซน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)