ย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 ขณะที่สถานการณ์การเมืองรุนแรง กระแสขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยรุนแรง มีกระแสกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกและยุบสภา ตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณเล่นไปตามเกม เริ่มต้นจากการประกาศลาออก และตามด้วยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ขณะนั้นเลวร้ายเกินกว่าจะเยียวยา
เหตุที่เลวร้ายเกินเยียวยาเพราะมีการปฏิเสธการเลือกตั้ง
เหตุที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง เพราะกลัวว่า แม้จะเลือกตั้งกันอีกกี่ครั้งพรรคไทยรักไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้กลับมาเป็นรัฐบาล
ดังนั้น วิธีการกีดกัน พ.ต.ท.ทักษิณออกไปคือ การปฏิเสธการเลือกตั้ง โดยลืมไปว่า การปฏิเสธการเลือกตั้ง เท่ากับการปฏิเสธเสียงของประชาชน
ผลที่ตามมาคือประเทศเจอทางตัน !
ทั้งนี้เพราะประเทศประชาธิปไตยออกแบบการปกครองให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง คือ ใช้เสียงข้างมากตัดสินเลือกตัวแทนเข้าไปออกกฎหมาย และบริหารประเทศ
และเมื่อเกิดปัญหารุนแรง คนทำหน้าที่ตัดสินว่าใครควรอยู่หรือใครควรจะหยุดก็คือประชาชน
การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงประชามติว่า เอาหรือไม่เอารัฐบาลชุดเดิม
ดังนั้น เมื่อปฏิเสธการเลือกตั้ง ทำให้กลไกประชาธิปไตยที่วางไว้ไม่ทำงาน
ประเทศจึงเข้าสู่ทางตัน และต้องใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญเข้ามาผ่าทางตัน
การปฏิวัติรัฐประหารคือวิธีการนั้น !
แล้วผลจากการใช้วิธีการปฏิวัติรัฐประหารมาผ่าทางตัน ก็แสดงให้เห็นแล้ว
สร้างผลเสียมากกว่าผลดี !
กลับมาสู่ปัจจุบัน ปี 2555 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดประตูให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมากำลังเข้าสู่การพิจารณา
พรรคเพื่อไทยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไปแล้ว โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. 99 คน ประกอบด้วย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง จังหวัดละ 1 คน รวม 77 จังหวัด ก็ 77 คน และ ส.ส.ร.สรรหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการเมือง จำนวน 22 คน
ขณะเดียวกันเริ่มมีเสียงค้านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. โดยอ้างว่าวิธีเลือกตั้งจะทำให้การเมืองเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ
ข้ออ้างฟังแล้วเหมือนเมื่อปี 2549 เลยครับ
เมื่อปี 2549 ไม่ร่วมเลือกตั้งเพราะกลัว พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมา
ปี 2555 ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เพราะกลัวเอื้อประโยชน์ พ.ต.ท.ทักษิณ
อย่าลืมว่าการปฏิเสธการเลือกตั้ง เมื่อปี 2549 นำพาประเทศไปสู่ทางตันมาแล้ว เพราะชักชวนกันปฏิเสธเสียงส่วนมาก
ปี 2555 จะชักชวนกันปฏิเสธเสียงข้างมากกันอีกแล้วหรือครับ
ในขณะที่รัฐธรรมนูญเป็นกติกาของประเทศ คนไทยทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการร่าง
หากเราเริ่มต้นด้วยการปฏิเสธเสียงส่วนมากแล้ว จะร่างรัฐธรรมนูญกันได้อย่างไร?
ดังนั้น แทนที่จะปฏิเสธเสียงประชาชน ลองกลับมายืนเคียงข้างประชาชนไม่ดีกว่าหรือครับ
เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์อย่างเต็มที่ผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. และผ่านทางการลงประชามติ
หากคิดว่ายังไม่พอ ช่วยเสนอช่องทางอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันอีก
ช่วยกันสนับสนุนให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการร่างโดยความคิดเห็นของประชาชนให้มากที่สุด
เมื่อปี 2549 เราเคยปฏิเสธเสียงข้างมากไปแล้วครั้งหนึ่ง และผลกระทบที่ตามมาก็เห็นๆ อยู่ว่าหนักหนาสาหัส
แล้วปี 2555 ยังคิดจะย้อนกลับไปใช้วิธีปฏิเสธเสียงข้างมากกันอีกหรือ?
เหตุที่เลวร้ายเกินเยียวยาเพราะมีการปฏิเสธการเลือกตั้ง
เหตุที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง เพราะกลัวว่า แม้จะเลือกตั้งกันอีกกี่ครั้งพรรคไทยรักไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้กลับมาเป็นรัฐบาล
ดังนั้น วิธีการกีดกัน พ.ต.ท.ทักษิณออกไปคือ การปฏิเสธการเลือกตั้ง โดยลืมไปว่า การปฏิเสธการเลือกตั้ง เท่ากับการปฏิเสธเสียงของประชาชน
ผลที่ตามมาคือประเทศเจอทางตัน !
ทั้งนี้เพราะประเทศประชาธิปไตยออกแบบการปกครองให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง คือ ใช้เสียงข้างมากตัดสินเลือกตัวแทนเข้าไปออกกฎหมาย และบริหารประเทศ
และเมื่อเกิดปัญหารุนแรง คนทำหน้าที่ตัดสินว่าใครควรอยู่หรือใครควรจะหยุดก็คือประชาชน
การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงประชามติว่า เอาหรือไม่เอารัฐบาลชุดเดิม
ดังนั้น เมื่อปฏิเสธการเลือกตั้ง ทำให้กลไกประชาธิปไตยที่วางไว้ไม่ทำงาน
ประเทศจึงเข้าสู่ทางตัน และต้องใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญเข้ามาผ่าทางตัน
การปฏิวัติรัฐประหารคือวิธีการนั้น !
แล้วผลจากการใช้วิธีการปฏิวัติรัฐประหารมาผ่าทางตัน ก็แสดงให้เห็นแล้ว
สร้างผลเสียมากกว่าผลดี !
กลับมาสู่ปัจจุบัน ปี 2555 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดประตูให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมากำลังเข้าสู่การพิจารณา
พรรคเพื่อไทยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไปแล้ว โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. 99 คน ประกอบด้วย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง จังหวัดละ 1 คน รวม 77 จังหวัด ก็ 77 คน และ ส.ส.ร.สรรหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการเมือง จำนวน 22 คน
ขณะเดียวกันเริ่มมีเสียงค้านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. โดยอ้างว่าวิธีเลือกตั้งจะทำให้การเมืองเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ
ข้ออ้างฟังแล้วเหมือนเมื่อปี 2549 เลยครับ
เมื่อปี 2549 ไม่ร่วมเลือกตั้งเพราะกลัว พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมา
ปี 2555 ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เพราะกลัวเอื้อประโยชน์ พ.ต.ท.ทักษิณ
อย่าลืมว่าการปฏิเสธการเลือกตั้ง เมื่อปี 2549 นำพาประเทศไปสู่ทางตันมาแล้ว เพราะชักชวนกันปฏิเสธเสียงส่วนมาก
ปี 2555 จะชักชวนกันปฏิเสธเสียงข้างมากกันอีกแล้วหรือครับ
ในขณะที่รัฐธรรมนูญเป็นกติกาของประเทศ คนไทยทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการร่าง
หากเราเริ่มต้นด้วยการปฏิเสธเสียงส่วนมากแล้ว จะร่างรัฐธรรมนูญกันได้อย่างไร?
ดังนั้น แทนที่จะปฏิเสธเสียงประชาชน ลองกลับมายืนเคียงข้างประชาชนไม่ดีกว่าหรือครับ
เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์อย่างเต็มที่ผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. และผ่านทางการลงประชามติ
หากคิดว่ายังไม่พอ ช่วยเสนอช่องทางอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันอีก
ช่วยกันสนับสนุนให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการร่างโดยความคิดเห็นของประชาชนให้มากที่สุด
เมื่อปี 2549 เราเคยปฏิเสธเสียงข้างมากไปแล้วครั้งหนึ่ง และผลกระทบที่ตามมาก็เห็นๆ อยู่ว่าหนักหนาสาหัส
แล้วปี 2555 ยังคิดจะย้อนกลับไปใช้วิธีปฏิเสธเสียงข้างมากกันอีกหรือ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น